เปิดเว็บไซต์ |
15/02/2008 |
ปรับปรุง |
15/01/2021 |
สถิติผู้เข้าชม |
9,824,537 |
Page Views |
15,018,334 |
|
«
| January 2021 | »
|
---|
S | M | T | W | T | F | S |
---|
| | | | | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | | | | | | |
|
|
30/05/2020
View: 109,949

ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-1
For information only-the plant is not for sale.
1 |
กรรณิการ์/Nyctanthes arbor-tristis |
29 |
ไข่ดาว/Oncoba spinosa |
2 |
กะตังใบ/Leea indica |
30 |
รวงผึ้ง/Schoutenia glomerata |
3 |
กาหลง/Bauhinia acuminata |
31 |
คอร์เดีย/Cordia sebestina |
4 |
ชงโค/Bauhinia purpurea |
32 |
แปรงล้างขวด/Callistemon viminalis |
5 |
โยทะกา-พญากาหลง/Bauhinia tomentosa. |
33 |
รักทะเล/Scaevola taccada |
6 |
รัตมา/Parkinsonia aculeata |
34 |
โมกบ้าน/Wrightia religiosa. |
7 |
ข้าวหลาม/Goniothalamus marcanii |
35 |
มะตูมแขก/Schinus terebinthifolius |
8 |
บุหรง/Dasymaschlon dasymaschalum |
36 |
มะเดื่อหอม |
9 |
บุหรงใบอ่อนสีน้ำตาล/Dasymaschalon blumei |
37 |
ลีลาวดีลูกศร/Plumeria pudica |
10 |
บุหงาลำเจียก/Goniothalamus tapis |
38 |
หูกระจงแดง/Terminalia benzoe |
11 |
บุหงาปัตตานี/Goniothalamus sp |
39 |
ทรงบาดาล/Senna surattensis |
12 |
บุหงาเซิง/Friesodielsia desmoides |
40 |
พรวด/Rhodomyrtus tomentosa |
13 |
พวงไข่มุก/Sambucus canadensis |
41 |
พังแหรใหญ่/Trema orientalis |
14 |
มโนรมย์/ Erythrina crista-galli |
42 |
นมแมว/Melodorum siamense |
15 |
เทียนกิ่ง/Lawsonia inermis |
43 |
ฝาดขาว/Lumnitzera racemosa |
16 |
ฝ้ายแดง/Gossypium arboreum |
44 |
ฝาดแดง/Lumnitzera littorea |
17 |
หม่อน/Morus alba |
45 |
สนทราย/Baeckea frutescens |
18 |
รามใหญ่/Ardisia elliptica |
46 |
ช้าแป้น/Callicarpa arborea |
19 |
พิลังกาสา/Ardisia polycephala |
47 |
ดับยาง/Solanum erianthum |
20 |
ส้มกุ้งขน/Ardisia helferiana |
48 |
กลึงกล่อม/Polyalthia suberosa |
21 |
ปลาไหลเผือก/TONGKAT ALI |
49 |
หัสคุณ/Micromelum minutum |
22 |
ไคร้ย้อย/Elaeocarpus grandiflora |
50 |
มันปู/Glochidion wallichianum |
23 |
ปีบยูนนาน/ Radermachera Sinica |
51 |
ทองแมว/Gmelina elliptica |
24 |
สร้อยสุวรรณ/Lophanthera lactescens |
52 |
รง/Garcinia lateriflora |
25 |
ส้านชวา/Dillenia suffruticosa |
53 |
คำไทย/Bixa orellana |
26 |
ส้านดอกขาว/Dillenia philippinensis |
54 |
ต่อไส้/Allophylus cobbe |
27 |
ม่วงส่าหรี/Lagerstroemia sp. |
55 |
ระย่อมตีนเป็ด/Rauvolfia sumatrana |
28 |
เกล็ดกระโห้/Clusia rose |
56 |
คำขาว/Rhododendron moulmeinense |
|
|
57 |
กุหลาบแดง/Rhododendron simsii
|
กรรณิการ์/Nyctanthes arbor-tristis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Nyctanthes arbor-tristis.,Linn ชื่อพ้อง--- Has 6 Synonyms ---Bruschia macrocarpa Bertol. ---Nyctanthes dentata Blume ---Nyctanthes tristis Salisb. ---Parilium arbor-tristis (L.) Gaertn. ---Scabrita scabra L. ---Scabrita triflora L. ชื่อสามัญ---Night Flower Jasmine, Night Blooming Jasmine, Night Jasmine, Coral Jasmine, Tree-of-Sorrow, Tree of Sadness, Queen Of The Night, Indian night jasmine. ชื่ออื่น---กณิการ์, กรณิการ์, กรรณิการ์ (ภาคกลาง) สะการะตาหรา ; [THAI: ka nika, kara nika, kannika (Central).]; [AYURVEDA: Paarijaata, Shephaali, Shephaalikaa, Mandaara.];[BENGALI: Sephali, Sheoli, Singhar, Shephalika.];[FRENCH: Jasmin de nuit.];[HINDI: Paarijat, Harsingar, Shefali]; [MALAYALAM: Paarijatam]; [MARATHI: Partak, Khurasali, Parijatak.];[PAKISTAN: Harsingar, Kuri.]; [PERSIAN: Gulkamah.];[SANSKRIT: Parijataka, Parijata, Sephalika, Rajanikasa.]; [SIDDHA/TAMIL: Pavazha mattigai.]; [UNANI: Harasingaar.]; ชื่อวงศ์---VERBENACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้-อินเดีย เนปาล ปากีสถาน ไทย อินโดนีเซีย-สุมาตรา และชวา นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ arbor-tristis หมายถึง "ต้นไม้เศร้า"
เป็นพืชในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนซึ่งพบได้ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,500 เมตร กรรณิการ์เป็นไม้หอมที่ขึ้นกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในป่าของเมืองไทย ชื่ออีกชื่อเรียกว่า"สะการะตาหรา" แปลว่า ดอกกรรณิการ์ รากศัพท์เดิมมาจากภาษาชวา สะการะ แปลว่า ผกา หรือดอกไม้ เป็นไม้ยืนต้นดอกหอมที่ออกดอกตลอดปี ทรงต้นสูงได้ประมาณ15เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม เปลือกต้นสีขาว บริเวณแนวสันเหลี่ยมของลำต้นจะมีตุ่มเล็กๆประเป็นแนวตามสันเหลี่ยมของต้น หรือกิ่งด้วย ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้ามตามข้อต้น เนื้อใบสีเขียวกระด้าง สากระคายมือ เพราะมีขนละเอียดปกคลุมอยู่ตลอดตามใบและตามยอดกิ่งอ่อน ใบรูปมนรีปลายแหลม ขอบใบเรียบไม่มีจัก ขนาดใบยาว 5-7.5 ซม.ดอกออกเป็นดอกช่อ จะออกตามโคนก้านใบหรือตามปลายกิ่งส่วนยอด ในช่อหนึ่งๆมีแขนงช่อดอกย่อยจำนวนมาก ดอกช่อในช่อดอกย่อยช่อหนึ่งมีดอกได้ ตั้งแต่ 5-8 ดอก แต่ดอกจะผลัดกันบานคืนละดอกเดียวต่อช่อดอกย่อยช่อหนึ่งๆ กลีบดอกกรรณิการ์เป็นสีขาวมีกลีบดอก 6 กลีบ ตอนปลายสุดของกลีบดอกเป็นรูปหยักหางปลา เมื่อบานเต็มที่ทุกๆกลีบจะบิดเวียนตะแคงขวา ลักษณะคล้ายรูปกังหัน วงในสุดของดอกสีส้มแสดหลอดดอกหรือท่อดอกก็เป็นสีส้มแสดเช่นเดียวกันขนาดของดอกเมื่อบานเต็มที่ประมาณ 1.5 ซม.ดอกบานวันเดียวร่วง **ส่วนตัว-กลิ่นหอมของดอกกรรณิการ์ทำให้คิดถึงสมัยเป็นเด็ก ที่บ้านเดิม อยู่แถวคูเมือง อ.อู่ทอง ปลูกต้นกรรณิการ์อยู่ตรงหัวบันไดบ้าน ตื่นเช้าขึ้นมาต้องไปช่วยคุณยายเก็บดอกกรรณิการ์ที่ร่วงอยู่โคนต้น นำมาตากแดดบนชานบ้านพอแห้งก็เก็บใส่ปี๊บไว้เป็นกระสายยาหรือเข้ายาทำให้หัวใจชุ่มชื่น ก้านดอกสีส้มก็นำมาขยี้แล้วทาริมฝีปากเด็กหญิงแรกเกิด นัยว่าเป็นสาวขึ้นมาจะได้มีริมฝีปากสีสวยเหมือนก้านดอกกรรณการ์ สมัยก่อนบ้านไหนมีหญิงตั้งท้องนี่วิ่งกันวุ่น เตรียม อัญชัน กรรณิการ์ ไว้วาดคิ้ววาดปาก หาหนามสะ ปลูกคัดเค้าเป็นรั้วกันกระสือ ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้มีใครเตรียมทำแบบนั้นคงโดนค้อนตาขาว นี่นับเป็นความทรงจำที่ทำให้ไม่เคยลืมเลยว่ากรรณิการ์หอมแบบไหน สำคัญยังไง** กรรณิการ์เป็นพืชที่มีประโยชน์และมีค่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับดอกไม้ที่ใช้ในการแพทย์แผนโบราณเป็นสีย้อมและแหล่งที่มาของน้ำมันหอมระเหย ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมมาก มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายเป็นไม้ประดับในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก มักจะปลูกใกล้วัดฮินดูในอินเดียและศรีลังกาเช่นเดียวกับในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ความเชื่อ/พิธีกรรม---สำหรับความเชื่อของชาวฮินดูนั้นเชื่อกันว่ากรรณิการ์เป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้บูชาเทพเจ้า หากหญิงสาวสวยมาร้องรำทำเพลงที่ต้นกรรณิการ์ ก็จะทำให้ต้นกรรณิการ์ออกดอกมากมายสวยงาม และหากบ้านเรือนใดปลูกต้นกรรณิการ์ไว้ก็จะนำความสุขความเจริญมาให้กับคนในบ้าน ระยะออกดอก/ผลแก่ ---กันยายน - ตุลาคม/กุมภาพันธ์ - มีนาคม ขยายพันธุ์ --- เมล็ด ตอนกิ่ง กิ่งอ่อนปักชำ
|
กะตังใบ/Leea indica

ชื่อวิทยาศาสตร์---Leea indica (Burm.f.)Merr. ชื่อพ้อง--- Has 27 Synonyms ---Aquilicia sambucina L. ---Leea acuminata Wall. & C. B. Clarke ---Leea guineensis G. Don. ---Leea sambucina Willd. ---Leea umbraculifera C. B. Clarke ---Staphylea indica Burm. f.---(more) ชื่อสามัญ---Common Tree-Vine, Bandicoot Berry ชื่ออื่น---กะตังใบ (ทั่วไป); คะนางใบ (ตราด); ช้างเขิง (เงี้ยว); ดังหวาย (นราธิวาส); ตองจ้วม, ตองต้อม (ภาคเหนือ); บังบายต้น (ตรัง); [THAI: katang bai (General); kha nang bai (Trat); chang khoeng (Shan); dang wai (Narathiwat); tong chuam, tong tom (Northern); bang bai ton (Trang).]; [ASSAMESE: Ahina,Kukura-thengia]; [BENGALI: Kurkur, Kukur jiwa, Achila gach, Arengi.];[CHINESE: Yan tuo.];[HINDI: Kikur jihwa.]; [INDONESIA: ki tuwa (Sundanese), kayu tuwa (Javanese).]; [MALAYALAM: Chorianthali]; [MALAYSIA: Mali-mali, Merbati padang, Jolok-jolok.]; [PAPUA NEW GUINEA: Paikoro, Dadoro, Warawa.];[PHILIPPINES: Mali (Tag.).]; [SANSKRIT: Chatri.]; [SRI LANKA: Burulla, Gurulla.]; [SWEDISH: asiatisk leea.];[VIETNAM: C[ur] r[oos]i den.]. ชื่อวงศ์--VITACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เนปาล,บังคลาเทศ,อินเดีย,ภูมิภาคอินโดจีน, ออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
สถานถ่ายภาพ---สวนมิ่งมงคล จ.สระบุรี เกิดขึ้นในอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ จีนตอนใต้ อินโดจีน คาบสมุทรมลายู ชวา สุมาตรา บอร์เนียว ออสเตรเลียและ แปซิฟิก พบอยู่ในแหล่งลุ่มน้ำ ตามแม่น้ำและลำธาร ในป่าเต็งรังผสมป่าพรุและป่าดิบเขา ขึ้นไปที่ระดับความสูงถึง 1,200 เมตร ประเทศไทย พบขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าเต็งรังและป่าดิบ พบใน ทุกภาคของประเทศ กะตังใบเป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่มสูงได้ถึง 3 เมตร ชอบอยู่ใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่มีแสงแดดรำไร ลักษณะลำต้น กลมเกลี้ยงอวบน้ำมีขนสั้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-2 ชั้น ลักษณะใบ รูปขอบขนานปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือรูป ลิ่มขอบใบจักฟันเลื่อย หูใบแนบกับก้านใบ ดอกช่อ แบบช่อกระจุกช่อดอกยาวประมาณ 8-10 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบดอกและเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ปลายกลีบดอกแยกเป็น5กลีบสีแดงเข้มกลางดอกสีขาว ผลสดมี4-5พู ค่อนข้างกลม สีม่วง ดำเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 - 10 มม. บางครั้งถึง 15 มม. มี 6 เมล็ด

ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งแสงแดดเต็มหรือร่มเงาบางส่วน ดินอุดมสมบูรณ์และชื้นสม่ำเสมอ ใช้ประโยชน์--- พืชที่รวบรวมจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและยา มันได้รับการปลูก ในประเทศอินเดียและจีนเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาโรค มักปลูกเป็นไม้ประดับและปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดเช่นกัน -ใช้เป็นอาหาร ใบอ่อนและยอดอ่อนมีรสชาดฝาดมันนำมาลวกจิ้มน้ำพริก ผลสุกกินได้ -ใช้เป็นยาในอายุรเวทใช้ในการรักษากลาก, แผล, แผล, หูด, โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ท้องร่วง, โรคบิด, การเผาไหม้, โรคฟันผุ, โรคริดสีดวงทวารและไข้- ในประเทศไทยมีการใช้ยาต้มรากและลำต้นเป็นยาแก้ท้องร่วงโรคริดสีดวงทวารและแผลในกระเพาะอาหาร -วนเกษตรใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง **ส่วนตัว-ในตลาดต้นไม้นำมาขายเป็นไม้ประดับหลายปีแล้ว เพราะพุ่มสวยดอกสวย บ้างก็ว่าเป็นไม้มงคล เพราะต้นนี้คนกรุงเทพฯเรียกกันว่า ต้น กะ-ตัง บ้านไหนปลูกต้นนี้... บ้านนั้น" มีกะตัง" มงคลนามยังขายดีอยู่เสมอ** ระยะออกดอก---มีนาคม-สิงหาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง
|
กาหลง/Bauhinia acuminata

