สมาชิก




ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
 

เมนู

หน้าแรก

รวมรูปภาพ

เว็บบอร์ด

สนทนาคนรักต้นไม้

 

บทความ

หิน-หินเทียม

สารพัดต้นไม้จัดสวน

ไม้ประดับเพื่อการจัดสวน

ปลูกต้นไม้มงคล

เกี่ยวกับเรา

สวนสไตล์ต่างๆ

ต้นไม้ประจำจังหวัด ภูมิสัญญลักษณ์ของเมือง

มหัศจรรย์โลกพฤกษา

ว่าด้วยเรื่อง.....ดิน....และ..ปุ๋ย

พืชจัดสวนมีพิษที่ควรระมัดระวัง

เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็นสวนใหม่

จัดสวนพื้นที่ขนาดใหญ่

จัดสวนด้วยตัวเอง

ชื่อนั้นสำคัญไฉน

การทำบ่อเลี้ยงปลา และระบบกรองรักษาคุณภาพน้ำอย่างง่าย

มุมสวนสวยสำหรับคุณ

ในนี้มีอะไรเยอะแยะ

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/02/2008
ปรับปรุง 10/10/2024
สถิติผู้เข้าชม 47,178,139
Page Views 53,964,385
 
« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

รวมไม้ผลเพื่อประดับและรับประทาน

รวมไม้ผลเพื่อประดับและรับประทาน

 

 รวมไม้ผลเพื่อประดับและรับประทาน


ในหน้านี้ จะกล่าวถึงไม้ผลที่นำมาใช้จัดสวนทั้งที่สามารถให้ผลได้และอาจไม่ให้ผล เพราะบางชนิดสภาพภูมิอากาศอาจไม่เหมาะสม กับการผลิตาดอก ซึ่งนำไปสู่การได้เห็นแต่ทรงต้นและกลายเป็นเพียงไม้ประดับให้ร่มเงาได้ไป เท่านั้น
พูดไปแล้วไม้ผลที่เรานำมาปลูกในบ้านแล้วเกิดให้ผลขึ้นมาจากฝีมือการผลิตของเรา เองนี่ มันอร่อยมากกว่าปกตินะบางคนประคบประหงมจนสุกงอมคาต้น ก็ยังไม่ยอมเก็บ กลายเป็นไม้ผลเพื่อประดับ ห้ามรับประทานไป
เมื่อก่อนจัดสวนจะหาไม้ผลต้นใหญ่ๆได้แค่มะม่วงกับขนุนเป็นหลัก พวกนี้ใช้วิธีทาบกิ่งเสริมรากแก้ว ชนิดอื่นๆไม่มีให้เห็น แต่เดี๋ยวนี้กระบวนการล้อมต้นไม้ของมืออาชีพพัฒนาไปไกล ไม้ผลอะไรๆก็ล้อมเอามาปลูกได้หมด ไม่ว่าจะเป็นมะไฟ มะยง มะปราง ขนุน ลางสาด เงาะ ทุเรียน สารพัดสารเพ ล้อมเอามาแบบมีลูกติดให้ชิมด้วยว่าของแท้ไม่มีปลอมตัวมา แต่ราคาออกจะแพงเอาการเพราะกว่าจะล้อมเอามาไม่ให้หลุด ต้องบอนทิ้งไว้ 6-7เดือน กว่าจะได้ตังค์ก็ใช้เวลาและยากน่าดู
ไม่ เจาะจงละกันว่าเป็นผลไม้ที่เติบโตได้ในประเทศไทยเท่านั้น พูดทั่วๆไปคุยกัน เหมือนเดิมหาข้อมูลได้มากก็คุยมากหาได้น้อยก็เอาแค่พูดทั่วไป เจอต้นแรกอาจทำให้ตื่นตาตื่นใจนิดหน่อย นั่นคือ...........

For information only-the plant is not for sale.

กระท้อน,เกาลัดไทย,กีวี, แก้วมังกร, ขนุน, คอแลน, เงาะ, ชมพู่, ชมพู่มะเหมี่ยว,ชมพู่น้ำดอกไม้,ชำมะเลียง,เชอรี่, เชอรี่สเปน, ตะลิงปลิง, น้อยหน่า, น้อยหน่าออสเตรเลีย, น้อยโหน่ง, ทุเรียน, ทุเรียนเทศ, ทับทิม, ฝรั่ง, ท้อ, พิสตาชิโอ, พุทรา, พุทราจีน, แพร์, มหัศจรรย์, มะกอก, มะกอกน้ำ, มะกอกฝรั่ง, มะขาม, มะขามป้อม, มะขามเทศ, มะขวิด, มะดัน, มะตูม, มะคาเดเมีย, มะเฟือง, มะไฟ, มะกรูด, มะนาว, มะม่วง, ,มะม่วงหิมพานต์, มะปรางหวาน, มะยงชิด, มะยม, มะพร้าว, มะตูม, มะพูด, มะพลับ, มะละกอ, มังคุด, เรดเคอแรนต์, ลำไย, ลองกอง,ลางสาด,  ละมุด, ละมุดสีดา, ส้มโอ, ส้มเขียวหวาน, ส้มกัมควอท, ส้มจี๊ด, สับปะรด, สาเก, สะตอ, หมักเม่า, หว้า, อโวคาโด, องุ่น, อินทผลัมกินผล


ลิ้นจี่/Litchi chinensis

ชื่อวิทยาศาสตร์--Litchi chinensis Sonn.
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms    
---Dimocarpus lichi Lour.
---Nephelium chinense (Sonn.) Druce.
---Nephelium litchi Camb.
---Scytalia chinensis (Sonn.) Gaertn
ชื่อสามัญ---Lychee, Leechee, Litchi
ชื่ออื่น---ลิ้นจี่ ; [THAI: Lin chi.]; [CHINESE: li zhi.]; [GERMAN: Litchi, Litchibaum.]; [FRENCH: Cerisier de Chine, Litchi de Chine.]; [ITALIAN: Lici.]
ชื่อวงศ์---SAPINDACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อนุทวีปอินเดีย  จีนตอนใต้ กัมพูชา เวียดนา มฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ บราซิล แคริบเบียน ออสเตรเลีย และ สหรัฐอเมริกา
ได้รับการอธิบายและตั้งชื่อโดยนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสPierre Sonnerat.ในปี ค.ศ.1782
มีสามชนิดย่อยที่กำหนดโดยใช้การจัดดอกไม้ที่มีความหนากิ่งผลไม้และจำนวนของเกสร
-ลิ้นจี่ chinensis subsp. chinensisเป็นลิ้นจี่ที่ปลูกในเชิงพาณิชย์เท่านั้น มันเติบโตในป่าในภาคใต้ของจีนทางตอนเหนือของเวียดนามและกัมพูชา มีกิ่งก้านบาง ๆ ดอกมักมีเกสรเพศผู้ 6 อันผลเรียบหรือมีติ่งสูงถึง 2 มม.
-ลิ้นจี่ chinensis subsp. philippinensis (Radlk.) Leenh พบได้ทั่วไปในป่าในฟิลิปปินส์และไม่ค่อยมีการเพาะปลูก มีกิ่งก้านบางเกสรตัวผู้หกถึงเจ็ดอันผลรูปไข่ยาวมีติ่งแหลมสูงถึง 3 มม.
-ลิ้นจี่ chinensis subsp. javensis เป็นที่รู้จักในการเพาะปลูกในมาเลเซียและอินโดนีเซียเท่านั้น มีกิ่งก้านหนาดอกมีเกสรเพศผู้เจ็ดถึงสิบเอ็ดอันในกระจุกผลเรียบผลเรียบมีติ่งสูงถึง 1 มม.
Litchi chinensis มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน มณฑลกวางตุ้ง และ ฝูเจี้ยน
ไม้ ต้นสูง 10-12เมตร เรือนยอดกลม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มี2-4คู่ ใบหนารูปรีแกมขอบขนานหรือรูปหอกปลายแหลมรวบ ใบเกลี้ยง ผลไม้เกิดเป็นกระจุกหลวม ๆ 3 - 20ผล เมื่อสุกสีแดงสด เปลือกแข็งกรอบ ผิวขรุขระ เนื้อขาวฉ่ำน้ำ ให้ผลเดือนเมษายน-พฤษภาคม  ลิ้นจี่งอกงามในดินร่วนเหนียวหรือดินร่วน ปนทราย มีความเป็นกรดเป็นด่างของดิน pH ในช่วง 5.5 - 6.5 ทนได้ 5 - 8.5 ดินต้องมีการระบายน้ำดี มีอากาศหนาว ปานกลางจะช่วยให้ลิ้นจี่ออกดอกและติดผลมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเหนือของประเทศไทยเป็นทำเลที่เหมาะแก่การปลูกลิ้นจี่    ปัจจุบัน แหล่งปลูกลิ้นจี่ในประเทศไทยจะมี 2 แหล่งใหญ่ คือ บริเวณภาคเหนือตอนบน และบริเวณภาคกลางได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม มีหลายพันธุ์ที่นิยมปลูกเช่น พันธุ์ฮงฮวย พันธุ์จักรพรรดิ์ พันธุ์กิมเจง พันธุ์ค่อมฯ หาพันธุ์ที่เหมาะสมมาปลูกหากอยู่ในกรุงเทพฯแล้วอยากมีลิ้นจี่ไว้แสดง เช่น พันธุ์ ค่อม (ค่อมลำเจียก) กะโหลกใบยาว สำเภาแก้ว กระโถนท้องพระโรง เขียวหวาน สาแหรกทอง จีน ไทยธรรมดา ไทยใหญ่ กะโหลกใบไหม้ กะโหลกในเตา ช่อระกำ และพันธุ์ทิพย์ฯลฯเพราะพันธุ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ต้องการความหนาวเย็นไม่มากและหนาวเย็นไม่นานก็สามารถชักนำให้ออกดอกได้
ประโยชน์---ใช้กิน ลิ้นจี่เป็น ไม้ผลอีกชนิดหนึ่งที่คนชอบรับประทาน เนื่องจากมีรสชาติดี หวาน หอม สีสวย เนื้อของลิ้นจี่มีวิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 และเกลือแร่ชนิดต่างๆ อย่างแคลเซียม ฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงสุขภาพแก้อาการท้องเดิน
-ใช้เป็นยา ผลไม้เปลือกและเมล็ดใช้ในยาแผนโบราณ ยาต้มของรากเปลือกไม้และดอกไม้ใช้เป็นยาบ้วนปากเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ เปลือกผลใช้ในการรักษาอาการท้องร่วง
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มสวยใบสวยบางตรั้งใช้ปลูกเพื่อให้ร่มเงา สมมุติว่าปลูกแล้วไม่ไห้ผลก็ไม่เป็นไร คิดว่าเป็นต้นไม้ต้นหนึ่งในหลายๆต้นที่เราอยากเห็นดอกแล้วก็ไม่เคยเห็น
-อื่น ๆ ไม้มีความทนทานมากแต่ว่าจะเปราะและมีประโยชน์น้อย เปลือกต้นมีสารแทนนิน
ขยายพันธุ์---ด้วยการตอนกิ่ง

ลำไย/Dimocarpus longan

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Dimocarpus longan Lour.
ชื่อสามัญ ---Longan, Longan tree, Longan Eyeball tree, Mata Kuching, Lungen, Dragon's Eye
ชื่ออื่น---บ่าลำไย, ลำไย ; [THAI: Lam yai.]; [CAMBODIA: Mien.]; [CHINESE: Long yan rou.]; [FRENCH: Longanier, Oeil de dragon.]; [GERMAN: Longanbaum, Longanbeere.] ; [KANNADA: Kanakindelienglish.]; [LAOS: Lam nhai, nam nhai.]; [MALAYALAM: Malampuvanna, Pasakotta, Malampoovathi.]; [MALAYSIA, INDONESIA: Lengkeng.]; [MYANMAR: Kyet mouk.]; [PORTUGUESE: Longana, Olho-de-boi, Olho-de-dragão.]; [TAMIL: Kattupuvam, Shempuvan.]; [ VIETNAM: Nhan.]
ชื่อวงศ์--SAPINDACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน อินเดีย ศรีลังกา เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา ลา วเวียดนาม มาเลเซี ยอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
มีถิ่นกำเนิดในภาคเหนือของพม่า ตะวันออกเฉียงเหนือและตอนใต้ของจีน ปัจจุบันมีการปลูกและแปลงสัญชาติเป็นครั้งคราวในพื้นที่กึ่งเขตร้อนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีมากกว่า 400 ชนิด

ไม้ ต้นสูง 10เมตรมีเรือนยอดกลมทรงพุ่มทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อย2-5คู่ ใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน มีเส้นแขนงใบชัดดอกออกเป็นช่อกระจายขนาดเล็กผลกลมสีน้ำตาล มีเนื้อนุ่มขาวหุ้มเมล็ด เมล็ดกลมดำเป็นมัน ช่วงออกผลเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ช่วงนี้ถ้ากินลำไยมากๆ ระวังตาแฉะ มีหลายพันธุ์ขยายพันธุ์ด้วยการตอน เมื่อก่อนลำไยจะปลูกกันมากทางภาคเหนือของประเทศ ระยะหลังมีการใช้สารเร่งให้ออกนอกฤดู
พันธุ์ที่สามารถปลูกกันได้ทั่วประเทศแถมทะวายด้วยได้แก่ เพชรสาครทะวาย อีกพันธุ์ได้แก่ลำไยปิงปองหรือซวงซวง จัดเป็นลำไยทะวายให้ผลขนาดใหญ่เหมาะจะปลูกไว้ในบ้าน  แรกๆราคากิ่งพันธุ์แพงเอาการแต่นานไปก็ถูกลง ทั้งสองพันธุ์สามารถปลูกให้ออกนอกฤดูได้ดีในสภาพธรรมชาติ การปลูกลำไยด้วยการเพาะเมล็ด ต้นจะมีอายุยาวนาน แม้ต้นจะแก่แต่ก็ให้ผลสม่ำเสมอ มีข้อด้อยก็คือจะให้ผลช้าและไม่ค่อยตรงตามสายพันธุ์ แต่ทรงพุ่มสวยงาม
ต่อจากนี้เป็นเรื่องของสายพันธุ์ต่างๆของลำไยนำข้อมูลมาแบบสดๆจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี สนใจก็อ่านต่อไม่สนใจก็ข้ามเลย
ลำไยนั้นปลูกในหลายประเทศ แหล่งปลูกขนาดใหญ่คือประเทศจีนมีการปลูกลำไยถึง 26สายพันธุ์ โดยส่วนมากปลูกในมณฑลกวางตุ้ง 12สายพันธุ์ ปลูกในประเทศไต้หวันอีก 15สายพันธุ์ ปลูกในสหรัฐอเมริกา 1สายพันธุ์ คือพันธุ์โคฮาลา และในประเทศเวียดนาม ซึ่งมีแหล่งปลูกลำไยขนาดใหญ่ไม่แพ้จากประเทศจีน โดยมักมักปลูกในเวียดนามทางตอนเหนือที่มีอากาศหนาวเย็น โดยพันธุ์ลำไยของเวียดนามนั้นนำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทนได้ในอากาศเย็นจัดจนถึงจุดเยือกแข็ง ซึ่งต่างจากลำไยของประเทศไทยเกิดการกลายพันธุ์เป็นลำไยเมืองร้อน สามารถทนอุณหภูมิสูงได้ถึง40-43องศาในฤดูร้อน

รูปนี้ถ่ายที่ ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ของเราเอง

ลำไยในประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มและแยกเป็นชนิดย่อย เช่น กลุ่มลำไยพันธุ์ดี(ลำไยกะโหลก), กลุ่มลำไยป่า, กลุ่มลำไยพื้นเมือง(ลำไยกระดูก), กลุ่มลำไยเครือหรือลำไยเถา(ลำไยชลบุรี)
1. ลำไยกะโหลก เป็นพันธุ์ลำไยที่ให้ผลขนาดใหญ่มีเนื้อหนารสหวาน แบ่งเป็นอีกสายพันธุ์ย่อยอีก คือ
1.1 ลำไยสีชมพู มีผลใหญ่เนื้อหนา, เมล็ดเล็ก, เนื้อมีสีชมพูเรื่อๆ รสดีมากที่สุด
1.2 ลำไยตลับนาค มีผลใหญ่เนื้อหนา, เมล็ดเล็ก, หวานกรอบ, เนื้อแห้ง, เปลือกบาง
1.3 ลำไยเบี้ยวเขียว หรือลำไยอีเขียว ผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ เนื้อล่อน
1.4 ลำไยอีแดง สีเปลือกของผลค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์ขนาดกลาง กิ่งเปราะหักง่าย ผลกลมใหญ่ เมล็ดใหญ่ รสหวานแบ่งออกเป็น 2ชนิดย่อย คือ
1.4.1 ลำไยอีแดงเปลือกหนา มีใบป้อมใหญ่ผลใหญ่
1.4.2 ลำไยอีแดงเปลือกบาง ใบยาวผลเล็กกว่าอีแดงเปลือกหนา
1.5 ลำไยอีดอ ผลขนาดปานกลางมีเมล็ดเล็ก, รสหวาน เป็นลำไยที่มักออกดอกและเก็บผลผลิตก่อนพันธุ์อื่นๆ สามารถทนแล้งได้ดี ชาวสวนนิยมปลูกชนิดนี้มากที่สุด แบ่งเป็น2ชนิดย่อย คือ
 1.5.1  ลำไยอีดอ-ยอดแดง ใบอ่อนมีสีแดง เจริญเติบโตเร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับอีดอยอดเขียว ไม่ค่อยนิยมปลูกเนื่องจากออกดอกติดผลไม่ดี
1.5.2 ลำไยอีดอ-ยอดเขียว ใบอ่อนเป็นสีเขียว ออกดอกติดผลง่ายแต่อาจไม่สม่ำเสมอ
1.6 ลำไยอีดำ ผลใหญ่ ใบดำ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ
1.7 ลำไยอีแห้ว เป็นลำไยพันธุ์หนัก ลำต้นไม่ค่อยแข็งแรง เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตดีมาก ทนแล้งได้ดี แบ่งออกเป็น2ชนิดย่อย คือ
1.7.1 ลำไยอีแห้ว-ยอดแดง มีใบอ่อนสีแดง เมล็ดมีขนาดปานกลาง
1.7.2 ลำไยอีแห้ว-ยอดเขียว เมื่อแตกใบอ่อนมียอดสีเขียว ผลกลมใหญ่, หัวเบี้ยว เนื้อกรอบแต่ไม่หวาน
1.8  ลำไยอีเหลือง มีทรงพุ่มค่อนข้างกลม ออกผลดก กิ่งเปราะหักง่ายเมื่อมีผลดก ผลค่อนข้างกลมมีเนื้อสีขาวนวล
1.9 ลำไยพวงทอง เป็นพันธุ์ที่ช่อดอกขนาดใหญ่กว้าง ผลทรงค่อนข้างกลมและเบี้ยวเล็กน้อย ผิวสีน้ำตาลมีกระสีน้ำตาล เนื้อหนา กรอบ สีขาวครีม รสหวาน เมล็ดขนาดปานกลางและแบน ปลูกมากในภาคกลางตอนล่าง เช่น นครปฐม, สมุทรสาคร สันนิฐานว่ากลายพันธุ์จากเมล็ดมาจากลำไยกระโหลกและลำไยอีดอ
1.10 ลำไยเพชรสาครทวาย สามารถออกดอกมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี มีใบขนาดเล็ก เรียวแหลม ออกดอกและให้ผลผลิตปีละ 2 รุ่น คือรุ่นแรกออกดอกราวเดือนธันวาคม-มกราคม และเก็บผลได้ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน, รุ่นที่สองออกดอกราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนธันวาคม-มกราคม ผลกลม เปลือกบาง เนื้อมีสีขาวฉ่ำน้ำ
1.11 ลำไยปู่มาตีนโค้ง มีผลสวย ผลมีขนาดใหญ่สีเขียว ให้ผลดก แต่คุณภาพและรสชาดไม่ดี มีกลิ่นคาว เป็นสายพันธุ์ที่ไม่นิยมปลูกจึงหายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูง มักพบในสวนลำไยรุ่นเก่าๆ
2. ลำไยกระดูก หรือลำไยพื้นเมือง เป็นพันธุ์พื้นเมือง ทรงพุ่มกว้างใบหนาทึบ ผลเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยไม่หวาน มีน้ำตาลประมาณ 13.75% ขึ้นได้ทั่วไปปลูกง่าย เหลือให้เห็นน้อยเพราะไม่นิยมปลูก เนื่องจากไม่มีราคา มีหลายสายพันธุ์ย่อยแต่มักเรียกรวมกันว่าลำไยพื้นเมือง
3. ลำไยกะลา หรือลำไยธรรมดา ผลปานกลาง เนื้อหนากว่าลำไยพันธุ์กระดูก เนื้อกรอบบางมีน้ำมาก ให้ผลดก
 4. ลำไยสายน้ำผึ้ง ลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา แต่เนื้อมีสีเหลืองอ่อน เนื้อมีรสดี หอมกรอบ เมล็ดเล็ก
 5. ลำไยเถา หรือลำไยเครือ เป็นไม้ต้นรอเลื้อย ลำต้นไม่มีแก่นจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลัก ผลเล็ก, เมล็ดโตกว่าลำไยบ้าน, เนื้อหุ้มเมล็ดบางมีเนื้อน้อย รสชาติมีกลิ่นคล้ายกำมะถันจึงนิยมปลูกไว้ประดับมากกว่ารับประทาน [2] นิยมปลูกไว้ประดับมากกว่าปลูกไว้รับประทาน ชอบขึ้นตามป่าเขา
 6. ลำไยขาว เป็นลำไยพันธุ์โบราณหายาก ในครั้งหนึ่งเชื่อว่าเคยสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย แต่ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการตามหาและตอนกิ่งขยายพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง ผลเล็กกว่าลำไยทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลอ่อนเกือบขาว เนื้อสีขาวใส เมล็ดลีบ รสหวาน
และยังมีลำไยอีกหลากหลายชนิดที่ยังไม่ถูกจำแนก เช่น ลำไยใบหยก, ลำไยอีสร้อย, ลำไยตอหลวง, ลำไยเพชรน้ำเอก, ลำไยพวงเพชรบ้านแพ้ว เป็นต้น ฯลฯ
ประสบความสำเร็จในดินที่อุดมสมบูรณ์ส่วนใหญ่ตราบเท่าที่มีความชื้นมาก  ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 6 แต่สามารถทนได้ 5 - 8  
ในขณะที่ต้นไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยพืชสามารถ
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปลูกโดยเมล็ดสดทันที การงอกจะเกิดขึ้นภายใน 7-10 วัน ต้นกล้าใช้เวลา 7 - 10 ปีจึงจะเริ่มมีผล, ตอนกิ่ง


ละมุด/Manilkara zapota

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Manilkara zapota (L.) P.Royen
ชื่อพ้อง---Basionym: Achras zapota L.
ชื่อสามัญ---Sapodilla Plum, Chicle
ชื่ออื่น---ละมุด, ชวานิลอ (ปัตตานี,มลายู ยะลา) ; [French: sapotille.];[German: Breiapfelbaum, Kaugummibaum, Sapodillbaum, Sapote.];[Portuguese: Sapoti.];[Spanish: Chico sapote, Zapote blanco.];[Malay: Buah chiku.];[India: Baramasi, Sapodilla plum.];
ชื่อวงศ์ ---SAPOTACEAE
ถิ่นกำเนิด ---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---สหรัฐอเมริกา แคริบเบียน อเมริกากลางและใต้ เอเชีย อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์  ไทย มาเลเซีย กัมพูชา อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และแอฟริกาใต้
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วภูมิภาคเขตร้อนของโลกรวมทั้งหมู่เกาะอินเดียตะวันตกอินเดียและฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา ละมุดปลูกในเชิงการค้าในอินเดีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา มาเลเซีย เม็กซิโก เวเนซุเอลา กัวเตมาลาและประเทศอื่น ๆ ในอเมริกากลาง อินเดียเป็นผู้ผลิตผลละมุดรายใหญ่ที่สุด


ไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 10 เมตร ทรงพุ่มทึบ กิ่งก้านแตกออกรอบลำต้นเป็นชั้นๆ ใบมีก้านและมักรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบรูปไข่ - ใบหอกยาว 5 ถึง 12.5 ซม. กว้าง 6 ซม. ดอกออกเดี่ยวๆตามง่ามใบผลกลมรีเมื่อสุกสีน้ำตาล เนื้อนุ่มเมล็ดดำแบนเป็นมัน
ละมุดปลูกไม่ยาก ปลูกแล้วอยู่ได้นาน20-30 ปีหรือมากกว่านั้น จัดเป็นไม้ที่คงทนแข็งแรงหายห่วง ทนน้ำท่วมขัง (สำคัญมาก)ใช้พื้นที่ไม่มาก มีที่ว่างหน่อยก็ปลูกได้ สามารถปลูกผสมผสานกับไม้ชนิดอื่นได้ พันธุ์ละมุดที่มีอยู่นั้นก็มี มะกอก กระสวย ไข่ห่าน ไข่หรือกรอบ(สวรรคโลก-ศรีสำโรง) เวียตนาม(ผลขนาดใหญ่)ผลผลิตต่อต้น สำหรับมืออาชีพแล้วมหาศาล ซึ่งเขาใช้สีบ่ม ถ้าปลูกไว้น้อยนิดต้นสองต้นเราไม่จำเป็นต้องใช้สีและไม่จำเป็นต้องใช้แก๊สบ่มปล่อยให้สุกคาต้นยังได้
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม้กินได้หวานและมีรสชาติที่ละเอียดอ่อนมาก ผลละมุดสุกมีน้ำตาลสูง และประกอบไปด้วยวิตามินเอและซี ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส
-ใช้เป็นยา เมล็ดมีคุณสมบัติขับปัสสาวะและลดไข้ มีสรรพคุณทางยามากมาย ใช้เป็นยาสมาน ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะและรักษาความผิดปกติของลำไส้ ไอและหวัดและอื่น ๆ
-อื่น ๆ  ละมุดดิบมียางสีขาวเหมือนน้ำนม มีสารที่ชื่อว่า "gutto"ใช้สำหรับทำหมากฝรั่ง เปลือกของมันก็ถูกนำมาสกัดเพื่อใช้ผลิตหมากฝรั่งด้วย นอกจากนี้ยังมีประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างเนื่องจากเป็นไม้แกะสลักซึ่งต่อมาจะแข็งมาก
ระยะออกดอก/ออกผล---ตลอดปี (ออกมากราวเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม)
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด  ตอนกิ่ง

ละมุดสีดา/Madhuca esculenta


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Madhuca esculenta H.R.Fletche
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ละมุดไทย ; [ Thai: Lámút sida.]
ชื่อวงศ์---SAPOTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย สถานภาพ-หายาก

ละมุด สีดาค่อนข้างหายากในสภาพธรรมชาติ พบมากทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ส่วนใหญ่ที่พบในปัจจุบันคือนำมาปลูกเป็นไม้ผลหรือไม้ประดับ มีคุณค่าน่าปลูกที่ว่าเป็นไม้พันธุ์ไทยแท้ หายากใกล้สูญพันธุ์ ละมุดสีดาเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง8-20เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบแตกกิ่งเป็นชั้น ตั้งฉากกับลำต้น ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีเทาปนดำ แตกเป็นร่องตื้นตามขวางและตามยาว เปลือกในสีแดง ใบ เดี่ยวเรียงเวียนถี่ออกเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับหรือขอบขนาน กว้าง3-8ซม.ยาว10-16ซม.ปลายใบมนทู่หรือหยักเว้า แผ่นใบหนาเกลี้ยง ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีขนสีนวลเป็นมันคล้ายไหม ดอกออกเดี่ยวหรือเป็นช่อแบบช่อกระจุก กลีบเลี้ยง4กลีบเรียงเป็น2ชั้นั้นละ2วง กลีบดอก6กลีบสีน้ำตาลมีกลิ่นหอม โคนกลีบเชื่อมติกันเป็นหลอดรูปถ้วย บานเต็มที่กว้าง1-1.2ซม.ผลสดแบบมีเนื้อรสหวานขนาดกว้าง1-1.5ซม.ยาว2.5-3ซม. ผลสุกสีแดง เมล็ดขนาดใหญ่รูปไข่หรือรีสีน้ำตาลใน1ผลมี1-6เมล็ด
การเพาะปลูก---ใช้พื้นที่ปลูกไม่มากขนาด 3x3 ก็ พอเพราะขนาดลำต้นและเรือนยอดไม่ใหญ่โตกว้างขวางปลูกเป็นไม้ประดับและรับประทานได้ในบ้าน
ใช้ประโยชน์---ผลสุกรับประทานได้ มีรสชาติหอมหวาน เช่นเดียวกับละมุด ผลของละมุดสีดา สำหรับคนฟื้นไข้ใหม่ๆกินแล้วชุ่มชื่นและหายอ่อนเพลีย
-ใช้เป็นยา เปลือกต้น ต้มกับน้ำดื่มแก้ท้องเสีย ต้มอาบแก้โรคผิวหนังพวกผื่นคัน
ระยะออกดอก/ติดผล---ตุลาคม-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---ด้วยการตอนกิ่งหรือเพาะกล้าจากเมล็ด


ทุเรียน/Durio zibethinus

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Durio zibethinus Linn.
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
-Durio acuminatissimus Merr.
-Durio stercoraceus Noronha nom. inval.
ชื่อสามัญ---Durian, Civet fruit
ชื่ออื่น---ทุเรียน
ชื่อวงศ์---BOMBACACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสปีชีส์“ zibethinus ” มาจากคำภาษาอิตาลีว่า 'zibetto' หมายถึงกลิ่นหอมแรง ; ชื่อสามัญ“Durian” มาจากภาษามลายูคำว่า“ duri” แปลว่าหนาม
มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมาเลเซียและเกาะบอร์เนียว ปัจจุบันมีการเพาะปลูกทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ทุเรียนเป็นพืชเมืองร้อนเติบโตที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 800 เมตร 


ไม้ ต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านจากลำต้นโดยรอบ เรือนยอดทรงกลมหรือทรงเจดีย์ ใบเดี่ยวเขียวเป็นมัน ใต้ใบเป็นสีน้ำตาล ดอกสีขาวนวลออกเป็นกระจุกห้อยลงตามกิ่ง มีกลิ่นหอม ผลกลมรีเป็นพู มีหนามแข็งเต็มทั่วลูก
การเพาะปลูก---เป็นไม้ปลูกได้ในที่ชุ่มชื้นทุกภาค เติบโตในบริเวณที่มีความชื้นสูง ทุเรียนต้องการน้ำปริมาณมากและมักเติบโตตามธรรมชาติใกล้ลำธารและริมฝั่งแม่น้ำซึ่งส่วนหนึ่งของรากของพวกมันสัมผัสกับน้ำอยู่ตลอดเวลา
ใช้ประโยชน์---ทุเรียนได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ เป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งเป็นส่วนผสมของสารระเหยที่ประกอบไปด้วย เอสเทอร์ ,คีโตน และ สารประกอบกำมะถัน บางคนชอบก็บอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม แต่บางคนบอกว่ามีกลิ่นเหม็นมาก กลิ่นของทุเรียนอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงจากคนที่ไม่ชอบในกลิ่นของ มันก็เลยอาจมีการห้ามนำเอาทุเรียนเข้าไปในที่ต่างๆบางที่
นอกจากนั้นทุเรียนยังเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาล สูงทั้งยังเต็มไปด้วยด้วยกำมะถันและคอเลสเตอรอล ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพราะหากกินเข้าไประดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น อย่างรวดเร็วยังทำให้ร้อนในและรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว ว่ากันว่าถ้ารับประทานทุเรียนแล้วต้องทานมังคุดตามด้วยเพราะจะไม่ร้อนใน
ทุเรียนพันธุ์ไทยมีหลายสายพันธุ์แบ่งได้ 6 กลุ่มดังนี้ ได้แก่ ทุเรียนกลุ่มกบ กลุ่มทองย้อย กลุ่มก้านยาวกลุ่มกำปั่น กลุ่มลวง กลุ่มเบ็ดเตล็ด สายพันธุ์เหล่านี้เป็นสายพันธุ์ที่บรรรพบุรุษสืบทอดกันมา บางส่วนก็สูญหายไป ส่วนทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิมที่ได้รับการ เก็บรักษาไว้และมีปลูกอยู่พอสมควรก็มีเช่น "ชมพูศรี"ที่จันทบุรี "เมล็ดในยายปราง"(พวงทอง)ที่ระยอง ทางภาคใต้มี "สาลิกา" และ "หลงลับแล"ที่อุตรดิตถ์
กล่าวถึงทุเรียนพันธุ์ไทย'หลงลับแล'เมื่อก่อนชาวลับแลที่อุตรดิตถ์ปลูกทุเรียนและลางสาด โดยเริ่มจากการกินแล้วโยนเมล็ดทิ้งออกนอกหน้าต่าง เมล็ดที่โยนไปจะงอกต้นใหม่ขึ้นมา นานเข้าต้นไม้รอบบ้านหนาแน่นขึ้น ต้องใช้คันสูน ลักษณะคล้ายหนังสะติ๊ก ยิงเมล็ดผลไม้ออกไปให้ไกล จึงเกิดสวนขึ้นในบริเวณกว้าง ทุเรียนหลงลับแลมีผลจากการปลูกเมล็ดที่ใช้เมล็ดยิงไปตามป่า คนท้องถิ่นเขาคัดเลือกต้นดีเด่นอยู่นานปี สุดท้ายได้ต้นของ นางหลงอุปละเพียงต้นเดียวจึงตั้งชื่อว่า"หลงลับแล"ที่เล่าเรื่องหลงลับแลนี้เพราะหลงลับแลปลูกได้ในที่ราบ เป็นทุเรียนที่ติดผลดก เนื้อมาก เมล็ดลีบ รสชาดหวานมัน ปลูกที่จันทบุรีได้ผลดีรสชาดเยี่ยมยอด ทดลองปลูกที่สุพรรณบุรี ปลูกหมอนทองคู่กับหลงลับแล หมอนทองตายแต่หลงลับแลอยู่ได้ ชาวบ้านที่ลับแลบอกว่าหลงลับแลเนื้อไม้ละเอียด มีเลือดไม้ป่ามาก ทนทาน กิ่งก้านแข็งแรง ต่างจากหมอนทองที่ต้นอ่อนแอเนื้อไม้ไม่ละเอียด
ไม่ได้เชียร์ให้ปลูกในบ้านนะ ใครมีที่ดินว่างอยากปลูกไม้ผลก็ฝากไว้ด้วยละกัน จำพวกพันธุ์ดั้งเดิมพวกนี้
(สนใจเพิ่มเติมหาอ่านได้จากหนังสือ "ไม้ผลรอบบ้าน"ของ คุณ พานิชย์ ยศปัญญา )
-อื่น ๆ แก่นไม้มีสีแดงเข้ม กระพี้สีขาวน้ำตาลเหลืองซีดหรือเหลืองอมแดงอ่อน ๆ เนื้อหยาบ แต่ค่อนข้างทนทาน ใช้ในการก่อสร้างภายในและสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์และกล่องบรรจุสินค้าราคาถูก ไม้และเปลือกผลไม้แห้งใช้เป็นเชื้อเพลิง
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม/เดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน
ขยายพันธุ์---ด้วยการติดตา ตอนกิ่ง เสียบยอดหรือเพาะกล้าจากเมล็ด ซึ่งเมล็ดพันธุ์จะสูญเสียการงอกภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากนำออกจากผล


ทุเรียนเทศ/Annona muricata

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Annona muricata L.
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms
-Annona bonplandiana Kunth.
-Annona cearaensis Barb.Rodr.
-Annona macrocarpa Wercklé
-Guanabanus muricatus M.Gómez
ชื่อสามัญ---Soursop, Durian Belanda
ชื่ออื่น---ทุเรียนเทศ, ทุเรียนแขก, ทุเรียนน้ำ, มะทุเรียน ; [Assamese: Ata-phal,Atlas.];[Brunei Darussalam: Durian Salat.];[Cambodia: Tearb barung.];[French: Cachiman épineux, Corossolier.];[Indonesia: Sirsak, Nangka belanda.];[Kannada: Mulluramaphala.];[Malay: Durian belanda ("Dutch durian"),Durian maki];[Portuguese: Araticum-de-comer, Araticum-manso, Jaca-do-Pará.];[Spanish: Graviola, Guyabana.];[Tamil: Mullu-sitha-pazham.];[Thailand: Thu-rian-khack.];[Tonga: ‘apele ‘initia.];[Vietnam: Mang cầuXiêm, Mang cầu.].
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกากลาง แคริบเบียน
มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาและมีการขยายพันธุ์อย่างกว้างขวาง เป็นสายพันธุ์ที่นำมาใช้ในทุกทวีปพอสมควรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเขตกึ่งร้อน เติบโตระหว่างระดับความสูง 0 ถึง 1,200 เมตร ในประเทศไทยพบปลูกกันมากทางภาคใต้

ไม้ต้นขนาดเล็กสูง3-4 เมตร แตกกิ่งเป็นพุ่มกลม เปลือกเรียบสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม เนื้อไม้เหนียว มีกลิ่นฉุน ใบ รูปรีกว้าง5-7ซม.ยาว 9-15ซม.โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา ผิวใบเกลี้ยง สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกเดี่ยว หรือออกดอก2-3ดอกติดกัน ดอกสีเขียวเมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอก2ชั้น ชั้นนอกรูปสามเหลี่ยมหนาแข็ง ชั้นในขอบกลีบบรรจบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ผลกลุ่ม มีผนังรังไข่เชื่อมติดกัน ผลกลมรีขนาดกว้าง 6-10ซม. ยาว10-22 ซม.ปลายผลทู่ เปลือกสีเขียว มีหนามอ่อนเล็กๆห่างๆ มีเมล็ดจำนวนมาก สีดำ ยาวรี ขนาด1-1.5ซม.
การเพาะปลูก---ชอบขึ้นตามดินทราย ทนต่อความแห้งแล้งและทนทานต่อดินที่ไม่ดี
ใช้ประโยชน์---ใช้กินได้ ยอดอ่อน - สุก กินเป็นผัก ชาที่เรียกว่าชาโครอสซอล ทำจากใบ เนื้อผลกินได้เนื้อหวานอมเปรี้ยว ในฟิลิปปินส์เรียกว่าGuyabanoซึ่งมาจากภาษาสเปนguanábana ใช้กินสุกหรือใช้ทำน้ำผลไม้ปั่นหรือไอศกรีม ในกัมพูชาเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่าtearb barungแปลตามตัวอักษรว่า "คัสตาร์ด - แอปเปิ้ลฝรั่ง"
-ใช้เป็นยา ชาดอกหรือดอกตูมผสมกับน้ำผึ้งแก้หวัดเจ็บหน้าอกและเส้นประสาท เปลือกและผลอ่อนซึ่งมีแทนนินใช้รักษาอาการท้องร่วงและโรคบิด เปลือกสีเขียวถูที่บาดแผลเพื่อห้ามเลือด ทุเรียนเทศได้รับการส่งเสริมอย่างกว้างขวาง (บางครั้งเรียกว่า "กราวิโอลา") เป็นทางเลือกในการรักษามะเร็งแต่ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ว่าได้ผลในการรักษามะเร็งหรือโรคใด ๆ
-อื่น ๆ แก่นไม้มีสีน้ำตาล กระพี้มีสีขาว เนื้อไม้นุ่มเบา ไม่ทนทาน ไม่ค่อยใช้เป็นไม้ก่อสร้าง ไม้ใช้เป็นเชื้อเพลิงที่เหมาะสม มีการใช้ผงหรือน้ำมันจากเมล็ดเพื่อฆ่าเหาและตัวเรือด ทุกส่วนทั้งหมดมีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง
รู้จักอันตราย---เมล็ดมีพิษ ลำต้นมีสารระคายเคือง
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำ

น้อยหน่า/Annona squamosa

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Annona squamosa L.
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms
ชื่อสามัญ---Custard Apple, Sugar Apple, Sweet Sop
ชื่ออื่น---หมักเขียบ, ลาหนัง, มะนอแน่, มะแน่ ; [Assamese: Atloch,Atta-kothal,Ata-kathal,Ata-Kothal,Sitaphal,Katal,Atlas,Ata-phal;[Bengali: Ata phol.];[Hindi: Sharifa,Sitaphal.];[Hungarian: Gyömbéralma.];[Indonesia: Srikaya.];[Kannada: Sitapala,Sitaphala,];
[Portuguese:  Ata, Ateira, Fruta-de-condessa, Fruta-do-conde.];[Sanskrit: Atripya, Sitaphalam,Krishnabija.];[Spanish: Anona blanca, Anon, Chirimoyo, Fruta de condesa, Fruta del conde.];[Tamil: Seetha pazham.].
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกากลาง แคริบเบียน
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อนและหมู่เกาะอินเดียตะวันตก เติบโตได้ที่ระดับความสูงถึง 2,000 เมตร ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ


ไม้ พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 2-5เมตร เป็นพุ่มกลม ดอกสีเหลืองแกมเขียว กลีบดอกหนามี 3กลีบ ผลสีเขียวผิวนูนเป็นตาๆ เนื้อในผลสีขาว รสหวานมีเมล็ดมาก มีหลายพันธุ์ ผลสุกสีเขียว เหลืองทองหรือสีครั่ง มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ซม
การเพาะปลูก--- น้อยหน่า สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ดินเหนียวจัดจนถึงดินทรายจัดหรือดินลูกรัง แต่ที่ชอบที่สุดคือดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี pH 5.5-7.4 ทนได้ถึง 8 และน้อยหน่าชอบอากาศร้อนแห้ง แต่ไม่ค่อยชอบอากาศหนาวจัดหรือฝนตกชุกมากเกินไป
ใช้ประโยชน์--- ผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากต้นไม้นี้ได้รับการปลูกกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลกสำหรับผลไม้ที่กินได้มีขายทั่วไปในตลาด
-ใช้กิน ผลสุกมีรสหวานกินเป็นผลไม้นอกจากนี้ยังใช้ในการทำเชอร์เบทไอศกรีมเยลลี่
-ใช้เป็นยา ใช้ในแบบดั้งเดิมของอินเดีย, ไทย, และการแพทย์อเมริกัน ใบจะนำมาใช้ในการต้มเพื่อรักษาโรคบิดและการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
-อื่น ๆ กระพี้สีเหลืองอ่อนและแก่นไม้สีน้ำตาลอ่อนมีน้ำหนักเบาและอ่อนแอ เป็นแหล่งฟืนที่ดี เมล็ดมีสารฆ่าแมลง acetogin นำเมล็ดมาตำ แช่น้ำค้างไว้ 1คืน รุ่งเช้าเอาน้ำหมักมาฉีดพ่นฆ่าเหาและแมลง เป็นพิษกับ ด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อนแมลงวัน และมวนปีกแข็งเหมือนกัน  ให้ระมัดระวังเวลาตำอย่าให้เข้าตาได้เป็นอันขาด ตาอาจบอดได้
รู้จักอันตราย---เมล็ดมีพิษ ลำต้นมีสารระคายเคือง
ระยะออกดอก---กุมภาพันธ์/กรกฎาคม-เดือนกันยายน
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง เริ่มให้ผลเมื่ออายุ 3 - 4 ปี(เพาะเมล็ด)


น้อยโหน่ง/Annona reticulata

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Annona reticulata L.
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms
-Annona lutescens Saff.
-Annona excelsa Kunth
-Annona laevis Kunth
-Annona longifolia Sessé & Moc.
-Annona riparia Kunth
ชื่อสามัญ---Wild-sweetsop, Bull's heart, Ox-heart, Custard Apple, Bullock's Heart, Netted custard apple
ชื่ออื่น--- น้อยหนัง มะดาก มะเนียงแฮ้ง มะโหน่ง หนอนลาว ; [Assamese: Atlas,Nona.];[Bengali: Nona.];[Chinese: Niu xin guo, Niu xin li, Niu xin fan li zhi.];[French: Annone réticulée.];[German: Ochsenherz, Netzannone.];[Hindi: Ramphal.];[Indonesia: Buah nona.];[Japanese: Gyuushinri.];[Kannada: Ramphala, Ramphal.];[Khmer: Mean bat, Mo bat.];[Malayalam: Manilanilam.];[Portuguese: Araticum-coração-de-boi, Coração-de-boi, Fruta-de-condessa, Anoneira.];[Sanskrit: Lavani, Krishnabija, Krishnabija, Lavani.];[Tamil: Ramachita,Aninuna.];[Thai: Noi nong.];[Vietnam: Binh bat, Qua na.].
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวัน อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน ออสเตรเลีย และแอฟริกา ปานามาถึงเม็กซิโก แคริบเบียน
ไม่เป็นที่รู้จักในพื้นที่ป่าอย่างแท้จริงพบได้ทั่วไปในการเพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับความสูง 1,200 เมตร ในประเทศไทยเห็นกันได้ไม่บ่อยเหมือนน้อยหน่าทั้งที่ปลูกได้ทั่วประเทศ


