สมาชิก




ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
 

เมนู

หน้าแรก

รวมรูปภาพ

เว็บบอร์ด

สนทนาคนรักต้นไม้

 

บทความ

หิน-หินเทียม

สารพัดต้นไม้จัดสวน

ไม้ประดับเพื่อการจัดสวน

ปลูกต้นไม้มงคล

เกี่ยวกับเรา

สวนสไตล์ต่างๆ

ต้นไม้ประจำจังหวัด ภูมิสัญญลักษณ์ของเมือง

มหัศจรรย์โลกพฤกษา

ว่าด้วยเรื่อง.....ดิน....และ..ปุ๋ย

พืชจัดสวนมีพิษที่ควรระมัดระวัง

เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็นสวนใหม่

จัดสวนพื้นที่ขนาดใหญ่

จัดสวนด้วยตัวเอง

ชื่อนั้นสำคัญไฉน

การทำบ่อเลี้ยงปลา และระบบกรองรักษาคุณภาพน้ำอย่างง่าย

มุมสวนสวยสำหรับคุณ

ในนี้มีอะไรเยอะแยะ

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/02/2008
ปรับปรุง 28/11/2023
สถิติผู้เข้าชม 15,839,531
Page Views 21,942,740
 
« December 2023»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

ต้นไม้ให้สี

ต้นไม้ให้สี

ต้นไม้ให้สี


สีธรรมชาติที่สกัดได้จากวัตถุดิบที่มาจาก พืชซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการตามธรรมชาติ แหล่งวัตถุดิบของสีธรรมชาติที่หาได้จากพืช  สามารถให้สีสันตามที่เราต้องการ และด้วยกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกันทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความสวยงามและ สีสันที่หลากหลาย หนึ่งในผลิตภัณ์ที่นิยมมากคือ สีย้อมผ้า

ต้นไม้ให้สีที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้  คือสีที่ได้จาก ส่วนต่างๆของ ต้นไม้ ได้แก่ ราก แก่น เปลือก ต้น ผล ดอก เมล็ด ใบ

ภาพ ขื่อ ลักษณะทั่วไป ส่วนที่ให้สี สีที่ได้

กระบก

ชื่อวิทยาศาสตร์:Irvingia malayana Oliv. Ex A.
วงศ์:SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น: กระบก ตระบก จะบก มะมื่น มื่น (เหนือ) จำเมาะ (เขมร), หมากบก บก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา)
 

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 10 - 30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ
ใบ เป็นใบเดียวเรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมขอบขนาดถึงรูปหอก ผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม
ดอก ขนาดเล็กสีขาวปนเขียวอ่อนออกช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม
ผล ทรงกลมรีเมื่อสุกสีเหลืออมเขียว เมล็ดแข็ง เนื้อในมีรสมัน
เปลือกของผลและเนื้อ สีดำ

กระถินณรงค์

ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia auriculaeformis Cunn.
วงศ์: LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEA
ชื่ออื่น: กระถินณรงค์

ไม้ต้นขนาดกลาง เรือนยอดแผ่กว้าง ทรงพุ่มใบและกิ่งก้านหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เมื่อยังเป็นกล้าอยู่ และร่วงไปเมื่อเจริญขึ้นเหลือเพียงก้านใบแล้วแปรรูปเป็นแผ่นคล้ายใบเรียง สลับถี่และห่างกันเป็นระยะๆ ก้านคล้ายใบรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลมทั้ง 2 ด้าน โค้งเป็นรูปเคียว

ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงออกเป็นคู่ๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ช่อหนึ่งๆ ประกอบด้วยดอกเล็กๆ เป็นกระจุกจำนวนมาก เกสรเพศผู้มีจำนวนมากสีเหลืองเมื่อดอกบานจึงทำให้เห็นช่อดอกมีสีเหลืองกลิ่น หอม ฝัก แบน บิดม้วนเป็นวงกลม 1 - 3 วง เมื่อแก่แตกออกทั้ง 2 ด้าน มี 5 - 12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลดำเป็นมัน

เปลือก น้ำตาลดำ

ขมิ้น

ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma longa Linn
วงศ์: ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น: ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น (ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) สะยอ  ( กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ขมิ้นเป็นพืชล้มลุก ต้นสูงประมาณ 50 - 70 ซม. มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแดงเข้มมีกลิ่นหอมเฉพาะ
ใบ เป็นใบเดี่ยวก้านยาวใบ เรียวและปลายแหลม กว้าง 12 - 15 ซม. ยาว 30 - 40 ซม.
ดอก เป็นดอกช่อทรงกระบอก มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรงยาว 7 - 15 ซม. ดอก ย่อยสีเหลืองอ่อน มีกลีบประดับสีเขียวอมชมพู ดอกบานครั้งละ 3-4 ดอก
ผล รูปกลม มี 3 พู

ราก, หัว เหลือง

ข่า

ชื่อวิทยาศาสตร์: Languas galanga (L.) stuntz, Alpinia galanga (L.) Wild.
วงศ์: ZINGIBERACEAE
ขื่ออื่น :ข่าซื่อ ข่าใหญ่ ข่าหลวง ข่าตาแดง ข่าลิง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)

เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 1.5 - 2 เมตร ใต้ดินเรียกว่าแหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนานกว้าง 7 - 9 เซนติเมตร ยาว 20 - 40 เซนติเมตร
ดอก จะออกเป็นช่อซึ่งจะออกที่ยอดดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอด สั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลับใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดงใบประดับรูปไข่
ผล มีลักษณะกลมโต ขนาดเท่าเม็ดบัวเมื่อแก่จะมีสีดำและเม็ดเล็กๆ อยู่ภายในมีรสขมเผ็ดร้อน

ราก สีแดง

ขี้เหล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia siamea Lamk.
วงศ์: Leguminosae
ชื่ออื่น : ขี้เหล็กแก่น, ขี้เหล็กบ้าน, ขี้เหล็กหลวง, ขี้เหล็กใหญ่, ผักจี้ลี้, แมะขี้เหละพะโดะ, ยะหา

ไม่ยืนต้นขนาดกลาง
ใบ เป็นใบประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 10 คู่ ใบเรียวปลายใบมนหยักเว้าเข้าหากันเส้นกลาง ใบเล็กน้อย โคนใบกลมสีเขียว ใต้ใบซีดกว่าด้านบนใบ และมีขนเล็กน้อย
ดอก เป็นช่อสีเหลือง
ฝัก แบนหนามีเมล็ดอยู่ข้างใน

แก่น, ใบ, เปลือก เขียวแกมเหลือง, น้ำตาลไหม้

เข/แกแล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner
วงศ์ :MORACEAE
ชื่ออื่น :แกก้อง สักขีเหลือง แกล แหรเข ช้างงาต้อก น้ำเคี่ยวโซ่ หนามเข

ไม้พุ่ม สูง 5 - 10 เมตร มียางขาว
ใบ เดี่ยว เรี่ยงสลับเวียนรอบกิ่งรูปวงรี กว้าง 1 - 3.5 ซม. ยาว 2 - 9 ซม. มีหนามแหลมออกตรงซอกใบ 1 อัน ยาวประมาณ 1 ซม.
ดอก ช่อออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น รูปกลม
ผล เป็นผลรวม

   แก่นไม้     ( เนื้อไม้) สีเหลือง

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Indigofera tinctoria Linn.
วงศ์: PAPILIONEAE
ชื่ออื่น : คราม (ไทย), คาม (เหนือ, อีสาน) ครามย้อม (กรุงเทพฯ)

เป็นไม้พุ่มขนาดย่อมมีหลายพันธุ์ เช่น ครามป่า ครามบ้าน ครามงอ ต้นสูงประมาณ 1 - 2 เมตร
ใบ เล็กกลม โตขนาดใบก้างปลาขาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ
ดอก ย่อยมีรูปดอกถั่วอาจมีสีชมพู สีแสด สีม่วงหรือสีขาว
ผล เป็นฝักขนาดเล็กออกเป็นกระจุก มีเมล็ดภายในคล้ายฝักถั่วเขียวยาว 1 - 3.5 เซนติเมตร ภายในมีประมาณ 6 - 12 เมล็ด

ใบ สีน้ำเงิน

คูน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula Linn.
วงศ์ :LEGUMINOSAE (FABACEAE) - CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่น :ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์

ไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5 - 15 เมตร
ใบประกอบด้วยใบย่อย 3 - 8 คู่ใบย่อยรูปไข่หรือรูปวงรี
ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ
ผล เป็นฝักกลมยาว สีน้ำตาลเข้มหรือดำ เปลือกแข็งภายในมีผนังกั้นเป็นห้องๆ แต่ละห้องจะมีเมล็ดอยู่หนึ่งเมล็ด

ฝัก น้ำตาลดำ

คำฝอย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Carthamus tinctorius Linn.                       วงศ์ :COMPOSITAE (ASTERACEAE)
ชื่ออื่น : ดอกคำ, คำ, คำยอง

พืชล้มลุกสูงราว 50 - 150 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสันเกลี้ยง
ใบ เดี่ยวเรียงสลับรูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาดกว้าง 1 - 5 เซนติเมตร ยาว 3 - 12 เซนติเมตร ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม
ดอก ออกรวมกันเป็นช่อที่ปลายยอดมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก
ผล เป็นผลแห้งไม่แตกมีรูปคล้ายไข่กลับ เบี้ยวๆ ขนาดผลยาว 0.6 - 0.8 เซนติเมตร สีขาวงาช้างปลายตัดมีสัน 4 สัน มีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ขนาดเล็ก

ดอก สีแดง

แค


ชื่อสามัญ: Sesban
ชื่อพฤกษศาสตร์ :sesbania grandiflora, (l) pOir

วงศ์: Papillonaceae ชื่ออื่น: แคบ้าน แคขาว แคแดง

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
ใบ เป็นประกอบมีใบย่อย 10 - 30 คู่ ผิวใบมีขนเล็กน้อย
ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 2 - 3 ดอก มีทั้งดอกสีขาวและ ดอกสีแดง
ฝัก มีลักษณะแบนหนา ปลายฝักแหลม ภายในมีเมล็ด 15 - 50 เมล็ด

เปลือก สีน้ำตาล

คำเงาะ

ชื่อสามัญ : Anatto Tree

วงศ์ : BIXACEAE
ชื่ออื่น : คำเงาะ (ไทย), คำแฝด ( กรุงเทพ), จ้ำปู้ ส้มปู้ (เขมร - สุรินทร์)

ไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางมีพุ่มทึบมีลำต้นสูงประมาณ 9 - 10 เมตร ลำต้นมีสีเทาอมน้ำตาลเปลือกหยาบและขรุขระ
ใบ มีสีเขียวแต่เมื่อใบอ่อนจะมีสีแดงสีเลือดหมูใบจะมีทั้งที่คล้ายรูปไข่และใบโพธิ์แล้วแต่พันธุ์
ดอก ออกเป็นช่อใหญ่อยู่ตามปลายยอดสีชมพู
ผลอ่อนสีแดงคล้ายเงาะและมีขน เมื่อผลแก่จะมีสีน้ำตาลมีขนปกคลุมเต็มคล้ายกับลูกเงาะจึงเรียกว่า คำเงาะเมล็ดสีน้ำตาลแดงเข้มมี 9 - 13 เมล็ดต่อ 1 ผล ซึ่งจะเรียกเมล็ดของคำเงาะว่าลูกแสด

เมล็ด สีแดงส้ม, น้ำตาลแดงส้ม

จามจุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์: Samanea saman (Jacg) Merr.
วงศ์: MIMOSACEAE
ชื่ออื่น :  กร้ามกราม ก้ามปู ฉำฉา ลัง สารสา ตุ๊ดตู่ ก้ามกุ้ง พฤกษ์ กระซึก ซึก ก้านฮั้ง กรีด คะโก จะเร ชุงรุ้ง จ๊าขาม จามรี ถ่อนนา ทิตา พญาบุก มะขามโคก

เป็น พันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ที่มีลำต้นสูง 10 - 20 เมตร แตกกิ่งก้าน สาขาแผ่กว้าง เปลือกสีของลำต้นมีสีดำเป็นเกล็ดแตกล่อน
ใบประกอบรูปขนนก
ดอกออกรวมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุกบนก้านช่อตามซอก ใบใกล้ปลายกิ่งสีชมพูอ่อนหรือสีขาวนวล
ผลเป็นฝักยาวแบนหนารูปขอบขนานหรือโค้ง โคนฝักมนสีดำ หรือสีน้ำตาลคล้ำ เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลอมดำเนื้อในสีดำมีเนื้อนิ่ม รสหวาน เมล็ดเล็ก รูปรีค่อนข้างกลมมี 15 - 20 เมล็ด

เปลือก สีนวลอมชมพู

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Diospyios rhodcalyx.
วงศ์: EBENACEAE

ชื่ออื่น : ตะโกนา, โก, นมงัว, มะโก, มะถ่าน, ไฟผี, พระยาช้างดำ

ไม้ ยืนต้นขนาดกลาง พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วๆ ไป สูงประมาณ 15 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็งและเหนียว อายุยืนยาว ลำต้นมีเปลือกหุ้มสีดำแตกเป็นสะเก็ดหนาๆ
ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับกันรูปไข่ หรือรูปป้อมๆ โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ป้อมหรือป้าน ปลายใบโค้งมน ป้าน เว้าเข้า หรือหยักคอดเป็นติ่งสั้นๆ ผิวเกลี้ยงเขียวสด ใบดกและหนาทึบ
ดอก จะออกตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 1 - 3 มม. มีขนนุ่ม
ผล กลมเมื่ออ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง โคนและปลายผลมักบุ๋ม มียางมาก รสฝาด

ผล สีดำ

ตะแบก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagerstroemia floribunda Jack
วงศ์ :LYTHRACEAE
ชื่ออื่น : กระแบก (สงขลา), ตราแบกปรี้ (เขมร), ตะแบกไข่ (ราชบุรี, ตราด), ตะแบกนา ตะแบก (ภาคกลาง, นครราชสีมา), บางอตะมะกอ (มลายู-ยะลา, ปัตตานี), บางอยะมู (มลายู - นราธิวาส), เปื๋อยนา (ลำปาง), เปื๋อยหางค่าง (แพร่)

ไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15 - 30 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอมขาว แตกล่อนเป็นหลุมตื้น
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ
ดอก สีม่วงอมชมพู ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์
ผล รูปรี เมล็ดมีปีก

เปลือก สีน้ำตาล

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gratoxylum tormosurn (Jack)Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin
วงศ์: GUTTIFERAE
ชื่ออื่น : แต้ว (ไทย, ติ้วขน ( กลางและราชสีมา), ติ้วแดง ติ้วยาง ติ้วเลือด (เหนือ), แต้วหิน (ลำปาง) กุยฉ่องเช้า ( กะเหรี่ยงลำปาง), เตา (เลย, ติ้วขาว (กรุงเทพ), ติ้วส้ม (นครราชสีมา), ผักติ้ว ( อุบลราชธานี มหาสารคาม - อีสาน

เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 8 - 15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกน้ำตาลไหม้แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมา
ใบ ใบมนแกมรูปไข่กลับและรูปขอบขนาดกว้าง 2 - 5 เซนติเมตร ยาว 3 - 13 เซนติเมตร ออกเป็นคู่ๆ ตรงกันข้าม ใบมีขนนุ่มหนาแน่น
ดอก สีชมพูอ่อนถึงสีแดงกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นดอก
ผล รูปร่างรีขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร มีสีขาวนวลติดตามผิว เมื่อแก่จัดจะแตกออกเป็นสามแฉกมีเมล็ดสีน้ำตาล

เปลือก สีน้ำตาล

เถาคันขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Cayratia trifolia (L.) Domin.