ชื่อวิทยาศาสตร์---Bauhinia acuminata Linn. ชื่อพ้อง ---Has 4 Synonyms ---Bauhinia linnaei Ali ---Casparia acuminata (L.) Heynh. ---Mandarus acuminata (L.) Raf. ---Pauletia acuminata (L.) A.Schmitz ชื่อสามัญ---Dwarf white bauhinia, Dwarf white orchid-tree, Snowy orchid-tree, White mountain ebony ชื่ออื่น---กาแจ๊ะกูโด (มาเลย์-นราธิวาส); กาหลง (ภาคกลาง); โยธิกา (นครศรีธรรมราช); ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง); เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่); ; [THAI: ka-chae-ku-do (Malay-Narathiwat); ka long, som siao (Central); yo thi ka (Nakhon Si Thammarat); siao noi (Chiang Mai).]; [AYURVADA: Kaanchnaara, Kovidaara .];[BURMESE: Mahahlegabyu.]; [CHINESE: Bai hua yang ti jia.]; [INDIA: Kaanchanaara, Kovidaara];[INDONESIA: Panawar saribu, Kupu-kupu.]; [ITALIAN: Bauhinia, Ebano montano.]; [JAPANESE: Moku-wan-ju.];[MALAYSIA: Bunga perak.]; [PHILIPPINES: Bambang (Tag.).]; [SIDDHA/TAMIL: Vellaimandarai.]; [SRI LANKA: Sudu kobalila.]; [TURKISH: Bohinia, Dagh abanoz.]; [UNANI: Kachnaal.]; ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIACEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้-อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มีถิ่นกำเนิดในป่าเมืองร้อนของหลายประเทศ ในประเทศไทยพบขึ้นตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณทุกภาคของประเทศ กาหลง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง 2-4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่เกือบกลม โคนใบรูปหัวใจปลายใบเว้าเข้าตามเส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ทำให้มองดูคล้ายใบแฝด ขอบใบเรียบ ท้องใบมีขนละเอียดปกคลุม ขนาดกว้าง 9-13 ซม.ยาว10-14 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามส่วนยอด ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกกาหลงช่อหนึ่งจะมีประมาณ 5-8 ดอก แต่จะผลัดกันบานทีละ 2-3 ดอก ดอกมีกลีบสีขาว 5 กลีบเรียงซ้อนเหลื่อมกัน เกสรเพศผู้สีขาวมี5อัน เกสรเพศเมียสีเขียวอยู่กลางดอก ขนาดใหญ่และยาวกว่าเกสรเพศผู้ ขนาดดอกกว้างราว 5 ซม. ฝักแบนยาวราว 10 ซม.เมล็ดอยู่เรียงกันตามช่อง มีฝักละประมาณ10เมล็ด ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---กาหลง เป็นไม้กลางแจ้งแดดจัด ปลูกง่าย ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์มีการระบายน้ำดี แต่ให้ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ต้องการค่า pH ในช่วง 5.6 - 6.5 แม้ว่าหลายสายพันธุ์ในครอบครัว Fabaceae จะมีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดิน แต่สายพันธุ์นี้บอกว่าไม่มีความสัมพันธ์เช่นนี้ดังนั้นจึงไม่สามารถตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ดอกกาหลงเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ใช้ดอกรับประทานแก้ปวดศีรษะ ลดความดัน ในประเทศอินเดียมีการใช้เปลือกต้นและยาต้มในการใช้ลดความรุนแรงและโรคหอบหืด เปลือกและใบใช้ในการรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ กามโรคและโรคเรื้อน ใช้ใบแปะรักษาโรคผิวหนังในท้องถิ่น ในมาเลเซียและอินโดนีเซียใช้เป็นยาแก้ไอและเป็นหวัด -ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทรงพุ่มกระทัดรัด ปลูกประดับตามที่พักอาศัย อาคาร ร้านค้าทั่วไป ความเชื่อ/พิธีกรรม คนไทยจีนโบราณนิยมปลูกกาหลงไว้เป็นต้นไม้ประจำบ้าน เชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่ให้คุณกับเจ้าของมาก ในด้านเมตตามหานิยม พ่อค้าแม่ค้าคนเก่าคนแก่ปลูกกาหลงไว้ที่หน้าร้านบ้าง หน้าบ้านบ้างปลูกกันแทบทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ก็ยังคงความนิยมอยู่ ระยะออกดอก---เป็นระยะตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง
|
ชงโค/Bauhinia purpurea

ชื่อวิทยาศาสตร์---Bauhinia purpurea L. ชื่อพ้อง---This name is a synonym of Phanera purpurea (L.) Benth. ชื่อสามัญ---Purple Orchid Tree, Hong Kong Orchid Tree, Butterfly tree; Camel's foot tree, Pink butterfly tree, Purple butterfly tree, Purple camel's foot. ชื่ออื่น--- กะเฮอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ชงโค (ภาคกลาง); สะเปซี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ); เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) ; [THAI: ka-hoe (Karen-Mae Hong Son); chongkho (Central); sa-pe-si (Karen-Mae Hong Son); siao dok daeng (Northern); siao wan (Mae Hong Son).];[ASSAMESE: Ronga Kanchan,Tenga-kotora,Kurial,Ronga-kanchan,Og-yok.];[BENGALI: Koiral,raktakanchana.];[CHINESE: yang ti jia.]; [CUBA: bauhinia; orquídea silvestre; puente de mono.]; [FRENCH: arbre à orchidées; fleurs pourpres.];[HINDI: Kaniar.];[INDIA: baswanpada; chambali, devakanchan, kachan.];[KANNADA: Basavanpada,Devakanchan.]; [MALAYALAM: chovanna-mandaru, suvannamandaram.];[MALAYSIA: tapak kuda.]; [MARATHI: Rakta Chandan.];[NEPALI: tanki.]; [PAKISTAN: kachan, karar, khairwal.];[PHILIPPINES: alibangbang];[SANSKRIT: devakanchan,raktakanchan,raktakovidara.];[SPANISH: bauhinia roja; gorro de Napoleón; mariposa; palo de orquídeas; pie de cabra.];[TAMIL: Nilattiruvatti.];[TRADE NAME: Kachan, Karar, khairwal.]; ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIACEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จากอินเดียถึงจีน มาเลเซีย พม่า กัมพูชา สิงคโปร์และไทย นิรุกติศาสตร์---Bauhiniaได้รับการตั้งชื่อโดย Linnaeus เพื่อเป็นเกียรติแก่ Jean (1541-1613) และ Gaspard (2103-2166) Bauhin ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส กลีบของใบไม้สองใบเป็นตัวอย่างของพี่น้องสองคน ; ชื่อเฉพาะ purpurea หมายถึงสีม่วงของดอกไม้ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และประเทศอินเดีย และแพร่กระจายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นปะปนกับไม้ชนิดอื่นๆในป่าโปร่งผสม ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าสะวันนา ป่าชายเลน ป่าเต็งรังและป่าพรุ พบปลูกเป็นไม้ประดับในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลกและตอนนี้ สามารถพบได้ในอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง, หมู่เกาะอินเดียตะวันตก, แอฟริกาและบนเกาะในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นพืชกึ่งเขตร้อนถึงเขตร้อนชื้นซึ่งมักพบได้ในระดับความสูง500 ถึง 2,000 (-3,000) เมตร ไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้นๆ ขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-10 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-20 ซม. ลำต้นมีลีลางดงาม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึกมาก ปลายลอนของใบทู่ มองดูคล้ายใบแฝดติดกัน ขนาดของใบกว้าง8-15ซม.ยาว10-14ซม. ขอบใบเรียบ ผลัดใบในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคมจะแตกใบใหม่เดือน เมษายน-เดือนพฤษภาคม ดอกออกเป็นช่อจากด้านข้างหรือปลายกิ่ง ช่อโปร่งมีจำนวน6-10ดอกต่อช่อ ดอกขนาดใหญ่ มี5กลีบเมื่อดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8ซม. ผลเป็นฝักยาว20-25ซม.เมื่อแก่แตกเป็น2ซีก ภายในผลมี10เมล็ด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12-15 มม.ชงโค มีดอกดกสวยงาม ดอกสีชมพูปนม่วง และดอกติดต้นทนนานถึง45วัน ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม---ชงโคเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้งเติบโตได้ในดินทั่วไป ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของดินแต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดี ใช้ประโยชน์--- ต้นไม้มีการใช้งานในท้องถิ่นอย่างกว้างขวางเป็นอาหารยารักษาโรคและสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นสายพันธุ์บุกเบิกที่ยอดเยี่ยมและได้รับการปลูก เป็นไม้ประดับผ่านเขตร้อนเป็นจำนวนมาก -ใช้เป็นอาหาร ใบ ดอกตูมและดอกไม้- ปรุงและกินเป็นผัก ดอกตูมมักจะดองหรือใช้ในแกง ต้นอ่อนฝักอ่อน - สุก กินเป็นผัก -ใช้เป็นยา ดอกเป็นยาระบาย รากขับลม แก้ไขและยังใช้เป็นยาสมานแผล -ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับใช้จัดสวนและใช้ในงานภูมิทัศน์ ปลูกตามอาคาร บ้านเรือน ที่พักอาศัย สวนสาธารณะ ริมถนน ให้ร่มเงาและดอกสวยงาม **ส่วนตัว- เวลาจะปลูกชงโคไม่ต้องเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่มากเลือกต้นอ่อน ศ.กเพียง 3-4" กำลังดี เพราะถ้าต้นแก่เกินไปดอกจะน้อยและเล็ก อายุขัยของชงโคก็ไม่เหมือนต้นไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆอยู่แค่ 25-30 ปีก็ไปแล้ว ** -ใช้อื่น ๆ เนื้อไม้มีสีขาวนวลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อสัมผัสกับบรรยากาศ เนื้อไม้ละเอียดและทนทาน ใช้สำหรับทำอุปกรณ์การเกษตรและเป็นเชื้อเพลิง เปลือกใช้สำหรับย้อมและฟอก ใช้ใบไม้และดอกไม้เป็นอาหารสัตว์ -ความเชื่อ/พิธีกรรม ชาวอินเดียถือว่าเป็นไม้สวรรค์ ขึ้นอยู่ในเทวโลก และถือว่าเป็นไม้ของพระลักษมี ระยะออกดอก---ออกดอกเป็นระยะตลอดปี แต่จะดกมากในเดือนกุมภาพันธุ์ ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ จะออกดอกเมื่อมีอายุ3-5ปีจากเมล็ด
|
โยทะกา-พญากาหลง/Bauhinia tomentosa.

ชื่อวิทยาศาสตร์---Bauhinia tomentosa L. ชื่อพ้อง---Has 10 Synonyms
-Alvesia bauhinioides Welw. |
-Bauhinia pubescens DC. |
-Alvesia tomentosa (L.) Britton & Rose |
-Bauhinia volkensii Taub. |
-Bauhinia binata Náves ex Fern.-Vill. |
-Bauhinia wituensis Harms |
-Bauhinia inermis Forssk. |
-Cansenia tomentosa (L.) Raf. |
-Bauhinia mucora Bolle |
-Pauletia tomentosa (L.) A.Schmitz |
ชื่อสามัญ---Bell bauhinia, Yellow bauhinia, Yellow tree bauhinia, St. Thomas tree. ชื่ออื่น---ว่านพญากาหลง, โยทะกา, เสี้ยวดอกเหลือง, ชงโคดอกเหลือง (กรุงเทพฯ) ; [THAI: Yo tha ka, chongkho dok lueang (Bangkok).];[CHINESE: huang hua yang ti jia.];[CUBA: bauhinia; gorro de Napoleón; guacamaya americana.];[FRENCH: fleur du sacré-coeur.];[INDIA: asundro, kanjani, mandarai, petan, phalgu, pita, kovidaara, usamaduga.]; [SRI LANKA: kaha pethan, kat-atti, triviat putrum.]; [AFRICAANS: bosbeesklou.]; [SOUTH AFRICA: Geelbeesklou; IsiThibathibana.]; [SPANISH: bauhinia amarilla; flor de azufre; guacamaya americana; mariposa; petán.];[UGANDA: ogal.]. ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIACEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา เอเซีย เขตกระจายพันธุ์---แอฟริกาตะวันออกและใต้ - เอเซีย-อนุทวีปอินเดีย นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล"Bauhinia"ได้รับเกียรติจากพี่น้องชาวสมุนไพรจากศตวรรษที่ 16 โยฮันน์และสปาร์โบวชิน ( Johann and Caspar Bauhin) พวกเขาเป็นพี่น้องฝาแฝดเหมือนกันจึงทำให้เป็นชื่อที่ฉลาดมากเนื่องจากใบแฝดทั้งสองของใบเมื่อพับเข้าหากันจะเหมือนกัน : ชื่อของสายพันธุ์“ tomentosa”นั้นได้มาจากความหมายของ tomentosa ขนหนาแน่น (ฝัก)

ถิ่นกำเนิดไม่แน่ชัด เกิดขึ้นตามธรรมชาติใน แอฟริกา-โมซัมบิก แองโกลา, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, เอธิโอเปีย, เคนยา, โซมาเลีย, แอฟริกาใต้, แทนซาเนียและซิมบับเว : เอเซีย-บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พบที่ระดับความสูง0-1,000เมตร ในประเทศไทยพบโยทะกาขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วประเทศ เป็น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูงประมาณ 4-5 เมตร เป็นไม้ใบแฝดออกสลับตามข้อต้น ใบสีเขียว ผิวใบมีขนละเอียดสั้นๆ เมื่อจับใบจะรู้สึกหยาบระคายมือ รูปใบมองคล้ายปีกแมลง ปกติใบมักพับงอเข้าหากัน ขนาดใบกว้างประมาณ 6-8 ซม. ดอกออกเป็นช่อสั้นตามโคนก้านใบบริเวณส่วนยอด สีเหลืองอ่อน มีกลีบดอก6กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมกัน ขนาดดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ 4-5 ซม. ช่อหนึ่งๆมีดอกประมาณ 8-12 ดอกจะผลัดกันบานคราวละ 2-3 ดอก ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัดหรือร่มเงาบางส่วน ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์มีการระบายน้ำดี ดินชื้นสม่ำเสมอ แม้ว่าหลายสายพันธุ์ในครอบครัว Fabaceae จะมีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดิน แต่สายพันธุ์นี้บอกว่าไม่มีความสัมพันธ์ดังกล่าวดังนั้นจึงไม่สามารถตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเป็นแหล่งอาหารยาและสีย้อม บางครั้งปลูกเป็นรั้วป้องกันความเสี่ยงและเป็นไม้ประดับ เนื่องจากระบบรากไม่ก้าวร้าวจึงสามารถปลูกไว้ใกล้กับสระว่ายน้ำท่อระบายน้ำได้ -ใช้กิน ใบอ่อน - ปรุง รสเปรี้ยวสามารถรับประทานเป็นผักใส่ข้าวเพิ่มซุปหรือใช้เป็นเครื่องปรุงกับอาหารอื่น ๆ -ใช้เป็นยา ดอกไม้ใช้เป็นยาแก้บิดและท้องร่วง ผลไม้เป็นยาขับปัสสาวะ เมล็ดกินเป็นยาชูกำลังและยาโป๊ว -อื่น ๆ ใบไม้ให้สีย้อมสีเหลือง ไฟเบอร์ที่ได้จากเปลือกสามารถนำไปใช้ทำตะกร้าได้ แก่นไม้เกือบดำ ไม้เนื้อละเอียดหนักและแข็งแรง ใช้ทำจันทันสำหรับกระท่อมโบราณ -ใช้ปลูกประดับ เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง ไม่ชอบที่ลุ่มน้ำขัง เวลาปลูกโยทะกาต้องไว้โคน คือพูนโคนเสียหน่อยเพราะรากเน่าง่าย เฉาตายง่ายมาก น่าจะเอามาปลูก3 ต้นด้วยกันตามโบราณท่านว่า บ้านไหนปลูก กาหลง ชงโค โยทะกา ทั้งสามต้นไว้ในบ้านแล้วไซร้ ท่านว่าจะอุดมด้วยทรัพย์มิรู้หมด ฉะนี้ แล ส่วนต้นที่มีดอกสีม่วงติดมาด้วย คือดอกจะมี 2 สี คือสีเหลืองกับสีม่วงเรียกว่า พญากาหลง มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกันกับโยทะกาลักษณะทั่วไปนิสัยใจคอเหมือนกันหมดยกเว้นดอกมีสีม่วงเพิ่มเข้ามาดังกล่าวนั้น ท่านว่าปลูกไว้คุม กาหลง ชงโค โยทะกา เพื่อให้สร้างอานุภาพแห่งความมั่งมีศรีสุขอีกชั้น ระยะออกดอก---ตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล้ด ตอนกิ่ง
|
รัตตมา/Parkinsonia aculeata