น้อยโหน่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 3-5เมตร แตกกิ่งจำนวนมากเปลือกเรียบสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นฉุน มีจุดขาวสีน้ำตาลตามกิ่ง เปลือกนิ่มเนื้อไม้เหนียว ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ ใบสีเขียวเป็นมัน ใต้ใบสีอ่อน ขนาดใบกว้าง 6ซม.ยาว15ซม. ดอกออกตรงข้ามกับใบ 1-3ดอกสีเหลืองอมเขียว ผลกลุ่มมีผนังรังไข่เชื่อมติดกัน ก้านผลใหญ่ ปลายผลทู่ เปลือกผลอ่อนและเหนียว เป็นร่องตามรอยผลย่อยเล็กน้อย ขนาด7.5-13ซม. มีเมล็ดยาวรีสีดำหรือน้ำตาลจำนวนมาก ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด
การเพาะปลูก--- น้อยหน่า สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ดินเหนียวจัดจนถึงดินทรายจัดหรือดินลูกรัง แต่ที่ชอบที่สุดคือดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี pH 5.5-7.4 ทนได้ถึง 8
ใช้ประโยชน์---ผลสุกใช้กินเป็นผลไม้ เตรียมเป็นน้ำผลไม้ไอศกรีมหรือพุดดิ้ง ในอินเดียปรุงเป็นซอส
-ใช้เป็นยาใบใช้ป้องกันหนอนพยาธิและภายนอกเพื่อรักษาฝี ผลดิบและเปลือกอุดมไปด้วยแทนนิน ใช้รักษาโรคท้องร่วงและโรคบิด ในกรณีที่รุนแรงให้ต้มใบเปลือกไม้และผลไม้สีเขียวรวมกันเป็นเวลา 5 นาทีในน้ำหนึ่งลิตรเพื่อให้เป็นยาต้มที่มีฤทธิ์แรงมาก
-ใช้ปลูกประดับ สามารถปลูกได้ในสวนบ้านแม้ว่าจะไม่ได้รับความนิยมเท่าน้อยหน่าก็ตาม มีคุณค่าเป็นต้นตอสำหรับพันธุ์น้อยหน่าเช่นชมพู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพอากาศชื้น นอกจากนี้ยังเป็นทรัพยากรทางพันธุกรรมสำหรับการผสมพันธุ์
-อื่น ๆ เนื้อไม้สีเหลืองมีความนุ่มเป็นเส้น ๆ แต่ทนทานมีความละเอียดปานกลาง ใช้ทำแอกสำหรับวัว เมล็ดใบและผลอ่อนมีคุณสมบัติฆ่าแมลง
รู้จักอันตราย---เมล็ดมีพิษ ลำต้นมีสารระคายเคือง
ระยะออกดอก---กุมภาพันธ์/กรกฎาคม-เดือนกันยายน
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง


มังคุด/Garcinia mangstana

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Garcinia mangstana Linn.
ชื่อพ้อง---Mangostana garcinia Gaertn
ชื่อสามัญ--- Mangosteen, Ceylon camboge, Gamboge Tree.
ชื่ออื่น---มังคุด ; [Chinese: Dao nian zi.];[Malaysia: Manggis, Semetah, Semontah (Malay); [Siddha/Tamil: Sulambuli, Mangusta.]
ชื่อวงศ์---CLUSIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์--หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ เวสต์อินดีส กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึง ฮาวาย และประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมาเลย์ ปลูกในมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ได้แพร่กระจายไปทั่วเขตร้อนอย่างรวดเร็วและปัจจุบันได้รับการปลูกฝังในฮาวายและอเมริกา


รูปภาพ: สวนสวรส

พันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบ เขตร้อนต้นสูงประมาณ 6-25 เมตร ผลแก่เต็มที่มีสีม่วงแดง ยางสีเหลือง ใบเดี่ยวรูปรี ยาว 19–23 ซม. และกว้าง 4–10 ซม. แข็งและเหนียว ผิวใบมัน ดอกออกเป็นคู่ที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่งขนาดดอก 4-5 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล ผลมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.4–7.5 ซม.มีเปลือกนอกค่อนข้างแข็ง เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก เป็นผลไม้ที่ได้ชื่อว่าเป็น"Food of the Gods"และ"ราชินีของผลไม้" (คู่กับทุเรียน) เพราะรสชาดที่หวานอร่อยสม่ำเสมอเหมือนกันทุกลูก มังคุด จึงเป็นผลไม้ที่มีอยู่สายพันธุ์เดียว เรียกกันว่า "พันธุ์พื้นเมือง" จัดได้ว่ามังคุดเป็นผลไม้"พรหมจรรย์" เพราะเป็นผลไม้ที่ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและไม่ได้นำมาจากการผสมเกสร ซึ่งจะนำมาจากเนื้อเยื่อของอวัยวะเพศเมีย จึงเป็นลักษณะพิเศษของมังคุดที่จะไม่มีความแปรผันทางด้านพันธุกรรม การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดีจึงเป็นเรื่องทำได้ยาก การขยายพันธุ์ได้จากการเพาะเมล็ดและการเสียบยอด นอกจากจะได้ต้นตอจากการเพาะเมล็ดมังคุดแล้ว อาจใช้ต้นตอจากพืชชนิดอื่นที่อยู่ในตระกูลเดียวกันเช่น ชะมวง มะพูดป่า พะวา รง ซึ่งใช้ได้เช่นกัน
 การเพาะปลูก---อ่อนไหวต่อดินที่มีความเป็นด่างสูง มีระบบรากที่อ่อนแอและต้องการดินลึกระบายน้ำได้ดีมีความชื้นสูง ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตและการผลิตผลไม้คือ 25–35 ° C (77–95 ° F)โดยมีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 80% หากอุณหภูมิลดต่ำกว่า4 องศาจะทำให้มังคุดตาย
ใช้ประโยชน์---ใช้กินเป็นผลไม้สด ผลของมังคุด มีรสหวานและเปรี้ยวฉ่ำ
-ใช้เป็นยา เปลือกใช้เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบเรื้อรังแก้บิดและใช้เป็นโลชั่นรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังและบรรเทาอาการท้องร่วง และเป็นยาสมาน
-ใช้ปลูกประดับ ตอนนี้มีการขุดล้อมไม้ผลต้นใหญ่ๆมาขาย มังคุดนี่ก็ขึ้นหน้าขึ้นตา เพราะพุ่มทึบหนาสวย นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ใหญ่สำหรับจัดสวน
-อื่น ๆ สารสกัดจากเปลือกมังคุดถูกใช้ในอินโดนีเซียเป็นแหล่งที่มาของสีย้อมธรรมชาติสำหรับสีสิ่งทอ เพื่อให้ได้เฉดสีน้ำตาลน้ำตาลเข้มสีม่วงไปจนถึงสีแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งนำไปใช้กับผ้าทอแบบ Tenun ikatและผ้าบาติก
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง (มล็ดมีชีวิตสั้นมากเพียง 1-5 วันและต้องปลูกทันที)


มะม่วง/Mangifera indica

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Mangifera indica L.
ชื่อพ้อง---Mangifera anisodora Blanco.
ชื่อสามัญ---Mango, Indian mango, Cuckoo's joy,
ชื่ออื่น---มะม่วง ; [Burmese: Thar-yetthi,Thayet Thayt-hypu.];[Khmer: Svaay.];[Philippines: Pilipino Mangga, Paho.];[French: Mangue, Manguier, Margot.];[German: Mangobaum.];[Hawaiian: Manako.];[Hindi: Aam,Aam.];[Indonesian: Ampelam,Mempelam,Mangga.];[Kannada: Mavina Mara,Simavu.];[Laos: Mwàngx.];[Malay: Ampelam,Mempelam,Mangga.];[Sanskrit: Aamra,Amra Chuta.];[Spanish: Castilian Manga,Manguira,Mangó.];[Swahili: Maembe,Mwembe,Muembe.];[Tamil: Manga,Mamaram.];[Thai: Ma muang.];[Vietnamese: Xoai.].
ชื่อวงศ์---ANACARDIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--อนุทวีปอินเดีย เมียนมาร์ อินโดจีน ตาบสมุทรมาเลย์
การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติของ  M. indica  อยู่ในภูมิภาคอินโด - มาเลเชียโดยเฉพาะอินเดียและพม่า เติบโตที่ระดับความสูงถึง 700 เมตร

ไม้ ต้นสูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง เรือนยอดกลมทึบ ใบเดี่ยวมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันโดยปกติรูปไข่แคบถึงรูปใบหอกขนาด 12-38 x 2-13 ซม. ดอกสีนวลเป็นช่อออกที่ปลายกิ่ง ผลดิบสีเขียวสุกสีเหลืองแดง มีหลายพันธุ์  มีพันธุ์ทวายซึ่งออกนอกฤดูกาล ในประเทศไทย มะม่วงสามารถปลูก และผลิดอกออกผลได้ดีในพื้นที่ทุกจังหวัด และทุกภาคของประเทศ แต่จะให้ผลแตกต่างกันไปตามสภาพของท้องที่
หลายคนอาจมีปัญหากับ มะม่วงที่ปลูกว่าทำไมไม่ติดผล สาเหตุที่ทำให้มะม่วงไม่ติดผลนั้นมีสาเหตุที่ควรทราบ อย่าเพิ่งโค่นทิ้ง
-สาเหตุอันแรกเกิดจากเพลี้ยจั๊กจั่นและโรคราดำ สาเหตุ นี้เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดในการที่จะให้ช่อมะม่วงไม่ติดผล กล่าวคือ เพลี้ยจั๊กจั่นทำลายช่อดอกมะม่วง โดยดูดน้ำเลี้ยงช่อดอกมะม่วง ทำให้ดอกมะม่วงขาดน้ำเลี้ยง ไม่สามารถเจริญต่อไปเป็นผลมะม่วงได้ ดอกจะร่วงหล่นในที่สุด และในขณะเดียวกัน เพลี้ยจั๊กจั่นก็จะขับถ่ายออกมา เป็นของเหลวที่มีรสหวาน ที่เป็นอาหารอันโอชะของเชื้อราดำ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศ ทำให้ราดำเจริญได้ดีตามช่อดอกมะม่วงจะ เห็นช่อดอกมะม่วงเป็นสีดำๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเกิดมีหมอกลงจัด นั่นย่อมหมายความว่า มีละอองน้ำในอากาศอยู่มาก มีความชื้นสูง ซึ่งธรรมชาติของเชี้อราดำหรือราต่างๆ จะชอบเจริญได้ดีในที่ๆ มีความชุ่มชี้นสูง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หมอกมีส่วนช่วยให้โรคราเจริญ หรือระบาดได้อย่างรวดเร็ว วิธีแก้คือให้ฉีดน้ำล้างช่อดอก หรือใช้ยาพ่น
-สาเหตุอันเกิดจากสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแมลงและโรคทำลายช่อดอกก็คือ ต้น มะม่วงมีอายุไม่ถึงวัยที่จะออกดอกออกผล แต่ออกดอกก่อนกำหนด ต้นมะม่วงเหล่านี้ เมื่อออกดอกแล้ว มีดอกไม่ติดผล เพราะต้นมะม่วงยังไม่แข็งแรงและสมบูรณ์พอ อายุหรือวัยที่ต้นมะม่วงควรจะออกดอกออกผล คือ ถ้าปลูกด้วยกิ่งทาบหรือกิ่งติดตา ควรมีอายุประมาณ 4-5 ปีจึงเริ่มออกดอกออกผล ถ้าปลูกด้วยเมล็ด ควรมีอายุประมาณ 5-6 ปี ดังนั้นถ้ามะม่วงที่เรานำมาปลูกใหม่เป็นมะม่วงทาบกิ่งมาถ้าออกช่อดอกหรือติดผลให้เด็ดทิ้งก่อนหรือเหลือไว้สักลูกสองลูกเอาไว้ชิมผลงานก็พอ ต้นมะม่วงจะได้ไม่ชะงักงันหรือโตช้า  
การเพาะปลูก---ในดินที่อุดมสมบูรณ์และมีการระบายน้ำดี ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 7.5 ทนได้ 4.3 - 8.5 มีความทนทานต่อความแห้งแล้งและยังสามารถทนต่อน้ำท่วมขังในดินเป็นครั้งคราว
ใช้ประโยชน์---ใบอ่อน ปรุงเป็นผัก เป็นพืชที่ปลูกเพื่อรับประทานผลสามารถรับประทานได้ทั้งดิบและสุก
-ใช้เป็นยา ลำต้นมีรสฝาด ใช้รักษาอาการท้องร่วงและแก้ปวดท้อง รากขับปัสสาวะ ผลไม้เป็นยาต้านการอักเสบและยาแก้บิด เมล็ดมีรสฝาดแก้อาการท้องร่วง; ยาถ่ายพยาธิเมื่อคั่ว
-อื่น ๆ เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอมเหลืองซีดถึงน้ำตาลแดง ไม้เหมาะสำหรับงานก่อสร้างเบา งานกลึง เปลือกและใบเป็นแหล่งที่มาของสีย้อมสีน้ำตาลอมเหลืองที่ใช้สำหรับผ้าไหม
ระยะออกดอก---เดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน
ขยายพันธุ์---ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ติดตา หรือทาบกิ่ง


มะม่วงหิมพานต์

ชื่อวิทยาศาสตร์---Anacardium occidentale Linn
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
-Acajuba occidentalis (L. ) Gaertn.
-Anacardium microcarpum Ducke
-Cassuvium pomiferum Lam.
ชื่อสามัญ ---Cashew, Cashew nut ,Cashew tree, cashew nut tree
ชื่ออื่น---มะม่วงลังกา,มะม่วงสิงหล(เหนือ),มะม่วงไม่รู้หาว,มะม่วงหิมพานต์(กลาง),ส้มม่วงทูนหน่วย มะม่วงทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี) ; [ARABIC: Habb al-biladhir.];[ASSAMESE: Kajubadam.];[BENGALI: Hijli badam, Hijuli.];[BURMESE: Sihosayesi, Thee hot, Thiho thayet si.];[CHINESE: Jia ru shu, Yao guo li, Yao guo shu.];[CZECH: Kešú o?íšky.];[DUTCH: Cashewnoot, Kasjoe.];[FRENCH: Acajou à pommes, Anacardier, Cajou, Noix-cajou.];[GERMAN: Akajoubaum, Kaschubaum.];[HINDI: : Hijlibadam, Kaajuu, Kaju, Kajubadam, Khajoor.];[INDONESIA: Jambu mortyet, Jambu monyet.];[ITALIAN: Acajiú, Anacardio.];[JAPANESE: Kashuunatto no ki.];[KHMER: Svaay chantii.];[MALAY: Gajus, Jambu golok, Jambu mede.];[NEPALESE: Kaajuu.];[PHILIPPINES: Balubat, Batuban, Kachui (Tag.); Sambalduke (Ilk.).];[PORTUGESE: Cajú, Cajú do camop, Cajueiro-do-campo.];[SIDDHA/TAMIL: Mindiri.];[SPANISH: Anacardo, Cashu, Marañon.];[THAI: Mamuang him maphan, Mamuang letlor, Yaruang.];[VIETNAMESE: Cay dieu, Dao lon hot.].
ชื่อวงศ์---ANACARDIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลาง เม็กซิโก เวสต์อินดีส บราซิล เปรูประเทศในเขตร้อน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Anacardium ประกอบด้วยคำนำหน้ากรีกana=ขึ้น,cardia = หัวใจ, คำละตินต่อท้าย ium = อาจอ้างอิง ถึงรูปหัวใจของผลไม้ ; ชื่อสปีซี่ส์ Occidentale หมายถึงมาจากโลกตะวันตก (หรือภาคตะวันตก)
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาตั้งแต่เม็กซิโกจนถึงเปรูและบราซิล เติบโตที่ระดับความสูงประมาณ0-1000เมตร ในประเทศไทย มะม่วงหิมพานต์พบได้ทั่วไปในภาคใต้


เป็น ไม้ต้นสูงประมาณ12เมตร เปลือกเรียบสีน้ำตาล ใบเดี่ยวออกเรียงเวียนรูปไข่กลับถึงรูปรีกว้าง แผ่นใบหนาเรียบเกลี้ยงคล้ายแผ่นหนัง สีเขียวเข้ม โคนใบสอบ ปลายใบมนป้าน กว้าง7.5-10ซม. ยาว7.5-20ซม.ดอก ออกแบบช่อแยกแขนงหรือช่อเชิงหลั่น ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ สีเขียวอ่อนมีแถบสีแดง ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น สีแดงอมม่วง หรือสีครีม ดอกมีกลิ่นหอมเอียน ช่อดอกยาว15-20ซม. ดอกย่อยมีขนาดประมาณ 1 ซม. กลีบดอก 5กลีบ เกสรผู้8-10อันมี1อันที่ยาวกว่าอันอื่น ผลมีลักษณะเด่นคือ เมื่อแก่ฐานรองดอกขยายใหญ่ขึ้นเป็นลักษณะคล้ายผลชมพู่ ยาว6-7ซม.สีเหลืองอมชมพู เมื่อแก่จัดสีแดงและมีกลิ่นหอม เมล็ดรูปไตอวบน้ำรูประฆังคว่ำ ยาว2.5-3ซม.สีน้ำตาลอมเทามีเปลือกหุ้ม
การเพาะปลูก---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด ชอบดินทรายที่ระบายน้ำดี สามารถขึ้นในดินเหนียวที่มีน้ำขังหรือดินเค็มได้ pH ในช่วง 4.5 - 6.5
ใช้ประโยชน์---มะม่วงหิมพานต์มีต้นกำเนิดในอเมริกาปัจจุบันมะม่วงหิมพานต์เป็นหนึ่งในพืชตระกูลถั่วที่ปลูกกันมากที่สุดในโลก พืชยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมายรวมทั้งเป็นยาและแหล่งที่มาของสินค้าต่างๆ
-ใช้กิน ผลไม้ที่สุกอาจรับประทานได้ หวานแม้ว่าบางครั้งจะปวดและระคายเคืองต่อลำคอและลิ้น มักรับประทานกับเกลือ. นำเนื้อผลไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่มผลไม้รสฝาดหวานหรือหมักและกลั่นเป็นเหล้า เคอร์เนลมีรสชาติที่ยอดเยี่ยมเมื่อคั่วเป็นขนมขบเคี้ยวยอดนิยม - ใบอ่อนกินเป็นผักเป็นแหล่งแคลเซียมและธาตุเหล็ก
-ใช้เป็นยา เปลือกและใบรสฝาด ใช้เป็นยาในการบรรเทาอาการปวดฟันและเจ็บเหงือก ใบเป็นยาแก้ไข้ ใช้ในแอฟริกาตะวันตกในการรักษาโรคมาลาเรีย ในกายอานาใช้ยาต้มเปลือกเป็นยาแก้ท้องร่วง เมล็ดผงใช้เป็นยาต้านพิษงูกัด น้ำมันถั่วใช้เป็นยาต้านเชื้อราและรักษาส้นเท้าแตก ใน ยาแผนโบราณของแคเมอรูนใช้สำหรับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
-อื่น ๆ เนื้อไม้สีน้ำตาลแดงมีน้ำหนักเบาค่อนข้างแข็ง ไม่ทนปลวก บางครั้งใช้สำหรับงานก่อสร้างและงานช่างไม้ทั่วไป และยังนำไปทำเป็นฟืนและถ่านได้ เปลือกไม้ฉุนมีแทนนิน 3-5% และใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง
ขยายพันธุ์---ด้วยการปักชำ ทาบกิ่ง ติดตา เสียบยอด


หนามแดง/Carissa carandas

ชื่อวิทยาศาสตร์---Carissa carandas L.
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms
-Arduina carandas (L. ) K. Chum .
-Carissa salicina Lam.
-Echites spinosus Burm.f.
-Jasminonerium carandas Kuntze
-Jasminonerium salicinum (ลำ.) Kuntze
ชื่อสามัญ ---Bengal-Currants, Carandas-plum, Karanda, Christ's thorn, Jasmine flowered carrisa
ชื่ออื่น---หนามขี้แฮด, หนามแดง, มะนาวไม่รู้โห่, มะนาวโห่ ; [Assamese: Korjatenga,Karenja,Korja tenga.];[German: Karanda Wachsbaum.];[Hindi: Karaunda.];[Malayalam: Klavu,Kalachedi,Karakka,Karanda.];[Portuguese: Karamarda.];[Tamil: Kila,Kilaakkaai,Kalaaha,Killeekkaa.];[Thai: Nam phrom, Nam Daeng.]
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล จีน พม่า ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย   
เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดแถบเทือกเขาหิมาลัย มีการกระจายตัวตั้งแต่เนปาลไปจนถึงอัฟกานิสถาน รวมไปถึง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ศรีลังกา พม่า จีน และไทย ในธรรมชาติเจริญเติบโตในพื้นที่ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 300 ถึง 1,800 เมตร


ไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 เมตร มียางขาว เปลือกมีสีเทาอ่อน ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปไข่ ไม่มีหูใบ กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 3-7ซม. ปลายใบมนหรือเว้า ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบเรียงเป็นแบบช่อเชิงหลั่น มี 2-3ดอก ต่อช่อ ดอกขนาด  3.5-5.5 ซม. กลีบดอกสีขาว หรือสีชมพู ผลสดมีเนื้อสีม่วงถึงดำ ทรงกลมถึงรูปไข่กว้างยาวประมาณ 10 - 25 มม มีเมล็ดแบนรูแไข่มี  2-4 เมล็ด
การเพาะปลูก---เติบโต้ทั้งใน ตำแหน่งที่แสงแดดจัดหรือมีร่มเงาขึ้นได้ในดินที่หลากหลาย ชอบ pH ในช่วง 6.5 - 8 ทนได้ 6 - 8.5 ทนทานและทนแล้ง
ใช้ประโยชน์---ปลูกในสวนทั้งเป็นไม้ประดับและผลไม้ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน มักไม่ปลูกในเชิงพาณิชย์
-ใช้กิน ผลดิบ สุก เปรี้ยวมากเมื่อสุก แต่จะมีรสเปรี้ยวอมหวานเมื่อสุกเต็มที่ ในอินเดียใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารในผักดองและเครื่องเทศ ใช้ทำเยลลี่ แยมและน้ำเชื่อม
-ใช้เป็นยา ใช้ในระบบการแพทย์อายุรเวชของอินเดียโบราณ เพื่อรักษาความเป็นกรดอาหารไม่ย่อย แผลสดและติดเชื้อโรคผิวหนัง ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะและแผลจากเบาหวาน รากใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ยาถ่ายพยาธิ สำหรับแก้คัน
-อื่น ๆ เนื้อไม้แข็งใช้ทำเครื่องใช้ขนาดเล็ก รากใช้เป็นยาไล่แมลง
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม/เดือนกรกฎาคม-กันยายน
ขยายพันธุ์---ด้วยการปักชำ ทาบกิ่ง ติดตา เสียบยอด

คงจำเรื่องพระรถ-เมรี กันได้ มะม่วงไม่รู้หาว ในเรื่องนั้นก็คือมะม่วงหิมพานต์ ส่วนมะนาวไม่รู้โห่ ก็คือ ต้นหนามแดง
แต่ตอนนี้ มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่ หายไป กลายเป็น มะม่วงหาวมะนาวโห่ แล้วก็หมายถึง ต้นหนามแดงต้นเดียว
คือที่รู้ๆมาพอวันเวลาผ่านไปกลายเป็นไม่รู้ซะงั้น อนิจจังไม่เที่ยง
ต้นหนามแดงนี่ผลของมันสวยงามมากเวลาออกทั้งต้นจะเห็นผลอ่อนผลแก่สลับสีขาว เขียว แดง ดำ
มีสรรพคุณในด้านการซ่อมแซมร่างกายหลายประการ ก่อนหน้าฟันทิ้งกันประจำเพราะหนามแหลมคมมาก แต่เดี๋ยวนี้เมื่อรู้สรรพคุณ เห็นมีกันปลูกบ้านละต้นสองต้น รอดจากการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ไปได้อีกต้นไปได้

ชมพู่/Eugenia spp.

ชื่อวิทยาศาสตร์---Eugenia spp.
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms
ชื่อสามัญ --- Rose Apple, Wax Apple, Java Apple
ชื่ออื่น--- ชมพู่ ; [Chinese: Lien wu.];[French: Pommerose.];[India: Gulabjaman.];[Malaysia: Jambu air manar(Malay)[Philippines: Akopa.]; [Spanish: Pomarosa.].
ชื่อวงศ์---MYRTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- ประเทศในเขตร้อนชื้นต่างๆ โดยเฉพาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย


ชมพู่เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งมีต้นกำเนิดในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้แต่ พัฒนาสายพันธุ์มาจากอินเดียมีสายพันธุ์หลักๆ 2ชนิด คือ สายพันธุ์ที่มาจากประเทศไทยผลจะมีสีเขียวอ่อน ส่วนสายพันธุ์ที่มาจากประเทศมาเลย์เซีย ผลจะมีสีแดง
มีการจำแนกชมพู่ออกเป็นกลุ่ม จะทำให้เข้าใจยิ่งขึ้น ดังนี้
----Syzygium aqueum มีชื่อสามัญว่า water apple แทนที่จะเป็น rose apple  เพราะพันธุ์นี้มีน้ำมาก กรอบและรสหอมหวาน ชมพูไทยหลายชนิดอยู่ในกลุ่มนี้
----Syzygium jambos  เป็นพันธุ์ที่เรียกว่า rose apple เช่น ชมพู่น้ำดอกไม้ ชมพู่พันธุ์นี้แม้จะมีกลิ่นหอมแต่รสจืดซืด
----Syzygium samaramgense เรียกว่า พันธุ์ขวา หรือพันธุ์อินโดนีเซีย เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม ชมพู่เพชร
----Syzygium malaccensis พรือที่เรียกพันธุ์มาเลย์ เช่น ชมพู่ สาแหรก ชมพู่มะเหมี่ยว
ชมพู่พันธุ์พื้นเมือง ที่มีอยู่ในประเทศไทยได้แก่                                                                                                
----ชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นชมพู่ผลกลม ภายในผลกลวง ที่ก้นผลมีกลีบ มองดูคล้ายดอกไม้
----ชมพู่สาแหรก คล้ายชมพู่มะเหมี่ยวแต่ขนาดผลเล็กกว่า บริเวณปลายกลีบยื่นออกมา เนื้อสีขาวขุ่น รสหวานฉ่ำน้ำ
----ชมพู่แก้มแหม่ม ผลสีสีขาวออกชพุ เนื้อนุ่ม มีไส้เป็นปุย รสจืดแต่หอม
----ชมพู่มะเหมี่ยว ผลสีแดงเข้ม เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมคล้ายดอกกุหลาบ        
----ชมพู่พลาสติก หรือชมพู่แก้ว ขนาดเล็ก รูรงแป้น ผิวสีแดงสด เนิ้อน้อย รสเปรี้ยว มักปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามบ้าน
ชมพู่เป็นพืชจัด อยู่ตระกูลเดียวกับฝรั่ง หว้า ยูคาลิปตัส เป็นพืชที่ชอบน้ำ จัดเป็นไม้ผลที่มีลำต้นขนาดใหญ่ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลาบ ผลมีรสชาติหวานกรอบ สามารถเจริญเติบโตได้ ในทุกสภาพพื้นที่ แต่จะเจริญเติบโตได้ดีที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวสภาพความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.5 - 7
ใช้ประโยชน์---คนไทยนิยมปลูกเป็นไม้ที่ให้ผลใกล้บ้าน อยากได้ผลสวยไม่มีหนอนเจาะ เวลาชมพู่ให้ผลควรห่อผลกันแมลงมาวางไข่ การห่อผลก็ไม่ยาก ใช้กระดาษหนาๆมันๆแบบหนังสือนิตยสารแพงๆ เดี๋ยวนี้ (2017)คงหายากเข้าเน็ตกันหมด ทำเป็นกรวยคว่ำ แมลงจะบินขึ้นลงแบบเฮลิคอปเตอร์ไม่ได้ กว่ากระดาษจะพังชมพู่ก็จะรอด ฤดูการออกผลของชมพู่โดยธรรมชาติแล้วออกกันปีละครั้งช่วงเดือนกุมภา-มีนา แต่ถ้ามือโปรแล้วละก็ ทำให้ชมพู่ออกผลตอนไหนก็ได้ ปีหนึ่ง หารับประทานชมพู่กันได้หลายหน       
-ใช้กิน ชมพู่มีวิตามินเอ วิตามินซี โพแทสเซียมและฟอสฟอรัส นอกจากจะใช้รับประทานสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้เช่น เยลลี่ แยม และแช่อิ่ม เป็นต้นมี สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้กระหายน้ำ ลดอาการอักเสบของผิวจากการโดนความร้อนและแสงแดดได้ดี  ชมพู่ มีหลายพันธุ์และหลายสี เช่นสีเขียว ขาว ชมพู ชมพูอมแดง เป็นผลไม้ที่มีน้ำสูงเหมาะสำหรับรับประทานแทนอาหารในช่วงมื้อเย็นสำหรับลด ความอ้วน
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด


ชมพู่มะเหมี่ยว/Syzygium malaccense

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Syzygium malaccense (L.) Merr. & LMPerry
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
-Jambosa malaccensis (L. ) DC.
-Eugenia malaccensis L.
ชื่อสามัญ---Malay Apple, Malayasian Apple, Mountain Apple
ชื่ออื่น---ชมพู่มะเหมี่ยว ชมพู่สาแหรก ม่าเหมี่ยว ชมพู่แดง ; [AYURVEDA: Lavanga, Devakusum, Devapushpa.];[ASSAMESE: Pani-jamuk.];[BENGALI: Malaka jamrul.];[CHINESE: Ma liu jia pu tao, Hong hua qing tao];[FRENCH: Jamboissier rouge; Jambosier de Malaque.]; [GERMAN: Apfel- Jambose.];[INDONESIA: Darsana; Djamboo bol; Jambu bol; Jambu tersana.];[JAPANESE: Maree futo momo.];[KHMER: Chompuh kraham.];[MALAYSIA: Jambu bar; Jambu bol; Jambu kapal.];[MYANMAR: Di-la; Thabye-byu; Thabyo-thabyay; Thabyu-thabye; Zabu-thabye-ahni.];[PHILIPPINES: Gubal; Makopa; Makopang-kalabau.];[PORTUGUESE: Jambo vermelho (Brazil), Jambeiro.];[PUERTO RICO: Manzana malaya; Ohia.];[SIDDHA/TAMIL: Kiraambu, Lavangam.];[SPANISH: Manzana de agua; Pera noruega.]; [SWEDISH: Malajäpple.];[THAI: Chom phûu daeng, Chom phûu mamieo, Chom phûu saaraek.];[TONGA: Fekika; Fekika kai.];[UNANI: Qaranful, Laung.];[VIETNAM: Cay dao, Cay roi, Dièu dò, Man hurong tau.];
ชื่อวงศ์---MYRTACEAE
ถิ่นกำเนิด--- ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---คาบสมุทรมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา
มีถิ่นกำเนิดในมาเลเซียและออสเตรเลียแพร่กระจายไปในประเทศเขตร้อนรวมถึงแคริบเบียน เติบโตที่ระดับความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึง 2,740 เมตร ในประเทศไทย ปลูกได้ทุกภาค

 

ไม้ยืน ต้นขนาดกลางสูง 8-25 เมตร ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น เรือนยอดทรงกลมหนาทึบ เปลือกนอกขรุขระเล็กน้อย  ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงข้ามสลับกันเป็นคู่ ๆ  เนื้อใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ขนาดของใบกว้าง13-16ซม.ยาว25-30ซม.ดอกช่อออกตามกิ่งและลำต้น ประกอบด้วยดอกย่อย 3-5 ดอก ขนาดใหญ่สีชมพูเข้มหรือสีแดง มีเกสรตัวผู้และก้านชูเกสร สีชมพูเด่นชัด ติดอยู่โดยรอบที่ขอบของฐานรองดอกจะอยู่ แยกกัน ขนาดยาว 4-5 ซม. มีกลีบรองดอก 4 กลีบ และมีกลีบดอก 4 กลีบ ผลรูปทรงกลมยาว 5-7 ซม. ด้านปลายโป่งออกขนาดโตกว่าด้านขั้วผลเล็กน้อย สีผลเมื่อสุกสีแดงเข้มอมม่วง เนื้อข้างในผลสีแดงอ่อน หรือขาวลายแดงและสีขาว เมล็ดใหญ่ค่อนข้างกลม 1-5 เมล็ดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม
การเพาะปลูก---เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศชื้น ดินร่วน ต้องการน้ำมาก แสงแดดปานกลาง
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลสุกสด เนื้อผลหนา เนื้อมีความนุ่ม มีรสเปรี้ยวอมหวาน และมีกลิ่นหอมใช้กินเป็นผลไม้ ผลกินดิบอาจปรุงแต่งด้วยเครื่องปรุง ทำอาหารคาวเช่นยำโดยใช้เกสร เมื่อ แก่แล้วยังมีรสเปรี้ยว นิยมนำไปต้มรวมกับผลไม้อื่น ๆ ให้มีรสเปรี้ยวน้อยลง ในอินโดนีเซียดอกไม้กินในสลัด ยอดอ่อนและใบกินดิบหรือสุก
-ใช้เป็นยา ในอายุรเวทตำรับยาอินเดียโบราณ ใช้ขับลมต้านการอักเสบต้านเชื้อแบคทีเรีย ดอกตูม - ยาแก้ปวด, ยากระตุ้น, ยาขับลม ใช้ในอาการอาหารไม่ย่อยระคายเคืองกระเพาะอาหาร รากแก้คัน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ เปลือกราก ขับประจำเดือน ใบ แก้บิด
-ใช้ปลูกประดับ ชมพู่มะเหมี่ยวมีระบบรากที่ไม่เป็นอันตรายต่อตัวบ้าน อีกทั้งโตช้า จึงเหมาะสมจะปลูกไว้เพื่อประดับและรับประทานในบ้านเป็นที่สุดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมคือ บริเวณสวนที่มีความชุ่มชื้นตามสวนริมน้ำ
-อื่น ๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป
ระยะออกดอก---ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---ด้วยเมล็ดและการตอนกิ่ง ปักชำ เสียบยอด

ฝรั่ง/Psidium guajava

ชื่อวิทยาศาสตร์---Psidium guajava L.
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
ชื่อสามัญ---Guava, common guava,
ชื่ออื่น---ฝรั่ง จุ่มโป มะก้วย สีดา ; [CHINESE: Fan shi liu.];[FRENCH: Gouyave, Goyave, Goyavier.];[HINDI: Amaruud.];[GERMAN: Echte Guave, Guajave.];[JAPANESE: Banjirou, Guaba.];[KHMER: Trapaek sruk.];[LAOS: Sida.];[MYANMAR: Malakapen, Malaka, Mankala.];[PORTUGUESE: Araçá, Araçá-guaçu,Goiabeira, Goiabeira-branca, Goiabeira-vermelha.];[SINHALESE: Pera.][SPANISH: Arazá, Arrayan, Bimpish, Guayaba, Guayaba del Perú[SWEDISH: Guava, Guavaträd];[THAI: Farang, Dton farang.];[VIETNAM: Cây ổi.];[ZULU: Ugwava.];
ชื่อวงศ์---MYRTACEAE
ถิ่นกำเนิด--- ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---เมริกากลางและในหมู่เกาะเวสต์อินดีส ประเทศในเขตร้อนทั่วไป
เป็นต้นไม้พื้นเมืองในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ จากเปรูทางเหนือไปเม็กซิโกและแคริบเบียน ออกดอกติดผลได้ในระดับความสูงถึง 1,500 เมตรและอยู่รอดได้สูงถึง 2,000 เมตร

 

ฝรั่ง เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-10 เมตร เปลือกต้นเรียบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ดอกเดี่ยว หรือช่อ2-3ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย ผลเป็นผลสดขนาด4-12ซม. มีเมล็ดจำนวนมาก
การเพาะปลูก---ตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์เก็บความชื้น ทนต่อดินเค็มได้ปานกลาง ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 7.5 ทนได้ 4 - 8.5 ทนแล้งได้ดีกว่าพืชผลไม้เมืองร้อนส่วนใหญ่
ฝรั่งมีหลายพันธุ์ พันธุ์ที่กำลังได้รับความนิยมคือพันธุ์แป้นสีทอง แต่จะเอามาปลูกในบ้านไม่ค่อยเหมาะเพราะอ่อนแอต่อโรคระบาด ที่เห็นชัดคือเพลี้ยแป้ง เริ่มแรกถ้าจะปลูกฝรั่งต้องคัดพันธุ์ที่ทนต่อโรค ไม่มีโรคแมลงติดมากับกิ่งพันธุ์ ข้อดีของฝรั่งคือฝรั่งจะให้ผลผลิตเร็วอายุประมาณ8เดือนก็จะเริ่มห่อผลกัน(ไม่ห่อ ไม่ได้กิน)ขนาดเท่าผลมะนาวก็เริ่มห่อได้ โดยใช้ห่อ2ชั้นคือใช้ถุงพลาสติกใสเจาะก้นถุงห่อชั้นแรกแล้วใช้กระดาษหนังสือ พิมพ์หุ้มอีกที (ไม่เหมือนห่อชมพู่ ชมพู่บอบบางห่อแบบนี้ไม่ได้) ถ้าขี้เกียจห่อไม่สนใจผลเพราะหาซื้อง่ายปลูกฝรั่งไว้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ฝรั่งเป็นผลไม้ที่กินได้และสามารถกินดิบหรือปรุงสุกได้ มีวิตามินซีสูงมากและยังเป็นแหล่งของวิตามินเอและเพคติน ในอินโดนีเซียใบใช้ในการปรุงอาหาร
-ใช้เป็นยา ใช้ในการแพทย์แผนโบราณในหลายวัฒนธรรมทั่วอเมริกากลางแคริบเบียนแอฟริกาและเอเชีย ใช้สำหรับการอักเสบ , โรคเบาหวาน , ความดันโลหิตสูง , โรคฟันผุ , แผล , บรรเทาอาการปวด , ไข้ , ท้องร่วง , โรคไขข้อและโรคปอด - ใบฝรั่งนี่ตำรายาไทย ใช้ใบแก่10-15ใบปิ้งไฟชงกับน้ำกินหรือใช้ผลอ่อน1ผลฝนกับน้ำปูนใสแก้ท้องร่วง ปากไม่หอมเคี้ยวใบฝรั่งระงับกลิ่นปาก
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกในสวนเป็นไม้ผลประดับในบ้านไว้ใช้รับประทาน นอกจากนี้ยังกลายเป็นพันธุ์บอนไซยอดนิยมและปัจจุบันค่อนข้างเป็นที่นิยมในอินเดียและเอเชียตะวันออก
-วนเกษตร เป็นสายพันธุ์บุกเบิกที่ยอดเยี่ยมสำหรับใช้ในการเพาะปลูกแบบถาวรเมื่อสร้างสวนป่า
-อื่น ๆ แก่นไม้มีสีน้ำตาลหรือแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน ไม้ฝรั่งเนื้อไม้ไม่ทนทานแมลงและเชื้อรา ในฮาวายไม้ฝรั่งใช้รมควันเนื้อสัตว์ ในไนจีเรียพบว่าเหมาะสำหรับโครงหลังคา -ใบตำกับกะทิและสารอื่น ๆ เพื่อย้อมสีไหมให้เป็นสีดำ -การแปรรูปผลไม้ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่สามารถนำไปเลี้ยงปศุสัตว์ได้ พืชมีคุณสมบัติฆ่าแมลง
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ เสียบยอด


องุ่น/Vitis vinifera


ชื่อวิทยาศาสตร์---Vitis vinifera Linn.
ชื่อสามัญ---Grape, Grape Vine, common grape vine
ชื่ออื่น---องุ่น ; [ARABIC: Zabeeb.];[AYURVEDA: Draakshaa, Go-stani, Mrdvikaa. Dehydrated fruit—Daakh, Munnakaa, Kishmish.];[CHINESE: Ye P’u t’ao.];[FRENCH: Vigne Cultivé.];[GERMAN: Weinrebe.];[HINDI: Munakka, Dakh, Kishmish, Angur.];[SANSKRIT: Draksha.];[SIDDHA: Draksha.];[UNANI: Angoor. Dehydrated fruit—Daakh, Maweez, Zabeeb, Munaqqaa, Kishmish.].
ชื่อวงศ์---VITIDACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปยุโรป
เขตกระจายพันธุ์---เมดิเตอร์เรเนียน ,ยุโรปกลาง ตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชีย
พืขพื้นเมืองในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน ,ยุโรปกลางและตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชีย จากโมร็อกโกและโปรตุเกสเหนือไปทางตอนใต้ของเยอรมนีและทิศตะวันออกไปทางตอนเหนือของอิหร่าน


เป็น ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง อายุหลายปีใช้มือพันเลื้อย พันได้ไกลถึง 35เมตรซึ่งสามารถทำให้เป็นต้นตั้งได้ ลำต้นเกลี้ยงมีมือจับ ใบกลมหรือรูปไข่ ขอบใบจัก และบางครั้งมีปลายแฉกแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ผิวใบมีขนสั้น ดอกมีขนาดเล็กออกเป็นช่อแยกแขนงเป็นกระจุก มีกลีบห้ากลีบ โคนกลีบอาจติดกัน เกสรตัวผู้มี5อัน อยู่ตรงกับกลีบ ผลเป็นผลกลุ่ม มีนวลสีขาวเกาะตามผิวเมื่อสุกนุ่ม มีรสหวานมี2-4เมล็ด
การเพาะปลูก--- ชอบแสงแดดรำไรหรือแดดจัด ปลูกขึ้นค้างสูงจากพื้น 1.5-2 เมตร โดยไม้ไผ่หรือใช้ลวดไม่เป็นสนิมเบอร์11 ขึงขึงเป็นตารางให้ต้ยองุ่นเลื้อย
องุ่น เป็นไม้เขตอบอุ่นค่อนไปทางหนาว เมืองไทยเป็นเมืองร้อนก็จริงแต่ก็สามารถปลูกได้บางพื้นที่ บางพันธุ์มีการปรับปรุงพันธุ์เป็นองุ่นไร้เมล็ด ซึ่งผลมีขนาดเล็กกว่า การปลูกองุ่นต้องมีตารางการจัดการที่ดี ปัจจัยการผลิตต้องถึงพร้อมอย่างเช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง องุ่นพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมีด้วยกัน3สายพันธุ์คือพันธุ์คาร์ดินาล,ไวท์มะละกาและน่านฟ้า-1
ที่บ้านปลูก องุ่นต้น2ต้นไว้ในบ้าน จึงทำให้ดูแลและทำให้ติดผลค่อนข้างยาก ทำซุ้มให้เลื้อย ตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ย ไว้ดูใบ OK แต่ถ้าไม่มีเวลาเอาใจใส่จะกลายเป็นงานศิลป์อย่างในภาพนี้ใบแก่ใบอ่อนเป็นรูพรุนเพราะโดนแมลงกินใบหมด
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน องุ่นกินสด แปรรูปทำน้ำส้มสายชูหรือน้ำผลไม้หรืออบแห้งและสายพันธุ์Vitis viniferaเป็นพื้นฐานของไวน์ส่วนใหญ่ที่ผลิตทั่วโลก
-ใข้เป็นยา เภสัชตำรับอายุรเวทของอินเดียแนะนำให้ใช้ผลไม้แห้งที่โตเต็มที่ (5-10 กรัม) ในโรคโลหิตจาง โรคดีซ่าน อาการอาหารไม่ย่อย ท้องผูก โรคเกาต์ ไออาการหายใจลำบากและโรคพิษสุราเรื้อรัง
ขยายพันธุ์---ด้วยการตอน เพาะเมล็ด ปักชำ ทับกิ่ง ติดตา

