สมาชิก




ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
 

เมนู

หน้าแรก

รวมรูปภาพ

เว็บบอร์ด

สนทนาคนรักต้นไม้

 

บทความ

หิน-หินเทียม

สารพัดต้นไม้จัดสวน

ไม้ประดับเพื่อการจัดสวน

ปลูกต้นไม้มงคล

เกี่ยวกับเรา

สวนสไตล์ต่างๆ

ต้นไม้ประจำจังหวัด ภูมิสัญญลักษณ์ของเมือง

มหัศจรรย์โลกพฤกษา

ว่าด้วยเรื่อง.....ดิน....และ..ปุ๋ย

พืชจัดสวนมีพิษที่ควรระมัดระวัง

เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็นสวนใหม่

จัดสวนพื้นที่ขนาดใหญ่

จัดสวนด้วยตัวเอง

ชื่อนั้นสำคัญไฉน

การทำบ่อเลี้ยงปลา และระบบกรองรักษาคุณภาพน้ำอย่างง่าย

มุมสวนสวยสำหรับคุณ

ในนี้มีอะไรเยอะแยะ

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/02/2008
ปรับปรุง 30/05/2023
สถิติผู้เข้าชม 13,647,386
Page Views 19,667,877
 
« May 2023»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031   

ต้นไม้ในป่า3

ต้นไม้ในป่า3

ต้นไม้ในป่า 3

For information only-the plant is not for sale


1 ชมพู่นก/Syzygium formosum 30 ตะเคียนชันตาแมว/Neobalanocarpus heimii 
2 ชมพู่น้ำ/Syzygium siamensis 31 ตะเคียนเฒ่า/Triadica cochinchinensis
3 ชมพู่ป่า/Syzygium megacarpum 32 ตะเคียนหิน/Hopea ferrea
4 ชมพูพาน/Wightia speciosissima 33 ตะบัน/Xylocarpus rumphii 
5 ชมพูพิมพ์ใจ/Luculia gratissima 34 ตะแบกกราย/Lagerstroemia pierrei
6 ชมพูภูคา/Bretschneidera sinensis 35 ตะแบกเกรียบแดง/Lagerstroemia balansae
7 ชมพูภูพิงค์/Prunus cerasoides 36 ตะแบกดกขาว/Lagerstroemia huamotensis
8 ชะมวงทราย/Ploiarium alternifolium 37 ตะแบกใหญ่/ Lagerstroemia duperreana 
9 ช้างเผือก/Xanthophyllum flavescens 38 ตะไหล/ Prismatomeris tetrandra 
10 ช้ามะยมดอย/Vaccinum eberhardtii 39 ตาตุ่ม/Excoecaria agallocha
11 ช้าส้านน้ำ/Rhynchotechum obovatum 40 ตังสีไพร/Litsea glutinosa
12 ชิ้งขาว 41 ตับเต่าต้น/Diospyros ehretioides
13 ซ้อ/Gmelina arborea  42 ต้างหลวง/Trevesia palmata
14 ซีง้ำ/Scyphiphora hydrophyllaceae  43 ตาฉี่เคย/Craibiodendron stellatum
15 แซะ/Callerya atropurpurea 44 ตารา/Polyalthia glauca
16 ดงดำ/Alphonsea boniana 45 ตาเสือ/Dysoxylum cochinchinense 
17 ดันหมี/Gonocaryum lobbianum  46 ตำหยาว/ Alphonsea elliptica 
18 ดีหมี/Cleidion spiciflorum 47 ติ่งฟ้า/Dasymaschalon macrocalyx
19 ดู่ด้วง/Glyptopetalum sclerocarpum 48 ติ้วเกลี้ยง/Cratoxylum cochinchinense
20 เดี่ยวชมพู 49 ติ้วขน/Cratoxylum formosum
21 เดื่อไทร/Ficus glaberrima 50 ติ้วขาว/ Cratoxylum formosum
22 แดงน้ำ/Pomitia pinnata 51 ติ้วดำ/Cratoxylum sumatranum
23 แดงสะแง/Schoutenia ovata 52 ตีนนก/Vitex limoniifolia 
24 ตองเต้า 53 ตีนเป็ดเชียงดาว/Alstonia rupestris 
25 ตะเกราน้ำ/Eriobotrya bengalensis 54 ตีนเป็ดพรุ/ Alstonia spatulata
26 ตะโกพนม/Diospyros castanea 55 ตีนเป็ดเล็ก/Alstonia Fischer
27 ตะขบควาย/ Flacourtia Jangomas  56 ตูมกาขาว/Strychnos nux-blanda
28 ตะขบไทย 57 เต็ง/Shorea obtusa 
29 ตะขบน้ำ/Scolopia macrophylla 58

เต็งหนาม/Bridelia retusa

ชมพู่นก/Syzygium formosum


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาสตร์---Syzygium formosum (Wall.) Masam.(1942)
ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms. See all The Plant List  http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-199594
---Basionym: Eugenia formosa Wall.(1830)
---Eugenia ternifolia Roxb.(1832)
---Jambosa formosa (Wall.) G.Don.(1832)
---Jambosa mappacea Korth.(1847)
---Jambosa tenuifolia Sweet.(1830)
---Syzygium mappaceum (Korth.) Merr. & L.M.Perry.(1939)
ชื่อสามัญ--None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ชมพู่นก; [ASSAMESE: Labung garai, Bhukna-chepa, Bhukua Chepa.];[THAI: Chomphu nok.];[VIETNAM: Gioi ba lá, Râu chiếc, Trâm chụm ba.].
EPPO Code--- SYZFM (Preferred name: Syzygium formosum)
ชื่อวงศ์---MYRTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก อินเดีย เนปาล พม่า ไทย เวียตนาม คาบสมุทรมาเลย์
Syzygium formosum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชมพู่ (Myrtaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์กและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Genkei Masamune (Masamune Genkei, 1899–1993) นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่นในปี พ.ศ.
ที่อยู่อาศัย พบในเทือกเขาหิมาลัยตะวันออก อินเดีย (อัสสัม) บังคลาเทศ  เนปาล เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาลายา สุมาตรา ชวา บอร์เนียว หมู่เกาะซุนดาน้อย ในประเทศไทย พบกระจายทุกภาค ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 700 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ต้นสูง 2 0เมตร เนื้อไม้แข็ง เปลือกต้นสีส้มอ่อนหลุดลอกออกเล็กน้อย ใบเรียงวงละ3ใบรอบข้อ ใบรูปหอกแกมขอบขนาน ยาว 20-45 ซม. โคนเว้าตื้น ๆ ไม่มีเส้นขอบใน ก้านใบยาว 1-3 มม.ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกสั้น ๆ ตามกิ่งที่ใบหลุดร่วง มี 4-6 ดอก ก้านดอกยาว 0.5-2.5 ซม.กลีบดอกมี 4 กลีบ ขนาด 0.9-1.2 ซม. ดอกสีชมพูเข้มมีวงแหวนหนาด้านในกลีบดอก กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ กว้างประมาณ 1 ซม. ผลเนื้อมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม.
ใช้ประโยชน์--- พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้กินผลไม้และดอกไม้
-ใช้กิน ผลไม้และดอกไม้กินได้ พืชได้รับการปลูกเป็นไม้ผลในลาวและเวียดนาม
-ใช้เป็นยา ในเวียตนามใช้แบบดั้งเดิม (แบบพื้นเมือง) ยาต้มจากใบสำหรับดื่ม ในการรักษาอาการภูมิแพ้ต่างๆ น้ำยาฆ่าเชื้อ ฝี ผื่น อักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
-อื่น ๆไม้สีเทาเนื้อแข็ง
ระยะออกดอก---เดือนมีนาคม-เดือนเมษายน  
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ชมพู่น้ำ/Syzygium siamensis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Syzygium siamense (Craib) Chantaran. & J.Parn.(1993)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-200298
---Eugenia rubida Ridl.(1920)
---Eugenia siamensis Craib.(1912)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ชมพู่น้ำ, ชมพู่ป่า, ชมพู่ค่าง, หว้าปลอก; [THAI: Chomphu nam,  Chomphu paa, Chomphu khang, Wa plok.]
EPPO Code---SYZSS (Preferred name: Syzygium sp.)
ชื่อวงศ์---MYRTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---กัมพูชา, ลาว, มาลายา, เมียนมาร์, สุมาตรา, ไทย, เวียดนาม
Syzygium siamense เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชมพู่ (Myrtaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Pranom Chantaranothai (ประนอม จันทรโณทัย เกิดปี 1955) นักพฤกษศาสตร์ชาวไทยและJohn Adrian Naicker Parnell (born 1954; J.Parn.) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2537
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอินโดจีนถึงตอนเหนือสุมาตรา ในไทยพบทุกภาค โดยเฉพาะทางภาคใต้ ส่วนมากขึ้นริมลำธารในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงระดับต่ำ ๆ
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูงประมาณ 8-15เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านต่ำ เปลือกเรียบ บางทีแตกเป็นสะเก็ด สีน้ำตาลเปลือกในสีน้ำตาล ใบเดี่ยวยาว 9-28 ซม.เรียงตรงข้ามรูปขอบขนาน ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้านก้านใบยาว 3.5-8 มม ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะสั้น ๆ ตามปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มี 2-6 ดอก ก้านดอกยาว 3-5 มม. ฐานดอกยาว 1-1.7 ซม.ดอกเมื่อออกใหม่แรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง มี 4 กลีบ ขนาด 1.4-1.7 ซม. โคนหนา ขอบบาง มีต่อมหนาแน่น เกสรเพศผู้จำนวนมากกระจายฟู ผลกลมรูปไข่เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-2.7 ซม.สีเขียวถึงม่วงปลายผลเป็นกลีบคล้ายมงกุฏครอบ  ภายในมีเนื้อสีขาว
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ใบอ่อนและยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดรสฝาดมัน ผลแก่รับประทานเนื้อหุ้มเมล็ดที่มีรสหวาน
ระยะออกดอก---เดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ชมพู่ป่า/Syzygium megacarpum


อ้างอิง, ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาสตร์---Syzygium megacarpum (Craib) Rathakr. & N.C. Nair.(1983)
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms
---Basionym: Eugenia megacarpa Craib.(1931)   
---Jambosa macrocarpa Sweet.(1830)    
---Jambosa coarctata Blume.(1850)    
---Eugenia latilimba Merr.(1934.)    
---Syzygium macrocarpum Bahadur & R.C.Gaur.(1978.)    
---Syzygium latilimbum (Merr.) Merr. & L.M. Perry.(1938)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-199874    
ชื่อสามัญ--None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ชมพู่ป่า  [CHINESE: Kuo ye pu tao.];[THAI: Chomphu paa.].
EPPO Code---SYZSS (Preferred name: Syzygium sp.)
ชื่อวงศ์---MYRTACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย บังกลาเทศ พม่า ไทย  จีน
Syzygium megacarpum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชมพู่ (Myrtaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Author Teams [Nattanmai Chokkappan (1939 - ) นักพฤกษศาสตร์ชาวอินเดียและ N.Chandrasekharan Nairนักวิชาการชาวฮินดู]ในปี พ.ศ.2526
ที่อยู่อาศัย พบในอินเดีย บังคลาเทศ จีน พม่า ในป่าโล่ง ริมถนน พื้นที่ที่เป็นเนินเขา ป่าดิบชื้น ริมแม่น้ำ ที่ระดับความสูง 300 - 1,200 เมตร ในประเทศจีน ในประเทศไทยพบทุกภาคตามริมลำธาร บริเวณ ป่าผลัดใบหรือป่าดงดิบ ที่ระดับความสูง 50-1,450 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 20 เมตร เปลือกต้นสีส้มอ่อน ผิวเรียบหลุดลอกเล็กน้อย ใบเดี่ยว ขนาดใบกว้าง 6.5-8 ซม.ยาว14-22 ซม.ออกตรงข้ามเป็นคู่ ปลายใบเรียวแหลมโคนใบเว้ารูปหัวใจหรือกลมมน ดอก สีขาว ออกเป็นกระจุกช่อที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ ยาวถึง 5 ซม. ดอกย่อยบานกว้างถึง 5 ซม. ฐานรองดอกเจริญ เป็นรูปถ้วยสูง 15-23 มม. ผิวนอกเป็นสัน กลีบรองดอก 4 กลีบ ปลายกลีบมนกลม กลีบดอก 4 กลีบ รูปกลม เกสรผู้จำนวนมาก ยาว 2.4-3.3 ซม. ก้านเกสรเมียยาวกว่าเกสรผู้ ผลมีเนิ้อรูปทรงกลมขนาด 4-6 ซม.สีเขียวอ่อนมีจุดสีเขียวเข้ม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นแต้มสีชมพูหรือม่วงผิวมันผิวนอกเป็นสัน เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลสดและผลสุก รับประทานได้  ใบอ่อน มีรสเปรี้ยว รับประทานกับลาบ น้ำพริก
ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-ตุลาคม/กรกฏาคม-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ชมพูพาน/ Wightia speciosissima

 

อ้างอิง, ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาสตร์---Wightia speciosissima (D.Don.) Merr.(1938)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-29209157
---Basionym: Gmelina speciosissima D.Don.(1825)
---Wightia alpinii W. G. Craib.(1913)    
---Wightia elliptica Merr.(1938)    
---Wightia lacei W. G. Craib.(1913)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ชมพูพาน (เชียงใหม่); ตุมกาแดง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), [CHINESE: Mei li tong, Shí mǔdān.];[THAI; Chomphoo phoophan,Tum-kadaeng.].
EPPO Code---PAZSS (Preferred name: Paulownia sp.)
ชื่อวงศ์---PAULOWNIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เนปาล อินเดีย สิกขิม ภูฏาน พม่า  ยูนนาน ไทย ลาว เวียตนาม กัมพูชา
Wightia speciosissima เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัว Paulowniaceae เดิมอยู่ภายใต้วงศ์ Scrophulariaceae ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย David Don (1799-1841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Elmer Drew Merrill  (1876–1956) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2481


ที่อยู่อาศัยกระจายพันธุ์ในเนปาล, อินเดีย, สิกขิม, ภูฏาน, พม่า,จีนตอนใต้(ยูนนาน)ไปจนถึงภูมิภาคอินโดจีน ที่ระดับความสูง 1,100 - 2,500 เมตร ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพืชหายาก พบที่ดอยอินทนนท์ ดอยเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ ภูกระดึงจังหวัดเลย ภูเมี่ยงจังหวัดอุตรดิตถ์ และที่เขาสอยดาวจังหวัดจันทบุรี
หมายเหตุ ไม่ค่อยพบขึ้นในที่โล่งเปิดบนภูเขาสูง บริเวณผาหินอากาศหนาวเย็น แต่ก็ขึ้นอาศัยเกาะไม้ขนาดใหญ่ที่อยู่ชั้นบนของป่าดิบเขาที่ความสูง2,000 เมตร โดยเฉพาะที่ดอยเชียงดาว พบเป็นไม้ยืนต้น1ใน2ชนิดที่สามารถขึ้นอยู่บนเขาหินปูนระดับสูงได้เช่นเดียวกับ ค้อเชียงดาว (Trachycarpus oreophilus)
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือไม้พุ่มกึ่งอิงอาศัยบนต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบเขา ไม่ผลัดใบ ปกติสูง 1-3เมตร แต่ก็มีบ้างที่สูงได้ถึง 20 เมตร ลำต้นอ้วนสั้น กิ่งก้านระเกะระกะมักอาศัยขึ้นบนไม้อื่นหรือบนหินผา เปลือกต้นสีเทาอ่อนหรือสีครีม เปลือกเรียบเกลี้ยงไม่มียาง กิ่งอ่อนมีแผลระบายอากาศ ใบเดี่ยวออกตรงข้าม แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่แกมรี ขนาดกว้าง7-13ซม.ยาว10-25ซม.ขอบใบเรียบ ใบแก่หนาและมีไขเคลือบ ด้านล่างเกลี้ยงหรือมีขนรูปดาวประปราย ดอกสีชมพูสดใสออกแบบช่อกระจุกแยกแขนงช่อดอกยาว10-20ซม ก้านช่อดอกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกบานเต็มที่ขนาด 3-5ซม. โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายเปิดลักษณะคล้ายปากแตร กลีบปากกลมมนมี2หยัก ส่วนกลีบล่างและกลีบข้างมี3หยัก เกสรผู้สั้น2อันยาว2อัน อยู่ในหลอดดอกผลเป็นฝักสีน้ำตาลเรียว ยาว2.5-4ซม.ผิวเรียบ ผลแห้งแตกตามตะเข็บแยกเป็น 2 พู เมล็ดจำนวนมาก รูปแถบ ยาวประมาณ 7 มม. มีปีกบาง แคบ ๆ สามารถลอยไปตามกระแสลมได้เป็นระยะไกล
ระยะออกดอก---เดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ชมพูภูคา/ Bretschneidera sinensis


อ้างอิง---หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4
ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาสตร์--- Bretschneidera sinensis Hemsl. (1905)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms
---Bretschneidera yunshanensis Chun & F.C.How. (1958)
ชื่อสามัญ---Chompoo Phu Kha
ชื่ออื่น---ชมพูภูคา, [CHINESE: Bo le shu.];[THAI: Chomphoo phookha.];[VIETNAM: Rết nây Trung Quốc, Chung ngạc mộc.]
EPPO Code--- BTASI (Preferred name: Bretschneidera sinensis.)
ชื่อวงศ์---AKANIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน ไทย เวียตนาม ไต้หวัน
Bretschneidera sinensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวAkaniaceaeได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Botting Hemsley (1843-1924) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2448
ที่อยู่อาศัยพบในภาคใต้และตะวันออกของประเทศจีน ,ไต้หวัน , ภาคเหนือของประเทศไทยและภาคเหนือของเวียดนาม กระจายอยู่ในป่าภูเขาสูง 300-1700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เป็นพืชเฉพาะถิ่นของไทย พบเฉพาะที่ดอยภูคาจังหวัดน่าน
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงได้ถึง25เมตร ลักษณะเปลือกต้นเรียบสีเทาอ่อน ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย4-8คู่ ขนาดกว้าง2.5-6ซม.ยาว8-25ซม.ฐานใบเบี้ยว ใบแก่เกลี้ยงมีขนเล็กน้อยบนก้านใบ ด้านล่างใบสีเทาอ่อน ก้านใบยาว 10-25 ซม ดอก สีชมพูสดใสขนาด3.5-4ซม. ช่อไม่แตกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ยาว 40 ซม กลีบดอกกลม5กลีบ ฐานกลีบแคบ เกสรเพสผู้ 8 อันอยู่กันเป็นกลุ่มโค้งลง ก้านเกสรเพศเมีย1อัน ผลแคปซูลรูปรี - กลมขนาด3-5.5 × 2-3.5 ซม.มนรีปลายสองข้างแคบ แตกเป็น3เสี้ยว แต่ละเสี้ยวมีเมล็ดสีแดงกลมรี1-2เมล็ดขนาด1.5-2.5 × 1.2-1.8 ซม.
ใช้ประโยชน์ -ใช้เป็นยา ในประเทศจีนใช้เปลือกแก้อาการปวดเอ็น เสริมความแข็งแรงให้กับเอ็นและกล้ามเนื้อ
ระยะออกดอก---เดือนมกราคม-มีนาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ชมพูพิมพ์ใจ/Luculia gratissima

ชื่อวิทยาศาสตร์--- Luculia gratissima (Wall.) Sweet.(1826)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-115282
---Basionym: Cinchona gratissima Wall.(1824)
---Mussaenda luculia Buch.-Ham. ex D.Don.(1825) [Illegitimate]
ชื่อสามัญ--Luculia, Pleasant Luculia
ชื่ออื่น---ชมพูพิมพ์ใจ, พิมพ์ใจ ; [CHINESE: Fù yù diān dīng xiāng]; [NEPALI: Ban kangiyo, Dowaree phool, Gaai Phool.];[THAI: Chomphoo phimchai, Phimchai.].
EPPO Code---LULGT (Preferred name: Luculia gratissima.)
ชื่อวงศ์--- RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เนปาล ภูฏาน อัสสัม พม่า ไทย
Luculia gratissima เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์กและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Robert Sweet (1783–1835) นักพฤกษศาสตร์และนักปักษีวิทยาชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2369


ที่อยู่อาศัย พบที่เนปาล อินเดีย ภูฏาน อัสสัม พม่า ไทย จีนตอนใต้ เวียดนามตอนบน ขึ้นตามซอกหินหรือสวนหินปูนที่มีหญ้าปกคลุม บริเวณที่เป็นที่โล่งแจ้งอากาศเย็นและมีความชื้นสูง ที่ระดับความสูง1,300-2,200เมตร ในประเทศไทยพบในภาคเหนือของไทยเป็นพืชหายากพบที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และดอยภูคา จังหวัดน่าน ขึ้นตามที่โล่งบนเขาหินปูน ความสูง 1,700-2,200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูง 1.5-3 เมตร ไม่ผลัดใบ  ลักษณะ แตกใบมากบริเวณปลายกิ่ง ตามกิ่งมีช่องอากาศ  ใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบเวียนสลับรอบต้น แผ่นใบรูปใบหอก ขนาดกว้าง5-10ซม.ยาว15-20ซม.โคนและปลายใบแหลม เนื้อใบคล้ายแผ่นหนังเกลี้ยง ตามเส้นใบเห็นร่องลึกชัดเจน  ก้านใบยาวได้ถึง 1.5 ซม ดอกสีชมพูอ่อนถึงขาวมีกลิ่นหอมหวาน ดอกออกเป็นช่อลดหลั่นกันเป็นระนาบ ก้านดอกยาวไม่เท่ากันดอกที่โคนช่อจะมีก้านยาวกว่า กลีบเลี้ยง5กลีบรูปใบหอก ยาว 0.8-1.5 ซม. ไม่เชื่อมติดกันรูปแถบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดแคบ ยาว 2.5-4 ซม. ปลายแยก 5 กลีบ รูปรีกว้างเกือบกลม ยาว 0.8-1.3 ซม. เรียงซ้อนเหลื่อม สีชมพูเข้ม ปลายแยกแผ่เป็นปากแตรมีแฉกกลีบดอก5แฉก แผ่กางราบอยู่ในระนาบเดียวกัน สมมาตรตามรัศมี ผล รูปไข่กลับ ยาว 1-1.5 ซม ผิวแข็งแห้งและแตกตามยาว เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมากยาวประมาณ 2 มม.รวมปีกสั้นๆที่ปลายทั้งสองข้าง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เจริญได้ดีในสภาพอากาศหนาวเย็นเลียนแบบสภาพธรรมชาติ  
ใช้ประโยชน์--- นำมาใช้ปลูกประดับ
ระยะออกดอก---ธันวาคม-กุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์---ด้วยเมล็ดและการตอนกิ่ง

ชมพูภูพิงค์/นางพญาเสือโคร่ง/Prunus cerasoides


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาสตร์---Prunus cerasoides Buch.-Ham. ex D.Don.(1825.)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms
---Cerasus cerasoides (Buch.-Ham. ex D.Don) S.Ya.Sokolov.(1954)
---Prunus puddum Roxb.(1831)
---(More).See all The Plant List http://theplantlist.org/tpl1.1/record/rjp-8103
ชื่อสามัญ--- Wild Himalayan cherry, Sour cherry, Himalayan flowering cherry
ชื่ออื่น--- ฉวีวรรณ, ชมพูภูพิงค์ (เหนือ) เส่คาแว่, เส่แผ่, แส่ลาแหล (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) ซากูระดอย (เชียงใหม่) ;[CHINESE: Gao peng ying tao];[GERMAN: Himalaja-Kirschbaum.];[HINDI: Padam, padmak];[JAPANESE: Himarayazakura];[OTHERS: Paiyun];[THAI: Chaweewan, Chomphoo phoopink (Northern); Sagura doi (Chiang mai).].
EPPO Code---PRNCS (Preferred name: Prunus cerasoides.)
ชื่อวงศ์---ROSACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย เนปาล พม่า ไทย  จีน
Prunus cerasoides เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวกุหลาบ (Rosaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francis Buchanan-Hamilton(1762-1829) แพทย์ชาวสก็อตที่มีส่วนร่วมสำคัญในฐานะนักภูมิศาสตร์ นักสัตววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ในขณะที่อาศัยอยู่ในอินเดีย จากอดีต David Don (17991841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตในปี พ.ศ.2368

   

ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดในเอเชียทางตอนใต้ พบในประเทศไทย, พม่า (รัฐฉานและรัฐกะฉิ่น), ประเทศอินเดียพบบนเทือกเขาหิมาลัย (อรุณาจัลประเทศถึงรัฐหิมาจัลประเทศ) ทางตอนเหนือของอินเดีย หรือที่เรียกว่าHimalayas, ภูฏาน, เนปาล และจีน (ยูนนาน) เติบโตในหุบเขาที่ระดับความสูงที่หลากหลายตั้งแต่ 700-3,700 เมตร ในประเทศไทยมีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศ เช่น ภูลมโล จังหวัดเลย, ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย, ดอยเวียงแหง ดอยอ่างขาง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่, ขุนสถาน ดอยวาว ดอยภูคา มณีพฤกษ์ จังหวัดน่าน, ภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์, ภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก พบทั่วไปบนภูเขาตั้งแต่ความสูง จากระดับน้ำทะเล1,200-2,400 เมตร
ลักษณะ ต้นนี้ให้รู้จักกันในฉายาว่า "ซากุระเมืองไทย" เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง  สูงได้ถึงประมาณ5- 10เมตร เปลือกต้นเรียบเป็นมัน สีเหลือบน้ำตาล เยื่อผิวบาง หลุดลอกง่าย  ก้านใบมีความยาว 1.2-2 ซม ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงเวียนสลับแผ่นใบรูปไข่ กว้าง 3-5 ซม.ยาว 5-12 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบใบหยักถี่ ปลายก้านใบมีต่อม2-4ต่อม หูใบแตกแขนงเป็นริ้วเล็กๆหรือเป็นรูปเขากวาง ก่อนออกดอกจะทิ้งใบหมดต้น ดอกสีขาว ชมพูอ่อน แดง หรือสีชมพูสด ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ดอกดกมาก ก้านดอกยาว 0.7-2ซม. กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2ซม. กลีบดอกหลุดร่วงง่าย ผลเป็นรูปไข่หรือค่อนข้างกลม ขนาด 1-1.3 x 0.8 ซม.ผิวเรียบเมื่อสุกสีแดง


ใช้ประโยชน์ ---ใช้กิน ผล เมล็ด ดิบ-สุกใช้กินได้  ผลสมีรสเปรี้ยวแต่ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะอาจจะท้องเสียจิ๊ดๆ มักมักจะปรุงให้สุกและนำไปทำซอสและบรั่นดีเชอร์รี่
-ใช้เป็นยา ใช้สำหรับอาการปวดหลัง กระดูกร้าว,  อาหารไม่ย่อย, โรคเรื้อน, ไฟลามทุ่ง,  อาเจียน, โรคหอบหืด, กระหายน้ำ, โรคท้องร่วงและการเต้นของหัวใจ-น้ำผลไม้ของเปลือกจะถูกใช้ภายนอกเพื่อรักษาอาการปวดหลัง - เปลือกไม้ใช้ในการรักษาบาดแผล อาหารไม่ย่อย, สำหรับกระดูกร้าว,  - ลำต้นและกิ่งก้านใช้สำหรับรักษากรวดนิ่วในไตโรคหอบหืดกระหายน้ำ รคเรื้อนและอาเจียน - แก่นไม้มีความแข็งปานกลางมีกลิ่นหอมมีรสฝาดขมขมฉุนสารทำความเย็นลดไข้และบำรุงกำลัง - ยาต้มเปลือกต้นมีความเข้มข้นที่อุณหภูมิต่ำใช้ในการรักษาอาการปวดข้อ-ผลเป็นยาสมานแผลและย่อยอาหาร-ในอินโดจีน เปลือกไม้ใช้เป็นยาแก้ท้องมาน ดอกถือเป็นยาขับปัสสาวะและยาระบาย ชาวปัญจาบใช้ผลเป็นยาฆ่าเชื้อโรค
-วนเกษตร ต้นไม้ถูกใช้เป็นสายพันธุ์บุกเบิกในการปลูกป่า และใช้ช้ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาออกดอกดกและมีความสวยงาม
-ใช้อื่น ๆ สีย้อมสีเขียวได้จากใบ สีเทาเข้มถึงสีเขียวได้จากผล เมล็ดใช้เป็นลูกปัดทำสร้อยคอและลูกประคำ ดอกไม้เป็นแหล่งที่มีประโยชน์ของผึ้งอาหารสัตว์ ดอกสีขาวอมชมพูเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยน้ำหวานและเกสรผึ้ง -ต้นไม้ใช้เป็นต้นตอเชอร์รี่สำหรับเสียบยอด ติดตา ทาบกิ่ง-เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยละอองเกสรและน้ำหวานสำหรับผึ้ง
พิธีกรรม/ความเชื่อ---พืชได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และได้รับการอนุรักษ์เพื่อวัตถุประสงค์ทางศาสนา ใช้ในทุกโอกาสที่เป็นมงคล ถูกใช้ในพิธีกรรมโดยชาวท้องถิ่นโดยเฉพาะใน Gharwal Himalaya ผู้คนไม่เคยตัดต้นไม้ทั้งหมดแต่ใช้ตัดแค่กิ่งไม้เพื่อใช้ในพิธีกรรมเท่านั้น เนื่องจากไม้ถูกห้ามไม่ให้ใช้เป็นเชื้อเพลิง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่จะสังเกตเห็นต้นไม้ที่ค่อนข้างเก่าของพืชชนิดนี้ในพื้นที่
ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท'ความกังวลน้อยที่สุด'(ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2016
ระยะออกดอก---ธันวาคม-กุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ชะมวงทราย/Ploiarium alternifolium

ชื่อวิทยาศาสตร์---Ploiarium alternifolium (Vahl) Melch.(1925)
ชื่อพ้อง--- Has 1 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-100363294
---Basionym: Hypericum alternifolium Vahl.(1791)    
ชื่อสามัญ---Cicada Tree, Riang Riang, Himalayan Cicada tree.
ชื่ออื่น---ชะมวงทราย, ชะมวงกวาง ;[INDONESIA: Beriang, Bunyok, Malaka udang]; [MALAYSIA: Reriang, Riang-Riang, Sauma, Saruna, Jangkrik pohon.];[THAI: Chamuang kwang, Kwang Muang, Som kwang].
EPPO Code---QLZSS (Preferred name: Ploiarium sp.)
ชื่อวงศ์---BONNETIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน คาบสมุทรมาเลย์ สุมาตรา บอร์เนียว
Ploiarium alternifolium เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัว Bonnetiaceae ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Martin Vahl (1749–1804)นักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาชาวเดนมาร์ก-นอร์เวย์และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Melchior Treub (1851–1910)นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ในปี พ.ศ.2468
ที่อยู่อาศัย อินโดจีน คาบสมุทรมาเลย์ สุมาตรา บอร์เนียว มักจะอยู่ในพื้นที่เปิดในพุ่มไม้หรือป่าเต็งรังและป่าผสมและป่าไม้พบได้สูงถึง 500 เมตร ในประเทศไทยพบตามป่าดงดิบและชายป่าพรุทางภาคใต้
ลักษณะ เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก สูง 10-13 เมตร ใบเป็นเดี่ยวกว้าง2-3.5ซม.ยาว12-18ซม. ออกเรียงสลับเป็นช่อแน่นบริเวณปลายกิ่ง ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ดอกสีขาวออกเป็นดอกเดี่ยวตรงซอกใบใกล้ปลายยอดกว้าง2-4ซม. กลีบดอก 5กลีบ เกสรเพศผู้สีเหลืองอ่อนจำนวนมาก ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น5เส้น
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ในซาราวักรากของต้นไม้นี้ผสมกับ 'หม้อยา' สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร
-อื่น ๆ ไม้ใช้ในการก่อสร้างบ้าน
ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท'ความกังวลน้อยที่สุด'(ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2016
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ช้ามะยมดอย/Vaccinium eberhardtii

ชื่อวิทยาศาสตร์---Vaccinium eberhardtii Dop. var. pubescens H.R.Fletcher
ชื่อพ้อง---No Synonyms are record for this name
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ช้ามะยมดอย ช่อไข่มุก ดอกใต้ใบ ตานก ;[THAI: Cha ma yom doi, Cho khai mook, Dok tai bai, Ta nok.].
EPPO Code---1VACG (Preferred name: Vaccinium)
ชื่อวงศ์---ERICACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---
Vaccinium eberhardtii var. pubescensเป็นสายพันธุ์ย่อยของพืชดอกในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Harold Roy Fletcher (1907-1978) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ
ที่อยู่อาศัย พบทั่วไป ส่วนมากพบในป่าดิบเขาทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบที่อากาศหนาวเย็น ตามไหล่เขาหินปูนที่ความสูงตั้งแต่1,800เมตรขึ้นไป
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูง 3เมตร ลำต้นและกิ่งสีน้ำตาลแดง มีขนอ่อนปกคลุม ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่ถึงรูปรี กว้าง 2.5-4.5ซม.ยาว 6-10 ซม. ก้านใบ เส้นกลางใบ และขอบใบค่อนไปทางปลายใบมีสีชมพูแดง แผ่นใบหยาบหนา มีจุดประสีแดงอยู่ทั่วไป ปลายใบเป็นติ่งแข็งสั้นๆ ดอก สีขาวอมชมพูแกมแดง ปลายกลีบมีแต้มชมพู ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง  ช่อละ6-15ดอก ดอกสีขาวอมชมพู มี5กลีบ เมื่อดอกบานจะคว่ำดอกลงคล้ายโคมไฟ มีเมล็ดมีจำนวนมาก
ใช้ประโยชน์- ผลสุกกินได้ รสเปรี้ยวฝาด นักเดินป่านิยมเก็บกิน ช่วยทำให้สดชื่นและมีแรงเดิน ไม่ควรกินปริมาณมากเพราะอาจทำให้ท้องเสียได้
ระยะออกดอก---เดือนกุมภาพันธ์-เดือนพฤษภาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ช้าส้านน้ำ/Rhynchotechum obovatum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Rhynchotechum obovatum (Griff.) B.L.Burtt.(1962)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms
---Basionym: Chiliandra obovata Griff.
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ช้าสาน, หนาดดง (เชียงใหม่), ชีแพะโพ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ช้าส้านน้ำ, ช้าส้านป่า ; [CHINESE: Xian zhu ju tai];[THAI: Cha Saan, Cha Saan nam, Cha saan paa.];Hnat dong.];[VIETNAMESE: Mỏ bạc, Cây Mỏ bạc.].
EPPO Code---1GESF (Preferred name: Gesneriaceae)
ชื่อวงศ์---GESNERIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อครอบครัว Gesneriaได้รับเกียรติจาก Conrad Gessner(1516 – 1565)นักธรรมชาติและนักมนุษยวิทยาชาวสวิส  
Rhynchotechum obovatum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัว Gesneriaceaeได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Griffith (1810–1845) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดยBrian Laurence "Bill" Burtt (1913 – 2008)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2505
ที่อยู่อาศัย เติบโตตามธรรมชาติในป่าชื้นตามลำธาร พบขึ้นกระจายอยู่ในประเทศ จีน (ฝูเจี้ยน, กวางตุ้ง, กวางสี, กุ้ยโจว, ไหหลำ, Sichuan, Xizang, ยูนนาน)  [ภูฏาน, กัมพูชา, อินเดีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล,  เวียดนาม]  ประเทศไทยพบทุกภาค ที่ระดับความสูง 100-1,800 เมตร  
ลักษณะ เป็นไม้ พุ่มขนาดเล็กสูง1-2 เมต รลักษณะลำต้นมีขนสีน้ำตาลนุ่ม ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่หรือเป็นวงรอบข้อ 3-4ใบรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง4-10 ซม.ยาว10-30 ซม.ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อย แผ่นใบมีขนสีน้ำตาล ก้านใบยาว 0.8-5 ซม. ดอกสีขาวมีแต้มแดงในหลอดดอกกว้าง 4-7 มม. ออกเป็นช่อรอบข้อ กลีบรองดอก เชื่อมกันเป็นรูปถ้วยปลายแยกเป็น5แฉก กลีบดอก5กลีบไม่เท่ากัน ปลายโค้งพับออก เกสรผู้4อันติดบนกลีบดอก เกสรเมีย1อัน ผลเป็นผลสดมีเนื้อ ผลแก่สีขาว ยาว2-6 มม.เมล็ดสีดำขนาดเล็กจำนวนมาก
ใช้ประโยชน์ --- ใช้กิน ผลไม้กินได้, -ใช้เป็นยา รากใช้ต้มน้ำให้ผู้หญิงดื่มหลังคลอด ในการแพทย์แผนโบราณของเวียตนาม เป็นยาสำหรับผู้ชาย ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
-ใช้เป็นไม้ประดับทรงพุ่มสวยงามนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี
ระยะออกดอก/ติดผล---ช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม/สิงหาคม-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

   

ช้างเผือก/Xanthophyllum flavescens

อ้างอิง, ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---ไม้ต้นในสวน Trees in the Garden โดย องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี The Botanical Garden Organization Office of the Prime Minister พิมพ์ครั้งที่1 พฤษภาคม 2542
ชื่อวิทยาศาสตร์---Xanthophyllum flavescens Roxb.(1820)
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms
---Xanthophyllum siamense W. G. Craib.(1922)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2467741
ชื่อสามัญ--None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ช้างเผือก; [CHINESE: Tai guo huang ye shu, Huángyèshù shǔ];[INDONESIA: Malindo, Margaram, Minyak berok (Borneo).];[MALAYSIA: Pokok Minyak Berok];[TAMIL:TamilMattei, Karunali];[THAI:Chang pueak.].
EPPO Code---XAPFL (Preferred name: Xanthophyllum flavescens.)
ชื่อวงศ์--- POLYGALACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---หมู่เกาะอันดามัน, อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม ,กัมพูชา, บอร์เนียว,  มาลายา, , สุมาตรา, อินโดนีเซีย, นิโคบาร์, ฟิลิปปินส์
Xanthophyllum flavescens เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัว Polygalaceaeได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตในปี พ.ศ.2363
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เติบโตตามธรรมชาติในป่าเต็งรังผสมหรือป่าดิบเขา ป่าพรุชายฝั่งทะเลและป่าดิบชื้นระดับต้น จากระดับน้ำทะเลถึง 2,000 เมตร ในประเทศไทยพบตามป่าดงดิบและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 1,400 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ใหญ่ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง 5-15 เมตรและอาจสูงได้ถึง30เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นสูงถึง 80 ซม. เปลือกมีสีเทาหรือสีน้ำตาลอมเขียว ใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบกิ่ง รูปขอบขนานกว้าง3-7ซม.ยาว7-18ซม. ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาว ขนาด 4x1-1.4 มม.ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ก้านช่อดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยง5กลีบขนาดไม่เท่ากัน เรียงเป็น2วง กลีบดอก5กลีบขนาดไม่เท่ากัน ผลกลมสีน้ำตาล ขนาด1-2ซม. มีเมล็ด1-2เมล็ด
ใช้ประโยชน์ ---ใช้เป็นยา เปลือกใช้ในการรักษาอาการจุกเสียด
-วนเกษตร ใช้เป็นสายพันธุ์บุกเบิกในภาคเหนือของประเทศไทยในโครงการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูป่าไม้พื้นเมือง
-ใช้อื่น ๆ เนื้อไม้สีขาวอมเหลืองเนื้อละเอียด ใช้สำหรับงานก่อสร้าง หนักชั่วคราวหรือขนาดกลางใช้ทำ พื้น,ตู้, กระดาน, กล่อง, ที่จับเครื่องมือ, ดินสอ                        
ระยะออกดอก---เดือนมีนาคม-เดือนเมษายน                                                                                                      
ขยายพันธุ์---เมล็ด                                                                                                          


ซีง้ำ/Scyphiphora hydrophyllaceae

 

อ้างอิง,ภาพประกอบการศึกษา-หนังสือป่าเชายเลน นิเวศวิทยาและพรรณไม้ โดย สรายุทธ บุญยะเวชชีวิน (ผู้แต่งและภาพ) รุ่งสุริยา บัวสาลี พิมพ์ครั้งที่1 เมษายน 2554
ชื่อวิทยาศาสตร์---Scyphiphora hydrophyllacea C.F.Gaertn.(1806)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-189891
---Epithinia malayana Jack.(1820.)
---Ixora manila Blanco.(1837)
---Scyphiphora malayana (Jack) Bedd.(1837)
ชื่อสามัญ---Yamstick Mangrove.
ชื่ออื่น---จีง้ำ (กรุงเทพฯ), ซีฮำ (มลายู-ภูเก็ต. สตูล) รังแค (ชุมพร), ซีง้ำ (ตรัง) ;[CHINESE: Píng huāmù shǔ];[INDONESIA: Duduk Rayup (Java); Cingam, Duduk Perempuan, Perapat Lanang (Sumatra)];[MALAYSIA: Geriting putih, Jambo-jambo, Landing-Landing, Randing-randing, Santing-santing; Chengam, Chenggam ( Malay).];[PHILIPPINES: Nilad, Nilar, Sabasa, Sagasa.];[SINGAPORE: Chengnam];[THAI: See Ngam, Gee Ngam];[VIETNAM: Côi, Cây Côi.].
EPPO Code---1RUBF (Preferred name: Rubiaceae)
ชื่อวงศ์---RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา และจีนตอนใต้ แปซิฟิกตะวันตก นิวกีนีและออสเตรเลียตอนเหนือ
Scyphiphora เป็น Monotypic genus มีเพียงสายพันธุ์เดียวในสกุล คือ Scyphiphora hydrophyllacea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Friedrich von Gaertner (1772–1850) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2349
ที่อยู่อาศัยมีช่วงการกระจายขนาดใหญ่สายพันธุ์นี้พบในบรูไนดารุสซาลาม, จีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, อินเดีย (รวมถึง Sunderbands ในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์), ศรีลังกา, ไทย, เวียดนามและกัมพูชา ในออสตราเลเซียพบได้ใน ภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย สหพันธรัฐไมโครนีเซียนิวแคลิโดเนีย ปาเลา ปาปัวนิวกินีและหมู่เกาะโซโลมอน พบขึ้นตามชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นเลนอ่อนหรือชายฝั่งทะเลที่เป็นดินทราย บางครั้งพบเป็นกลุ่มๆในที่เปิดโล่งน้ำที่น้ำทะเลท่วมถึง
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กแตกกิ่งพุ่มต่ำ สูง1.5-4 เมตร ลักษณะ ทรงต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ มักแตกแขนงเป็นมุมกว้าง กิ่งอ่อนและก้านใบมีสีแดงแต้ม ตาดอกและตาใบมีชันเมือกสีเหลืองอ่อนปกคลุม เปลือกบางสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องตามยาวหรือเป็นสะเก็ดเล็กน้อย บางครั้งมีรากค้ำยันขนาดเล็กที่โคน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับฉาก แผ่นใบรูปไข่กลับถึงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 2-5 ซม.ยาว 5-10 ซม. โคนใบแหลมถึงสอบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบปลายใบกลมผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวคล้ำมันวาว ด้านล่างสีซีดกว่า เนื้ออวบน้ำค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง  ก้านใบยาว 1-2 ซม. หูใบระหว่างก้านใบกลม กว้าง 0.3 ซม.ใบอ่อนมียาง ดอกออกเป็นช่อกระจุกสองด้านหลายชั้นมีดอกย่อยรูปดอกเข็มขนาดเล็ก 3-10 ดอกก้านดอกย่อยสั้นมาก หลอดกลีบเลี้ยงยาว 0.3-0.5 ซม. ปลายแยกเป็นแฉก4-5 แฉก หลอดกลีบดอกยาว 0.3-0.4 ซม. สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นชมพูอ่อน ผลรูปทรงกระบอกยาว 0.7-1 ซม. ผลอ่อนนุ่มสีเขียวผิวเกลี้ยงและเป็นสันเด่น 8(-10) สัน มีกลีบเลี้ยงติดเป็นวงที่ปลาย ผลแก่ไม่แตกแต่แห้งเป็นคอร์ก ลอยน้ำได้มี2-4เมล็ด
ใช้ประโยชน์ ---ใช้เป็นยา เป็นพืชสมุนไพรและชาที่ทำจากใบ. ใช้ในการรักษาแบบดั้งเดิมสำหรับแผลในกระเพาะอาหาร น้ำสกัดจากใบช่วยในการลด อาการปวดท้อง
-ใช้อื่น ๆ เนื้อไม้สีน้ำตาลเข้มใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ขนาดเล็ก ใช้เป็นฟืนได้ดี ดอกไม้สามารถใช้เป็นสารทำความสะอาดหรือน้ำยาซักฟอก
ระยะออกดอก---พฤษภาคม-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ซาด/Erythrophleum succirubrum

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา : pg.pharm.su.ac.th, www.htp.ac.th, www.medplant.mahidol.ac.th, home.kku.ac.th
ชื่อวิทยาศาตร์--- Erythrophleum succirubrum Gagnep.(1911)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/ild-45905
---Erythrophleum teysmannii var. puberulum Craib.(1935)
ชื่อสามัญ---Sasswood
ชื่ออื่น---ซาก, ซาด, พันซาด (เหนือและอีสาน); ผักฮาก (ภาคเหนือ); เตรีย (สุรินทร์); ตะแบง ; [THAI: Pansaat, Saat, Tria]
EPPO Code---1EYQG (Preferred name: Erythrophleum)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน ไทย ลาว กัมพูชา
Erythrophleum succirubrum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว(Fabaceae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์(Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniacese)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francois Gagnepain (1866-1952 ) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2454
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอินโดจีน (ไทย ลาว กัมพูชา) ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าราบและป่าผลัดใบ พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และทางภาคใต้ตอนบน
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ ลักษณะทรงต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นตั้งตรงมีความสูงประมาณ 20-35 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีดำ แตกเป็นร่องค่อนข้างลึกตามยาวและตามขวางของลำต้น เนื้อไม้ด้านในเป็นสีขาว แก่นกลางไม้มีเนื้อแข็งเป็นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุมเล็กน้อย
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ คล้ายกับใบมะค่าหรือใบประดู่ ใบขนาดกว้างประมาณ 2-5 ซม. และยาวประมาณ 3-10 ซม.ดอกออกเป็นช่อเชิงลด ออกตามซอกใบใกล้ ๆ ปลายกิ่ง มีจำนวน 1-3 ช่อ  มีดอกย่อยแบบดอกถั่วจำนวนมากเบียดกันแน่นอยู่ตามแกนดอก ดอกเป็นสีเหลือง เหลืองนวล หรือขาวปนเหลืองอ่อน  เมื่อมีดอกจะมีกลิ่นเหม็นหืนคล้ายกลิ่นซากเน่าตายแห้งของสัตว์ ผลเป็นฝักค่อนข้างกลม ขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 ซม. ยาวประมาณ 10-20 ซม. มีเมล็ดประมาณ 5-8 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดกลมแบน
ใช้ประโยชน์ ---ใช้เป็นยา ทุกส่วนของต้นซากมีรสเมาและมีพิษมาก ก่อนนำมาปรุงเป็นยาจึงต้องนำเนื้อไม้มาเผาให้เป็นถ่านก่อนเสมอ เพื่อทำลายพิษให้หมดไป ถ่านที่ได้นำมาใช้ เป็นยาแก้พิษไข้ แก้อาการเซื่องซึม แก้โรคผิวหนัง ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ไข้สันนิบาต ดับพิษโลหิต
-วนเกษตร ใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้อนุรักษ์ ปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่า และ ช่วยรักษาหน้าดิน
-ใช้อื่น ๆ  เนื้อไม้มีความทนทานและแข็งแรงมาก ใช้ก่อสร้างทำหมอนรองรางรถไฟ ทำเสาอาคารบ้านเรือน เสาเข็ม ลอด ตง ขื่อ พื้นกระดาน- เนื้อไม้เผาทำเป็นถ่านจะให้ไฟแรงได้ดี หรือที่เรียกกันว่า "ถ่านทำทอง" ในสมัยก่อนชาวบ้านในชนบท นิยมตัดเอาต้นซากไปเผาทำถ่านบรรจุกระสอบขาย ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ซื้อกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นถ่านที่ให้ไฟแรงและไม่มอดง่าย
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-กันยายน
ขยายพันธุ์---ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและ ตอนกิ่ง

ซ้อ/Gmelina arborea  

   