ชื่อวิทยาศาสตร์--Parkinsonia aculeata L. ชื่อพ้อง ---Has 1 Synonyms ---Parkinsonia thornberi MEJones ชื่อสามัญ --Verdi-Badhal, Jerusalem Thorn, Barbados flower-fence, Mexican Palo Verde, Horse-bean, Jelly bean tree, Parkinsonia, Retaima, Sessaban. ชื่ออื่น--- รัตตแน(ตาก), รัตตมา(เชียงใหม่) ; [THAI: rattanae (Tak); rattama (Chiang Mai).]; [ARGENTINA: cina cina; retamo rojo; sina sina.]; [BARBADOS: holy thorn; royal cashiaw.]; [BRAZIL: espinho de Jerusalem; rosa da turquia.]; [CHINESE: bian zhou mu]; [COSTA RICA: sulphato.]; [CUBA: espinillo; junco marino; palo de rayo; pararrayo.]; [FRENCH: Epine de Jerusalem; Genet epineux.]; [GERMAN: Jerusalemdorn; Stacheliger Ginsterbaum.]; [GHANA: zugu-bai-tia.]; [HINDI: Vilayti Kikar, Ram Babul]; [MARATHI: Vilaiti-kikkar]; [MEXICO: bacapore; bagote; cacaporo; cahuinga.];[PAKISTAN: kabuli kikar; vilayati kikar.];[SENEGAL: barkasoñé; barkasonyo; parkasonu.]; [SOMALIA: geed walaayo.]; [SPANISH: cina-cina, palo verde, espanillo, espina de Jerusalem, espinillo, palo de rayo]; [SRI LANKA: belaiti kikar.]; [TAMIL: Sinia Tuman.]; [USA: horsebean.]. ชื่อวงศ์ ---PAPILIONOICEAE ถิ่นกำเนิด ---ทวีปอเมริกา เขตกระจายพันธุ์ ---เม็กซิโก อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย บางส่วนของ ทวีปแอฟริกา เขตร้อน ฮาวายและหมู่เกาะใ มหาสมุทรแปซิฟิก นิรุกติศาสตร์---ชื่อสามัญ Jerusalem Thornไม่ได้อ้างถึงเมืองตะวันออกกลาง แต่เป็นความเสียหายของ Girasol คำภาษาสเปนและโปรตุเกสหมายถึงหันไปทางดวงอาทิตย์
มีถิ่นกำเนิดในสหรัฐอเมริกาตอนใต้ เม็กซิโกตอนเหนือ หมู่เกาะกาลาปากอสและอเมริกาใต้ตอนเหนือ (โบลิเวีย เปรู ปารากวัย อุรุกวัยและอาร์เจนตินาตอนเหนือ)ที่อื่นที่ได้รับการแปลงสภาพเป็นธรรมชาติได้แก่เขตร้อนและแอฟริกาตอนใต้, ปากีสถานและโอเชียเนีย (เช่นฮาวายและนิวแคลิโดเนีย) ส่วนใหญ่พบอยู่ในหุบเขาทะเลทรายและเขตทุ่งหญ้าทะเลทรายที่ระดับความสูงถึง 1,300 เมตร และในเขตร้อนชื้นที่ระดับความสูงถึง 2,400 เมตร รัตตมาเป็นไม้พุ่มขนาดกลางหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะทรงต้น เป็นพุ่มโปร่ง ความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร แต่ถ้าดินอุดมสมบูรณ์อาจสูงได้ถึง 8 เมตร ก้านใบเป็นช่อเรียวลู่ ดอกสีเหลืองประแดงขนาดเล็กยาว 2-3 ซม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ รวมกันเป็นกลุ่มๆยาว 5-20 ซม เมื่อลมพัดดอกและใบจะลู่ตามลมเป็นสายสวยมาก ผลเป็นฝักยาว 3-13 ซม. และกว้าง 5-10 มม บวมรอบเมล็ด มักจะมีเมล็ด 1-6เมล็ด (บางครั้งอาจมีถึงแปดเมล็ด) เมล็ดที่ค่อนข้างใหญ่ (ยาว 9-15 มม. และกว้าง 3-6 มม.) มีสีเขียวมะกอกถึงสีน้ำตาลและบางครั้งก็มีรอยด่าง รัตมาเป็นไม้กลางแจ้งชอบแดดจัดน้ำปานกลาง ทนทานต่อดินหลากหลายชนิดรวมถึงดินที่ขาดธาตุอาหารดินเหนียว หรือ ทรายค่า pH ในช่วง 6.5 - 7.5 ซึ่งทนได้ 6 - 8.5 ทนทานต่อดินเป็นกรดมาก สามารถทนต่อความแห้งแล้งได้นานถึง 9 เดือน เจริญเติบโตเร็ว สามารถเข้าถึงความสูง 2.5 เมตรภายใน 2 ปีจากเมล็ด

ใช้ประโยชน์ -ใช้กินได้ เมล็ดอุดมไปด้วยโปรตีนมีศักยภาพในการใช้เป็นอาหารของมนุษย์ ผลไม้ - ดิบ เนื้อเยื่อในเมล็ดมีรสหวานมีน้ำตาลถึง 60% -ใช้เป็นยา ใบ ผล และก้าน ใช้ภายในและภายนอก แก้ไข้ และมาลาเรีย ยาต้มทำให้แท้ง ใช้สารสกัดจากดอกไม้และใบไม้ในแอลกอฮอล์เป็นยาพอกรักษาโรคไขข้ออักเสบ -วนเกษตร ใช้สำหรับการควบคุมการกัดเซาะและการปลูกป่าในพื้นที่ทรายและแห้งแล้ง มีประโยชน์สำหรับการฟื้นฟูดินแดนรกร้างบริเวณที่เป็นลำห้วยและซากเหมืองแร่ -ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับที่มีมูลค่าดอกไม้จะออกดอกมากมายและยาวนาน -อื่น ๆ แก่นไม้มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้มีลักษณะค่อนข้างหยาบหนักปานกลาง และมีความทนทานสูง ขนาดลำต้นไม่เพียงพอที่จะใช้ทำอะไร นอกจากทำเสาแล้วก็ทำฟืน **ส่วนตัว-ที่สำคัญรัตมาเป็นต้นไม้เก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลกอีกด้วย เหตุนี้คนที่ชอบของโบราณก็น่าจะมีปลูกไว้ ต้นนี้ไม่เห็นบ่อยนัก คิดเองเออเองว่าน่าจะเป็นเพราะ ตอนกิ่งมาขาย รูปลักษณ์ไม่น่าซื้อ ชื่อไม่รู้จัก กิ่งตอนที่ได้ก็มีแต่ใบเป็นเส้นๆไม่กี่เส้น ดอกดวงก็ไม่มี พอขายยากแม่ค้าก็ไม่เอาแล้ว ส่วนต้นที่ปลูกลงดินก็ไม่มีสวยงามพอที่จะล้อมมาขายได้ เพราะบอกแล้วว่าเป็นต้นไม้โบราณกว่าความงามจะปรากฏ ทรงต้นจะดราม่าได้ต้องใช้เวลานาน รูปที่ได้มานี้ ถ่ายมาจากสวนมิ่งมงคล สระบุรี ตรงลานจอดรถมีปลูกไว้เต็ม ** ระยะออกดอก---สิงหาคม-กันยายน ขยายพันธุ์---เมล็ด, ตอนกิ่ง ปักชำ
|
ข้าวหลาม/Goniothalamus marcanii
ชื่อวิทยาศาสตร์---Goniothalamus tamirensis Pierre ex Finet & Gagnep. ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms ---Goniothalamus marcanii Craib. ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ข้าวหลาม(หนองคาย),จำปีหิน (ชุมพร),นมงัว(ปราจีนบุรี) ; [THAI: khao lam (Nong Khai); champi hin (Chumphon); nom ngua (Prachin Buri).];[VIETNAM: Giác đế miên]; [JAPAN: Kaorāmu don] ชื่อวงศ์---ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระขายพันธุ์---พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย
ไม้ต้นนี้เป็นไม้วงศ์กระดังงา เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวคือมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศนั้นเๆท่านั้น สูงประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งน้อย ทรงพุ่มเลยดูโปร่งบาง เปลือกต้นค่อนข้างนิ่ม สีน้ำตาลเกลี้ยงแต่ กิ่งอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งแหลม ดอกออกที่ซอกใบหรือตามกิ่งใบ กลีบดอกมี 6กลีบเรียงกัน2ชั้น บานทนได้2-3วัน เมื่อบานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง2ซม.ผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 8-15 ผล รูปทรงรี เมื่อผลสุกแก่จะเป็นสีแดงเข้ม มีเมล็ด 1 เมล็ด ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆตลอดวัน หอมแรงช่วงค่ำ การดูแลเลี้ยงดู ไม่ยุ่งยากอะไร จากภาพ ที่ต้นข้าวหลามติดดอกเป็นรูปที่ถ่ายจากบ้านลูกค้าสภาพปลูกในที่มีแสงแดดปานกลางคือไม่ถึงกับร่มรำไรเกินไปหรือแดดจัดไป ความฃื้นในดินพอสมควรไม่แห้งหรือแฉะ เป็นต้นที่เกิดจากการตอนกิ่งแล้วปลูกลงดิน พอถึงฤดูกาลก็จะออกดอกตามอายุของต้นแม่ที่เคยออกดอกมาแล้ว ต้นนี้ถึงจะดูเล็กก็จะออกดอกตามไปด้วยเหมือนกับต้นแม่ที่ตอนกิ่งมา ส่วนต้นข้างๆเป็นต้นข้าวหลาม ที่ปลูกกลางแจ้งแดดจัด ได้จากการเพาะเมล็ดเลี้ยงลงดินให้โตเร็ว แล้วล้อมมาปลูก ต้นถึงจะสูงใหญ่กว่า แต่ไม่ติดดอกเมื่อถึงฤดูกาล อายุของต้นเพาะเมล็ดจะอยู่ราว3-4ปีถึงจะออกดอก **ส่วนตัว-ต้นนี้รอไปเลย2ปี** ระยะออกดอกติดผล --- ระหว่างเดือน เมษายน-กรกฏาคม ขยายพันธุ์--- ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
|
บุหรง/Dasymaschalon blumei

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Dasymaschalon blumei Finet & Gagnap.
ชื่อพ้อง---Has 11 Synonyms
-Dasymaschalon blumei Finet & Gagnep. |
-Unona cleistogama Burck ex Boerl. |
-Dasymaschalon cleistogamum (Burck ex Boerl.) Merr. |
-Unona coelophloea Scheff. |
-Dasymaschalon coelophloeum (Scheff.) Merr. |
-Unona dasymaschala Blume |
-Desmos dasymaschalus (Blume) Saff. |
-Uvaria alphonsii Müll.Berol. |
-Pelticalyx argentea Griff. |
-Uvaria dasymaschala (Blume) Walp. |
-Unona alphonsii Wall. |
|
ชื่อสามัญ---Malayan Annona ชื่ออื่น---บุหรงใบอ่อนสีน้ำตาล,กระดังงาเขา(สุราษฎร์ธานี),บุหร (กรุงเทพฯ);[THAI: kradang nga khao (Surat Thani); burong (Bangkok).]. ชื่อวงศ์--- ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด--- ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย พม่า คาบสมุทรมลายูถึงอินโดนีเซีย ประเทศไทยพบขึ้นกระจายตามป่าดิบชื้น ฃายป่าละเมาะและชายทะเลทางภาคใต้ตอนล่าง ที่ระดับความสูง 50-200 เมตร ไม้ต้นนี้เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูง 2-3 เมตรทำให้นำมาปลูกลงกระถางหรือในพื้นที่จำกัดได้ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมดำ มีช่องอากาศสีขาวเป็นจุดๆ เนื้อไม้เหนียว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม แตกกิ่งจำนวนมาก ใบ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 9-15 ซม. โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบเรียวทู่ ใบด้านบนสีเขียวและมีขนเล็กน้อย ใบอ่อนสีน้ำตาล ดอกเดี่ยวออกที่ปลายกิ่งหรือใกล้ปลายกิ่ง ดอกอ่อนสีเขียวเมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีแดง ม่วงแดง แล้วหลุดร่วงไปทั้งกรวย ผลกลุ่มมีผลย่อย 9-12 ผล รูปทรงกระบอกยาว 3-5 ซม.มีเมล็ด 1-6 เมล็ด เปลือกคอดถี่ตามรูปเมล็ด ผลอ่อนสีเขียวอมม่วง เมื่อแก่สีแดง ระยะออกดอก--- มิถุนายน-กรกฎาคม ขยายพันธุ์ ---เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง |
บุหงาลำเจียก/Goniothalamus tapis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Goniothalamus tapis Miq. ชื่อพ้อง ---Has 2 Synonyms ---Goniothalamus sumatranus Miq. ---Goniothalamus umbrosus J.Sinclair ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---บุหงาลำเจียก, [THAI: naara (Peninsular), bu ngaa lam chiak (Bangkok).]; [MALAYSIA: Kenarak, galai (Peninsular), gertimang (Kelabit, Sarawak), tongkat bumi (Limbang, Sarawak).] ชื่อวงศ์---ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย มาเลเซีย สุมาตรา อินโดนีเซีย บอร์เนียว กิดขึ้นในคาบสมุทรมาเลเซียสุมาตราและบอร์เนียว ในธรรมชาติพบได้ตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ของไทย บุหงาลำเจียกเป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็งขนาดเล็ก สูง 2-5 เมตร ใบเดี่ยวรูปขอบขนานถึงรูปไข่ ขนาด 15-27 ซม. x 6-12 ซมโคนใบโค้งมนหรือมีรูปร่างคล้ายลิ่มเล็กน้อยปลายยอดแหลมก้านใบยาว 0.5-0.7 ซม.ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ ออกตามซอกใบ ตอนดอกอ่อนจะเป็น สีเขียวเมื่อบานกลีบดอกจะ เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลหรือเหลืองอม ชมพู ดอกบานทนอยู่ได้ 1-2วัน มีกลิ่นหอมแรงเมื่อดอกใกล้โรย ส่วนผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 6-14 ผล รูปกลมรีขนาด 1-1.2 ซม.เปลือกผลเรียบเป็นมัน เมื่อแก่สีม่วงเข้ม มี1เมล็ด เป็นไม้ที่ไม่ชอบแสงแดดจัด และต้องการความชื้นสูง ควรปลูกในที่ร่มรำไรหากแดดจัดและความชื้นน้อยใบจะไหม้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวน ระยะออกดอก---มีนาคม-สิงหาคม แต่จะดอกดกมากในเดือนมีนาคม-เมษายน และจะออกเป็นระยะไปตลอดปี การขยายพันธุ์ ---เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
|
บุหงาเซิง/Friesodielsia desmoides