แอปเปิ้ล/Malus domestica

ชื่อวิทยาศาสตร์---Malus domestica Borkh
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
-Pyrus malus L.
-Pyrus malus var. mitis Wallr.
-Malus pumila var. Domestica (Borkh.) CK Schneid.
ชื่อสามัญ---Apple, Apple Tree
ชื่ออื่น---แอปเปิ้ล ; [Danish: Almindelig æble, Sød-æble.];[FRENCH: Pommier commun.];[GERMAN: Kultur-Apfel, Apfelbaum, Apfel, Garten-Apfel.];[LITHUANIAN: Naminė obelis.];[POLISH: Jabłoń Domowa.];[SPANISH: Manzano.];
ชื่อวงศ์---ROSACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์----ยุโรป , เอเชีย อเมริกาเหนือ
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล ' malus ' มาจากภาษากรีก 'malon' ซึ่งหมายถึงแอปเปิ้ลแม้ว่าจะยังไม่ทราบที่มาของคำนี้ ; ชื่อสปีซี่ส์คำว่า ' domestica ' มาจากภาษาละติน 'domesticus' = บ้าน, ชนพื้นเมือง อ้างอิงถึงชื่อของไม้ผลที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียงกับบ้าน
แอปเปิ้ลอยู่ในวงศ์กุหลาบ (Rosaceae) ซึ่งมีมากกว่า 100 สกุลและ 3000 ชนิดกระจายอยู่ทั่วโลก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียกลางถึงอัฟกานิสถาน มีการกระจายในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือเช่นยุโรป, เอเชียและอเมริกาเหนือ แอปเปิ้ลที่ได้รับการเพาะปลูกM. domestica (บางครั้งก็กำหนดM. x domestica Borkh. เพื่อบ่งชี้แหล่งกำเนิดลูกผสม)

รูปภาพประกอบจาก : Botanica's Pocket Trees & Shrubs, Random House Australia

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลางลักษณะต้น และใบ เป็นไม้เนื้อแข็ง รูปร่างของยอดที่เจริญเต็มวัยจะแตกต่างไปตามชนิดและตามพันธุ์โดยทั่วไปต้นแอปเปิลมีผลรูปร่างเกือบเป็นทรงกลม ผลคล้ายชมพู่มีรอยเป็นปุ๋มทางด้านขั้วและก้นผลแต่ไม่ลึกนักมีสีผิวต่างกัน ตั้งแต่สีเหลืองคล้ำจนถึงน้ำตาลแดงเข้ม เนื้อมักจะมีสีขาวหรือขาวนวลซึ่งมีลักษณะหยาบ
จากมุมมองทางพฤกษศาสตร์แอปเปิ้ลไม่ใช่ผลไม้ แต่เป็นผลไม้เสริม มันเติบโตจากภาชนะที่ล้อมรอบรังไข่แทนที่จะมาจากรังไข่เอง โครงสร้างแห้งที่ฐานของแอปเปิ้ลตรงข้ามกับลำต้นเป็นซากของดอกไม้ เช่นเดียวกับสมาชิกทุกคนในตระกูลกุหลาบเหล่านี้มีห้ากลีบ เมื่อผ่าเป็นสองชิ้นจะเห็นแกนกลางห้าส่วนซึ่งสร้างขึ้นจากคาร์เพลทั้งห้าที่มีรังไข่
การเพาะปลูก---การปลูกแอปเปิลต้องปลูกในที่มีอากาศหนาวเย็นยาวนานโดยจะทำให้ระยะพักตัวยุติลง โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 60-85 องศาฟาเรนไฮต์ ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาฟาเรนไฮต์ จะเป็นอันตรายต่อระบบรากอย่างรุนแรง สำหรับดินที่เหมาะสมกับการปลูกแอปเปิ้ลควร เป็นดินร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุสูงมีค่า pH 6-7 และแอปเปิ้ลไม่ชอบดินที่มีน้ำขังบริเวณราก ต้นแอปเปิ้ลปลูกง่ายและมีการต่อกิ่งให้กับต้นตอหลายชนิดทำให้เหมาะสำหรับปลูกในสวนทุกขนาด - บางต้นสามารถปลูกได้ในภาชนะ มีหลายพันสายพันธุ์ให้เลือกซึ่งโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ประเภทใช้กินและใช้ทำอาหาร
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน เป็นหนึ่งในผลไม้ที่เป็นที่ต้องการและดีต่อสุขภาพมากที่สุดในโลกมีการผลิตถึง 83.14 ล้านตันในปี 2560 ( FAO, 2018 ) ประมาณ 71% ของแอปเปิ้ลบริโภคสดในขณะที่ประมาณ 20% ถูกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มซึ่ง 65% ถูกแปรรูปเป็นน้ำผลไม้เข้มข้น
-ใช้เป็นยา แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่มีคนนิยมทั่วโลก สุภาษิตฝรั่งบอกว่า " An apple a day keeps the doctor away."แปลว่า กินวันละหนึ่งผลไม่ต้องหาหมอ เพราะ แอปเปิ้ลจะช่วยล้างสารพิษในร่างกายได้ และเป็นยาบำรุงร่างกายอย่างดีผู้ที่ต้องการลดความอ้วนรับทานแอปเปิลแทนข้าวมื้อเย็นหรือมื้อระหว่างวัน ได้เลย ไฟเบอร์ในแอปเปิลจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลได้
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-มิถุนายน/สิงหาคม-พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์----เมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง ต่อกิ่ง เสียบยอด

มะเฟือง/Averrhoa carambola

ชื่อวิทยาศาสตร์---Averrhoa carambola L.
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
-Averrhoa acutangula Stokes.
-Sarcotheca philippica (Villar) Hallier f.    
ชื่อสามัญ---Carambola, Caramba, Star Fruit, Five corners fruit , Blimbing, Star pickle, Chinese gooseberry,
ชื่ออื่น---มะเฟือง, เฟือง(ภาคใต้) ; [ASSAMESE: Kordoi, Rohdoi.];[BENGALI: Kamranga.];[CHINESE: Wu lian zi, Yang tao, Yongt'o (Mandarin), Ma fen, Yang-táo.];[FRENCH: Carambolier; Carambolier vrai.];[GERMAN : Karambole, Karambolasßaum, Sternfrucht.];[JAPANESE: Gorenshi, Karanbora, Sutaaru furuutsu.];[KHMER: Spu.];[LAOTIAN: Nak fuang.];[MALAY: Belimbing batu, Belimbing besi, Belimbing manis.];[PHILIPPINES: Balimbing, Balimbin (Tag.)[PORTUGUESE: Caramboleiro, Camerunga (Brazil), Limas de Cayena.];[SANSKRIT: Karmaranga.];[TAMIL: Thambaratham, Tamarattai.];[TELUGU: Ambanamkaya.];[THAI: Ma fueang, Fueng.];[VIETNAMESE : Khế, Khế chua, Khế thái lan, Quả khế.].
ชื่อวงศ์---OXALIDACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อนุทวีปอินเดียและศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย
ต้นไม้พื้นเมืองเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากไม่พบพืชชนิดนี้ในป่าจึงเป็นการยากที่จะระบุว่ามีต้นกำเนิดมาจากที่ใด มีการเพาะปลูกในอนุทวีปอินเดียและศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ในอเมริกาใต้ : โดมินิกัน บราซิล เปรู กานา Guyana ซามัว ตองกา ไต้หวันออสเตรเลียและฮาวาย ได้กลายเป็นพืชเชิงพาณิชย์ในหลายพื้นที่เหล่านี้ปลูกเพื่อผลไม้ที่กินได้ เติบโตได้ดีจนถึงระดับความสูง 1,200 เมตร


ไม้ต้นขนาดเล็กเติบโตเร็วแตกกิ่งก้านสาขามากมักจะเติบโตสูง 3-5 เมตร แต่บางครั้งก็สูงถึง 10 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม.
ผลสีเหลืองอมส้มเป็นผลเบอร์รี่สีน้ำตาลขนาดใหญ่ยาว 5-8 ซม.ลักษณะหน้าตัดคล้ายดาว 5 แฉก ผลไม้มีขนาด12.5 ซม. x 6 ซม.
การเพาะปลูก---ปลูกในที่ที่มีความชื้นสูง แสงแดดจัด หรือปานกลางต้องมีตำแหน่งที่กำบังลมแรง ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี pH ในช่วง 5.5 - 6.5 โดยทนได้ 5 - 8.5
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม้ - ดิบ ผลมีความกรอบและฉ่ำใช้กินสดเป็นผลไม้หรือปรุงเป็นสลัดผลไม้ คั้นน้ำผลไม้และผสมกับผลไม้อื่น ๆ มะเฟืองอุดมไปด้วยวิตามินเอ ซี และแคลเซียมสูง มีสรรพคุณทางด้านความงาม ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ดูขาวขึ้น รับประทานมะเฟืองวันละ2ผลแก้เครียดได้  
-ใช้ปลูกประดับสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี นิยมปลูกทั่วไปตามบ้านดอกน่ารักลูกสวยรับประทานได้  มีทั้งชนิดรสเปรี้ยว อมเปรี้ยวอมหวาน และมะเฟืองหวาน เป็นต้นไม้ที่มีความสวยงามทั้งหมดทั้งทรงต้น ดอกช่อ และรูปผล พันธุ์ที่นิยมปลูก เป็นมะเฟืองB17จากมาเลเซีย ผลขนาดใหญ่โตเต็มที่3-4ผลต่อกิโล เปลือกบาง เนื้อนิ่มฉ่ำน้ำมีกลิ่นหอมรสหวาน
-ใช้เป็นยา ในเอเชียใช้ในยาแผนโบราณสำหรับโรคผิวหนังและไข้ ผลไม้ใช้ รักษาอีสุกอีใส , พยาธิลำไส้ , ปวดหัว ในจีน ใช้รักษาความดันโลหิตสูงในขณะที่ยังมีการกล่าวว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด  
-อื่น ๆ เนื้อไม้ขาวนวล โดยทั่วไปมีเฉพาะในขนาดเล็กบางครั้งก็ใช้สำหรับไม้ในการก่อสร้างและสำหรับการทำอุปกรณ์ขนาดเล็ก น้ำผลไม้สดยังใช้เพื่อขจัดคราบสกปรกเช่นสนิมเหล็กจากผ้าลินิน ใช้สำหรับขัดทองเหลือง ผลไม้ที่ยังไม่สุกมีโพแทสเซียมออกซาเลตซึ่งใช้ในการย้อมสี
ความเชื่อ/พิธีกรรม---อาจมีความเชื่อว่ากินแล้วเครื่องรางของขลังจะเสื่อม สตรีกินแล้วเลือดจะเสีย ทำให้บางครั้งบางคนไม่นิยมกิน
รู้จักอันตราย---มะเฟืองมีสารออกซาเลตและถ้าได้รับมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ชยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด


 อโวคาโด/Persea americana

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Persea americana Mill.
ชื่อสามัญ ---Alligator pear, Avocado, Avocado-pear, Butter fruit
ชื่ออื่น---ลูกเนย อะโวคาโด้ อะโวกาโด ; [ASSAM: Makhan phal.];[BURMESE: Htaw bat, Kyese.];[CHINESE:Zhang li, Huang you li, Lao li, Xi yin du lao li, E li, You li.];[DANISH: Avocado, Avogatpære.];[DUTCH: Advocaat.];[FRENCH: Avocat, Avocatier, Zabelbok, Zaboka.];[GERMAN: Alligatorbirne, Avocado, Avocadobaum, Avocadobirne, Avocato-Birne.];[INDONESIA: Adpukat, Avokad.];[ITALIAN: Avocato.];[JAPANESE: Abokado, Perusea.];[KHMER: 'avôkaa.];[KOREAN: Ah bo k'a do.];[MALAY: Adpukat, Avocad, Aviokad, Bash apukado, Buah mantega, Buah apokat.];[PHILIPPINES: Abukado (Tag.).];[PORTUGUESE: Abacate, Abacateiro.];[SPANISH: Aguacate, Cura, Cupandra, Devora, Okh, Palta, Pagua, Sikia.];[THAI: Awokhado.];[VIETNAMESE: Bó, Lê daù.].
ชื่อวงศ์---LAURACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลาง อเมริกาใต้
พืชพื้นเมืองของเม็กซิโก ในประเทศไทยมีการนำมาปลูกครั้งแรกที่จังหวัดน่าน ก่อนจะแพร่ขยายไปทั่วประเทศ


ไม้ต้นสูง 8-18 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง30-60 ซม.เปลือกสีเขียวอมเทาที่มีรอยแยกตามยาว ใบเดี่ยว รูปไข่หรือรูปไข่แคบ 8-20 x 5- 12 ซม.เรียงสลับ ผิวมีขนนุ่ม เรียบเป็นมัน ดอกช่อบริเวณปลายกิ่งอ่อน มีดอกย่อยจำนวนมากในช่อ มีรูปร่างคล้ายสาลี่ หรือรูปไข่จนถึงรูปกลม สีเขียวเข้มผิวขรุขระ เปลือกหนาและเหนียว  
การเพาะปลูก---ต้องการดินร่วนระบายน้ำได้ดีมีความเป็นกรดสูงและอุดมด้วยอินทรียวัตถุ ช่วง pH ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 6 ถึง 7 แม้ว่าบางสายพันธุ์ในฟลอริดาจะเติบโตได้ดีในดินที่มีค่า pH 7.2 ถึง 8.3
พันธุ์อะโวคาโดที่น่าสนใจ คือพันธุ์ บูซ7ผลค่อนข้างกลมขนาดกลาง เปลือกหนาเนื้อสีเหลืองอ่อนรสดี
พันธุ์แฮสส์ รูปไข่ ผิวขรุขระมากสีเขียวเข้ม เมื่อสุกอาจเป็นสีเขียวหรือม่วงเข้มผลขนาดเล็กเนื้อสีเหลือง
อะโวคาโดดอยมูเซอให้ผลผลิตดก ปลูกให้ผลดีได้ในหลายพื้นที่ เช่นนครราชสีมาและระยอง
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน เป็นผลไม้ที่มีเนื้อสีเหลืองอ่อน เปลือกมีสีเขียวเข้มออกดำเมื่อสุก เนื้อเนียน รสมัน รับประทานกับน้ำสลัดเป็นสลัด ใช้ทำไอศกรีมและของหวาน
-ใช้เป็นยา ผลมีวิตามินอี บี6 แคลเซียมและโพแทสเซียม (สูงกว่ากล้วย) ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในผลอะโวคาโด มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง ในหลายประเทศในแอฟริกาใช้ในการแพทย์แผนโบราณสำหรับโรคกระเพาะ แผลในกระเพาะอาหาร, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, โรคโลหิตจาง ใช้สำหรับอาการท้องร่วงและโรคบิด เยื่อที่ติดเปลือกถูกนำไปใช้กับบาดแผลตื้นป้องกันการติดเชื้อ เนื้อผลสุกบรรเทาอาการผิวไหม้เกรียมจากแสงแดด เมล็ดพืชดิบหรือปิ้งใช้ในการรักษาผื่นผิวหนัง ท้องร่วง โรคหอบหืด ความดันโลหิตสูง โรคไขข้อและโรคบิดที่เกิดจากหนอนพยาธิและอะมีบา
-อื่น ๆ น้ำจากเมล็ดให้น้ำนมซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อสัมผัส ใช้ทำหมึกถาวรสำหรับตัวอักษรผ้า
ข้อควรระวัง---ผลดิบไม่สามารถรับประทานได้ เพราะมีสารแทนนินในปริมาณมากและมีรสขม หากรับประทานในปริมาณมากอาจจะทำให้ปวดศีรษะได้
ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง ผลที่เราซื้อมารับประทานนั้น เมล็ดนำมาเพาะได้แต่ต้องระวังอย่าทำให้เมล็ดเป็นแผล นำไปเพาะไว้ในที่ร่มและระวังอย่าให้แฉะไม่เกิน1เดือนก็งอก


เรดเคอแรนต์/Ribes silvestre


รูปภาพประกอบจากหนังสือ : Botanica's Pocket Trees & Shrubs, Random House Australia

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Ribes rubrum L.
ชื่อพ้อง----Ribes silvestre (Lam.) Mert. & W.D.J.Koch
ชื่อสามัญ ---Redcurrant, Red currant
ชื่ออื่น--- กู้สเบอรี่ กู้สเบอรี่ ; [GERMAN: Johannisbeeren.].
ชื่อวงศ์---GROSSULARIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปยุโรป
เขตกระจายพันธุ์---ยุโรปตะวันตกรวมถึงอังกฤษ
มีสปีชีส์ที่ใกล้เคียงหลายชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ รวมถึงมีผลไม้ที่กินได้ เหล่านี้รวมถึง Ribes spicatum (ยุโรปเหนือและเอเชียเหนือ), Ribes alpinum (ยุโรปเหนือ), Ribes schlechtendalii (ยุโรปตะวันออกเฉียงเหนือ), Ribes multiflorum (ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้), Ribes petraeum (ยุโรปตะวันตกเฉียงใต้) และ Ribes triste (อเมริกาเหนือ; นิวฟันด์แลนด์ไปอะแลสกาและทางใต้ในภูเขา)นขณะที่ Ribes rubrum และ Ribes nigrum มีถิ่นกำเนิดในยุโรปเหนือและยุโรปตะวันออก สายพันธุ์ใหญ่ของเรดเคอเรนท์ผลิตครั้งแรกในเบลเยียมและฝรั่งเศสตอนเหนือในศตวรรษที่ 17 ในยุคปัจจุบันมีการคัดเลือกพันธุ์หลายพันธุ์ บางส่วนได้หนีออกจากสวนแล้วสามารถพบได้ในป่าทั่วยุโรปและขยายไปสู่เอเชีย
White currant ยังเป็นสายพันธุ์ของ Ribes rubrum ด้วยแม้ว่ามันจะเป็นพันธุ์หวานและผลเบอรี่เป็นสีขาวเผือกแต่ไม่ใช่คนละสายพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์บางครั้งก็ออกวางตลาดด้วยชื่อเช่น Ribes sativum หรือ Ribes silvestre หรือขายเป็นผลไม้ที่แตกต่างกัน
Red currantเป็นไม้พุ่มผลัดใบสูงประมาณ 1-1.5 เมตรถึง 2เมตร มีใบ 5 แฉกเรียงเวียนกันบนลำต้น ดอกไม้ไม่เด่นสีเหลืองสีเขียว ช่อดอกยาว 4-8 ซม. 2-3ช่อ ผลเบอร์รี่สดใสโปร่งแสงสีแดง3-10ผลในแต่ละฃ่อ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผลประมาณ 0.8-1.2ซม.
การเพาะปลูก---ชอบแสงแดดบางส่วนและสามารถเจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกประเภท เป็นพืชที่มีการบำรุงรักษาค่อนข้างต่ำ
ใช้ประโยชน์----ใช้กิน เป็นผลไม้ที่เต็มไปด้วยวิตามิน B1 และวิตามิน C เหล็ก ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม มีอยู่ 2ชนิดคือ Red currantและ White currant เป็นผลไม้ที่นำมาอบแห้ง ที่เราเรียกว่าลูกเกดขาว ลูกเกดแดง นำมาทำTopping ขนม Bakery - ในรัสเซีย Redcurrants แพร่หลายและใช้ทำแยม แยมผลไม้ แช่อิ่มและของหวาน
-ใช้เป็นยา ใบมีประโยชน์มากมายในการแพทย์แผนโบราณรัสเซีย
การขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ ตอนกิ่

พิตาชิโอ/Pistacia vera


รูปภาพประกอบจาก : Botanica's Pocket Trees & Shrubs, Random House Australia
ชื่อวิทยาศาสตร์---Pistacia vera L.
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.
ชื่อสามัญ---Pistachio, Green-almond
ชื่ออื่น---พิสตาชิโอ ; [FRENCH: Pistachier commun, Pistachier vrai, Pistache.];[GERMAN: Echte Pistazie, Pistazienbaum, Pistazie.]
ชื่อวงศ์---ANACARDIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---แอฟริกาและยูเรเซีย ประเทศในเขตอบอุ่นกึ่งทะเลทราย
เป็นต้นไม้พื้นเมืองขนาดเล็กของประเทศในเขตทะเลทราย มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียกลางในพื้นที่ภูเขาของกรีก ซีเรีย อิหร่าน ตุรกี และตะวันตกของอาฟริกานิสถาน ทึ่ระดับความสูงถึง1500เมตร ปลูกกันอย่างแพร่หลายในแถบเมดิเตอร์เรเนียนของยุโรป แอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง จีนและแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ต้นไม้เติบโตได้สูงถึง 10 เมตร ผลัดใบ ใบประกอบขนาดยาว 10-20 ซม. ต้นไม้มีความแตกต่างกันโดยมีต้นเพศผู้และต้นเพศเมียแยกกัน ต้นไม้เพศผู้ (เรียกอีกอย่างว่า“ scornabecco” หรือ“ frastucazzu”) สามารถผลิตละอองเรณูได้มากพอที่จะผสมพันธุ์กับต้นเพศเมียได้ถึง 10 ต้น ผลรูปรีมีเมล็ดเดียว 1-2 ซม. x 0.6-1.2 ซม.ผลมีเปลือกภายนอกแข็งสีครีม เมล็ดมีผิวสีม่วงและเนื้อสีเขียวอ่อนมีรสชาติที่โดดเด่น เมื่อผลไม้สุกเปลือกจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง / แดงในฤดูใบไม้ร่วงและแตกออกเป็นบางส่วนทันที สิ่งนี้เรียกว่าdehiscenceและเกิดขึ้นพร้อมกับเสียงป๊อป การแยกเปิดเป็นลักษณะที่ถูกคัดเลือกโดยมนุษย์ เปลือกของพิสตาชิโอเป็นสีเบจตามธรรมชาติ แต่บางครั้งก็มีการย้อมสีแดงหรือเขียวในถั่วพิสตาชิโอในเชิงพาณิชย์ ในขั้นต้นผู้นำเข้าจะใช้สีย้อมเพื่อปกปิดคราบบนเปลือกซึ่งเกิดจากการคัดเมล็ดด้วยมือ ขณะนี้ถั่วพิสตาชิโอส่วนใหญ่คัดมาด้วยเครื่องจักรและเปลือกยังคงไม่เปื้อนทำให้ไม่จำเป็นต้องย้อมสียกเว้นเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคที่ฝังแน่น
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---พิสตาชิโอเป็นพืชทะเลทรายและทนต่อดินเค็มได้ดี สามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิระหว่าง −10 ° C ในฤดูหนาวและ 48 ° Cในฤดูร้อน ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดและดินที่ระบายน้ำได้ดี  pH ในช่วง 7 - 8 ทนได้ 6 - 8.5 อยู่ในสภาพที่มีความชื้นสูงได้ไม่ดีและอ่อนแอต่อโรครากเน่าในฤดูหนาวหากได้รับน้ำมากเกินไปและดินมีการระบายน้ำไม่เพียงพอ ต้องมีฤดูร้อนที่ร้อนและยาวนานเพื่อให้ผลไม้สุกอย่างเหมาะสม พิสตาชิโอมีอายุยืนยาวถึง 300 ปี แต่มีการเติบโตที่ช้ามาก
การใช้ประโยชน์---อาจสับสนว่าเป็นถั่ว แต่พิตาชิโอเป็นผลไม้ที่มีเปลือกแข็ง เมล็ดเป็นส่วนที่ใช้กิน นิยมกินดิบเป็นอาหารว่างและยังนิยมใช้ในขนมไอศกรีมเค้กพาย มีปริมาณของธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 และ ฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูง
-ใช้เป็นยา พืชชนิดนี้ใช้ในประเทศจีนในการรักษาโรคในช่องท้อง ฝี ฝีหนอง แผลถลอก โรคบิดโรคไขข้อ โรคเส้นเลือดตีบ น้ำมันจากเมล็ดมีสรรพคุณทางยา-เรซินที่ได้จากเปลือกไม้ใช้ในการรักษาโรคริดสีดวงทวารหอบหืดและปวดท้อง (พ.ศ. 2182)  
-อื่น ๆ ไม้สามารถใช้ทำเป็นของชิ้นเล็ก ๆ เช่นเครื่องมือการเกษตร ช้อน -น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า
รู้จักอันตราย---ถั่วพิสตาชิโอเมื่อปลูกภายใต้สภาวะที่ทำให้พืชได้รับความเครียดมากอาจได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนของเชื้อรา Aspergillus flavus ซึ่งก่อให้เกิด aflatoxin รสจืดในผลไม้ เช่นเดียวกับถั่วทุกชนิดควรมีการระบุพิสตาชิโอในอาหารตามกฎหมายเพื่อป้องกันการแพ้อาหารที่อาจเกิดขึ้นได้
ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน/ผลสุก-กันยายน-ตุลาคม
การขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด เสียบยอด


มะคาเดเมีย/Macadamia integrifolia

รูปภาพประกอบจาก : Botanica's Pocket Trees & Shrubs, Random House Australia
ชื่อวิทยาศาสตร์---Macadamia integrifolia Maiden & Betche
ชื่อพ้อง---Macadamia ternifolia var. integrifolia (Maiden & Betche) Maiden & Betche    
ชื่อสามัญ---Macadamia, Smooth-shelled macadamia, Bauplenut, Bopplenut, Queensland nut, Nut oak.
ชื่ออื่น---มะคาเดเมีย, มะคา ; [CHINESE: Ao zhou jian guo.];[FRENCH: Noix de macadamia, Noyer du Queensland.];[GERMAN: Echte Macadamianuß, Glattschalige Macadamia.];[PORTUGUESE: Nogueira-do-havai, Noz de macadamia.];[SPANISH: Avelleno de Australia, Nuez australiana.];[SUNDANESE: Kadamia.].
ชื่อวงศ์---PROTEACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปออสเตรเลีย
เขตกระจายพันธุ์---ออสเตรเลีย นิวแคลิโดเนีย บราซิล โคลอมเบีย กัวเตมาลา เม็กซิโก เปรูส หรัฐอเมริกา เวเนซุเอลา ฮาวาย ซามัว จีน ไทย ฟิจิ อินโดนีเซีย เอธิโอเปีย เคนยา มาลาวี แทนซาเนีย ซิมบับเว แอฟริกาใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล'Macadamia'ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่Johna Macadama (1827–65) นักเคมีแพทย์และนักการเมืองชาวสก็อตที่ทำงานในเมลเบิร์นในออสเตรเลียในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ; ชื่อสปีซี่ส์ 'integrifolia'คือการรวมกันของคำคุณศัพท์ภาษาละติน 'integer,-gra,-grum'= ทั้งหมดและ'folium' = ใบ ที่มีนัยสำคัญโดยอ้างอิงถึงระยะขอบทั้งหมด
มีถิ่นกำเนิดในชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐควีนส์แลนด์ และทางตอนเหนือของรัฐนิวเซาส์เวล ประเทศออสเตรเลีย ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 1,000 - 1,600 เมตร พืชถูกนำไปเพาะปลูกเป็นไม้ผลหรือไม้ประดับในเขตอบอุ่นและเขตร้อนในทวีปอเมริกา ในประเทศจีน (กวางตุ้ง ไหหลำ ไต้หวัน ยูนนาน) ในประเทศทยนิยมปลูกมากทางภาคเหนือเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ
มะคาเดเมียเป็นไม้ต้นสูง 5-8 เมตร แตกกิ่งมาก ทรงพุ่มแผ่กว้าง ใบเดี่ยวแตกวนรอบกิ่ง รูปไข่กลับแกมขอบขนาน ยาว20 ซม.กว้าง10ซม.แผ่นใบหนาและเหนียวขอบใบเป็นคลื่นและมีหนามแข็ง ออกดอกตามกิ่งแก่และซอกใบช่อดอกยาว 15-25 ซม.ดอกย่อยจำนวนมาก100-500 ดอกเป็นกลุ่ม 2-4 ดอก ดอกสีขาวครีมทยอยบาน ผลกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4.5 ซม.เยื่อหุ้มเมล็ดแข็งเป็นเส้นใยปกคลุมเปลือกด้านในที่แข็งมากหนา 2-5 มม. ซึ่งช่วยปกป้องเมล็ดพันธุ์ เมล็ดมีสีน้ำตาลและเรียบยาวและกว้างไม่เกิน 3 ซม.เนื้อในเมล็ดรับประทานได้
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดมีที่กำบังจากลมแรง พืชเติบโตได้ดีที่สุดในดินที่อุดมสมบูรณ์ชื้น แต่มีการระบายน้ำได้ดีและต้องการการรดน้ำในช่วงฤดูร้อนในระยะแรก อุณหภูมิตั้งแต่ 10 - 26ºCและทนได้ในช่วง8-35ºC ชอบ pH ในช่วง 5 - 6 ทนได้ 4.5 - 7
การใช้ประโยชน์---ต้นไม้มีมูลค่าเป็นพิเศษสำหรับเมล็ดที่กินได้ซึ่งหลายคนถือว่าเป็นเมล็ดพันธุ์ที่อร่อยที่สุดในโลก ได้รับการเพาะปลูกในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งร้อนหลายแห่ง เมล็ดพันธุ์มีการซื้อขายระหว่างประเทศ
-ใช้กินเป็นไม้ผลประเภทเคี้ยวมัน เมล็ด - ดิบหรือสุก เนื้อสัมผัสกรุบกรอบสีครีมเข้มข้นและรสชาติที่ละเอียดอ่อนทำให้แมคคาเดเมียนัทเป็นหนึ่งในขนมหวานที่ดีที่สุด เมล็ดยังสามารถเพิ่มลงในเค้กบิสกิตไอศกรีม ฯลฯ สามารถบดเป็นแป้งแล้วเติมลงในธัญพืชเพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีน เปลือกแข็งมากทำให้ดึงเมล็ดออกได้ยาก น้ำมันที่บริโภคได้จากเมล็ดแม้ว่าจะไม่ค่อยถูกสกัดเนื่องจากเมล็ดมีมูลค่าสูง เมล็ดประกอบด้วยน้ำมันระดับสูงสุดที่พบในถั่ว - มากถึง 75% น้ำมันประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 80% และกรดไขมันโอเมก้า 6. 8% มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ และถูกเพิ่มลงในสลัดใช้ในการปรุงอาหาร ฯลฯ
-ใช้ปลูกประดับ มักปลูกเพื่อให้ร่มเงาและเป็นไม้ประดับเนื่องจากมีใบที่เป็นมันวาวและมีดอกที่สวยงาม
-อื่น ๆ เป็นไม้ที่ดีสำหรับเฟอร์นิเจอร์ในน้ำ น้ำมันจากเมล็ดใช้ในเครื่องสำอาง
สถานะการอนุรักษ์--- ในประเทศออสเตรเลียได้รับการระบุว่ามีความเสี่ยงภายใต้พระราชบัญญัติการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2542
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
การขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ทาบกิ่ง เสียบยอด


แพร์/Pyrus communis

รูปภาพประกอบจาก : Botanica's Pocket Trees & Shrubs, Random House Australia
ชื่อวิทยาศาสตร์---Pyrus communis L.
ชื่อพ้อง---Pyrus domestica (L.) Ehrh.
ชื่อสามัญ---European pear, Common pear
ชื่ออื่น---ลูกแพร์
ชื่อวงศ์---ROSACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปยุโรป
เขตกระจายพันธุ์---ยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก อเมริกาเหนือ    
ลูกแพร์เป็นผลไม้ที่อยู่ในตระกูลเดียวกับแอปเปิ้ล(Rosaceae)เป็นสายพันธุ์ของลูกแพร์ พื้นเมืองยุโรปกลาง, ยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออก P. communisบางครั้งใช้เป็นชื่อเรียกสำหรับพันธุ์ลูกแพร์ทั้งหมดที่ปลูกเพื่อผลไม้
เป็น ไม้ต้นขนาดกลางสูง 10-17เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์หรือเป็นพุ่มกว้างแล้วแต่ชนิด ใบเป็นใบเดี่ยว2 –7 ซม. x 1.5–2.5 ซม.+เรียงสลับสีเขียวเป็นมัน ดอกมีสีขาวแต้มเหลือง หรือ สีชมพูกลิ่นหอม มี 5กลีบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง2.4-3 ซม. ผลเป็นรูปไข่ลักษณะเฉพาะตัวรูปทรงหยดน้ำ มีหลายสายพันธุ์ที่มีขนาดรูปร่างและสีของผลไม้ที่แตกต่างกัน  
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ปลูกได้ดีที่สุดในดินร่วนที่มีการระบายน้ำได้ดีและมีความชื้นปานกลางในตำแหน่งแสงแดดจัด สามารถทนต่อดินได้หลายประเภทรวมทั้งดินเหนียว ทนอากาศหนาวเย็นได้ถึง -25องศาถึง-40องศายกเว้นในเอเซียที่ทนได้แค่ -15องศา ปลูกสองพันธุ์ขึ้นไปเพื่อการผสมเกสรข้ามที่ดีที่สุด
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ลูกแพร์จะมีลักษณะเด่นคือจะให้ความหวานในรูปน้ำตาลธรรมชาติที่ค่อนข้างสูง ผล ลูกแพร์ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากใยอาหาร กรดไฮดรอกซีซินนามิกและเส้นใยเพ็กตินช่วยขับโลหะหนักออกจากร่างกายเป็นผลไม้ที่ช่วยล้างพิษ
ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-พฤษภาคม/กันยายน-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ทาบกิ่ง ติดตา เสียบยอด


ท้อ/Prunus persica


รูปภาพประกอบจาก : Botanica's Pocket Trees & Shrubs, Random House Australia
ชื่อวิทยาศาสตร์---Prunus persica (L.) Batsch
ชื่อสามัญ---Flowering peach, Wild peach, Chinese wild Peach,  Peach, Peach tree, Nectarine,  
ชื่ออื่น---ลูกท้อ, ลูกพีช, หุงหม่น, หุงคอบ(เชียงใหม่), มักม่วน, มักม่น(ภาคเหนือ), มะฟุ้ง(ชาน), ท้อ(จีน-แต้จิ๋ว) ; [CHINESE:Peirsich,Tao,Tho.];[CZECH: Broskyňa obyčajná.];[FRENCH: Pêcher.];[GERMAN: Pfirsich, Pfirsichbaum];[GUATEMALA: Durazno, doraz,duraznal, Melocotón];[INDONESIA: Persik.];[JAPANESE: Momo.];[LAOS: Khai.];[PERU: Abridor.];[PHILIPPINES: Peras.];[SPANISH:  Melocotonero.];[SWEDISH: Persikatraed.];[THAI: Hungmon, Makmuan.];[VIETNAM: Dào.].
ชื่อวงศ์---ROSACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน ไทย  เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลี
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสปีซี่ส์ persica หมายถึงการเพาะปลูกอย่างแพร่หลายในเปอร์เซีย ( อิหร่านในปัจจุบัน)
มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ไม่เป็นที่รู้จักในสถานการณ์ป่าอย่างแท้จริงมันอาจได้มาจากการเพาะปลูกจาก Prunus davidiana ขณะนี้มีการเพาะปลูกทั่วโลกรวมถึงพื้นที่เขตอบอุ่นของเอเชียตะวันออก ได้แก่ เวียดนาม จีน ญี่ปุ่นและเกาหลี ขึ้นได้ดีในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่900 เมตรขึ้นไป และมีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 10 องศาเซลเซียส สำหรับในประเทศไทย ท้อมีการนำเข้ามาปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น โครงการหลวง


ไม้ผลยืนต้นขนาดเล็กสูงได้ถึง3- 8 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มแตกเป็นร่อง ใบเดี่ยวรูปขอบขนานออกเรียงสลับกัน แผ่นใบสีเขียว โคนใบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบหยักตื้น ขนาดใบกว้าง2-4ซม.ยาว5-10ซม.ดอกออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งก้าน ดอกย่อยมี5กลีบ ตรงกลางดอกมีเกสรผู้หลายเส้น ดอกมีสีขาว แดง ชมพู แล้วแต่พันธุ์ ผลค่อนข้างกลมหรือรูปรี มีขนปกคลุมทั่ว ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่สีแดง ภายในมีเมล็ด1เมล็ด
การเพาะปลูก---ต้องการแสงแดดจัด ดินร่วนชื้นที่อุดมด้วยสารอาหารที่มีแคลเซียมสูง ชอบ pH ในช่วง 6 ถึง 7
ใช้ประโยชน์---ท้อนับเป็นผลไม้ที่ใช้ประโยชน์ในการรับประทานมาอย่างยาวนาน และได้รับความนิยมไปทั่วโลก ใช้กินสดหรือแห้ง ใช้ทำผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้และอาหารอื่น ๆ ประกอบด้วยแร่ธาตุและวิตามินจำนวนมาก
-ใช้เป็นยา ใบมีรสฝาดสมานขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ยา ระบาย ยาฆ่าพยาธิและยากล่อมประสาทอย่างอ่อน ใช้รักษาโรคกระเพาะ ไอกรน ไอและหลอดลมอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการอาเจียนและอาการแพ้ท้องในระหว่างตั้งครรภ์แม้ว่าจะต้องติดตามขนาดยาอย่างระมัดระวังเนื่องจากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
พิธีกรรม/ความเชื่อ---ดอกท้อเป็นสิ่งที่มีค่าสูงในวัฒนธรรมจีน ชาวจีนโบราณเชื่อว่าลูกท้อมีพลังมากกว่าต้นไม้อื่น ๆ เพราะดอกของมันจะปรากฏก่อนที่จะผลิใบ ปัจจุบัน  ชาวจีนมีความเชื่อว่า ท้อเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว และเกี่ยวข้องกับการกับการป้องกันสิ่งชั่วร้าย ถ้าดอกท้อของบานในระหว่างการฉลองวันปีใหม่ หมายถึง ปีต่อไปจะเป็นปีของโชคลาภ และดอกท้อยังใช้ประดับตกแต่งภายในบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล ป้องกันสิ่งชั่วร้ายอีกด้วย นอกจากนี้แล้วในสมัยโบราณ การเขียนป้ายคำอวยพรก็นิยมเขียนลงไม้ที่ทำมาจากต้นท้อท้อเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว และเกี่ยวข้องกับการกับการป้องกันสิ่งชั่วร้าย ถ้าดอกท้อของบานในระหว่างการฉลองวันปีใหม่ หมายถึง ปีต่อไปจะเป็นปีของโชคลาภ และดอกท้อยังใช้ประดับตกแต่งภายในบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล ป้องกันสิ่งชั่วร้ายอีกด้วย นอกจากนี้แล้วในสมัยโบราณ การเขียนป้ายคำอวยพรก็นิยมเขียนลงไม้ที่ทำมาจากต้นท้อ
ระยะออกดอก---มีนาคม-เมษายน
ขยายพัรนธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ติดตา เสียบยอด


เกาลัดไทย/Sterculia monosperma

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Sterculia monosperma Vent.
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
-Clompanus monosperma (Vent.) Kuntze
-Southwellia nobilis Salisb.
-Sterculia nobilis (Salisb.) Sm.
ชื่อสามัญ---Chinese chestnut, Thai chestnut, Seven sisters' fruit, Phoenix eye fruit
ชื่ออื่น---เกาลัด, เกาลัดไทย, เกาลัดเมือง, บ่ากอลัด(คนเมือง), หงอนไก่ใบใหญ่ (ภาคใต้), เท็งท้อ (จีน) ; [CHINESE: Ping po, Bin Po.];[INDONESIA: Berangan Cina, Buah Tujuh Saudara, Pheng phok.];[VIETNAM: Trôm quý.].       
ชื่อวงศ์---STERCULIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้(กวางจง กวางสี ยูนนาน)ไต้หวัน    
มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีน ( กวางตุ้ง , กวางสีและมณฑลยูนนาน ) และไต้หวัน ในตอนนี้พบปลูกทั่วไปในภาคเหนือของเวียดนาม พื้นที่ภูเขาของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเช่นเดียวกับภาคเหนือของลาวและรัฐฉานในพม่า ในประเทศไทยพบปลูกทั่วไปทางภาคเหนือ


ไม้ผลยืนต้นที่ปลูกแล้วดูดีน่ารักก็คือเกาลัดนอกจากต้นเกาลัดไทยต้นนี้ ก็ยังมีอีกต้นที่เรียกว่า เกาลัดจีน ซึ่งอยู่ในวงศ์ก่อ (FAGACEAE) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Castanea mollisma และชื่อสามัญคือ Chinese Chestnut
เกาลัดไทยเป็นไม้ยืนต้น สูง 4-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกเรียบหรืออาจแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น ใบเดี่ยว เรียงเวียนกันบริเวณใกล้ๆ ปลายกิ่ง รูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 5-15 ซม. ยาว 10-30 ซม. โคนมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย ปลายมนสอบแคบกว่าทางโคนใบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา เกลี้ยง ย่นเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนเป็นมัน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง  ยาวได้ถึง 35 ซม. ห้อยลง มีช่อแขนงมาก ดอกเล็ก สีชมพูอมเขียว กลิ่นหอมอ่อนๆ  เมื่อดอกบานเต็มที่ขนาดไม่เกิน 1 ซม. ผลเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มย่อยมักมี 2 ผล มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ผลเป็นผลแห้งแล้วแตก ผลสีแดงหรือสีแสด รูปมนหรือค่อนข้างกลม กว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 5 ซม. เปลือกแข็งหุ้มเมล็ดสีดำข้างใน เนื้อในเมล็ดสีเหลือง ต้มสุกแล้วเป็นสีเหลืองสด เมล็ดสีน้ำตาล ขนาดกว้าง 2 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด
การเพาะปลูก---เติบโตได้ดีที่สุดในตำแหน่งที่มีแดดและมีที่กำบังลม ในดินที่อุดมสมบูรณ์และมีการระบายน้ำได้ดี ทนต่อสภาพดินที่หลากหลาย
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน เกาลัดไทยนำเมล็ดมาต้มกินธรรมดาหรืออาจใช้ในการเตรียมอาหารเช่นผัดกับไก่ ส่วนเกาลัดจีนนิยมเอาเมล็ดมาคั่วทรายร้อนๆ เสร็จแล้วแกะเมล็ดข้างในมากิน รสชาดหวานมัน หอม แพง
-ใช้เป็นยา ผลมีสรรพคุณช่วยบำรุงตับไต และช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
-ใช้ปลูกประดับเหมาะทั้งสำหรับปลูกเป็นไม้กินผลรับประทานและไม้ผลประดับสวนหรือไม้ให้ร่มเงา
-อื่น ๆเนื้อไม้มีน้ำหนักเบาและมีความเหนียวสามารถใช้ทำเครื่องใช้ขนาดเล็ก
ระยะออกดอก---กันยายน-เมษายน
การขยายพันธุ์ --- เพาะเมล็ด

สตรอว์เบอร์รี่/Fragaria × ananassa

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Fragaria × ananassa (Duchesne ex Weston) Duchesne ex Rozier.
ชื่อพ้อง---Basionym: Fragaria chiloensis var. ananassa Weston
ชื่อสามัญ ---Garden strawberry, Large-fruited strawberry, Pine-apple strawberry, Strawberry
ชื่ออื่น ---สตรอว์เบอร์รี ; [FRENCH: Fraisier, Fraisier ananas.];[GERMAN: Ananas-Erdbeere, Erdbeere, Garten-Erdbeere, Kultur-Erdbeere, Kulturerdbeere.];[KOREA: Ttalgi.];[LITHUANIA: Daržinė braškė.];[SPANISH: Fresa.]
ชื่อวงศ์---ROSACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
ขยายพันธู์---อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้
ต้นกำเนิดลูกผสมที่เกิดขึ้นในยุโรปประมาณปี 1750 อันเป็นผลมาจากการผสมระหว่าง Fragaria chiloensis และ Fragaria virginiana ไม่เป็นที่รู้จักในป่า โดยพื้นฐานแล้วสตรอเบอร์รี่เป็นพันธุ์ไม้ที่เติบโตในสภาพอากาศค่อนข้างเย็น แต่สามารถปลูกได้สำเร็จที่ระดับความสูงมากกว่า 1,000 เมตรในละติจูดเขตร้อน