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาสตร์---Gmelina arborea Roxb.(1814)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-91180
---Gmelina arborea var. canescens Haines.(1910)
---Gmelina arborea var. glaucescens C.B.Clarke.(1885)
---Gmelina rheedei Hook.(1848.) [Illegitimate]
---Gmelina sinuata Link.(1822)
ชื่อสามัญ---Malay bush-beech, Gmelina, Candahar tree, Gamhar, Beechwood, Goomar teak, White Kashmir Teak, Cashmere tree, Malay beechwood, White teak, White Kashmir Teak.
ชื่ออื่น---ซ้อ, แต้งข้าว, เป้านก, สันปลาช่อน; [ASSAMESE: Gomari, Gameri, Dieng-lophang.];[BENGALI: Gamar, Gambhari];[BURMESE: Mai-saw ,Thebla, Thun-vong , Yemane.];[CHINESE: Yún nán shí zǐ.];[FIJI: Yemane.];[HINDI: Gamhar, Bhadraparni, Gumbar.]:[MALAYALAM: Kumizhu, Kumpil, Kumbil.];[PORTUGUESE: Gamar, Gmelina.];[SANSKRIT: Stulatvacha, Ashveta, Gambhari, Bhadrapani, Sindhuveshanam, Sindhuparni.];[TAMIL: Kumutai, Gumadi, Kattanam, Peru-n-kumil, Kumpal, Kumalaa maram.];[THAI: Sor,Taeng khaow.];[USA: Gray teak.].
EPPO Code---GMEAR (Preferred name: Gmelina arborea.)
ชื่อวงศ์---VERBENACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ปากีสถาน ศรีลังกา หมู่เกาะอันดามัน อินเดีย พม่า กัมพูชา ลาว เวียตนาม จีนตอนใต้ คาบสมุทรมาเลย์
Gmelina arborea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวVerbenaceae ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตในปี พ.ศ.2357


ที่อยู่อาศัย จากอินเดีย-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พืชในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนเกิดขึ้นในแหล่งที่อยู่อาศัยของป่าที่หลากหลายรวมถึง ป่าดิบชื้น กึ่งป่าดิบชื้น ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ป่าสักและป่าไม้สะวันนาต่ำในลุ่มน้ำซึ่งพบได้ในระดับความสูงถึง 2,100 เมตร ประเทศไทยพบทั่วไปในบริเวณกึ่งโล่งแจ้งในป่าผลัดใบทั่วภาคเหนือ มักจะปะปนกับไม้สัก
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 15-30 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 ซม. แต่มีการบันทึกตัวอย่างสูงถึง 140 ซม.ลักษณะทรงต้น เรือนยอดแคบ กิ่งก้านลู่ลง เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอมเทามีรูอากาศหนาๆ ต้นแก่ผิวแตกและหลุดออก เปลือกชั้นในสีครีม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่แกมสามเหลี่ยม มีต่อม 1คู่ที่โคนใบ ขนาดของใบกว้าง 7-15 ซม.ยาว10-19ซม. ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่งก้าน ฐานใบป้านหรือเรียบ หรือรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ยอดอ่อนมีขนสีเหลืองรูปดาว ใบแก่ด้านล่างมีขนประปรายมักจะมีนวล ดอกสีเหลืองแกมน้ำตาลเข้ม ออกเป็นช่อตามกิ่ง ขนาดของดอก2.5-3.5ซม. กลีบเลี้ยง 5กลีบ โคนเป็นรูปกรวย กลีบดอก 5กลีบรูปปากเปิด ผลสีเขียวอมเหลืองเกลี้ยงเป็นมันเล็กน้อย กลมหรือรูปไข่กลับยาว 1.5–2.5 ซม. มีชั้นกลีบเลี้ยงที่ฐาน ผลมีเนื้อและชั้นหุ้มเมล็ดแข็งที่มี1-2เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแดดแม้เมื่ออายุน้อย ขึ้นได้ดีในดินหลายชนิด จากดินลูกรังที่เป็นกรดถึงดินร่วนปนทราย ดินมีการระบายน้ำดี ทนความแห้งแล้ง  pH 5 - 6 ทนได้  4 - 7.5 ต้นไม้เติบโตเร็วมากสามารถสูงถึง 3 เมตรภายในปีแรกจากเมล็ดและ 20 เมตร ภายใน 4 - 5 ปี มีอายุประมาณ 40 ปี
ใช้ประโยชน์--- ต้นไม้ถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารยาและแหล่งวัสดุ มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงเนื่องจากมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมีการใช้งานที่หลากหลาย
-ใช้กินได้ ผลรสขมหวานเนื้อหอมและฉ่ำ
-ใช้เป็นยา เปลือกใบและรากมีร่องรอยของอัลคาลอยด์และใช้เป็นยาพื้นเมือง ผลไม้และเปลือกไม้มีคุณสมบัติเป็นยารักษาอาการไข้สูง เปลือกต้มน้ำใช้แช่เท้ารักษาโรคเท้าเปื่อย ในอินเดีย เปลือกใช้สำหรับอหิวาตกโรค บวมและสำลักในลำคอ (กับกระเทียม), โรคไขข้อ, โรคลมบ้าหมู, ท้องมาน
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับในสวนและเป็นต้นไม้ริมถนน
-วนเกษตรใช้ เป็นพืชบุกเบิกที่งอกใหม่ตามธรรมชาติเฉพาะในที่โล่งและบนขอบของป่า
-ใช้อื่น ๆ แก่นไม้มีสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน ๆ หรือสีน้ำตาลอมเหลือง ไม้มีน้ำหนักเบาแข็งแรงมาก แต่ไวต่อเชื้อรา ราแห้งและปลวก ทนทานใต้น้ำ ความทนทานตามธรรมชาติของไม้ประมาณ 15 ปีใช้สร้างบ้าน ต่อเรือ เครื่องเฟอร์นิเจอร์ งานแกะสลักราคาแพง -ไม้ใช้ผลิตเยื่อกระดาษคุณภาพดี-ใช้เป็นเชื้อเพลิงและถ่านได้ดี-เถ้าไม้และผลไม้ให้สีย้อมสีเหลืองที่คงทนมาก-ดอกไม้ผลิตน้ำหวานที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งผลิตน้ำผึ้งที่มีคุณภาพสูง
ระยะออกดอก/ติดผล--ธันวาคม -เมษายน/พฤษภาคม-มิถุนายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ

แซะ/Callerya atropurpurea

ชื่อวิทยาศาตร์---Callerya atropurpurea (Wall.) Schot. (1994)
ชื่อพ้อง---Has 10Synonyms
---Basionym: Millettia atropurpurea (Wall.) Benth.(1852)
---Adinobotrys atropurpureus (Wall.) Dunn. (1911)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-39624
ชื่อสามัญ---Purple Milletia
ชื่ออื่น---กะแซะ (สุราษฏร์ธานี), ยีนิเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส), แซะ (ทั่วไป); [BURMESE: danyinnie, kwe tanyin.];[INDONESIA: Kayu ujau, Meribugnan (Sumatra).];[MALAYSIA: Pokok Tualang Daing, Pokok Kedang Belum, Chica, Girah payah, Jenerik, Merbong.];[THAI: Sae, Kasae, Yee-ni-keh.];[VIETNAM: Mát tím sẫm, Thàn mát tía.]
EPPO Code---QAYAT (Preferred name: Callerya atropurpurea.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---พม่า อินโดจีน คาบสมุทรมาเลเซีย อินโดนีเซีย
Callerya atropurpurea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว(Fabaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์กและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Anne M. Schot.(born 1966) เธอเป็นนักพฤกษศาสตร์ชาว เนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ.
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในพม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ชวา, ลาว, พม่า, คาบสมุทรมาเลเซีย, สิงคโปร์, สุมาตรา,ไทยและเวียดนาม มีการแพร่กระจายในป่าเขตร้อนจากระดับน้ำทะเลถึงระดับความสูง 1,200 เมตร ประเทศไทยพบมากตามชายป่าภาคใต้
ลักษณะ เป็นต้นไม่้ผลัดใบระยะสั้นขนาดใหญ่ ต้นสูง15-35เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 45 ซม.เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นสะเก็ดล่อนเป็นแผ่นเล็กๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ โคนต้นมีพูพอน กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบรูปขอบขนานแกมรูปหอกยาว 6-15 ซม. และกว้าง 2.5-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนกว้าง ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบมองเห็นชัดเจน ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนปกคลุม ยาว 12-20 ซม.กลีบเลี้ยงสีเขียว เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกสีแดงแกมม่วงทึบ ยาวประมาณ 1,3 ซม. กว้าง 1 ซม.เกสรเพศผู้สีเหลืองอยู่กลางดอก กลิ่นหอม ผลเป็นฝักผลอ่อนแบนสีเขียว เมื่อผลแก่ เมล็ดขยายใหญ่จนเกือบเป็นทรงกระบอก ยาว 8-15 ซม. กว้าง 4-6 ซม.เปลี่ยนเป็นสีม่วงน้ำตาล มีเมล็ด 1-3 เมล็ด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. บ่อยครั้งมีเพียงเมล็ดขนาดใหญ่เมล็ดเดียวซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 7 ซม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---แม้ว่าหลายสายพันธุ์ในครอบครัว Fabaceae จะมีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดิน แต่สายพันธุ์นี้บอกว่าไม่มีความสัมพันธ์เช่นนี้ดังนั้นจึงไม่สามารถตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ
ใช้ประโยชน์ ---ใช้กินได้ ใบอ่อน ยอดอ่อนกินเป็นผัก
-ใช้อื่น ๆ เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่นิยมเพราะเนื้อไม้มักถูกมอดแมลงกัดกิน โดยมากมักนำไปใช้ทำฟืน เปลือกต้นให้สีแดงใช้ย้อมผ้า กิ่งและรากมี rotenone ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในยาฆ่าแมลง
สำคัญ- ต้นไม้ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธุ์-พฤษภาคม/มีนาคม-มิถุนายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด
 


ดงดำ/Alphonsea boniana

อ้างอิง, ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาสตร์---Alphonsea boniana Finet & Gagnep.(1906.)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2630009
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ดงดำ, ตำหยาวตุ่ม, กล้วยค่าง; [CHINESE: Jin ping Fuji haru, Jin ping teng chun.];[JAPAN: Hira fuji haru.];[THAI: Dong dam.];[VIETNAM: Thâu lĩnh sần.].
EPPO Code---AHUSS (Preferred name: Alphonsea sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- จีน พม่า ไทย เวียตนาม มาเลเซีย
Alphonsea boniana เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงา (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Achille Eug?ne Finet.(1863 -1913) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และ Francois Gagnepain (1866-1952 )นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2449


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดใน จีน(ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน) ภูมิภาคอินโดจีน เจริญเติบโตกระจายอยู่ตามป่าที่มีการรบกวนน้อยใกล้ลำธารที่ระดับความสูง 300-700 เมตร ในประเทศไทย พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงใต้  ขึ้นในป่าดิบแล้งที่มีเรือนยอดแน่นทึบ ที่ระดับความสูง 200-600 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูงถึง 5-8 เมตร ทรงต้นเรือนยอดทรงกระบอกแคบ เปลือกต้นสีน้ำตาล หลุดลอกเป็นชิ้นบางๆตามยาว ใบขนาด 8-15x3-6 ซม.สีเขียวสด ผิวเรียบ หรือมีขนเล็กๆด้านล่างดอกสีเหลืองอมเขียวขนาด1-1.2ซม. กลุ่มละ2-3ดอก กลีบดอกชั้นนอกแผ่โค้งกลับไปด้านหลัง ด้านนอกกลีบดอกมีขนสีน้ำตาล กลีบชั้นในแคบกว่า ผลยาว3-5ซม.มีก้านสั้นสีเหลืองอ่อนเปลี่ยนเป็นส้มเข้มเมื่อแก่ ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ3-5ผล ภายในมีหลายเมล็ดเรียงเป็นสองแถว
ใช้ประโยชน์---เป็นพืชหายาก
ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน- ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ดีหมี/Cleidion spiciflorum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Cleidion javanicum Blume.(1826.)
ชื่อพ้อง---Has 10 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-41700
---Acalypha spicigera Klotzsch.(1853)
*มีการนำเสนอการแก้ไขสายพันธุ์ Malesian ในสกุล Cleidion javanicum เป็นชื่อที่ถูกต้องสำหรับชนิดพันธุ์ที่แพร่หลาย (แทนที่จะเป็นชื่อC. spiciflorum )
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ดีหมี, ดินหมี (ลำปาง), คัดไล (ระนอง), กาดาวกระจาย (ประจวบคีรีขันธ์), กาไล กำไล (สุราษฎร์ธานี), มะดีหมี จ๊ามะไฟ (ภาคเหนือ), เซยกะชู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน), โต๊ะกาไล ; [CHINESE: Bang bing hua, San tai hua.];[MALAYALAM: Yellari.];[PHILIPPINES: Agipos, Kayugkog, Saligao, Tayokan, Malagasaba (Tag.); Hantatampsi (C. Bis.); Lapo-lapo (Ilk.); Malatuba (Bik.).];[THAI: Di mee, Dimi, Kamlai, Kaadaao krachaai, Ma-dee-mee, Maj maduug.];[VIETNAMESE: Phân loại khoa học, Mo chim, com gao.].
EPPO Code---1EUPF (Preferred name: Euphorbiaceae.)
ชื่อวงศ์---EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย อินโดจีน
ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย (Western Ghats) ในป่าดิบที่เปียกชื้นที่ระดับความสูงถึง 900 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วไปในป่าชั้นล่างที่ไม่มีไฟเข้ามักจะใกล้บริเวณธารน้ำ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400-800 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ไม่ผลัดใบขนาดเล็กสูง 12-15 เมตรลักษณะทรงต้น เรือนยอดทึบเปลือกสีน้ำตาลเทา ก้านใบยาวประมาณ 2-3 ซม ใบเดี่ยวขนาดกว้าง 3.5-8 ซม.ยาว10-25 ซม.ใบแก่บางขอบใบมีซี่ตื้นคมห่างๆ ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น (dioecious)ไม่มีกลีบดอก ผลแปซูลสีเขียวมีพู 2 พูชัดเจน น้อยที่จะมี3พู ผิวนอกเหนียว เนื้อชั้นในบางสีน้ำตาล ผลขนาด1.5-2.8ซม.แยกได้ 2 ซีกเมล็ดกลมเกลี้ยง 1เมล็ดแต่ละซีก
ใช้ประโยชน์---ใช้กินได้ ใบสดลวกกินเป็นผัก
-ใช้เป็นยา ใบใช้ต้มกับน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้ลมพิษในกระดูก เมล็ดใช้เป็นยาระบาย ตำรายาไทยใช้แก่นต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ หรือจะใช้ทั้ง 5 ส่วน (ราก, ต้น, ใบ, ดอก, ผล) นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน ช่วยดับพิษไข้ก็ได้ ส่วนชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงจะใช้ราก ต้น หรือใบ นำมาต้มกับน้ำดื่มและอาบเป็นยาแก้ไข้ รักษาไข้มาลาเรีย -; Cleidion spiciflorum เป็นส่วนหนึ่งของรายการของพืชสมุนไพรอายุรเวทของศรีลังกา
รู้จักอันตราย---ทุกส่วนมีพิษ นำมาใช้เป็นยาต้องระวังมาก
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ดันหมี/Gonocaryum lobbianum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Gonocaryum lobbianum (Miers) Kurz.(1870)
ชื่อพ้อง---Has 13 Synonyms
---Basionym: Platea lobbiana Miers.(1852)
---Gonocaryum griffithianum (Miers) Kurz.(1875)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2829895
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---กัลปังหาต้น (ภูเก็ต); ก้านเหลือง, คำเกี้ยวต้น (ภาคเหนือ); ดันหมี, ปูตูบูแว (มาเลย์-นราธิวาส); มะดีควาย (เชียงใหม่); แสนเมือง (หนองคาย); หีควาย (ลำปาง) ; [CHINESE: Qiong lan, Qióng lǎn huáng dì, Jīn dì (hǎinán), Huáng bǐng mù túbǎn.];[THAI: Kal la pang ha ton, Kanlueang, Kham kieo ton (Northern); Pu tu du wae (Malay-Narathiwas); Ma dee kwai (Chiangmai); Saen mueang (Nongkhai); Hi kwai(Lampang).].
EPPO Code---GOKSS (Preferred name: Gonocaryum sp.)
ชื่อวงศ์--- CARDIOPTERIDACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จึน พม่า ไทยลาว เวียตนาม มาเลเซีย บอร์เนียว
Gonocaryum lobbianum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวCardiopteridaceaeได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย John Miers (1789 –1879)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Wilhelm Sulpiz Kurz (1834-1878) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี พ.ศ.2413
ในการศึกษา Icacinaceae ในปี 2544 Jesper Kårehed (fl. 2001)นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ได้ย้าย Gonocaryum จาก Icacinaceae ไปยัง Cardiopteridaceae  
ที่อยู่อาศัย พบที่จีนตอนใต้ (ไหหลำ ยูนนาน) พม่า ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมาเลเซีย และบอร์เนียว พบในป่าดิบทึบตั้งแต่ระดับความสูง 500-1800 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง 1.5-8 (-10) เมตร แตกกิ่งก้านมากเปลือกเรียบสีเทาปนน้ำตาล ใบเดี่ยวรีแกมขอบขนานเรียงสลับ ขนาดของใบ กว้าง 4-10 ซม ยาว 9-20 ซม แผ่นใบหนาเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสีเหลือง ดอกออกเป็นช่อกระจุก แยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกเพศผู้แบบช่อเชิงลด ออกสั้น ๆ ตามซอกใบ ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม รูปรี ยาวประมาณ 2 มม.ขอบมีขนครุย ดอกสีขาว หลอดกลีบดอกยาว 5-6 มม.ปลายแยก 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดภายในหลอดกลีบตรงข้ามกลีบดอก ก้านชูอับเรณูยาว 3-4 มม. อับเรณูติดด้านหลัง ดอกเพศเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศออกเป็นช่อกระจะสั้น ๆ ดอกขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียสั้น มีขน ยอดเกสรจักตื้น ๆ 3 พู ผลผนังชั้นในแข็ง รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 3-5 ซม. มีริ้ว ผลสุกสีม่วงดำ ปลายผลเป็นติ่ง  
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ เนื้อไม้รสขม ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ขับเหงื่อ แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้ตัวร้อน ไข้จับสั่น
-อื่นๆ เมล็ดให้น้ำมัน ในประเทศจีนใช้ผสมในการทำสบู่และน้ำมันหล่อลื่น
ระยะออกดอก/ติดผล---มกราคม-เมษายน/มีนาคม-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ดู่ด้วง/Glyptopetalum sclerocarpum

อ้างอิง, ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาสตร์--- Glyptopetalum sclerocarpum M.A.Lawson.(1875)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms
---Euonymus sclerocarpus Kurz.(1872)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ดู่ด้วง, ช้องนาง, มะเดาะ, [CHINESE: Ying guo gou ban];[THAI: Doo Duong, Chong nang, Ma do.].
EPPO Code---GZOSS (Preferred name: Glyptopetalum sp.)
ชื่อวงศ์---CELASTRACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน อินเดีย พม่า กัมพูชา ไทย
Glyptopetalum sclerocarpum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระทงลาย (Celastraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Marmaduke Alexander Lawson (1840– 1896) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2418
ที่อยู่อาศัย พบในจีน(ยูนนาน) อินเดีย พม่า กัมพูชา ไทย เติบโตในป่าทึบเนินเขาที่ระดับความสูง 900-2,500 เมตร ในประเทศไทยจัดเป็นพืชหายาก
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่สูง 8-12 เมตร มักจะมีกลิ่นอับเมื่อเติบโตในที่ร่ม ก้านใบแข็งแรงขนาด 8-10 มม. ใบเดี่ยวรูปไข่ ขนาดของใบ กว้าง5-10ซม ยาว12-27ซม. .ใบหนาคล้ายหนัง ขอบใบมีซี่หยักละเอียด ผิวใบด้านล่างมีจุดสีดำ ดอกออกเหนือซอกใบ ก้านช่อดอกยาว 2-5 ซม.ก้านดอก 1-1.5 ซม. ดอกไม้สีเหลืองสีขาว กลีบหนาเล็กน้อย ผลแคปซูลกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2-2.2 ซม.สีเขียวผิวมีหูดบางครั้งจะเห็นเป็น2พู เมล็ดรูปขอบขนาน 1-1.5 × 0.8-1 ซม.  เมล็ดมีเนื้อหุ้ม
ใช้ประโยชน์--ใช้เป็นยาต้านไวรัสและยาต้านจุลชีพ -กรด Sclerocarpic ซึ่งเป็น sesquiterpene ถูกแยกออกจากเปลือกลำต้นของ Glyptopetalum sclerocarpum (Celastraceae). สารประกอบนี้แสดงฤทธิ์ต้านไวรัสต่อไวรัสเริมชนิดที่ 1 และ 2 และฤทธิ์ต้านจุลชีพต่อแบคทีเรียแกรมบวกและเชื้อรา                
ระยะออกดอก---มิถุนายน-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

เดื่อไทร/Ficus glaberrima

ชื่อวิทยาศาสตร์---Ficus glaberrima Blume.(1825)
ชื่อพ้อง---Has 9 Synonyms
---Ficus fraterna Miq.(1867.)
---Ficus glaberrima var. pubescens S.S.Chang.(1984.)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2810551
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น--- เดื่อไทร, ไฮ, ไทรเลียบ, ยาค่าง ;[CHINESE: Dian ru leng shui hua.];[KHASI: Dieng-tharlat.];[THAI: Sai leiab, Hai, Yakang.];[VIETNAM: Datrụi, Dalá Xanh, Đa nhẵn.]
EPPO Code---FIUSS (Preferred name: Ficus sp.)
ชื่อวงศ์---MORACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้ถึงเอเชียเขตร้อน
Ficus glaberrimaเป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะเดื่อ (Moraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ.2368
มีสองสายพันธุ์ย่อย (Subspecies)ได้แก่-;
-Ficus glaberrima subsp. glaberrima
-Ficus glaberrima subsp. siamensis (มุม) CCBerg
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจีน (กวางจง กวางสี กุ้ยโจว ไหหลำ ยูนนาน)และเอเซียเขตร้อน- ภูฏาน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, พม่า, เนปาล, สิกขิม, ไทย, เวียดนามไปจนถึงหมู่เกาะซุนดาน้อย (แต่ไม่ใช่บอร์เนียว สุลาเวสี หรือฟิลิปปินส์) พบในป่าเปิดในภูเขาและที่ราบภูเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 500-2800 เมตร.ในประเทศไทย มักพบการขึ้นกระจายในป่าเต็งรังหรือป่าดิบแล้ง ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ที่ระดับความสูง100-500 เมตร
ลักษณะ เป็นไทรพันธุ์ใหญ่สูง 25-30 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 - 30 ซมโคนต้นมักเป็นพูพอนเปลือกสีเทาปนน้ำตาลเรือนยอดแผ่กว้าง  ใบออกเรียงสลับปลายเรียวแหลมผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน รูปรี หรือขอบขนาน ขนาดกว้าง 5-7 ซม.บาว 12-20 ซม.โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบคู่แรกเห็นชัดกว่าคู่อื่นๆ ก้านใบยาว 1.5-2ซม.ออกดอกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ผลกลมผิวเกลี้ยง เมื่อสุกสีเหลืองแกมส้มถึงม่วง-ดำ ขนาด 0.9-1.2 ซม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---บางครั้งเดื่อไทรจะเริ่มมีชีวิตในฐานะ epiphyte เติบโตขึ้นในกิ่งของต้นไม้อื่น เมื่อมันโตขึ้นมันจะส่งรากอากาศลงมาถึงพื้นดินและจะก่อรากอย่างรวดเร็วและแข็งแรงขึ้น รากของพวกมันจะดูดกินสารอาหารแก่พืชทำให้มันโตเร็วกว่าต้นไม้เจ้าบ้าน รากอากาศจะทยอยล้อมรอบต้นไม้ต้นกำเนิดเพื่อป้องกันไม่ให้ลำต้นหลักขยายตัวในขณะที่ในเวลาเดียวกันนั้นใบไม้ก็จะทำลายใบไม้ของโฮสต์ ในที่สุดต้นไม้เจ้าภาพก็ตาย ทิ้งให้เดื่อไทรเติบโตต่อไปโดยไม่มีการแข่งขัน ต้นไม้มีรูปแบบการปฏิสนธิเฉพาะ แต่ละสปีชีส์อาศัยตัวต่อชนิดเดียวที่มีความเชี่ยวชาญสูงซึ่งขึ้นอยู่กับสายพันธุ์มะเดื่อนั้นทั้งหมดเพื่อผสมพันธุ์ ต้นไม้ให้ดอกสามชนิด ตัวผู้ ตัวเมียแบบยาว และตัวเมียแบบสั้น มักเรียกกันว่าดอกน้ำดี ดอกไม้ทั้งสามประเภทอยู่ภายในโครงสร้างที่เรามักคิดว่าเป็นผลไม้
ใช้ประโยชน์ ---พืชที่รวบรวมมาจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและแหล่งของเส้นใย เป็นไม้ที่มีความสำคัญของนิวกินี
-ใช้กินได้ ผลกินได้รสหวาน
-ใช้เป็นยา ในเวียตนามใช้เป็นยาโป๊ว ยาแก้ท้องร่วง อาการตัวเขียว
-ใช้เป็นไม้ประดับ เป็นไม้ป่าขนาดใหญ่ที่นำมาใช้ปลูกประดับให้ร่มเงา
-อื่น ๆ เส้นใยที่ได้จากเปลือกด้านในใช้สำหรับเตรียมเชือกเนื้อไม้ใช้ทำเชื้อเพลิงได้ดีต้นไม้เป็นที่อาศัยของแมลงครั่ง
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-กันยายน/ตุลาคม-พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