ชื่อวิทยาศาสตร์ --- Friesodielsia desmoides (Craib) Steenis. ชื่อพ้อง ---Has 2 Synonyms ---Goniothalamus desmoides Craib ---Oxymitra desmoides Craib ชื่อสามัญ --- ชื่ออื่น ---ส่าเหล้า เครือติดต่อ บุหงาแต่งงาน Wedding Cananga ชื่อวงศ์ ---ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด ---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์ ---ไทย มาเลเซีย **บุหงาเซิงหรือบุหงาแต่งงาน เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็กตัดแต่งเป็นพุ่มได้ สูงอยู่ประมาณ 1-2 เมตรหรือจะให้เลื้อยก็เลื้อยได้ไกล 3-5 เมตร เนื่องจากบุหงาเซิงแตกกิ่งก้านจากโคนต้นเป็นจำนวนมาก และมีใบจำนวนมากด้วย เมื่อนำมาตัดแต่งทรงพุ่มก็จะได้ไม้พุ่มสวย ลำต้นบุหงาเซิงเป็นไม้เนื้อแข็งเหนียว เปลือกต้นเป็น สีน้ำตาล ใบสองข้างอยู่ในระนาบเดียวกัน รูปไข่แกมขอบขนาน ยาว 11-15 ซม.ด้านล่างของใบมีนวลสีขาวดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก2ดอก สีเหลือง มี 6 กลีบเรียงเป็น 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ เรียงตัวเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกบานมีขนาด 2-2.5 ซม.บานทนอยู่ได้ 2-3 วัน ผลเป็นผลกลุ่มมีผลย่อย 8-12 ผลทรงรียาว 1.5-2 ซม.เมื่อสุกสีแดงมี1เมล็ด บุหงาเซิงเป็นพรรณไม้ที่ลำต้น ใบและ ดอกมีกลิ่นหอมแรง ใกล้เคียงกับต้นส่าเหล้ามาก(ซึ่งจะพูดถึงในเรื่องไม้เลื้อย)ชอบดินร่วนที่มีอินทรียวัตถุมาก มีการระบายน้ำดี และชอบ อยู่ในที่ร่มรำไร อย่าพาไปปลูกกลางแดดจัดใบจะไหม้กรอบไม่สวย ถ้าร่มเกินดอกก็จะน้อย ทรงต้นชะลูดเก้งก้าง ในธรรมชาติพบกระจายพันธุ์อยู่ในป่าดิบชื้นในภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ และปัจจุบันเริ่มมีการกระทบกระเทือนลดจำนวนในถิ่นกำเนิด อาจเป็นเพราะคุณสมบัติเป็นที่ต้องการของตลาดส่วนหนึ่งโดนล้อมมา หรือ การงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นอ่อนในถิ่นกำเนิดไม่เป็นไปตามเป้า แต่ยังไงคงไม่สูญหายไปง่ายๆ ตอนนี้คงอยู่ตามบ้านนู้นบ้านนี้ไปทั่วแล้ว ระยะออกดอก : เดือนมกราคม-สิงหาคม ขยายพันธุ์ ---ด้วยการ ปักชำกิ่ง ทาบกิ่ง ตอนกิ่งและเพาะเมล็ด
|
พวงไข่มุก/Sambucus canadensis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Sambucus canadensis L. ชื่อพ้อง---Has 17 Synonyms
-Sambucus canadensis f. aurea (J.F.Cowell ex L.H.Bailey) Rehder |
-Sambucus nigra subsp. canadensis (L.) Bolli |
-Sambucus canadensis f. delicatissima Schwer. |
-Sambucus orbiculata Greene |
-Sambucus canadensis var. laciniata A.Gray |
-Sambucus oreopola Donn.Sm. |
-Sambucus canadensis subsp. laciniata (A.Gray) A.E.Murray |
-Sambucus planteriensis Simon-Louis ex Dippel |
-Sambucus canadensis var. oreopola (Donn.Sm.) Rehder |
-Sambucus plantierensis Koehne |
-Sambucus canadensis var. submollis Rehder |
-Sambucus rehderiana Schwer. |
-Sambucus cerulea var. arizonica Sarg. |
-Sambucus repens Raf. |
-Sambucus eberhardtii Danguy |
-Sambucus simpsonii Rehder |
-Sambucus nigra var. canadensis (L.) B.L.Turner |
|
ชือสามัญ---American elder, American black elderberry, Canada elderberry, Common elderberry ชื่ออื่น---พวงไข่มุก(กรุงเทพฯ),ระป่า (ปราจีนบุรี), อูน, อุนฝรั่ง(แพร่); [THAI: phuang khai muk (Bangkok); rapa (Prachin Buri); un, un farang (Phrae).]; ชื่อวงศ์---ADOXACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาเหนือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เป็นพืชพื้นเมืองไปทางทิศตะวันออกและภาคกลางของอเมริกาเหนือจากโนวาสโกเชียและแมนิโทบาใต้ ไปฟลอริดาและเท็กซัส ขึ้นอยู่ตามลำธาร รืมแม่น้ำ ชายป่าไม้ พบได้ที่ระดับความสูงประมาณ 200-1,300 เมตร ต้นอูนหรือที่รู้จักกันในชื่อทั่วไปว่าพวงไข่มุก เป็นไม้พุ่มผลัดใบแผ่กิ่งก้านสาขา ลำต้นตั้งตรงสูง 2-4 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง กิ่งแก่กลวง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นออกตรงข้าม ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกสีขาวกลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อใหญ่เป็นพุ่มกว้าง ขนาดประมาณ 10-25 ซม. ดอกไม้สีขาว (เกสรเพศผู้สีเหลือง) ดอกมีน้ำมันหอมระเหยและสารที่มีรสขม ผลกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 มม. สีม่วงดำเป็นมัน ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ในดินหลายชนิด ดินชื้นสม่ำเสมอ มีการระบายน้ำดี มีค่า pH เป็นกลาง -ใช้ปรโยชน์ -ใช้กินได้ ผลสุก นำไปทำแยม และขนมพาย ในบางประเทศใช้ยอดอ่อนปรุงอาหาร ชงน้ำดื่มและทำไวน์ -ใช้เป็นยา เป็นสมุนไพรที่ใช้โดยชนเผ่าพื้นเมืองในอเมริกาเหนือ ดอกแห้งเป็นยาชง ช่วยขับเหงื่อ เปลือกต้นรากเป็นยาขับปัสสาวะ -ใช้อื่น ๆ ใบและเปลือกด้านในของหน่ออ่อนถูกใช้เป็นยาขับไล่แมลง ดอกแห้งใช้เพื่อขับไล่แมลงและสัตว์ฟันแทะ ยาต้มของใบสามารถใช้เป็นยาฆ่าแมลง -รู้จักอันตราย ผลไม้มีสารอัลคาลอยด์และไซยาโนเจนไกลโคไซด์ ที่เป็นพิษ สารพิษในผลไม้อาจมีความเป็นพิษต่ำมากและถูกทำลายเมื่อผลไม้สุก ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะและช่วยลดไข้ ดอกไม้จะถูกทำเป็นชาเพื่อลดไข้และสำหรับอาการเจ็บคอและปวดท้อง เปลือกและใบใช้ภายนอกเป็นยารักษาโรคผิวหนังและบรรเทาอาการปวด ระยะออกดอก ---มิถุนายน-สิงหาคม ขยายพันธุ์ ---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
|
สราญรมย์/ Erythrina crista-galli

ชื่อวิทยาศาสตร์---Erythrina crista-galli L. ชื่อพ้อง---Has 12 Synonyms
-Corallodendron crista-galli (L.) Kuntze |
-Erythrina laurifolia Jacq. |
-Erythrina compacta W.Bull |
-Erythrina pulcherrima Tod. |
-Erythrina crista-galli var. corallina N.F.Mattos |
-Erythrina speciosa Tod. |
-Erythrina crista-galli var. longiflora M.A.Zapater & E.C.Lozano |
-Micropteryx crista-galli (L.) Walp. |
-Erythrina fasciculata Benth. |
-Micropteryx fasciculata (Benth.) Walp. |
-Erythrina graefferi Tineo |
-Micropteryx laurifolia (Jacq.) Walp. |
ชื่อสามัญ---Brazilian coral tree, Cock's comb coral tree, Cockspur coral tree, Common coral tree, Coral tree, Cry baby, Cry-baby tree, Crybaby tree, Crybabytree, Fireman's cap, Fireman's cap tree ชื่ออื่น---มโนรมย์, สราญรมย์, ทองหลางดอกแดง, ทองหลางฮ่องกง(กรุงเทพฯ) :; [THAI: thong lang hong kong (Bangkok).]; [Chinese: Jī guān cì tóng]; [Tiếng Việt: Vông mồng gà]; [Italiano: albero di corallo]; [Spanish: ceibo, seíbo]; [Portuguese: corticeira] ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE) ถิ่นกำเนิด ---ทวีปอเมริกา เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาใต้-บราซิล อาร์เจนติน่า อุรุกวัย เอเซีย ออสเตรเลีย นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Erythrina มาจากภาษากรีก “erythros”= สีแดง ตามสีของดอก

พบในพื้นที่ป่าเปิด ป่าทุติยภูมิ ดินชื้นตามหนองน้ำ ทุ่งหญ้าริมแม่น้ำ ปากแม่น้ำ เติบโตได้ดีในภูมิภาคเขตรอนและกึ่งเขตร้อน ในประเทศไทยนำเข้ามาเมืองไทยโดย ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ไม้ต้นขนาดเล็กผลัดใบ สูงได้ถึง 8-10 เมตร เรือนยอดกลม ลำต้นและกิ่งก้านมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบ มี 3 ใบย่อย ก้านใบมีหนาม ใบรูปไข่ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้ง ดอกรูปดอกถั่ว สีแดงดอกคล้ายทองหลางฮ่องกง แต่กลีบดอกจะกว้างกว่า ดอกทยอยบาน จากโคนไปหาปลายช่อ ถ้าดอกเป็นสีส้มหรือชมพูจะเรียกขื่อว่า สราญรมย์และถ้าปลูกในที่อากาศเย็นจะติดฝัก ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด ดินชื้นสม่ำเสมอและระบายน้ำดี สปีชีส์นี้มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดินบางชนิดแบคทีเรียเหล่านี้ก่อตัวเป็นก้อนบนรากและตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ ไนโตรเจนบางส่วนนี้ถูกใช้โดยพืชที่กำลังเติบโต แต่บางชนิดก็สามารถใช้โดยพืชอื่น ๆ ใช้ประโยชน์--- พืชถูกเก็บมาจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น มักจะได้รับการปลูกเป็นไม้ประดับในเขตอบอุ่นและในเขตร้อนชื้น -ใช้เป็นยา ยาต้มเปลือกใช้เพื่อรักษาโรคไขข้อและโรคตับอักเสบ การแช่เปลือกใช้น้ำเป็นยาบ้วนปาก รักษาอาการเจ็บคอและใช้ล้างแผล -อื่น ๆ ไม้มีน้ำหนักเบา เรียบ มีรูพรุน ความทนทานต่ำ ใช้ในการผลิตพื้นและส้นรองเท้า แกะสลัก ฯลฯ รู้จักอันตราย--- สปีชีส์ของ Erythrina ทุกชนิดมีอัลคาลอยด์พิษจำนวนมากขึ้นหรือน้อยลงแล้วแต่ชนิด สามารถพบได้ในทุกส่วนของพืช แต่จะมีความเข้มข้นมากที่สุดในเมล็ด ควรใช้ความระมัดระวังในการใช้งานของพืชที่เกี่ยวข้องกับการกลืนกิน อัลคาลอยด์เหล่านี้มีลักษณะคล้าย Curare (ที่ได้จาก Strychnos) และอาจทำให้เกิดอัมพาตและเสียชีวิตจากการหายใจล้มเหลว สำคัญ-สายพันธุ์นี้เป็นต้นไม้ประจำชาติของอาร์เจนตินาและอุรุกวัย ระยะออกดอก --- ธันวาคม-มกราคม ขยายพันธุ์ ---เมล็ด ตอนกิ่ง
|
|
|
เทียนกิ่ง/Lawsonia inermis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Lawsonia inermis L. ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms ---Alcanna spinosa (L.) Gaertn. ---Casearia multiflora Spreng. ---Lawsonia alba Lam. nom. illeg. ---Lawsonia speciosa L. ---Lawsonia spinosa L. ---Rotantha combretoides Baker ชื่อสามัญ-Henna tree,Mignonette tree,The Egyptian privet,Jamaica-mignonette,Camphire,Henna,Cypress shrub ชื่ออื่น---เทียนแดง (ภาคกลาง,เลย),เทียนไม้, เทียนกิ่ง, เทียนข้าวเปลือก (ภาคกลาง), เทียนขาว (ภาคกลาง,พิษณุโลก) ; [THAI: thian daeng (Central, Loei); thian mai, thian king, thian khao plueak (Central); thian khao (Central, Phitsanulok).]; [ARABIC: hinná; yoranna; Enah, fagia, henna.];[ASSAMESE: Jetuka.];[CAMBODIA: krâpéén.]; [FRENCH: henne; henné.];[GERMAN: Hennastrauch.];[HINDI: Mehendi.]; [INDIA: hena, marithoni, maruthani, mehedi, mendhi, mendi.]; [INDONESIA: Inai, inai parasi, parasi (Sumatran); pachar kuku (Sundanese); pacar kuku (Javanese); Inai (General).]; [LAOS: kaaw.]; [MALAYALAM: Mailanji.];[MALAYSIA: hinna, inai, pacar kuku.]; [MYANMAR: dan.]; [NIGERIA: Calle, iyalomo, laali, laali funfun, lali, lalle, lalli.];[PAKISTAN: hena, mendhi.]; [PHILIPPINES: Cinamomo (Tagalog).]; [PORTUGUESE: alfeneiro, hena, hésia.]; [SPANISH: alcana, alhena, jenna, reseda.];[TAMIL: Marudani.];[TANZANIA: Mhina.];[TRADE NAME: henna, mendhi.];[VIETNAM: lá mòn, nhuôm móng, nhuôm móng tay.]. ชื่อวงศ์---LYTHRACEAE ถิ่นกำเนิด--- ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย ตอนเหนือของแอฟริกา นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ Inermis นั้นหมายถึงไม่มีอาวุธหรือไม่มีกระดูกสันหลัง
เกิดขึ้นจากอิหร่านไปจนถึงอินเดียตะวันตก จากนั้นกระจายไปทางตะวันออกสู่ส่วนที่เหลือของอินเดียและอินโดนีเซียและทางตะวันตกสู่ตะวันออกกลาง-จากอาระเบียไปถึงสเปน, มาดากัสการ์, Moluccas, อินโดจีนและญี่ปุ่น ปัจจุบันสายพันธุ์นี้สามารถพบได้ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนมักจะปลูกในสวนภายในบ้านและการผลิตเชิงพาณิชย์ ที่จำกัดอยู่เพียงไม่กี่แห่งในอินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน อียิปต์ ลิเบีย ไนเจอร์และซูดาน เติบโตได้ที่ระดับความสูงไม่เกิน 2,000 เมตรส่วนต้นไม้ที่พบเห็นตามธรรมชาติมักพบตามริมลำธาร ริมแม่น้ำที่น้ำท่วมถึงชั่วคราว หรือบนเนินเขาและในซอกหินที่ระดับความสูงถึง 1,350 เมตร เทียนกิ่งเป็นไม้พุ่มกึ่งรอเลื้อยขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 3-6 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากเป็นพุ่มกว้าง ลักษณะของกิ่งก้านเมื่อยังอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม สีเขียวนวล กิ่งเมื่อแก่จะมีหนาม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมสีเทา ใบออกตรงข้าม รูปไข่รูปรีถึงรูปใบหอกกว้าง 1.5-5 ซม. x 0.5-2 ซม. ดอกออกเป็นข่อติดกันเป็นกระจุกยาว โดยจะออกตามยอดกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก แบ่งเป็นสองสายพันธุ์คือ พันธุ์ดอกขาวและพันธุ์ดอกแดง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-8 มม คล้ายกับเมล็ดพริกไทย ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกหรือแก่เต็มที่แล้วจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในผลมีเมล็ดเมล็ดยาว 3 มม สีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก อัดกันแน่น ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---เจริญเติบโตได้เร็ว ต้องการแสงแดดเต็มวัน ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิดที่มีความชื้นปานกลางถึงต่ำ สามารถเติบโตได้ในดินที่ไม่ดีเต็มไปด้วยหินและเป็นทราย ดินมีค่า pH 5-7 ทนได้ 4.3 - 8 เทียนกิ่งมีอายุยืนยาวอยู่ได้ถึง 12-25 (40) ปี

ใช้ประโยชน์---ปลูกกันอย่างแพร่หลายเป็นไม้ประดับและต้นไม้ป้องกันความเสี่ยงและปลูกเพื่อผลิตเฮนน่าสีย้อมที่สกัดได้จากใบ- ในยุคกรีกโบราณเฮนน่าเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นพืชสมุนไพรและเครื่องสำอาง -ใช้เป็นยา ใช้ในการแพทย์แผนโบราณเพื่อการรักษาโรคเกือบทุกชนิด เป็นสมุนไพรฝาดที่มีกลิ่นหอมคล้ายชาที่ควบคุมเลือดและต้านเชื้อแบคทีเรีย ถือได้ว่าเป็นยาชูกำลังที่เปลี่ยนแปลงเส้นประสาทในยาอายุรเวท -การย้อมผมด้วยเฮนน่าจะฆ่าเหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใบถูกนำมาใช้ภายในในการรักษาโรคบิด โรคท้องร่วงและเพื่อส่งเสริมการไหลของประจำเดือน ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากเพื่อรักษาอาการเจ็บคอ สารสกัดจากใบมีผลต่อการสมานผิวบนผิวหนัง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ (รวมถึงโรคเรื้อน) ใช้ใบสดตำพอก เล็บขบและเป็นหนอง -อื่น ๆ ใช้ในวงการเครื่องสำอางค์ใช้ผงเทียนกิ่งเป็นยาย้อมผมให้เป็นสีน้ำตาลแดงหรือแดงปนส้ม และจะช่วยปกป้องผมจากแสงแดด ใช้น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากดอกไม้ในการทำน้ำหอมกลิ่นของไลแลค ไม้เนื้อละเอียดและแข็ง มันถูกใช้สำหรับการทำวัตถุขนาดเล็กเช่นหมุดเต็นท์และเครื่องมือจับและใช้เป็นเชื้อเพลิง -ความเขื่อ/พิธีกรรม เฮนน่าถูกใช้มานานนับพันปีโดยเฉพาะในอินเดียในฐานะเครื่องสำอางและสีย้อมผม มันเป็นหนึ่งในเครื่องสำอางที่เก่าแก่ที่สุดในโลก บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรของวันที่ใช้งานมานานกว่า 2,500 ปี มันมีความสำคัญอย่างยิ่งในศาสนาอิสลามซึ่งมีการใช้ในพิธีต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีแต่งงาน เฮนน่าจะถูกใช้ในการวาดลวดลายที่ซับซ้อนบนผิวหนังโดยเฉพาะที่มือและเท้าของเจ้าสาวและแขกรับเชิญในงาน ระยะออกดอก ออกผล--- ตลอดปี ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
|
|
|
ฝ้ายแดง/Gossypium arboreum