พืชล้มลุก แตกกิ่งก้านแผ่ปกคลุมดิน ใบจะรวมกันอยู่ 3 ใบใน 1 ก้าน ขอบใบมีรอยหยัก มีดอกสีขาว ผลมีก้านยาวเชื่อมกับต้นรูปทรงคล้ายรูปหัวใจ มีเสี้ยนเล็กๆ บางๆ กระจายอยู่ทั่วผล มีกลีบเลี้ยงบนขั้วของผล เมื่ออ่อนมีสีขาว เหลือง เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม หรือแดง รสชาติอมเปรี้ยวถึงหวาน ขึ้นอยู่กับผลที่สุก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแดด ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ระบายน้ำได้ดีและมีความชื้น  pH ในช่วง 6 - 6.8 ทนได้ 4.5- 8.2 ทนต่อสภาพกึ่งร่มเงาแม้ว่าผลผลิตผลไม้จะลดลง อุณหภูมิ 10-25 องศาเซลเซียส (มีอากาศเย็นตลอดปี)
ประโยชน์---เป็นพืชผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลกมีการเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์หลายสายพันธุ์ในภาคเหนือของประเทศไทย การกินสตรอเบอรี่นั้นจะใด้คุณค่าของวิตามิน A , B และวิตามิน C มีกรดโฟลิก (Folic acid) มีเส้นใยอาหาร (Fiber)หากรับประทานสตรอเบอรี่เป็นประจำ จะช่วยรักษาป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ซึ่งเราเรียกว่า ลักปิดลักเปิด บรรเทาอาการท้องผูก ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยทำให้ระบบการดูดซึมอาหารของร่างกายดียิ่งขึ้น และยังช่วยในการย่อยอาหาร
ขยายพันธู์---เมล็ด ไรโซม

เชอรี่สเปน/Malpighia punicifolia


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Malpighia punicifolia L.
ชื่อพ้อง--- This name is a synonym of Malpighia glabra L.
ชื่อสามัญ --- Acerola fruits, Antilles cherry, Barbados Cherry, West Indian Cherry, Puerto Rican cherry, Wild crapemyrtle.
ชื่ออื่น --- เชอรี่สเปน ; [DEUTCH: Barbados-Kirsche.];[MEXICO: Cereza de Barbados.];[PANAMA: Cereza, Cereza colorada, Cereza de la Sabana, Grossella.]; [PORTUGUESE: Acerola, Cereja-do-Pará (Brazil).];[SPANISH: Acerola.];[VENEZUELA: Cemeruco, Semeruco.];[VIETNAM: Sơ ri, Kim đồng nam, Sơ ri Tây Ấn,  Xơ ri vuông.].
ชื่อวงศ์---MALPIGHIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
ขยายพันธู์---อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้
มีถิ่นกำเนิดใน Lesser Antilles ตั้งแต่เซนต์ครอยไปจนถึงตรินิแดด คูราเซาและมาร์การิต้าซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กันทางตอนเหนือของอเมริกาใต้จนถึงทางใต้ของบราซิล

ไม้ พุ่ม สูง 3-8 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ผิวใบเป็นมัน ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ สีขาวอมชมพู กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้ 4 อัน ผลรูปกลมแป้น แยกเป็นพู 7-8 พูคล้ายลูกมะยม ผลสดมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดงเข้ม ปลูกเป็นไม้ผลประดับและรับประทานได้รสหวานอมเปรี้ยว จิ้มเกลือ อร่อย ทำเป็นเครื่องดื่มได้เรียก  น้ำเชอรี่สเปน
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแสงแดด เติบโตได้ดีในดินเหนียวตราบใดที่มีการระบายน้ำได้ดี ค่า pH 5.5- 6.5 สามารถทนต่อความแห้งแล้งเป็นเวลานาน
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ใช้กินผลสด ผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินซี (1 - 4 กรัมต่อน้ำผลไม้ 100 กรัม) ปรุงเป็นอาหารและขนมต่างๆเช่นใช้เป็นท็อปปิ้งบนเค้ก พุดดิ้ง ไอศกรีม
-ใช้เป็นยา ผลไม้ถือเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคตับท้องร่วงและโรคบิดรวมทั้งผู้ที่มีอาการไอหรือหวัด อาจใช้น้ำผลไม้กลั้วคอเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ
-อื่น ๆไม้:ไม้นั้นแข็งและหนักอย่างน่าประหลาดใจ การทดลองแสดงให้เห็นว่ามันไม่ยอมจุดไฟแม้ว่าจะได้รับการบำบัดด้วยของเหลวไวไฟเว้นแต่จะแห้งสนิท เปลือกไม้:เปลือกของต้นไม้มีแทนนิน 20-25% และถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
ระนะออกดอก/ติดผล---พืชสามารถออกผลได้ 2-3 ครั้งต่อปี
ขยายพันธู์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


มะยมฝรั่ง, มะยมแดง/Euginea uniflora

ชื่อวิทยาศาสตร์---Eugenia uniflora Linnaeus
ชื่อพ้อง---Stenocalyx uniflorus (L. ) Kausel
ชื่อสามัญ---Pitanga, Suriname cherry, Brazil Cherry, Brazilian cherry,Cayenne cherry
ชื่ออื่น---มะยมฝรั่ง, มะยมแดง ; [CHINESE: Fan ying tao, Hong guo zi.];[CZECH: Brazilska tresen.];[DANISH: Cayebekirsebaer.];[FRENCH: Cerise a cotes, Cerise carrée, Cerise de Cayenne.];[GERMAN: Cayennekirsche, Surinamkirsche, Surinam-Kirschmyrte.];[HINDI: Surinama ceri.];[ITALIAN: Ciliegio de Cayenna.];[JAPANESE: Burajirian cheri.];[MALAY: Chermai belanda, Cheremai belanda.];[MALAYALAM: Surinam ceri.];[PHILIPPINES: Pitanga (Tag).];[PORTUGUESE: Pitanga de praia, Pitanga mulata, Pitanga-roxa, Pitanga-vermetha, Pitangueira.];[RUSSIAN: Surinamskaya vishnya.];[SINHALESE: Goraka jambu.];[SPANISH: Arrayan, Arrayan mato, Capuli, Cereza cayena.];[SWEDISH: Körsbärsmyrten.];[THAI: Ma yom farang.];[TURKISH: Surinam kirazi.].
ชื่อวงศ์---MYRTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อาร์เจนตินา ปารากวัย อุรุกวัย  บราซิล โบลิเวีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Eugenia'ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าชายEugenioแห่งซาวอยเท่านั้น ; ชื่อสปีซี่ส์ 'uniflora' มาจากภาษาละตินแปลว่า "ด้วยดอกไม้"    
พืชพื้นเมืองชายฝั่งตะวันออกในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ซูรินาเม เฟรนช์เกียนา ไปจนถึงตอนใต้ของ บราซิล รวมถึงบางส่วนของ ปารากวัย อาร์เจนตินา และ อุรุกวัย เติบโตป่ากึ่งผลัดใบและตามแนวชายฝั่งที่ระดับความสูงถึง 1,800 เมตร


เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-8 เมตร ใบเดี่ยว 3.2-4.2 × 2.3-3 ซม. ออกเรียงสลับรูปไข่ หรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมโคนมน สีเขียวสด ใบดกและหนาแน่นมาก ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็ก1-1.5 ซม.จำนวนหลายดอก ดอกเป็นสีขาวอมชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เวลามีดอกจะสวยงามมาก ผลสุกสีแดงสด ผลกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. มี 8 แฉก 1 หรือ 2 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์และชื้นในตำแหน่งที่มีแดดจัดถึงมีร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้กับดินหลายประเภท แต่ไม่ทนต่อดินด่าง ช่วงอุณหภูมิสำหรับการเจริญเติบโตมีรายงานว่าอยู่ที่ 12 - 32 ° c โดยมีค่าที่เหมาะสมระหว่าง 21 - 27 ° c ค่อนข้างทนต่อความหนาวเย็นและจะทนต่อความเย็นจัดได้หลายองศาโดยไม่เป็นอันตราย พืชหยั่งรากลึกและทนแล้งได้
ใช้ประโยชน์---ใช้กินผลไม้สด รสชาติมีตั้งแต่หวานไปจนถึงเปรี้ยวขึ้นอยู่กับพันธุ์และระดับความสุก (ช่วงสีแดงเข้มถึงดำจะค่อนข้างหวานในขณะที่สีเขียวถึงสีส้มจะมีรสเปรี้ยวโดดเด่น) ใช้ปรุงรสสำหรับแยมและเยลลี่ แปรรูปเป็นแยม เยลลี่ หรือดอง ผลไม้มีวิตามินซีสูงและเป็นแหล่ง ของ Provitamin A. สำหรับใบ ในอุรุกวัยใช้ใบในการชงชา ในบราซิลใช้ผลิตน้ำส้มสายชูหรือไวน์
-ใช้เป็นยา ใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะยาพื้นบ้านในอเมริกาใต้สำหรับโรคกระเพาะอาหาร ใช้ในการรักษาไข้ ไข้หวัด คออักเสบ ปวดฟัน ปวดศีรษะ ในชวาใช้ผลเป็นยาลดความดันโลหิต
-ใช้ปลูกประดับ ใช้เป็นไม้ประดับหรือปลูกเป็นไม้ผลกินได้ พืชจะแตกกิ่งก้านหนาแน่นเมื่อตัดแต่งอย่างสม่ำเสมอ ใช้ปลูกเป็นพืชป้องกันความเสี่ยง หรือปลูกเป็นรั้ว
-อื่น ๆ เนื้อไม้มีน้ำหนักปานกลางแข็งกระทัดรัดและทนทานมาก ขนาดเล็กจะใช้เฉพาะสำหรับรายการต่างๆเช่นที่จับเครื่องมือ เปลือกลำต้นมีแทนนิน20 - 28%ใช้ฟอกหนัง ในบราซิลน้ำมันหอมระเหยจากใบ ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ใช้สำหรับแชมพูครีมนวดผมสบู่น้ำมันบำรุงผิวและน้ำหอม ในบราซิลยังใช้ใบขยี้เพื่อขับไล่แมลงวัน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


ตะลิงปลิง/Averrhooa bilimbi

ชื่อวิทยาศาสตร์---Averrhooa bilimbi L.
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
-Averrhoa abtusangulata Stokes
-Averrhoa obtusangula Stokes
ชื่อสามัญ---Bilimbi, Bimbling plum (West Indies), Cucumber tree, Tree sorrel.
ชื่ออื่น---ตะลิงปลิง กะลิงปลิง (ทั่วไป) ลิงปริง (ระนอง); มะเฟืองตรน, หลิงปลิง (ภาคใต้) ; [CAMBODIA: Trâlông töng.];[CHINESE: San lian.];[FRENCH: Carambolier bilimbi, Cornichon des Indes, Zibeline.];[GERMAN: Bilimbinaum, Gurkenbaum.];[HINDI: Bilimbi.];[JAPANESE: Birinbi, Nagabanogorenshi.];[MALAYSIA: Belimbing asam, Belimbing besu, Belimbing buloh, Belimbing wuluh (Malay).];[MYANMAR: Shiyam, Tayok-zaungya, Tree sorrel.];[PHILIPPINES: Kamias (Tagalog), Kalanuas, Kalinguia, Kolonanas.];[SPANISH: Grosella macho, Grosella China (Cuba); Pepino de Indias (Argentina); Mimbro (Costa Rica, El Salvador); Vinagrillo (Venezuela).];[SURINAM: Birambi.];[THAI: Tàlingpling, Ta-ling-pring, Kaling pring.];[VIETNAMESE:  Khế ngọt , Khế tàu.].
ชื่อวงศ์---OXALIDACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเชีย
เขตกระจายพันธุ์---โมลุกกะ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศในเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสปีชีส์ 'bilimbi'มาจากภาษามาเลย์สำหรับชื่อสายพันธุ์
สายพันธุ์นี้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมะเฟือง (Averrhoa carambola)

 

มีถิ่นกำเนิดในมาเลเซียและอินโดนีเซีย สายพันธุ์ที่ปลูกในขณะนี้พบได้ทั่ว อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ , ศรีลังกา , บังคลาเทศ , มัลดีฟส์ , พม่า (พม่า) มาเลเซียและภาคใต้ของอินเดีย เติบโตที่ระดับความสูงถึง 1,200 เมตร
ไม้ ต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบสูง 10-15 เมตร ให้ทรงพุ่มทึบ ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ใบคล้ายใบมะยมเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ยาว 30-60ซม. ใบย่อย11-37ใบ รูปขอบขนานยาว 2–10 ซม. และกว้าง 1-2 ซม.ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามลำต้นและกิ่งก้านมี 18–68 ดอก ดอกสีแดงอมม่วงกลางดอกสีนวล  มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ขนาดดอกเล็ก 1.5-2 ซม. ผลรูปรีบางครั้งเว้าเป็นพูตื้น5 เหลี่ยม ยาวประมาณ 4 - 10 ซม.  สีเขียวอ่อน ผลแก่สีเขียวอมเหลือง ฉ่ำน้ำ ด้านในมีเมล็ด แบนเรียบสีน้ำตาลขนาด 6 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ปลูกง่ายชอบตำแหน่งที่มีแสงแดดจัดมีที่กำบังลมแรง เติบโตได้ดีในดินทุกชนิดหากมีการระบายน้ำได้ดี อย่างไรก็ตามเพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดควรปลูกในดินลึกอุดมสมบูรณ์ดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนที่มีอินทรียวัตถุมาก ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 6.5 ทนได้ 5 - 8.3
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลให้รสเปรี้ยวบางครั้งกินดิบกับเกลือหรือฝานบาง ๆ เพิ่มในสลัด ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางเป็นสารเพิ่มความเปรี้ยวสำหรับอาหารพื้นเมืองหลายชนิด นอกจากนี้ยังอาจแปรรูปเป็นลูกอมหรือนำไปดอง ผลไม้เป็นแหล่งวิตามินซีที่ดี ตะลิงปลิงเป็นพรรณไม้พื้นถิ่นบ้านเราที่เคยอยู่คู่กับครัวไทยมานานแล้วแต่ ในปัจจุบันเป็นเรื่องยากที่จะเห็นการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกในประเทศไทย เนื่องจากไม่มีความต้องการของตลาดที่สำคัญ
-มักนิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ผลในบ้านที่ให้ทรงพุ่มสวยงาม
-ใช้เป็นยา แก้เลือดออกตามไรฟัน ดอกนำมาชงเป็นชาดื่มแก้ไอ บำรุงร่างกาย ยาต้มใบใช้แก้อาการอักเสบของริดสีดวงทวารและใช้แปะสำหรับคางทูม ใบพอกรักษาสิวและป้องกันอาการคัน นำผลไม้บูดนำมาถูทาผิวหนังเพื่อรักษาโรคเชื้อรา
-อื่น ๆเนื้อไม้มีสีขาวเนื้อนุ่ม แต่เหนียวเนื้อละเอียดและหนัก ใช้เป็นเชื้อเพลิง ผลไม้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการเตรียมสีย้อมสีส้มสำหรับผ้าไหม น้ำผลไม้ดิบช่วยขจัดคราบหรือจุดต่างๆบนเสื้อผ้าคราบสนิมบนเครื่องทองเหลือง
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง  สกัดราก

มะยม/Phyllanthus acidus

ชื่อวิทยาศาสตร์---Phyllanthus acidus (L.) Skeels
ชื่อพ้อง---Basionym: Averrhoa acida L.
ชื่อสามัญ---Tahitian gooseberry tree, Gooseberry Tree, Otaheite gooseberry, Malay gooseberry,  Star-Gooseberry
ชื่ออื่น---มะยม (ทั่วไป) หมักยม (ภาคอีสาน) ยม (ภาคใต้); [ASSAM: Pomlokhi, Leyoir, Holphali.];[FRENCH: Cerisier de Tahiti, Surelle, Surette.][GERMAN: Stachelbeerbaum.]; [HINDI:  Harfarauri.];[MALAYSIA: Cermai, Kemangor(Malay).];[MALDIVES: Goanbili.];[MYANMAR: see hpyauu see.];[PHILIPPINES: Karamay, Layuan, Bangkiling.];[PORTUGUESE: Cerejeira-do-Taiti.];[SPANISH: Cereza amarilla,Grosellero, Guinda, Manzana-estrella.];[SRI LANKA: Rata Nelli , Nelli Bilin.];[TAHITI: Amla.];[TAMIL: Aranelli.];[THAI: Majom.]
ชื่อวงศ์---EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซียและทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---เขตร้อนและเขตอบอุ่น ของทวีปเอเซีย แคริบเบียน อเมริกากลาง อเมริกาใต้
นนิรุกติศาสตร์---ชื่อสปีซี่ส์ 'acidus'มาจากภาษาละติน = กรด หมายถึงรสชาดเปรี้ยวของผลไม้
ถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเชียใต้และอเมริกาเขตร้อน พบได้ทั่วไปในกวม อินโดนีเซีย เวียดนามใต้ ลาว ตอนเหนือของคาบสมุทรมลายู และอินเดีย ยังคงพบพืชชนิดนี้ในฟิลิปปินส์ ไทย กัมพูชา และฮาวา  พบได้ในเปอร์โตริโก เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ เม็กซิโก โคลอมเบีย เวเนซุเอลา สุรินาเม เปรู และบราซิล เติบโตได้ตั้งแต่จากระดับน้ำทะเลถึงระดับความสูง 1,500 - 1,800 เมตร ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วประเทศ

 

ไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งที่ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย ใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ติดผลเป็นพวง ผลมีสามพูชัดเจน เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด มีทั้งพันธุ์เปรี้ยวและพันธุ์หวาน ซึ่งมีรสหวานอมฝาด มะยมนั้นมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย โดยลักษณะเด่นของต้นตัวผู้จะออกดอกเต็มต้นแต่ไม่ติดลูก ส่วนต้นมะยมตัวเมียนั้นจะมีดอกน้อยกว่า ซึ่งในทางการแพทย์นั้นนิยมใช้มะยมตัวผู้เป็นหลักทั้งใบและราก เพราะมีสรรพคุณทางยาค่อนข้างสูงกว่ามะยมตัวเมีย  
การเพาะปลูก---ต้องการตำแหน่งที่มีแดดจัด เติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน และมีการระบายน้ำที่ดี    
ใช้ประโยชน์---ใช้รับประทานเป็นผลไม้สดและแปรรูป เช่น แช่อิ่ม ดอง น้ำมะยม แยม หรือกวน ใช้ทำส้มตำ ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสด กินกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ ขนมจีน ผลใช้ปรุงรสอาหารในอินโดนีเซีย  ในฟิลิปปินส์ใช้ทำน้ำส้มสายชู หรือกินดิบหรือดองในเกลือและน้ำส้มสายชู ในมาเลเซียนิยมนำไปเชื่อม ในอินเดียและอินโดนีเซียนิยมนำใบมะยมไปประกอบอาหาร
-ใช้เป็นยา ผลมะยมมีฤทธิ์กัดเสมหะและเป็นยาระบาย ตำราไทยใช้ รากแก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน ใบ ต้มน้ำอาบแก้คัน แก้ไข้ เหือด หิด อีสุกอีใส
-ใช้ปลูกประดับส่วนมาก คนไทยนิยมปลูกไว้บริเวณหน้าบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล
-อื่น ๆเนื้อไม้สีน้ำตาลแดงเป็นไม้เนื้อละเอียด น้ำหนักปานกลาง ทนทาน แต่ขนาดไม่ใหญ่มาก ใช้สำหรับทำช้อนส้อมและวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ เนื้อไม้ใช้เป็นเชื้อเพลิง ในอินเดีย เปลือกไม้ใช้เป็นแหล่งของแทนนิน สารสกัดจากพืชได้แสดงฤทธิ์ฆ่าเชื้อต่อไส้เดือนฝอยไม้สน Bursaphelenchus xylophilus
ความเชื่อ/พิธีกรรม---ในตำราพรหมชาติฉบับหลวง ระบุไว้ว่าให้ปลูกต้นมะยมในทางทิศตะวันตก จะช่วยป้องกันสิ่งไม่ดีไม่ให้มากล้ำกราย และเชื่อว่ามะยมเป็นต้นไม้มงคลนาม ซึ่งคล้ายกับคำว่า "นิยม" ซึ่งเชื่อว่าผู้ปลูกจะมีเมตตามหานิยม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

มะพร้าว/Cocos nucifera

ชื่อวิทยาศาสตร์---Cocos nucifera L.
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
-Calappa nucifera (L.) Kuntze.
-Cocos indica Royle.
-Cocos nana Griff.
ชื่อสามัญ---Coconut palm, Copra
ชื่ออื่น---มะพร้าว ; [CAMBODIA: Dôong.];[CHINESE: Ye zi.];[FRENCH: Coco, Cocotier, Cocoyer, Noix de coco.];[GERMAN: Kokosnusspalme.];[INDIA: Narikel, Nariyal, Narlu, Thengu, Yubi.];[INDONESIA: Kelapa.];[ITALIAN: cocco.];[LAOS: Phaawz.];[MALAYSIA: Pokok seribu guna (Malay).];[PHILIPPINES: Iniúg, Lubi, Niog, Niyóg.];[PORTUGUESE: Coqueiro.];[SANSKRIT: Kalpa vriksha.];[SPANISH: Coco de agua, Cocotero, Palma de coco, Palmera cocotera, Palmera de coco.];[SWEDISH: Kokospalm.];[THAI: Ma phrao.];[VIETNAM: Dùa.].
ชื่อวงศ์---ARECACEAE
ถิ่นกำเนิด---เมลานีเซีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
เขตกระจายพันธุ์---เอเซีย อเมริกากลาง อเมริกาใต้ แอฟริกา และโอเชียเนีย(Oceania)
มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่ชายฝั่งของเมลานีเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจเป็นมาเลเซียอินโดนีเซีย (หมู่เกาะโมลุกกะ) ฟิลิปปินส์และปาปัวนิวกินี เติบโตบนหาดทรายและพื้นที่ชายฝั่งในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลก

เป็นปาล์มขนาดใหญ่เติบโตได้สูง 20-30 เมตร  มีระบบรากเป็นรากฝอยมีขนาดเท่าๆ กัน แผ่กระจายออกรอบต้น ลำต้นมีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบตลอดลำต้น สามารถคำนวณอายุของต้นมะพร้าวได้จากรอยแผลนี้ คือ ในปีหนึ่งมะพร้าวจะสร้างใบประมาณ 12- 14 ใบ ดังนั้นใน 1 ปี จะมีรอยแผลที่ลำต้น 12 – 14 รอยแผล ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก  ประกอบด้วยก้านทาง ( rechis ) มีขนาดใหญ่และยาว และมีใบย่อย ( leaflet ) บนก้านทางประมาณ 200 – 250 ใบ ดอก ออกเป็นช่อชนิดพานิเคิล มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีกลีบดอก 6 กลีบ สีครีมหรือสีเหลืองนวล ไม่มีก้านดอกย่อยดอกตัวเมียจะมีกลีบดอกหนาและแข็งกว่ากลีบดอกตัวผู้ ผล มะพร้าวเป็นชนิดไฟบรัสดรุป ( fibrous drupe ) เรียกว่า นัท ( nut ) มีเปลือก 3 ชั้นคือ 1. เปลือกชั้นนอก ( exocarp ) เป็นเส้นใยที่เหนียวและแข็ง เมื่อแก่อาจมีสีเขียว แดง เหลืองหรือน้ำตาล
2. เปลือกชั้นกลาง ( mesocarp ) มีลักษณะเป็นเส้นใย มีความหนาพอประมาณ
3. เปลือกชั้นใน ( endocarp ) มีลักษณะแข็งหรือที่เรียกกันว่า กะลา ( shell )
เมล็ด ( seed of kernel ) คือ เนื้อมะพร้าว ภายในเมล็ดเป็นช่อกลวงขณะผลอ่อนจะมีน้ำอยู่เต็มผลแก่น้ำมะพร้าวจะแห้งไปบางส่วน
มะพร้าวเป็นพืชผสมข้ามพันธุ์ แต่ละต้นจึงไม่เป็นพันธุ์แท้ อาศัยหลักทางการผสมพันธุ์ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ อาจแบ่งมะพร้าวออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทต้นเตี้ยและประเภทต้นสูง
ประเภทต้นสูงหรือมะพร้าวแกง ลำต้นใหญ่ โคนต้นมีสะโพกใหญ่ ต้นสูง โตเต็มที่สูงประมาณ 18 เมตร ประเภทต้นเตี้ยที่นิยมปลูกกันมากได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวพวงร้อยที่เป็นญาติสนิทกับมะพร้าวน้ำหอม แต่ดกมากเป็นพันธุ์ที่ปลูกสืบทอดกันมานานแล้ว ในทะลายหนึ่งจะมีผลอยู่ถึง80-100ผลจนได้ชื่อว่า มะพร้าวพวงร้อย หรือมะพร้าวทะลายร้อย สำหรับมะพร้าวกระทิ เป็นมะพร้าวที่เกิดจากการผิดปกติทางพันธุกรรม แต่คนชอบและหากินยาก สำหรับต้นที่เป็นกระทิก็จะมักพบเห็นเป็นกระทิอยู่เสมอ และมักพบเฉพาะทะลายด้านทิศตะวันออกมีมะพร้าวอีกพันธุ์หนึ่งมีผลอ่อนสีเหลืองอมแสดหรือแดงเรียกว่า มะพร้าวไฟนิยมปลูกประดับจัดสวน
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้นมะพร้าวเจริญเติบโตได้ดีในดินหลายประเภทตั้งแต่ทรายหยาบไปจนถึงดินเหนียวหากดินมีการระบายน้ำที่ดี แต่จะดีที่สุดบนดินทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ทนต่อดินอัลคาไลน์ที่มี pH 8 และดินเปรี้ยวที่มี pH 4.5 หรือสูงกว่า ทนต่อความเค็มได้สูง ชอบบริเวณที่มีแสงแดดจัดและมีฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ยรายวันสูงกว่า 12–13 ° C  
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน เนื้อมะพร้าวอ่อนใช้กินสดหรือทำของหวาน เนื้อมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิแกงได้ ยอดอ่อนของมะพร้าว ใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตายด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า “สลัดเจ้าสัว“ (millionaire's salad)
-ใช้เป็นยา มะพร้าวนี้แพทย์โบราณนิยมใช้เนื้อคั้นเอาแต่หัวกระทิ ผสมกับน้ำสมุนไพรอื่น เคี่ยวเป็นยาน้ำมัน ในหมู่เกาะโซโลมอนโรคท้องร่วงและโรคบิดได้รับการรักษาด้วยส่วนต่างๆของพืชชนิดนี้
-ใช้ปลูกประดับ มักปลูกตามสวนสาธารณะในสวนทั่วไปและตามริมถนน
-อื่น ๆใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร ก้านใบ หรือ ทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว ใบนําไปสารทําหมวก ฯลฯ กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
พิธีกรรม/ความเชื่อ---ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวบริเวณทิศตะวันออกของบ้านเพื่อให้เป็นสิริมงคล คนที่เกิดปีชวด ปีเถาะ ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ก็จัดให้มะพร้าวเป็นมิ่งขวัญของคนที่เกิดในปีดังกล่าว นอกจากนี้ การล้างหน้าศพด้วยน้ำมะพร้าว ก็เพราะมีความเชื่อว่าน้ำมะพร้าวเป็นน้ำบริสุทธิ์ ในพิธีกรรมทั้งทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ จะจัดให้มีมะพร้าวอ่อนเป็นเครื่องสังเวย เพราะมีความเชื่อว่ามะพร้าวเป็นตัวแทนแห่งความอุดมสมบูรณ์ และน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์เหมาะแก่การชำระล้างและการดื่มเพื่อเป็นสิริมงคล
ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด


แก้วมังกร/Hylocereus undatus


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Hylocereus undatus (Haw.) Britton & Rose
ชื่อพ้อง---Basionym: Cereus undatus Haw.
ชื่อสามัญ---Belle-of-the-night, Night-blooming cereus, Pitahaya, Queen of the night, Red pitahaya, Strawberry pear, White-fleshed pitahaya, Dragon fruit
ชื่ออื่น---แก้วมังกร ; [CHINESE: Liang tian chi, Huǒ lóng guǒ.];[CUBA: Flor de cáliz, Pitahaya.];[FRENCH: Fruit du dragon, Pitahaya rouge, Pitaya.];[GERMAN: Distelbirne, Drachenfrucht.];[KOREA: Yong-gwa.];[PORTUGUESE: Cardo-ananaz, Cato-barse.];[SPANISH: Pitahaya orejona, Chacam, Chak-wob, Junco tapatío, Pitahaya, Pitahaya dulce, Reina de la noche, Tasajo, Zacamb.];[SWEDISH: Rod pitahaya, Skogskaktus.];[THAI: Kaeo mangkon.];[USA/Hawaii: Paninniokapunahou, Papipi pua.];[VIETNAM: Thanh long.].
ชื่อวงศ์---CACTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกากลาง
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลางและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสามัญเช่น 'แก้วมังกร', 'พิทยา' และ 'พิทยายา' เป็นคำทั่วไปซึ่งรวมถึงไม้ค้ำยันหลายชนิดและกระบองเพชรเลื้อยที่อยู่ในวงศ์ Cactaceae พวกมันมักจะถูกนำไปใช้กับสายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่H. undatusและมักจะหมายถึงผลไม้มากกว่าพืช
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ (ในขณะที่สายพันธุ์เหล่านี้หลายชนิดมีคุณค่าทางเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกไม้มีเพียง 5 ชนิดเท่านั้นที่มีความสำคัญในฐานะผู้ผลิตผลไม้) เติบโตที่ระดับความสูงถึง 2,000 เมตร


เป็นแคคตัสที่มีลักษณะคล้ายเถาวัลย์ที่เติบโตเร็ว epiphytic หรือ xerophytic ลำต้นรูป 3 เหลี่ยมแม้บางครั้งจะเป็น 4- หรือ 5 เหลี่ยม มีสีเขียวเนื้อเป็นปล้องหลาย ๆ กิ่ง มีหนามออกดอกเดี่ยวบริเวณจุดหนาม ดอกสีขาวบานตอนกลางคืน มีกลิ่นหอม ผลรูปขอบขนานถึงรูปไข่ยาว 6-12 ซม. หนา 4–9 ซม. สีแดงมีใบประดับขนาดใหญ่มีเนื้อสีขาวและเมล็ดสีดำกินได้
แก้วมังกรมีหลายพันธุ์อยู่ที่ปลูกในบ้านเรามีดังนี้
1 แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง รสชาดหวานอมเปรี้ยว ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hylocereus undatus (Haw.) ที่อยู่ในรูปภาพ
2 แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocereus megalanthus ชื่อสามัญ Yellow dragon fruit ผลเป็น รูปไข่ ขนาดเล็กกว่าทุกพันธุ์ รสหวาน
3 แก้ว มังกรพันธุ์เนื้อแดงจัดอมม่วง เปลือกแดง ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hylocereus costaricensis ชื่อสามัญ Red Dragon fruit เป็นพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดจาก คอสตาริกาและนิคารากัว ผลเป็นทรงกลม เปลือกสีแดงจัด รสชาติหวานกว่าพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดด ทนต่อร่มเงา ดินที่ระบายน้ำได้ดีและมี pH ในช่วง 5.3 - 6.7 ทนได้ 5 - 7.5 อุณหภูมิไม่เกิน 38 ° C ***การปลูกแก้วมังกรต้องทำค้างให้ด้วย คือทำหลักให้หนาแน่นมั่นคง เหมือนในรูปถึงจะสวย เพราะความหนักของทรงต้นจะทำให้หลักเอียงไปทางโน้นทางนี้ หากทำลวกๆอาจกลายเป็นมังกรเลื้อยไปเลย อย่างต้นที่เห็นในรูปล่างขวาต้นนี้ทำค้างเตี้ยไปหน่อยเลยกลายเป็นมังกรติดดิน
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ดอกตูมนำมาปรุงกินเป็นผัก ผลรสหวานอมเปรี้ยว รสชาติหอมหวาน โดยปกติจะรับประทานผลไม้แช่เย็นเพื่อเพิ่มรสชาติ
-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ผลเพื่อการเกษตร นอกจากนี้ H. undatusยังถูกใช้เป็นต้นตอสำหรับกระบองเพชรประดับชนิดอื่น ๆ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและทนทานต่อพื้นผิวที่ชื้น
-ใช้เป็นยา ป้องกันโรคหัวใจ ลดความดันโลหิต ป้องกันมะเร็งลำไส้  ลำต้นและดอกของสายพันธุ์นี้ใช้เป็นยาเพื่อรักษาโรคเบาหวาน เป็นยาขับปัสสาวะและช่วยสมานแผล พบว่าผลไม้มีผลในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำลำต้น


ส้มจี๊ด, ส้มกัมควอท/Citrus japonica


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Citrus japonica Thunb
ชื่อพ้อง---Fortunella japonica (Thunb.) Swingle
ชื่อสามัญ---Kumquat, Cumquat, Meiwa Kumquat, Sweet Kumquat, Sweet Kinkan
ชื่ออื่น---ส้มกัมควอท, ส้มจี๊ด, ส้มกิมจ๊อ ; [CHINESE: Jin gan.];
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสปีซี่ส์ 'japonica'หมายถึง "ของญี่ปุ่น" และหมายถึงพันธุ์พื้นเมืองของสายพันธุ์นี้
ชื่อสามัญ kumquatในภาษาจีนกวางตุ้ง "kam" หมายถึงทองคำและ"quat" หมายถึงสีส้มหรือหมายถึง "ส้มสีทอง"
ส้มคัมควอทกับส้มจี๊ดเป็นไม้ต้นเดียวกันใช้ ชื่อวิทยาศาสตร์และ ชื่อสามัญเหมือนกัน ต่างกันที่ลักษณะผล ซึ่งแบ่งเป็น กลุ่มผลกลม(Round Kumquat Group)และกลุ่มผลรี(Oval Kumquat Group)ทั้งสองกลุ่มมีหลายพันธุ์และมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน กระจายพันธุ์ไปในญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี ไม่พบพันธุ์ใดที่เคยเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสายพันธุ์ในถิ่นที่อยู่ "ตามธรรมชาติ" อย่างแท้จริง ตอนนี้ยังมีการเพาะปลูกเป็นจำนวนมากและเติบโตอย่างกว้างขวางในไต้หวันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง ยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน ปากีสถานและทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ที่ระดับความสูง 600-1000 เมตร


Round Kumquat Group
ไม้พุ่มสูง 2-5เมตร ก้านใบยาว 6-10 มม.ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก 4-8 × 1.5-3.5 ซม. โคนใบเว้ากว้าง ปลายใบป้านดอกเป็นสีขาวมีกลิ่นหอมแรง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ ร่วงได้ง่าย เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง1.5-2.5 ซม.ผลสีเหลืองอร่ามถึงแดงอมส้มทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม. เมล็ด 2-5 เมล็ด เปลือกนอกหนา 1.5-2 มม.รสหวานกว่าคัมควอทรูปรี ระยะออกดอก/ติดผล เม.ย. - พ.ค./ พ.ย. - ก.พ.
Oval Kumquat Group
ต้นไม้สูงถึง 3 เมตร ก้านใบยาว1.2 ซม. ปีกแคบมาก ใบรูปไข่แกมรูปใบหอกถึงรูปไข่ยาว 5-11 × 2-4 ซม. โคนใบเว้ากว้างถึงเกือบมนปลายยอดป้านถึงปลายแหลมเล็กน้อย ก้านช่อดอก 3-5 มม. กลีบดอก 6-8 มม. เกสรเพศผู้ 20-25.อัน ผลสีเหลืองอร่ามถึงสีแดงอมส้มรูปรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. จุดน้ำมันมักขยายเล็กน้อยเมล็ด 2-5 เมล็ดเปลือกนอก หนา 2.5 ม.ม เมล็ดรูปไข่ปลายยอดแหลม ระยะออกดอก/ติดผล มี.ค. - พ.ค./ต.ค. - ธ.ค.
การเพาะปลูก---ต้องการตำแหน่งที่มีแดดจัด ชอบดินร่วนปานกลางโดยใส่ปุ๋ยหมักและทรายลงไปในปริมาณที่พอเหมาะ ดินชื้นสม่ำเสมอ ชอบ pH ในช่วง 6.5 - 7.5 ทนได้ 6 - 8 อุณหภูมิระหว่าง 25 - 38ºC  แต่สามารถทนต่อน้ำค้างแข็งได้ถึง –10ºC แม้จะสามารถอยู่รอดในอุณหภูมิต่ำได้ แต่ต้นคัมควอทก็เติบโตได้ดีกว่าและให้ผลผลิตที่หวานกว่าในพื้นที่ที่อบอุ่น
ใช้ประโยชน์---พืชชนิดนี้ได้รับการปลูกเพื่อให้ผลไม้ในหลายพื้นที่ของจีนและญี่ปุ่นรวมทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนอื่น ๆ
-ใช้กิน ผลมีรสเปรี้ยวใช้แทนมะนาว นำมาใช้ปรุงอาหาร ใช้แต่งรสเปรี้ยวในการทำน้ำผลไม้ แยม แช่อิ่ม เชื่อม ผลไม้อุดมไปด้วยเพคตินและทำมาร์มาเลดและเยลลี่ ปริมาณวิตามินซีสูงถึง 0.24 mg / cc ส้มชนิดนี้เอาเปลือกมาดองเค็มเรียกว่า "กิมจ๊อ"
-ใช้ปลูกประดับ นำมาปลูกเป็นไม้ประดับทรงพุ่มสวยงามน่ารัก สามารถปลูกเป็นไม้กระถางหรือในภาชนะปลูก
-ใช้เป็นยา ผลไม้สดมีฤทธิ์ต้านพิษและขับเสมหะ - ในเวียดนามนำไปนึ่งกับขนมหวานและใช้รักษาอาการเจ็บคอ ตามสรรพคุณยาจีน ผลส้มจี๊ดมีพลังเย็น รสเปรี้ยวอมหวาน มีสรรพคุณช่วยหล่อลื่นปอด
-อื่น ๆ เปลือกผลใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำน้ำมันหอมระเหย ใบสดและกิ่งอ่อนให้น้ำมันหอมระเหย 0.21% ซึ่งอาจเหมาะสำหรับทำน้ำหอม
ความเชื่อ/พิธีกรรม---ชาวจีนถือว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของวันตรุษจีน ผลไม้หมายถึงเงินทองและความโชคดี
ระยะออกดอก---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด


ส้มมือ/Citrus medica var sarcodactylis

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Citrus medica var. sarcodactylis (Noot.) Swingle
ชื่อพ้อง---This name is a synonym of Citrus medica L.
ชื่อสามัญ---Buddha’s Hand, Buddha' Finger, Finger citron.
ชื่ออื่น---ส้มโอมือ ส้มมือเสือ  ส้มเสือ  มือพระเจ้า นิ้วมือพระพุทธเจ้า ส้มนิ้วพระหัตถ์ ; [CHINESE: Fóshǒu gān.];[FRENCH: Buddhafinger, Gefingerte Zitrone, Cédrat digité, Main de Bouddha, Sarcodactyle.];[JAPANESE: Fóshǒugān.];[KOREAN: Bulsugam; fóshǒu gān.];[SWEDISH: Fingercitron.].
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี

 

นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลCitrusมาจากภาษาละตินคลาสสิก ; ชื่อสปีซี่ส์ 'medica'หมายถึงยา
ส้มมือจัดเป็นส้มเก่าแก่ที่สุดในตระกูลส้ม มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน (กวางตุ้ง ฝูเจี้ยน กุ้ยโจว ไห่หนาน เสฉวน เจ้อเจียง ยูนนาน) พบการกระจายพันธุ์ในป่าทางตอนใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พืชชนิดนี้ปลูกในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนเช่นอินเดีย ศรีลังกา ไทย เวียดนาม เกาหลีและญี่ปุ่น เติบโตได้ดีที่ระดับความสูงต่ำกว่า 1,300 เมตร
ไม้พุ่มสูง 2-4เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นเหลี่ยมสีม่วงมีหนามยาวและแข็ง ใบประกอบแบบมีใบย่อยใบเดียว ยาว10-15ซม. เรียงสลับรูปไข่แกมรีหรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบแหลมทู่หรือกลม โคนใบรูปลิ่มหรือกลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ก้านใบสั้น ดอก สีขาวปนชมพู ออกเป็นช่อกระจะที่ซอกใบ มีกลิ่นหอมแรง ดอกสมบูรณ์เพศ หรือมีแต่เพศผู้ ผลเด่นมากเพราะเมื่อแก่จะมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ สีเหลืองหรือเหลืองส้ม พอแก่จะเห็นเป็นนิ้วชัดผิวของผลคล้ายเปลือกส้มโอ หนาๆฟ่าวๆ ไม่มีเนื้อและเมล็ด


การเพาะปลูก---ต้องการตำแหน่งที่มีแสสงแดดจัดและมีที่กำบังลมแรง ชอบดินร่วนชึ้นที่ลึกระบายน้ำได้ดี ชอบ pH ในช่วง 6.5 - 7 ทนได้ 5.5 - 8
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม่มีเนื้อหรือน้ำผลไม้ แต่ยังใช้กินได้ (มักจะเป็นความสนุกหรือเครื่องปรุง) ใช้ในขนมอาหารคาวหวานและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เช่นวอดก้า)
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ ยอดสด ใบ ดอก ผลและเมล็ด ใช้เตรียมยาแผนโบราณหลายอย่างสำหรับการรักษาโรคหอบหืด โรคไขข้อ ปวดศีรษะ ปวดท้อง พยาธิในลำไส้และความผิดปกติทางจิตใจ (ความวิกลจริตการถูกวิญญาณชั่วร้ายครอบงำ)-ผลไม้ใช้ในการรักษาไข้มาลาเรียอาการไอและหวัด-ในประเทศไทยคงเคยได้ยิน ยาดมส้มโอมือ กันมาบ้าง ที่ใช้ส่วนของเปลือกทำ สำหรับดมแก้วิงเวียนศรีษะ บำรุงหัวใจ แต่เดี๋ยวนี้หาส้มมือทำยายาก แล้วก็ไม่นิยมสำหรับผู้คนสมัยใหม่ก็เลยสร่างซากันไป
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นไม้แคระและยังเป็นไม้ประดับที่มีมูลค่าทั่วตะวันออกไกล สามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้
-อื่น ๆสำหรับชาวจีนและญี่ปุ่นมักใช้ส้มมือเป็นเป็นเครื่องหอมดับกลิ่นและยาขับไล่มอด
ความเชื่อ/พิธีกรรม---ใช้เป็นผลไม้มงคลในพิธีกรรมต่างๆ เป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขอายุยืนและความโชคดีในประเทศจีน   
ระยะออกดอก---พฤษภาคม-มิถุนายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง


มะนาว/Citrus aurantifolia

ชื่อวิทยาศาสตร์---Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle.
ชื่อพ้อง---Basionym: Limonia aurantifolia Christmann
ชื่อสามัญ---West Indian lime, Bartender's lime, Omani lime, Mexican lime, Egyptian lime, Sour lime
ชื่ออื่น---มะนาว, ส้มนาว ส้มมะนาว ; [ARABIC: Limah, Limoo.];[ASSAM: Gol-nemu ,Nemu-tenga, Nemutênga.];[BENGALI: Kaghzinimbu, Lebu, Patinebu.];[CHINESE: Lai meng, Lu meng, Fei lu bi ning meng, Suan ning meng.];[FRENCH: Citronnier gallet, Limette acide, Limettier.];[GERMAN: Limettenbaum, Limettenzitrone, Saure Limette.];[HINDI: Jambhiirii, Liimuu,Nimbu, Kagzi nimbuu.];[ITALIAN: Lima acida, Limetta mexicana.];[JAPANESE: Raimu, Remon riaru (as C. excelsa).];[KANNADA: Limbe, Limbe hannu, Suṇṇa.];[MALAY: Limau nipis, Limau neepis, Limau asam (Malaysia), Jeruk neepis, Jeruk nipis (Indonesia).];[MALAYALAM: Erumichinarakam.];[MARATHI: Ambatanimbu, Limbu, Mavalanga.];[PHILIPPINES: Dayap, Bilolo (Tag.);Gorong-gorong (Ilk.);Suwa (Bis.);Dalaya (Ibn.).];[PORTUGUESE: Lima, Lima-comum, Lima-da-pérsia.];[SANSKRIT: Matulunga, Nimbukah, Jambhiir.];[SPANISH: Lima ácida, Lima chica, Lima gallega, Limero, Limón agrio.];[TAMIL: Campalam];[TELUGU: Nimma, Nima.];[THAI: Manao.];[VIETNAMESE: Chanh ta.].
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ภูมิถาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
อาจมีต้นกำเนิดในอินเดียตอนเหนือและพม่า ต้นไม้นี้ได้รับการปลูกกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนโดยเฉพาะหมู่เกาะอินเดียตะวันตก เม็กซิโก ฟลอริดา อียิปต์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับผลไม้ที่กินได้