แดงน้ำ/Pomitia pinnata


ชื่อวิทยาศาสตร์---Pometia pinnata J.R.Forst. & G.Forst.(1776)
ชื่อพ้อง---Has 28 Synonyms
---Aphania neoebudica Guillaumin. (1931)
---(More).See all http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:784485-1
ชื่อสามัญ---Pacific Lychee, Fijian Longan, Island lychee, Island lychee kasai, Oceanic lychee.
ชื่ออื่น---แดงน้ำ ;[CHINESE: Fan long yan shu.];[DUTCH: Matoa.];[FIJI: Dawa, Tawa.];[INDONESIA: Kasai, Matoa, Sibu.];[LAOS: Chieng dong, Kwaang.];[MYANMAR: Paga-nyet-su ava.];[PAPAU-NEW GUINEA: Matoa, Obahu, Taun.];[PHILIPPINES: Agupanga, Malugai, Tugaui.];[PORTUGUESE: Kassai.];[SAMOA: Kava, Tava.];[SOLOMQN ISLAND: Tava.];[SPANISH: Matoa.];[THAI: Daeng-nàam.];[TONGA: Tava, Tava moli.];[VANUATU: Nandao, Natsaria, Nendo, Rao, Tava.];[VIETNAM: Truong, Truong maat.];[TRADE NAME: Kasai.].
EPPO Code---PMEPI (Preferred name: Pometia pinnata.)
ชื่อวงศ์---SAPINDACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ศรีลังกา หมู่เกาะอันดามัน จีนตอนใต้ คาบสมุทรอินโดจีน ไต้หวัน  เมลานีเซียจนถึงตองก้าและโซเมีย
Pometia pinnata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ soapberry (Sapindaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Johann Reinhold Forster (1729 –1798)และ Johann Georg Adam Forster (1754 –1794)นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2319
ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในศรีลังกาไปยังประเทศจีน (ยูนนาน) และหมู่เกาะแปซิฟิก พบตามริมตลิ่งที่ลุ่มหรือป่าทึบและป่าพรุ พบได้ทั่วไปในป่าที่ราบขอบป่าเปิดป่าลาวาและปลูกในหมู่บ้านต่าง ๆ ในหมู่เกาะแปซิฟิก เป็นพืชในเขตร้อนชื้นที่ลุ่มมักพบที่ระดับความสูงต่ำกว่า 500 เมตร แต่บางครั้งพบสูงถึง 1,700 เมตร ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปในท้องถิ่นทางภาคเหนือที่ชุ่มชื้น
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงประมาณได้ถึง 15-30 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น  100 - 140 ซม ลักษณะ เรือนยอดโปร่ง โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เปลือกนอกสีน้ำตาลออกส้ม มักแตกล่อนหลุดเป็นชิ้นเปลือกในสีส้มอ่อนมีน้ำยางสีแดง  ใบยาว30-70ซม.ใบย่อย4-10คู่ ใบอ่อนสีน้ำตาลแดงมีขนสีน้ำตาลทองปกคลุมหนาแน่น ใบแก่สีเขียวเข้ม ขอบใบเป็นรอยหยักจรดปลายใบ ดอกขนาด0.3-0.4ซม.เป็นช่อห้อยจากซอกใบบนๆสีเขียวปนส้มยาวถึง60ซม. ดอกย่อยอยู่บนก้านโค้งที่อ้วนสั้นผล ขนาด1.2-3ซม. ผลกลม ยาว  3.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียว เปลี่ยนเป็นเหลืองและ ใกล้สุก สีแดงสดแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มเกือบดำเมื่อแก่เต็มที่ เปลือกผลหนาไม่แตกมีเนื้อบางใสหรือสีเหลืองหุ้ม เมล็ดหนึ่งขนาดใหญ่1เมล็ด
ใช้ประโยชน์--- พืชได้รับการเพาะปลูกเป็นครั้งคราวบางช่วงพื้นเมืองสำหรับผลไม้ที่กินได้
-ใช้กินได้ ผลไม้ - ดิบ เนื้อสีขาวกึ่งโปร่งใสมีกลิ่นหอมฉ่ำและหวานมีรสชาดดีคล้ายเงาะ เมล็ดกินได้หลังจากคั่วหรือต้ม
-ใช้เป็นยา มักใช้ในยาแผนโบราณในหมู่เกาะแปซิฟิก ใช้ในการรักษาอาการปวดลึกในกระดูก ปวดศีรษะไมเกรน ช่วยในการขับรกออกหลังการคลอด ใช้บรรเทาอาการปวดไขข้อของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ใช้บรรเทาไข้เป็นยาสำหรับไข้หวัด ใช้รักษาโรคท้องร่วงปัญหากระเพาะอาหาร อาการไอมีไข้ ท้องผูกและผื่นผ้าอ้อม-ใช้ยาต้มจากเปลือกเพื่อรักษาโรคมะเร็งปาก-ใบเป็นยาต้านจุลชีพ ยาต้มของใบหรือเปลือกไม้ถูกใช้เป็นยารักษาไข้และแผล
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ตามสวนสาธารณะ เป็นต้นไม้สำหรับปลูกริมถนน
-ใช้อื่น ๆ แก่นไม้สีน้ำตาลแดง พื้นผิวมันวาว มีเรซินสีน้ำตาลอยู่ ไม้หนักพอสมควร ยากปานกลาง แข็งแรงปานกลาง ไม่คงทนมากมีความต้านทานต่อเชื้อราและปลวก เป็นไม้อเนกประสงค์ที่ดีสำหรับการก่อสร้างภายใน -ไม้ใช้เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพสูง-แชมพูสระผมทำจากเปลือกไม้-ยางชันที่ได้จากเปลือกด้านในใช้สำหรับเรือแคนูกันน้ำ
ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท'ความกังวลน้อยที่สุด'(ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species ( 2019)
ขยายพันธุ์---เมล็ด

แดงสะแง/Schoutenia ovata

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :-คู่มือดูพรรณไม้ป่าสะแกราช  เล่ม2 โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,จิรพันธ์ ศรีทองกุล,อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
ชื่อวิทยาศาสตร์---Schoutenia ovata Korth.(1848)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.This name is unresolved.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2594602
---Actinophora fragrans Wall. ex R.Br.(1852)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---กาสิน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ขี้เทา (ภาคตะวันออก); แดงแขแหย, แดงดง, แดงแพ่แย่ (ภาคตะวันออก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); แดงสะแง (นครราชสีมา, ปราจีนบุรี); แดงแสม (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์); แดงเหนียว (ภาคกลาง); แบงทะแง (เขมร-ปราจีนบุรี); สะแง (เขมร-ภาคตะวันออก); [INDONESIA: Kayu walikukun, Ach-sat, Harikukun, Kayu laduni, Kokon,];[THAI: Daeng nieo, Daeng samae, Daeng sagnae];[VIETNAM: Sơn tần trứng].
EPPO Code---SNFSS (Preferred name: Schoutenia sp.)
ชื่อวงศ์---MALVACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย กัมพูชา มาเลเซีย เวียตนาม ถึง ออสเตรเลีย
Schoutenia ovata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชบา (Malvaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดยPieter Willem Korthals (1807–1892) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ในปี พ.ศ.2391


ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ในป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง100-500เมตร ในประเทศไทย พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นตามชายป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 100-200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบหรือกึ่งผลัดใบ(semi deciduous)ขนาดเล็กสูง 8-20เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกนอกสีน้ำตาลเหลือง แตกเป็นร่องตื้นๆตามยาวของลำต้น เปลือกเหนียวคล้ายปอ ก้านใบยาว 0.4-1 ซม ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปรีแกมรูปขอบขนานกว้าง 3-4 ซม.ยาว10-13 ซม. หูใบรูปเข็ม โคนใบก้านใบ เส้นกลางใบด้านล่างของใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาล ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ด้านล่างใบมีคราบขาวและเยื่อสีน้ำตาลปกคลุม ใบแก่เกลี้ยงขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อแบบช่อกระจะออกที่ปลายยอด เป็นช่อยาว10-15ซม.มีดอกย่อยจำนวนมากสีขาวอมเหลือง ไม่มีกลีบดอกเมื่อบานมีขนาด 1 ซม.กลีบเลี้ยงที่ขยายบานออก แฉกลึกเกินกึ่งหนึ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม.กลีบรูปไข่ ปลายแหลม กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 1 ซม.ผลกลมขนาด 0.5-1ซม.มีขนหนาแน่น
ใช้ประโยชน์---ใช้ ปลูกเป็นไม้ประดับเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา
-อื่น ๆ แก่นไม้สีน้ำตาลแดงถึงสีน้ำตาลเข้ม แข็งแน่น เนียนและไม่แตกง่าย หนักถึงหนักมาก ใช้อย่างกว้างขวางเป็นไม้หมอนรถไฟ หรือเกวียน ใช้ทำอุปกรณ์การเกษตร ใช้เป็นด้ามหอก และใช้เป็นฟืน
ความเชื่อ/พิธีกรรม ---ในอินโดนีเซีย Walikukun Wood มักถูกมองว่าเป็น "Laduni Wood" ถูกกล่าวถึงในดวงชะตาชวาเพราะเชื่อว่าสามารถช่วยให้ไปสู่ระดับสติปัญญาที่สูงขึ้น เพิ่มจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ความปลอดภัยและอำนาจ ปกป้องบ้านจากการถูกรบกวนจากวิญญาณ เหนือธรรมชาติ โดยการปลูกไว้สี่มุมของบริเวณบ้านและยังถือเป็นไม้ที่สามารถเร่งการมาถึงของแรงบันดาลใจในการช่วยกระบวนการบำบัดจากอาการอัมพาต
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธุ์-มีนาคม/เมษายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ตะเกราน้ำ/Eriobotrya bengalensis

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---คู่มือดูพรรณไม้ป่าสะแกราช  เล่ม2โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,จิรพันธ์ ศรีทองกุล,อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
ชื่อวิทยาศาสตร์---Eriobotrya bengalensis (Roxb.) Hook. f.(1878)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms
---Mespilus bengalensis Roxb.(1832)
ชื่อสามัญ---Chinese loquat, Japanese medlar, Japanese plum, Loquat.
ชื่ออื่น--- จำปีดง (เชียงใหม่); เซงเคง (กะเหรี่ยง-ภาคตะวันตกเฉียงใต้); ตะเกราน้ำ (จันทบุรี); ปะองเทศ (ภาคตะวันตกเฉียงใต้); เมียด (เลย); สีเสียดน้ำ (บุรีรัมย์) ;[CHINESE: Nányà pípá.];[BURMESE: Maksawt, Pet-sut.];[THAI: Ta krao nam, Champee dong, Pa ong thet, Si siad nam.];[TRADE NAME: Bolanchin.]
EPPO Code---EIOSS (Preferred name: Eriobotrya sp.)
ชื่อวงศ์---ROSACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เทือกเขาหิมาลัย บังคลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนามใต้ คาบสมุทรมาลายู สุมาตรา บอร์เนียว
Eriobotrya bengalensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวกุหลาบ (Rosaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Sir Joseph Dalton Hooker (1817-1911) นักพฤกษศาสตร์นักชีววิทยาและศัลยแพทย์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2421
ที่อยู่อาศัย ตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย บังคลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนามใต้ คาบสมุทรมาลายู สุมาตรา บอร์เนียว ขึ้นอยู่ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ที่ระดับความสูงถึง 1,000 -1900 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ตามป่าดิบ ป่าผลัดใบ ความสูงถึงประมาณ 1500 เมตร
ลักษณะ ตะเกราน้ำเป็นไม้ต้นขนาดกลางไม่ผลัดใบสูงประมาณ 6-15 (-27) เมตร ทรงต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทรงสูง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเข้ม เรียบแตกเป็นสะเก็ดเล็กมีช่องอากาศ เปลือกชั้นในเป็นเส้นใยสีขาว เปลี่ยนเป็นดำเมื่อเป็นแผล มีขนสั้นนุ่มตามช่อดอก ใบประดับ ฐานดอก กลีบเลี้ยงและโคนกลีบดอกด้านนอก ก้านใบยาว 2-4 ซม.ใบรูปไข่กลับหรือรูปหอก ขนาดของใบกว้าง4-8ซม.ยาว10-20ซม. ขอบจักฟันเลื่อย เรียบช่วงโคนใบ ใบแก่เรียบเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีขาว กลิ่นหอม ช่อยาว8-12ซม.กลีบดอกแข็ง5กลีบ รูปไข่กลับกว้างเกือบกลม ยาว 4-5 มม. เกสรเพศผู้ 20 อัน ฐานดอกขยายเป็นผลรูปไข่ ยาว 1-1.5 ซม.ผลสีเขียว ตอนบนมีชั้นกลีบเลี้ยงติดอยู่ เนื้อฉ่ำน้ำเมล็ดขนาดใหญ่ มี 1-2 เมล็ด
ใช้ประโยชน์--- เป็นไม้ที่มีความทนทานแข็งแกร่ง ใช้ประโยชน์เป็นไม้ก่อสร้าง หรือใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ทำเสา เพาะเห็ดหูหนู ทำหวี ทำรองเท้าไม้
ระยะออกดอก---มิถุนายน- กรกฎาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ตะโกพนม/Diospyros castanea

   

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :--คู่มือดูพรรณไม้ป่าสะแกราช  เล่ม2 โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,จิรพันธ์ ศรีทองกุล,อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
ชื่อวิทยาศาตร์---Diospyros castanea (Craib) H.R.Fletcher.(1937)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
---Basionym: Maba castanea Craib.(1915)
---Diospyros bracteata H.R.Fletcher.(1937)
ชื่อสามัญ--N/A-None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ตะโกพนม(ภาคกลาง),มะด้ามหมุ่ย,มะดำ(ภาคเหนือ),มะตับหมาก(เชียงใหม่,ลำพูน), หนังดำ,หลังดำ(ภาคเหนือ),หมากค่อน(นครราชสีมา),กะละมัก(กาญจนบุรี,ราชบุรี); [VIETNAMESE: Thị dẻ.]
EPPO Code---DOSCS (Preferred name: Diospyros castanea.)
ชื่อวงศ์---EBENACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน
Diospyros castanea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะพลับ (Ebenaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Harold Roy Fletcher (1907-1978) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2480


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินโดจีน พบในป่าเต็งรัง
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูงถึง 8-15 เมตร ต้นเล็กคดงอ ต้นโตเปลาตรง เปลือกนอกเรียบสีเทาค่อนข้างดำ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปรี ยาว 10-13 ซม. กว้าง 5-8 ซม.ปลายมน ฐานรูปลิ่มป้านหรือกว้าง ผิวด้านบนสีเขียวเข้ม ผิวล่างสีเขียวอ่อน เนื้อใบหนาและเกลี้ยงเส้นแขนงใบ 9 -10 คู่ ก้านใบ 7-8 มม ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น (dioecious) ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวกรือเป็นกลุ่ม 1-3 ดอก สีขาวออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงท่อ, ผิวด้านนอกมีขนดก; กิ่งก้านกลีบดอกออกเป็นท่อ, ส่วนบนแบ่งออกเป็น 3 แฉก; เกสรเพศผู้ 12อัน ผลกลมมนด้านนอกมีขนนุ่มเมื่อสุกสีเหลืองอมเขียวมีกลีบเลี้ยง 3-4 กลีบ กลีบเลี้ยงโค้งลง เมล็ด 4-8 แบน.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด เจริญเติบโตช้า
ใช้ประโยชน์ -ใช้กินได้ เมล็ดอ่อนและผลสุก
-ใช้เป็นยา เปลือกใช้ บำรุงกำลัง
-อื่น ๆเป็นไม้เนื้อแข็งเหนียวใช้ในงานก่อสร้าง
ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-มิถุนายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ตะขบควาย/ Flacourtia Jangomas

 

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์, พินดา สิทธิสุนธร, วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาสตร์--- Flacourtia Jangomas (Lour.) Raeusch.(1797)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-4813261
---Basionym: Stigmarota jangomas Lour.(1790)
---Flacourtia cataphracta Roxb. ex Willd.
ชื่อสามัญ---Indian plum, Indian coffee plum, Runealma Plum, Greater krekup, Governor's plum.
ชื่ออื่น---ตะขบควาย, มะแกว๋นควาย, ตะขบป่า, มะแกว๋นป่า; [ASSAMESE: Finel, Look-looki, Paniyol, Poniol.];[BENGALI: Paniala.];[CHINESE: Yún nán cì lí mù.];[FRENCH: Prunier d'Inde, Prin kafé, Prune de Chine.];[GERMAN: Paniala];[KANNADA: Chanchali Mara, Chankali.];[PORTUGUESE: Ameixa-da-Índia, Ameixeira-de-madagáscar, Jagomeira.];[SANSKRIT: Sruvavrksah.];[SPANISH: Ciruela forastera.];[TAMIL: Acatam, Catapattiram, Cukotaram, Pattirakkiyam.];[TELUGU: Kanji, Kuragayi, Kuski, Mullumaana.];[THAI: Ta khop kwai, Ma gwan kwai, Ta khop paa, Ma gwan paa.];[VIETNAMESE: Hồng quân, Bồ quân, Bù quân, Mùng quân trắng, Mùng quân rừng.].
EPPO Code---FLCJA (Preferred name: Flacourtia jangomas.)
ชื่อวงศ์---FLACOURTIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย เนปาล พม่า ไทย มาเลเซีย แอฟริกา ออสเตรเลีย
Flacourtia Jangomas เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กะเบา (Flacourtiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Joao de Loureiro (1717–1791) นักพฤกษศาสตร์ชาวโปรตุเกสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดยErnst Adolf Raeuschel (1740–1800)นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี พ.ศ.
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย พบตามป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบที่ระดับความสูง300-800 เมตร หาง่ายโดยเฉพาะในป่าเสื่อมโทรมที่โล่งเปิด และมักจะพบเป็นไม้ปลูกด้วย
ลักษณะ เป็นไม้ต้นผลัดใบสูง 6-15เมตร ลักษณะทรงต้น ลำต้นคดงอ เรือนยอดทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน โคนต้นแก่มีหนามคมยาว ออกเป็นคู่ๆ  ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหอกกลับ ขนาดใบกว้าง1.2-5.6ซม.ยาว5-11ซม.ปลายใบแคบขอบใบจักฟันเลื่อยผิวใบเรียบหรือ มีขนกระจาย ใบอ่อนสีแดง เปลี่ยนเป็นเขียวสดและเป็นมันภายหลัง ดอกเล็กสีเขียวอ่อนเป็นช่อและถูกใบปกคลุมในซอกใบ หรือปลายยอด กลีบเลี้ยง4-6อันไม่มีกลีบดอก ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้มีเกสรสีขาวจำนวนมาก ดอกยาวประมาณ 3-4 มม. ดอกเพศเมียมีรังไข่รูปคนโทมีก้านเกสรเพศเมีย 5-6อัน ผลสดรูปกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5ซม. เมื่อสุกสีแดงเข้ม หรือดำ เมล็ดมี4-5 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบตำแหน่งที่มีแดดจัดในดินที่อุดมสมบูรณ์และมีการระบายน้ำดี
ใช้ประโยชน์---พืชชนิดนี้ได้รับการปลูกอย่างกว้างขวางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกและเขตร้อนของอเมริกาสำหรับเป็นไม้ผล
-ใช้กินเป็นผลไม้ รสชาดหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย กินดิบ หรือสุกใช้อปรรูปทำเยลลี่ หรือแยม วิธีกินสดไม่เหมือนผลไม้อื่นๆ ต้องใช้ฝ่ามือคลึงให้ผลนิ่มก่อนเพื่อขจัดรสฝาด
-ใช้เป็นยา รากใบและเปลือกไม้ทั้งหมดมีแทนนินและใช้ในการรักษาอาการท้องเสีย ยาต้มของเปลือกผสมกับเมล็ดมัสตาร์ดใช้ในการรักษาโรคท้องร่วงและโรคบิด ตามการแพทย์แผนโบราณราก มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ รักษาปัสสาวะขัด
-ใช้อื่น ๆ ไม้เนื้อแข็ง ใข้ทำอุปกรณ์การเกษตร ไม้เท้าทำมาจากกิ่งไม้
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธ์---ระยะติดผล---เมษายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด เสียบยอด ติดตา ทาบกิ่ง ตอนกิ่ง เนื้อเยื่อ

ตะขบน้ำ/Scolopia macrophylla

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา-หนังสือป่าเชายเลน นิเวศวิทยาและพรรณไม้ โดย สรายุทธ บุญยะเวชชีวิน (ผู้แต่งและภาพ) รุ่งสุริยา บัวสาลี พิมพ์ครั้งที่1 เมษายน 2554
ชื่อวิทยาศาตร์---Scolopia macrophylla (Wight & Arn) Clos.(1857)
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms.See all https://war.wikipedia.org/wiki/Scolopia_macrophylla
ชื่อสามัญ---Potato Plum Of Mysore
ชื่ออื่น---ตะขบน้ำ, ตะขบทะเล, ยีลาโก๊ะ ;[MALAYALAM: Charalu, Kakkamaram, Cherakanji.];[TAMIL: Kodali, Ternai, Kodalimaram, Charalu.];[THAI: Ta khop nam, Ta khop ta lae.];[VIETNAMESE: Tho, Giả tử cô, Tự kinh.]
EPPO Code---SKOSS (Preferred name: Scolopia sp.)
ชื่อวงศ์---SALICACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---กัมพูชา เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย
Scolopia macrophylla เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์สนุ่น (Salicaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย (Robert Wight (1796–1872)นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตt และ George Arnott Walker Arnott (1799–1868)นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต) ได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Dominique Clos (1821-1908) เป็นแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส.ในปี พ.ศ.2400


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอินโดจีนไปยัง Malesia พบขึ้นในป่าโปร่งที่ลุ่มขัง ริมฝั่งแม่น้ำลำคลองที่น้ำทะเลท่วมถึงเป็นครั้งคราว ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้และภาคตะวันออก
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง 3-8 เมตร ลักษณะ ลำต้นมีหนามแหลมแข็ง แตกแขนงระเกะระกะ ยาว 3- 8 ซม. เปลือกเรียบสีน้ำตาลอมเทา เปลือกในสีเหลือง ส่วนต่างๆไม่มีขนยกเว้นช่อดอก ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปไข่กว้าง รูปไข่แกมรูปรี ถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก ขนาด 5-15 x 2.5-7.5 ซม.โคนใบกลมถึงสอบ ขอบใบหยักฟันเลื่อยตื้นๆ ปลายใบแหลม เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ด้านล่างสีเขียวอ่อน ก้านใบยาว 8-15 มม.ใบอ่อนสีชมพู ดอกแบบช่อเชิงลดมีก้าน ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ยาว 5-10 ซม. ดอกย่อยสีขาว มีกลิ่นหอม ขนาด 0.8 ซม. ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด รูปทรงค่อนข้างกลมขนาด1.5-1.7 ซม.ปลายผลมีก้านเกสรเมียติดอยู่ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีดำอมส้ม มี 2-8 เมล็ด
ใช้ประโยชน์ ----ใช้เป็นยา ใบเปลือกไม้ใช้รักษาหิด รากทำยารักษาวัณโรค ใช้กับมะลิรักษาโรคตับอักเสบ
ระยะออกดอก/ติดผล---ตุลาคม-กุมภาพันธ์/ตุลาคม-เมษายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ตะเคียนเฒ่า/Triadica cochinchinensis