ชื่อวิทยาศาสตร์---Gossypium arboreum L. ชื่อพ้อง---Has 32 Synonyms ---Gossypium nanking Meyen. ---Gossypium obtusifolium Roxb. ex G.Don ---(More) ชื่อสามัญ---Ceylon Cotton , Chinese Cotton , Tree Cotton, Asiatic cotton, Oriental Cotton, Red-Flowered Cotton Tree, ชื่ออื่น---ฝ้ายแดง(ทั่วไป) ; [THAI: Fai Daeng (General).];[Chinese: shù mián.]; [HINDI: Diyokapaas, Kaarpaas, Kapaas, Kapaas Kaa Per.];[ITALIAN: Albero Del Cotone, Cotone a Fibra Corta, Cotone Arborescent.];[Japanese: Kotton, Wata.]; [KANNADA: Bangaali Hathhi.];[MALAYALAM: Cemparutti, Kaattuparutti.];[MEXICO: algodón de mata.];[Portuguese: algodoeiro-arbóreo.]; [SANSKRIT: Raksatika.];[Spanish: Algodón Asiático, Algodonero Arbóreo, Arbol Del Algodón.]; [French: cotonnier en arbre.];[German: asiatische Baumwolle.];[Swedish: Trädbomull.].[TAMIL: Parutthi, Semparutti.];[TELUGU: Karpasamu, Paminda Pratti.]. ชื่อวงศ์---MALVACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเชีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา

ไม่พบในธรรมชาติ สามารถปลูกได้ในเขตร้อน และเขตร้อนชื้น พบเพาะปลูกเป็นหลักในเอเซียใต้ ซึ่งพบได้ในระดับความสูงถึง 1,600 เมตร ฝ้ายแดงเป็นไม้พุ่ม สูงได้2-3 เมตรหรืออาจจะถึง4เมตร ลำต้นสีน้ำตาลแดง หรือม่วง ใบเดี่ยว 2-5 × 2–4.5 ซม.เวียนสลับ รูปไข่ ขอบหยักลึก 3-7 แฉก ก้านใบยาว1.5-10 ซม. ก้านใบและเส้นใบสีแดงคล้ำ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีแดงเข้ม หรือ สีเหลืองอ่อน กลางดอกสีม่วงแดงเกือบดำ ผลกลม หัวท้ายแหลม เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดกลม สีเขียว คลุมด้วยปุยขนสีขาว ปุยขนที่ติดกับเมล็ดนี้ไม่ได้ทำหน้าที่กระจายพันธุ์ ไม่ฟุ้งกระจายโดนน้ำก็จะยุบหุ้มเมล็ด ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัด ดินที่ อุดมสมบูรณ์และมีการระบายน้ำดี ค่า pH ในช่วง 6 - 7.2 ซึ่งทนได้ 5.3 - 8.5 น้ำและความชื้นพอดี ไม่ค่อยมีโรค อายุอยู่ได้นานหลายปี ใช้ประโยชน์--- พืชได้รับการเพาะปลูกเพื่อต้องการเส้นใยโดยเฉพาะในอินเดียและแอฟริกา -ใช้กินได้ เมล็ดมีน้ำมันจำนวนมากซึ่งสามารถใช้แทนน้ำมันมะกอก -ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ คอยหมั่นตัดแต่งดอกจะออกให้เห็นอยู่ตลอด แต่งกิ่งใหม่ได้ดอกใหม่ จะปลูกเดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่มก็ได้ -ใช้เป็นยา น้ำผลไม้ของรากใช้ในการรักษาไข้ -อื่น ๆเส้นใยฝ้ายมีการใช้อย่างกว้างขวางรวมถึงการทำเสื้อผ้า วัสดุสำหรับบรรจุหมอน หมอนอิง ทำเกลียวเชือก พรม ฯลฯ ระยะออกดอก--- ตลอดปี ขยายพันธุ์--- เมล็ด ตอนกิ่ง
|
|
|
หม่อน/Morus alba
ชื่อวิทยาศาสตร์---Morus alba Linn. ชื่อพ้อง---Has 25 Synonyms ---Morus atropurpurea Roxb. ---Morus chinensis Lodd. ex Loudon ---Morus intermedia Perr. ---Morus latifolia Poir. ---Morus multicaulis (Perr.) Perr. ---Morus tatarica L ---(More) ชื่อสามัญ---White Mulberry, Black-fruited mulberry, Mulberry bush, Mulberry tree, Silkworm mulberry, Silkworm tree ชื่ออื่น---หม่อน (ทั่วไป) มอน (อีสาน) ซึมเฮียะ (จีน); [THAI: mon (General).];[ARABIC: El ttuut, Tuth.];[ASSAMESE: Nuni,Kiskuri,Misturi-goch.];[BENGALI: Tut.];[BULGARIAN: Chernitsia biala.];[CHINESE: Bai sang, Sang shu, Jia sang, Nu sang, Hu sang, Sang Chih.];[DANISH: Morbær (fruit), Morbær (plant).];[DUTCH: Moerbei (fruit), Moerbezie (plant).]; [FRENCH: Mûre de murier (fruit), Mûrier (plant) , Mûrier blanc.];[GERMAN: Maulbeere (fruit), Maulbeerbaum (plant), Weiße Maulbeere.];[HINDI: Shahtoot,Chinni,Tutri,Shatooth.]; [ITALIAN: Gelso bianco, Gelso comune, Mora di gelso (fruit).]; [JAPANESE: Guwa, Kara guwa, Ma guwa, Kara yama guwa.]; [KANNADA: Resh-may-gida.];[KOREAN: Ppong, Ppong na mu.]; [MALAYALAM: Pattunoolpuzhuchedi,Mulbari.];[MALAYSIA: Bebesaran (Indonesia), Bebesaran lampung (Indonesia, Java), Murbei (Indonesia).]; [NEPALESE: Kimbu.]; [PHILIPPINES: Moras (Tag.); Morera (Span.); Amingit (Ig.); Moraya (Ibn.).];[PORTUGUESE: Amora da amoreira (fruit), Amoreira (plant), Amoreira branca.];[SANSKRIT: Tula.]; [SPANISH: Mora (fruit), Mora blanca, Mora de árbol.]; [SWAHILI: Mforsadi, Mfurusadi.];[SWEDISH: Vitt mullbär.];[TAMIL: Kambli Chedi,Kamblichedi.];[VIETNAMESE: Tằm tang, Dâu-tàm.] ชื่อวงศ์---MORACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---แถบเทือกเขาหิมาลัย อินเดียและจีนตอนใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

พืชเขตร้อนและเขตอบอุ่นสามารถปลูกได้ที่ระดับความสูงระหว่าง 300 - 3,300 เมตร ในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นไม้ยืนต้นมีความสูงประมาณได้ถึง 3-7 เมตร เปลือกลำต้นของหม่อนมีสีน้ำตาลอ่อน ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม เป็นรูปใบโพธิ์ ขอบใบหยักฟันเลื่อย อาจเว้าในหม่อนบางพันธุ์ ดอกมีขนาดเล็ก ดอกย่อย มี 4 กลีบ ออกตามซอกใบ ผลเป็นผลรวม ยาว 1–1.5 ซม. เมื่ออ่อนสีเขียวสุกสีม่วงดำ ข้อกหนดสภาพแวดล้อม---เติบโตได้ดีที่สุดในตำแหน่งที่มีแดด เติบโตได้ในดินที่หลากหลายตั้งแต่ดินร่วนปนทรายไปจนถึงดินเหนียว ที่มีความชื้นพอเพียง ต้องการ pH ในช่วง 5.5 - 7.5 ซึ่งทนได้ 4.3 - 8.3 ใช้ประโยชน์ ต้นไม้มีประโยชน์หลายอย่างให้คุณค่าโดยเฉพาะผลไม้ที่กินได้และใช้เป็นยา มันได้รับการปลูก ในสวนบ้านสำหรับผลไม้ที่กินได้ และมักจะเปลูกเป็นไม้ประดับ -ใช้กินได้ ผลสุกรับประทานได้มีรสหวานอมเปรี้ยว ใบอ่อนกินเป็นผัก ใช้ใบที่บดเป็นผงชงเป็นชาดื่ม - ในประเทศอินเดียนิยมทำขนมปัง flatbread, Paratha ซึ่งทำจากส่วนผสมของใบหม่อนแห้งและแป้งสาลี -ใช้เป็นยา ยอดอ่อนและใบหม่อนตากแห้งใช้ทำชาชงกิน ชาวญี่ปุ่นดื่มน้ำชาจากผงใบหม่อน และรากหม่อนมาเป็นเวลากว่า 60 ปีเชื่อกันว่าจะช่วยรักษาสุขภาพ และเพื่อใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง ต้นหม่อนมีประวัติยาวนานในการใช้ยาในการแพทย์แผนจีน เกือบทุกส่วนของพืชถูกนำมาใช้ ใบมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย, เป็นยาสมานแผล ถูกนำมาใช้ภายในในการรักษาหวัด, ไข้หวัดใหญ่, การติดเชื้อที่ตาและเลือดกำเดาไหล -สารสกัดจากใบสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคเท้าช้าง ลำต้นเป็นยาขับปัสสาวะ ปวดไขข้อ ความดันต่ำ ผลไม้มีฤทธิ์บำรุงไต ใช้ในการรักษาปัสสาวะเล็ด, วิงเวียน, หูอื้อ, นอนไม่หลับเนื่องจากโรคโลหิตจาง โรคประสาทอ่อน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ผมหงอกก่อนวัยและอาการท้องผูกในผู้สูงอายุ เปลือกของรากนั้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ขับเหงื่อ, ขับปัสสาวะ, เสมหะ ใช้ภายในในการรักษาโรคหอบหืด, ไอ, โรคหลอดลมอักเสบ, บวม, ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เปลือกไม้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวตืด -ในบราซิลใช้เป็นไข้ลดโคเลสเตอรอลและความดันโลหิตและป้องกันตับ ·ในกัมพูชามีการใช้ใบเพื่อรักษาโรคตาแดง -นิยมนำมาปลูกประดับตามบ้าน เลี้ยงง่ายมีผลออกให้ดูง่าย -อื่น ๆ นิยมปลูกตามหมู่บ้านเพื่อใช้ใบเป็นอาหารเลี้ยงตัวไหม ในหลายประเทศใบหม่อนเป็นส่วนหนึ่งของอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง เปลือกไม้ใช้ในประเทศจีนเพื่อทำกระดาษ ในอนุทวีปอินเดียไม้ใช้สำหรับงานฝีมืองานตู้และอุปกรณ์กีฬาเช่นไม้ฮอกกี้และไม้เทนนิส -สารสกัดจากรากใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผลิตภัณฑ์ปลูกผม-ผลไม้อุดมไปด้วยแอนโธไซยานินและมีศักยภาพในการเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของสีธรรมชาติเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร มันให้ไซยานินซึ่งมีส่วนช่วยให้สีแดงหรือสีม่วง ระยะออกดอกออกผล--- ตลอดปี ขยายพันธุ์ --- เมล็ด ปักชำ
|
|
|
รามใหญ่/Ardisia elliptica

ชื่อวิทยาศาสตร์---Ardisia elliptica Thunb. ชื่อพ้อง---Has 13 Synonyms
-Ardisia kotoensis Hayata |
-Bladhia squamulosa (C.Presl) Nakai |
-Ardisia littoralis Andrews |
-Climacandra littoralis (Andrews) Kurz |
-Ardisia sorsogonensis Elmer ex Merr. |
-Icacorea humilis Britton |
-Ardisia squamulosa C.Presl |
-Icacorea solanacea Britton |
-Ardisia umbellata Roxb. |
-Icacorea zeylanica Lam. ex Schult. |
-Bladhia elliptica (Thunb.) Nakai |
-Tinus squamulosa (C.Presl) Kuntze |
-Bladhia kotoensis (Hayata) Nakai |
|
ชื่อสามัญ---Shoebutton ardisia, Duck's eye, Coralberry, Seashore ardisia, China shrub, Jet berry. ชื่ออื่น--- ตาไก่ (ภาคใต้); ทุลังกาสา (ชุมพร); ปือนา (มาเลย์-นราธิวาส); ผักจ้ำ, มะจ้ำ (ภาคใต้); รามใหญ่ (ชุมพร); ลังพิสา (ตราด); [THAI: ta kai (Peninsular); thu langkasa (Chumphon); pue-na (Malay-Narathiwat); phak cham (Peninsular); ma cham (Peninsular); ram yai (Chumphon); langphisa (Trat).];[AUSTRALIA: China shrub; duck's eye; jet berry.]; [BENGALI: bonjam.]; [CHINESE: Lán yǔ shù qǐ, dong fang zi jin niu]; [CUBA: ardisia.]; [FRENCH: ardisie elliptique.]; [HINDI: dhan-priya.]; [INDONESIA: Lempeni]; [JAMAICA: blackberry.]; [JAPANESE: Seironmanryou]; [KANNADA: bodinagida.];[MALAYALAM: kakkanjara,kolarakku, kulimundan, molakka.]; [MALAYSIA-SINGAPORE: Mata pelandok, Mata ayam, Mata itek, penar; rempenai];[MARATHI: bugadi, dikna.]; [NEPALI: damaai phal.]; [PHILIPPINES: bahagion; katagpo; kolen];[PUERTO RICO: mameyuelo]; [SAMOA: togo vao];[TAMIL: kolurucci, narikandam.]; [TELUGU: adavi mayuri, kaashi neredu.]; [USA: inkberry; jet berry]. ชื่อวงศ์---MYRSINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดียตอนใต้, ศรีลังกาไปยังหมู่เกาะนิโคบาร์, ไทย, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, นิวกินี ชื่อพื้นถิ่นที่พบบ่อยที่สุดในภาษาอังกฤษคือ shoebutton ardisia

ช่วงพื้นเมืองที่แน่นอนจะถูกถกเถียงกันถึงแม้ว่ามันจะได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ USDA-ARS (2009) รายงานช่วงกำเนิดจากไต้หวันและหมู่เกาะริวกิวของญี่ปุ่นทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงปาปัวนิวกินีทางตะวันตกเฉียงใต้ถึงอินเดียทางตะวันตกรวมถึงอินโดนีเซียมาเลเซียฟิลิปปินส์ ไทย ศรีลังกา และเวียดนาม อย่างไรก็ตามมีความไม่แน่นอนอาจจะเป็นทางใต้ของจีนชายฝั่งทะเลพม่าและกัมพูชา พบเกิดขึ้นตามหาดทรายที่อยู่ใกล้ชายฝั่งในสถานที่ต่าง ๆ เช่นตามชายหาด ขอบป่าชายเลน ริมแม่น้ำที่ระดับความสูงไม่เกิน 30 เมตร มันเติบโตในสวนเป็นไม้ประดับและหลบหนีการเพาะปลูกได้กลายเป็นสายพันธุ์ที่รุกรานในเปอร์โตริโก, เขตร้อนของออสเตรเลีย ( ควีนส์แลนด์ , ดินแดนทางเหนือ), ฟลอริดาตอนใต้ในสหรัฐอเมริกา, แคริบเบียน , หมู่เกาะ Mascarene , เซเชลส์ , และในหมู่เกาะแปซิฟิกหลายแห่งเช่นฮาวาย ประเทศไทยพบได้ทางภาคใต้ รามใหญ่เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 4 เมตร กิ่งแขนงรูปทรงกระบอกหรือเป็นเหลี่ยม สีน้ำตาลแกมเทาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีถึงรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3.5-7.5 ซม.ยาว 12.5-25 ซม.ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบรูปลิ่ม เนื้อใบมีจุดโปร่งแสงกระจายทั่วไป ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวแกมชมพูจางๆ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ5กลีบ 2 รูปซ้ายข้างบนไม่ใช่ดอกแต่เป็นรูปการติดผล ผลไม้รูปกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 - 11 มม.ผลอ่อนสีเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อสุกและแก่จัดจะเป็นสีดำหรือม่วงเข้มมีเมล็ดแข็งเมล็ดเดียวรูปทรงกลมแป้นเล็กน้อย ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัดหรือร่มเงาบางส่วน ชอบดินที่ชื้นหรือเปียกชื้นที่อุดมสมบูรณ์และสามารถปลูกได้ในดินเหนียว อายุการใช้งานอยู่ได้10-25(-40) ปี