มะนาว เป็นไม้พุ่มสูง2-4เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลปนเทา  ใบ ประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียวรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว4-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนมีปีกแคบๆ ขอบใบหยัก แผ่นใบใหญ่หนาเข้มมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ตามผิวใบ ดอก ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกย่อยมีกลีบดอกมี 4-5 กลีบ สีขาวมีกลิ่นหอม ผลเรียบกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-5 ซ.ม ที่ผิวมีน้ำมันหอมระเหยที่มีรสขม ภายในมีเมล็ดกลมรีสีขาว
การเพาะปลูก--ต้องการตำแหน่งที่มีแดดจัดชอบดินร่วนระบายน้ำดีความชื้นสม่ำเสมอ pH ในช่วง 6 - 6.5 ทนได้ 4.8 - 8.3 ทนแล้ง
พันธุ์มะนาวที่นิยมปลูกกันในประเทศไทยมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่
-มะนาวหนัง ผลอ่อนกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกหนา ทำให้เก็บรักษาผลได้นาน
-มะนาวไข่ ผลกลม หัวท้ายยาว มีสีอ่อนคล้ายไข่เป็ด ขนาด 2-3 ซม.เปลือกบาง
-มะนาวทราย ทรงพุ่มสวยใช้เป็นไม้ประดับ ให้ผลตลอดปีแต่ไม่ค่อยนิยมบริโภค เพราะน้ำมีรสขมเจือปน
-มะนาวแป้น ผลใหญ่ ค่อนข้างกลมแป้น เปลือกบาง มีน้ำมาก นิยมใช้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่นๆ ในเชิงพาณิชย์จะปลูก มะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษ สามารถบังคับให้ออกฤดูแล้งได้ง่าย
ใช้ประโยชน์---มันเป็นส่วนประกอบในชีวิตประจำวันในอาหารของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งต้นไม้มักปลูกในสวนและในเชิงพาณิชย์ คงไม่มีใครไม่รู้จักมะนาว เกือบลืมว่ามะนาวก็เป็นไม้คู่บ้านที่คนมักนิยมปลูกไว้คู่กันกับมะกรูด ซึ่งหากจะว่าไปก็น่าจะจัดมะนาวกับมะกรูดเป็นผลไม้ แต่ก็เป็นพืชผักสวนครัวไปเหตุเพราะเราจะไม่นำมากินกันสดๆเป็นลูกๆแต่จะนำไป เพื่อปรุงรสและประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็นแยม แยมมาร์มาเลด เยลลี่และน้ำผลไม้ (โดยปกติจะรวมกับผลไม้อื่น ๆ ) มะนาวอบแห้งใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารเปอร์เซีย บางครั้งมีการเติมใบลงในซุป ใช้เป็นเครื่องปรุงในอาหารชวา
-ใช้กิน ผล - ดิบปรุงสุกหรือใช้เป็นเครื่องปรุง ผลไม้ผิวบางมีกรดมากฉ่ำมีกลิ่นหอม นำมาคั้นเป็นน้ำมะนาว ส่วนใหญ่ใช้เพื่อเพิ่มรสชาติและเครื่องปรุง รสชาติที่เข้มข้นและรสเปรี้ยวทำให้มะนาวเป็นที่ชื่นชอบสำหรับอาหารจานร้อนและเผ็ดไม่ว่าจะเป็นของสดหรือในรูปแบบของผักดองและซอส
-ใช้เป็นยา มะนาวเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมฝาดเย็น ส่วนต่างๆของพืชใช้เป็นยาโดยเฉพาะใบ ผลไม้ เปลือกและน้ำมันหอมระเหย น้ำในผลมีรสเปรี้ยวจัด คั้นเป็นน้ำมะนาวดื่มแก้โรคลักปิดลักเปิด ใช้ในการรักษาอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ เป็นลม ไข้และเจ็บคอ - คลื่นไส้และเป็นลม ภายนอกใช้น้ำผลไม้สดเพื่อทำความสะอาดบาดแผล คั่วสำหรับแผลเรื้อรัง ยาต้มรากใช้แก้บิด เปลือกรากเป็นยาแก้ไข้ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไนจีเรียราก เปลือก ลำต้น กิ่งไม้ ใบและผล ใช้ในการรักษาโรคมาลาเรีย ในยูคาทานยาต้มรากใช้สำหรับโรคหนองใน
-อื่น ๆ น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากเปลือกและรู้จักกันในชื่อน้ำมันมะนาวเป็นแหล่งที่ดีของไคทรัล(chitral)ใช้ในการผลิตน้ำหอม สบู่ หมากฝรั่ง อาหารและขนมหวาน น้ำมันหอมระเหยอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าน้ำมันใบมะนาว(lime-leaf oil)ได้มาจากใบ น้ำมันกึ่งแห้ง (A semi-drying oil)ได้มาจากเมล็ดใช้ในการทำสบู่
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด

มะกรูด/Citrus hystrix

ชื่อวิทยาศาสตร์---Citrus hystrix DC
ชื่อสามัญ---Kaffir lime, Porcupine orange, Leech lime, Mauritrus papeda, Makrut-lime
ชื่ออื่น---มะกรูด (ทั่วไป); มะขุน, มะขูด (ภาคเหนือ); มะขู (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน); ส้มกรอส, ส้มกูด, ส้มมั่ว (ภาคใต้) ; [BURMESE : Shauk cho, Shauk nu, Shauk waing.];[CHINESE: Jian ye cheng, Mao li qiu si ku cheng, Ma feng cheng, Ma feng mao gan, Ma feng gan.];[DUTCH: Indonesische citroenboom, Kaffir limoen.];[FRENCH: Combava, Limettier hérissé.];[GERMAN: Kafir-Limette, Makrut-Limette, Langdorniger Orangenbaum.]; [HEBREW: Aley kafir laim.];[INDONESIA: Daun jeruk purut.];[JAPANESE: Bai makkuruu, Kobu mikan, Moorishasu papeda, Purutto, Kafaa raimu, Kafiiru raimu.];[KHMER: Krauch soeuch.];[LAOS: Khi-Hout, Makgeehoot, mak khi hud.];[MALAYSIA: Daun limau purut (leaf), Limau purut (fruit).];[PHILIPPINES: Kabuyaw, Buyak (Tag.);Kolobot (Tag., Bis.);Daruga (Sul.).];[PORTUGUESE: Combava, Lima-de-cafir, Papeda.];[RUSSIAN: Kaffir laim, Kobu mikan.];[SINHALESE: Kahpiri dehi, Kudala dehi, Odu dehi.];[SPANISH: Hojas de Lima cafre, Hoja de lima kaffir, Lima kaffir.];[TAMIL: Kolumiccai.];[THAI: Makrut, ; Bai makrut (leaves); Luk makrut (fruits).];[TONGA: Lemani, Moli Lemani.];[VIETNAMESE : Chanh Kaffir, Chanh sác, Trúc.].
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย    
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ; ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสปีชีส์ 'hystrix' (Greek hystrix [ ὕστριξ ] porcupine ) หมายถึงหนามตามลำต้นจำนวนมากของพืช
พบในจีนตอนใต้ อนุทวีปอินเดีย มาเลเซียและอินโดจีน พืชนี้ยังปลูกในพื้นที่อื่น ๆ ของโลกเช่นอเมริกากลางแอฟริกา (Mascarene Isl.) และหมู่เกาะฮาวาย
ไม้ต้นสูง2-8เมตร ลำต้นเกลี้ยงเกลา กิ่งก้านมีหนาม ใบแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงโคนใบคือก้านใบที่แผ่ออกดูคล้ายใบ และส่วนปลายคือใบที่แท้จริง มีกลิ่นหอมฉุนจากน้ำมันหอมระเหย(volatile oil) ช่อดอกออกตามซอกใบ 3-5 ดอก ดอกมีขนาดเล็กมีกลิ่นหอมสีขาว กลีบเลี้ยงมี4กลีบ แฉกสีขาวขอบสีม่วง กลีบดอก 4–5กลีบ รูปไข่แกมรูปไข่สีขาวอมเหลืองอมชมพู  และหอม ผลกลมผิวหนาขรุขระรูปไข่สีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวเมื่อสุกเส้นผ่านศูนย์กลาง 5–7 ซม. เนื้อเหลืองเปลือกหนามีกรดมากและขม เมล็ดมีจำนวนมากเป็นรูปขอบขนานแกมรูปรียาว 1.5–1.8 ซม. กว้าง 1–1.2 ซม. หนา 0.5 ซม
การเพาะปลูก---พืชที่ปลูกง่าย ชอบดินร่วนที่ลึกและระบายน้ำได้ดี แต่กักเก็บความชื้นได้ดีในแสงแดด ชอบ pH ในช่วง 5 - 6
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน พืชเป็นส่วนประกอบที่นิยมมากในอาหารไทย ใบ และเปลือก- ใช้เป็นเครื่องปรุง สามารถหั่นให้ละเอียดแล้วใส่เป็นเครื่องปรุงในอาหารปรุงสุกหรือใช้ใส่ในน้ำพริกแกง
-ใช้เป็นยา เป็นแหล่งของสารต่อต้านอนุมูลอิสระและสารขัดผิวทางเคมีในเครื่องสำอางใช้เสริมสวยบำรุงเส้นผม หนังศรีษะ ผลนำมาเผาไฟพอไหม้คั้นเอาแต่น้ำสระผมกันรังแค หรือนำผลไม่ปอกเปลือกผ่าเป็น 2ซีกนวดผมให้ทั่วศรีษะจะทำให้ผมลื่นเป็นมัน ไม่หงอกเร็ว ผมดกดำ
-อื่น ๆ ผลไม้อุดมไปด้วยซาโปนิน ใช้ในแชมพูสระผมและสำหรับซักผ้า ได้รับน้ำมันหอมระเหยที่แตกต่างกันสองชนิด ชนิดหนึ่งจากใบและอีกชนิดหนึ่งจากเปลือกของผลไม้ ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง -สารสกัดจากผิวมะกรูดและน้ำผลไม้ใช้เป็นยาฆ่าแมลง ฆ่าปลิงบนบก -พืขใข้เป็นต้นตอที่มีค่าสำหรับพืชตระกูลส้ม
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

มะไฟ/Baccaurea ramiflora

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Baccaurea ramiflora Lour.
ชื่อสามัญ---Burmese Grape, Latka, Burmese Grape, Baccaurea, Kataphal, Tampoi
ชื่ออื่น---มะไฟ มะไฟป่า ส้มไฟ หัมกัง ; [ASSAM: Latok-tenga,Latoko,Letuk,Leteku.];[BENGALI: Kusum-tenga,Lotka,Latka.];[HINDI; Khattaphal.];[INDONESIA: Mafai, Tajam Molek.];[MALAYSIA: Mafai Setambun, Rambai Tiung (Malay).];[Nepali: Kusum.];[THAI: Mafai, Mafai Paa.];[VIETNAM: A luân sa coi, du quả nhọn, gạc nai.].
ชื่อวงศ์---PHYLLANTHACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ; จีนตอนใต้ อินเดีย พม่า มาเลเซีย กัมพูชา ลาว เวียดนาม
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษาละติน 'baccaurea' ซึ่งหมายถึงสีเหลืองทองของผลไม้
มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย (อัสสัม) พม่าจีน (ยูนนาน ไหหลำ) เวียดนาม ลาวไ ทย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ คาบสมุทรมาเลเซีย  ตั้งแต่ที่ระดับความสูง 100 - 1,300 เมตร
ไม้ ต้นสูงขนาด 5-15 เมตร มีใบเฉพาะปลายยอด ทรงพุ่มกลมโปร่ง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนปนเทา เปลือกเรียบแตกเป็นร่องตื้น ใบเดี่ยว 9-25 x  3-9 ซม.เวียนสลับ ขอบใบเรียบแผ่นใบเกลี้ยง ดอกเป็นช่อกระจะออกตามกิ่งและลำต้น ต้นเพศผู้และต้นเพศเมียอยู่บนต้นไม้ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ขนาดเล็กเรียงเป็นกระจุกเรียวยาว 10 ซม. ดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยเป็นกระจุกยาว 30 ซม ดอกย่อยสีชมพูอมเหลืองหรือสีเหลือง เมื่อติดผลจะเป็นช่อยาว ผลกลมหรือเป็นรูปไข่สีเหลืองอมชมพูขนาด2.5–3.5 ซม. เมื่อแก่สีเหลือง เนื้อในมีสามเมล็ดสามพูฉ่ำน้ำ มีเมล็ดสีม่วงแดงขนาดใหญ่ 2–4 เมล็ด
การเพาะปลูก---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดจัดและประสบความสำเร็จในที่ร่ม ขึ้นได้ดีในดินที่หลากหลายทั้งในพื้นที่ ที่มีการระบายน้ำได้ดีและเปียกชื้น ชอบ pH ในช่วง 5 - 6 ทนได้ 4.5 - 6.5
พันธุ์ที่นิยมเพาะปลูกในประเทศไทย
-พันธุ์ไข่เด่า ผลกลมรี ก้นแหลม เนื้อสีอมชมพู หวานอมเปรี้ยว มี 3-4 พู
-พันธุ์เหรียญทอง ผลใหญ่ ก้นเรียบ สีขาวขุ่น มี 2-3 พู ฉ่ำน้ำ หวานน้อยกว่า
การใช้ประโยชน์---ต้นไม้มีมูลค่าในท้องถิ่นสำหรับผลไม้ที่กินได้และมักปลูกในสวนในบ้านและปลูกร่วมกับผลไม้เมืองร้อนอื่น ๆ เช่น ทุเรียน เงาะและมะม่วง
-ใช้กิน ผลไม้ถูกเก็บเกี่ยวและใช้ในท้องถิ่นกินเป็นผลไม้มีรสเปรี้ยว หรือทำเป็นไวน์มะไฟ
-ใช้เป็นยา เปลือกรากและเนื้อไม้ถูกทำให้แห้งและบดก่อนต้มในน้ำเพื่อใช้เป็นยาเพื่อรักษาโรคผิวหนัง
อื่น ๆ---แก่นไม้มีสีน้ำตาลอมเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม เนื้อละเอียดปานกลางและไม่สม่ำเสมอ เนื้อไม้มีความแข็งปานกลางแข็งแรงพอประมาณขึ้นชื่อว่าทนทาน ใช้สำหรับงานตู้, งานก่อสร้าง, อุปกรณ์การเกษตร, เฟอร์นิเจอร์, เรือและสำหรับสินค้าขนาดเล็ก
ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-พฤษภาคม/พฤษภาคม-กรกฎาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด


ชำมะเลียง/Lepisanthes fruiticosa

ชื่อวิทยาศาสตร์---Lepisanthes fruiticosa (Roxb.) Leenh
ขื่อพ้อง---Has  4 Synonyms
-Otolepis fruticosa (Roxb.) Kuntze.
-Otophora fruticosa (Roxb.) Blume.
-Sapindus baccata Blanco.
-Sapindus fruticosus Roxb.
ชื่อสามัญ ---Chammaliang, Luna Nut
ชื่ออื่น---ชำมะเลียง, ชำมะเลียงบ้าน,โคมเรียง, มะเถ้า, พุมเรียง, พุมเรียงสวน, พูเวียง ; [BORNEO: Kilinga.];[INDONESIA: Blimbing Cina, Cereme Cina, Mojowontu.];[KHMER: Daun Kay, Chanlo, Kandak, Kândâk.];[LAOS: Kwad Khaaz.];[MALAYSIA: Kelat Jantan, Mertajam, Pokok Balingasan (Malay).]; Setengok (Peninsular), Talikasan (Timugon, Sabah), Palingsan Bukit, Petagar Tulang (Kedayan, Sarawak).];[PHILIPPINES: Linaunau.];[THAI: Chammaliang, Chammaliang baan, Khomriang, Mathao (Northern Thailand), Phumriang (Central Thailand), Phumriang suan, Phuuwiang.]
ชื่อวงศ์---SAPINDACEAE
ถิ่นกำเนิด---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล'Lepisanthes 'มาจากคำในภาษาละติน'lepis'ซึ่งแปลว่าสเกลและ'anthos'หมายถึงดอกไม้โดยอธิบายถึงดอกไม้ที่มีเกล็ดบนพื้นผิวด้านในของกลีบดอก  

   

ถ่ายเมื่อ 2/12/2552
พบใน เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พืชพันธุ์ในป่าปฐมภูมิและทุติยภูมิ ส่วนใหญ่อาจอยู่ในที่โล่งในป่าตามขอบสันเขาริมแม่น้ำ หนองน้ำ ชายหาดในสวนร้างและทุ่งหญ้า ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,400 เมตร
ไม้ ต้นหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง1.5-10 (-15) ม. dbh 2-15 ซม.เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่2-9 คู่  เรียงสลับตามก้านของใบ รูปใบขอบขนานปลายใบเรียวแหลม กว้างไม่เกิน 2 ซม.และยาวประมาณ 8-10 ซม. ดอกสีแดงอมม่วง ต้นนี้น่าจะเป็นชำมะเลียงบ้าน ลูกจะใหญ่กว่าชำมะเลียงป่าที่ดอกสีขาวครีม มีกลิ่นหอมอ่อนๆแปลกๆไม่คล้ายกับดอกไม้อื่นๆ ผลมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 4 ซม. รูปไข่หรือรีป้อมมีรอยบุ๋มตรงกลางช่อละ 10-15 ผล ผลอ่อนสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเป็น สีม่วงดำออกแดงเมื่อสุกงอมในที่สุด เมล็ดกลมแบนสีน้ำตาลคล้ำมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2 ซม
การใช้ประโยชน์---พืชนี้ถูกเก็บจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารยาและแหล่งไม้
-ใช้กินผลสุกมีรสหวาน ถ้าคลึงให้น่วมก่อนกินไม่งั้นจะฝาดหน่อย ผลไม้สามารถรับประทานได้และเป็นของว่างโดยเฉพาะเด็ก ๆ
-ใช้เป็นยา รากใช้เป็นยาพอกเพื่อบรรเทาอาการคันและใช้ลดอุณหภูมิในช่วงมีไข้
-ใช้ปลูกประดับใช้ปลูกในสวนเป็นไม้ประดับและอาหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทรงพุ่มจะเป็นทรงกระบอกกินพื้นที่น้อย เป็นต้นเดี่ยวมากกว่าแตกกอ เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่จำกัดสำหรับต้นไม้
-อื่น ๆ เนื้อไม้แข็งหนักและทนทาน ใช้เฉพาะในการสร้างบ้านในมะละกา แต่ใน Malesia ไม้ไม่มีค่า ใช้สำหรับทำฟืนเท่านั้น
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนมิถุนายน-เดือนธันวาคม -
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


ทับทิม/Punica granatum

ชื่อวิทยาศาสตร์---Punica granatum Linn.
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
-Punica nana L.
-Punica spinosa Lam.[Illegitimate]
ชื่อสามัญ---Pomegranate , Punic Apple, Wild pomegranate, Carthaginian Apple
ชื่ออื่น---มะก่องแก้ว,, มะเก๊าะ, พิลา,เซียะลิ้ว,กะตึม,หมากสีลา, หมากจัง ; [ARABIC: Rummaan, Jullanar (Flower), Darabhte-naiy.];[BENGALI: Dadima, Dalim.];[BURMESE: Thale, Talebin, Salebin.];[CHINESE: Shi liu.];[FRENCH:  Grenade (fruit), Grenadier (tree).];[GERMAN: Granatapfel, Granatapfelbaum, Granatbaum.];[HINDI: Anar (Fresh Fruit), Anardana.];[JAPANESE: Zakuro.];[KANNADA: Dalimba.];[KHMER: Totum.];[KOREAN: Seog ryu.];[LAOS: Phiilaa.];[MARATHI: Dadimba (Fruit), Dalim.];[MALAY: Buah delima, Delima (Indonesia), Delima (Bali).];[PHILIPPINES: Dalima (Sul.); Granada (Tag.).];[SANSKRIT: Kuchaphala, Dadima, Lohitapushpa (Fruit).];[SPANISH : Beejpur, Granada, Granado, Mangrano, Pomogranado.];[TAMIL: Madulai.];[THAI: Ma ko, Thap thim.];[URDU: Anar (Fruit), Gulnar Farsi (Flower), Bidana, Darhoon Mitho].
ชื่อวงศ์---PUNICACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เอเชียตะวันออก และอเมริกา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสามัญ คำว่า "pomegranate" มาจากภาษาละตินแปลว่า "ผลไม้หลายเมล็ด"
ถิ่นกำเนิดประเทศอิหร่านทางตอนใต้ของอัฟกานิสถาน แพร่หลายในการเพาะปลูกประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เอเชียตะวันออก และอเมริกา


(ถ่ายเมื่อ28/2/2553)
ทับทิม เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง 2-5 เมตร ลำต้นสีเทา อายุหลายปี ใบเรียงตรงข้ามรูปใบหอกส่องยาว 5.7 ซม. กว้าง 1.7 ซม. ก้านใบบางยาว 4 ซม.ดอกทับทิมสีแดงส้มสด เวลาทับทิมติดผลกิ่งมักห้อยย้อยลง กิ่งนิดเดียวแต่รับน้ำหนักผลที่โตใหญ่ได้แบบไม่น่าเชื่อ ผลไม้ทรงกลมติดกลีบเลี้ยงที่ติดตามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.2-6.6 ซม.เปลือกนอกแข็ง ผลเมื่อแก่บางทีจะแตกอ้าออก ถ้าไม่ห่อผลหรือดูแลเรื่องโรคแมลงให้ดี ส่วนใหญ่จะมีโรคในผลทำให้ทับทิมเนื้อเป็นสีดำ รับประทานไม่ได้
การเพาะปลูก---ต้องการตำแหน่งแสงแดดจัด ชอบดินร่วนซุยและชุ่มชื้น ทนแล้งได้ดี
ทับทิม สายพันธุ์หนึ่งที่เมล็ดนิ่มรสชาดดีเยี่ยม น่าปลูกชื่อสายพันธุ์ 'อติชัย' ของคุณลุงสมิง สาระจำนง ที่กลางดง ปากช่อง และอีกสายพันธุ์คือ 'แสงตะวัน'อยู่แถบปากช่องเหมือนกัน ที่เป็นสายพันธุ์ที่ดีอีกพันธุ์หนึ่ง บอกไว้เผื่ออยากปลูกไว้ทานผล
การใช้ประโยชน์---
-ใช้กิน ผลไม้มีวิตามินซีกรดซิตริกและกรดมาลิก กินเขียวเป็นผักต้ม สุกเย็นและน้ำตาล - ทับทิม 1 ผลให้ไวตาซีถึง 40% ต่อวัน - เมล็ดและใบที่ใช้ในเครื่องดื่มชาผลไม้ใช้ทำแยม เยลลี่ ซอส น้ำสลัดและไวน์- Anardana เป็นรูปแบบผงของเมล็ดทับทิมเป็นเครื่องเทศรูปแบบหนึ่ง
-ใช้เป็นยา หลายวัฒนธรรมใช้ทับทิมเป็นยาพื้นบ้าน ส่วนที่ใช้ ราก ดอกไม้ เมล็ดและเปลือกผลไม้  เปลือกใบและผลอ่อน (แทนนิน) ใช้เป็นยาสมานสำหรับอาการท้องร่วงโรคบิดและอาการตกเลือด, ยาต้มเปลือกผลแห้งใช้แก้ปวดท้องและบิด ยาที่ใช้สำหรับอาการลำไส้ใหญ่บวม, ดอกป่นแห้งใช้สำหรับหลอดลมอักเสบ- ในอินเดียเปลือกผลไม้ใช้แก้ท้องร่วง- ในยาแผนโบราณของคิวบาใช้สำหรับรักษาโรคทางเดินหายใจ- ในทางการแพทย์แผนไทย ใช้สำหรับอาการท้องร่วง ในประเทศจีนดอกไม้ที่ใช้สำหรับผมหงอกก่อนวัยในชายหนุ่ม- ในยาพื้นบ้านเมดิเตอร์เรเนียนเมล็ดใช้สำหรับรักษาอาการวัยทอง-ผลสุกเป็นยาบำรุงกำลัง เป็นยาระบายและบำรุงเลือด นอกจากนี้ยังใช้แก้อาการเจ็บคอ เจ็บตาและโรคทางสมอง-เปลือกต้นมีอัลคาลอยด์พูนิซีนซึ่งเป็นพิษอย่างมากต่อพยาธิตัวตืด พยาธิตัวกลม
-ใช้ปลูกประดับ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับมงคลมีแทบทุกบ้าน ติดอันดับท็อปไม่แพ้มะยม เพราะถือว่าเป็นเครื่องหมายแห่งความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ ยิ่งปลูกแล้วดอกผลออกระย้านี่ถือว่าเยี่ยมอย่าปล่อยให้โทรมได้
-อื่น ๆไม้เนื้อแข็งมากและมีสีเหลืองอ่อนมีความแข็งและความทนทานโดยทั่วไปจะใช้ในการทำอุปกรณ์การเกษตร และใช้เป็นฟืนเปลือกรากให้หมึกสีดำใช้ในการย้อมสีและหนัง
-ทับทิมมีการใช้ในยาแผนโบราณมากว่า 3000 ปี โบราณและลึกลับได้รับการเขียนเกี่ยวกับพันธสัญญาเดิมของพระคัมภีร์โตราห์ของชาวยิวและทัลมุดบาบิโลนว่าเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ความอุดมสมบูรณ์และความโชคดี นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ของพิธีกรรมศิลปะและตำนานซึ่งเป็นสัญลักษณ์ส่วนบุคคลของจักรพรรดิโรมัน Maximilian สัญลักษณ์และเครื่องใช้ในพิธีการของเมืองโบราณกรานาดาในสเปน
ความเชื่อ/พิธีกรรม---คนไทยเชื้อสายจีนเมื่อออกจากบ้านไปงานศพ จะเด็ดใบใส่กระเป๋าเสื้อเพราะเชื่อว่าป้องกันภูตผีได้ ในเทศกาลเซ่นไหว้ นิยมใช้ทั้งก้านทั้งใบเสียบลงในเครื่องเซ่นไหว้ ผลทับทิมก็ใช้เซ่นไหว้ได้เหมือนอย่างผลไม้อื่น และด้วยความที่ทับทิมมีเมล็ดมากจึงสื่อความหมายถึงการให้มีลูกชายมากๆ
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---ด้วยเมล็ดหรือตอนกิ่ง ปักชำ


ส้มโอ/Citrus maxima

ชื่อวิทยาศาสตร์---Citrus maxima (Burm.) Merr.
ชื่อสามัญ---Pomelo, Pummel, Shaddock, Chinese grapefruit, Forbidden fruit
ชื่ออื่น---ส้มโอ, มะโอ ; [ARABIC: Laymûn hindî.];[BENGALI: Bātābī lēbu, Chakotra.];[BURMESE: Shouk ton oh, Kywegaw.];[CHINESE: Dou you, Pu tao you.];[DANISH: Pompelmus.];[DUTCH: Pompelmoes.];[FRENCH: Pamplemousse doux des Antilles, Chadec, Shadek.];[GERMAN: Adamsapfel, Pampelmuse, Riesenorange, Lederorangenbaum.];[GUJARATI: Obakotru.];[HINDI: Bataawii niimbuu, Cakōtarā, Mahanibu, Sanadāphala, Sadaphal.];[ITALIAN: Pampaleone.];[JAPANESE: Buntan, Pomero, Bontan, Zabon.];[KANNADA: Chakota, Chakota hannu, Chakotre, Sakkota, Tōran̄ji.];[KHMER: Krôôch thlông.];[LAOTIAN: Kièngz s'aangz, Ph'uk, Sômz 'ôô.];[MALAY: Jeruk bali, Jeruk besar, Limau abong, Limau besar, Limau betawi, Limau bali, Limau serdadu.];[MALAYALAM: Pamparamasam, Pamparamasan.];[MARATHI: Papnasa.];[PHILIPPINES:Suha (Tag.);Taboyog, Panubang (Bon.)];[PORTUGUESE: Grape-fruit-imperial, Pomelo, Jamboa.];[SANSKRIT: Madhukarkati.];[SPANISH: Cimboa, Pampelmusa.];[TAMIL : Elumicham, Pambalimasu.];[THAI: Som o, Ma o.];[VIETNAMESE : Bưởi, Bưởi chùm Thái Lan].
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พืชพื้นเมืองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพาะปลูกในไต้หวัน , ภาคใต้ของประเทศญี่ปุ่น , พม่า ,อินเดีย , บังคลาเทศ , เวียดนาม , อินโดนีเซีย , นิวกินีที่ประเทศฟิลิปปินส์และตาฮิติ นอกจากนี้ยังมีสวนในแคลิฟอร์เนีย , ฟลอริดาและอิสราเอล ในประเทศไทยพบปลูกมากในภาคกลาง

ไม้ ต้นขนาดเล็กสูง 10เมตร ลำต้นแข็งแรง ใบใหญ่โคนใบมีปีก ดอกสีขาวหรือเขียวอมเหลือง ดอกมีกลิ่นหอมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ซม. ผลมีขนาด รูปร่าง สีเนื้อ และรสต่างกันตามลักษณะพันธุ์  ผลไม้มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 - 15 ซม. บางครั้งสูงถึง 30 ซม เปลือกหนา 0.5-2.5 ซม.
การเพาะปลูก---ชอบตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด ชอบดินที่อุดมไปด้วยอินทรียวัตถุและเป็นกรดเล็กน้อย ดินร่วนชื้นที่ลึกระบายน้ำได้ดี ชอบ pH ในช่วง 5 - 6
ประเทศไทยที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีเยี่ยมหลากหลาย
ใช้ประโยชน์---ต้นไม้นี้ได้รับการปลูกกันอย่างแพร่หลายสำหรับผลไม้ที่กินได้ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในประเทศไทย มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีเยี่ยมหลากหลาย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย
-ใช้กิน ผลไม้ - ดิบหรือสุก เนื้อค่อนข้างเป็นกรด กินสดหรือใช้เพิ่มลงในสลัดผลไม้หรือทำเป็นแยมมาร์มาเลด ฯลฯ ผลไม้ถูกนำมาใช้เป็นแหล่งของเพคติน เปลือกส้มโอนำมาเชื่อมหรือนำไปชุบแป้งทอดและใช้เป็นเครื่องปรุงในเค้กเป็นต้น
-ใช้เป็นยา ทั้งใบ ดอก ผลและเมล็ดใช้รักษาอาการไอ ไข้และโรคกระเพาะ
-ใช้ปลูกประดับ ใช้ปลูกเป็นไม้ผลที่กินได้ในบ้านหรือในสวนทั่วไป
อื่น ๆ---น้ำมันหอมระเหยได้มาจากดอกไม้ ใช้ทำน้ำหอมเวียดนาม ใบใส่ลงในน้ำอาบเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมสดชื่น ไม้ใช้สำหรับทำด้ามจับเครื่องมือ
พิธีกรรม/ความเชื่อ--- ในประเทศจีนมีการปลูกผลไม้ครั้งแรกเมื่อประมาณ100 ปีก่อนคริสตกาล เป็นสัญลักษณ์ที่แท้จริงในวัฒนธรรมจีน จีนเชื่อว่าผลไม้ชนิดนี้ช่วยปกป้องพวกเขาจากความชั่วร้าย
ระยะออกดอก/ติดผล--- สิงหาคม-ตุลาคม  
ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง


มะตูม/Aegle marmelos

ชื่อวิทยาศาสตร์---Aegle marmelos (L.) Correa.
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
-Belou marmelos (L. ) A.Lyons
-Crateva marmelos L.
ชื่อสามัญ---Bael Fruit Tree, Bengal Quince, Golden apple, Japanese bitter orange, Stone apple, Wood apple
ชื่ออื่น---กะทันตาเถร มะปิน บักตูม พะเนิว (เขมร) ; [ARABIC: Safargal hindî.];[BURMESE: Opesheet, Okshit.];[CAMBODIA: Bnau.];[CHINESE: Mu ju.];[FRENCH: Bel Indien, Cognassier du Bengal, Coing de l'Inde.];[GERMAN: Belbaum, Bengalische Quitte, Indische Quitte.];[INDONESIA: Maja, Maja batu, Maja pahit.];[JAPANESE: Berunoki, Igure marumerozu.];[KHMER: Bnau, Phneou, Pnoi.];[LAOS: Toum.];[MALAYSIA: Bilak, bila, bel.];[PHILIPPINES: Bael.];[PORTUGUESE : Marmelos de Bengala, Marmeleiro de India.];[SANSKRIT: Bilva, Bilwa, Shivadrumaa, Shivaphala, Vilva,Vilvam.];[TAIWAN: Ying pi ju.];[THAI: Matum, Tum (Pattani), Ma pin (north).];[VIETNAM: Bau nau,Trái mam.].
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้    
มีถิ่นกำเนิดในทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีการปลูกทั่วประเทศศรีลังกา พม่า ปากีสถาน บังคลาเทศ เนปาล เวียดนาม ลาว และกัมพูชา แหลมมลายูตอนเหนือ เกาะชวา และฟิลิปปินส์ เกิดในป่าแห้งโล่งบนเนินเขาและที่ราบที่ระดับความสูงตั้งแต่ 0–1,200 เมตร
ไม้พุ่มผลัดใบหรือต้นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 10-15 เมตร เปลือกมีสีน้ำตาลซีดหรือเทาเรียบหรือมีรอยแตกละเอียดและเป็นสะเก็ดมีหนามยาวตรงยาว 1.2–2.5 ซม. เดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ ๆ ใบประกอบแบบนิ้วมือเรียงสลับ ใบย่อย3ใบออกเวียนรอบกิ่ง รูปไข่กว้าง 1.75-7.5 ซม. ยาว 4-13.5ซม.ปลายใบเรียวแหลมขอบใบหยักฟันเลื่อย ฐานใบมน ก้านใบยาว ใบมีกลิ่นหอม ดอกเป็นดอกช่อออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีความยาว 1.5- 2 ซม.กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีนวล ใบและดอกมีกลิ่นหอม ผลเป็นผลสดรูปไข่หรือรูปกลมเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 5 -12 ซม.  เปลือกผลหนาแข็งผลอ่อนเปลือกสีเขียวเมื่อแก่เป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อในมะตูมสีเหลือง มีน้ำเมือก มีเมล็ดเป็นรูปขอบขนาน 6 (8)-10 (15) เมล็ดยาวประมาณ 1 ซม.  มะตูมบางสายพันธุ์ผลสุกเปลือกนิ่มรสชาดดี บางสายพันธุ์ผลใหญ่ขนาด1.5กิโลก็มี รูปทรงแปลกๆเรียวยาวก็มี
การเพาะปลูก---ตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่เป็นแอ่งน้ำด่างหรือหินที่มีค่า pH ตั้งแต่ 5- 8 แต่สามารถทนต่อสภาพดินด่างและดินที่ไม่ดี
ใช้ประโยชน์---ผลกินดิบหรือทำเป็นแยม เยลลี่ เครื่องดื่ม ฯลฯ ผลไม้อาจผ่าครึ่งหรือชนิดอ่อนหักเปิดและเนื้อผลแต่งด้วยน้ำตาลปี๊บรับประทานเป็นอาหารเช้าประกอบด้วยวิตามินซีจำนวนมาก ใบอ่อนและยอด - ปรุงเป็นผักหรือใช้เป็นเครื่องปรุง ว่ากันว่าลดความอยากอาหาร
-ใช้เป็นยา ใบเปลือกรากผลและเมล็ดใช้ในการแพทย์แผนโบราณเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ คุณสมบัติเป็นยาระบายและช่วยย่อยและ ส่วนผลดิบหั่นตามขวางของผลนำไปตากแห้งชงน้ำดื่มแก้ท้องเสีย ใบมีรสฝาดใช้ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร รากแห้งใช้ในการรักษาอาการปวดหู ส่วนผสมที่ทำจากใบประมาณ 100 กรัมผสมในน้ำหนึ่งถ้วยและรับประทานวันละครั้งเป็นเวลา 3 วันในการรักษาโรคเบาหวาน
-อื่น ๆไม้สีขาวอมเทามีกลิ่นหอมอย่างมากเมื่อตัดสด เป็นเนื้อละเอียดแข็ง แต่ไม่ทนทาน โดยทั่วไปมีขนาดเล็กกว่ามักใช้ในการแกะสลักและทำวัตถุขนาดเล็กเช่นเครื่องกลึงขนาดเล็กด้ามเครื่องมือและมีดสากและหวี เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นจะถูกใช้สำหรับรถลากและการก่อสร้างแม้ว่าจะมีแนวโน้มที่จะบิดงอและแตก- สารสกัดใบจากพืชพบว่ามีฤทธิ์ฆ่าแมลงต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลซึ่งเป็นศัตรูพืชที่สำคัญของต้นข้าวในเอเชีย เปลือกของผลไม้แห้งที่เอาเนื้อออกใช้เป็นถ้วยและภาชนะขนาดเล็ก เนื้อผลไม้มีฤทธิ์เป็นผงซักฟอกและใช้ซักผ้า
ความเชื่อ/พิธีกรรม---มะตูมใช้ในพิธีกรรมของชาวฮินดู ถือเป็นหนึ่งในต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู ซึ่งเคารพต้นไม้นี้ในฐานะที่ประทับของเทพธิดาลักษมีเทพแห่งความมั่งคั่ง
ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด ตอน และเสียบยอด


มะขวิด/Limonia acidissima

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Limonia acidissima L.
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
-Feronia elephantum Corr.
-Feronia limonia (L.) Swingle
-Schinus limonia L.
ชื่อสามัญ --- Indian wood-apple, Wood-apple, Elephant- apple, Monkey Fruit, Curd Fruit
ชื่ออื่น---มะขวิด (ทั่วไป), มะยม (ภาคอีสาน), มะฝิด (ภาคเหนือ) ; [ASSAMESE: Kath-bel.];[BENGALI: Kayetabela, Kapittha.];[CAMBODIA: Kramsang.];[HINDI: Kaitha, Kath Bel, Kabeet.];[JAPANESE: Nagaemikan.];[KANNADA: Manmatha Mara.];[MALAYALAM: Vilarmaram, Vilavu, Vilankai.];[MALAYSIA: Gelinggai, Belinggai (Malay).];[MYANMAR: Kwet, Mak-pyen-sum, Thi, san-phak (Kachin), Sanut-khar (Mon), Sansph-ka, Thanakha, Thi-ha-yaza.];[SANSKRIT: Kapittha, Dadhistha.];[TAMIL: Vilam Palam.];[TELUGU: Vellaga Pandu.]
ชื่อวงศ์---RUTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา พม่า และอินโดจีน มาเลเซีย
มะขวิดเป็น monotypic ในสกุล Limonia มีชนิดเดียวคือLimonia acidissima
มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย (รวมทั้งหมู่เกาะอันดามัน ) บังกลาเทศและศรีลังกา ชนิดนี้ยังได้รับการแนะนำ(เพาะปลูก)ในอินโดจีนและมาเลเซีย เกาะชวา เกาะบาลี อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา(ฟลอริดาและแคลิฟอร์เนีย) พบได้ที่ระดับความสูงถึง 450 เมตร

ไม้ ยืนต้นผลัดใบสูง 6-10 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น15-25 ซม. เปลือกต้นสีเทา ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 5-7ใบ บางครั้งมี 3-6หรือ9 ใบ รูปขอบขนานแกมไข่กลับ ขอบใบมักหยักกลม เนื้อใบมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ที่บริเวณขอบใบ ดอกช่อออกที่ปลายกิ่งประกอบด้วยดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศอยู่ในต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียวปนแดง ผลแห้งรูปทรงกลม ขนาด 5-8 ซม.สีเทาแกมน้ำตาลมีเปลือกแข็ง เนื้อผลเป็นเมือกเหนียว
การเพาะปลูก---ในตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด ทนต่อดินได้หลากหลายชอบ pH ในช่วง 5 - 6 เป็น ต้นไม้ที่เติบโตช้า ต้นกล้าอาจใช้เวลา 15 ปีก่อนที่จะออกผล
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม้ขนาดผลส้มมีกลิ่นหอม เปลือกต้องทุบด้วยค้อน ตักกินเนื้อที่อยู่ภายใน เนื้อที่เป็นเมือกเหนียวกินแบบดิบๆ รสเปรี้ยวอมหวาน เนื้อผลกินสดหรือทำเป็นเยลลี่แยมชัทนีย์เชอร์เบ็ตเป็นต้น สามารถผสมกับกะทิและน้ำเชื่อมน้ำตาลปี๊บและดื่มเป็นเครื่องดื่มหรือแช่แข็งเป็นไอศกรีม ผลไม้ประกอบด้วยกรดผลไม้วิตามินและแร่ธาตุ เมล็ดมีน้ำมันที่ไม่ขมและมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง รายงานไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าน้ำมันนั้นบริโภคได้
-ใช้เป็นยา ใช้ในการรักษาอาการท้องร่วงและโรคบิด ใช้ในการรักษาอาการสะอึก เจ็บคอและโรคเหงือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เป็นยาบำรุงตับเพื่อกระตุ้นระบบย่อยอาหารและยาบำรุงหัวใจ ทั้งเนื้อผลไม้และเปลือกแป้งสามารถนำมาพอกลงบนแมลงที่มีพิษกัดและต่อย ใบมีแทนนินและน้ำมันหอมระเหย มีรสฝาดและใช้ภายในมักใช้ร่วมกับนมและน้ำตาลในการรักษาอาการอาหารไม่ย่อยท้องอืด ท้องเสีย บิด (โดยเฉพาะในเด็ก) และริดสีดวงทวาร น้ำมันที่ได้จากใบบดทาลงบนผิวหนังที่มีอาการคัน
-อื่น ๆเนื้อไม้มีสีเทาอมเหลืองหรือขาวเนื้อแข็งหนักทนทาน มีมูลค่าสำหรับการก่อสร้าง ทำอุปกรณ์การเกษตร การแกะสลัก ไม้บรรทัดและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ พืชถูกใช้เป็นต้นตอสำหรับสายพันธุ์ Citrus
ระยะออกดอก/ติดผล---ธันวาคม-มิถุนายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง


สับปะรด/Ananas comosus

ชื่อวิทยาศาสตร์---Ananas comosus (L.) Merr
ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms
-Bromelia comosa Linn.     
-Bromelia ananas Linn.    
-Bromelia pigma Perr.    
-Ananas comosus (L.) Merr.    
-Ananas sativus Schultes f.    
-Ananassa ananas Karst.    
ชื่อสามัญ---Pineapple
ชื่ออื่น---สับปะรด, สรรพรส (ภาคกลาง); ขนุนทอง, ยานัดยาน, ย่านนัด(ภาคใต้); เนะซะเน - สะ (กะเหรี่ยง - ตาก); แหน (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน); บ่อนัด, โบนัท (เชียงใหม่); มะขะนัด, มะนัด, มนัส (ภาคเหนือ) ; [AFRIKAANS: Pynappel.];[ARABIC: Anânâs.];[ASSAMESE: Anarox.];[BENGALI: Aanaaras.];[BURMESE: Na naq thì.];[CHINESE: Lu dou zi.];[FRENCH: Ananas, Ananas commun.];[GERMAN: Ananas.];[HINDI: Anannas, Anannaasa.];[INDIA: Amortui (Tripuri).];[INDONESIA: Nanas.];[ITALIAN: Ananasso, Ananasso ordinario.];[KHMER: M'noah.];[KOREAN: P'a in ae p'ul.];[LAOS: Màak nat.];[MALAYSIA: Nanas.];[NEPALESE: Bhui katar.];[PHILIPPINES: Pinya (Tag.); Apagdan, Pangdan (Bon.).];[PORTUGUESE: Abacaxi, Ananás.];[SANSKRIT: Anamnasam, Bahunetraphalam.];[SPANISH: Ananá, Piña, Piña de América.];[TAMIL: Annaaci, Anachi pazham, Anasippazham, Annasipazham.];[THAI: Sapparot.];[TELUGU: Annasapandu.];[VIETNAMESE: Cây dứa (plant), Quả dứa (fruit), Thơm dứa, Trái thơm.].
ชื่อวงศ์---BROMELIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา    
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาใต้
มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของอเมริกาAnanas comosusเป็นพืชที่ไม่มีเมล็ด (พืชที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงโดยกระบวนการคัดเลือกพันธุ์) เนื่องจากมีการเพาะปลูกมาเป็นเวลาหลายพันปีจึงไม่ทราบต้นกำเนิดที่แน่นอน  เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากอเมริกาใต้ในภูมิภาคที่ครอบคลุมทั้งตอนกลางและตอนใต้ของบราซิล อาร์เจนตินาตอนเหนือและปารากวัย เติบโตที่ระดับความสูง 0-2,000 เมตร