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาสตร์ --- Triadica cochinchinensis Lour.(1790.)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)ชื่อพ้อง---Has 14 Synonyms.
---Excoecaria discolor (Champ. ex Benth.) Müll.Arg.(1866)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-207673
ชื่ออื่น---ตะเคียนเฒ่า, ตาตุ่มตรี, โพนก, เหยื่อจง ;[CHINESE: Shan wu jiu.]; [MALAYSIAN: Mamah Pelandok];[THAI: Ta-khiean thao, Ta-toom tri, Panok, Yuea chong.];[VIETNAMESE: Sòi tía.]
EPPO Code---TDCSS (Preferred name: Triadica sp.)
ชื่อวงศ์--- EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดียตอนเหนือ ถึงจีนตอนใต้ และตะวันตก & Central Malesia
Triadica cochinchinensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ Euphorbiaceae ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Joao de Loureiro (1717–1791) นักพฤกษศาสตร์ชาวโปรตุเกสในปี พ.ศ.2333
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดและการกระจายใน จีนตะวันออก (มณฑลอานฮุย ฝูเจี้ยน กวางตุ้ง กวางสี กุ้ยโจว ไห่หนาน หูเป่ย หูหนาน เจียงซี เสฉวน ไต้หวัน ยูนนาน เจ้อเจียง ), อินเดีย, อินโดนีเซีย (เกาะสุมาตราตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว เซเลเบส), คาบสมุทรมาเลย์, ฟิลิปปินส์, ไทย,ไต้หวัน, กัมพูชา,เวียดนามและลาว เกิดขี้น ในป่าปฐมภูมิและถูกรบกวนบนเนินเขาและทางลาดชันที่ระดับความสูงตั้งแต่ 10 - 1,100 เมตร ในประเทศไทยพบใน ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ เป็นไม้หายากในป่าดิบเขา
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงถึง12-25 เมตรมีเส้นผ่านศูนย์กลางได้สูงสุด 40 ซม เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยงหรือแตกเล็กน้อย ใบกว้าง 2.5-4 ซม.ยาว 4-11 ซม. ใบใกล้ร่วงสีแดงสด ดอกเป็นช่อไม่แตกแขนง ช่อดอกยาว 4-9 ซม. เพศเมียอยู่ส่วนล่าง เพศผู้ส่วนบนหรือตลอด ผลขนาด1-1.5ซม เมล็ดกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 × 3-4 มม.     
ใช้ประโยชน์---ต้นไม้ที่เก็บเกี่ยวมาจากป่าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในท้องถิ่น
-ใช้เป็นยา รากและใบถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการบาดเจ็บจากบาดแผลและแก้พิษงู
-อื่น ๆ ไม้เนื้ออ่อนมีค่าน้อยแต่ทนแมลง ใช้สำหรับทำไม้ขีดไฟ ใบมีสารแทนนินใช้ย้อมให้สีดำ น้ำมันที่ได้จากเมล็ด ใช้ทำสบู่
ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-มิถุนายน/กรกฏาคม-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ เมล็ดมักจะงอกภายใน 4 สัปดาห์


ตะเคียนหิน/Hopea ferrea

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---คู่มือดูพรรณไม้ป่าสะแกราช  เล่ม2โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,จิรพันธ์ ศรีทองกุล,อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
ชื่อวิทยาศาสตร์ --- Hopea ferrea Laness.(1886.)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2853154
---Balanocarpus anomalus King.(1893)
---Hopea anomala Foxw.(1927)
ชื่อสามัญ---Malut
ชื่ออื่น---เคียนทราย (ตราด, ตรัง); ตะเคียนหนู (นครราชสีมา); ตะเคียนหิน (ภาคใต้); เหลาเตา (นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี) ; [MALAY: Cengal Batu, Chengal Batu, Giam, Giam Malut, Malut];[THAI: Khian sai, Ta khian nu, Takhian hin, Laotao.];[VIETNAM: Săng đá, Sao tía]
EPPO Code--- HOZFA (Preferred name: Hopea ferrea.)
ชื่อวงศ์--- DIPTEROCARPACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---มาเลเซีย ไทย กัมพูชา ลาว เวียตนาม
Hopea ferrea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ยางนา (Dipterocarpaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดยJean Marie Antoine Louis de Lanessan (1843 – 1919) รัฐบุรุษและนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2429

   

ที่อยู่อาศัย กระจายพันธุ์ในแถบอินโดจีนและคาบสมุทรมลายูเป็นไม้เด่นในป่าดิบแล้ง และป่าผสมผลัดใบ ในป่าบนสันเขาและเนินหินโดยเฉพาะบนหินปูน แต่ยังรวมถึงหินแกรนิตและหินทราย บางครั้งก็อยู่ริมลำธาร ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 800 เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาค ขึ้นกระจายตามป่าดิบแล้ง ทางภาคใต้ ขึ้นตามเขาหินปูน ในระดับความสูง 50-400 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง15-30 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางได้สูงสุด 70 - 80 ซม ลำต้นเเปลาตรงและมักบิด เปลือกสีน้ำตาลเข้มเรือนยอดกลมหรือรูปกรวย ต้นแก่มีเปลือกเป็นร่องยาวลึกหรือแตกล่อนเป็นแผ่น ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่ กว้าง2.5-3 ซม.ยาว 6-8 ซม.โคนใบมน ปลายใบหยักเป็นติ่งทู่  ก้านใบยาว 1-1.3 ซม. ใบอ่อนเป็นสีแดงเรื่อๆดอกเป็นดอกช่อยาว 3.5-8 ซม.  ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูปไข่กว้าง มีดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวครีมจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน รูปรี ยาว 2-3 มม. ขอบกลีบเป็นชายครุย ผลรูปขอบขนานปลายและโคนแหลม ยาว 1-1.4 ซม มีปีกยาว 2 ปีก เส้นตามยาวปีกมี 8 เส้น
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งแสงแดดจัด ชอบดินที่เป็นกรดถึง pH เป็นกลาง มีอายุยืนยาว100-200 ปี
-ใช้ประโยชน์ ต้นไม้เป็นแหล่งไม้และเรซินอันทรงคุณค่า ซึ่งมักเก็บเกี่ยวมาจากป่า เป็นไม้ซุงที่มีความสำคัญทางการค้า โดยทั่วไปมีการซื้อขายโดยแยกจากสมาชิกในสกุลอื่นภายใต้ชื่อ "Malut"
-ใช้เป็นยา ดอกใช้เข้ายาเป็นเกสรร้อยแปด ต้มน้ำจากเปลือกใช้ล้างแผลผสมกับเกลืออม ป้องกันฟันผุ เนื้อไม้ใช้เป็นส่วนประกอบทำยารักษาโรคเลือดลมไม่ปกติ แก้กระษัย
-อื่น ๆเป็นไม้เนื้อแข็งแก่นไม้เป็นสีเหลืองเข้มหรือสีเหลืองอมน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแดง เนื้อไม้มีความละเอียดมาก หนักทนทาน เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างหนัก สร้างบ้าน ต่อเรือ ลำต้นมีเรซินสีเหลืองและมีกลิ่นหอมมาก
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้ได้รับการประเมินทั่วโลกว่าใกล้สูญพันธุ์ มีการลดจำนวนประชากรลง 50–70% ในช่วงสามชั่วอายุคนที่ผ่านมาเนื่องจากการกวาดล้างแหล่งที่อยู่อาศัยของป่าเพื่อขยายการเกษตรและการแสวงประโยชน์ในท้องถิ่นของพันธุ์ไม้สำหรับไม้ ปัจจุบันสายพันธุ์นี้ยังคงถูกคุกคามจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยและการเสื่อมถอยและการตัดไม้เฉพาะที่ ถูกจัดวางไว้ใน IUCN Red List ประเภท "ใกล้สูญพันธุ์" (EN) - มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ในป่า (ความเสี่ยงสูงมากต่อการสูญพันธุ์ในธรรมชาติในอนาคต)
สถานะการอนุรักษ์---EN-ENDANGERED-IUCN Red List of Threatened Species.2017
ระยะออกดอก/ติดผล--- กันยายน - ธันวาคม/ผลแก่ ตุลาคม - มกราคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ตะเคียนชันตาแมว/Neobalanocarpus heimii


อ้างอิงภาพประกอบเพื่อการศึกษา : MONACO NATURE ENCYCLOPEDIA https://www.monaconatureencyclopedia.com/neobalanocarpus-heimii/
ชื่อวิทยาศาตร์---Neobalanocarpus heimii (King) P.S.Ashton.(1978)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50262968
---Basionym: Balanocarpus heimii King.(1893) Unresolved
ชื่อสามัญ---Chengal
ชื่ออื่น---ตะเคียนชันตาแมว, จีงามาส, จีรามัส, จืองา (มาเลย์-นราธิวาส); ตะเคียนชัน, (ภาคใต้); ตะเคียนทราย (ตรัง) ;[MALAYSIA: Cengal, Chengal, Penak, Pokok Giam Malut (Malay).];[THAI: Takhian chan ta maeo, Ta Khian Chan, Chi-nga-mat.].
EPPO Code---NBCHE (Preferred name: Neobalanocarpus heimii.)
ชื่อวงศ์---DIPTEROCARPACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลเกิดขึ้นโดยคำนำหน้ากรีก 'veo' = ใหม่และ 'balanocarpus' =สกุลที่จัดตั้งขึ้นก่อนหน้านี้ 'balanos' = โอ๊กและ 'carpos' = ผลไม้ ; ชื่อสายพันธุ์ 'heimii' ได้รับเกียรติจากนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Frédéric Louis Heim (1869– )
Neobalanocarpus heimii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ยางนา (Dipterocarpaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย George King (1840–1909) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในอินเดียและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดยPeter Shaw Ashton (born 1934) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในป่าเต็งรังของมาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศไทย เติบโตอยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตร ในประเทศไทย มีการกระจายพันธุ์ตามตามที่ลาดชันในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ของประเทศ พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตรัง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ในป่าดิบชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 300-600 เมตร สถานภาพเป็นพืชหายากของประเทศไทย
ลักษณะ ตะเคียนชันตาแมวเป็นไม้ต้น สูงถึง 40 เมตร เรือน ยอดเป็นพุ่มกลมหรือบางครั้งแผ่กว้าง ลักษณะ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลเข้มแตกตามยาวและล่อนเป็นสะเก็ด ตกยางชันสีขาวใส เปลือกในสีเหลืองแกมเขียว  ก้านใบยาว 0.5-1 ซม ใบเรียบรูปไข่แกมใบหอกปลายแหลม ยาว 8-15 ซม.กว้าง 2-5 ซม. สีเขียว ช่อดอกออกที่ซอกใบหรือปลายช่อดอก ยาวประมาณ 10 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ 5 กลีบกลีบดอกมี 5 กลีบรูปไข่สีเขียวแกมเหลืองและเกสร 15 อัน ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมส่วนใหญ่จะผสมเกสรด้วยผึ้ง ผลแห้งเป็นรูปลูกโอ๊กแบบไม่หนาแน่นมีความยาว 4-5 ซม. และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. ล้อมรอบที่ฐานโดยกลีบเลี้ยงถาวรมีเปลือกหุ้มสีน้ำตาลเมื่อแก่ มีเมล็ดเดียว สีเขียว
ใช้ประโยชน์--- เนื้อไม้มีความแข็งและคงทนมากที่สุดในมาเลเซีย เนื้อไม้สีเหลือง น้ำตาลแกมเหลือง ถึงสีน้ำตาลเข้ม ใช้ในการก่อสร้างได้แข็งแรงทนทาน เช่น ทำเสา รอด ตง ไม้หมอนรถไฟ และใช้ต่อเรือ ชันยางมีราคาสูง ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ และน้ำมันชักเงาอย่างดี
ภัยคุกคาม---เนื่องจากสายพันธุ์นี้ได้รับการประเมินทั่วโลกว่าใกล้สูญพันธุ์ แต่สูญพันธุ์ไปแล้วในสิงคโปร์ มีประชากรลดลงมากกว่า 50% ในช่วงสามชั่วอายุคนที่ผ่านมาเนื่องจากการแสวงหาประโยชน์จากไม้และการตัดไม้ทำลายป่า สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อสายพันธุ์ ในระดับที่แตกต่างกัน และการลดลงดังกล่าวจะดำเนินต่อไปในอนาคต การกระจายตัวของที่อยู่อาศัยของสปีชีส์ยังทำให้เสี่ยงจากภาวะซึมเศร้าทางสายเลือดและความสามารถในการฟื้นฟูลดลง สปีชีส์นี้พบได้ในพื้นที่คุ้มครอง แต่มีการแสดงตัวอย่างไม่ดีภายในคอลเล็กชันนอกแหล่งกำเนิด จำเป็นอย่างยิ่งที่ทั้งในแหล่งกำเนิดและนอกสถานการณ์คอลเลกชันของสายพันธุ์จะทำ ขอแนะนำให้ติดตามและจำกัดการเก็บเกี่ยวและการค้าพันธุ์ต่อไป ควรมีการยืนยันชนิดพันธุ์ในประเทศไทยด้วย ถูกจัดวางไว้ใน IUCN Red List ประเภท "ใกล้สูญพันธุ์" (EN) - มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ในป่า (ความเสี่ยงสูงมากต่อการสูญพันธุ์ในธรรมชาติในอนาคต)
สถานะการอนุรักษ์---EN-ENDANGERED-IUCN Red List of Threatened Species.2017
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์/ระยะผลแก่เดือน---กุมภาพันธ์-กรกฎาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ตะบัน/Xylocarpus rumphii

ภาพประกอบการศึกษา---หนังสือป่าเชายเลน นิเวศวิทยาและพรรณไม้ โดย สรายุทธ บุญยะเวชชีวิน (ผู้แต่งและภาพ) รุ่งสุริยา บัวสาลี พิมพ์ครั้งที่1 เมษายน 2554
ชื่อวิทยาศาตร์---Xylocarpus rumphii (Kostel) Mabb.(1982)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2467179
---Basionym: Carapa rumphii Kostel.(1988)
---Aglaia zollinseri C.DC. (1894)
ชื่อสามัญ--Cedar mangrove
ชื่ออื่น---ตะบัน ; [SINGAPORE: Nyireh laut];[SRI LANKA: Koon thalam, Mudu delun];[THAI: Ta bun].
EPPO Code: XYCRU (Preferred name: Xylocarpus rumphii.)
ชื่อวงศ์---MELIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์--- ทวีปแอฟริกา เอเซียเขตร้อน ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย
Xylocarpus rumphii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระท้อนหรือมะฮอกกานี (Meliaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Vincenz Franz Kosteletzky (1801–1887) นักพฤกษศาสตร์ชาวโบฮีเมียและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย David John Mabberley (เกิดปี 1948) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.
ที่อยู่อาศัย ชายฝั่งทะเลตะวันออกของทวีปแอฟริกาผ่าน เอเซียเขตร้อน ฟิลิปปินส์ ถึงออสเตรเลีย ขึ้นตามชายหาด ที่เป็นหาดทราย หรือแนวโขดหิน หรือระหว่างแนวเขตหลังสุดของป่าชายเลนที่ติดต่อกับหาดทราย เป็นพรรณไม้ตามฝั่งทะเลที่หายากชนิดหนึ่งพบเฉพาะตามฝั่งทะเลและหมู่เกาะที่ไม่ถูกรบกวน
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ สูง5-15เมตรมีเส้นผ่านศูนย์กลางได้สูงถึง 50 ซม. เรือนยอดแน่นทึบแผ่กว้างเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งต่ำใกล้โคนต้น เปลือกสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องยาว ไม่มีพูพอนและรากหายใจ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ (paripinnate) เรียงเวียนสลับ ประกอบด้วยใบย่อย 2 (3)-4 (5) คู่ แผ่นใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กว้างขนาดกว้าง 4-8 ซม.ยาว 8-12 ซม. แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้านเนื้อใบบางคล้ายแผ่นหนังด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน วาว ด้านล่างสีซีดกว่า ใบแก่ก่อนร่วงสีส้มอมเหลือง ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น แบบช่อเชิงลด ออกตามง่ามใบหรือกิ่ง ช่อดอกขนาดใหญ่ยาว15-25ซม.ดอกย่อยจำนวนมาก ขขนาดเล็กสีนวลขนาดดอกย่อยประมาณ1-1.5ซม.ผลแบบผลแห้งแตกตามรอยประสานขนาด5-8ซม.เปลือกแข็งหนา สีเขียวหรือสีเขียวอมเหลือง เมล็ดขนาดใหญ่สีน้ำตาล4-8เมล็ด เปลือกเมล็ดชั้นนอก เป็นคอร์กหนา สีน้ำตาลเบา ลอยน้ำได้และเมล็ดอาจเริ่มงอกในขณะที่ยังลอยอยู่
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---พืชในเขตร้อนชื้นที่ราบลุ่ม เติบโตได้ดีที่สุดในตำแหน่งที่มีแดดในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิตอนกลางวันต่อปีอยู่ในช่วง 18 - 35°c แต่ทนได้ 7 - 39°c ชอบดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์ ทนต่อเกลือในดินได้สูงชอบ pH ในช่วง 6.5 - 7, ทนได้ 5.5 - 7.5 ทนต่อลมเค็ม ต้นไม้มักผลิตหน่ออ่อนเมื่อได้รับความเสียหาย และบางครั้งพืชสามารถพัฒนาลำต้นได้หลายต้น
ใช้ประโยชน์---มีการใช้ต้นไม้ในท้องถิ่นสำหรับไม้ซุง แทนนิน และสรรพคุณทางยา
-ใช้กิน เปลือกผลไม้ใช้ใส่ซุป เปลือกผลไม้แห้งใช้เป็นอาหารเรียกน้ำย่อย
-ใช้เป็นยา เปลือกฝาดมีสรรพคุณทางยา มีรายงานว่าสามารถรักษาโรคบิด ท้องร่วง และปัญหาในช่องท้องอื่นๆ และยังใช้เป็นยาแก้ไข้-; ลอกเปลือกไม้ชิ้นใหญ่ออกจากต้นแล้วนำไปเผาไฟจนร้อนจัด จากนั้นนำเปลือกไม้มาผูกไว้ที่หลังของผู้ป่วยก่อนเข้านอนในตอนเย็น ว่ากันว่า tyo เป็นยารักษาอาการปวดหลังและการอักเสบของกระดูกสันหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ-; ใบอ่อนเคี้ยวแล้วกลืน กล่าวกันว่าสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและเสริมสร้างร่างกาย -; นำใบไปต้มแล้วนำของเหลวมาแช่เย็นและใช้เป็นยาล้างเพื่อบรรเทาอาการไอรุนแรง-; เมล็ดใช้เป็นยา
-ใช้อื่น ๆไม้สีน้ำตาลแดงมีความแข็งมาก แข็งแรง และทนทาน ไม้คล้ายมะฮอกกานีที่ดี แต่เนื่องจากลำต้นมักจะคดเคี้ยวและเป็นโพรง จึงตัดท่อนยาวเป็นเส้นตรงไม่ได้ ใช้สำหรับทำสิ่งของขนาดเล็ก เช่น หมุด ที่จับเครื่องมือ ฯลฯ และเสาบ้าน เมื่อมีชิ้นส่วนขนาดใหญ่เพียงพอ จะใช้สำหรับสร้างเรือและก่อสร้าง ตลอดจนเฟอร์นิเจอร์คุณภาพดี ไม้ยังใช้สำหรับทำฟืน เปลือกต้นเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแทนนิน ใช้สำหรับเสริมความแข็งแรงของเชือกที่ต้องใช้ในน้ำ เปลือกบางครั้งใช้ย้อมผ้าสีน้ำตาล
ระยะออกดอก/ติดผล---สิงหาคม-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

 

ตะแบกกราย/Lagerstroemia pierrei


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา คู่มือดูพรรณไม้ป่าสะแกราช  ล่ม2โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,จิรพันธ์ ศรีทองกุล,อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
ชื่อวิทยาศาตร์---Terminalia pierrei Gagnep.(1916)
ชื่อพ้อง---This name is unresolved.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2434222
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ตะแบกกราย (ประจวบคีรีขันธ์); ตะแบกใบขน (Nakhon Ratchasima); เปื๋อย (Northeastern); เปื๋อยดาน (Nong Khai); เปื๋อยแล้ง (Ubon Ratchathani); สมอหมึก (Trang): [THAI: Dta baek krai, Dta baek bai khon.]
EPPO Code---TEMSS (Preferred name: Terminalia sp.)
ชื่อวงศ์---COMBRETACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย ลาว กัมพูชา เวีตนาม
Terminalia pierrei เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์สมอ(Combretaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francois Gagnepain (1866-1952 )นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2459
ที่อยู่อาศัยพบที่ลาว กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง1000 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 7-20 เมตร ผลัดใบ ลักษณะเปลือกนอกสีน้ำตาลเรียบหรือเป็นแอ่งตื้น ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองปกคลุมหนาแน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับหรือเกือบอยู่ตรงข้ามกัน ใบรูปรีหรือรูปไข่  ยาว 2.5-10 ซม.ขอบใบเรียบมีขน  มีต่อมหนึ่งคู่ที่ขอบใบใกล้โคน ก้านใบยาว 0.3-1 ซม.ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองปกคลุมทั้งสองด้าน ด้านบนขนหลุดไปเมื่อแก่ส่วนด้านล่างใบยังคลุมด้วยขนบางๆ ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ยาว 4-10 ซม.สีน้ำตาลอมเหลืองดอกที่อยู่ปลาบช่อเป็นดอกเพศผู้ส่วนตอน ล่างเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผลแก่แห้งมีเมล็ดแข็ง ผลมีครีบ5ครีบ รูปไข่กว้าง ยาว 0.9-1.2 ซม. ปีกกว้าง 3-4 มม. ปลายผลเป็นติ่ง ยาว 1-2 มม. ผลปกคลุมด้วยขนละเอียดสีน้ำตาลหนาแน่น มีเมล็ดเดียว
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ตะแบกเกรียบแดง/Lagerstroemia balansae

 

ชื่อวิทยาศาตร์---Lagerstroemia balansae Koehne.(1897)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-19200777
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ตะแบกเกรียบ (นครราชสีมา,ชลบุรี), ตะแบกเกรียบแดง(ราชบุรี), เปื๋อยกะแอ่ง(สุโขทัย), เปื๋อยแดง, เปื๋อยเปลือกบาง, เปื๋อยแมว(ภาคเหนือ), เปื๋อยลอกเปลือก, เปื๋อยลัวะ(แพร่), ลิงง้อ(จันทบุรี),โคะกางแอ้(กระเหรี่ยง) ;[CHINESE: Mao e zi wei.];[THAI: Bpèuay daeng, Bpèuay bpleuak baang, Bpèuay maew (Northern Thailand), Dta baek griap (Nakhon Ratchasima, Chon Buri), Dta baek griap daeng,  Ko gaang ae (Karen).];[VIETNAM: Bằng lăng hoa đỏ.]
EPPO Code---LAESS (Preferred name: Lagerstroemia sp.)
ชื่อวงศ์---LYTHRACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- จีน ไทย ลาว, เวียตนาม
Lagerstroemia balansae เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตะแบก (Lythraceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Bernhard Adalbert Emil Koehne (1848 –1918) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี พ.ศ.2440
ที่อยู่อาศัย พบได้ทั่วไปในป่าผสม ระดับต่ำ กระจายใน จีน (ไหหลำ) [ลาว, ไทย, ตอนเหนือของเวียตนาม] ในประเทศไทยพบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ที่ระดับความสูง100-600 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ต้นขนาดกลางสูง 5-20 เมตรไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนสีน้ำตาลเข้มเป็นสันเหลี่ยม แตกกิ่งยอดค่อนข้างมาก ก้านใบยาว 4-8 มม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกหรือรูปไข่, 6-12 [-15] × 2-5.5 [-6] ซม เนื้อใบค่อนข้างหนาถึงบาง เหนียว ช่อดอกยาว 6-15 [-20 กลีบ]ดอกสีชมพูเข้มถึงม่วงแดง ผลแห้งรูปไข่ ขนาด 1.2-1.5 ซม แก่แยกเป็น 5-6 ซีก ผลอ่อนสีเขียว ผลก่สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดเล็ก 1.1 ซม.มีปีกสีน้ำตาล
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา รากเป็นยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ เปลือกชงดื่มแก้ท้องร่วง แก้พิษ
-อื่น ๆเนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง
ระยะออกดอก/ติดผล--- มิถุนายน-กรกฎาคม/ผลแก่---ตุลาคม- พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ตะแบกดอกขาว/Lagerstroemia huamotensis