วงศ์ : VITACEAE

ชื่ออื่น :เครือพัดสาม

ไม้ เลื้อยเนื้ออ่อน มีมือเกาะ ใบประกอบมี 3 ใบย่อย แผ่นใบด้านล่างมีขนเล็กน้อย เมื่อสดอวบน้ำ ใบย่อยปลายสุดรูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1-4 ซม. ยาว 1.5-6 ซม. ขอบใบจักซี่ฟัน ใบย่อยคู่ข้างรูปไข่เบี้ยวและขนาดเล็กกว่า ดอกออกเป็นช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน ผลแบบผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด รูปร่างกลมแป้น ขนาด 0.5-1 ซม. ผลสุกสีดำ

ผลสุก สีดำ

ทองกวาว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Butea monosperma
วงศ์: LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ: Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่ออื่น :กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้), จ้า ( เขมร) ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10 - 15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน
ใบ ประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งคล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน
ดอก ออกดอกเดือนธันวาคม - มีนาคม
ผล เป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก

ดอก สีส้ม

ทองหลาง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythrina variegata L.
วงศ์ :LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ: Indian Coral Tree, Variegated Tiger's Claw
ชื่ออื่น : ปาริชาติ ปาริฉัตร ทองบ้าน ทองเผือก ทองหลางด่าง มังการา (ฮินดู)

ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 5 - 10 เมตร ตามกิ่งต้นอ่อนมีหนาม เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง
ใบ ประกอบมี 3 ใบย่อย ใบกลางจะโตกว่า 2 ใบข้าง เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบสีเหลือง
ดอก รูปดอกถั่วสีแดงเข้ม ออกรวมกันเป็นช่อยาวประมาณ 30 - 40 เซนติเมตร
ผล เป็นฝักยาว 15 - 30 เซนติเมตร

ดอก สีแดง

นนทรี

ชื่อวิทยาศาสตร์: Peltophorum pterocarpum Back. ex Heyne
วงศ์: Leguminosae
ชื่ออื่น :กระถินแดง กระถินป่า สารเงิน

ไม้ ต้นผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง สูง 8 - 15 เมตร ชอบขึ้นตามป่าชายหาด เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ทั่วไป เรือนยอดเป็นรูปร่มหรือรูปทรงกลมกลายๆ มีผู้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมากเพราะพุ่มใบและดอกสวยงาม นอกจากนี้ใบที่ร่วงๆ ยังใช้ทำปุ๋ยปลูกพวกกล้วยไม้ดินและไม้ดอกอื่นๆ ได้ดีมาก นนทรียังใช้พันธุ์ไม้ชนิด P.dasyrachis Kurz อีกด้วย ชนิดนี้หูใบจักย่อยเป็นฝอย ช่อดอกไม้แตกแขนงจะออกทางด้านข้างของกิ่งตามง่ามใบห้อยย้อยลง ก้านดอกจะโค้งกลับและเมล็ดเรียงตามขวาของฝัก พบขึ้นตามป่าผสมและป่าโปร่งทั่วๆ ไป

เปลือก ชมพูแดง, แดงน้ำตาล

ปีบ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Millingtonia hortensis Linn. F.
วงศ์ :BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ), เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง - กาญจนบุรี), ปีบ (ภาคกลาง)

ไม้ยืนต้นสูง 5 - 25 เมตร เปลือกขรุขระสีเทา ตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุดๆ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่แกมรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าหรือหยักกลมๆ เรียบ โคนใบกลม มีต่อมขนอยู่ตรงมุมระหว่างเส้นกลางใบและเส้นใบ
ดอก ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งตรง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อเล็กๆ ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนกลีบใกล้ปลายที่แยกออก
ผล เป็นฝัก เมล็ดมีปีก

เปลือก สีเหลือง

ฝรั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Psidium guajava “Variegata”
วงศ์ :MYRTACEAE
ชื่อสามัญ: Guava
ชื่ออื่น: มะก้วย, มะปุ่น, มะมั่น, ยามู, มะจีน, สีดา, ยะริง

ไม้พุ่มขนาดกลางแตกกิ่งก้านสาขามาก
ใบ หนาและแข็งใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงกันข้าม บิดเล็กน้อย รูปใบรีปลายใบและโคนใบมน หลังใบจะมีขนอ่อนนุ่ม ท้องใบจะหยาบเห็นเส้นใบเป็นร่างแหชัดเจนมาก พื้นใบมีสีเขียวอมเทา ยอดอ่อนมีขนอ่อนสั้นๆ
ดอก ออกดอกตรงส่วนยอดของกิ่งก้านต้นช่อละ 2 - 3 ดอก สีขาว
ผล ผลดิบสีเขียวสุกสีเขียวปนเหลือง เนื้อในสีขาว เมล็ดมากสีน้ำตาลอ่อน