(ภาพถ่ายเมื่อ18/2/2553)
ไม้ยืนต้นเป็นไม้ล้มลุกมีหนามบางครั้งสูงถึง 1 เมตร ใบยาวคล้ายดาบเรียงเป็นเกลียวแน่นรอบก้านสั้นขอบหยักแหลมมากเกือบทั้งใบมักแตกต่างกันหรือมีริ้วสีแดงหรือน้ำตาล ดอกสีม่วงแกมน้ำเงินขลิบปลายยอดมีดอกที่โคนช่อดอกที่แก่ที่สุด ผลไม้ประกอบด้วยผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด 100-200 ผลรวมกันเป็นหน่วยที่แน่นและกะทัดรัดพัฒนาตามแกนของลำต้นรูปไข่ถึงทรงกระบอกสีเหลืองถึงสีส้มมักเป็นสีเขียว การพัฒนาผลไม้ต้องใช้เวลาประมาณ 20 วัน
ในการค้าพืชสวน Bromeliaceae และพันธุ์ลูกผสมหลายชนิดถูกขายเป็นไม้ประดับในร่ม แต่สับปะรดเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเพียงชนิดเดียว
การเพาะปลูก---ในตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด ดินร่วนปนทรายกรดอ่อน ๆ และมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางดีที่สุด มีความทนทานต่อดินที่หลากหลายแต่ดินต้องมีการระบายน้ำที่ดี บางครั้งต้องการเติมอากาศในดินและปูนขาวในเปอร์เซ็นต์ต่ำ
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน เนื้อและน้ำผลไม้ของสับปะรดถูกใช้ในอาหารทั่วโลก
-ใช้เป็นยา ผลสุกช่วยแก้กรดและช่วยย่อยอาหาร สารสกัดจากใบใช้เป็นยาต้านจุลชีพ, ยาฆ่าเชื้อ, ยาฆ่าเชื้อ, ยาฆ่าเชื้อ, ยาฆ่าเชื้อและยาแก้อักเสบ-ในมะละกา ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและรักษาโรคหนองใน - ในเม็กซิโกน้ำผลไม้ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
-ใช้ปลูกประดับ ใช้ปลูกประดับสวนในบ้านเพื่อผลที่กินได้
-อื่น ๆ ในฟิลิปปินส์แหล่งที่มาของเส้นใยสิ่งทอที่เรียกว่า piña ซึ่งนิยมใช้ในการทำชุดพื้นเมืองอย่างเป็นทางการของ Barong Tagalog สำหรับผู้ชายและ Baro't Saya สำหรับผู้หญิง
ระยะออกดอก/ติดผล
ขยายพันธุ์---หน่อ ตะเกียง


คอแลน/Nephelium hypoleucum

รูปภาพจากหนังสือพรรณไม้ในป่าสะแกราชเล่มที่1(วว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Nephelium hypoleucum Kurz
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
-Nephelium cochinchinense Pierre
-Xerospermum laoticum Gagnep.
-Xerospermum cochinchinense Pierre
ชื่อสามัญ---Korlan
ชื่ออื่น---หมักแงว,หมักแวว, ลิ้นจี่ป่า
ชื่อวงศ์---SAPINDACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
มีถิ่นกำเนิดคืออินโดจีนจนถึงคาบสมุทรมาเลเซีย (เคดาห์) มีการเพาะปลูกในประเทศไทยและมาเลเซีย
คอแลน เป็นไม้ต้นขนาดกลางสูงได้10-20เมตร เปลือกต้น สีเทาแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดเป็นพุ่มกลมสีเขียวเข้มใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ 3-5คู่ยาว 6.5-30 ซม. ใบย่อย 2-4.5 x2-8 ซม.ผิวใบด้านบนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ดอกออกทีขั้วดอกและซอกใบดอกเพสผู้และดอกเพศเมียบางครั้งอยู่ในช่อดอกเดียวกัน กลีบดอก 0-6 มม เกสรเพศผู้ 7-10 เกสรเพศเมีย 2-3 อัน ผลไม้ทรงรี 2-3 ซม. x 1.5 - 2.25 ซม.ผิวผลคล้ายผลลิ้นจี่เนื้อในผลคล้ายเงาะ ออกเป็นพวงโต ผลสุกสีแดงเข้ม มีรสเปรี้ยว  
การเพาะปลูก---ชอบแดดจัด ความชื้นต่ำ ขึ้นได้ดีในดินไม่อุ้มน้ำ
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม้ป่าหายากมีรสชาติที่อร่อยและเป็นเอกลักษณ์ของความหลากหลายทั้งเปรี้ยวและหวานพร้อมประโยชน์ต่อสุขภาพจากวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ อาจมีวางขายตามร้านผลไม้ในท้องถิ่นในบางแห่ง
-ใช้เป็นยา ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเพิ่มสมาธิในผู้ป่วยสมาธิสั้น ลดความเครียด ใช้เป็นยากระตุ้นทุกวันเพื่อเพิ่มพลังงานช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกัน ต่อสู้กับไวรัสไข้หวัดและโรคหวัด-รากป่าของ Korlan ถูกใช้โดยนักสมุนไพรเกาหลีเป็นเวลาหลายปีเพื่อทำให้จิตวิญญาณของคนสงบลงช่วยในการย่อยอาหารและทำให้ปอดแข็งแรงขึ้นในขณะที่ให้พลังงานพิเศษแก่ผู้ป่วย
รู้จักอันตราย---เมล็ดกินไม่ได้มีพิษ
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-พฤษภาคม
ขยายพันธุ์---โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

มะดัน/Garcinia schomburgkiana


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Garcinia schomburgkiana Pierre
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.
ชื่อสามัญ---Madan
ชื่ออื่น---มะดัน, ส้มมะดัน, ส้มไม่รู้ถอย ; [THAI: Madan, Sommadan, Som mai rue thoi.];
ชื่อวงศ์---CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย    
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย    
มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบขึ้นตามป่าในพื้นที่ลุ่มและป่าดิบชื้นในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศ

ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง3-7เมตร ปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอมดำ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง2-3ซม.ยาว5-8ซม. มี ยางสีเหลืองแผ่นใบหนากรอบ ดอกเป็นดอกแยกเพศร่วมต้นหรือแยกเพศไม่ร่วมต้นก็ได้ ดอกออกตามซอกใบ ดอกออกเดี่ยว ๆหรือออกดอกเป็นกระจุกประมาณ 3-6 ดอก ดอกมีสีเหลืองส้มหรือชมพูอ่อน ผลรูปรีปลายแหลมสีเขียวยาว 5-7 ซม. และกว้าง 2-3 ซม.ผิวเรียบเป็นมันลื่นมีรสเปรี้ยวจัด ในผลมีเมล็ดประมาณ 3-4 เมล็ดติดกัน
การเพาะปลูก---ต้องการตำแหน่งแสงแดดจัด ดินชื้นแฉะทนน้ำท่วมขังได้ดี
ใช้ประโยชน์ ---ผลไม้และใบไม้ที่กินได้เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่น บางครั้งปลูกเพื่อให้ผลและใบในสวน
ใช้กิน---ผลไม้ - ดิบหรือสุกรสเปรี้ยวมากมักใช้เป็นผักหรือในซอส ผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินซีสูงและยังมีสารอาหารหรือสารสำคัญอย่างเบตาแคโรทีน รวมไปถึงแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นตัน บางครั้งนำไปดองน้ำเชื่อมหรือดองในน้ำเกลือหรืออบแห้ง ใบอ่อนเป็นผักเคียงกับอาหารไทยหลายชนิดกินได้ทั้งแบบดิบและแบบปรุง***นึกถึงปลาทูต้มกะทิใส่มะดันนี่ อร่อยมาก คนรุ่นก่อนจะทำกับข้าวเอง อาหารสำเร็จนี่เมินกันเลยทั้งบ้าน เดี๋ยวนี้หากินยากปลาทูต้มกะทิใส่มะนาวกันทั้งนั้น
-ใช้เป็นยา คนในท้องถิ่นใช้ใบ รากและผล เป็นยาขับเสมหะรักษาอาการไอ ปรับปรุงคุณภาพของเลือดประจำเดือน รักษาโรคเบาหวานและเป็นยาระบาย
-ใช้ปลูกประดับ ต้นมะดันนี่สมัยก่อนปลูกกันแทบทุกบ้าน เดี๋ยวนี้ที่ดินแพงเลยต้องเลือกหาต้นไม้แพงๆมาปลูกกันให้สมกับราคาที่ดิน ยิ่งเปลี่ยนชื่อ ต้นไม้ให้เป็นมงคลมากเท่าไรยิ่งขายได้ขายดี มะดันนี่ก็เป็นมะดันมงคลได้นะ ปลูกไว้ในบ้านจะได้มีตัวช่วยคอยดันให้เจริญก้าวหน้า แล้วก็ไม่รู้ถอยด้วย
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ชยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง


 มะกอก/Spondias pinnata

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Spondias pinnata (L. f.) Kurz
ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms
-Mangifera pinnata Lf
-Poupartia pinnata (Lf) Blanco
-Spondias acuminata Roxb.
-Spondias amara Lam.
-Spondias Mangifera Willd
-Tetrastigma megalocarpum WTWang
ชื่อสามัญ---Hog plum, Common hog plum, Wild Mango, Ambra
ชื่ออื่น---มะกอก, มะกอกป่า, กอกเขา, กอกกุก ; [ASSAMESE: Aamrata, Amora.];[BENGALI: Aamada, Aamraata, Aamraataka, Amra, Amna, Deshi-amra, Piala, Pial.];[CHINESE: Bin lang qing, Mu ge, Zhao wa wen po, Wai mu ge.];[GERMAN: Mangopflaume.];[HINDI: Ambara, Ambari, Amra, Amara, Bhringi-phal, Metula, Pashu-haritaki, Pitan.];[JAPANESE: Amura tamagonoki.];[KANNADA: Amategayi mara.];[MALAYALAM: Ambazham.];[NEPALESE: Amaaro.];[PHILIPPINES: Libas (Tag); Lannu, Lano (Cagayan).];[PORTUGUESE: Cajamangueira, Cajá-manga, Imbú manga.];[SANSKRIT: Aamraata, Amraatakah, Metula, Pitan.];[SPANISH: Ciruela mango, Jobo de la India, Mango jobo.];[TAMIL: Ambalam, Ambazham, Kincam, Pulima.];[TELUGU: Adavimamidi, Adhvamu, Ambalamu.];[THAI: Makok, Má kok pa.];[VIETNAMESE: Coc chua, Cóc rừng]
ชื่อวงศ์---ANACARDIACEAE
ถิ่นกำเนิด---    ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ภูฏาน อินโดจีน อินเดีย เนปาล พม่า ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย    
อาจจะมีถิ่นกำเนิดในอินโดจีน มาเลเซียและฟิลิปปินส์พบได้ในที่ราบลุ่มและป่าเขาสูงถึง 1,200 เมตร

 

ไม้ ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาเรียบมีรอยแตกไม่สม่ำเสมอ เปลือกหนากลิ่นฉุน กิ่งอ่อนมีรอยแผลใบให้เห็นชัดเจน มีช่องอากาศอยู่ทั่วไป กิ่งเปราะ มีน้ำยางสีน้ำตาลคล้ำอยู่ทุกส่วน แผ่นใบเกลี้ยงเป็นมันใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ดอกช่อสีขาว ออกตามกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ผลไม้มีเนื้อมีสีเหลืองส้ม ผลรูปทรงรียาว 2.7 - 5 ซม.กว้าง 2.5 - 3.5 ซม. มีเมล็ดพันล้อมรอบด้วยเส้นใย
การเพาะปลูก---โดยทั่วไปมะกอกจะเป็นที่รู้จักกันอยู่4ชนิดได้แก่
-มะกอกน้ำ (สารภีน้ำ, สมอพิพ่าย)ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeocarpus hygrophilus Kurz เป็นมะกอกที่เอามาใช้ในการดองและแช่อิ่ม
-มะกอกโอลีฟ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Olea europaea เป็นมะกอกที่นำมาทำเป็นน้ำมันมะกอก
-มะกอกฝรั่ง (มะกอกหวาน) ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Spondias dulcis Parkinson เป็นมะกอกที่นิยมนำมารับประทานสดเป็นผลไม้
-มะกอกป่า (มะกอกไทย) ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Spondias pinnata (L.f.) Kurz เป็นมะกอกชนิดที่เราจะนิยมนำมาใส่ในส้มตำ และเป็นมะกอกที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี่ มะกอกปลูกได้ง่ายๆสบายๆ ประสบความสำเร็จในแสงแดดจัดและในที่ร่มบางส่วน ชอบดินที่มีการระบายน้ำดี
การใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าสำหรับผลไม้ใบไม้และดอกไม้ที่กินได้ซึ่งใช้บริโภคในท้องถิ่น
-ใช้กิน ผลรสฝาดอมเปรี้ยวนำมาปรุงรสอาหารและเป็นสมุนไพร ยอดอ่อนใช้เป็นผักจิ้มมีรสเปรี้ยว
-ใช้เป็นยา ผลไม้ใช้เป็นยาสมานและ antiscorbutic ใช้ในการรักษาอาการอาหารไม่ย่อย น้ำผลไม้ใช้แก้ปวดหู เปลือกต้นในการรักษาอาการปวดท้องและโรคบิด เปลือกใช้ทาเฉพาะที่ในการรักษาโรคไขข้อและข้อต่อบวม รากถือว่ามีประโยชน์ในการควบคุมการมีประจำเดือน- ในศรีลังกาใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษาโรคเบาหวาน
-ใช้ปลูกประดับ บางครั้งก็ปลูกในสวนในบ้านเพื่อให้ได้ผล
-อื่น ๆไม้จะอ่อน เสื่อมสภาพเร็วในที่โล่ง ใช้สำหรับงานช่างไม้ต่างๆเช่นการขึ้นรูปการตกแต่งภายในงานกลึงงานแกะสลัก ฯลฯ เนื่องจากมีน้ำหนักเบาเหมาะสำหรับผลิตไม้ขีดไฟ กล่องไม้ขีดกล่องและลัง -ไม้ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงคุณภาพต่ำ
ระยะออกดอก/ติดผล---
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ


มะกอกน้ำ/Elaeocarpus hygrophilus

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Elaeocarpus hygrophilus Kurtz.
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
-Elaeocarpus glandulosus Wall. ex Merr.
-Elaeocarpus madopetalus Pierre
ชื่อสามัญ---Spanish plum, Wet-winged, Wet-winged, Green-toothed canister
ชื่ออื่น---สมอพิพ่าย (ระยอง), สารภีน้ำ (ภาคกลาง) ; [THAI: Samo phi phai, Makok nam];[VIETNAM:  Ca Na Thai , Côm cánh ướt, Cam Lanh, Bach Dang.].
ชื่อวงศ์--- ELAEOCARPACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ : พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียตนาม
พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทยพบได้มากในภาคกลาง โดยเฉพาะในพื้นที่ชุ่มชื้นและอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ ริมน้ำ ตามชายฝั่งทะเล ตามป่าโกงกาง ป่าพรุ


ไม้ ต้นขนาดเล็กสูง 8-15 เมตร  เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม เกลี้ยงหรือแตกตื้นๆเป็นร่องเล็ก ๆ ตามความยาวของลำต้น  ใบเดี่ยวกว้าง2.5-5ซม.ยาว5-12ซม.ออกเรียงเวียนสลับหนาแน่นที่บริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูปขอบขนาน รูปไข่กลับ หรือเป็นรูปแกมรูปใบหอก ปลายใบมนหรือป้าน โคนใบสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียว ก้านใบสีแดง ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบปลายกิ่งช่อดอกยาวประมาณ 2-10 ซม.ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 2-7 ซม. ดอกย่อยเป็นสีขาว ลักษณะห้อยลงคล้ายระฆัง มีขนาดประมาณ 4-8 มม. ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มม.และยาวประมาณ 5-8 มม. กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ผลกลมรี ขนาดกว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3-4 ซม.ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มถึงแดงเข้ม มีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน1เมล็ด
การเพาะปลูก---เป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ลุ่ม เติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงแดดรำไรถึงปานกลางซึ่งต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์ชื้น แต่มีการระบายน้ำได้ดี
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลมีรสฝาดอมเปรี้ยวหวาน กินดิบหรือ ดองน้ำเกลือหรือแช่อิ่ม ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี
-ใช้เป็นยา ดอกเป็นยาแก้พิษโลหิต กำเดา ผลแก้เสมหะและช่วยในการระบาย เปลือกต้นแห้งมีรสเฝื่อน นำมาชงกับน้ำรับประทานเป็นยาฟอกเลือดหลังการคลอดบุตรของสตรี ในทางการแพทย์แผนโบราณเวียตนามใช้เป็นยาบำรุงเลือดช่วยในการฟอกไต รักษาอาการปวดฟัน แพ้สี แก้แอลกอฮอล์ รักษาอาการเจ็บคอมีเสมหะ
-ใช้ปลูกประดับ บางครั้งใช้ปลูกประดับเพื่อให้ร่มเงาเป็นไม้ผลในบ้านเพื่อรับประทานผล
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-สิงหาคม/มิถุนายน-พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง


มะกอกฝรั่ง/Sapondias dulcis

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Sapondias dulcis Forst.f. (S. cytherea Sonn.)
ชื่อสามัญ---Ambarella, Jew’s plum, Golden apple, Jew plum
ชื่ออื่น---มะกอกฝรั่ง, มะกอกหวาน, มะกอกดง, มะกอกเทศ, มะกอกบก ; [ASSAMESE: Omora.];[BANGLADESH: Amra.];[BRAZIL: Caja manga.];[BURMESE: Gway.];[CAMEROON: Cas mango.];[FRENCH: Pomme de Cythere, Prunier d' Amerique.];[GERMAN: Goldpflaume, Susse Mombinpflaume.];[HAWAIIAN: Vi.];[INDONESIAN: Kedongdong.];[ITALIAN: Ambarella, Jobo de la India.];[JAPANESE: Tamagonoki.];[KANNADA: Amte kai.];[KHMER: Mokak, Mkak.];[LAOS: Kookhvaan.];[MALAY: Kedongdong, Kedongdong manis.];[MALAYALAM: Ambazhanga.];[PERUVIAN: Casharana.];[PORTUGUESE: Caja-manga, Cajamangueria.];[SOMALIA: Isbaanheya, Isbaandhees.];[SPANISH; Ambarella, Hobo de racimos, Juplon.];[SRI LANKA: Ambarella.];[SWEDISH: Cytheraapple, Gldplomon.];[TANZANIA: Embe Ng'ong.];[THAI: Makok, Makok farang, Magog bog,Ma kok wan.];[VIETNAMESE: Coc, Que coc.].
ชื่อวงศ์---ANACARDIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---โพลีนีเซียและเมลานีเซีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกและประวานูอาตู หมู่เกาะโซโลมอน ฟิจิ และ ปาปัวนิวกินี
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสปีซี่ส์ 'dulcis'คือคำคุณศัพท์ภาษาละติน = หวานน่าดูโดยมีการอ้างอิงที่ชัดเจนถึงผลไม้
อาจเกิดขึ้นในเอเชียเขตร้อน แต่เป็นที่รู้จักในการเพาะปลูกเท่านั้น เติบโตที่ระดับความสูงถึง 700 เมตร

   

ไม้ ต้นขนาดกลางสูง12เมตร เปลือกลำต้นสีเทาหรือน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกสีส้ม
การเพาะปลูก--เติบโตได้ในดินทุกประเภทที่มีการระบายน้ำได้ดี
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลเนื้อหนากรอบ เมล็ดมีเส้นใยมากเนื้อมีรสมันเปรี้ยวอมหวาน นิยมกินเป็นผลไม้สดและใช้ทำน้ำมะกอกฝรั่ง ในมาเลเซียและอินโดนีเซียนิยมกินกับกะปิ เป็นส่วนผสมในโรยัก (อาหารพื้นเมืองของมาเลเซียและสิงคโปร์ คล้ายยำผลไม้หรือส้มตำผลไม้) ในฟิจิใช้ทำแยม ในซามัวและตองกาใช้ทำ otai ในชวาตะวันตกนำ ใบอ่อนไปทำ pepes ในเวียดนามนิยมกินผลดิบ โดยหั่นเป็นชิ้นบาง กินกับเกลือ น้ำตาล พริกสดหรือกะปิ ในจาเมกา กินผลสดโดยนำไปคลุกเกลือ  
-ใช้เป็นยา ในกัมพูชาเปลือกฝาดใช้ร่วมกับTerminaliaหลายชนิดเป็นยาแก้ท้องเสีย
-ใช้ปลูกประดับ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับขนาดเล็กในบ้านเพื่อผลที่กินได้
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่
       

มะพูด/Garcinia dulcis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz
ชื่อพ้อง---Basionym: Xanthochymus dulcis Roxb.
ชื่อสามัญ---Gourka, Yellow Mangosteen, Claudie mangosteen, Eggtree, Gourka
ชื่ออื่น---ไข่จระเข้ ตะพูด พะวาใบใหญ่ จำพูด ประหูด ประโหด ประโฮด มะนู (เขมร) ; [INDONESIA: Mundu.];[MALAY: Moendo, Mondo, Mundo.];[PHILIPPINES: Tani-anak, Taklang-anak, Aranap, Banutan; Baniti (Tagalog), bagalot (Bisaya), buneg (Ilokano).];[THAI: Ma phut.];[VIETNAMESE: Bua ngot.].
ชื่อวงศ์---GUTTIFERAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน คาบสมุทรมาเลเซีย หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ นิวกินี ควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย
พบในอินโดจีน เมียนมาร์, คาบสมุทรมาเลเซีย ,หมู่เกาะโมลุกกะ ,สุลาเวสีและฟิลิปปินส์ ไปจนถึงนิวกินีและควีนส์แลนด์ออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังพบในทะเลอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์ ได้รับการแนะนำ(เพาะปลูก)ในบางส่วนของอเมริกาเขตร้อน


ไม้ ต้นขนาดกลางสูง 15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 ซม.ทรงพุ่มกลม ใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบมีขนาด 10-30 ซม. x 3.5-14 ซม. รูปไข่ปลายใบสอบ ใบหนาเป็นมัน ก้านใบหนาและยาวได้ถึง 2 ซม.ดอกออกตามซอกใบสีขาวอมเหลืองกลิ่นเปรี้ยวและมี 5 แฉก ดอกเพศผู้อยู่ในกระจุกเล็ก ๆ มีขนาดเล็กมากและกว้างประมาณ 6 มม. ในขณะที่ดอกเพศเมียกว้าง 12 มม. มีก้านดอกยาว 1.5-3 ซม. ผลใหญ่ขนาดส้มเขียวหวานขนาด 5 - 8 ซม ผลดกออกตามกิ่ง ผลดิบสีเขียว สุกสีเหลือง ผิวนิ่มและฉ่ำน้ำ มีเนื้อในสีเหลืองรสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ดสีน้ำตาล 1-5 เมล็ดยาวประมาณ 2.5 ซม. และมีเยื่อสีเหลืองอ่อนล้อมรอบ
การเพาะปลูก---ต้นไม้ปรับตัวได้ดีกับสภาพร่มและชื้น  ประสบความสำเร็จในดินส่วนใหญ่อุดมสมบูรณ์และมีการระบายน้ำดี ชอบ pH ในช่วง 7 - 7.5 ทนได้ 6.5 - 8


การใช้ประโยชน์---ต้นไม้ถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อเป็นแหล่งอาหารยาและวัสดุย้อมสี ผลไม้มีขายในตลาดท้องถิ่นของประเทศไทยเป็นครั้งคราว แต่ไม่ทราบว่ามีการปลูกเชิงพาณิชย์
-ใช้กิน ผลไม้สามารถรับประทานสดได้ แต่มีรสเปรี้ยว สามารถทำเป็นแยมที่ยอดเยี่ยม ผลไม้มีฟอสฟอรัสและคาร์โบไฮเดรตสูง และอุดมไปด้วยกรดซิตริก
-ใช้เป็นยา สารสกัดจากผลไม้บดใช้เป็นยาขับเสมหะบรรเทาอาการไอและเลือดออกตามไรฟัน สารสกัดจากรากบดใช้ในการบรรเทาไข้และลดพิษและล้างพิษ สารสกัดบดจากเปลือกใช้สำหรับทำความสะอาดบาดแผล เมล็ดตำใช้แก้อาการบวม
-ใช้ปลูกประดับ บางครั้งได้รับการปลูกเพื่อผลไม้ในสวนบ้าน ในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-อื่น ๆ เปลือกไม้ให้สีย้อมสีเขียว เมื่อผสมกับครามจะให้สีย้อมสีน้ำตาล ใช้ย้อมเสื่อ สีเหลืองสามารถหาได้จากเรซินในผลไม้ที่ยังไม่สุกเรียกว่า gamboge ซึ่งด้อยกว่า gamboge ที่ได้จากสมาชิกอื่น ๆ ในสกุล ได้แก่ Garcinia xanthochymus
พิธีกรรมความเชื่อ---คนโบราณเชื่อว่าปลูกมะพูดไว้ใกล้บ้าน ลูกหลานจะพูดเก่ง พูดจาแต่สิ่งดีมีคนชื่นชอบ แต่ในปัจจุบันความเชื่อในเรื่องนี้เริ่มเลือนลางลงไปแต่กลับมีความเชื่อในเรื่องที่ว่าไม่ควรปลูกมะพูดเอาไว้ในบ้านเพราะต้นมะพูดเป็นต้นไม้ใหญ่ มีอาถรรพ์เข้ามาทดแทนจึงทำให้ต้นมะพูดเริ่มเหลือน้อยลงทุกทีจนเดี๋ยวนี้ต้นมะพูดกลับกลายเป็นต้นไม้หายากที่แทบจะต้องถูกอนุรักษ์ไว้เพื่อกันการสูญพันธุ์กันเลยทีเดียว
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม - พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ขนุุน/Artocarpus heterophyllus

ชื่อวิทยาศาสตร์---Artocarpus heterophyllus Lam.
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms
-Artocarpus brasiliensis Gomes
-Artocarpus maximus Blanco
-Artocarpus nanca Noronha
-Artocarpus philippensis Lam.
-Polyphema jaca Lour.
-Sitodium cauliflorum Gaertn.
-Saccus heterophyllus (Lam.) Kuntze
ชื่อสามัญ---Jack Fruit Tree, Jack tree, Nangka
ชื่ออื่น---ขนุน, บ่าหนุน, หมักมี่ ; [BANGLADESH: kathal.];{BRAZIL: jaqueira.];[CHINESE: bo luo mi.];[FRENCH: jacquier.];[GERMAN: Jackfruchtbaum.];[INDIA: alasa; halasu; kathal; kathar; phanas; pila; pilavu.];[INDONESIA: nangka; nongko.];[LAOS: miiz; miiz hnang.];[MALAYSIA: nangka.];[MYANMAR: khnaôr; peignai, mak-lang, mung-dung, ndung, pa-noh, panwe, peinne.];[PAPUA : kapiak.];[PHILIPPINES: jak; langka; nangka.];[SPANISH: jaca; jacueiro.];[SRI LANKA: jak.];[THAI: banun; khanun; makmi; nangka.];[VIETNAM: mít.].
ชื่อวงศ์---MORACEAE
ถิ่นกำเนิด---ประเทศอินเดียตอนใต้
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรมาลายู
ต้นกำเนิดอยู่ในภูมิภาคระหว่างตะวันตก Ghatsทางตอนใต้ของประเทศอินเดียและป่าฝนของประเทศมาเลเซียมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วภูมิภาคเขตร้อนของโลก พบตามป่าดิบเขาที่ระดับสูง 450 - 1,200 เมตร

ขนุน เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ลำต้นค่อนข้างสั้นมียอดไม้หนาแน่น สามารถเข้าถึงความสูง 10-20 เมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 30 - 80 ซม.บางครั้งมีรากค้ำยัน เปลือกของต้นขนุนมีสีน้ำตาลแดงเกลี้ยง มียางสีขาว ใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปรีเรียงสลับ ก้านใบยาว 2.5-7.5 ซม.ใบหนาคล้ายหนังมีความยาว 20-40 ซม.และกว้าง 7.5-18 ซม. ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกัน แต่อยู่ร่วมต้นเดียวกัน ผลใหญ่ได้หลายขนาดมีรูปร่างหลากหลาย แล้วแต่พันธุ์ ขนุนที่ปลูกเพื่อการค้าก็มีอยู่มากมายอย่างชนิดเนื้อหนา ถึง 2 ซม.ก็มี ส่วนพันธุ์ ที่เหมาะสำหรับ ปลูกภายในบริเวณบ้าน ควรเป็นพันธุ์ที่ดูแลรักษาง่าย ให้ร่มเงาดีไม่ใหญ่โตเกินไป ผลดก และผลไม่ใหญ่มากจนรับประทานกันไม่หมดการเลือกซื้อต้นพันธุ์ ควรเลือกซื้อต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตาหรือเสียบกิ่งเพราะจะ ได้ต้นตอที่มีราก พันธุ์ขนุนที่ใช้ปลูกมี2ประเภทคือ
1ขนุนหนัง มีลักษณะเนื้อยวงแห้งกรอบ สีเหลืองทอง สีจำปา ยวงโตเนื้อแน่น หวานกรอบ นิยมปลูกกันทั่วไป ขนุนหนังมี4พันธุ์คือ
1.1 พันธุ์จำปากรอบ เป็นพันธุ์ที่มีขนาดทรงพุ่มไม่ใหญ่เกินไป ใบสีเขียวมันเข้ม ปลายใบแหลมมีผลกลม ผลโตเต็มที่จะหนักประมาณ15-20กิโลกรัม ออกผลปานกลางไม่ดกมาก เนื้อไม่หนาหรือบางเกินไป เนื้อกรอบไม่เละรสชาติอร่อยมาก หวานกลมกล่อมอมเปรี้ยวเล็กน้อย ผลสุกสามารถเก็บไว้ได้หลายวัน
1.2 พันธุ์ตาบ๊วย เป็นขนุนขนาดใหญ่ ต้นสูงใหญ่ มีผลขนาดใหญ่รูปร่างกลม ผลโตเต็มที่วัดโดยรอบได้ประมาณ110-130ซม. เนื้อของผลและซังจะเป็นสีจำปา ขนาดยวงจะใหญ่ เนื้อหนากรอบ มีรสชาติไม่หวานสนิท ในฤดูฝนรสหวานจะลดลง ผลแก่จัดมักแตก และซังจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีจำปา
1.3 พันธุ์ฟ้าถล่ม เป็นพันธุ์ที่นำเมล็ดพันธุ์ตาบ๊วยมาเพาะที่ปราจีนบุรี ทำให้เกิดพันธุ์ฟ้าถล่มขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างจากพันธุ์แม่คือผลมีขนาดใหญ่มาก เนื้อสีเหลืองทอง เนื้อหนา กรอบ มีรสหวานสนิท มีเปอร์เซนต์ของน้ำตาลสูงมาก ยวงที่แกะเอาเมล็ดออกแล้วสามารถเก็บเอาไว้ในตู้อย็นได้ประมาณ7วัน เนื้อผลก็ยังกรอบเช่นเดิม
1.4 พันธุ์ทองสุดใจ เป็นพันธุ์ที่มีขนาดและทรงต้นปานกลาง โปร่ง ใบเรียวเล็ก ลักษณะของผลเรียบ ยวงมีขนาดใหญ่สีเหลือง เนื้อของยวงเมื่อสุกเต็มที่จะแห้งกรอบ รสไม่หวานจัด ถ้าฤดูแล้งจะอร่อยมาก
2 ขนุนละมุด  มีลักษณะเนื้อยวงเปียกเหนียว เนื้อค่อนข้างบาง ยวงเล็ก รสหวานมีกลิ่นหอม ขนุนพันธุ์นี้ไม่ค่อยนิยมปลูกกันนัก อีกพวกหนึ่งที่นิยมปลูกกันมากทางภาคใต้คือ จำปาดะ ลักษณะทั่วไปคล้ายขนุนผลเล็กยาวเรียวคล้ายผลฟัก เปลือกบาง เนื้อเละรสหวาน กลิ่นหอม
ปลูกขนุนอย่าไว้ผลมาก จะทำให้ต้นโทรมหรือไว้ผลบนกิ่งเล็กน้ำหนักผลจะทำให้กิ่งฉีกเวลาผลใหญ่ขึ้นอย่าเสียดายซอยผลทิ้งบ้าง
เคล็ดไม่ลับที่ควรรู้อีกอย่างเวลา ผ่าขนุนไม่ให้มียาง ใช้มีดชโลมน้ำมันพืชถากที่เปลือกของขนุนจะมียางไหลออกมา เป็นการเรียกยางออกมาก่อน จากนั้นใช้ถุงพลาสติกเช็ดยางออกแล้วผ่าขนุนได้เลย ปลูกขนุน1ต้นแถมศิริมงคลมาด้วย เป็นต้นไม้ที่สำคัญเชียว
การเพาะปลูก---ตำแหน่งที่แสงแดดจัด เติบโตได้ในดินที่หลากหลาย ชอบดิน Alluvial ที่ลึกและระบายน้ำได้ดี ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 7.5 ทนได้ 4.3 - 8
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม้ - ดิบหรือปรุงได้หลายวิธีเนื้อผลอ่อนอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตและมักปรุงเป็นผักผลไม้จะหวานขึ้นเมื่อสุกเนื่องจากคาร์โบไฮเดรตบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล เมล็ด - สุกต้มมีรสชาติและเนื้อสัมผัสคล้ายกับเกาลัดสามารถบดเป็นผงและใช้ในการทำบิสกิต เมล็ดมีแป้งสูงและโปรตีนประมาณ 5% ผลอ่อนและยอดอ่อน - ปรุงในซุปและสตู
-ใช้เป็นยา ขี้เถ้าของใบมีหรือไม่มีน้ำมันใช้ในการรักษาแผล, ท้องร่วง, ฝี, ปวดท้องและบาดแผล ยาต้มรากใช้บรรเทาไข้รักษาท้องร่วงโรคผิวหนังและหอบหืด น้ำยางใช้ต้านซิฟิลิสและพยาธิ-น้ำยางผสมกับน้ำส้มสายชูเพื่อช่วยในการรักษาฝี งูกัดและต่อมบวม
-ใฃ้ปลูกประดับ ในประเทศไทยมักนิยมปลูกเป็นไม้มงคลในบ้าน
-อื่น ๆ เนื้อไม้สีเหลืองทองใช้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์และการก่อสร้างบ้านในอินเดีย มันกันปลวก ไม้ของต้นขนุนมีความสำคัญในศรีลังกาและส่งออกไปยุโรป ไม้ขนุนถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ประตูและหน้าต่างในการก่อสร้างหลังคาและถังน้ำปลา- ไม้ใช้สำหรับการผลิตเครื่องดนตรี ในอินโดนีเซียไม้เนื้อแข็งจากลำต้นถูกแกะออกมาเพื่อสร้างถังไม้ที่ใช้ในวงมโหรีและในฟิลิปปินส์ไม้เนื้ออ่อนถูกนำมาทำเป็นลำตัวของคูติยาปิซึ่งเป็นพิณชนิดหนึ่ง -รากของต้นไม้เก่าแก่มีค่ามากสำหรับงานแกะสลัก-แก่นขนุนใช้เป็นสีย้อมจีวรพระสงฆ์
ระยะออกดอก/ติดผล---ธันวาคม-กุมภาพันธ์หรือมีนาคม/กรกฎาคม-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด สกัดรากปักชำ


สาเก/Artocarpus altilis

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Artocarpus altilis Forsb. Seedless Form.
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms
-Artocarpus communis JRForst. & G. Forst.
-Artocarpus incisifolius Stokes
-Artocarpus incisus (Thunb.) Lf
-Artocarpus laevis Hassk.
-Artocarpus papuanus Diels
-Artocarpus rima Blanco
-Sitodium altile Parkinson ex FAZorn
ชื่อสามัญ ---Bread Fruit Tree
ชื่ออื่น---สาเก, ขนุนสำปะลอ ; [BRAZIL: arvore-do-Pao-fruta; fruta-pao; fruta-pao-de-caroço; pao-de-massa; pao-de-pobre; rima.];[CAMBODIA: khanaôr sâmloo; sakéé.];[CUBA: castaño del malabar; fruto del mar; guapén; mapén; palo de pan.];[FIJI: kulu; uto; uto mbutho; uto ndina.];[FRENCH: âme veritable; arbre à pain; arbre véritable; châtaignier à grains.];[GERMAN: Brotfruchtbaum, echter.];[GUATEMALA: arbol de mazapan.];[HAITI: châtaignier des Antilles; jaquier; meat fruit; pti-l’arbre à pain; rimier.];[INDONESIA: kelur (seeded); sukun (seedless); timbul (seeded).];[ITALIAN: albero del pane; artocarpo.];[MALAYSIA: kelor (seeded); kelur; sukun (seedless); timbul.];[NICARAGUA: fruta de pan.];[PAPUAN: kapiak.];[PHILIPPINES: kamansi (seeded); rimas (seedless).];[PORTUGUESE: arbol-pao-de-Brasil; mapen.];[PUERTO RICO: lavapén; mapén; pana forastera.];[SAMOA: 'viu.];[SOLOMON ISLANDS: bia; nimbalu.];[SPANISH: albopán; àrbo del pan; árbol de pan; castaña; fruta de pan; pana; pana de pepita; panapén.];[SRI LANKA: erapillakai; rata del.];[SWEDISH: broedfrukttraed.];[THAI: khanun-sampalaor; sa-ke.] ; [TONGA: mai; mei.];[VANUATU: beta.];[VENEZUELA: frutepan; pan del año.].
ชื่อวงศ์---MORACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออก  โพลีนีเซีย (หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก) หมู่เกาะเวสต์อินดีส และ แพร่หลายในภูมิภาคเขตร้อน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล'Artocarpus'มาจากคำภาษากรีก ' artos ' (bread) และ 'karpos '(ผลไม้) และหลายชนิดและหลายพันธุ์ผลิตผลไม้ที่มนุษย์กิน ; ชื่อสปีซี่ส์ 'altilis ' = ไขมัน ; ชื่อสามัญ “breadfruit” นั้นมาจากเนื้อของผลไม้ที่สุกพอประมาณซึ่งมีรสชาติคล้ายมันฝรั่งคล้ายกับขนมปังอบสด
มีถิ่นกำเนิดในปาปัวนิวกินีหมู่เกาะโมลุกกะ (อินโดนีเซีย) และฟิลิปปินส์และแพร่กระจายโดยมนุษย์ไปทั่วโอเชียเนียและหมู่เกาะต่างๆของเมลานีเซียไมโครนีเซียและโพลินีเซียซึ่งเป็นพืชหลักที่สำคัญและเป็นส่วนประกอบของระบบวนเกษตรในมหาสมุทรแปซิฟิกแบบดั้งเดิมมานานกว่า 3000 ปี สามารถพบได้ในสวนบ้านพื้นที่เพาะปลูกป่าทุติยภูมิที่ถูกรบกวนขอบป่าริมถนนและป่าชายฝั่ง เติบโตที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 650 เมตร แต่บางครั้งพบได้ในพื้นที่สูงถึง 1550 เมตร 


ไม้ต้นกึ่งผลัดใบสูงประมาณ 5-15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 0.6-1.8 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำ กิ่งไม้แผ่กระจายหนามากมีรอยแผลเป็นใบและลำต้นที่เด่นชัด ทุกส่วนของต้นไม้มีน้ำยางเหนียวสีขาว ใบใหญ่หนาและแฉกเว้าลึก 5-11 แฉก เรียงสลับรูปไข่ถึงรูปไข่เป็นรูปวงรี 20-60 (-90) x 20-40 (-50) ซม. สีเขียวเป็นมันด้านบนสีเขียวซีดและขรุขระด้านล่าง ก้านใบยาว 3-5 ซม.ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันแต่อยู่ร่วมต้นเดียวกัน ช่อดอกออกตามซอก ใบก้านดอกยาว 4-8 ซม. ผลมีลักษณะกลม หรือ รูปไข่ยาว15-20ซม.ดอกผู้หลบตารูปดอกจิก 15-25 x 3-4 ซม. เป็นรูพรุนสีเหลือง ดอกเพศเมียตั้งตรงทรงกลมหรือทรงกระบอก 8-10 x 5-7 ซม. สีเขียว ดอกไม้จำนวนมากฝังอยู่ในภาชนะบรรจุกลีบเลี้ยงท่อรังไข่ 2 เซลล์ ผลไม้เกิดจากช่อดอกทั้งช่อรูปทรงกระบอกถึงทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-30 ซม. เปลือกสีเขียวอมเหลืองมีแฉกหน้า 4-6 เหลี่ยมบางครั้งมีหนามสั้น แกนกลางขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยดอกไม้ที่ไม่สามารถทำลายได้จำนวนมากซึ่งเป็นเนื้อฉ่ำสีเหลืองอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่กินได้ของผลไม้
สาเกที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ดส่วนที่เพาะเมล็ดเรียกว่าขนุนสำปะลอ ซึ่งมีหนามที่อ้วนเนื้อที่กินได้ส่วนใหญ่จะถูกแทนที่ด้วยเมล็ดซึ่งมีสีน้ำตาลกลมหรือแบนยาว 2.5 ซม.
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด ชอบดินทราย ดินร่วนปนทรายและดินเหนียวปนทราย ดินที่ลึกและอุดมสมบูรณ์ pH 6.1-7.4 และดินที่มีการระบายน้ำได้ดี ทนต่อดินเค็มและสภาพร่มเงา อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในช่วง 21-32 ° c โดยทนได้ต่ำถึง 12 ° c และสูงถึง 40 ° c ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่ 1,500 ถึง 3000 มม.และความชื้นสัมพัทธ์ 70-90%
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม้ที่มีแป้งเป็นอาหารหลักในหมู่เกาะแปซิฟิก ผลไม้สามารถกินได้ทั้งดิบต้มนึ่งหรือย่าง ในฟิลิปปินส์ผลไม้สุกแล้วนำมาต้มกับน้ำตาลและมะพร้าวขูดหรือเคลือบด้วยน้ำตาลแล้วอบให้แห้ง ผลไม้ที่ยังไม่แก่จัดปรุงกินเป็นผักกับกะทิ เมื่อเทียบกับพืชแป้งหลักอื่น ๆ สาเกเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีกว่ามันสำปะหลัง เปรียบได้กับมันเทศและกล้วย -เมล็ดสุก เนื้อแน่นมีคุณค่าทางโภชนาการมากมีรสชาติที่ชวนให้นึกถึงเกาลัด เมล็ดทั้งสดและสุกมีโปรตีนประมาณ 8%-ช่อดอกผู้ - ปรุงและใช้เป็นผัก
-ใช้เป็นยา ในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกใช้ทุกส่วนของพืช (โดยเฉพาะน้ำยาง ใบและเปลือกด้านใน) ใช้เป็นยาแผนโบราณเพื่อรักษาอาการปวดหัวท้องร่วงปวดท้องและบิด -ในหมู่เกาะอินเดียตะวันตกใบแก่ที่เหลืองถูกชงเป็นชาและนำไปลดความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ชายังช่วยควบคุมโรคเบาหวานและบรรเทาอาการหอบหืด ใบอ่อนเคี้ยวกินช่วยต้านอาหารเป็นพิษ -รากเป็นยาสมานแผลและใช้เป็นยาถ่าย -ใบใช้ในไต้หวันเพื่อรักษาโรคตับและไข้-ดอกไม้ที่ปิ้งแล้วถูบนเหงือกรอบ ๆ ฟันที่ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวด-มีการให้ของเหลวที่กดจากผลอ่อนเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่ทำให้เกิดอาการปวดปอดและอาเจียนเป็นเลือด
-วนเกษตร ในหมู่เกาะแปซิฟิกใช้ปลูกเพื่อปรับปรุงดินและเพื่อรองรับเถามันแกวในระบบวนเกษตรแบบดั้งเดิม ต้นไม้ยังปลูกเป็นไม้กันลมและบางครั้งก็เป็นต้นไม้บังแดดสำหรับต้นกาแฟ
-ใช้ปลูกประดับ ต้นไม้มีเสน่ห์ในการปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งและให้ร่มเงากับสวนในบ้านและสวนสาธารณะ ไม่ควรปลูกใกล้บ้าน
-อื่น ๆ ไม้เนื้อแข็งที่มีน้ำหนักเบา แต่ค่อนข้างแน่นใช้สำหรับกระดานโต้คลื่นเรือแคนูเฟอร์นิเจอร์งานแกะสลักและในการก่อสร้างบ้าน ไม้ทนต่อปลวกและหนอนทะเล- เปลือกไม้สีเทาเรียบเป็นเส้น ๆครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งของผ้าพื้นเมือง 'ทาปา' -ดอกเพศผู้นำมาผสมกับใยปอสา (Broussonetia papyrifera) ทำเป็นผ้าขาวม้าชั้นดี-น้ำยางใช้ในการอุดรูรั่วของเรือแคนู ใช้เป็นกาวในการจับนก - ช่อดอกถูกนำมาใช้ในการทำสีแทนสีเหลืองถึงสีน้ำตาล- ดอกไม้แห้งสามารถเผาเพื่อไล่ยุงและแมลงที่บินได้อื่น ๆ -ต้นไม้เป็นแหล่งฟืนที่สำคัญในบางพื้นที่
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง สกัดราก ปักชำราก