ชื่อวิทยาศาตร์---Lagerstroemia huamotensis W. J. de Wilde & Duyfjes.(2013)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.
ชื่อสามัญ---White Crape Myrtle Tree
ชื่ออื่น---ตะแบกดอกขาว เสลาหัวหมด (ทั่วไป); [THAI: Dta baek dok khao, Salao huahmot.].
EPPO Code---LAESS (Preferred name: Lagerstroemia sp.)
ชื่อวงศ์---LYTHRACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Lagerstroemia huamotensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตะแบก (Lythraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Willem Jan Jacobus Oswald de Wilde (born 1936)นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ และ Brigitta Emma Elisabeth Duyfjes (1936– )นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ในปี พ.ศ.2556
ที่อยู่อาศัย พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือตอนล่างที่ดอยหัวหมด จังหวัดตาก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่กาญจนบุรี ขึ้นบนเขาหินปูนที่เปิดโล่ง ความสูง 750-1000 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ต้น ความสูงที่พบส่วนมากสูง 4-5 เมตร หรืออาจสูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นแคระแกร็น  เปลือกค่อนข้างหนา ลอกเป็นแผ่นคล้ายเปลือกแบบตะแบก ใบรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาว 4-10 ซม. แผ่นใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 2-4 มม. ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง ยาว 2-5 ซม. ก้านดอกเทียมยาว 0.8-1 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงเรียบ กลีบรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 5 มม. เกลี้ยง ดอกสีขาว กลีบรูปรีเกือบกลม ยาว 1.2-1.5 ซม. ก้านกลีบยาว 0.8-1 ซม. เกสรเพศผู้วงนอก 10-12 อัน ก้านชูอับเรณูสีม่วง อับเรณูสีดำ วงในสีเขียวอมขาว อับเรณูสีเหลือง รังไข่เกลี้ยง ผลรูปรี ยาว 2-2.5 ซม.หลอดกลีบเลี้ยงรูปรีกว้าง กว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 1 ซม. กลีบยาว 5-7 มม.
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ตะแบกใหญ่/ Lagerstroemia duperreana

 

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา คู่มือดูพรรณไม้ป่าสะแกราช เล่ม2โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,จิรพันธ์ ศรีทองกุล,อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
ชื่อวิทยาศาตร์--- Lagerstroemia duperreana Pierre ex Gagnep.(1918)
ชื่อพ้อง---This name is unresolved.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2354026
---Lagerstroemia thorelii Gagnep.(1918)See https://www.gbif.org/species/171292811
ชื่อสามัญ---Thorel's Crape Myrtle.
ชื่ออื่น-- ตะแบกไข่ (ตราด); ตะแบกเปลือกบาง, ตะแบกใหญ่ (นครราชสีมา) ; [THAI: Dta baek yai, Dta baek bpleuak bang, Dta baek khai].
EPPO Code---LAEDU (Preferred name: Lagerstroemia duperreana.)
ชื่อวงศ์---LYTHRACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---บังคลาเทศ กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม
Lagerstroemia duperreana เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตะแบก (Lythraceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Jean Baptiste Louis Pierre (1833-1905) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสจากอดีตFrancois Gagnepain (1866-1952 ) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2461
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังที่เป็นหินทราย ความสูง 100-400 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกต้นสีน้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดบางๆ กิ่งอ่อนสีน้ำตาล เปลือกบาง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 8-15 ซม. ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย มีขน ปลายใบเรียวแหลมใบมีขนเล็กน้อย ก้านใบยาว 3-5 มม. ดอกช่อออกเป็นช่อแยกแขนงยาว10-15ซม.ก้านดอกเทียมยาว 0.6-1.2 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงมีขนกระจุกรูปดาวสั้นนุ่ม มี 12 สัน ไม่ชัดเจน ยาว 5-6 มม. มีติ่งขนาดเล็กระหว่างกลีบเลี้ยง กลีบรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 3 มม. ด้านในปลายกลีบมีขน ดอกสีม่วงแดงถึงม่วงอ่อน กลีบดอกรูปรีกว้างเกือบกลม ยาว 1-1.5 ซม. ก้านกลีบยาวประมาณ 5 มม. เกสรเพศผู้วงนอกมี 6-7 อัน รังไข่เกลี้ยง ผลรูปรีกว้าง ยาว 1.2-1.7 ซม. เกลี้ยง หรือมีขนช่วงปลายผล ผลแห้งแตก ผลแก่สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดเล็กมีปีกสีน้ำตาล
ระยะออกดอก---กรกฎาคม-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ตะไหล/ Prismatomeris tetrandra


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---คู่มือดูพรรณไม้ป่าสะแกราชเล่ม 2โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,จิรพันธ์ ศรีทองกุล,อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
ชื่อวิทยาศาตร์--- Prismatomeris tetrandra (Roxb.) K.Schum.(1891)
ชื่อพ้อง---Has 9 Synonyms  
---Coffea tetrandra Roxb.(1824)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-165482
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ตะไหล ซ้อนป่า กรัก ดูกไก่ดำ ;[CHINESE: Nánshān huā, Si rui san jiao ban hua.];[TAMIL: Kattuchemengi.];[THAI: Ta hlai, Son paa, Krak, Dook kai dam.]; [MALAY: Akar Haji Samat.]; [VIETNAM: Lăng trang, Cây Mui, Mui, Muồi]  
EPPO Code---QZOSS (Preferred name: Prismatomeris sp.)
ชื่อวงศ์--- RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา จีน  อินโดจีน
Prismatomeris tetrandra เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Karl Moritz Schumann (1851–1904) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี พ.ศ.2334
2 Accepted Infraspecifics
-Prismatomeris tetrandra subsp. malayana (Ridl.) J.T.Johanss. (1987)
-Prismatomeris tetrandra subsp. tetrandra (1985)
ที่อยู่อาศัยพบใน อินเดียใต้ ศรีลังกาในจีนพบที่ ฝูเจี้ยน, กวางตุ้ง, กวางสี, ไหหลำ, ยูนนานตอนใต้ และขึ้นกระจายใน กัมพูชา, อินเดีย, ไทย, เวียดนาม เติบโตตามป่าไม้หนาทึบที่ระดับความสูง 300-2,400 เมตร. ประเทศไทยพบในป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ที่ระดับความสูง100-400เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก สูง 6-14เมตร ทรงต้น เรือนยอดกลมโปร่ง เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเหลืองเปลือกแตกเป็นร่องลึกตามยาวและตามขวาง  กิ่งก้านสาขารูปสี่เหลี่ยม ก้านใบยาว 0.7-1.5 ซม.ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก มีหูใบเล็กๆติดอยู่ระหว่างก้านใบ ใบรูปรีหรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง4-6ซม.ยาว10-14ซม.โคนใบกลมมนปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบหนา กรอบ ผิวใบเรียบเป็นมันด้านบนสีเขียวเข้มด้านล่างใบสีอ่อนกว่า และมีเส้นแขนงใบเป็นนูนสัน ดอกช่อกระจุกซ้อน ออกที่ปลายกิ่ง หรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง หลอดกลีบเลี้ยง ยาว0.6-1.8 มม.เกสรเพศผู้ 4 อัน มีกลิ่นหอม ผลรูปถ้วยเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 มม.เรียบเกลี้ยงเมื่อสุกสีม่วงดำ เมล็ด1-2เมล็ด
ใช้ประโยชน์ ---ใช้เป็นยา ใช้ลำต้นหรือราก ต้มน้ำดื่มบำรุงกำลัง เนื้อไม้ใช้บำรุงเลือด รากรักษาโรคหลอดลมอักเสบ  โรคตับอักเสบและมีผลเป็นยาโป๊ว
-ใช้อื่น ๆ เป็นไม้เนื้อแข็งนำมาใช้ในงานก่อสร้างและทำอุปกรณ์การเกษตร
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-กันยายน/กันยายน-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ตาตุ่ม/Excoecaria agallocha 

 

ภาพประกอบการศึกษา-หนังสือป่าเชายเลนนิเวศวิทยาและพรรณไม้ โดย สรายุทธ บุญยะเวชชีวิน(ผู้แต่งและภาพ)รุ่งสุริยา บัวสาลี พิมพ์ครั้งที่1 เมษายน 2554
ชื่อวิทยาศาตร์---Excoecaria agallocha L.(1759)
ชื่อพ้อง---Has 10 Synonyms
---Commia cochinchinensis Lour.(1790)
---Excoecaria affinis Endl.(1833)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-83292
ชื่อสามัญ---Milky mangrove, Blind-your-eye, Blind-your-eye mangrove, River poison tree, Scrub poisontree.
ชื่ออื่น---ตาตุ่ม, ตาตุ่มทะเล ;[BENGALI: Geoya, Akati];[CHINESE: Hǎi qī.];[FRENCH: Arbre aveuglant, Géor.];[GERMAN: Geor-Baum, Gewa-Baum.];[INDONESIA: Kayu buta-buta (Indo­nesian), Kayu betah (Javanese), Menengan (Ma­durese, Javanese, Balinese).];[MALAYALAM: Kammetti, Komatti, Kannampotti];[MALAYSIA: Buta-buta (General), Bebuta (Peninsular).];[MYANMAR: Kayaw taway.];[PAPAU NEW GUINEA: Sismet (ManusIsland), Te'eria (Korina, Cen­tral Province), Su (Madang  Province).];[PHILIPPINES: Buta-buta (Tagalog, Pilipino), Lipata (Bikol, Bi­saya, Tagalog).];[TAMIL: Tillai.];[THAI: Buu-to (Peninsular), Ttatum thalae (Cen­tral).];[VIETNAM: Trà mủ, Cây giá.].
EPPO Code --- EXAAG (Preferred name: Excoecaria agallocha.)
ชื่อวงศ์---EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--จีนตอนใต้ อนุทวีปอินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย เกาะริวกิว ไต้หวัน หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
Excoecaria agallocha เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ (Euphorbiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2302


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนและเอเชียกึ่งร้อนชื้น กระจายอยู่ตามชายฝั่งของอินเดียตอนใต้และศรีลังกาถึงพม่า อินโดจีน จีน ไต้หวัน เกาะริวกิว ประเทศไทยทั่วทั้งภูมิภาคมาเลเซีย ทางตอนเหนือของออสเตรเลียและมหาสมุทรแปซิฟิก พบขึ้นทั่วไปในป่าชายเลนตามแม่น้ำลำคลองที่น้ำทะเลท่วมถึง บริเวณน้ำกร่อยและนาข้าวที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 100 (-400) เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8-15 เมตร แตกกิ่งต่ำบางครั้งดูคล้ายไม้พุ่ม ลักษณะเปลือกเรียบแล้วแตกเป็นร่องตามยาว สีเทาถึงน้ำตาล  กิ่งอ่อนมีช่องอากาศเล็กๆเด่นชัด มีรากหายใจแผ่กระจายไปตามผิวดิน และมีน้ำยางข้นตามส่วนต่างๆ ใบ เดี่ยวรูปไข่แกมรูปรี ขนาดใบกว้าง3-5ซม.ยาว5-12ซม.โคนใบมนมีต่อม 1คู่อยู่ที่โคนใบ เนื้อใบเหนียวคล้ายแผ่นหนังผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้านขอบใบเรียบถึงมีคลื่น เล็กน้อย ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ด้านล่างสีซีดกว่า ใบแก่ก่อนร่วงสีส้มถึงสีอิฐ ดอก แบบช่อเชิงลดออกตามง่ามใบ แยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกผู้คล้ายหางกระรอก ดอกเมียคล้าย่อเชิงลดมีก้าน สั้นกว่าดอกผู้ ผลแคปซูลแห้งแล้วแตกรูปทรงกลมมี 3 พู ขนาด4-5 x 8-10 มม.ผิวเกลี้ยงสีเขียวถึงสีน้ำตาลเข้มปลายผลมีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ เมล็ดกลมสีดำ 3 เมล็ดผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแดด ในดินที่อุดมสมบูรณ์ ทนต่อดินเค็ม ชอบ pH ในช่วง 6.5 - 7 ทนได้ 6 - 8
ใช้ประโยชน์--- พืชเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นสมุนไพร และมักจะได้รับการปลูกเป็นไม้ประดับ
-ใช้เป็นยา น้ำมันสกัดจากการกลั่นไม้หรือน้ำยางถูกนำไปใช้กับโรคผิวหนัง ใช้ภายนอก, รากจะโขลกกับขิงและใช้เป็น embrocation เพื่อลดการบวมในมือและเท้า มีประโยชน์ทางยาและเภสัชวิทยาต่าง ๆ รวมถึงการรักษาโรคลมชัก, แผล, โรคเรื้อน,โรคไขข้อและอัมพาต เนื่องจากคุณสมบัติทางเคมีที่ซับซ้อนพืชอาจมีการใช้เป็นยาใหม่ๆ มากมาย
-ใช้อื่น ๆ บางส่วนของไม้ใช้สำหรับธูป ใบแห้งและผงก็ยังรักษาพิษไว้และสามารถฆ่าปลาได้อย่างรวดเร็วหรือใช้ในการทำลูกดอกอาบยาพิษ
รู้จักอันตราย--- ทุกส่วนของพืชมีพิษ น้ำยางมีphytotoxinsหลายชนิดรวมทั้ง excoecariatoxins ซึ่งเป็นสารระคายเคืองอย่างแรงต่อผิวหนัง ดวงตา และเยื่อเมือก หากยางเข้าตา อาจทำให้ตาบอด
ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท'ความกังวลน้อยที่สุด'(ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด
 


ตังสีไพร/Litsea glutinosa


ภาพประกอบการศึกษา :หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือคู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้นในป่าภาคเหนือประเทศไทยโดย ไซมอน การ์ดเนอร์ ,  พินดา สิทธิสุนธร, วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาตร์---Litsea glutinosa (Lour.) C.B.Rob.(1911)
ชื่อพ้อง---Has 42 Synonyms
---Basionym: Sebifera glutinosa Lour.(1790)
---Tetranthera laurifolia Jacq.(1797)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2442125
ชื่อสามัญ---Indian-laurel, Soft bollygum, Bolly beech, Bollywood, Bollygum, Brown bollygum, Brown Bollywood, Sycamore, Bbrown beech
ชื่ออื่น---ตังสีไพร, หมีเหม็น, ดอกจุ๋ม, หมูทะลวง, หมูเหม็น.;[AFRIKAANS: Indiese lourier.];[CAMBODIA: Krapoulbay (Central Khmer).];[CHINESE: Chán gǎomù jiāng zi.];[FRENCH: Avocat marron, Bois d'oiseaux, Litsée glutineuse.];[INDIA: Musaippeyetti, Elumburukki, Maidlakdi, Uralli.];[PHILIPPINES: Puso-puso, Sablot.];[THAI: Tang si prai, Mi hmen, Dok jum.];[VIETNAMESE: Bời lời đỏ.].  
EPPO Code---LISGU (Preferred name: Litsea glutinosa.)
ชื่อวงศ์---LAURACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย แปซิฟิก แอฟริกา
Litsea glutinosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัว Lauraceaeได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Joao de Loureiro (1717–1791) นักพฤกษศาสตร์ชาวโปรตุเกสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Charles Budd Robinson, Jr. (1871–1913)นักพฤกษศาสตร์และนักสำรวจชาวแคนาดาในปี พ.ศ.2454
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียจีนตอนใต้ มาเลเซีย ออสเตรเลียและหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตก รวมถึงหลายภูมิภาคของจีน (ฝูเจี้ยน กวางตุ้ง กวางสี ไหหลำ ยูนนาน) อินเดีย ภูฏาน พม่า เนปาล ฟิลิปปินส์ ไทยและเวียดนาม มอริเชีย สเรอูนียง มายอต และในจังหวัดควาซูลูนาทาลในแอฟริกาใต้ เติบโตในขอบป่าริมลำธาร ป่าโปร่งหรือป่าทึบ ป่าที่ไม่ถูกรบกวน ที่ระดับความสูง ถึง 1900 เมตร ประเทศไทย พบทั่วไปกระจายกว้างขวางในป่ากึ่งโล่งแจ้ง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าชายหาด ทั่วทุกภาค ที่ระดับความสูง100-1,000เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นสูง10-15เมตร เป็นไม้ผลัดใบหรือกึ่งผลัดใบ ลักษณะ เรือนยอดกลมทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนปนครีม หรือออกสีเทาๆมีช่องอากาศเป็นขีดนูนกระจายทั่วไป เปลือกชั้นในสีเหลืองมีกลิ่นเหม็นของยาง ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปรี ไข่กลับ ค่อนข้างกว้าง ขนาดของใบ กว้าง4-11ซม.ยาว8-23ซม. ปลาย โคนใบกลมมน ฐานใบแหลมเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนนุ่มสีเหลือง ใบแก่เหนียวด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีขนละเอียด ขยี้ใบมีกลิ่นเหม็น ดอกเป็นช่อกลม 8-10 ดอกมีหลายช่อรวมกันช่อยาวถึง 7ซม. ผลมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มม.สุกสีม่วงดำ มีเมล็ดแข็ง
ใช้ประโยชน์--- ต้นไม้ถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารยารักษาโรคและสำหรับสินค้าหลากหลายชนิด ไม้ถูกนำมาใช้ในประเทศและยังเป็นแหล่งที่มาของ 'medang'
-ใช้กินได้ เนื้อผลมีรสหวาน
-ใช้เป็นยา ในอินเดียเปลือกและใบของมันถูกใช้เป็น demulcent และยาสมานแผลอ่อน ๆ และใช้สำหรับท้องร่วงและโรคบิด รากใช้เป็นยาพอกสำหรับเคล็ดขัดยอกและรอยฟกช้ำ
-ใช้อื่น ๆ ไม้สีน้ำตาลเหลืองมีความแข็งปานกลางและหนักปานกลาง  พื้นผิวที่ดีและหนาแน่น ใช้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ มีต้นไม้หลายสายพันธุ์ (รวมถึงสายพันธุ์นี้) จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ในตระกูล Lauraceae และผลิตไม้ที่มีประโยชน์ซึ่งไม่ชัดเจนเพียงพอในตัวมันเองหรือมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะรับประกันการซื้อขายแยกกัน สายพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้ได้รวมตัวกันภายใต้ชื่อทางการค้า 'Medang' น้ำแช่ไม้เป็นน้ำยาเคลือบผม  ในประเทศจีนน้ำมันที่มีอยู่ในเมล็ด (50%) ใช้ทำเทียนและสบู่
ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท'ความกังวลน้อยที่สุด'(ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2021
ระยะออกดอก/ติดผล--- มีนาคม--มิถุนายน/กันยายน-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ตับเต่าต้น/Diospyros ehretioides


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาตร์---Diospyros ehretioides Wall. ex G.Don.(1837)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2769652
---Diospyros harmandii Lecomte.(1928)
---Diospyros putii H.R.Fletcher.(1937)
ชื่อสามัญ---Burma kanomoi
ชื่ออื่น--- ตับเต่า (คนเมือง), มะไฟผี (เชียงราย), มะโกป่า (แพร่), ชิ้นกวาง, เรื้อนกวาง, ลิ้นกวาง (ปราจีนบุรี), ตับเต่าหลวง มะพลับดง (ราชบุรี), มะมัง (นครราชสีมา), ตับเต่าใหญ่ (ชัยภูมิ), เฮื้อนกวาง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กากะเลา มาเมี้ยง แฮดกวาง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); [CHINESE: Hong zhi shi.];[THAI: Tap-tao ton, Ma fi phi, Mako paa, Chin kwang, Lin kwang, Ma plap dong, Tap-tao yai, Ma mang, Kakala.].
EPPO Code---DOSSS (Preferred name: Diospyros sp.)
ชื่อวงศ์---EBENACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---พม่า ภูมิภาคอินโดจีน
Diospyros ehretioides เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะพลับ (Ebenaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก จากอดีต George Don ((1798–1856) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตในปี พ.ศ.2380


ที่อยู่อาศัยมีการกระจายเฉพาะใน พม่าไทย ลาว กัมพูชา ไม่พบในเวียตนาม ในประเทศไทย พบในป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ที่ระดับความสูง 100-500 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ต้นผลัดใบ หรือกึ่งผลัดใบ สูงถึง 15เมตรไม่มียาง เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นถึง1.5เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ ลักษณะ เปลือกนอกสีน้ำตาลเทา แตกสะเก็ดหรือค่อนข้างเรียบ ใบเดี่ยวออกแบบสลับ ขนาดใบ10-28x7-23 ซม. ใบอ่อนมีขน ใบแก่เหนียว เรียบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อกระจุกซ้อน สมมาตรออกในซอกใบตามกิ่ง ง่ามใบ ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น (dioecious) กลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเดี่ยวหรือเป็นช่อสั้นๆ กลีบดอกมี4กลีบ ดอกเมื่อบานขนาด 1 ซม. ผลทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม ผลมีเนื้อหลายเมล็ด เกลี้ยง สีเหลือง เมื่อสุกสีแดงอมน้ำตาล ชั้นกลีบเลี้ยงแยกเป็นพูรูปขอบขนานโค้งไปด้านหลัง แต่ไม่เป็นคลื่นมีเส้นใบลางๆ กลีบเลี้ยงติดทน
ใช้ประโยชน์ ---ต้นไม้ถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นไม้ในท้องถิ่น
-ใช้เป็นยา ตำรายาไทยมักใช้ร่วมกับตับเต่าน้อย (ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyalthia debilis (Pierre) Finet & Gagnep วงศ์ ANNONACEAE) เรียกว่า "ตับเต่าทั้งสอง" แก่นและรากใช้ต้มหรือฝนกินเป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน แก้พิษไข้ แก้พิษทั้งปวง ตำรายาพื้นบ้านจะใช้เปลือกต้น ผสมกับลำต้นเฉียงพร้านางแอ และลำต้นหนามแท่ง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ผิดสำแดง -ลำต้น แก่น เนื้อไม้ ต้มให้แม่ลูกอ่อน ทำให้มดลูกเข้าอู่ มีน้ำนมให้ลูก-รากใช้ปรุงเป็นยารักษาแผลเรื้อรัง รากใช้ปรุงเป็นยารักษาแผลเรื้อรัง  เปลือกใช้เป็นยารักษาโรครำมะนาด กิ่งสดนำมาทุบใช้สีฟันทำให้เหงือกและฟันทน
-อื่น ๆ ไม้เป็นสีเทาเข้มบางครั้งก็มีรอยด่างดำ ลายเนื้อไม้ละเอียด ใช้งานทน แต่ไม่ค่อยตรง ใช้สร้างบ้าน ทำเสา อุปกรณ์การเกษตร ทำเสารั้ว ทำเชื้อเพลิง -ผลมีพิษเบื่อปลา ใช้ย้อมผ้า -ไม้และเปลือกใช้ทำเยื่อกระดาษ
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-เมษายน/ผลแก่---มิถุนายน-กันยายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ต้างหลวง/Trevesia palmata