เปลือก สีน้ำตาล

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Caesalpinia sappan Linn.
วงศ์ : CAESALPINIACEAE
ชื่ออื่น : ฝางเสน, ง้าย, หนามโค้ง

เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ลำต้นมีหนามโค้งสั้นๆ ในธรรมชาติอาจพบที่เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ใบ เป็นช่อแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับกันแต่ละช่อประกอบด้วยใบย่อยรูปขอบขนานแคบๆ ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ปลายใบมนและหยักเว้าตรงกึ่งกลางเล็กน้อยผิวใบเกลี้ยง ทั้ง 2 ด้าน ขอบใบเรียบ

ดอก สีเหลืองออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่งและง่ามใบใกล้ๆ ปลายกิ่ง กลีบรองดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบเกยซ้อนทับกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น กลีบดอกมี 5 กลีบรูปไข่กลับ

แก่น, ราก, ฝัก สีบานเย็น, ชมพู, แดงเลือดหมู, สีเหลือง

พฤกษ์

ชื่อสามัญ :Siris, Kokko, Indian Walnut
ชื่อวิทยาศาสตร์: Albizia lebbeck Benth.
วงศ์: LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : ก้ามปู ชุงรุ้ง พฤกษ์ (ภาคกลาง), กะซึก (พิจิตร), กาแซ กาไพ แกร๊ะ ( สุราษฎร์ธานี), คะโก (ภาคกลาง), จ๊าขาม (ภาคเหนือ), จามจุรี ซึก (กรุงเทพฯ), ทิตา ( กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

เป็น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 20 - 30 เมตร ผลัดใบ เปลือกนอกขรุขระ สีเทาแก่ แตกเป็นร่องยาว เปลือกในสีแดงเลือดนก กระพี้สีขาว แยกจากแก่น กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนละเอียดประปราย
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก แกนช่อใบยาว บนแก่นช่อมีช่อแขนงด้านข้าง ใบรูปรี ปลายใบมน โคนใบกลมหรือเบี้ยว หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนละเอียด
ดอก ออกดอกสีขาวเป็นช่อกลมตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
ผล เป็นฝักรูปบรรทัด แบนและบาง สีเทาอมเหลือง หรือสีฟางข้าว ผิวเกลี้ยงเป็นมัน เมล็ดรูปไข่

เปลือก สีแดง

พะยอม

ชื่อวิทยาศาสตร์: Shorea roxburghii G. Don
วงศ์: DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ: Shorea
ชื่อท้องถิ่น กะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง ( ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นสูง 15 - 30 เมตร และมีเนื้อไม้แข็ง สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียว
ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวแผ่นใบรูปมนรี เรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ท้องใบเป็นเส้นแขนงใบนูนมองเห็นชัด
ดอก เป็นช่อขนาดใหญ่ สีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
ผล เป็นรูปรีกลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปีกคล้ายผลยาง

เปลือก สีแดงเหลือง, น้ำตาลส้ม

พุดทรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Zizyphus mauritiana Lamk.
วงศ์ :RHAMNACEAE
ชื่ออื่น : ภาคเหนือ เรียก มะตันหลวง, มะท้อง, มะตอง, มะตันต้น ภาคอีสาน เรียก หมากทัน

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางใบ กลมโตขนาด 1 นิ้ว ตามต้นและกิ่งก้านมีหนาม
ดอก ออกดอกเป็นช่อเหลืองเล็กๆ มีกลิ่นเหม็นมาก
ผล กลม บางชนิดผลกลมปลายแหลมคล้ายผลละมุดไทย บางชนิดมีรสหวานสนิท บางชนิดก็เปรี้ยวและฝาด โดยมากที่เกิดเองในป่ามีรสเปรี้ยว ฝาด

เปลือก สีเขียว

เพกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Oroxylum indicum (Linn.) Vent.
วงศ์: BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น: มะลิดไม้, มะลิ้นไม้, ลิ้นฟ้า, หมากลิ้นฟ้า, หมากลิ้นช้าง, บักลิ้นฟ้า
 

ไม้ยืนต้นสูง 3 - 12 เมตร เปลือกเรียบ
ใบ เป็นใบประกอบยาว 30 - 200 ซม.มีใบย่อยจำนวนมาก รูปร่างคล้ายไข่ ปลายใบแหลม ใบกว้าง 4 - 8 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ยาว 50 - 150 ซม. ดอกย่อยมีสีม่วงแดง
ผล เป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบ กว้าง 6 - 15 ซม.ยาว 60 - 120 ซม. ภายในมีเมล็ด แบนและมีเยื่อบางๆ อยู่ล้อมรอบ

เปลือก เขียวอ่อน, เขียวขี้ม้า

มะเกลือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Diospyros mollis Griff.
วงศ์ :EBENACEAE
ชื่อสามัญ: Ebony Tree
ชื่ออื่น: ผีเผา (เงี้ยว - ภาคเหนือ),มะเกลือ (ทั่วไป), มักเกลือ หมักเกลือ มะเกลือ (ตราด), มะเกีย มะเกือ (พายัพ-ภาคเหนือ), เกลือ (ภาคใต้)

ไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เปลือกเป็นรอยแตก กิ่งอ่อนมีขนนุ่มประปราย
ใบ ขนาดเล็ก รูปไข่หรือรูปรี ปลายสอบแคบเข้าหากัน ส่วนโคนใบกลมมน เนื้อใบบางเกลี้ยง ท้องใบเห็นเส้นใบชัด ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ
ดอก เพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย
ผล เป็นผลสดทรงกลมผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
ผล สีดำ, เทา

มะขามป้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus emblica Linn.
วงศ์: EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น: สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กำทวด (ราชบุรี), กันโตด (เขมร-จันทบุรี)

มะขามป้อมเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 7 เมตร เปลือกค่อนข้างเรียบเกลี้ยงยาวประมาณ 1 ซม. ปลายใบแหลมยาวรี มีสีเขียวแก่

ดอก เป็นดอกช่อหรือเป็นกระจุกเล็กๆ ลักษณะของดอกขนาดเล็ก ดอกหนึ่งมีประมาณ 5 - 6 กลีบ กลางดอกมีเกสรตัวผู้สั้นๆ 3 - 85 อัน ดอกมีสีเหลืองอมเขียว

เปลือก, ใบ สีน้ำตาลแกมเหลือง

มะตูม

ชื่อวิทยาศาสตร์: Aegle marmelos (Linn.) Corr
วงศ์: RUTACEAE
ขื่ออื่น : มะปิน (เหนือ), กะทันตาเถร, ตูม ตูมดัง (ใต้), มะตูม (กลาง, ใต้), บักตูม, หมากตูม (อีสาน), พะเนิว ( เขมร)

มะตูมเป็นไม้ขนาดกลางสูงถึง 15 เมตร ตามลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งแหลมคม
ใบ มีใบย่อยสามใบออกเวียนกันรอบกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปหอกแกมรูปไข่ปลายเรียวแหลมกว้าง 1.75 - 7.5 เซนติเมตร ยาม 4 - 13.5 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นใบเลื่อยฐานใบมน ใบมีกลิ่นหอมหากนำมาส่องแดดจะเห็นเนื้อใบมีต่อมน้ำมันจุดใส ๆ กระจายอยู่ดอกเป็นดอกช่อออกตรงปลายกิ่งหรือซอกใบ ดอกย่อยสีขาวหรือขาวปนเขียวมีกลิ่นหอมไกล
  ผลอ่อนจะมีเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีเขียวอมเหลือง ผลมีเนื้อเป็นสีส้มปนเหลือง เนื้อนิ่ม มีเมล็ดมากแทรกอยู่ในเนื้อผล

ผล สีเหลือง
มะหาด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus lakoocha Roxb.
วงศ์: URTICACEAE
ชื่อสามัญ: Lok Hat
ชื่ออื่น : กาแย ตาแป ตาแปง (มลายู - นราธิวาส), มะหาด (ภาคใต้), มะหาดใบใหญ่ (ตรัง), หาด
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกขรุขระแตกเป็นรอยสะเก็ดเล็กๆ มียางไหลซึมใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเว้ามน ใบอ่อนมีขน
ดอก เป็นช่อตามบริเวณง่ามใบ มีสีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
ผล กลมขนาดใหญ่เปลือกนอกมีผิวขรุขระ
แก่น สีเหลือง
มะพร้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cocos nucifera Linn.
วงศ์: PALMAE
ชื่อสามัญ: Coconut
ชื่ออื่น: จันทบุรี เรียก ดุง กาญจนบุรี เรียก โพล แม่ฮ่องสอน เรียก คอส่า ทั่วไป เรียก หมากอุ๋น หมากอูน จีน เรียก เอี่ยจี้
ไม้ยืนต้น สูงชะลูด 7 - 10 เมตร เปลือกลำต้นแข็ง
ใบ ออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเป็นแผ่นแคบยาว เรียงสลับกันเป็นรูปขนนกปลายใบแหลม
ดอก ออกเป็นช่อตามบริเวณกาบที่หุ้ม ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ
ผล เป็นรูปกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 - 9.5 นิ้ว เปลือกนอกเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่มีสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา เนื้อผลมีสีขาวนุ่ม และมีน้ำใสรสจืดหรือหวาน
กาบมะพร้าวแห้ง น้ำตาลแดง

มะพูด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia duleis Kurz
วงศ์ :GUTTIFERAE
ชื่ออื่น : มะพูด อีสาน เรียก ปะหูด, มะหูด ,เขมร เรียก ประโฮด, มะนู, ตะพูด, จำพูด, พะวา, ส้มปอง, ส้มม่วง


ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ใบ ใหญ่หนามันเป็นรูปไข่ยาวรีคล้ายใบมังคุด แต่ปลายใบจะแหลมกว่า
ดอก สีเขียวอมเหลือง
ผล ใหญ่ขนาดส้มเขียวหวานผลดกออกตามกิ่ง ผลดิบสีเขียว ผลแก่มีสีเหลือง เมื่อสุกจะมีสีสัน เนื้อในผลสีเหลืองจำปา รสเปรี้ยวอมหวาน รับประทานเป็นอาหารได้
ราก สีตองอ่อน (กระดังงา)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus acidus Skeels
วงศ์: EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น: ทั่วไป เรียก มะยม ภาคอีสาน เรียก หมักยม, หมากยม ภาคใต้ เรียก ยม

มะยม เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 - 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 - 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ
ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ
ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
เปลือก สีน้ำตาล