เงาะ/Nephelium lappaceum

ชื่อวิทยาศาสตร์---Nephelium lappaceum Linn
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
-Dimocarpus crinita Lour.
-Euphoria nephelium Poir., nom. illeg.
ชื่อสามัญ---Rambutan, Ramboutanier, Hairy lychee
ชื่ออื่น---เงาะ (ทั่วไป), เงาะป่า (นครศรีธรรมราช), พรวน (ปัตตานี) ; [CHINESE: Hong mao dan, Shao tzu.];[FRENCH: Litchi chevelu, Ramboutan, Ramboutanier.];[HINDI: Ramboostan.];[ITALIAN: Nefelio.];[JAPANESE: Ranbuutan.];[KHMER: Chle sao mao, Saaw maaw, Ser mon.][KOREAN: Ram bu t'an.];[MALAY: Rambutan, Rambutan jantan, Anak sekolah.];[PHILIPPINES: Rambutan (Tag.); Usare (Sul.).];[SPANISH: Rambután.];[THAI: Ngoh, Phruan.];[VIETNAMESE: Chômchôm, Vai thiêù.]
ชื่อวงศ์---SAPINDACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เกาะเซนซิบาร์ ทวีปแอฟริกาและประเทศในเขตร้อนอื่น ๆ
มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และไทย พบเพาะปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในที่อื่น ๆ เช่น ในประเทศจีน พบที่ มณฑลกวางตุ้งและไหหลำ
โดย ทั่วไปเงาะ เป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตได้ดี ในบริเวณที่มีความชื้นค่อนข้างสูง เงาะในประเทศไทย จึงนิยมปลูกในบริเวณภาค ตะวันออกและภาคใต้ เติบโตที่ระดับความสูงถึง 500 เมตร

 

(รูปถ่ายเมื่อ 1/3/2553)
ไม้ต้นขนาดกลางไม่ผลัดใบสูง  12-20 เมตร กิ่งก้านสาขาสีน้ำตาลอมเทา ใบเรียงแบบสลับยาว 10–30 ซม. มี 3-11แผ่น ใบแต่ละใบกว้าง 5–15 ซม. และกว้าง 3–10 ซม. ดอกมีขนาดเล็ก 2.5-5 มม. ผลไม้ กลมถึงรูปไข่ยาว 3–6 ซม. (ไม่ค่อยถึง 8 ซม.) และกว้าง 3–4 ซม. เรียงเป็นช่อหลวม ๆ 10–20 ผล ปกคลุมไปด้วยเงี่ยงที่ยืดหยุ่นได้ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง สีส้มหรือสีเหลือง เนื้อในผลสีใสอ่อนหรือสีขาวอมเหลือง เมล็ดมี1เมล็ดมีสีน้ำตาลมันวาว 1–1.3 ซม.
เงาะที่พบในประเทศไทย มี 2 พันธุ์ใหญ่ๆ คือ
1. พันธุ์โรงเรียน เป็นพันธุ์ที่มีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด ราคาสูงกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู ผิวสีแดงเข้มโคนขนมีสีแดง ปลายขนมีสีเขียว เนื้อหนา แห้ง และล่อนออกจากเมล็ดได้ง่าย ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี เมื่อขาดน้ำในช่วงผลอ่อนผลจะแตกหรือหล่นได้มากกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู
2.พันธุ์ สีชมพู เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย มีการเจริญเติบโตดี ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ให้ผลดกมีผิวและขนเป็นสีชมพูสด เนื้อหนา ฉ่ำน้ำ บอบช้ำง่าย
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เติบโตได้ดีที่สุดในดินลึกดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่อุดมไปด้วยอินทรียวัตถุและมีการระบายน้ำที่ดี ดินควรมีค่าความเป็นกรด - ด่าง (pH) ของดินประมาณ 5.5 - 6.5 ชอบชื้นอุณหภูมิที่เหมาะสม ประมาณ 22–30 ° C และไวต่ออุณหภูมิต่ำกว่า 10 ° C ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 75 - 85%
การใช้ประโยชน์---ใช้กินเป็นผลไม้เนื้อฉ่ำมีรสหวาน  มีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้กระจ่างใส สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้มากมายเช่นผลไม้กระป๋อง มีรายงานว่าเมล็ดพืชคั่วและรับประทาน
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ ราก ใบและเปลือกไม้ ชาวมาเลย์ใช้ยาต้มรากแก้ไข้ ใบใช้พอกและเปลือกเป็นยาสมานสำหรับโรคลิ้น - ยาต้มผลไม้ใช้แก้ท้องร่วงและโรคบิด ในประเทศจีนใช้ผลไม้สำหรับโรคบิดชนิดรุนแรงและเป็นยาขับลมในอาการอาหารไม่ย่อย ผลไม้จัดเป็นยาสมานแผลยาธาตุน้ำขาวยาแก้ไข้-เป็นหนึ่งในพืชที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและมีโพลิเฟนอลซึ่งถือเป็นหนึ่งในสารประกอบที่อาจเป็นประโยชน์ในการต่อต้านริ้วรอย
-ใช้ปลูกประดับ ใช้เป็นไม้ประดับให้ร่มเงาในสวนหรือใช้ปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
-อื่น ๆ ไม้มีความแข็งปานกลางถึงแข็งมากแข็งแรงและเหนียว โดยทั่วไปทนต่อการโจมตีของแมลง เมล็ดสามารถใช้ในการผลิตไขซึ่งมีไขมันแข็งคล้ายกับเนยโกโก้ซึ่งใช้สำหรับสบู่และเทียน
ระยะออกดอก/ติดผล---ฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด 


มะขาม/Tamarindus indica

ชื่อวิทยาศาสตร์---Tamarindus indica Linn.
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms
-Tamarindus indica Linn.
-Tamarindus occidentalis Gaertn.
-Tamarindus officinalis Gaertn.
-Tamarindus umbrosa Salisb.
ชื่อสามัญ---Tamarind
ชื่ออื่น---มะขามมะขามกระดาน ตะลูบ อัมเปียล ; [AFRIKAANS: Tamarinde.];[ARABIC: Aradeib, Tamar el hindi, Hhawmar, Tamar hindi.];[ASSAMESE: Teteli.];[BENGALI: Ambli, Amli, Tentul, Tentuli.];[BURMESE: Ma gyi, Ma jee pen, Ma gyi thi (Myanmar).];[CHINESE: Suan dou, Suan mei, Suan jiao, Luo wang zi, Luo huang zi, Da ma lin.];[FRENCH: Tamar indien (Assam-India), Tamarin, Tamarinier, Tamarinier des Indes.];[GERMAN: Indische Dattel, Sauerdattel, Tamarinde, Tamarindenbaum.];[HEBREW: Tamar hindi.];[HINDI: Ambli, Anbli, Chinch, Imalii, Imlii, Tamrulhindi.];[ITALIAN: Tamarandizio.];[JAPANESE: Tamarindo.];[KHMER: 'âm'puul, Ampil (Cambodia), Ampil khui, Ampil tum, Khoua me.];[KOREAN: Ta ma rin du.];[LAOS: Khaam, Kok mak kham, Mak kham, Naam maak khaam.];[MALAY: Asam, Asam jawa, Asam kuning, Kemal (Java), Tambaring.];[MALAYALAM: Amlam, Amlika, Madhurappuli, Puli.];[MARATHI: Ambali, Chicha.];[NEPALESE: Amilii, Titrii.];[PERSIAN: Tamar i hindi (Iran), Tamre hendi.];[PHILIPPINRS: Kalamagi (Bis., Ibn.),Sampalok, Sambagi.]; [PORTUGUESE: Tamarindo (Brazil), Tamarindeiro, Tambarina.];[RUSSIAN: Finik indiiskii, Indiyskiy finik.];[SANSKRIT: Amla, Amli, Amlika, Chukra, Sarvamda, Tintiri, Tintiddii.];[SINHALESE: Siyambala, Siyambula.];[SPANISH: Tamaríndo, Tamaríndo de la India.];[SWAHILI: Mkwaju, Msisi, Ukwaju.];[SWEDISH: Tamarind.];[TAMIL: Ambilam, Amilam, Indam];[TELUGU: Amlika, Chinta, Chinta chettu, Chintapandu, Sinja, Sinta.];[THAI: Bakham, Somkham, Ma kham, Ma kham wan.];[VIETNAMESE: Cây me, Me, Me chua, Quả me, Trái me.].
ชื่อวงศ์---FABACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศแถบเขตร้อนของเอเชีย ประเทศแถบลาตินอเมริกา และมีมากในเม็กซิโก
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสามัญ'Tamarind' มาจากภาษาอาหรับ:تمر هندي (tamr hindī) แปลว่า Indian date
สกุลTamarindusเป็นmonotypic มีเพียง 1สายพันธุ์คือTamarindus indicaเท่านั้น
มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา พบในหลายพื้นที่เช่น ซูดาน แคเมอรูน ไนจีเรีย เคนยา แซมเบีย โซมาเลีย แทนซาเนีย มาลาวีและ แพร่กระจายอย่างกว้างขวางทั่วเขตร้อนตั้งแต่แอฟริกาไปจนถึงเอเชียใต้ ออสเตรเลียตอนเหนือและทั่วทั้งโอเชียเนีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวันและจีน

ไม้ต้นไม่ผลัดใบสูง20-25เมตร เปลือกของต้นขรุขระและหนาสีน้ำตาล ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่ แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผลเป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล
การเพาะปลูก---ต้องการตำแหน่งแสงแดดจัด ชอบดินเหนียว , ดินทราย ประเภทดินที่เป็นกรด ทนแล้งและทนไอเกลือ
ใช้ประโยชน์---เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและยังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรค
-ใช้กิน ใช้ทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งใบอ่อน ฝักอ่อน ฝักแก่ เมล็ดคั่วกินได้ มะขามเปียกที่ทำจากเนื้อมะขามฝักแก่เป็นเครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่สำคัญในอาหารไทยทั้งแกงส้ม ต้มส้ม น้ำปลาหวาน ยอดและใบมะขามอ่อนนำไปยำหรือใส่ในต้มเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว และยังใช้ทำขนมได้อีกหลายชนิด เช่น มะขามแช่อิ่ม มะขามแก้ว มะขามคลุก มะขามกวน เป็นต้น
-ใช้เป็นยา แก้อาการท้องผูกถ่ายไม่ออก แก้อาการท้องเดิน แก้ไอขับเสมหะเสลดติดคอ ใช้สำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน-ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การใช้เพื่อบรรเทาอาการท้องผูกได้รับการบันทึกไว้ทั่วโลก
-ใช้ปลูกประดับ ทั่วเอเชียใต้และโลกเขตร้อนต้นมะขามถูกใช้เป็นไม้ประดับสวน มักใช้เป็นพันธุ์บอนไซในหลายประเทศในเอเชียและยังปลูกเป็นบอนไซในร่มในเขตอบอุ่นของโลก ในประเทศไทยมักปลูกเป็นมงคลนามตามความเชื่อ
-อื่น ๆ ไม้แก่นมะขามมีสีน้ำตาลแดงบางครั้งมีสีม่วง แก่นไม้ในมะขามมีแนวโน้มที่จะแคบและมักมีอยู่ในต้นไม้ที่มีอายุมากกว่าและต้นใหญ่เท่านั้น ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ งานแกะสลักวัตถุที่กลายเป็นชิ้นงาน -เนื้อไม้มะขามใช้ทำเขียง ครก สาก หรือเผาถ่าน
ตวามเชื่อ/พิธีกรรม---ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม
สำคัญ---ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน - ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ทาบกิ่ง ติดตา ต่อกิ่ง


มะขามป้อม/Phyllanthus emblica

ชื่อวิทยาศาสตร์---Phyllanthus emblica L.
ชื่อพ้อง---Has 9 Synonyms
-Cicca emblica (L.) Kurz
-Diasperus emblica (L.) Kuntze
-Dichelactina nodicaulis Hance
-Emblica arborea Raf.
-Emblica officinalis Gaertn.
-Phyllanthus glomeratus Roxb. ex Wall. nom. inval.
-Phyllanthus mairei H.Lév.
-Phyllanthus mimosifolius Salisb.
-Phyllanthus taxifolius D.Don
ชื่อสามัญ---Indian Gooseberry, Emblic Myrobalan, Malacca Tree, Amla, Amalaki.
ชื่ออื่น --- มะขามป้อม(ทั่วไป), กำทวด(ราชบุรี), กันโตด (จันทบุรี, เขมร), มั่งลู่, สันยาส่า(กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน) ; [ASSAMESE: Amloki,Amlokhi,Amla, Amlaki.];[BENGALI: Amlaki.];[FRENCH: Groseillier de Ceylan, Myrobalan emblic.];[GERMAN: Amblabaum, Indian-gooseberry, Emblic, Emblic myrobalan.];[HINDI: Anwla, Bahu-muli, Brahma Vriksh, Aonla, Amla.];[MALAYALAM: Nelli, Nellikka, Nelli, Amalakam.];[MARATHI: Avala, Aanvala.];[SANSKRIT: Amalaki, Dhatrika, Akara, Tishya, Vajram, Tamaka, Shiva, Shambhupriya, Vilomi, Brahmavriksh, Sudha, Radha, Amalakah, Shriphali, Amalah, Manda.];[SPANISH: Mirobalano, Nelí.];[SWEDISH: Emblika.];[TAMIL: Tattiri, Amalaki, Kantattiri, Korankam,Amirta-palam, Totti.];[TELUGU: Dhatri, Nelli, Usiri, Amalakamu.];[URDU: Anwla.];
ชื่อวงศ์---EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนตอนใต้และหมู่เกาะมาสคารีน
มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในอินเดียตอนกลางและตอนใต้ ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา มาลายา จีนตอนใต้และหมู่เกาะมาสคารีน พบตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,800 เมตร

ไม้ ยืนต้นสูง8-20เมตรเรือนยอดค่อนข้างโปร่ง ลำต้นคดงอเปลือกต้นสีน้ำตาลเทา  เนื้อไม้สีแดงอมน้ำตาลใบเดี่ยวเรียงสลับรูปขอบขนาน กว้าง0.25-0.5ซม.ยาว0.8-1.2ซม. ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ แยกเพศอยูร่วมต้นเดียวกัน ดอกย่อยสีนวล3-5ดอก ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายผิวมะนาว ผลสดมีเนื้อรูปกลมผิวเรียบมีเส้นพาดตามยาว 6เส้น ขนาดของผล1.5-2ซม. สีเขียวอมเหลืองใส เนื้อค่อนข้างฉ่ำน้ำ รสฝาดค่อนข้างเปรี้ยว เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีสันตามยาว6สันภายในมีเมล็ดกลม6เมล็ด  
การเพาะปลูก---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดส่องถึงหรือในที่ร่ม สามารถประสบความสำเร็จได้ในดินที่เป็นด่างแม้ว่าจะมีข้อบกพร่องทางโภชนาการในดินที่มีความเป็นด่างสูง (pH 8.0) เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุดต้นไม้ต้องใช้ดินลึกตั้งแต่ดินร่วนปนทรายไปจนถึงดินเหนียวเบาหรือหนักและมีความเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างเล็กน้อย พืชดูเหมือนจะเติบโตได้ดีพอ ๆ กันภายใต้สภาพอากาศที่แห้งแล้งและชื้น ชอบ pH 6-8 ทนได้ 5-8 และดินมีการระบายน้ำที่ดี ทนไฟและเป็นหนึ่งในต้นไม้ต้นแรกที่ฟื้นตัวหลังจากไฟไหม้
ใช้ประโยชน์---พืชชนิดนี้ปลูกกันทั่วไปในสวนบ้านโดยเฉพาะในอินเดียสำหรับผลไม้ที่กินได้และเป็นพืชสมุนไพร และมักพบวางขายในตลาดท้องถิ่นนอกจากนี้ยังปลูกเป็นไม้ประดับ
-ใช้กิน ผลดิบ สุก มีรสชาติเปรี้ยวและฝาดมีรสหวานขม ใช้กินสดหรือนำไปดองหรือแข่อิ่ม ผลไม้ชนิดนี้เป็นหนึ่งในแหล่งวิตามินซีจากธรรมชาติที่ดีที่สุดในบรรดาผลไม้ทั้งหมด วิตามินซีในน้ำคั้นจากผลของมะข้ามป้อมนั้นมีมากกว่าน้ำส้มคั้นประมาณ 20 เท่า ซึ่งมะขามป้อมลูกเล็ก ๆ 1 ผล จะมีปริมาณวิตามินซี เท่ากับส้ม 1-2 ผล
-ใช้เป็นยา มีความสำคัญอย่างยิ่งในยา Asiatic แบบดั้งเดิมไม่เพียง แต่เป็นยาต้านการอักเสบเท่านั้น แต่ยังช่วยในการรักษาโรคต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะย่อยอาหาร ในประเทศไทยนิยมใช้ผลไม้ดองเป็นยาขับเสมหะลดไข้ขับปัสสาวะยาแก้ท้องร่วงและยาแก้ท้องร่วง ในการแพทย์อายุรเวทอินเดียโดยทั่วไปมักใช้ผลไม้สดหรือแห้งเพื่อรักษาโรคหอบหืดและช่วยในการย่อยอาหาร การใช้แบบดั้งเดิมเหล่านี้จำนวนมากได้รับการยืนยันโดยการวิจัยเกี่ยวกับส่วนของพืชที่ใช้งานและคุณสมบัติของมัน
-วนเกษตรใช้ ปลูกเป็นสายพันธุ์บุกเบิกในภาคเหนือของประเทศไทยในโครงการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูป่าไม้โดยปลูกในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและในพื้นที่โล่งผสมกับพันธุ์อื่น ๆ ที่มีความสามารถในการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ผลิตพุ่มยอดที่หนาแน่นและปราบปรามวัชพืช ดึงดูดสัตว์ป่าที่กระจายเมล็ดโดยเฉพาะนกและค้างคาว-กิ่งก้านถูกนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสดแก้ไขดินที่เป็นด่างมากเกินไป
-อื่น ๆ เนื้อไม้สีแดงค่อนข้างแข็งมีความยืดหยุ่นสูงแม้ว่าจะมีการบิดงอและปริแตก ใช้สำหรับงานก่อสร้างเล็ก ๆ น้อย ๆ-เปลือก ราก ใบและผลที่ยังไม่แก่จัดมีมูลค่าสูงในฐานะแหล่งของแทนนิน- ชาวกะเหรี่ยงจะใช้เพื่อย้อมผ้าให้เป็นสีเทา-ไม้ใช้เป็นเชื้อเพลิงและเป็นแหล่งถ่านของชาวบ้าน ผลิตถ่านคุณภาพดี
สำคัญ---ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-พฤษภาคม/มิถุนายน-พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ติดตา ตอนกิ่ง ต่อกิ่ง

มะขามเทศ/Pithecellobium dulce

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms
-Acacia obliquifolia Mart. & Gall.
-Inga dulcis (Roxb.) Willd.
-Inga leucantha K. Presl
-Inga pungens Humb. & Bonpl. ex Willd.
-Mimosa dulcis Roxb.
-Mimosa monilifera Bert.
-Pithecellobium littorale Britton & Rose ex Record
ชื่อสามัญ ---Manila Tamarind, Madras Thorn, Blackbead, Camachile tree, Sweet inga, Sweet tamarind.
ชื่ออื่น---มะขามเทศ (ทั่วไป) ; [CAMBODIA: Am'pül tük.];[CHINESE: Jīnguī shù, Niu ti dou];[COLOMBIA: Ojito de Nena, Azabuche.];[FRENCH: Bois Noir de l'Inde, Cassie de Manille, Tamarin de l'Inde, Tammarin de l'Inde, Pois sucré.];[GERMAN: Camambilarinde.];[GUYANA: Bread-and-cheese.];[HAWAII: Opiuma.];[HINDI: Jangli Jalebi, Kataiya, Vilayati babul.];[INDONESIA: Asam koranji.];[JAPANESE: Kamatire, Kinkame, Kinkizyu.];[JAVA: Asam belanda, Assam londo.];[LAOS: Khaam th'ééd.];[MALAYSIA: Asam kranji, Asam tjina.];[MYANMAR: Kway-tanyeng.];[PHILIPPINES: Camachile (Pamp.); Kamatsile, Kamatsili (Tagalog); Karamansili (Ibn.).];[SPANISH: Guamúchil, Chiminango, Payandé, Espina de Madras, Madre de flecha.];[SRI LANKA: Katugaja, Kodukapuli.];[TAMIL: Kodukkapuli.];[THAI: Ma kham thet.];[VIETNAM: Me Keo, Keo Tây, Me nước, Găng Tây.].
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาเหนือ เม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ กวม อินเดีย บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พืชพื้นเมืองของเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ตอนบนจากนั้นจึงแพร่กระจายไปสู่อเมริกาเหนือ กวม ฟิลิปปินส์ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นไม้ทนแล้งและสามารถอยู่รอดได้ในพื้นที่แห้งแล้งจากระดับน้ำทะเลถึงระดับความสูง 1,500 เมตร ในประเทศไทย พบเห็นอยู่ทั่วไปแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญนั้นจะอยู่ที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี


ไม้ต้น สูง 15 ม. เปลือกเรียบและมีหนาม ในตำแหน่งรอยก้านใบ ลำต้นสีเทาแกมขาวหรือเทาดำ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 1.5-4.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ ขอบใบ 2 ข้างไม่สมมาตร ผิวใบเรียบถึงมีขนเล็กน้อย ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุม โคนก้านใบมีหูใบคล้ายหนาม ดอกช่อเกิดที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเขียวแกมขาว ผลเป็น ฝักค่อนข้างแบนถึงทรงกระบอกมีรอยคอดตามแนวสัน และเปลือกนูนตามจำนวนเมล็ด ผลขดเป็นวงหรือเป็นเกลียวกว้าง 1-2 ซม. ยาว 5-15 ซม.เนื้อผลแก่จัดสีชมพูหรือสีแดง รสชาติจะออกหวานมัน ผสมรสฝาดนิดๆ
มะขามเทศในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะฝักเป็นสามกลุ่มคือ
-กลุ่มฝักใหญ่ ฝักโค้งเป็นวงกลมหรือเป็นเกลียว ฝักแก่สีเขียวอ่อน ขาวปนแดงหรือชมพู เนื้อสีขาวปนแดง หวานมัน เนื้อนุ่ม
-กลุ่มฝักกลาง ฝักโค้งเป็นวงกลม ฝักแก่สีเขียวอ่อน ปนชมพูอมแดง รสหวานมัน
-พันธุ์พื้นเมือง ฝักขนาดเล็กสุด โค้งเป็นวงกลม ฝักแก่สีเขียวอ่อนปนชมพู รสหวานอมฝาด
การเพาะปลูก---ตำแหน่งที่มีแสงแดด ประสบความสำเร็จในดินส่วนใหญ่ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี  ต้นไม้สามารถเติบโตได้ในดินที่ไม่ดีบนพื้นที่รกร้างและแม้จะมีรากอยู่ในน้ำกร่อย ทนต่อ pH ได้สูงถึง 8.3 ทนทานต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากและไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหรือแมลงศัตรูพืช
ประโยชน์---ใช้กิน เป็นผลไม้ที่ใช้กินผลสด มีการปลูกเป็นการค้า นำมาประกอบอาหารได้ ชาวมอญนำมะขามเทศชนิดรสฝาดไปแกงส้ม มะขามเทศเป็นผลไม้ที่มีวิตามินอีสูงเป็นอันดับสองรองจาก ขนุนหนัง และวิตามินซีสูงเป็นอันดับสี่ รองจากฝรั่งกลมสาลี่ ฝรั่งไร้เมล็ด และมะขามป้อม ยังมีแคลเซียมสูง อุดมไปด้วยธาตุเหล็กช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง มีเส้นใยสูง ช่วยให้ขับถ่ายคล่อง -ใบนำมาตากแห้ง ใช้ชงเป็นชาดื่ม
-ใช้เป็นยา เปลือกต้นแก้ท้องร่วง รักษาแผลในปาก ใช้รักษาโรคปากนกกระจอกเทศ บรรเทาอาการปวดฟัน ขับปัสสาวะ ล้างไต -เปลือกของรากเป็นยาแก้ท้องเสียและบิดได้ดี -เมล็ด มีรสขมใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ  
-วนเกษตร สายพันธุ์นี้มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดินบางชนิดแบคทีเรียเหล่านี้ก่อตัวเป็นก้อนบนรากและตรึงไนโตรเจนในชั้นบรรยากาศ ไนโตรเจนนี้บางส่วนถูกนำไปใช้โดยพืชที่กำลังเติบโต แต่พืชชนิดอื่นที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ใช้ปลูกเพื่อบำรุงดิน ฟื้นฟูสภาพดิน
-ใช้ปลูกประดับ ได้รับการปลูกกันอย่างแพร่หลายในฐานะไม้ประดับให้ร่มเงาในเขตร้อน
-อื่น ๆ แก่นไม้มีสีเหลืองหรือน้ำตาลแดง กระพี้มีสีเหลือง ไม้มีความแข็งแรงทนทาน แต่นุ่มและยืดหยุ่น ไม้คุณภาพไม่สูงนัก ใช้แปรรูปเป็นไม้ก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ-ไม้ใช้เป็นเชื้อเพลิงคุณภาพต่ำ ในบางส่วนของอินเดียมีการปลูกและเก็บเกี่ยวเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาอิฐ-ใบใช้ย้อมผ้าไหม ผ้าฝ้าย ให้สีเขียวขี้ม้า ส่วนเปลือกให้สีแดงน้ำตาล -เมล็ดมีน้ำมันสีเขียวประมาณ 20% ซึ่งหลังจากการกลั่นและฟอกสีแล้วสามารถนำมาใช้ในการทำสบู่และสามารถทดแทนน้ำมันเมล็ดนุ่นและถั่วบด -เปลือกฝัก ใช้เป็นอาหารสัตว์ นำไปเลี้ยงหมู
รู้จักอันตราย---เปลือกมีสารระคายเคืองซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตา
ระยะออกดอก/ติดผล---
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักฃำ ทาบกิ่ง ตอนกิ่ง


มะปรางหวาน,มะยงชิด/Bouea burmanica


ชื่อวิทยาศาสตร์---Bouea oppositifolia Meisn.
ชื่อพ้อง---Has  Synonyms
-Bouea angustifolia Blume
-Bouea burmanica Griff.
-Bouea diversifolia Miq.
-Bouea microphylla Griff.
-Mangifera oppositifolia Roxb.
ชื่อสามัญ ---Plum Mango, Marian Plum, Marian tree.
ชื่ออื่น---มะปราง มะยง มะยงชิด มะปริง  บักปราง (ภาคอีสาน), มะผาง (ภาคเหนือ), ปราง (ภาคใต้) ; [BORNEO: Asam djanar,Bandjar, Kedjauw lepang, Tampusu, Ramania pipit, Umpas.];[BURMESE:  Meriam.];[INDONESIA: Asam djanar; Bandjar; Kedjauw lepang; Kundang rumania; Ramania hutan; Ramania pipit; Rengas; Tampusu; Tolok burung; Umpas.];[MALAYSIA: Gemia, Kemiinia, Kimdang, Kiidang rumenia, Merapoh rumenia, Poko rummiyah, Rambainyia, Ramimia, Romaniah, Rumboi-nigor, Rumenia, Rumia.(Malay).];[RUSSIAN: Mapring, Marianskaia sliva.];[SUMATRA: Kaju-rusun, Kunangan, Raman burung, Raman padi, Raman utan, Rieden daun, Gandaria, Rraman, Iiris, Iirisan.];[THAI: Maprang.];[VIETNAM: Thanh Tra.].
ชื่อวงศ์---ANACARDIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--เอเชียตะวันออกเฉียงใต้; ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา ชวา บอร์เนียว
พบในจีน (ยูนนานและไหหลำ)  พม่า อันดามัน ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชาและมาเลเซีย: สุมาตรา (รวม Banka & Billiton) คาบสมุทรมาเลย์และบอร์เนียว เติบโตในที่ราบลุ่มเขตร้อนและมีอากาศแบบมรสุม ที่ระดับความสูงถึง 700 เมตร


มะปราง เป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมมีกิ่งก้านสาขาทึบ ไม่ผลัดใบ มีระบบรากแก้วแข็งแรง ใบของมะปรางคล้ายใบมะม่วงแต่มี ขนาดเล็กกว่า ขนาด 2-15 x 1-5 ซม.และใบเรียวยาว ใบเกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้าม ขอบใบเรียบแผ่นใบเหนียว ใบอ่อนสีม่วงแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีเขียว ก้านใบ 0.5-1 ซม.  ดอกมะปรางจะมีลักษณะเป็นช่อเกิดบริเวณปลายกิ่งแขนงที่อยู่ภายในและนอกทรงพุ่ม ช่อดอกจะยาวประมาณ 8-15  ดอก ย่อยมีขนาดเล็กประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ และดอกเพศผู้ เมื่อบานจะมีสีเหลือง ผลอ่อน 2.5 x 1.5 ซม. มีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือ เหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม
มะปรางหวาน-มะยงชิด เป็นไม้ผลชนิดเดียวกัน แต่แตกต่างในเรื่องสายพันธุ์ ทั้งนี้เนื่องจากมีการปลูกโดยเมล็ดจึงเกิดการกลายพันธุ์ ทำให้ลักษณะที่แสดงออกแตกต่างกันไป ถูกเรียกชื่อต่างๆกัน โดยทั่วไป แบ่งมะปรางออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. มะยงชิด รสชาติออกหวานอมเปรี้ยวนิดๆมีรสชาติหวานมากกว่าเปรี้ยว ผลดิบจะมีรสมัน ส่วนผลสุกจึงจะออกหวาน ลักษณะของเนื้อค่อนข้างแข็ง มีเปลือกหนา
2. มะยงห่าง คล้ายกับมะยงชิดมาก แต่ที่ต่างกันก็คือรสชาติ โดยมะยงห่างจะมีรสเปรี้ยวมากและมีรสหวานอยู่บ้างเล็กน้อย แต่มะยงห่างจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมปลูกเพื่อการค้าสักเท่าไหร่
3. มะปรางหวาน ผลดิบและผลสุกจะมีรสชาติหวานสนิท ผลมีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ความหวานก็จะแตกต่างกันออกไป จะหวานมากหรือน้อยเท่านั้น แต่เมื่อรับประทานแล้วอาจไอระคายคอหรือคันคอได้ถ้าหวานสนิท
4. มะปรางเปรี้ยว จะมีรสเปรี้ยวทั้งผลดิบและผลสุก ขนาดก็ทั้งผลเล็กและผลใหญ่ มะปรางเปรี้ยวจะเหมาะสำหรับการนำไปแปรรูปมากกว่าที่จะรับประทานสด ๆ เช่น มะปรางดอง มะปรางแช่อิ่ม น้ำมะปราง ฯลฯ
5. มะปรางกาวาง คือมะปรางขนาดผลเล็กที่มีรสชาติเปรี้ยวมาก ไม่นิยมรับประทานแต่นำไปเป็นวัตถุดิบผสมกับมะเขือเทศ เพื่อแต่งกลิ่นและรสชาติให้เป็นซอสมะเขือเทศวางขายในท้องตลาดทั่วไป
ความ แตกต่างของมะปรางหวาน-มะยงชิดที่สามารถแยกได้ชัดเจนคือรสชาดและขนาดของผล เท่านั้น อย่างอื่นแยกได้ไม่ชัดไม่ว่าทรงต้น ใบ ดอก คล้ายกันไปหมด
มะปรางหวาน                                                       มะยงชิด
ผลดิบรสมัน                                                   ผลดิบรสเปรี้ยว
ผลสุกมรสหวาน                                              ผลสุกรสหวานอมเปรี้ยว
ขนาดผลจะเล็กกว่า                                          ผลจะมี ขนาดใหญ่กว่า
บางสายพันธุ์เมื่อทานแล้วจะคันคอ                      ไม่ทำ ให้คันคอ        
ผล สุกสีออกเหลือง                                          ผลสุกสีออกเหลืองอมส้ม
การเพาะปลูก---ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ไม่ทนน้ำท่วมขัง ไม่ชอบชื้นแฉะ ปลูกมะปราง มะยงชิดระวังเรื่องนี้ให้ดี
การ เลือกกิ่งพันธุ์ เลือกกิ่งที่ใช้ต้นตอ"สามขา"ก็จะดีมากเมื่อนำลงปลูกก็จะแข็งแรงดีเพราะมีราก ช่วยหากินหลายราก แต่ถ้าปลูกลงดินไปแล้วมีขาเดียว ก็สามารถเสริมรากได้ภายหลัง โดยปลูกต้นตอใกล้โคนรากของต้นที่ปลูกไปแล้ว เมื่อแข็งแรงดีก็ทำการเสียบต้นตอเข้าไป ทำอย่างนี้จนครบสามขา รวมกับต้นเดิมก็จะเป็นสี่ขา เมื่อมีขามากๆก็จะช่วยกันทำมาหากิน ทำให้ต้นแม่สมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตเไวและดก
การปลูกให้รอดตาย
กิ่ง พันธุ์ของมะปรางหวานและมะยงชิดแพงเอาเรื่อง การปลูกที่ไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้บางคนปลูกแล้วตาย ตายแล้วปลูกอยู่นั่น วิธีการปลูกที่ทำให้กิ่งพันธุ์มีการรอดตายสูง ข้อแรกไม่ควรขุดหลุมกว้างเกินไป แล้วก็ไม่ต้องไปใช้อะไรรองก้นหลุม ทั้งนั้น ใช้มีดคมๆกรีดรอบก้นถุงต้นพันธุ์ แผ่นถุงตรงก้นถุงจะหลุดออกมาในขณะที่ดินบริเวณรากยังมีถุงหุ้มอยู่ยกเว้นตรง ก้นถุงที่กรีดทิ้งไปแล้ว จากนั้นก็นำต้นพันธุ์วางในหลุมที่ขุดไว้ ค่อยๆดึงถุงขึ้นมา ใช้มีดกรีดถุงออกแล้วกลบดินโคนต้น ใช้ไม้หลักยึดต้นให้แน่น อย่าให้ต้นไหว โดนลมแรงๆข้างบนสั่น รากก็สั่นเหมือนกัน สาเหตุสำคัญการตายของมะยงชิด และมะปรางหวานก็คือ ตุ้มดินที่ห่อหุ้มรากแตก หรือรากกระทบกระเทือน
การใข้ประโยชน์---ใช้กิน ผลดิบหรือสุกใช้กินเป็นผลไม้ หรือใช้ทำน้ำผลไม้ ทำแยม นำไปกวน ส่วนผลดิบใช้จิ้มน้ำปลาหวาน กะปิหวาน หรือนำไปใช้ดองและแช่อิ่มมะปราง เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและเบตาแคโรทีนสูงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
-ใช้เป็นยา ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยฟอกโลหิต ช่วยแก้เสลดหางวัว แก้น้ำลายเหนียว มีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการไข้กลับ ถอนพิษสำแดง
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นไม้ผลให้ร่มเงาและผลไม้ที่กินได้
-อื่น ๆ แก่นไม้มีสีน้ำตาลเข้มมีริ้วสีดำ เนื้อไม้แข็งปานกลางถึงแข็ง เหมาะสำหรับงานไม้ในร่ม ทำไม้อัด ไม้กระดานงานตู้ทั่วไปและเฟอร์นิเจอร์
***ที่กล่าวกันไว้ มะปรางหวาน มะยงชิดเป็นไม้ผลที่ "คนปลูกไม่ได้กิน-คนกินไม่ได้ปลูก" น่าจะเป็นเรื่องจริง เพราะความที่มะปรางหวาน มะยงชิดเป็นผลไม้ตามฤดูกาลราคาแพงเอาเรื่อง คนปลูกจะเอามากินเองก็เสียดาย ขายดีกว่า เหมือนกับอีกเรื่องที่จริง ก็คือ "คนซื้อไม่ได้กิน-คนกินไม่ได้ซื้อ" เพราะความที่เป็นผลไม้ราคาแพง ก็เลยซื้อหอบหิ้วไปเป็นของฝากดีกว่า
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤศจิกายน - ธันวาคม/
ขยายพันธุ์---เมล็ด ติดตา ตอนกิ่ง เสียบยอด


ลางสาด/Lansium parasiticum

ชื่อวิทยาศาสตร์---Lansium parasiticum (Osbeck) K.C.Sahni & Bennet
ชื่อพ้อง---Has2 Synonyms
-Aglaia domestica (Corrêa) Pellegr.
-Lansium domesticum Corrêa)
ชื่อสามัญ---Langsat,Lancet, Langsium, Longkong
ชื่ออื่น---ลางสาด ลังสาด รังสาด  รางสาด ลองกอง ; [CHINESE: Dà huā qiāngmù.];[INDONESIA: Duku.];[MALAYSIA: Dokong, Lansat];[PHILIPPINES: Lansones.]
ชื่อวงศ์---MELIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ; หมู่เกาะมาลายู หมู่เกาะชวา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากภาคใต้ของประเทศไทยและมาเลเซีย (ชวา, สุมาตรา, เกาะบอร์เนียว) ฟิลิปปินส์ ( เกาะลูซอน, Camiguin, บาซิลันและมินดาเนา ), สุลาเวสี (คาส์และเวสเทิร์นิวกีนี) เป็นต้นไม้ในป่าที่ราบต่ำและแม้จะอยู่ในถิ่นกำเนิดก็ไม่สามารถปลูกได้ในระดับความสูงเกิน 650 - 750 เมตร นอกจากนี้ยังได้รับการแนะนำ(เพาะปลูก) ในประเทศลาว, กัมพูชา, พม่า ,ไมโครนีเซีย, ฮาวาย, ศรีลังกา, อินเดียที่เซเชลส์, ตรินิแดดและโตเบโก, ซูรินาเมและอื่น ๆ ในกลุ่ม

ลางสาดเป็นไม้ต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ โดยชื่อ “ลางสาด” หรือ “ลังสาด” นั้นมาจากภาษามาเลย์คำว่า “Langsat” โดยปกติจะมีความสูง 10 - 30 เมตรในป่า แต่โดยทั่วไปจะปลูกได้เพียง 5-10 เมตรเท่านั้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 25 ซม.มีรากค้ำจุนอยู่เหนือพื้นดิน เปลือกของต้นไม้เป็นสีเทาและจุดดำ เรซินมีความหนาและเป็นสีน้ำนม ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน ออกดอกเป็นช่อสีขาว ดอกเกิดตามลำต้นและตามกิ่ง ลักษณะของดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผลไม้เกิดเป็นกระจุก 2 - 30 ผล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.7 ซม.ผลไม้แต่ละผลมี 5 หรือ 6 ส่วนของเนื้อหอมสีขาวโปร่งแสงฉ่ำโดยมีเมล็ดค่อนข้างใหญ่และมีรสขมมาก 1 - 3 เมล็ดใน บางครั้งเมล็ดเหล่านี้สามารถเกาะติดกับเนื้อได้แน่นมากและสามารถให้ความขมขื่นแก่ผลไม้
-ลองกองจัดเป็นพืชที่อยู่ในชนิดเดียวกันกับลางสาด ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lansium domesticum Corrêa (This name is a synonym of Lansium parasiticum (Osbeck) K.C.Sahni & Bennet.) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ลังสาดเขา (นครศรีธรรมราช) ส่วนชื่อลองกองนั้นมาจากชื่อพื้นเมืองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นลางสาดพันธุ์หนึ่งที่เปลือกหนาและยางน้อย เนื้อในผลมีรสหวานหอมกว่าลางสาด จำไว้ว่า ยางมากเปลือกบางคือลางสาด ยางน้อยเปลือกหนาคือลองกอง
ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ต้นไม้อายุน้อยต้องการร่มเงาจากแสงแดดที่แรง แต่ต้นไม้ที่มีอายุมากสามารถทนแสงแดดได้เต็มที่แม้ว่าร่มเงาบางส่วนก็ยังมีประโยชน์ เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในดินที่มีกรดเล็กน้อยอุดมด้วยฮิวมัสระบายน้ำได้ดีและอุดมสมบูรณ์ ไม่ชอบดินเหนียว ชอบ pH ในช่วง 6 - 6.5 ทนได้ 5.5 - 7.5 อุณหภูมิที่เหมาะสมระหว่าง 20 - 35 ° c
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม้ - ดิบหรือสุก ฉ่ำกลิ่นหอมและ subacid สามารถนำไปปรุงเป็นของหวานเก็บรักษาในน้ำเชื่อม
-ใช้เป็นยา น้ำยางไม่เป็นพิษและช่วยระงับอาการท้องร่วงและการหดเกร็งของลำไส้ เมล็ดที่ถูกบดใช้เป็นยาแก้ไข้และถ่ายพยาธิ ยาต้มเปลือกฝาดใช้เป็นยารักษาโรคบิดและมาลาเรีย
-วนเกษตร ต้นไม้ถูกใช้ในการปลูกป่าในพื้นที่ที่เป็นเนิน
-อื่น ๆเนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อนแข็งปานกลางเนื้อละเอียดเหนียวยืดหยุ่นและทนทาน มันถูกใช้ใน Java สำหรับเสาบ้าน, จันทัน, ที่จับเครื่องมือและเครื่องใช้ขนาดเล็ก-ในชวาเปลือกแห้งถูกเผาควันหอมทำหน้าที่เป็นยากันยุงและเป็นธูปในห้องของคนป่วย
ระยะออกดอก/ติดผล---
ขยายพันธุ์---เมล็ด ทาบกิ่ง ติดตา ตอนกิ่ง เสียบยอด


กระท้อน/Sandoricum koetjape

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr.
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms
-Sandoricum indicum Cav.
-Sandoricum maingayi Hiern.
-Sandoricum nervosum Blume.
-Sandoricum vidalii Merr.
-Trichilia nervosa Vahl.
ชื่อสามัญ---Santol, Sentul, Red sentol, Yellow sentol, Kechapi, Lolly fruit, Wild mangosteen.
ชื่ออื่น---สะตู สตียา (นราธิวาส), สะโต (ปัตตานี), เตียนล่อน สะท้อน (ภาคใต้), มะติ๋น (ภาคเหนือ), มะต้อง (อุดรธานี, ภาคเหนือ) ; [BRUNEI: Klampu.];[BURMESE: Thitto.];[CHINESE: Suan ming kou, Suan ming guo.];[FRENCH: faux mangoustan, Sandorique, Mangoustanier sauvage.];[GERMAN: Sandoribaum, Falsche mangostane, Sandorie-baum.];[GUAM: Santor.];[INDONESIA: Kecapi, Ketuat.];[KHMER: Kom piing riech.];[LAOS: Tong, Toongz.];[MALAY: Klampu, Kecapi, Kelampu, Ketapi, Ranggu, Sentol, Setol, Sentul.];[PHILIPPINES: Santol (Tag.), Santor (Most dialects), Katoh (Pamp.),Katul (Sbl.).];[SRI LANKAN: Donka.];[TAMIL: Sayai, Sevai.];[THAI: Katon, Kra thon, Sa thon, Ma tong.];[VIETNAMESE: Sau chua, Sau tia, Sau do.].
ชื่อวงศ์---MELIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย มอริเชียส และฟิลิปปินส์
พืชพื้นเมืองในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นกระจายอยู่ในป่าดิบชื้นปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ นอกจากนี้ยังเกิดในป่าเต็งรัง ริมฝั่งแม่น้ำและที่ราบลุ่มเขตร้อนชื้นถึงระดับความสูง 300 เมตร  มีการเพาะปลูกในภูมิภาคเหล่านี้ อินโดจีน, ศรีลังกา, อินเดีย, ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย, มอริเชียสและเซเชลส์ ในการเพาะปลูกไม่สามารถปลูกได้ที่ระดับความสูง สูงกว่า 1,000 เมตร