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์, พินดา สิทธิสุนธร, วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาตร์---Trevesia palmata (Roxb. ex Lindl.) Vis. (1842)
ชื่อพ้อง---Has 15 Synonyms
---Basionym: Gastonia palmata Roxb. ex Lindl.(1825)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-207622
ชื่อสามัญ---Snowflake Tree, Snowflake aralia,
ชื่ออื่น---ต้างหลวง, ต้างป่า, ต้างผา ;[CHINESE: Cì tōng cǎo,];[FRENCH: Trevesia palmé, Flocon de neige.];[GERMAN: Schneeflockenbaum.];[PORTYGYESE: Pata-de-ganso, Pé-de-pato, Arália-pata-de-ganso, Arália-pé-de-pato.];[SPANISH: Copo de nieve.];[THAI: Tang louang, Tang paa, Tang pha.];[VIETNAM:  Dược liệu, Đu Đủ Rừng.].
EPPO Code---TVEPA (Preferred name: Trevesia palmata.)
ชื่อวงศ์---ARALIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย เนปาล ภูฏาน ไทย บังกลาเทศ พม่า จีน ลาว กัมพูชา เวียตนาม
Trevesia palmata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวAraliaceaeได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย (William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต จากอดีต John Lindley (1789-1865) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ.)และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Roberto de Visiani (1800-1878) นักพฤกษศาสตร์ นักธรรมชาติวิทยาและนักวิชาการชาวอิตาเลี่ยนในปี พ.ศ.2375
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในป่าของรัฐอัสสัม บังคลาเทศ กัมพูชา จีนตอนใต้ เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก หมู่เกาะอันดามัน ลาว พม่า เนปาล ไทยและเวียดนาม ชอบขึ้นในป่าดิบที่ปลอดจากไฟป่า หรือตามหุบเขาที่มีความชุ่มชื้น และป่าเบญจพรรณบนเนินเขา ที่ระดับความสูง 600 - 2,000 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ต้นสูง 8เมตรไม่ผลัดใบ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 15 ซม ลำต้นมีหนาม ใบเดี่ยวขนาด 30-70 ซมจักแผ่กว้าง เรียงสลับแน่นใกล้ปลายยอด.แผ่นใบหยักเว้าลึกเป็นพู 5-9 พู ขอบใบของแต่ละพูจักลึกไม่เป็นระเบียบ ผิวใบมีขนละเอียดสีน้ำตาล รูปร่างของใบแตกต่างกันอย่างมากถึงจะอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกสีนวลแกมเขียวเป็นช่อกลมใหญ่ แกนช่อดอกแตกแขนงยาวถึง60เซนติเมตร มีขนสีน้ำตาล ช่อย่อยขนาดประมาณ 8 ซม.ดอกบานขนาด1.5 ซม.กลีบดอก 8-10 กลีบ รูปไข่ปลายแหลมและมักงอพับไปด้านหลัง เกสรเพศผู้ 8-12 อัน ผลรูปกรวยคว่ำ ยาวถึง1.7 ซม.มีก้านเกสรเพศเมียติดตรงปลาย
ใช้ประโยชน์--- ดอกตูมเก็บรวบรวมจากป่าและบริโภคในท้องถิ่น พืชยังมีประโยชน์ที่แก่นมีคุณสมบัติทางยาและปลูกเป็นไม้ประดับสามารถนำมาใช้เป็นไม้ประดับในกระถางรูปทรงสวยงาม
-ใช้กินได้ ยอดอ่อน ดอกอ่อน ผลอ่อน สุกกินเป็นผัก
-ใช้เป็นยา ยอดอ่อน ดอกอ่อน ผลอ่อน กินเป็นยาเจริญอาหาร แก้โรคเบื่ออาหาร แก้ไข้ตัวร้อน กระหายนํ้า บำรุงร่างกาย ส่วนต้นและใบเชื่อว่ารักษากามโรค
-อื่น ๆ ใบใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์
ภัยคุกคาม--เนื่องจากต้นไม้ชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรจำนวนมาก ปัจจุบันไม่พบภัยคุกคามที่สำคัญใดๆ และไม่มีการระบุถึงภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2019
ระยะออกดอก---กุมภาพันธ์-มีนาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ แยกหน่อ

ตาฉี่เคย/Craibiodendron stellatum

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาตร์---Craibiodendron stellatum (Pierre) W.W.Sm.(1911)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2741229
---Basionym: Schima stellata Pierre.(1887)
---Pieris shanica W.W.Sm.(1911.) is an unresolved name
---Craibiodendron shanicum W.W. Sm.(1911)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ตาฉี่เคย, เหมือดภู, ดาวราย, มะยมภู, ติลี่อากอ ; [CHINESE: Jīn yèzi, Jia mu he.];[THAI: Ta shi khey, Hmueat phu, Daorai, Mayom phu, Ti li aa gor.];[VIETNAM: Cáp mộc hình sao, Hoa khế.].
EPPO Code---1ERIF (Preferred name: Ericaceae.)
ชื่อวงศ์---ERICACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- จีน กัมพูชา, ลาว, พม่า, ไทย, เวียดนาม
Craibiodendron stellatum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย(Pierre)และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย William Wright Smith (1875–1956)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2454


ที่อยู่อาศัย มีการกระจายพันธุ์ใน จีน (กวางตุ้ง, กวางสี, กุ้ยโจว, ยูนนาน) กัมพูชา, ลาว, พม่า, ไทย, เวียดนาม พบขึ้นตามป่าไม้หนาทึบที่ระดับความสูง (200–)700–1600(–2700) เมตร ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่ระดับความสูง 800-1,200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กสูงถึง 4-6 เมตร ลำต้นและกิ่งเป็นตะปุ่มตะป่ำ เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มมีรอยแตกลึก เปลือกชั้นในสีส้มอ่อน ก้านใบยาว0.5ซม.ใบรูปไข่กว้าง 3- 5ซม.ยาว 5-11 ซม.ปลายใบมีติ่งแหลม ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบ14-18คู่ ยอดอ่อนสีส้มอมชมพู ใบแก่หนาและเหนียว ด้านล่างมีต่อมเล็กๆสีดำ ดอกมีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยรูประฆัง ขนาด 0.3-0.5 ซม.กลีบรองดอกเป็นรูปถ้วยปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบโคนเชื่อมกัน 2 ใน 3 ปลายแยกเป็น 5 แฉกรูปสามเหลี่ยม มีกลิ่นหอม ผลขนาด 1.3-1.6 ซม.แข็ง กลมหรือรูปไข่ มีชั้นกลีบเลี้ยงคงอยู่ที่ฐาน ผลเป็น 5 เหลี่ยมแตกได้เป็น 5 ส่วน แต่ละส่วนมีเมล็ดมีปีก 4-7 เมล็ด เมล็ดขนาด 5-10 มม
ใช้ประโยชน์---ใช้กินได้ เปลือกและยางใช้ผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-ใช้เป็นยา ในเวียตนามผู้คนใช้เปลือกล้างบาดแผล ในจีนใช้รากในการรักษาโรคไขข้อ
-อื่น ๆ ไม้ใช้ในงานก่อสร้าง ทำพื้นได้ดี
ระยะออกดอก/ติดผล ---กรกฎาคม-ตุลาคม/ตุลาคม-เมษายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ตารา/Polyalthia glauca


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ
ชื่อวิทยาศาตร์---Maasia glauca (Hassk.) Mols, Kessler & Rogstad.(2008.)
ชื่อพ้อง---Has 9 Synonyms.
---Basionym: Polyalthia glauca (Hassk.) F.Muell.(1877)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2607792
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น--ตารา; [BORNEO: Balikan putih; Bin(g)hut; Dilah Saie; Djilu; Kembalikan putih; Lirap; Samukau];[THAI; Ta ra.].
EPPO Code---MSWGL (Preferred name: Maasia glauca.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---หมู่เกาะอันดามัน บอร์เนียว ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ชวา นิโคบาร์ สุมาตรา ฟิลิปปินส์
Maasia glauca เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงา (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Justus Carl Hasskarl (1811-1894) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน.และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Johan B. Mols (fl. 2000) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์, Michael Kessler (1967– )นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน และ Steven H. Rogstad (fl. 1989) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน.ในปี พ.ศ.2551
ที่อยู่อาศัย มีการกระจายพันธุ์ในหมู่เกาะนิโคบาร์, ไทย, คาบสมุทรมาเลเซีย, สุมาตรา, ชวา, บอร์เนียว (ซาราวัก, ซาบาห์, ตะวันตก -, กลาง - และ - กาลิมันตันตะวันออก), ฟิลิปปินส์, เซเลเบส, โมลูกาและนิวกินี พบในป่าที่ไม่ถูกรบกวน ในป่าดิบเขา ป่าเต็งรังผสม บางครั้งในป่าพรุ ส่วนใหญ่อยู่บนเนินเขาและสันเขาในป่าทุติยภูมิพบเล็กน้อย เติบโตที่ระดับความสูงถึง 950 เมตร ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ที่ระดับความสูง 100 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นสูง10-15 (-36) เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น(-60)ซม.ทรงต้น แตกกิ่งจำนวนมากขนานกับพื้นดิน กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม เปลือกต้นเรียบสีเทา เนื้อไม้เหนียว
ใบ รูปขอบขนานกว้าง 5.5-7 ซม.ยาว15-18 ซม. โคนใบมนถึงรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบหนาเป็นแผ่นเหนียว ด้านบนใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างใบเคลือบขาวก้านใบยาว 1.5 ซม. ดอกออกเป็นช่อกระจุก 2-5 ดอก ออกตามกิ่งเหนือรอยแผลของก้านใบ กลีบดอกสีเขียวนวลเมื่อบานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1 ซม. ผลกลุ่มมีผลย่อย 4-5 ผลขนาด 1.5 ซม.ผิวเกลี้ยงเป็นมันสีเขียว สุกสีแดง มี1เมล็ด
ใช้ประโยชน์--- เป็นไม้ป่าที่ยังไม่มีการปลูกเลี้ยง เนื้อไม้นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
ระยะออกดอก---ธันวาคม-กุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด


ตาเสือ/Dysoxylum cochinchinense  

   

อ้างอิง, ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาตร์---Dysoxylum cyrtobotryum Miq.(1861)
ชื่อพ้อง---Has 26 Synonyms.
---Dysoxylum cochinchinense Pierre.(1897)
---Amoora macrocarpa Merr.(1904)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2779919
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ตาเสือ, [BORNEO: Bunyah, Hantopak, Kalantupak, Lantupak, Rupai, Segera.];[CHINESE: Jian mu shu.];[THAI:Ta suea.].
EPPO Code---DYXCY (Preferred name: Dysoxylum cyrtobotryum.)
ชื่อวงศ์---MELIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน ชวา หมู่เกาะซุนดาน้อย (บาหลี) สุมาตรา ฟิลิปปินส์
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ 'cyrtobotryum' มาจากภาษากรีกหมายถึง "ผลไม้โค้ง"
Dysoxylum cyrtobotryum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระท้อนหรือมะฮอกกานี (Meliaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Friedrich Anton Wilhelm Miquel (1811–1871) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ในปี พ.ศ.2404
ที่อยู่อาศัย มีการกระจายพันธุ์ในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ที่อยู่อาศัยในป่าเต็งรังและป่าดิบเขาที่ไม่ถูกรบกวน ทั่วไปบนเนินเขาและสันเขาจากระดับน้ำทะเลถึงระดับความสูงไม่เกิน 2,000 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง 20-30 (-40) เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นสูงประมาณ 60-85 ซม. ลักษณะเปลือกต้นสีเทาปนดำแก่มีรอยแตกตื้นๆ  เปลือกในนุ่มสีขาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (imparipinnate) เรียงตัวสลับหรือเกือบตรงข้าม ขนาดของใบกว้าง 2.5-5 ซม.ยาว 7.5-15 ซม. ตาใบแหลมมีขนปกคลุมหนาแน่น ใบแก่สีเขียวเข้มเรียบเกลี้ยง หรือมีขนเห็นไม่ชัดเจน ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น (dioecious) ดอกขนาด 0.5-0.8 ซม.กลุ่มช่อดอกไม่แตกแขนง ยาว3-10 ซม.กลีบดอก 4 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอมสีเหลือง บางครั้งก็มีปลายกลีบสีชมพู ผลกลมมีฐานแคบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 5 ซม.เหนียว เมล็ดทรงกลมสีดำ 4-10 เมล็ดไม่มีเนื้อหุ้ม
ใช้ประโยชน์---เป็นแหล่งของไม้คุณภาพดีที่รู้จักกันในชื่อ 'jarum-jarum' ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นและเพื่อการค้า แก่นไม้เป็นสีน้ำตาลแดง กระพี้สีเหลืองอ่อน ไม้ที่ตัดใหม่มีกลิ่นเปรี้ยวเหมาะสำหรับงานก่อสร้างขนาดกลางถึงงานหนัก ใช้สำหรับ งานปูพื้น งานผลิตเฟอร์นิเจอร์คุณภาพสูง พาเลทไม้วีเนียร์และไม้อัด
ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2020
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ตีนนก/Vitex limoniifolia


อ้างอิง, ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาตร์---Vitex limonifolia Wall. ex C.B.Clarke.(1885)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-213309
---Vitex alata Schauer.(1847.) [Illegitimate]
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ตีนนก, สวอง; [THAI: Tin nok, Sa wong.].
EPPO Code---VIXSS (Preferred name: Vitex sp.)
ชื่อวงศ์---LABIATAE (LAMIACEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อัสสัม พม่า คาบสมุทรอินโดจีน
Vitex limonifolia เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเพรา (Lamiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก จากอดึต Charles Baron Clarke (1832-1906)เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2428
ที่อยู่อาศัย ถิ่นกำเนิด อัสสัมถึงอินโดจีน ในประเทศไทยพบเป็นไม้ท้องถิ่นภาคเหนือพบทั่วไปในป่ากึ่งโล่งแจ้ง
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นสูง17เมตรลักษณะเปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา บาง แตกเล็กน้อยและล่อนออก ใบประกอบแบบ 3 ใบย่อย (trifoliolate) ใบย่อยขนาด 7-25 x 2.5-8.5 ซม.ขอบใบเรียบหรือมีหยักตื้นประปราย ยอดอ่อนมีขนคล้ายกำมะหยี่ ใบแก่บางแข็ง ด้านล่างมีขนนุ่มสีน้ำตาลมักมีต่อมน้ำยางเป็นมัน ดอกขนาด0.4-0.6ซม.มีสีขาวและมีสีครามออกเป็นช่อแคบที่ปลายกิ่ง ผลสีม่วงเข้ม ถึงดำ ทรงกลม มีแผงสีน้ำตาลอมแดงที่ปลายและฐานผลมีชั้นกลีบเลี้ยงติดอยู่
ใช้ประโยชน์--- เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เปลือกต้นเป็นยาแก้ปวดเมื่อย
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ตำหยาว/ Alphonsea elliptica

อ้างอิงภาพประกอบเพื่อการศึกษา-หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ
ชื่อวิทยาศาตร์---Alphonsea elliptica Hook. f. & Thomson.(1855)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2630014
---Alphonsea maingayi var. elliptica (Hook.f. & Thomson) Ridl.(1922)
ชื่อสามัญ---Banana Tree
ชื่ออื่น---ตำหยาว (ใต้); ปีแซกายู (มลายู ปัตตานี) ;[MALAYSIA: Mempisang, Terbak (Malay).];[THAI: Tam yao, Pi sae kayu.].
EPPO Code---AHUEL (Preferred name: Alphonsea elliptica)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
Alphonsea elliptica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงา (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Sir Joseph Dalton Hooker (1817-1911) นักพฤกษศาสตร์นักชีววิทยาและศัลยแพทย์ชาวอังกฤษและThomas Thomson (1817 –1878)ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2398
ที่อยู่อาศัย เกิดขึ้นตามธรรมชาติในไทย มาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นไม้ป่าที่ยังไม่มีการปลูกเลี้ยง ในประเทศไทยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ตั้งแต่ในป่าพรุจนถึงระดับความสูง300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง10-20เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ แตกกิ่งมาก กิ่งขนานกับพื้นดิน กิ่งอ่อนเรียบ เนื้อไม้เหนียวมาก ใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-4.5 ซม.ยาว 8-15 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบบางผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ดอกมีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุเดียวกันดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ ดอกสีเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงสีเขียวหนา กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ผิวเรียบมันปลายกลีบงอโค้งขึ้นมี6กลีบเรียงกันสองชั้น ชั้นในแคบกว่าเล็กน้อย บานชี้กางออก ดอกบานขนาด2ซม.ดอกบานอยู่ได้ 2 วัน ผลเป็นผลกลุ่มมีผลย่อย 3-5 ผล ผลรูปทรงกระบอก กว้าง 3.5 ซม.ยาว 6-7 ซม.เปลือกผลเรียบเป็นมัน เมื่อแก่สีเหลือง
ใช้ประโยชน์ ---เนื้อไม้นำมาใช้งานก่อสร้างและเป็นเชื้อเพลิง
ระยะออกดอก---พฤษภาคม-กรกฏาคม
ขยายพันธุ์---โดยการเพาะเมล็ด

ติ่งฟ้า/Dasymaschalon macrocalyx

 

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา--- หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ
ชื่อวิทยาศาตร์---Dasymaschalon macrocalyx Finet & Gagnep.(1906.)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2757634
---Dasymaschalon trichophorum Merr.(1930)
---Desmos macrocalyx (Finet & Gagnep.) P.T.Li.(1993)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ติ่งฟ้า ;[CHINESE: Zào mào huā, Dān dān zào mào huā.];[THAI: Ting fa.];[VIETNAM: Dất mèo, Dây vú trâu, Mao quả đài to.]
EPPO Code---DZWSS (Preferred name: Dasymaschalon sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน เวียตนาม ลาว กัมพูชา ไทย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ 'macrocalyx'ระบุลักษณะเฉพาะของกลีบเลี้ยงของดอกไม้ที่โตเต็มที่ของสายพันธุ์นี้ซึ่งใหญ่กว่าสายพันธุ์อื่นในสกุลDasymaschalonอย่างมีนัยสำคัญ
Dasymaschalon macrocalyx เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงา (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Achille Eug?ne Finet.(1863 -1913) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และ Francois Gagnepain (1866-1952 ) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2449
ที่อยู่อาศัย พบใน เวียตนาม ลาว กัมพูชา ไทย ที่ระดับความสูง 200–800 เมตรในป่าเบญจพรรณ มีสถานภาพหายากและใกล้สูญพันธุ์ในถิ่นกำเนิด ในประเทศไทยพบขึ้นในป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก (จังหวัดอุบลราชธานี) ที่ระดับความสูง 350-500เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูง1-3 (-6) เมตร ลักษณะ แตกกิ่งจำนวนมากเปลือกต้นสีน้ำตาลอมดำ มีช่องอากาศสีขาวเป็นจุด เนื้อไม้เหนียว ใบรูปรีกว้าง 3-4 ซม.ยาว 6-10 ซม.ด้านบนสีเขียวมีขนเล็กน้อย ด้านล่างสีฟ้าอมขาวเส้นกลางใบด้านบนเป็นร่องด้านล่างเป็นสันนูนดอกเดี่ยวออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกอ่อนสีขาวอมเขียวดอกแก่สีส้ม กลีบเลี้ยงสีเขียวรูปสามเหลี่ยมแผ่กางออกจากกันเป็นสามมุมยาว 5.5–15.5 มม. และกว้าง 3-5.5 มม. กลีบดอกติดกันเป็นรูปกรวย ผลเป็นผลกลุ่มมี 6-10 ผล รูปทรงกระบอกยาว1.5-2.5 ซม. มีเมล็ด 2-4 เมล็ด ผลอ่อนสีฟ้าอมขาว เมื่อแก่สีเขียวอมเหลือง
ใช้ประโยชน์ ---ใช้เป็นยา ในเวียตนามใช้น้ำต้มทั้งต้นบรรเทาอาการไขข้ออักเสบปวดกระดูก
ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-กรกฎาคม/กรกฎาคม-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ติ้วเกลี้ยง/Cratoxylum cochinchinense


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาตร์--- Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Blume. (1856)
ชื่อพ้อง---Has 18 Synonyms.  
---Basionym: Hypericum cochinchinense Lour. (1790)
---Cratoxylum polyanthum Korth.(1848)
---Cratoxylum ligustrinum (Spach) Blume.(1856)
---Cratoxylum hypoleuca Elmer.(1913)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2742412
ชื่อสามัญ---Yellow Cow Wood, Tree-Avens
ชื่ออื่น---ติ้วเกลี้ยง, ติ้วแดง, ติ้วใบเลื่อม,  กุ่ยฉ่องบ้าง (กะเหรี่ยง-ลำปาง); [CHINESE: Huáng niú mù.];[KHMER: Lngieng tuk, Ingieng sbat (central).];[INDONESIA: Kayu Lulus, Lelulus.];[MALAYSIA: Beluchus, Derum, Derum Selunchor, Geronggang, Geronggang Derum Selunchor, Kayu Arang, Kemutong (Malay); Geronggang Bogoi, Selangan Biabas (Sabah); Mertilan (Sarawak).];[THAI: Tiew gliang, Tiew daeng, Tiew bai liuam, Kui-chong-baang.];[VIETNAM: Thànhngạch nam, Lànhngạnh nam, Hoàngngưu moc, Hoàngngưu trà, Dỏ ngọn.].
EPPO Code---KXLCO (Preferred name: Cratoxylum cochinchinense.)
ชื่อวงศ์---HYPERICACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---คาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมาเลย์ สุมาตรา ฟิลิปปินส์ พม่า จีน ฮ่องกง บอร์เนียว
Cratoxylum cochinchinense เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ติ้ว (Hypericaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Joao de Loureiro (1717–1791) นักพฤกษศาสตร์ชาวโปรตุเกสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2399


ที่อยู่อาศัย เติบโตตามธรรมชาติจากทางตอนใต้ของประเทศจีนไปยังเกาะบอร์เนียว ที่อยู่อาศัย-ป่ากึ่งเขตร้อนและป่าเขตร้อนรวมถึงป่าKerangasและหนองน้ำพรุ ที่ระดับความสูง  500 -1,200 เมตร ในประเทศจีน ในประเทศไทยพบในป่าดิบแล้ง และป่าผสมผลัดใบ ที่มีต้นไม้ขึ้นค่อนข้างห่าง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระดับความสูง 500-700 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-25 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นถึง 55 ซม.ลักษณะ ลำต้นเปลาตรงเปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาล เรียบหรือแตกสะเก็ดไปตามยาวของลำต้น ใบเดี่ยวขนาด กว้าง 2-3 ซม.ยาว 3-9 ซม.เรียงตรงข้ามรูปรีหรือใบหอก ขอบใบเรียบเนื้อใบหนา ผิวใบเกลี้ยง ใบอ่อนสีชมพูเรื่อ ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก กระจุกละ 2-5 ดอกขนาดดอก 1ซม.ออกดอกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายยอด สีส้มหรือแดงเข้ม กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลแห้ง ขนาด 0.8-1.2 ซม. ผิวเกลี้ยงเป็นมันกลีบเลลี้ยงเจริญขึ้นมาปกคลุม 2/3ของผล ผลแก่สีน้ำตาล แตกอ้าเป็น 3 แฉก เมล็ดมีปีกรูปไข่กลับกว้าง 2.5-3 มม.ยาว 6-7 มม.ปีกแบนและบาง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบแสงแดดจัดขึ้นได้ดีในดินไม่อุ้มน้ำ  
ใช้ประโยชน์ ---ใช้กินได้ยอดและใบอ่อนกินเป็นผัก ผลอ่อนใช้เป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหาร ใบอ่อนใช้ชงแทนใบชาในจีนรู้จักกันทั่วไปว่า Kuding Tea
-ใช้เป็นยา เป็นสมุนไพรของตำรายาพื้นบ้านอีสานหลายขนาน  รากเปลือกและกิ่งใช้เป็นยารักษาโรคหวัดและท้องร่วง เปลือกและใบโขลกและผสมกับกะทิถูกนำไปใช้ทา เป็นวิธีการรักษาปัญหาผิว       
-ใช้อื่น ๆ เนื้อไม้แข็งและทนทาน มีคุณค่าสำหรับงานแกะสลักไม้ เปลือกทำสีย้อมให้สีน้ำตาล
ภัยคุกคาม---เนื่องจากอนุกรมวิธานนี้ยังไม่ได้รับการประเมิน จัดไว้ใน IUCN Red Lis ประเภท "ไม่ได้รับการประเมิน"    
สถานะการอนุรักษ์---NE -Not Evaluated-- National - IUCN Red List of Threatened Species.1998                
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-พฤษภาคม                                       
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ติ้วขน/Cratoxylum formosum ssp.pruniflorum