ใช้ประโยชน์--- พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและยารักษาโรค มันมักจะเติบโตเป็นไม้ประดับมีค่า -ใช้กินได้ ผลไม้ - ดิบรสเปรี้ยวเล็กน้อย มีแป้งเล็กน้อย แต่ไม่มีรสชาด หน่ออ่อน - ดิบหรือสุกดอกไม้และผลไม้ใช้ปรุงเป็นเครื่องปรุง -ใช้เป็นยา รากใช้เป็นยาเมื่อคลอด ยาต้มของใบช่วยบรรเทาปวด ใบถูกนำมาใช้เพื่อบรรเทาและรักษาแผล ชาวมาเลย์ใช้ยาต้มจากใบเพื่อรักษาอาการปวดหัวใจ การใช้งานด้านเภสัชกรรมจากสารสกัดจากพืชที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศจีนเพื่อวัตถุประสงค์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย และมีผลในเชิงบวกต่อการลดลงของเซลล์มะเร็งเต้านม -อื่น ๆ ไม้สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิง ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล็ด **ส่วนตัว-รูปต้นรามใหญ่ ถ่ายมาจาก สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพฯ จ.ระยอง ตอนกลางเดือนสิงหาคม ปี 59 ที่นั่น ปลูกรามใหญ่ ไว้เป็นกลุ่ม หลายต้น ได้แต่รูป ต้น ใบ และผล ส่วนดอกของรามใหญ่ ได้มาจากที่อื่น**
|
|
|
พิลังกาสา/Ardisia polycephala

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Ardisia polycephala Wall. ex A.DC. ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms ---Tinus polycephala (Wall. ex A.DC.) Kuntze ชื่อสามัญ---shoebutton, shoebutton ardisia, shoe-button ardisia ชื่ออื่น---พิลังกาสา(ทั่วไป), ตีนจำ(เลย); ผักจำ, ผักจ้ำแดง(เชียงใหม่,เชียงราย); พิลังกาสา(ภาคกลาง) ; [THAI: Pi-lang Gaa-saa (General); Tin cham (Loei); Phak cham, Phak cham daeng (Chiang Mai, Chiang Rai); phi langkasa (Central).]; ชื่อวงศ์---MYRSINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้-จีน พม่า ไทยและเวียดนาม

ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูง 400-900 เมตร รามใหญ่กับพิลังกาสา ลักษณะคล้ายกัน เนื่องจากเป็นไม้ในวงศ์เดียวกัน ยังมีพันธุ์ไม้ในวงศ์พิลังกาสาอีกต้น เรียกว่า มะจ้ำก้อง ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Ardisia sanguinolenta รูปของมะจ้ำก้องไม่มีเลยไม่ได้นำมาลง ทั้งต้น ดอก ใบ ผล ลักษณะนิสัย รวมถึงสรรพคุณในทางสมุนไพร คล้ายคลึงกันมาก จากการสังเกตุความแตกต่างทั่วไป ลักษณะใบของรามใหญ่ จะใหญ่กว่า โคนใบจะสอบแคบกว่า พิลังกาสา พิลังกาสาเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงได้ถึง 8 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม เกลี้ยงและบาง ใบกว้าง 4-8.5ซม. ยาว 12-20 ซม.ลักษณะใบรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาแข็งเป็นมันสีเขียวแต่ใบอ่อนจะเป็นสีแดง ดอกเป็นช่อแน่น ดอกย่อยขนาดเล็กเป็นกระจุก สีชมพู ผลสีแดงหรือดำขนาด 0.7-0.9ซม. เนื้อบางมีชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง ภายในมี1เมล็ด

ใช้ประโยชน์-ใช้กินได้ ใบมีรสฝาด นิยมกินยอดอ่อนเป็นผัก สารสกัดจากพิลังกาสา มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงและปลอดภัย ใช้ในการผสมอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ของขบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทชา -ใช้เป็นยา ใบ มีรสเฝื่อนร้อน แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ ราก มีรสเฝื่อนเมาเปรี้ยว ตำกับสุราเอาน้ำรับประทาน เอากากพอกปิดแผล ถอนพิษงู แก้กามโรคและหนองใน ต้น แก้โรคเรื้อน ดอก มีรสเฝื่อนขม ฆ่าเชื้อโรค เมล็ด แก้ลมพิษ ผล มีรสร้อน ฝาด แก้ไข้ ท้องเสีย แก้ลมพิษ แก้ธาตุพิการ แก้ซาง ใช้ปลูกประดับเป็นไม้ระดับกลางในสวนได้ ระยะติดดอกติดผล---ตลอดปี ขยายพันธุ์ ---เมล็ด
|
|
|
ส้มกุ้งขน/Ardisia helferiana
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Ardisia helferiana Kurz. ชื่อพ้องHas 5 Synonyms ---Ardisia albiflora Pit. ---Ardisia crispipila Merr. ---Ardisia dinhensis Pit. ---Ardisia villosula Pit. ---Tinus helferiana (Kurz) Kuntze ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น--- ส้มกุ้งขน,จีนจำ(ปราจีนบุรี),ก้างปลา,ตาปลา(ตราด),คราม,ครามกุ้ง(ประจวบคีรีขันธ์),แม่ห้าง(อุดรธานี),ตาไก่(สุราษฎร์ธานี),พระยาราม(ชุมพร),พุมมะราชา(จันทบุรี) ; [THAI: som kung khon, chin cham (Prachin Buri); kang pla, ta pla (Trat); khram, khram kung (Prachuap Khiri Khan); mae hang (Udon Thani); ta kai (Surat Thani); phraya ram (Chumphon); phumma racha (Chanthaburi).]; [VIETNAM: Cơm nguội búng, Cây Cơm Nguội.] ชื่อวงศ์---PRIMULACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---กัมพูชา พม่า ไทย ลาว เวียตนาม


ส้มกุ้งขนเป็นไม้วงศ์เดียวกับพิลังกาสาอีกต้น รูปนี้ถ่ายมาจาก สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพฯ จ.ระยอง เหมือนกัน ส้มกุ้งขนเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 3 เมตร กิ่งก้านมีขนปกปุย หนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานยาว 8-13 ซม. กว้าง 2.5-4.5 ซม.ก้านใบยาว 1 ซม หลังใบมีขนสั้นๆ ท้องใบมีขนที่ยาวและหนาแน่นกว่าโดยเฉพาะที่เส้นกลางใบ ดอกออกเป็นช่อกระจะเชิงหลั่น ออกที่ซอกใบยาว 8-10 ซม. ก้านดอก 1.5-2 ซม.ดอกย่อยมีจำนวนมาก มีขนปกปุย หนาแน่น กลีบดอกสีม่วงแกมชมพูมีจุดประสีม่วงเข้มกระจายทั่วไป ผลสดรูปทรงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 มม. สีม่วงเข้มมีเมล็ด1เมล็ด ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแดดจัด น้ำปานกลาง ดินมีการระบายน้ำดี ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ในเวียตนามใช้รากรักษาโรคไขข้ออักเสบปวดไต ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ใบแก้ตับพิการ ผล บำรุงกำลัง -ปลูกเป็นไม้ประดับ นำมาใช้จัดสวนโดยปลูกเป็นต้นเดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่มใหญ่ได้ -อื่น ๆ ไม้ใช้ทำฟืน ระยะออกดอก---มกราคม ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง
|
|
|
ปลาไหลเผือก/TONGKAT ALI

ชื่อวิทยาศาสตร์---Eurycoma longifolia Jack ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms ---Eurycoma merguensis Planch. ชื่อสามัญ---Long Jack, Ali’s umbrella, Malaysian ginseng. ชื่ออื่น---กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี); คะนาง, ชะนาง (ตราด); ตรึงบาดาล (ปัตตานี); ตุงสอ (ภาคเหนือ); ตุวุเบ๊าะมิง, ตูวุวอมิง (มาเลย์-นราธิวาส); ปลาไหลเผือก (ภาคกลาง); เพียก (ภาคใต้); หยิกบ่อถอง, หยิกไม่ถึง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ไหลเผือก (ตรัง); เอียนดอน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); แฮพันชั้น (ภาคเหนือ) ; [THAI: krung ba dan (Surat Thani); kha nang, cha nang (Trat); trueng ba dan (Pattani); tung so (Northern); tu-wu-bo-ming, tu-wu-wo-ming (Malay-Narathiwat); pla lai phueak (Central); phiak (Peninsular); yik bo thong, yik mai thueng (Northeastern); lai phueak (Trang); ian don (Northeastern); hae phan chan (Northern).];[BAHRAIN: Langir siam];[INDONESIA: Malaysian ginseng, Bidara laut, Pasak bumi; Babi kurus (Javanese).];[JAPANESE: babi kurus]; [LAOS: tho nan]; [MALAYSIA:Tongkat ali, Pasak bumi, Penawar pahit, Penawar bias, Bedara merah, Bedara putih, Lempedu pahit, Payong ali, Tongkat baginda, Muntah bumi, Petala bumi (Malay).].[VIETNAM: cây bá bệnh, hau phat, bba binh]; ชื่อวงศ์---SIMAROUBACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน หมู่เกาะบอร์เนียวและสุมาตรา

มีถิ่นกำเนิดในอินโดจีน (กัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย เวียดนาม) หมู่เกาะบอร์เนียว สุมาตราและยังพบในฟิลิปปินส์ ปลาไหลเผือก เป็นไม้ ยืนต้นขนาดเล็กสูงได้ถึง 3-10 เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาค ขึ้นกระจายในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ระดับความสูงจนถึงประมาณ 700 เมตร ลำต้นไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน มักเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ถึงจะปลูกอยู่กลางแจ้งก็ตาม เป็นการเอนตามธรรมชาติไม่ใช่ด้วยสภาพแวดล้อม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมีอยู่20-30คู่ แต่ละใบขนาดกว้าง1.2-3 ซม ยาว 5-12 ซม. ออกเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง สีเขียวเข้มด้านล่างมีนวลสีเงิน ยอดอ่อนและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกออกที่ซอกใบเป็นแบบดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กขนาด 0.5 ซม. กลีบดอกสีม่วงแดง ผลเป็นผลสดรูปยาวรีขนาด 1.2-2 ซม.รูปขอบขนาน ปลายเป็นจงอยสั้นๆ เมื่อสุกเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดง บางครั้งแตกออกได้ ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---พืชเจริญเติบโตในป่าที่ลุ่มและอาศัยอยู่ในดินหลากหลายชนิด แต่ชอบดินที่มีความเป็นกรดและมีการระบายน้ำดี ใช้ประโยชน์ ---รากของพืชมีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้านของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในยุคปัจจุบันมีการใช้งานทั่วไปเป็นอาหารเสริมเช่นเดียวกับสารเติมแต่งอาหารและเครื่องดื่ม -ใช้เป็นยา มักใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ใช้ราก ลดไข้ ต้านมาลาเรีย ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงหลังคลอดบุตร ลดความวิตกกังวล เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ต้านการก่อเกิดเนื้องอก ลดน้ำตาลในเลือด -มีการเผยแพร่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินโดจีน ในชื่อ "tongkat ali" และ "pasak bumi"โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสกัดจากน้ำและยาต้มจากราก เป็นยาพื้นบ้านที่รู้จักกันดีซึ่งช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศส่งเสริมการสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่ามีคุณสมบัติต้านการอักเสบ, ต้านมาลาเรีย, เป็นยาต้านจุลชีพและสารต้านอนุมูลอิสระ ระยะเวลาออกดอก---พฤศจิกายน-มกราคม ขยายพันธุ์ ---เมล็ดและตอนกิ่ง **ส่วนตัว-ต้นนี้ไม่มีรูปดอกผลให้ดูเลย ถ่ายมาจากสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพฯ จ.ระยอง หามาปลูกไม่ง่ายถ้าบังเอิญไปเจอก็อาจไม่ซื้อ เพราะไม่สวย ไม่รู้จัก ต้นไม้หลายต้นที่หายากสูญเสียโอกาสไปไม่น้อย หลายต้นที่นำมาลงในหัวข้อ บางทีก็ไม่ได้ลงเพื่อแนะนำให้เพื่อปลูกประดับหรือไว้ใช้จัดสวน แต่ลงไว้เพื่อให้รู้ **
|
|
|
ไคร้ย้อย/Elaeocarpus grandiflora

ชื่อวิทยาศาสตร์---Elaeocarpus grandiflora Sm. ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms ---Cerea radicans Thouars ---Elaeocarpus lanceolatus Blume ---Elaeocarpus radicans (Thouars) Hiern ---Monocera grandiflora (Sm.) Hook.Unresolved ---Monocera lanceolata (Blume) Hassk.Unresolved ---Perinka grandiflora (Sm.) Raf ชื่อสามัญ---Blue olive berry, Fairy petticoats, Fringe bells, Lily of the valley tree, Shiva's tears. ชื่ออื่น---กาบพร้าว (นราธิวาส); คล้ายสองหู (สุราษฎร์ธานี); ไคร้ย้อย (เชียงใหม่); จิก, ดอกปีใหม่ (กาญจนบุรี); แต้วน้ำ (บุรีรัมย์); ปูมปา (เลย); ผีหน่าย (สุราษฎร์ธานี); มุ่นน้ำ (เพชรบูรณ์); สารภีน้ำ (เชียงใหม่); อะโน (ปัตตานี); [THAI: kap phrao (Narathiwat); khlai song hu (Surat Thani); khrai yoi (Chiang Mai); chik, dok pi mai (Kanchanaburi); taeo nam (Buri Ram); pum pa (Loei); phi nai (Surat Thani); mun nam (Phetchabun); saraphi nam (Chiang Mai); a no (Pattani).];[BURMA: Ye saga.];[INDONESIA: Anyang-anyang, Ki ambit, Kemaitan.]; [MALAYSIA: Ando, Andor.];[PHILIPPINES: Mala (Tag.).]; [VIETNAM: Côm hoa lớn.] ชื่อวงศ์---ELAEOCARPACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเชีย เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้-อินโดจีน

ช่วงกระจายพื้นเมืองในเอเชียเขตร้อน - กัมพูชา, ลาว, พม่า, ไทย, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย พบขึ้นตามที่ลุ่มใกล้น้ำ ตามลำห้วย ลำธาร ตามป่าดิบและขึ้นทั่วไปตามป่าโปร่งและป่าเบญจพรรณ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 50-800เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาค ไคร้ย้อยเป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือขนาดกลางไม่ผลัดใบ ต้น สูงประมาณ 5-30 เมตร ลักษณะ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มทึบ ผิวเปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูป ไข่ โคนใบและปลายใบแหลม หนา ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปราย โคนใบสอบปลายใบเว้าเล็กน้อย ขนาดใบกว้าง2-5ซม.ยาว7-19ซม.ดอก เป็นดอกช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ห้อยลง ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง5กลีบ กลีบดอก5กลีบ ที่โคนกลีบดอกด้านในจะมีกลุ่มขนเรียงตัวกันอยู่ ดอกตูมสีน้ำตาลปนส้ม เมื่อบานเป็นช่อ สีขาว ผล สดสีเขียวมีเนื้อหุ้มบางๆ ทรงกลมรีหรือรูปกระสวย กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3-4 ซม. ผิวผลบางเรียบ เกลี้ยง แข็งมาก มีเพียงเมล็ดเดียว ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---เติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงแดดปานกลางถึงร่มเงาซึ่งต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นและมีสภาพดี ใช้ประโยชน์--- พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยา เป็นเรื่องธรรมดาที่จะปลูกไว้เป็นไม้ประดับด้วย -ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ เปลือกไม้ใบและเมล็ด ยาต้มใบเป็นยาชูกำลังและใช้สำหรับรักษาอาการเจ็บปวด เปลือกไม้บดใช้พอกแผล ใบใช้สำหรับรักษาโรคซิฟิลิส ใช้สำหรับโรคของผู้หญิง - ในประเทศอินโดนีเซียผลไม้ใช้สำหรับแก้ปวดบิดและกระเพาะปัสสาวะ เปลือกต้นสำหรับไตอักเสบและเฉพาะที่สำหรับแผล ในมาเลเซียใช้กับสตรีหลังคลอดบุตรเพื่อปรับปรุงการไหลเวียนของโลหิตส่งเสริมการหดตัวของมดลูก, ขับลมและเป็นยาระบาย สารสกัดน้ำจากใบผลไม้และกิ่งไม้ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน -อื่น ๆ เป็นไม้เนื้ออ่อน ผุง่าย ปลูกเป็นไม้กันดินพังทลายตามชายน้ำ ระยะออกดอก/ ติดผล---มกราคม-เมษายน/มีนาคม-พฤษภาคม ขยายพันธุ์ --- เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
|
|
|
ปีบยูนนาน/ Radermachera Sinica