มังคุด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia mango-stana Linn.
วงศ์: CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : แมงคุด มังคุด

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
ใบ ใหญ่หนาและเป็นมัน
ดอก ออกเป็นช่อ แยกได้เป็น ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้สีเหลืองอมแดงหรือสีม่วงแดงเข้ม
ผล ผลหนึ่งๆ มีเมล็ด 5 - 8 เมล็ดมีรก (Arill) สีขาวหุ้มอยู่ เป็นส่วน ที่ใช้รับประทาน มีรสหวานอมเปรี้ยว
เปลือกของผล, ใบ สีชมพู, ส้ม
ยอบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Morinda citrifolia Linn.
วงศ์ :Rubiaceae
ชื่ออื่น :มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ ยอบ้าน (ภาคกลาง) แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยอ ภาคอีสาน
ไม้ยืนต้นขนาดกลางลำต้นตรงสูงประมาณ 3 - 8 เมตรใบใหญ่หนา สีเขียวสดดอก รวมกันเป็นช่อกลม
ผล กลมยาวรีมีตาเป็นปุ่มรอบผล ลูกอ่อนมีสีเขียวสด ผลสุกสีขาวนวล ออกดอกออกผลตลอดปี ส่วนผลออกมากในช่วงฤดูหนาว

เปลือก, ราก น้ำตาลแดง
ยอป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์: Morinda coreia Ham.
วงศ์: RUBIACEAE
ชื่ออื่น : ยอป่า (ไทย, อีสาน, ใต้) สลักป่า, สลักหลวง (พายัพ) อุ้มลูกดูหนัง (สระบุรี) กะมูดู (มลายู)
ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูงประมาณ 4 - 15 เมตร ต้นใบกิ่งก้านคล้ายยอบ้านใบแคบยาว
ผล กลมผิวนอกเป็นปุ่มปมไม่ลึกเหมือนยอบ้านทั้งมีขนาดเล็กกว่า กลิ่นฉุนน้อยกว่าเนื้อเยื่อข้างในขาวและมีน้ำมาก
ดอกออกระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม และเป็นผลระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม
ราก เหลือง, แสด, แดงน้ำตาล

ยูคาลิปตัส

ชื่อวิทยาศาสตร์: Eucatyptus glopulus Labill
ชื่อสามัญ: Blue gum

ไม้ยืนต้น ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบมันสีน้ำตาลอ่อนขาว
ใบ เดี่ยวรูปหอกปลายแหลม
ดอก เป็นพู่เล็กๆ เหมือนดอกกระถิน เมื่อขยี้ใบ ดมดูจะมีกลิ่นฉุน
ใบ, เปลือก เขียวอ่อน, น้ำตาล, เทาดำ
สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia chebula Retz.
วงศ์: COMBRETACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
ใบเดี่ยวทรงกลมรีเล็กน้อยปลายแหลมเล็กๆ ใบมีขนสั้นๆ สีเขียวเข้ม เส้นใบขนาน
ดอก ดอกเล็กๆ เป็นช่อโต
ผล กลมรีมีเหลี่ยมมนๆ 6 เหลี่ยม สีเขียวอมเหลืองแซมแดงเล็กน้อย เมล็ดรูปกระสวย เมล็ดเดียว
เปลือก, ผล เขียว, เหลือง, เทาดำ
สะเดา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Azadirachta indica A. Juss. (Var.siamensis Valeton)
วงศ์: MELIACEAE
ชื่อสามัญ: Neem Tree
ชื่ออื่น :กะเดา (ภาคใต้), จะตัง (ส่วย) สะเดา ( ภาคกลาง) สะเลียม (ภาคเหนือ) สะเดาบ้าน (ทั่วไป)
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 20 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกออกสลับ ใบย่อยเรียวแหลมโคน ใบเบี้ยวขอบใบจักไม่เป็นระเบียบ
ดอก สีขาวนวลออกเป็นช่อใหญ่ตามปลาย กิ่งกลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อันโคนก้านดอกติดกันเป็นหลอด ออกดอกเดือนธันวาคม-มกราคม
ผล เป็นผลสดกลมรี ผิวบางมีเนื้อฉ่ำน้ำ ผลแก่สีเหลือง
ใบ, เปลือก, แก่น เขียวแดง, น้ำตาลแดง, น้ำตาลเข้ม

สะแกนา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Combretum quadrangulare Kurz
วงศ์: COMBRETACEAE
ขื่ออื่น : สะแกนา, แพ่ง (เหนือ) ขอยแข้, จองแค่ (แพร่) แก (อีสาน) ซังแก (เขมร)

ไม้ยืนต้นขราดกลางสูง 5 - 10 เมตร กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสีเขียวรูปวงรี กว้าง 3 - 8 เซนติเมตร ยาว 6 - 15 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว
ผล เป็นผลแห้ง 4 ครีบ เมล็ด สีน้ำตาลแดงรูปกระสวยมี 4 สันตามยาว
เปลือก สีน้ำตาลอ่อน
สัก