เป็นไม้ผลกึ่งผลัดใบสูง15- 25 เมตร เรือนยอดทึบรูปไข่พุ่มไม่กว้างนัก ใบประกอบแบบ3ใบย่อย ใบย่อยรูปรีแกมไข่จนถึงขอบขนาน ขนาดประมาณ กว้าง 6 - 15 ซม. ยาว 8 - 20 ซม.ใบอ่อนมีขนนุ่มปกลุม ใบแก่สีเขียวเข้ม แต่ถ้าใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองนวล ผลอ่อนสีเขียวคล้ายผิวกำมะหยี่ มีน้ำยางสีขาว ผลแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางน้อยลง รูปกลมแป้นขนาดประมาณ 5 - 15 ซม. มีเมล็ดรูปรี 3-5 เมล็ดแต่ละเมล็ดมีขนยาวและมีปุยสีขาวหุ้มอยู่ ปุยที่กินได้นี้พัฒนามาจากเปลือกหุ้มเมล็ด ผลไม้อาจเป็นได้ทั้งเปลือกบางหรือเปลือกหนาที่มีเนื้อหวานหรือค่อนข้างเปรี้ยวตามความหลากหลาย แตกต่างกันออกไปในแต่ละพันธุ์
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบตำแหน่งที่มีแสงแดดรำไร แต่ทนต่อร่มเงาได้บ้าง ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ระบายน้ำได้ดีเป็นกรดปานกลางประสบความสำเร็จในดินร่วน ดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุมาก พืชทนลม ทนต่อฤดูแล้งได้ 2 - 5 เดือน กระท้อนมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 40 - 50 ปี
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม้ - ดิบหรือสุกใช้กินสด หรืออบแห้งใช้ในการทำแยมเยลลี่มาร์มาเลด กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้วใช้ทำอาหารคาวได้หลายชนิดเช่น แกงคั่ว แกงฮังเล ผัด ตำกระท้อน
-ใช้เป็นยา ใบใช้เป็นยาต้มแก้ท้องร่วงและไข้ เปลือกแป้งใช้เป็นยาพอกรักษากลากอย่างมีประสิทธิภาพและมีไตรเทอร์พีนที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง รากมีกลิ่นหอมเป็นยาแก้ท้องร่วง ป้องกันอาการกระตุก ยาขับลม น้ำยาฆ่าเชื้อ ยาสมานแผล แก้ท้องอืดท้องเฟ้อและใช้เป็นยาบำรุงทั่วไปหลังคลอด
-วนเกษตร ต้นไม้มีความสำคัญในถิ่นกำเนิดในการอนุรักษ์ดิน ต้นไม้นี้เป็นที่รู้จักกันในรูปแบบ vesicular arbiscular mycorrhizae ซึ่งมีประโยชน์ในการปรับปรุงดิน
-ใช้เป็นไม้ประดับ มักปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาในสวนสาธารณะตามถนน
-อื่น ๆแก่นไม้มีสีแดงซีดแดงอมเหลืองหรือน้ำตาลเหลืองปนชมพู เนื้อละเอียดปานกลางถึงหยาบเล็กน้อย ไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์, งานตู้, งานไม้, งานตกแต่งภายใน ใช้ทำถ่านคุณภาพดี -ใบใช้เป็นยาขับไล่แมลง สารสกัดจากเมล็ดกระท้อนมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง
ระยะออกดอก/ติดผล---
การ ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด


มะละกอ/Carica papaya

ชื่อวิทยาศาสตร์---Carica papaya L
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
-Carica peltata Hook. & Arn.
-Carica posoposa L.
-Papaya carica Gaertn.
ชื่อสามัญ---Papaya, Pawpaw.
ชื่ออื่น---มะละกอ, มะก๊วยเต็ด, ก๊วยเท็ด ; [BANGLADESH: papaya.];[BRAZIL: mamao; mamoeiro.];[CAMBODIA: doeum lahong; ihong.];[CHILE: palo gordo.];[FRENCH: papaye; papayer.];[GERMAN: baummelonenbaum; melonenbaum.];[INDIA: papaya; pipiya.];[INDONESIA: gedang; kates.];[ITALIAN: carica; fico del isole; papaia; papajo.];[LAOS: houng.];[MALAYSIA: betek; ketala.];[MYANMAR: thimbaw.];[PERU: mito.];[PHILIPPINES: kapaya; lapaya; papaya.];[PORTUGUESE: mamaeiro.];[SPANISH: col delmonte pela dera; figuera del monte; mamao; mamao zinho; papaita; papaya de mica; papaya de silva; papayero.];[THAI: loko; makuai tet; malakor;kuai thet.];[VIRTNAM: du du.].
ชื่อวงศ์---CARICACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลาง
ถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาอาจจากอเมริกากลางและภาคใต้ของเม็กซิโกพื้นเมืองไปยังตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มะละกอได้กลายเป็นสัญชาติทั่วหมู่เกาะแคริบเบียน , ฟลอริด้า , เท็กซัส , แคลิฟอร์เนีย , ฮาวายและอื่น ๆในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลก


เป็นต้นไม้ขนาดเล็กเนื้ออ่อนล้มลุกลำต้นเดียวสูง3-6เมตร ลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งก้านสาขา ข้างในลำต้นกลวง ไม่มีแก่นกลาง  ลักษณะผิวลำต้นขรุขระและเป็นร่องตามยาว ต้นอวบน้ำมียางขาว ส่วนลักษณะใบมะละกอจะเป็นใบเดี่ยวสลับรอบต้น ออกใบเยอะบริเวณยอด ใบเป็นรูปฝ่ามือเว้าเป็นแฉกลึก 7 แฉก ขนาดใบใหญ่ ดอกมีหลายประเภท คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกสมบูรณ์เพศหรือกระเทย ผลอาจเป็นรูปรี ยาว ทรงกระบอกหรือทรงกลม ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เนื้อด้านในมีสีขาว เมื่อผลแก่หรือสุกเต็มที่เปลือกมะละกอจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม เนื้ออ่อนนุ่ม เมล็ดมีสีดำ หรือสีน้ำตาลดำ
การเพาะปลูก---ให้ผลผลิตได้ดีที่สุดที่ระดับความสูงต่ำกว่า 900 เมตรแม้ว่าจะสามารถประสบความสำเร็จได้สูงถึง 2,100 เมตรใกล้เส้นศูนย์สูตร ชอบตำแหน่งที่มีแดดจัดมีที่กำบังลมแรง ขึ้นได้ดีในดินที่ลึกและอุดมด้วยซากพืช ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 7 ทนได้ 4.5 - 8 ต้องใช้ดินที่ระบายน้ำได้ดีต้นไม้สามารถตายได้ภายในสองสามวันหากดินมีน้ำขัง
-มะละกอที่ผู้ปลูกต้องการมากที่สุดคือ มะละกอดอกกระเทย หรือมะละกอสมบูรณ์เพศ ดอกมะละกอเพศผู้มีโอกาศพบน้อย สังเกตง่ายๆคือดอกจะมีช่อยาว ผลมีขนาดเล็ก ดอกมะละกอเพศเมีย รูปทรงของดอกจะอ้วน เมื่อมีผลรูปร่างผลจะอ้วนป้อม เนื้อค่อนข้างบาง เวลานำมาสับทำส้มตำจะทำยากเวลาจับผลจะกลิ้งไปมา แต่ก็ทำส้มตำได้เหมือนกัน ส่วนดอกกระเทยรูปทรงดอกค่อนข้างยาวคล้ายดอกจำปี ผลจะยาวเนื้อหนา ผู้ปลูกจึงต้องการต้นที่มีดอกกระเทย มะละกอเชิงพาณิชย์เกือบทั้งหมดมีแต่กระเทย  เวลาปลูกจะปลูก 2-3 ต้นใ นหลุมเดียวกัน เวลาออกดอกก็จะคัดเลือกได้ตามใจ
-สำหรับพันธุ์มะละกอถ้าจะปลูกมะละกอไว้กินสุกก็มีมะละกอพันธุ์ เรดเลดี้ ทั้งสวยทั้งหวาน ต้นไม่สูงติดผลดกมากกว่า 30 ผลต่อต้นต่อปี หลังปลูก 2 เดือนครึ่งก็เริ่มมีดอกให้เห็น ความสูงของต้นเพียง0.80 เมตร ราว7เดือน หลังปลูกก็เก็บผลสุกรับประทานได้ -สำหรับ คอส้มตำให้ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง มีผลยาวมาก เคยวัดได้ยาวสุด 48 ซม. จุดเด่นของมะละกอพันธุ์นี้อยู่ที่เนื้อดิบมีความกรอบเหมาะที่จะตำส้มตำ หลังเก็บจากต้น7วันเนื้อยังคงกรอบอยู่ ในขณะที่มะละกอพันธุ์อื่นเก็บมา 3-5 วันก็นิ่มแล้ว แต่ถ้ากินสุกรสชาดจะสู้พันธุ์อื่นไม่ได้  ถ้าต้องการจะกินผลสุกด้วย ดิบได้ ก็ปลูกมะละกอแขกดำ
ใฃ้ประโยชน์---มะละกอเป็นผลไม้เมืองร้อนที่ได้รับความนิยมและอร่อยที่สุดชนิดหนึ่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลกต้นไม้ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณค่าทางยาของผลไม้และใบ
-ใช้กิน ผลไม้ - กินดิบหรือสุกหรือนำมาปรุงเป็นอาหารหรือแปรรูป ผลไม้อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น เมล็ด - ใช้เป็นเครื่องเทศโดยเฉพาะในน้ำสลัด-ดอกเพศผู้ - ใช้ปรุงเป็นผัก  
-ใช้เป็นยา ผิวของมะละกอดิบ ใบและเมล็ดเป็นแหล่งของเอนไซม์ปาเปนซึ่งเป็นสารกระตุ้นการย่อยอาหารที่ช่วยในการย่อยโปรตีน สามารถใช้ภายในได้โดยเฉพาะในรูปของเอนไซม์ที่สกัดได้เพื่อรักษาโรคทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังใช้ภายนอกเพื่อช่วยในการรักษาบาดแผลที่ลึกหรือหายช้า -ใบและเมล็ดใช้เฉพาะในการกำจัดตัวหนอนและพยาธิตัวกลม-น้ำยางถูกนำไปใช้ภายนอกกับบาดแผล ฝีแผล หูดและเนื้องอกมะเร็งเพื่อเร่งการรักษา นอกจากนี้ยังใช้กับเหงือกเพื่อรักษาอาการปวดฟัน-ผลสุกเป็นยาระบายอ่อน ๆ ยาต้มของผลสุกใช้รักษาอาการท้องร่วงและโรคบิดในเด็ก-ในยาแผนโบราณใบมะละกอได้ถูกนำมาใช้เป็นยาสำหรับโรคมาลาเรีย abortifacient ใช้เป็นยาถ่ายหรือรมควันเพื่อบรรเทาโรคหอบหืด
-อื่น ๆ เนื้อไม้สีขาวหรือสีเหลืองอ่อนมีความนุ่มน้ำหนักเบามากและมีเนื้อ มีแกนสีขาวขนาดใหญ่และตรงกลางของลำต้นกลวงยกเว้นที่โหนด สำหรับไม้ไม่ใช้ -ใบแห้งนำมาตีในน้ำเพื่อใช้แทนสบู่ได้ -Papain พบในน้ำยางที่มีความเข้มข้นมากที่สุดในผิวของผลไม้ดิบ มีประโยชน์มากมายเมื่อมันถูกเพิ่มลงในครีมบำรุงผิว
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด


พุทรา/Ziziphus mauritiana

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Ziziphus mauritiana Lam
ชื่อสามัญ---Chinese date, Ber, Chinee apple, Jujube, Indian plum,  Indian Jujube
ชื่ออื่น---พุทรา, มะตัน ; [AFKANISTAN: berra.];[AUSTRALIA: chinee apple; Chinese apple.];[BANGLADESH: bozoi; kool; kul.];[CAMBODIA: putrea.];[CHINESE: hong tsao; lang tsao; ta tsao; tsao tsao.];[ETHIOPIA: abateria; gaba-artigie; gewa-ortigi (Tigre).];[FIJI: baer; baher; bahir.];[FRENCH: datte chinoise; jujubier.];[GERMAN: Filzblattrige Jujube; Indischer Jujubenstrauch.];[GREECE: tzintzola.];[INDONESIA: bidara; dara; widara.];[IRAN: kanar; kunar; nabik.];[IRAQ: aunnaberhindi; nabig; sidr.];[ITALIAN: guiggiolo.];[JAMAICA: coolie plum; crabapple.];[JAPANESE: sanebuto-natsume.];[KENYA: mkunazi (Kiswahilli).];[LAOS: than.];[MALAWI: massawo (Chewa); msonoka (Yao).];[MALAYSIA: bidara; epal siam; jujub.];[MYANMAR: eng-si; zee-pen; zi; ziben; zizidaw.];[NEPALI: baer.];[PHILIPPINES: manzanita.];[PORTUGUESE: jujubeira; maciera.];[PUERTO RICO: aprin; yuyubi.];[SOMALIA: bheb ; gob; jujube; nabk (Arabic).];[SINHALESE: ilanda; mahadebara; masaka; yellande.];[SPANISH: azufaifo; yuyuba.];[SUDAN: nabbag elfil; sir nabk (Arabic).];[TANZANIA: mkunazi (Kiswahilli).];[THAI: ma tan; ma thong; man tan; phutsa; putsa.];[UGANDA: esilang (Karamajong).];[VIETNAM: cay tao ta; tao; tao nhuc.];[ZAMBIA: akasongole; massau ; musawce.];[ZIMBABWE: masua; musawu; yanja (Shona, Tangu).].
ชื่อวงศ์---RHAMNACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน อินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน เมียนมาร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย
มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินโดมาเลเซียของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แพร่หลายทั่วโลกเก่าเขตร้อนจากทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาผ่านตะวันออกกลางไปยังอนุทวีปอินเดียและประเทศจีน ออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก พบโดยเฉพาะในดินทรายในพื้นที่แห้งแล้ง ป่าทึบชายฝั่งป่าหินปูนแห้ง ป่าชื้นพุ่มไม้ริมฝั่งแม่น้ำเนินเขาลาดชัน ที่ระดับความสูงถึง 1,800 เมตร

ไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร  กิ่งก้านมีหนาม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-8 ซม. ท้องใบมีขนสีน้ำตาลหรือขาว หลังใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน ผลไม้สีเหลืองส้มถึงน้ำตาลเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อครบกำหนด มีลักษณะกลมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวได้ถึง 5 ซม. และกว้างประมาณ 2.5 ซม. มีเนื้อสีขาว
การเพาะปลูก---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดส่องถึงในดินที่มีการระบายน้ำได้ดีรวมทั้งดินที่มีหินปูน ต้นไม้ชอบดินที่มีน้ำหนักเบาและค่อนข้างลึก  ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 7.5 ทนได้ 5 - 8.5 ทนอุณหภูมิได้หลากหลายตั้งแต่ -5 ° C ถึง 49 ° C มีการพัฒนาระบบรากอย่างมากและทนแล้งได้ดี พืชมีความทนทานต่อไอเกลือ
พุทรา ที่นิยมปลูกกันอยู่ขณะนี้ก็มีพันธุ์จัมโบ้และพันธุ์นมสด ที่มีขนาดผลใหญ่ขนาด5-6ลูกต่อกิโลแตกต่างจากพันธุ์พื้นเมือง ที่รูปผลทรงกลมยาวรีหรือแล้วแต่สายพันธุ์  อีกชนิดที่นิยม คือ พุทราจีน ผลใหญ่ หนามน้อย มีรสหวาน เช่น พุทราพันธุ์มิ่งเฉา หรือพันธุ์น้ำผึ้ง
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลกินดิบหรือดอง รสเปรี้ยวถึงหวานขึ้นอยู่กับความหลากหลาย ผลไม้สามารถทำเป็นอาหารแป้งเนยหรือเนยแข็งเหมือนใช้เป็นเครื่องปรุงรส
-ใช้เป็นยา เป็นยาพื้นบ้านสำหรับโรคโลหิตจาง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคไตอักเสบและโรคทางประสาท ในยาจีนกำหนดให้เป็นยาบำรุงเพื่อเสริมสร้างการทำงานของตับและ มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อรักษาแผลไฟไหม้
-วนเกษตร ปลูกเพื่อควบคุมการกัดเซาะการรักษาเสถียรภาพของดินและริมฝั่งแม่น้ำและการถมที่ดิน
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นต้นไม้ข้างถนนในหลาย ๆ ประเทศ อย่างไรก็ตามผลไม้อาจสร้างความรำคาญเช่นเดียวกับนกหลายชนิดที่มากินผลไม้
-อื่น ๆแก่นไม้มีสีน้ำตาลแดงซีดหรือน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มบางครั้งมีแถบหรือมีเส้นสีเข้ม เนื้อละเอียดถึงหยาบ เนื้อไม้มีน้ำหนักปานกลางถึงหนัก งแข็งแรงทนทาน ไม้ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป งานเฟอร์นิเจอร์และเครื่องมืออุปกรณ์การเกษตร -เปลือกไม้รวมทั้งเปลือกราก ใบ เป็นแหล่งของแทนนิน
ระยะออกดอก/ผลสุก---กรกฎาคม-ตุลาคม/กุมภาพันธ์-มีนาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ติดตา ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง เสียบยอด


สะตอ/Parkia speciosa

ชื่อวิทยาศาสตร์---Parkia speciosa Hassk.
ชื่อสามัญ ---Bitter bean, Twisted cluster bean, Stink bean, Nitta Tree, Petai
ชื่ออื่น---สะตอ ตอตน ตอข้าว กะตอ ตอ ; [CHINESE: chou dou.];[DUTCH: Stinkboon.];[INDIA: yongchak ( Manipuri).];[INDONESIA : Petai Papan, Pete, Sindutan ( Javanese) , Kundai, Patak ( Dyak, Tinggalan, Kalimantan), Petah ( Busang, Kenya, Kalimantan ), petai ( Katingan, Sampit, Kalimantan ), Nuep ( Kalimantan ), Petai, Pete ( Malay ), Petteh ( Madurese ), Petej , Petej Pare, Petej gede,Sigobang ( Sundanese ).];[JAPANESE: Nejire Fusamame, Nejire Fusa Mame No Ki.[MALAYSIA: petai, petah, patai, patag, nyiring (Malay).];[PHILIPPINES: Kupang (Tagalog); u’pang (Palawan).];[SWEDISH: Petai.];[THAI: Kato, Pa ta (ปะตา ), Pa tai(ปาไต ),  Pat to (ปัตเต๊าะ ), Sator, Sator Dan, Sator Kow, To Dan, To Khao.];
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย พม่าตอนล่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเชีย สุมาตรา ปาลาวัน บอร์เนียว
มีถิ่นกำเนิดในมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย คาบสมุทรไทยและฟิลิปปินส์ (ปาลาวัน) บางครั้งมีการเพาะปลูก แต่ไม่ค่อยอยู่นอกพื้นที่ดั้งเดิม เติบโตในป่าดิบชื้นที่ราบต่ำและบางครั้งก็อยู่ในป่าทุติยภูมิสูงบนดินทรายดินร่วนซุยนอกจากนี้ยังอยู่ในสถานที่ที่มีน้ำขังในป่าพรุน้ำจืดและริมฝั่งแม่น้ำ เติบโตที่ระดับความสูงต่ำกว่า 1,400 เมตร ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคใต้

ไม้ ยืนต้นสูงได้ถึง30เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 50-100 ซม.กิ่งก้านมีขนละเอียด ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ช่อใบย่อย14-18คู่ ใบย่อย31-38คู่ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง อัดแน่นเป็นก้อน ประกอบด้วยช่อดอกเพสผู้ และช่อดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีขาวนวล ผลเป็นฝักแบนบิดขนาดใหญ่ยาว 35 - 55 ซม. และกว้าง 3 - 5 ซม. แต่ละฝักมีเมล็ดขนาดใหญ่ 10 - 18 เมล็ด สีเขียวอ่อนถึงเข้ม พองบวมเหนือเมล็ด
การเพาะปลูก--- ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนหรือดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี แต่ยังพบได้ในดินที่มีน้ำขัง ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 7 แต่ทนได้ 5 - 7.5
การใช้ประโยชน์---ต้นไม้เอนกประสงค์ที่สำคัญมีประวัติยาวนานในการเพาะปลูกเพื่อเป็นอาหารของคนในท้องถิ่น มักจะเก็บเกี่ยวจากป่าและผลผลิตจะถูกขายในตลาดท้องถิ่น-การค้าขายสะตอ นับฝักขายกันเป็นร้อยละ สะตอ นั้นแบ่งได้เป็นสะตอข้าว มีรสหวานเมล็ดเล็กกลิ่นไม่แรงอีกสะตอคือสะตอดาน เมล็ดใหญ่กลิ่นแรง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เมื่อปลูกต้นโตเร็วมาก ควรตัดยอดเพื่อให้มีกิ่งแขนงมากๆ โอกาสที่จะมีดอกติดฝักก็มากไปด้วย การขยายพันธุ์ด้วย การทาบกิ่ง ติดตา เสียบยอด ทำให้ได้ผลผลิตเร็วยิ่งขึ้น คนที่ชอบกระถิน ต้องชอบสะตอแน่ แต่สะตอราคาแพงกว่ากระถินมาก การบริโภคจึงไม่กว้างขวางเท่า สะตอนับวาเป็นพืชผักที่มีคุณค่าอาหารสูง และคุณค่าทางเป็นสมุนไพร ปลูกไว้ในบ้านให้ร่มเงา
-ใช้กิน มล็ด - ดิบหรือสุก กลิ่นค่อนข้างแรงซึ่งคงอยู่นานหลายชั่วโมง ใช้ประกอบอาหาร เช่น สะตอผัดกุ้ง แกงป่าใส่สะตอ สะตอผัดกะปิกุ้งสด -ฝักอ่อนกับเมล็ดอ่อนนำมาใช้เป็นอาหารดิบ ทอดหรือดอง ผัด ได้ทั้งหมด ช่อดอกกินดิบ ใบอ่อน - กินดิบเป็นผัก
-ใช้เป็นยา เมล็ดทำให้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมักใช้ในการรักษาอาการปวด ไต มะเร็ง เบาหวาน ตับบวม ไตอักเสบ จุกเสียด อหิวาตกโรคและเป็นยาถ่ายพยาธิ  เมล็ดยังใช้เป็นยาขับลม เมล็ดใช้ภายนอกกับบาดแผล
-วนเกษตร บางครั้งมีการปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาแก่เรือนเพาะชำ สวนกาแฟ  ฯลฯ
-อื่น ๆไม้ไม่ทนทานอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี ใช้ในท้องถิ่นสำหรับการก่อไฟชั่วคราว
ระยะออกดอก/ติดผล---
การขยายพันธุ์---เมล็ด ทาบกิ่ง ติดตา เสียบยอด


หว้า/Syzygium cumini


ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Syzygium cumini (L.) Skeels
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
-Caryophyllus jambos Stokes
-Eugenia cumini (L.) Druce
-Basionym: Myrtus cumini L.
ชื่อสามัญ---Jambolan, Java plum, Black plum, Malabar-plum
ชื่ออื่น---หว้า, ห้า, มะห้า, หว้าอินเดีย, หว้าขี้เเพะ, ห้าขี้แพะ, หว้าป่า, หว้าขาว, หว้าขี้นก ; [ASSAMESE: Kola jamu,Bor-jamu,Kola-jamu.];[GERMAN: Jambolanapflaume,Rosenapfel,Wachsjambuse.];[HINDI: Jamun,Chiraijam.];[KANNADA: Narala,Jum Nerale,Neeram,Nerula.];[MALAYALAM: Njara,Naga,Perinnaral,Naval,Kattuchampa,Porinjara,Hjaval.];[MARATHI: Jambool.];[PORTUGUESE: Azeitona-doce,Cereja,Jambolão,Jamelão.];[SANSKRIT: Jambula.];[TAMIL: Naval.];[TELUGU: Neredu.];
ชื่อวงศ์---MYRTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และรัฐควีนส์แลนด์ประเทศออสเตรเลีย
มีต้นกำเนิดในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ที่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร  


ไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7ซม. ยาว 8-14 ซม.มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ ดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก  ผลเป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ มีสีม่วงดำ ผิวเรียบมัน มีขนาด 1 ซม. ผลแก่ เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่
การเพาะปลูก---ชอบตำแหน่งที่มีแดดจัด แต่พืชก็สามารถทนต่อร่มเงาได้พอสมควร เติบโตได้ในดินที่หลากหลายและยังสามารถเติบโตได้ในดินที่ตื้นและมีหินหากปริมาณน้ำฝนเพียงพอ ในพื้นที่แห้งโดยทั่วไปจะ จำกัด ตัวเองอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 7 ทนได้ 4.5 - 8 ทนน้ำท่วมเป็นเวลานาน ทนต่อความแห้งแล้งและทนต่อลมแรง
การใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลไม้ชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะลูกหว้านั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอย่างวิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ โดยนิยมนำผลสุกมารับประทานเป็นผลไม้ (ผลสุกจะมีลักษณะสีม่วงและดำ มีรสออกเปรี้ยวอมหวานและอมฝาด) และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ-น้ำจากลูกหว้าถือเป็น 1 ใน 8 ของน้ำปานะที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาติแก่พระภิกษุ
-ใช้เป็นยา ใบและเปลือก  ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านโรคมะเร็ง -ผลดิบช่วยแก้อาการท้องเสีย-ใบและเมล็ดต้มหรือบดให้ละเอียด ใช้กินเพื่อรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด -ในบราซิลใช้กันอย่างแพร่หลายในการแพทย์พื้นบ้านเพื่อป้องกันโรค leishmaniasis การอักเสบท้องร่วงเรื้อรังและแผลในกระเพาะอาหาร เป็นหนึ่งในพืชที่นิยมใช้ในการรักษาโรคเบาหวานทั่วโลก -ผลสุกกินแก้ท้องร่วงและบิด-เปลือกและใบหว้านำมาใช้ทำเป็นยาอม ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย แก้คอเปื่อย เป็นเม็ดตามลิ้นและคอ-ผลสด ช่วยรักษาโรคหอบหืดที่เกิดจากการแพ้อากาศ ด้วยการนำผลหว้าสดมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการ
-ใช้ปลูกประดับ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงากันลมและป้องกันความเสี่ยง
-อื่น ๆไม้เนื้อแข็งสีเทาอมแดงหรือสีน้ำตาลแดงเป็นไม้เนื้อละเอียดทนทานในน้ำทนต่อปลวก เนื้อไม้ใช้ในงานไม้และช่างไม้ภายนอกทำสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือนและสำหรับทำเครื่องดนตรีโดยเฉพาะกีตาร์ -ไม้ใช้ทำฟืนและถ่านคุณภาพดี-เปลือกต้นมีแทนนิน 13 - 19%ใช้ฟอกหนังและยังให้สีย้อมสีน้ำตาลที่ใช้ในการทำสีและรักษาอวน แห
พิธีกรรม/ความเขื่อ---เป็นพืชผลไม้โบราณที่ปลูกมานานกว่า 2,500 ปีในอินเดียซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวพุทธและชาวฮินดู ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพระกฤษณะและมักปลูกใกล้วัด-ในไทยถือว่าต้นหว้าเป็นไม้มงคลในเรื่องของความสำเร็จและชัยชนะ
สำคัญ---เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี
ระยะออกดอก/ติดผล--- ธันวาคม-มิถุนายน
ชยายพันธุ์---ตอนกิ่ง เพาะเมล็ด ปักชำ


อินทผลัมกินผล/Phoenix dactylifera

ชื่อวิทยาศาสตร์---Phoenix dactylifera
ชื่อสามัญ---Date, Date palm; The edible date
ชื่ออื่น---อินทผลัมทานผล ; [ARABIC: khuriude-yális.];[FRENCH: dattier; palmier dattier.];[BRAZIL: tamareira.];[GERMAN: Dattelpalme.];[INDIA: ittappuzham; karchuram; khaji; khajur; kharjuramu; khorjjuri; perich chankay; tenitta.];[ITALIAN: palma da datteri; palma del dattero.];[NETHERLANDS: dadelpalm.];[PAKISTAN: khaji; khajur.];[PORTUGUESE: tamareira.];[SPANISH: datilera; palma datilera; palmera; palmera datilera.];[SWEDISH: dadelpalm.];
ชื่อวงศ์---ARECACEAE (PALMAE )
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ตะวันออกกลาง เขตร้อนและเขตกึ่งร้อนหลายแห่งทั่วโลก
สายพันธุ์นี้ได้รับการเพาะปลูกอย่างกว้างขวางในแอฟริกาเหนือตะวันออกกลางฮอร์นออฟแอฟริกาและเอเชียใต้และมีการแปลงสัญชาติในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนหลายแห่งทั่วโลก

 

ลำต้นมีความสุงประมาณ 30 เมตร มีขนาดลำต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีใบติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน ทางใบยาว 3-4 เมตร ใบเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง ช่อดอกจะออกจากโคนใบ ผลทรงกลมรี ยาวประมาณ 2-4ซม. ออกเป็นช่อรสหวานฉ่ำ ต้นในรูปนี้ถ่ายจากบาห์เรน เป็นชนิดพันธุ์อะไรตอนนั้นไม่ได้สนใจ ถ่ายแต่รูปมาเท่านั้นรู้แต่ว่าเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกในซาอุ ทานได้ทั้งผลดิบและสุก ผลจะมีสีเหลืองจนถึงสีส้มและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มเมื่อแก่จัด ผลสุกมักจะนำไปตากแห้ง สามารถเก็บไว้เป็นเวลาหลายปี มีรสชาติหวานจัด จึงมักถูกเข้าใจผิดว่ามีการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล  แต่ถ้าจะทานผลสดจริงๆมีพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยคือ พันธุ์บาฮี Barheeหรือbarhi
การเพาะปลูก---ต้องการแสงแดดจัด ดินร่วนปนทรายลึกที่มีการระบายน้ำได้ดีชอบ pH ในช่วง 6.5 - 8 ทนได้ 6 - 8.5 ดินควรมีความสามารถในการกักเก็บความชื้นและควรปราศจากแคลเซียมคาร์บอเนต
-พืชที่ขยายพันธุ์จากหน่อจะเริ่มติดผลได้ภายใน 2 - 4 ปีและโดยปกติจะให้ผลผลิตเต็มที่ที่ 5 - 8 ปีแม้ว่าผลผลิตอาจเพิ่มขึ้นถึง 9 - 15 ปี ผลผลิตจะลดลงหลังจาก 40 - 50 ปี แต่ต้นไม้จะยังคงให้ผลผลิตไปจนถึงอายุ 75 ปี
ใช้ประโยชน์---อินทผลัมเป็นอาหารหลักของตะวันออกกลางและลุ่มแม่น้ำสินธุมานานหลายพันปี มีหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการเพาะปลูกอินทผลัมในอาระเบียตั้งแต่คริสตศักราชที่ 6
-ใช้กิน ผลของอินทผลัมมี สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม ซัลเฟอร์ เหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส แมกนีเซียม และน้ำมันโวลาไตล์ และอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร ซึ่งช่วยลดอาการท้องผูก รวมถึงให้พลังงานสูง บำรุงร่างกายที่อ่อนล้าให้กลับมีกำลัง นอกจากนี้ยังสามารถบำรุงกล้ามเนื้อมดลูกและสร้างน้ำนมแม่ด้วย
-ใช้เป็นยา อินทผลัมมีสรรพคุณทางด้านการรักษาโรคด้วยช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความหิว แก้กระหาย แก้โรควิงเวียนศีรษะ ช่วยลดเสมหะในลำคอ ทำให้กระดูกแข็งแรง ลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังฆ่าเชื้อโรค พยาธิและสารพิษที่ตกอยู่ในลำไส้และระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคอันเป็นสาเหตุ ให้เกิดโรคมะเร็งในช่องท้อง
-ใช้ปลูกประดับ อินทผลัมที่เราเห็นนำมาปลูกประดับเพื่อการจัดสวนนั้นไม่ใช่ต้นที่จะนำมาปลูกประดับเพื่อรับประทานกัน เป็นอีกชนิดพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Phoenix sylvestris (L.) Roxb. หรือเราเรียกกันว่า Indian date หรืออินทผลัมใบเงิน ส่วนต้นนี้นำมาปลูกประดับเพื่อรับประทานได้
-อื่่น ๆเนื้อไม้ในส่วนของลำต้นด้านนอกแข็งแรงและทนต่อปลวก มีมูลค่ามากสำหรับใช้ในการก่อสร้าง-เส้นใยที่ได้จาก ใบ โคนใบและเปลือก สามารถนำมาใช้ทำเชือก ตะกร้า หมวกและเสื่อ -ใบไม้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย มุงหลังคาอย่างดีใช้ทำหลังคาและผนังกระท่อม
ระยะออกดอก/ติดผล---
ขยายพันธุ์---เมล็ด ใช้เวลาในการงอก2-3เดือน

รวบรวมและเรียบเรียงโดย Tipvipa..V
รูปภาพ--ทิพพ์วิภา วิรัชติ
บริษัท สวนสวรส การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด
สวนเทวา  เชียงใหม่
www.suansavarose.com
www.suan-theva.com
4/4/2009
up date 5/11/2017
up date 5/1/2021

อ้างอิง,แหล่งที่มา

---The International Plant Names Index and World Checklist of Selected Plant Families 2017. Published on the Internet at http://www.ipni.org and http://apps.kew.org/wcsp/
---สำนักงานหอพรรณไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ -- กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549 http://www.dnp.go.th/botany/
---เว็บไซต์เมดไทย (MedThai) URL: https://www.medthai.com
---หนังสือ สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).
---หนังสือ สมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).
---หนังสือ พจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).
---หนังสือ รวมหลักเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช).
---หนังสือ การปรุงยาสมุนไพร ( อาจารย์เศรษฐมันต์ กาญจนกุล, รื่นรมย์พรรณไม้งาม, พืชสมุนไพร 1,2)
---หนังสือ สยามไภษัชยพฤกษ์ ภูมิปัญญาของชาติ. วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล, รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล, พร้อมจิต ศรลัมพ์, วิชิต เปานิล. 2538. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) กรุงเทพมหานคร.
---หนังสือ สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล, วิชิต เปานิล, รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล, นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, พร้อมจิต ศรลัมพ์. 2539. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง:กรุงเทพมหานคร.
---หนังสือ คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม ๒ เครื่องยาพฤกษวัตถุ ผู้เขียน ภก.ศ.ดร. ชยันต์ พิเชียรสุนทร, ภก.ศ.พิเศษ ดร. วิเชียร จีรวงส์ 2556 อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
http://tropical.theferns.info/viewtropical.
https://ms.warbletoncouncil.org/
https://www.growables.org/information/TropicalFruit/
https://medthai.com/
www.cabi.org/isc/datasheet/

Check for more information on the species:

Plants Database    ---Names, synonymy and distribution    The Garden.org Plants Database    https://garden.org/plants/
Global Plant Initiative    ---Digitized type specimens, descriptions and use    หอพรรณไม้ - กรมอุทยานแห่งชาติ    www.dnp.go.th/botany/Herbarium/GPI.html
Tropicos    ---Nomenclature, literature, distribution and collections    Tropicos - Home    www.tropicos.org/
GBIF    ---Global Biodiversity Information Facility    Free and open access to biodiversity data    https://www.gbif.org/
IPNI    ---International Plant Names Index    The International Plant Names Index - home page    http://www.ipni.org/
EOL    ---Descriptions, photos, distribution and literature    Global access to knowledge about life on Earth    Encyclopedia of Life eol.org/
PROTA       ---Uses    The Plant Resources of Tropical Africa    https://books.google.co.th/books?isbn=9057822040
Prelude    ---Medicinal uses    Prelude Medicinal Plants Database    http://www.africamuseum.be/collections/external/prelude
Google Images    ---Images       



            


ความคิดเห็น

  1. 1
    nameeman555
    nameeman555 namepy7824@gmail.com 12/11/2022 03:54
  2. 2
    Judy
    Judy amazingchelseakuo@gmail.com 12/07/2022 17:29

    great post! check <a href="https://en.amazingtalker.com/learning-tickets/english”>here</a>

  3. 3
    SMith Victor
    SMith Victor smithvictor2220@gmail.com 29/04/2022 19:51

    Instant assignment help provided by us is definitely something that is a must for students running short o the deadlines. However, the approach we follow is very systematic, and it allows us to provide an excellent service instantly. As soon as you order university assignment help Australia at Aussie assignment helper, let’s say an IT management assignment help course, we assign a relevant expert on your task to provide you with adequate assistance with the subject cited above.

  4. 4
    SMith Victor
    SMith Victor smithvictor2220@gmail.com 28/04/2022 17:47

     The students can get the best professionally competent software engineering assignment help which is taught to them in a manner that the universities openly accept. Several institutional guidelines are provided to the students for writing the assignments. The tutors at Aussie assignment helper make sure to consider all of them to help the students gain the best online assignment assistance. 

  5. 5
    SMith Victor
    SMith Victor smithvictor2220@gmail.com 27/04/2022 20:07

    The demand for mechanical engineers is growing and is highly demanded in sectors like biomedical, aerospace, environmental, aerospace and nanotechnology. Becoming one of the most popular fields of engineering, mechanical engineering assignment help also has a wide range of career opportunities that are diverse and innovative around all corners.

  6. 6
    Tsadik Law
    Tsadik Law almaza24map@gmail.com 02/03/2022 01:39

    What a nice variety of plant.


    Tsadik Law

  7. 7
    ahmed fathy
    ahmed fathy ahmedfathy856@gmail.com 14/01/2020 04:38

    <a href="http://msd-norge-as.com/%d8%a7%d8%b1%d8%ae%d8%b5-%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%aa%d9%86%d8%b8%d9%8a%d9%81-%d9%85%d9%86%d8%a7%d8%b2%d9%84-%d8%a8%d8%a7%d9%84%d8%b1%d9%8a%d8%a7%d8%b6/">ارخص شركة تنظيف منازل بالرياض 0509546352</a>


    <a href="http://msd-norge-as.com/%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%b9%d8%b2%d9%84-%d8%ae%d8%b2%d8%a7%d9%86%d8%a7%d8%aa/">شركة عزل خزانات بابها خميس مشيط الرياض0509546352</a>


    <a href="http://msd-norge-as.com/%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%aa%d9%86%d8%b8%d9%8a%d9%81-%d9%85%d9%86%d8%a7%d8%b2%d9%84-%d8%a8%d8%a7%d8%a8%d9%87%d8%a7/">شركة تنظيف منازل بابها 0509546352</a>


    <a href="http://msd-norge-as.com/%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%aa%d9%86%d8%b8%d9%8a%d9%81-%d8%ae%d8%b2%d9%86%d8%a7%d8%aa-%d8%a8%d8%a7%d8%a8%d9%87%d8%a7/">شركة تنظيف خزنات بابها 0509546352</a>


    <a href="http://msd-norge-as.com/%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%b1%d8%b4-%d9%85%d8%a8%d9%8a%d8%af%d8%a7%d8%aa-%d8%a8%d8%a7%d8%a8%d9%87%d8%a7/">شركة رش مبيدات بابها 0509546352</a>


    <a href="http://msd-norge-as.com/%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%aa%d9%86%d8%b8%d9%8a%d9%81-%d9%85%d8%ac%d8%a7%d9%84%d8%b3-%d8%a8%d8%a7%d8%a8%d9%87%d8%a7/">شركة تنظيف مجالس وسجاد بابها 0509546352</a>


    <a href=""<a href="http://msd-norge-as.com/%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%aa%d9%86%d8%b8%d9%8a%d9%81-%d8%b4%d9%82%d9%82-%d8%a8%d8%a7%d8%a8%d9%87%d8%a7/">شركة تنظيف شقق بابها وخميس مشيط 0509546352</a>


  8. 8
    14/01/2020 04:37

    <a href="http://msd-norge-as.com/%d8%a7%d8%b1%d8%ae%d8%b5-%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%aa%d9%86%d8%b8%d9%8a%d9%81-%d9%85%d9%86%d8%a7%d8%b2%d9%84-%d8%a8%d8%a7%d9%84%d8%b1%d9%8a%d8%a7%d8%b6/">ارخص شركة تنظيف منازل بالرياض 0509546352</a>


    <a href="http://msd-norge-as.com/%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%b9%d8%b2%d9%84-%d8%ae%d8%b2%d8%a7%d9%86%d8%a7%d8%aa/">شركة عزل خزانات بابها خميس مشيط الرياض0509546352</a>


    <a href="http://msd-norge-as.com/%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%aa%d9%86%d8%b8%d9%8a%d9%81-%d9%85%d9%86%d8%a7%d8%b2%d9%84-%d8%a8%d8%a7%d8%a8%d9%87%d8%a7/">شركة تنظيف منازل بابها 0509546352</a>


    <a href="http://msd-norge-as.com/%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%aa%d9%86%d8%b8%d9%8a%d9%81-%d8%ae%d8%b2%d9%86%d8%a7%d8%aa-%d8%a8%d8%a7%d8%a8%d9%87%d8%a7/">شركة تنظيف خزنات بابها 0509546352</a>


    <a href="http://msd-norge-as.com/%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%b1%d8%b4-%d9%85%d8%a8%d9%8a%d8%af%d8%a7%d8%aa-%d8%a8%d8%a7%d8%a8%d9%87%d8%a7/">شركة رش مبيدات بابها 0509546352</a>


    <a href="http://msd-norge-as.com/%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%aa%d9%86%d8%b8%d9%8a%d9%81-%d9%85%d8%ac%d8%a7%d9%84%d8%b3-%d8%a8%d8%a7%d8%a8%d9%87%d8%a7/">شركة تنظيف مجالس وسجاد بابها 0509546352</a>


    <a href=""<a href="http://msd-norge-as.com/%d8%b4%d8%b1%d9%83%d8%a9-%d8%aa%d9%86%d8%b8%d9%8a%d9%81-%d8%b4%d9%82%d9%82-%d8%a8%d8%a7%d8%a8%d9%87%d8%a7/">شركة تنظيف شقق بابها وخميس مشيط 0509546352</a>


  9. 9
    คุณไก่
    คุณไก่ nangpaya@hotmail.com 24/08/2017 15:35

    *_ขออนุญาตโพสนะครับ_*  ศูนย์บริการจำหน่ายกล้าพันธุ์ไม้ป่าและไม้ผล อาทิเช่น  สักทอง ยางนา พะยูง


     แดง ตะเคียน ทุเรียน ลองกอง มะม่วงทุกชนิด ทุกสายพันธุ์  ราคาไม่แพง จำหน่ายทั้งปลีกและส่งฟรีทั่วประเทศ   


    ผลงานเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศมากว่ายี่สิบปี


    สนใจติดต่อคุณไก่ 095-4654546  ,0946465654      


    ID line kai54654546


    Email nangpaya@hotmail.com


    ชมผลงานและคุณภาพกล้าพันธุ์ไม้ได้ที่ www.takuyak.com 


    หรือที่แฟนเพจ  คุณไก่กล้าพันธุ์ไม้  


    หรือชมคลิปที่ www.youtube.com ช่อง ชัยชนะ เสือเพ็ง


    หรือที่แฟนเพจ  ชมรมเกษตรกรผู้ปลูกไม้พะยูงแห่งประเทศไทย

  10. 10
    คุณไก่
    คุณไก่ ืnangpaya@hotmail.com 22/08/2017 11:36

    *_ขออนุญาตโพสนะครับ_*  ศูนย์บริการจำหน่ายกล้าพันธุ์ไม้ป่าและไม้ผล อาทิเช่น  สักทอง ยางนา พะยูง แดง ตะเคียน ทุเรียน ลองกอง มะม่วงทุกชนิด ทุกสายพันธุ์  


    ราคาไม่แพง จำหน่ายทั้งปลีกและส่งฟรีทั่วประเทศ   ผลงานเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศมากว่ายี่สิบปี


    สนใจติดต่อคุณไก่ 095-4654546  ,0946465654      


    ID line kai54654546


    Email nangpaya@hotmail.com


    ชมผลงานและคุณภาพกล้าพันธุ์ไม้ได้ที่ www.takuyak.com 


    หรือที่แฟนเพจ  คุณไก่กล้าพันธุ์ไม้  


    หรือชมคลิปที่ www.youtube.com ช่อง ชัยชนะ เสือเพ็ง


    หรือที่แฟนเพจ  ชมรมเกษตรกรผู้ปลูกไม้พะยูงแห่งประเทศไทย

  11. 11
    toey
    toey 21/02/2010 06:25

    อยากหาพันธุ์ดีๆปลูกจะทราบได้อย่างไรว่าได้พันธุ์แท้

  12. 12
    Jantragarn
    Jantragarn j.watthanakrai@gmail.com 10/01/2010 18:51

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

  Copyright 2005-2009 suansavarose All rights reserved.
view