ชื่อวิทยาศาสตร์--- Radermachera sinica (Hance) Hemsl. ชื่อพ้อง---has 3 Synonyms ---Radermachera borii C.E.C Fisch. ---Radermachera tonkinensis Dop ---Stereospermum sinicum Hance ชื่อสามัญ---China doll, Serpent tree, Emerald tree, Asian Bell Tree. ชื่ออื่น---ปีบยูนนาน, ปีบไหหนาน ; [CHINESE: cai dou shu, shāncài dòu, kǔ líng jiù, jiāngdòu shù, làjiāo shù, jiēgǔ liáng sǎn, sēnmù liáng sǎn, zhāoyáng huā.];[SPANISH: Árbol serpiente.];[VIETNAM: Rà đẹt hoa trắng, Rà - đẹt tàu, Boọc Bịp hoa trắng,]; ชื่อวงศ์---BIGNONIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ภูฏาน, จีน, อินเดีย, พม่า, หมู่เกาะริวกิว, ไต้หวันและเวียดนาม นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ Jacobus C. M. Radermacher (1741-1783) ; ชื่อสายพันธุ์ sinicaหมายถึงจีน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเทือกเขากึ่งเขตร้อนของ จีน ตอนใต้และ ไต้หวัน เกิดขึ้นตามเนินเขาและป่าที่ระดับความสูง 300-800 เมตร ปีบยูนาน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงไม่เกิน5เมตร ใบสีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อที่ยอด ทยอยบาน รูปร่างดอกเหมือนทรัมเป็ตสีขาวยาวประมาณ7 ซม.ดอกไม่ค่อยทนจะร่วงง่าย แต่ความที่ดอกดกจึงมักไม่ขาดดอกให้ดู ผลแคปซูลเรียวยาวเชิงเส้น ยาวถึง 85 ซม. และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม ออกในกระจุกที่ปลายกิ่ง เมล็ดรูปไข่ซึ่งมีปีกยาวประมาณ 2 ซม. กว้าง 5 มม. (รวมปีก) การใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้รากและใบ แห้งหรือสด ข้อบ่งใช้: การล้างความร้อนและล้างพิษ ขจัดเลือดชะงักงันและลดอาการบวม ใช้สำหรับแก้ไข้ การรักษาเฉพาะที่ของรอยฟกช้ำและกระดูกหัก งูกัด -ใช้ปลูกประดับ เป็นต้นไม้ให้ร่มเงาขนาดเล็ก พืชอาจปลูกในภาชนะที่เป็น houseplantsตกแต่งตามอาคาร บ้สน สวนทั่วไป **ส่วนตัว-ไม้ต้นนี้ เขาร่ำลือกันว่าดอกหอมจรุงใจกันนักกันหนา หอมทั้งวัน แถมว่าเหมือนกลิ่นแป้งร่ำ กลิ่นโบราณแบบไทยๆ ขัดกับชื่อที่เหมือนเป็นต้นไม้มาจากจีน ปีบยูนนานหรือปีบไหหนานนี้จะออกดอกทั้งปี ชอบแดดจัดกลางแจ้ง น้ำพอดีๆ เลี้ยงง่ายโตเร็ว ระยะออกดอก---ตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง
|
|
|
สร้อยสุวรรณ/Lophanthera lactescens

ชื่อวิทยาศาสตร์---Lophanthera lactescens Ducke ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ชื่อสามัญ---Golden Chain, Golden chain tree, Milky lophanthera ชื่ออื่น---โซ่ทอง, โซ่ทองคำ, สร้อยสุวรรณ (ทั่วไป); [THAI: so thong, so thong kham, soi suwan (General).];[BRAZIL: Chuva-de-ouro.];[FRENCH: Lophanthera laiteux.];[MALAYSIA: Rantai Emas.][PERU: champán.]; [PORTUGUESE: Chuva-de-ouro-da-Amazônia, Lanterneira, Lofântera-da-Amazônia.]. ชื่อวงศ์ ---MALPIGHIACEAE ถิ่นกำเนิด ---ทวีปอเมริกาใต้ เขตกระจายพันธุ์ ---อเมริกาใต้-บราซิล

มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล (เอเคอร์และปารา) ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตหวงห้ามในป่าที่อุดมสมบูรณ์ส่วนใหญ่ตามแนวลำธารน้ำที่ระดับความสูงต่ำ ไม้ใหญ่ยืนต้นกึ่งผลัดใบ สูงได้ถึง 20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 30-40 ซม.ใบออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ก้านใบยาว 3-4 ซม. ใบจะออกถี่ที่ปลายยอด ทำให้เกิดร่มเงาดีมาก ลักษณะใบของโซ่ทองคำเป็นใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 24 ซม. และกว้าง 12-16 ซม.ปลายใบและโคนใบแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็ง ดอก ออกเป็นช่อใหญ่สีเหลือง ห้อยเป็นระย้า ช่อดอกยาวประมาณ 50-80 ซม. ดอกจะทยอยบาน ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ต้องการแดดจัด ดินอุดมสมบูรณ์มีความเป็นกรดอ่อนถึงเป็นด่างอ่อน น้ำปานกลางความชื้นในดินสม่ำเสมอต่อเนื่อง ไม่ชอบแฉะ ไม่ชอบน้ำขัง ต้นไม้ที่เติบโตอย่างรวดเร็วปานกลางสามารถเข้าถึงความสูง 2-3 เมตรภายใน 2 ปีจากเมล็ด **ส่วนตัว- โซ่ทองคำหรือสร้อยสุวรรณไม้ต้นนี้เข้ามาประมาณปี 52 เป็นไม้ต้นหนึ่งที่ยิ่งโหญ่โต ยิ่งสวยงาม เพราะดอกจะออกดกมากขึ้น มันจะเหลืองเต็มต้น ชื่อโซ่ทองคำนี่ก็ชนะใจแล้ว ที่เห็นออกดอกมาน้อยนี่อยู่ในเครื่องล้อมในร้านต้นไม้ยังไม่ได้ลงดิน ดอกจึงออกจะดูน้อยไปหน่อย นึกภาพสิว่าถ้าลงดินแผ่กิ่งก้านออกดอกฟูแล้วจะสวยขนาดไหน เห็นแต่รูปแบบนี้ก็ดูงั้นๆ** ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ เป็นไม้ประดับที่มีความสวยงามมากที่สุดต้นหนึ่ง เนื่องจากใบที่อุดมสมบูรณ์และช่อดอกที่ยาวและออกดอกอยู่ยาวนาน เริ่มแพร่กระจายในประเทศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนเท่านั้น ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาของศตวรรษที่ XX การเติบโตอย่างรวดเร็วนั้นเป็นผลดีต่อการจัดสวนในสวนสาธารณะและสวนหย่อมโดยจัดเป็นกลุ่มหรือเป็นแถวและเหมาะอย่างยิ่งสำหรับปลูกเป็นต้นไม้ริมถนนซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเหมาะสมสำหรับจุดประสงค์นี้ในเมืองที่มีมลพิษ นอกจากนี้ยังรวมถึงความเหมาะสมในการเป็นสายพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกป่าในพื้นที่เสื่อมโทรมด้วย -อื่น ๆ ไม้มีขนาดเล็กหนักปานกลางแข็งพอสมควรไม่ทนต่อการโจมตีของปสวกกินไม้ ใช้ในการก่อสร้างเช่นคาน, จันทันและวัสดุบุผิว ใช้ในการทำตู้ ระยะออกดอก/ผลแก่ --- กุมภาพันธ์-พฤษภาคม/กันยายน-ตุลาคม ขยายพันธุ์ --เมล็ด ตอนกิ่ง
|
|
|
ส้านชวา/Dillenia suffruticosa

ชื่อวิทยาศาสตร์---Dillenia suffruticosa (Griff. ex Hook. f. & Thomson) Martelli ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms ---Dillenia burbidgei (Hook.f. ) Martelli ---Wormia burbidgei Hook.f. ---Wormia suffruticosa Griff ชื่อสามัญ--- Simpoh, Shrubby dillenia, Shrubby simpoh ชื่ออื่น--ส้านดอกเหลือง, ส้านชวา, ส้านยะวา (กรุงเทพฯ),; [THAI: san chawa, san yawa (Bangkok).]; [BRUNEI: simpor, simpur.]; [CAMBODIA: plo sbat.]; [INDONESIA: abuan, simpoh.];[MALAYSIA: simpoh air, simpor bini, simpoh gajah, Simpoh Ayer, Simpoh Paya (Malay); Abuan (Semai); Bu'ua (Bidayuh); Buan (Iban); Buan, Dungin, Simper ayer, Simpoh, Simpor, Simpor bini, Simpor rimba, Tambakau (Borneo).]; [SRI LANKA: diyapara, godapara, para.]. ชื่อวงศ์---DILLENIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,ศรีลังกา, คาบสมุทรมาเลเซีย, สุมาตรา, ชวา, บอร์เนียว ฮาวาย และสิงคโปร์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย (กาลิมันตันและสุมาตรา), มาเลเซียและสิงคโปร์ เติบโตในแหล่งที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ตามชายป่า ป่าโกงกางในพื้นที่แอ่งน้ำตามริมฝั่งลำธาร ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล ถึงประมาณ 500 เมตร และยังปลูกที่อื่นในฐานะที่เป็นไม้ประดับเช่นในศรีลังกา เซเชลส์ และในหมู่เกาะแคริบเบียน เป็น ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 5-10 เมตรแตกใบตั้งแต่โคน ต้นตอนเล็กดูจะเหมือนเป็นไม้กอเตี้ย เปลือกของลำต้นสีม่วงดำ ลักษณะของใบใหญ่ ยาวประมาณ 25 ซม.กว้าง 6-20 ซม ขอบใบจักตื้นโคนใบเปลี่ยนรูปเป็นกาบหุ้มใบ ก้านใบยาว1,5-5 ซม. แผ่นใบสีเขียวสดเป็นมัน ผิวใบสากพอประมาณ ดอกออกที่ยอดเป็นช่อ ช่อละ 4-5 ดอก ก้านช่อดอกยาว 5-10 ซม.ดอกใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 ซม. กลีบดอกรูปไข่ขอบหยัก มี 5กลีบสีเหลืองสดใส กลีบเลี้ยงเล็กสีเขียว ดอกบานต่อเนื่องทีละครั้งวันเดียวแล้วโรย ผลวงรีรูปไข่สีชมพูเข้ม ยาว2-2.5 ซม.กว้าง 1-1.5 ซม. ผลแก่จะแยกเป็น7-9ส่วน มีเมล็ดสีดำที่ถูกปกคลุมด้วยเนื้อลักษณะเป็นดาว6แฉกสีแดงเข้ม กระจายออกมา ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัดถึงร่มเงาบางส่วน ดินทรายถึงดินเหนียวที่มีความชื้นสม่ำเสมอและมีการระบายน้ำดี ใช้ประโยชน์--- พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น มักจะปลูกเป็นไม้ประดับในสวนทั่วไป -ใช้เป็นยา ใช้ในยาแผนโบราณ ใบและรากใช้ในการรักษาอาการอักเสบ คัน ปวดท้องและ ช่วยฟื้นฟูสตรีหลังจากการคลอดบุตร มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา สารต้านอนุมูลอิสระที่มีแนวโน้ม ต้านมะเร็ง -ใช้ปลูกประดับ มักจะใช้ในสวนสาธารณะและปลูกประดับสวน ในอาคาร ที่พัก อาศัย เนื่องจากดอกไม้สีเหลืองสดใสที่มีขนาดใหญ่ที่ผลิตออกมาเกือบต่อเนื่อง และผลกับใบไม้ที่โดดเด่น สามารถปลูกในกระถางขนาดใหญ่ได้ -วนเกษตร เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วและความสามารถในการปรับตัวของมันถูกนำมาใช้ในการปลูกป่าในพื้นที่เสื่อมโทรม รากแก้วที่ยาวสามารถเข้าถึงน้ำในระดับความลึก -ใช้อื่น ๆ ใบใหญ่ถูกนำมาใช้ห่ออาหารเช่นเทมเป้ (เค้กหมักถั่วเหลือง) หรือก่อตัวเป็นกรวยตื้น ๆ เพื่อบรรจุ "อาหารจานด่วน" แบบดั้งเดิมเช่น rojak สำคัญ---ดอกส้านชวา เป็นดอกไม้ประจำชาติของบรูไน ชาวบรูไน เรียกว่าดอก ซิมพอร์ (Sympor) ระยะออกดอก--- ตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง
|
|
|
ส้านดอกขาว/Dillenia philippinensis
ชื่อวิทยาศาสตร์---Dillenia philippinensis Rolfe. ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms ---Dillenia catmon Elmer. ---Dillenia philippinensis var. pubifolia Merr. ชื่อสามัญ---Philippine Simpoh, Philippine Katmon, Philippine dillenia ชื่ออื่น---ส้านดอกขาว(ทั่วไป): [THAI: san dok khao (General).]; [PHILIPPINES: katmon kalambug, kalambok, kambug, katmon, palali.] ชื่อวงศ์ ---DILLENIACEAE ถิ่นกำเนิด ---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – ฟิลิปปินส์ ไม้วงศ์เดียวกันกับส้านชวา แต่ดอกเป็นสีขาว ขนาดของดอกและใบจะใหญ่กว่าส้านฃวา มีถิ่นกำเนิดในประเทศฟิลิปปินส์ พบในป่าชั้นรอง ในที่โล่งกว้างที่ระดับความสูงไม่เกิน 1000 เมตร ถูกจัดอยู่ในสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม อยู่ในอันตรายของการสูญพันธุ์ เป็นประเภท"ความเสี่ยง" ใน IUCN Red of List of Species Threatened 2013 ส้านดอกขาวเป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 7-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มหนาแน่นทรงกลมกว้าง เปลือกต้น สีเกือบดำใบคล้ายใบส้านชวา ขนาดของใบ กว้างประมาณ 8-15 ซม.ยาว 15-30 ซม.ดอกสีขาวขนาดใหญ่ ใจกลางสีม่วงแดง ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกย่อยมีตั้งแต่ 4-5 ดอก หรือมีมากได้ถึง 18 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นรูปไข่กลับ กลีบดอก 5 กลีบ เป็นรูปช้อน แต่ละกลีบแยกจากกัน กลีบดอกค่อนข้างหนา เป็นสีขาว ดอก บานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 9-10 ซม. ผลรูปกลมแป้นขนาด 5 - 6 ซม ผลสุกเป็นสีส้มหรือสีแดง แตกเป็น 6 แฉก ภายในมีเมล็ด ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ชอบดินเหนียวปนทราย แดดจัดเต็ม น้ำปานกลาง ความชื้นในดินต่อเนื่อง ใช้ประโยชน์--- พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าส่วนใหญ่เป็นผลไม้ที่ใช้เป็นอาหารและยา -ใช้เป็นอาหาร ผลไม้มีเนื้อนุ่มเนื้อสีเขียว กินได้มีรสชาติคล้ายแอปเปิ้ลสีเขียวและเปรี้ยว ใช้สำหรับทำซอสปรุงรสและแยม ใช้กับปลาปรุงรส ผลไม้เมื่อปรุงแล้วใช้เป็นผัก น้ำผลไม้ใช้เป็นเครื่องดื่มเย็น -ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ ผลไม้ ใบไม้ เปลือกไม้ -ใบและเปลือกต้นเป็นยาระบายและสมานแผล ใช้น้ำส้มของผลไม้ผสมกับน้ำตาลใช้เป็นยาแก้ไอ ยาต้มผลไม้ใช้สำหรับแก้ไอและเจ็บหน้าอก ในซาบาห์ใบอ่อนหรือเปลือกลำต้นทุบและนำไปใช้วางบนส่วนที่บวมและบนแผล - การศึกษาแนะนำคุณสมบัติต้านจุลชีพ, ต้านการอักเสบ, ยาแก้ปวด, ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด -ใช้เป็นไม้ประดับ เป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างหายากในการเพาะปลูกนอกเขตกำเนิด แต่มีค่าประดับและภูมิทัศน์ที่ยอดเยี่ยม ใช้ในสวนสาธารณะและในสวน อาคาร บ้านพักอาศัย ปลูกเป็นกลุ่ม หรือปลูกเดี่ยวๆแยกได้หรือเป็นต้นไม้ริมถนน สามารถปลูกในภาชนะขนาดใหญ่สำหรับการตกแต่งทั่วไป -อื่น ๆ ไม้ในการก่อสร้างสำหรับพื้นเพดานและกรอบสำหรับเฟอร์นิเจอร์และวัตถุในชีวิตประจำวัน ยาต้มผลไม้ใช้สำหรับทำความสะอาดเส้นผม สีย้อมสีแดงได้จากเปลือกไม้ ระยะเวลาออกดอก--- ตลอดปี ขยายพันธุ์ เมล็ด ตอนกิ่ง
|
ม่วงส่าหรี/Lagerstroemia sp.
ชื่อวิทยาศาสตร์---Lagerstroemia sp. ชื่อสามัญ---Crape myrtle, Crepe myrtle ชื่ออื่น---ม่วงส่าหรี ชื่อวงศ์ ---LYTHRACEAE ถิ่นกำเนิด--- เขตกระจายพันธุ์---เขตอากาศร้อนชื้นทั่วโลก