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Tectona grandis L.f.
วงศ์ :VERBENACEAE
ชื่อสามัญ :Teak
ชื่ออื่น : เซบ่ายี้ ปีฮือ ปายี้ เป้อยี
ไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบเปลือกสีเทาเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตาม ความยาวลำต้น
ใบ เดี่ยวใหญ่มากออกตรงข้ามกันเป็นคู่ปลายใบแหลมโคนมนยาว 25 - 30 เซนติเมตร กว้างเกือบเท่ายาว ใบของต้นอ่อนจะใหญ่กว่า นี้มาก ผิวใบขนสากคายสีเขียวเข้ม ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด
ดอก ขนาดเล็ก สีขาวนวลออกเป็นช่อตาม ปลายกิ่ง
ผล แห้งค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1 - 3 เมล็ด
ใบอ่อน, เปลือก, แก่น สีเหลืองแดง, ครีม, กากี
สาบเสือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chromolaena odorata (L.) King et Robins.(Eupatorium odoratum L.)
วงศ์ COMPOSITAE (ASTERACEAE)
ชื่อท้องถิ่น หญ้าเมืองควาย, หญ้าเมืองฮ้าง(เหนือ); หญ้าเหม็น (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสูงได้ถึง 1.5 เมตร ทุกส่วนของต้นขณะที่ยังอ่อนอยู่มีขน
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่ ผิวใบมีขน กว้าง 2 - 6.5 ซม. ยาว 5.5 - 11.5 ซม.
ดอก ช่อออกที่ปลายกิ่งกลีบดอกสีขาวหรือขาวแกมม่วง
ผล แห้งไม่แตกลักษณะเป็นเส้นยาวแบน มีขน
ใบ สีเขียว
ส้มป่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Acacia rugata Merr
วงศ์: MIMOSACEAE
ชื่ออื่น : ทั่วไป เรียก ส้มป่อย ฉาน - แม่ฮ่องสอน เรียก ส้มขอน แพร่ เรียก เอกราช
ไม้เลื้อย มีเถาเป็นเนื้อไม้และมีหนามที่เปลือกของลำต้น ลำต้นเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ บริเวณยอดอ่อนเถาจะเป็นสีแดงคล้ำมีหนามอ่อน
ใบ เป็นใบประกอบ ก้านใบประกอบยาว 6 - 16 ซม. ก้านใบยาว 1.5 - 5.2 ซม. ประกอบด้วยใบ 5 - 10 คู่ มีใบย่อย 10 - 35 คู่ ในแต่ละก้าน ใบย่อยสีเขียวขนาดเล็ก
ดอก จะแตกออกจากง่ามใบลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายดอกกระถิน และมีเกสรเป็นขนอ่อนๆ รอบดอก เมื่อดอกแก่จะกลายเป็นฝักยาว
ผล เป็นฝัก ผิวของฝักมีคลื่นขรุขระ ฝักยาว 10 - 15 ซม. เปลือกของฝักอ่อนเป็นสีเขียวอมแดง พอแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดเรียงอยู่ภายใน
ใบ สีเหลือง

หูกวาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Treminalia catappa Linn
ชื่อสามัญ: Bengal Almond, Almond, Sea Almon
ชื่ออื่น : โคน(นราธิวาส) ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง) ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล) หูกวาง (ภาคกลาง)

ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8 - 25 เมตร เปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น
ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่งแผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 8 - 15 ซ. ม. ยาว 12 - 25 ซ.ม. ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบสอบแคบเว้า มีต่อม 1 คู่
ดอก ขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตาม ซอกใบมีลักษณะเป็นแท่งยาว 5 - 12 ซ.ม.
ผล เป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อมๆ แบนเล็กน้อย กว้าง 2 - 5 ซ.ม. ยาว 3 - 7 ซ.ม. เมื่อแห้งสีดำคล้ำ
ใบ สีเขียว
หว้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Syzygium cumini (Linn.)
วงศ์: MYRTACEAE
ชื่อสามัญ :Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum
ชื่ออื่น: ห้าขี้แพะ (เชียงราย)
ไม้ยืนต้นสูง 10 - 25 เมตร
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบมน
ดอก สีขาวออกเป็นช่อตามง่ามใบ เกสรยาวเป็นพู่
ผล เป็นผลสดรูปรี ดิบสีเขียว สุกสีม่วงดำ
ผล สีม่วงvjอน
ห้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์: Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek ,Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay
วงศ์:ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : ฮ่อม, ฮ่อมเมือง (เหนือ)
ไม้พุ่มลำต้นตั้งตรงสูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นเหง้ารูปทรงกระบอกบริเวณข้อโป่งพอง
  ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปวงรีกว้าง 2.5 - 6 ซ.ม.ยาว 5 - 16 เซนติเมตร ขอบใบหยักฟันเลื่อยละเอียด
ดอกช่อออกที่ซอกใบมีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีม่วงเชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งงอเล็กน้อย
ผล แห้งแตกได้เมล็ดแบนสีน้ำตาล
ใบ สีน้ำเงิน
อัญชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitornia ternatea L.
วงศ์ LEGUMINOSAE

ไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นกลมตรง มีลักษณะเป็นข้อปล้อง
ใบ แคบเรียวยาว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น พื้นใบเป็นสีเขียว มีลายด่างขาวเป็นแนวยาวตามความยาวของใบ
ดอก สีม่วงอ่อน
  Copyright 2005-2009 suansavarose All rights reserved.
view