อีกชื่อที่เรียกคือตะแบกม่วง คงเป็นเพราะ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกยี่เข่งกับดอกตะแบกปนกัน คือกลีบดอกของม่วงสาหรีจะยู่ยี่คล้ายดอกยี่เข่งแต่ดอกจะใหญ่คล้ายดอกตะแบก ม่วงส่าหรีเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 3 -4 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างกลม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบเกือบมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ดูเหมือน ใบอินทนิลน้ำ เป็นสีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อแน่นขนาดใหญ่ ที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก สีของดอกเป็นสีม่วงเข้ม เวลามีดอกจะออกดอกดกเต็มต้น **รูปดอกสีแดงนี่ได้ติดมือมาทีหลัง** ขยายพันธุ์ : ด้วยการตอนกิ่ง
|
เกล็ดกะโห้/Clusia rosea

ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Clusia rosea Jacq ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms ---Clusia retusa Poir. ---Clusia rosea var. colombiana Cuatrec. ---Elwertia retusa Raf. ---Firkea rosea (Jacq.) Raf. ชื่อสามัญ ---Autograph Tree, Balsam Apple, Balsam Fig, Fat Park Tree, Pitch Apple, Scotch-Attorney, Cupey, Copey clusia, Star of Night, Florida clusia, Scotch-attorney. ชื่ออื่น---เกล็ดกะโห้, เกล็ดกะโห้ด่าง(ทั่วไป); [THAI: klet kaho, klet kaho dang (General).]; [CARIBEAN: copey, cupey.]; [GERMAN: Balsamapfel; rosafarbener balsamapfel.]; [PUERTO RICO: cupey.]; [SPANISH: copey rosado (Spain).]; [SRI LANKA: Gal Idda, Gal Goraka.]; [SWEDISH: Narrfikkus.]; [USA: florida clusia.]. ชื่อวงศ์---GUTTIFERAE (CLUSIACEAE) ถิ่นกำเนิด---ปานามา เวเนซูเอล่า และหมู่เกาะเวสอินดิส เขตกระจายพันธุ์---บาฮามาส คิวบา เปอร์โตริโก ฟลอริดา เขตร้อนของทวีปเอเซีย นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ Clusius นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ (ค.ศ. 1526-1609)

พืชพื้นเมืองของเม็กซิโก ฟลอริดา อเมริกากลาง แคริบเบียนและอเมริกาใต้ เติบโตที่ระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร และกระจายไปยัง เกาะกวมและฮาวาย ถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในพืชสวนที่รุกรานมากที่สุดของฮาวายและยังมีการรายงานในบราซิล สิงคโปร์ ศรีลังกา และประเทศเขตร้อนอื่น ๆ ในฐานะพืชรุกราน เกล็ดกระโห้เป็นไม้วงศ์เดียวกันกับ มังคุด กระทิง และสารภี ดอกใหญ่ดีแต่ไม่หอม เติบโตเป็นพืช epiphytic อาศัยอยู่บนโขดหินหรือต้นไม้อื่น ๆมีรากอากาศจำนวนมาก ในช่วงเริ่มต้นชีวิตของมันเติบโตบนพืชโฮสต์อื่นและในที่สุดก็ฆ่าโฮสต์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 2-9 เมตร ทรงพุ่มโปร่งเนื้อไม้เหนียว ใบหนาเหนียวคล้ายแผ่นหนัง กว้าง 3.5-14 ซม ยาว 8-16 ซม.ก้านใบยาว 1-2 ซม.ดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุก 1-3 ดอก กลีบเลี้ยงถาวร 4-6 กลีบ ยาว 1-2 ซม. กลีบดอก 6-8 กลีบสีขาวหรือสีชมพูอมม่วง บานอยู่ได้ 2-3 วันแล้วโรย ผลสีเขียวอมน้ำตาลเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม.เมื่อแก่แล้วแตก ภายในมีเยื่อหุ้มเมล็ด ดูผลคล้ายมังคุด แต่รับประทานไม่ได้ ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแสงดดเต็มหรือร่มเงาบางส่วน ทนต่อสภาพดินได้หลายประเภท ชอบดินร่วนและความชื้นสูง การระบายน้ำต้องดี ศัตรูธรรมชาติ ปลวก รากเน่า ใบจุด -ใช้ปลูกประดับ Clusia rosea เป็นไม้ประดับที่ปลูกในแอฟริกาใต้ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 โดยทั่วไปจะปลูกในลานจอดรถของศูนย์การค้า โรงเรียน คอนโดมิเนียมและพื้นที่อยู่อาศัย สามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้ ขยายพันธุ์---ตอนกิ่งและเพาะเมล็ด **ส่วนตัว-เกล็ดกระโห้ที่เห็นทั่วไปมี 2 ต้นคือต้นที่มีใบเขียวหมด กับต้นที่มีใบด่าง 3รูปบน คือเกล็ดกระโห้ที่ใบด่างปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ไว้ในที่ร่มรำไร ส่วนรูปล่างที่เป็นรูปผลเป็นต้นเกล็ดกระโห้ใบเขียวหมดที่ปลูกกลางแดดลงดิน ปลูกแล้วควรมีหลักผูกจับลำต้นให้ตรงและคอยแต่งกิ่งให้โปร่งจะออกดอกดกให้ดูดีตลอดปี **
|
ไข่ดาว/Oncoba spinosa

ชื่อวิทยาศาสตร์---Oncoba spinosa Forssk. ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms ---No synonyms are recorded for this name. ---Lundia monacantha Schumach. & Thonn. ---Oncoba monacantha (Schumach. & Thonn.) Steud. ชื่อสามัญ---Fried Egg Tree, Snuff Box Tree, Oncoba, Wild white rose, Fried egg flower. ชื่ออื่น---ไข่ดาว(ทั่วไป) [THAI: khai dao (General).]; [Afrikaans: Snuifkalbassie; Muyebe (Rundi); Musonbo (Luba-Katanga).]; [CONGO: Nti nsansi.]; [KINYARWANDA: Mushumbi.] ชื่อวงศ์---FLACOURTIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา เขตกระจายพันธุ์---ทรอปิคอลแอฟริกา - เซเนกัล โซมาเลีย แองโกลา แซมเบีย, ซิมบับเวและ แอฟริกาใต้ นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษาอาหรับสำหรับสายพันธุ์แอฟริกาเหนือ “onkub” ; คำระบุชนิด spinosa หมายถึงหูใบที่เปลี่ยนรูปเป็นหนาม

แพร่หลายมากในเขตร้อนของทะเลทรายซาฮารา มันเติบโตในแถบกว้างตั้งเซเนกัล ซูดานถึงโซมาเลีย, ทางใต้ไปทางเหนือของแองโกลา, แซมเบีย, ซิมบับเวและ แอฟริกาใต้ ขึ้นตาม ขอบป่า ป่าริมแม่น้ำ ป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลใกล้ถึง 600-1,800 เมตร ลำต้นสูง 4-8 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นไม่เกิน 60 ซม.ลำต้นค่อนข้างอ่อน มีหนามเล็กๆตามลำต้นและกิ่งก้าน แตกกิ่งน้อย กิ่ง เหนียวและแตกออกยืดยาว ใบรูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานยาว 7-18 x 3-8 ซม ขอบใบหยักละเอียดโคนใบแหลมและมีหนามแหลม ยาวประมาณ 2-4 ซม.ใบแข็งเป็นมันสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 6-12 มม. ดอกเดี่ยวออกที่ปลายยอดสีขาวอมเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 3 ซม. เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ช่วงต้นฝนดอกจะออกมากหน่อยดอกบานอยู่ 2 วันแล้วร่วง ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลรูปไข่กลมหรือทรงกลมยาวประมาณ 4-6 ซม.ผลอ่อนสีเขียว มีเปลือกแข็งที่เมื่อแก่กลายเป็นสีน้ำตาลแดง มีเมล็ดสีน้ำตาลมันวาวฝังอยู่ในเนื้อแห้งสีเหลือง ข้อกำหนดสภาพแวดล้อม---ชอบตำแหน่งในที่ร่มรำไร ไม่ชอบแดดจัด ดินชื้นที่อุดมสมบูรณ์ การระบายน้ำดี

ใช้ประโยชน์--- พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าใช้เป็นอาหารและยาปลูกเพื่อให้ผลไม้ในแอฟริกาและอินเดีย และ ปลูกเป็นไม้ประดับมีค่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับดอกไม้สีขาวขนาดใหญ่ซึ่งมีกลิ่นหอม -ใช้เป็นอาหาร ผลดิบรสเปรี้ยวรสชาดค่อนข้างเหมือนทับทิมหรือแอปเปิ้ลเขียว ไม่อร่อย มันมักจะถูกมองว่าเป็นอาหารความอดอยากกินเฉพาะในเวลาที่ขาดแคลน ส่วนน้ำมันที่ใช้บริโภคได้นั้นมาจากเมล็ด -ใช้เป็นยา พืชมักใช้ในยาแผนโบราณ มันมีชื่อเสียงอย่างมากในคองโกในฐานะยาครอบจักรวาลสำหรับโรคภัยไข้เจ็บทั้งหมดและเป็นเครื่องป้องกันอิทธิพลชั่วร้ายและวิญญาณ ห้ามตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชโดยไม่ทำการอธิบายเหตุผลและความคาดหวังให้กับพืช ในไอวอรี่โคสต์พืชมีชื่อเสียงที่ดีในฐานะที่เป็นยาโป๊ -ผลไม้รวมกับเนย Karite (Vitellaria Paradoxa) ใช้ในการรักษาอาการปวดท้องและเบื่ออาหาร ยาต้มกิ่งก้านใบใช้เป็นยาล้างแผล รากเป็นยาแก้อักเสบและบำรุงกำลัง ยาต้มใช้รักษาโรคบิดปวดศีรษะและกระเพาะปัสสาวะ -ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ต้นไข่ดาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กก็จริง แต่ก็ปลูกเลี้ยงลงกระถางขนาดใหญ่ได้ ขนาดรอบวงของลำต้นไม่ใหญ่นักและลำต้นก็ค่อนข้างอ่อน เลี้ยงได้สูงประมาณ2เมตร ถ้าปลูกลงดินจะสูงได้ถึง 5 เมตร ถ้าจะปลูกลงดินควรหาหลักมาจับยึดลำต้นและกิ่งหลักไว้ ยึดให้ตรง จะได้ไข่ดาวที่มีทรงพุ่มสวยในอนาคต -ใชอื่น ๆ ไม้สีน้ำตาลอ่อนแข็งแตกง่ายและขัดได้ดี ใช้สำหรับงานตกแต่งภายใน ไม้มีขนาดใหญ่พอที่จะเป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ -ผลไม้มีเปลือกแข็งเมื่อถูกทิ้งไว้ให้แห้งโดยมีเมล็ดอยู่ภายในจะทำให้เขย่าแล้วมีเสียงดัง ใช้ทำเป็นกำไลและปลอกแขน ยึดติดกับข้อเท้า สำหรับนักเต้นเพื่อเพิ่มจังหวะเมื่อแสดง ระยะออกดอก/ติดผล ---กันยายน-มกราคม/กุมภาพันธ์-มิถุนายน ขยายพันธุ์----เมล็ด ตอนกิ่ง
|
รวงผึ้ง/Schoutenia glomerata King subsp. peregrina

ชื่อวิทยาศาสตร์---Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm & Hartono ชื่อสามัญ---Yellow Star ชื่ออื่น--- กะสิน, กาสิน (นครพนม, สกลนคร),ดอกน้ำผึ้ง, น้ำผึ้ง, รวงผึ้ง (ภาคเหนือ); สายน้ำผึ้ง (ภาคกลาง); [THAI: dok nam phueng, nam phueng, ruang phueng (Northern); sai nam phueng (Central).]; ชื่อวงศ์---MALVACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย กัมพูชา ในประเทศไทยพบกระจายห่าง ๆ ทางภาคเหนือตอนล่างที่นครสวรรค์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สกลนคร ขึ้นตามริมแม่น้ำและที่ราบลุ่มที่น้ำท่วมถึง ความสูงไม่เกิน 200 เมตร

ต้นรวงผึ้งมีความสำคัญคือเป็นพรรณไม้ประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องด้วยดอกรวงผึ้งมีสีเหลืองซึ่งเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ และผลิดอกช่วงวันพระราชสมภพพอดี เมื่อพระองค์เสด็จฯ กอปรพระราชกรณียกิจตามสถานที่ต่างๆ ก็จะทรงปลูกต้นรวงผึ้งพระราชทานไว้เพื่อเป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร http://www.royalparkrajapruek.org/Knowledge/view/25

รูปต้นรวงผึ้งต้นนี้ถ่ายเมื่อ ก.ค 59 กำลังออกดอกพอดี ต้นนี้สูงกำลังสวย ความสูงของต้นรวงผึ้งโดยทั่วไป สูงอยู่ ประมาณ 5-8 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้ม แตกกิ่งก้านเยอะ ทำให้ดูทรงพุ่มทึบใบขนาดกว้าง ประมาณ 3-5 ซม.ยาว 4-12 ซม.ออกระนาบเดียวกันรูปใบมนรี หรือขอบขนานปลายแหลมฐานป้าน ขอบใบเรียบ ใบแก่ค่อนข้างหนาสีเขียวเข้มและเป็นมันด้านบน ด้านล่างใบสีจะอ่อนกว่า ขนสีน้ำตาลรูปดาวหลุดลอกง่ายดอกสมบูรณ์เพศขนาดบวกลบ1.3ซม.สีเหลืองเข้มออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งข้างตามซอกใบ มักจะบานพร้อมกัน กลีบรองดอกมี 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมากแต่ ดอกมักไม่ติดผลช่วงออกดอกนานราว1สัปดาห์ ดอกแต่ละดอกบาน2วันแล้วโรยส่งกลิ่นหอมแรงตลอดวัน เวลาดอกบานจะมีผึ้งมาตอมเป็นจำนวนมาก ต้นรวงผึ้งจะต้องปลูกกลางแจ้งเพราะ | |