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาตร์---Cratoxylum formosum subsp. pruniflorum (Kurz) Gogelein.(1967)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms.
---Cratoxylum dasyphyllum Hand.-Mazz.(1931)
---Cratoxylum pentadelphum Turcz.(1863)
---Cratoxylum pruniflorum Kurz.(1877)
---Tridesmis pruniflora Kurz.(1872)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---แต้ว (ไทย) ติ้วขน หรือ ติ้วหนาม (กลางและนครราชสีมา) ติ้วแดง ติ้วยาง ติ้วเลือด(เหนือ) แต้วหิน (ลำปาง) กุยฉ่องเซ้า (กระเหรี่ยง ลำปาง) กวยโซง (กระเหรี่ยงกาญจนบุรี) ตาว (สตูล) มูโต๊ะ (มาเลเซีย-นราธิวาส) เน็คเคร่แย (ละว้า-เชียงใหม่) ราเง้ง (เขมร-สุรินทร์) ติ้วขาว (กรุงเทพฯ) ติ้วส้ม (นครราชสีมา) เตา (เลย) ขี้ติ้ว ติ้วเหลือง (ไทย) ผักติ้ว (อุบลราชธานี มหาสารคาม-อีสาน) ; [CHINESE: Hóng yá mù];[THAI: Tiew khon].
ชื่อวงศ์---HYPERICACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---พม่า คาบสมุทรอินโดจีน จีนตอนใต้
Cratoxylum formosum subsp pruniflorum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ติ้ว (Hypericaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Wilhelm Sulpiz Kurz (1834-1878) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดยGogeleinในปี พ.ศ.2510


ที่อยู่อาศัย พบในพม่า คาบสมุทรอินโดจีน จีนตอนใต้ ขึ้นกระจายทั่วไป มักพบในทุกภาคที่มีต้นไม้ขึ้นค่อนข้างห่าง ในป่าดิบแล้ง และป่าผสมผลัดใบ ในระดับความสูง 50-800 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก สูง 8-15 เมตร ทรงต้น เรือนยอดโปร่งเป็นพุ่มกลม กิ่งก้านเล็กเรียวเปลือกสีน้ำตาลปนดำ แตกเป็นสะเก็ดย้อยลง และมีน้ำยางเหนียวสีเหลืองซึมออกมาเมื่อถูกตัด เมื่อต้นยังเล็กจะมีหนามยาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปรีหรือรูปไข่ขอบขนาน ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 ซม.ยาว5-14 ซม.ใบและกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ใบอ่อนสีชมพูเรื่อ ใบแก่ก่อนผลัดใบมีสีแดงหรือแดงส้ม ดอกบอบบางสีชมพูอ่อนถึงแดงมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อตามซอกใบกลุ่มละ3-5 ดอก ขนาดของดอก1.2 ซม. กลีบเลี้ยง5กลีบ กลีบดอก5กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมากแยกเป็น3กลุ่ม ยาว 4-8 มม.ก้านเกสรเพศเมีย3อันยาว 7-8 มม เกลี้ยง ผลเป็นผลแห้งแข็งสีน้ำตาลมีคราบสีขาวนวล แบบแคปซูล ปลายแหลมขนาดกว้าง 0.4-0.6 ซม.ยาว1.3-1.8 ซม.ที่ฐานยังคงมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ แก่จัดแตกอ้าเป็น3พู แต่ละพูมีเมล็ด12-17เมล็ด ซึ่งด้านหนึ่งมีปีก
ใช้ประโยชน์---ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้กินไม่ได้ *(ลำต้นมีหนาม ใบมีขน ไม่สามารถรับประทานได้)เป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับต้น ติ้วขาว หรือผักติ้ว ที่ใช้รับประทานเป็นผัก ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cratoxylum formosum (Jacq.) Benth. & Hook.f. ex Dyer (Cratoxylum formosum subsp. formosum) อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ติ้วขาว (ผักติ้ว)*ข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
-ใช้เป็นยา ใช้ในการแพทย์แผนจีนเพื่อรักษาไข้ ไอ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ เลือดออกภายในและแผลในกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและเป็นยาบำรุง -มีสรรพคุณเฉพาะทางสมุนไพร คือ รากผสมกับหัวแห้วหมูและรากปลาไหลเผือก ต้มน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนหรือหลังอาหาร ใช้เป็นยาขับปัสสาวะขัด
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นต้นไม้ที่สวยงามมากในเฉพาะฤดูหนาว เรือนพุ่มทั้งหมดจะเห็นเป็นสีชมพูอ่อนคล้ายต้นนางพญาเสือโคร่ง แต่แยกได้จากใบที่ออกตรงข้ามและขอบใบเรียบ
-อื่น ๆ*เปลือกต้นสามารถนำมาสกัดทำสีสำหรับย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีน้ำตาลเข้ม ไม้ติ้วขนมีความทนทานมาก ปลวกไม่กินเนื่องจากไม้มีน้ำยาง สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้าง ทำโครงสร้างบ้าน สร้างขื่อบ้าน ทำกระดานพื้น สร้างรั้ว ทำเสาเข็ม ทำด้ามเครื่องมือ จอบ เสียม เครื่องตกแต่งภายในเรือน กระสวยทอผ้า ทำหีบใส่ของ ฯลฯ นื้อไม้หรือลำต้นติ้วขนสามารถนำมาใช้ทำฟืน ใช้สำหรับทำฟืนจุดให้สตรีที่อยู่ไฟรมควัน เนื่องจากเนื้อไม้ไม่มีกลิ่นทำให้ควันไม่เหม็น มีขี้เถ้าน้อย และยังให้ความร้อนได้ดีกว่าไม้กะบก*ข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
ระยะออกดอก/ติดผล--- กุมภาพันธ์-กรกฎาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ติ้วขาว/ Cratoxylum formosum

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---คู่มือดูพรรณไม้ป่าสะแกราช  เล่ม2โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,จิรพันธ์ ศรีทองกุล,อนันต์ พิริยะภัทรกิจ
ชื่อวิทยาศาตร์--- Cratoxylum formosum (Jack) Benth. & Hook. f. ex Dyer.(1874)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2742436
---Basionym: Elodes formosa Jack.(1822)
---Cratoxylum formosum subsp. formosum
---Cratoxylum prunifolium Dyer.(1874)
ชื่อสามัญ---Pink Mempat
ชื่ออื่น--- ติ้วขาว (กรุงเทพฯ); ติ้วส้ม (นครราชสีมา); แต้วหอม (พิษณุโลก); มูโต๊ะ (มาเลย์-นราธิวาส); [CHINESE: Yuè nán huáng niú mù.];[MALAYSIA: Mempat, Geronggang, Geronggang Derum (Malay); Kajo Jelan, Raja Tugag, Sidodot (Sarawak); Serungan (Sabah).];[THAI: Tiew kaow, Tiew som, Tiew hom.].
EPPO Code---KXLFO (Preferred name: Cratoxylum formosum.)
ชื่อวงศ์--- HYPERICACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---หมู่เกาะอันดามัน จีนใต้ ไทย พม่า กัมพูชา ลาว เวียตนาม บอร์เนียว สุมาตรา ชวา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
Cratoxylum formosum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ติ้ว (Hypericaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Jack (1795–1822)นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย George Bentham (1800-1884) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและ Sir Joseph Dalton Hooker (1817-1911) นักพฤกษศาสตร์นักชีววิทยาและศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ จากอดีต Robert Allen Dyer (1900–1987)นักพฤกษศาสตร์และนักอนุกรมวิธานชาวแอฟริกาใต้ในปี พ.ศ.2413 


ที่อยู่อาศัยพบในหมู่เกาะอันดามัน จีนใต้ ไทย พม่า กัมพูชา ลาว เวียตนาม บอร์เนียว สุมาตรา ชวา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกิดขึ้นในป่าส่วนใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ แต่ยังอยู่บนเนินเขาและสันเขาที่ระบายน้ำได้ดี พบในป่าเต็งรังและในป่าคืนสภาพ  ที่ระดับความสูง 300- 1,000 เมตรในประเทศไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-15เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 40 ซม ลักษณะ ต้นเล็กมักมีหนามเกิดจากกิ่งเล็กๆตามลำต้น โตขึ้นหนามจะหลุดไป เปลือกต้นมีสะเก็ดบางๆสีน้ำตาล  ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ ตามกิ่งก้านและตามซอกใบของยอดที่ขึ้นใหม่ สีขาวมีกลิ่นหอมอ่อน ผลรูปรีมีนวลขาวติดตามผิว แก่จัดแตกเป็น3แฉก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบแดดจัดทนแล้งขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด
ใช้ประโยชน์ ---ใช้กินได้ ใบอ่อนยอดอ่อนและดอกนำมาปรุงรส เพื่อให้อาหารมีรสเปรี้ยว หน่ออ่อน - ดิบ กินเป็นผักสด ใช้ใบอ่อนอ่อนแทนใบชา
-ใช้เป็นยา เปลือกและใบโขลกและผสมกับกะทิถูกนำไปใช้ทาเป็นวิธีการรักษาปัญหาผิว สารหลั่งเรซินจากฐานของลำต้นใช้เป็นยารักษาโรคหิดและแผลที่ขา
-อื่น ๆ ไม้สีแดงมีความละเอียดเนื้อแข็งมากมีความยืดหยุ่นและทนทาน มันถูกใช้สำหรับการทำไม้แกะสลัก, การก่อสร้างภายใน ใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงและทำเป็นถ่าน สีย้อมสีน้ำตาลได้จากเปลือกไม้ เรซิ่นสีเหลืองทองที่เปลี่ยนเป็นสีแดงและในที่สุดก็มีสีดำออกมาจากฐานของลำต้น ถูกใช้เป็นยา เปลือกใช้สำหรับรักษาอาการท้องเสียในสัตว์เลี้ยง
ระยะออกดอก---มีนาคม-เมษายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ                              

ติ้วดำ/Cratoxylum sumatranum subsp.Pruniflorum

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาตร์---Cratoxylum sumatranum subsp. neriifolium (Kurz) Gogelein.(1967)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2742442
---Cratoxylum neriifolium Kurz.(1872)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ติ้วดำ, ขี้ติ้ว, ติ้วเสลา, สลิว ;[BRUNEI: Laka-laka, Serungan-mampat];[INDONESIA: Renjung gede (Sundanese), Wuluan (central Java), Lingan (Kalimantan); Irat, Geronggang, Manding, Mentialing, Serungan, Serungan mampat (Borneo).];[MALAYSIA: Derum (Peninsular), Geronggang (Sarawak, Sabah), Patok tilan (Iban, Sarawak).];[PHILIPPINES: Kansilay, Lakansilay, Guyong-guyong.];[THAI: Khee tiew(Chiang Mai),Tiew dam (Northern), Saliu (Central).].
EPPO Code---KXLSU (Preferred name: Cratoxylum sumatranum)
ชื่อวงศ์--- HYPERICACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน
Cratoxylum sumatranum subsp.neriifolium เป็นสายพันธุ์ย่อยของCratoxylum sumatranum พืชดอกในครอบครัววงศ์ติ้ว (Hypericaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Wilhelm Sulpiz Kurz (1834-1878) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Gogelในปี พ.ศ.2510
มี3ชนิดย่อย(Three subspecies are recorded:)                      
-C. sumatranum subsp. blancoi (Blume) Gogelein - Philippines
-C. sumatranum subsp. neriifolium (Kurz) Gogelein - Indo-China
-C. sumatranum subsp. sumatranum - the nominate infraspecific - Malesia

ที่อยู่อาศัยจากอินเดียตะวันตกผ่านพม่าและไทยสู่คาบสมุทรมาเลเซีย สุมาตรา ชวา บอร์เนียว สุลาเวสีและฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบในป่าดิบแล้งและป่าผสมผลัดใบ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่ระดับความสูง 50-600 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบถึงกึ่งผลัดใบสูง 8-20(-51) เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง60- 80 ซม.เปลือกนอกสีน้ำตาลปนดำแตกเป็นสะเก็ดตามยาวห้อยลงมา เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ก้านใบขนาดไม่เกิน 15 มม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปขอบขนาน ขนาดใบ 4-18 x 2-7 ซม.เนื้อใบหนาเหนียว ด้านบนเรียบเป็นมัน ด้านล่างมีนวลขาว ช่อดอกออกที่ซอกใบมักมีดอกไม่กี่ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบสีแดงสดถึงสีแดงอิฐ และกลีบเลี้ยงในผล 8-9 x 4-5 มม. เกือบเท่าแคปซูล ผลแคปซูลรูปรีสีเหลืองน้ำตาลดำ แห้งแก่แล้วแตกอ้าเป็น3พู เต็มไปด้วยเมล็ดมีปีกขนาดเล็กจำนวนมาก
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยาใบและเปลือกของพืชมีสรรพคุณทางยา
-อื่นๆ เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้าง ลำต้นใช้เผาทำถ่านคุณภาพดี
ระยะออกดอก---มิถุนายน-กรกฏาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ตีนเป็ดเล็ก/Alstonia rostrata

อ้างอิง,ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---ไม้ต้นในสวน Trees in the Gardenโดย องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี
The Botanical Garden Organization Office of the Prime Minister พิมพ์ครั้งที่1 พฤษภาคม 2542
ชื่อวิทยาศาตร์---Alstonia rostrata C.E.C.Fisch.(1929)
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms
---Alstonia glaucescens Monach.(1949)
---Alstonia pachycarpa Merr. & Chun.(1935)
---Alstonia undulifolia Kochummen & K.M.Wong.(1984)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-7099
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ตีนเป็ดเล็ก ; น่องขาว (แม่ฮ่อวสอน) ;[CHINESE: Pen jia shu.];[MALAY: Pulai.];[THAI: Tin pet lek; Nong khao (Mae Hong Son).].
EPPO Code--- ATNSS (Preferred name: Alstonia sp.)
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน พม่า ไทยคาบสมุทรมลายู ลาว เวียดนาม สุมาตรา
Alstonia rostrata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดยCecil Ernest Claude Fischer (1874–1950) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2472
ที่อยู่อาศัยมีการกระจายในจีน (ไหหลำ มณฑลยูนนาน) [อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, พม่า, ไทย] พบตามป่าดงดิบหรือป่าเปิดป่าดิบชื้นหรือป่าเสื่อมโทรมที่ระดับความสูง 500-1,300 เมตร.ในประเทศไทยพบตามป่าดิบหรือป่าเปิดที่ระดับความสูง800-1,300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 30 เมตร เปลือกแตกร่องตามยาว สีเหลืองอ่อน เปลือกด้านในสีน้ำตาลอมเหลือง ลักษณะ ทุกส่วนมียางขาว ใบเดี่ยวออกเป็นวงรอบ 3-4 ใบ รูปขอบขนานหรือรูปรี ขนาดของใบกว้าง 1.6-5.5 ซม.ยาว 5-14 ซม. ดอกสีขาวออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงรูปไข่ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 4-6 มม.ผลออกเดี่ยวกว้าง7-8.5 มม.ยาว12-19.5 ซม.เมล็ด 1 x 0.25 ซม.มีจำนวนมาก รูปขอบขนาน แบนมีขนยาวสีขาว
ใช้ประโยชน์--- ต้นไม้ถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยาและแหล่งที่มาของไม้
-ใช้เป็นยา การแช่ใบที่ถูกบดใช้ทำความสะอาดบาดแผลที่ติดเชื้อ เปลือกที่ขมและน้ำยางให้ยาโทนิคและน้ำยาฆ่าเชื้อ ใช้ใบและเปลือกเพื่อรักษาโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
-อื่น ๆ ไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเขียน ไม้มักจะใช้สำหรับทำโลงศพและเป็นแกนไม้อัด
ระยะออกดอก/ติดผล--- กุมภาพันธ์-เมษายน/เมษายน-พฤษภาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ตีนเป็ดเชียงดาว/Alstonia rupestris

ชื่อวิทยาศาตร์---Alstonia rupestris Kerr.(1937)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-7101
---Blaberopus rupester (Kerr) Pichon.(1947)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ตีนเป็ดเชียงดาว, [CHINESE: Yan sheng yang jiao mian];[THAI: Tin pet Chiang dao.].
EPPO Code---ATNSS (Preferred name: Alstonia sp.)
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- จีน ไทย ลาว
Alstonia rupestris เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2480
ที่อยู่อาศัย พบในจีน(กวางสี) ไทย ลาว เติบโตบนหินปูนในป่าเปิดที่ระดับความสูง 500 - 1,800 เมตร เป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทยพบที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มเตี้ยเกิดตามซอกหิน หรือตามต้นไม้ ทรงต้นเรือนยอดตั้งตรงเป็นพุ่มกลมใบหนาแน่น เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอมเทา ตามกิ่งก้านมีรูระบายอากาศสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่วไป ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวข้น ใบออกเป็นวงรอบข้อ ข้อละ3-5ใบ แผ่นใบรูปไข่แคบเกือบเป็นรูปแถบ 4.5-10 X 0.5-1.5 ซม ใบหนาและเหนียว ผิวใบเป็นมันสีเขียวเข้ม เรียบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบ 45-80 คู่ ดอกออกแป็นช่อแบบช่อกระจุก ก้านดอกย่อยสั้นมาก กลีบดอกสีขาวเรียงซ้อนเหลื่อมกันแบบเวียนทางซ้าย ดอกมีกลิ่นหอม ผลเป็นฝักรูปแถบยาว7-10 ซม เมื่อแก่จะแตกตามแนวตะเข็บด้านเดียว สีน้ำตาลอมแดง ภายในมีเมล็ดที่มีขนสีน้ำตาลปกคลุม
ใช้ประโยชน์--- ต้นไม้ถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นแหล่งของยาน้ำยางและไม้
-ใช้เป็นยา การแช่ใบที่ถูกบดเพื่อทำความสะอาดบาดแผลที่ติดเชื้อ เปลือกที่ขมและน้ำยางให้ยาโทนิคและน้ำยาฆ่าเชื้อ
-ใช้อื่น ๆ ไม้มักจะใช้ทำโลงศพและแกนไม้อัด
ภัยคุกคาม---เนื่องจากอนุกรมวิธานนี้ยังไม่ได้รับการประเมิน จัดไว้ใน IUCN Red Lis ประเภท "ไม่ได้รับการประเมิน"    
สถานะการอนุรักษ์---NE -Not Evaluated-- National - IUCN Red List of Threatened Species.1998
ระยะออกดอก---กรกฏาคม-ตุลาคม  
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ตีนเป็ดพรุ/ Alstonia spatulata

ชื่อวิทยาศาตร์--- Alstonia spatulata Blume.(1826)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-7114
---Alstonia cochinchensis Pierre ex Pit.(1933)
---Alstonia cuneata Wall. ex G.Don.(1837)
ชื่อสามัญ---Milkwood, Hard milkwood, Siamese balsa, Marsh Pulai
ชื่ออื่น--- ตีนเป็ดพรุ, กะบุย, ตีนเป็ดพรุ, เทียะ ;[INDONESIA: Lame bodas (general), Pulai gabus (Sumatra), Gabusan (Sundanese), Lame (Kalimantan).];[MALAYSIA: Pulai paya (general), Pulai basong (Peninsular), Pulai lilin (Sabah).];[THAI: Thia, Ka bui, Tinpet phru (peninsular).];[VIETNAM: Sữa lá bàng, Mớp, Mò cua nước.].
EPPO Code:---ATNSP (Preferred name: Alstonia spatulataใ)
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย นิวกินี
Alstonia spatulata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ.2369
ที่อยู่อาศัย พบใน พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย นิวกินี มักพบในป่าพรุ ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 25-(-30)เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 40 -75 ซม โคนต้นมีพูพอน  เปลือกสีเทาด้านนอกเรียบมีสะเก็ดเล็ก ๆ เปลือกด้านในสีเหลืองอ่อน น้ำยางสีขาวข้นมากมาย ใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบกิ่ง  มี3-4 (-5) ใบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาว7-12ซม.ผิวใบเป็นมันเรียบทั้งสองด้าน ดอกช่อสีขาวออกที่ปลายยอด มีดอกย่อย 4-9 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบโค้งงอกลับ เมื่อบานขนาด1ซม.ผลเป็นฝักแก่แล้วแตก เมล็ดมีปุยปลิวตามลมได้ ดอกบานพร้อมกันทั้งช่อ บานทน1-2วันแล้วโรย ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆตลอดวัน
ใช้ประโยชน์--- ใช้กินได้ ลำต้นมีน้ำยางสีขาวมากมาย ใช้ในการทำหมากฝรั่ง
-ใช้เป็นยา สารสกัดจากเปลือกไม้ถูกนำมาใช้ทั่วสุมาตราตะวันตกเป็นยาธรรมชาติสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในซาราวักน้ำยางถูกนำไปใช้กับแผลและโรคผิวหนัง
-อื่น ๆ แก่นไม้เป็นสีขาวครีมถึงเหลืองอ่อนเนื้อไม้เบามาก ใช้สำหรับการผลิตดินสอ ไม้อัด,เยื่อกระดาษ,การแกะสลักและใช้แทนจุกไม้ก๊อก
ภัยคุกคาม--เนื่องจากไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2019
ระยะออกดอก---เมษายน-กรกฏาคม  
ขยายพันธุ์---เมล็ด


ตูมกาขาว/ Strychnos nux-blanda


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาตร์--- Strychnos nux-blanda A.W.Hill.(1917)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
---Strychnos nux-blanda var. hirsuta A.W. Hill.(1917)
---Strychnos nux-vomica var. grandifolia Dop.(1910)
ชื่อสามัญ---Strychnine tree
ชื่ออื่น---ตูมกาขาว, ขี้กา, มะติ่ง, มะติ่งต้น, มะติ่งหมาก; [CAMBODIA: Poul vear ryy br vek (Central Khmer).];[CHINESE: Shan ma Qian];[THAI: Tumka khao, Khi ka, Ma ting, Ma ting ton, Ma ting mak.].
EPPO Code---SYHSS (Preferred name: Strychnos sp.)
ชื่อวงศ์--- LOGANIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียตนาม
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Strychnos ถูกนำมาใช้โดยPliny the Elderในประวัติศาสตร์ธรรมชาติเพื่อมะแว้งนก คำนี้มาจากภาษากรีกโบราณ στρύχνον ( strúkhnon ) = " ฉุนเฉียว ", "ขมขื่น" ความหมายของคำว่าสตริกนอสไม่ได้รับการแก้ไขในกรีกโบราณ ซึ่งสามารถระบุพืชชนิดต่างๆ ที่มีคุณสมบัติความเป็นพิษได้เหมือนกัน
Strychnos nux-blanda เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กันเกรา (Loganiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Sir Arthur William Hill (1875–1941)นักพฤกษศาสตร์และอนุกรมวิธานชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2460


ที่อยู่อาศัยพบตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่ระดับความสูงไม่เกิน 800 เมตร ประเทศไทยพบทั่วไปในป่ากึ่งโล่งแจ้งทั่วภาคเหนือ
ลักษณะ เป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบสูง5-15เมตร  เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นถึง 60 ซม.กิ่งก้านยาวทอดแผ่กว้าง เปลือกต้นสีเทาอ่อนเกลี้ยง มีรอยย่นตามขวาง บางตรั้งมีหนาม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกว้าง6-18ซม.ยาว7-20ซม. ขอบใบเรียบ ใบแก่สีเขียวอมเหลืองเกลี้ยงหรือมีขนเล็กๆบนเส้นใบ ดอก ขนาด1-1.4ซม.สีขาวออกครีมหรือแกมเขียวเขียวอ่อน ช่อดอกแยกแขนง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผลขนาด5-8ซม.รูปกลมเมื่อสุกสีเหลืองแสดผิวเกลี้ยงและหนาแข็งเป็นมันมีเนื้ออุ้มน้ำ เมล็ดกลมรีและแบนยาวประมาณ 1.5-2.2ซม.หนาประมาณ 5-15 มม. มี 4-15เมล็ด  ผิวเมล็ดมีขนสีอมเหลือง
ใช้ประโยชน์---ใช้กินได้ ผลสุกใช้รับประทานได้ (ควรกินแต่เนื้อ ส่วนเมล็ดห้ามกิน)
-ใช้เป็นยา ตำรายาไทยจะเรียกเมล็ดแก่แห้งว่า "โกฐกะกลิ้ง" ตำรายาพื้นบ้านจะใช้รากตูมกาขาวผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น รากปอด่อน และรากชะมวง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระบาย -เมล็ด แก้อาการคลื่นไส้ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้ ริดสีดวงทวาร แก้หนองใน แก้ไตพิการ ช่วยแก้อัมพาต แก้เส้นตาย แก้เหน็บชา แก้เนื้อชา ใช้เป็นยาแก้พิษงู พิษตะขาบ พิษแมงป่อง ใบใช้ตำพอกแก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรังหรือคั้นเอาแต่น้ำทาแก้โรคผิวหนัง แก้ขี้กลาก
-ใช้อื่น ๆ เนื้อไม้ของตูมกาขาวมีลายไม้ชิดกัน เนื้อแข็ง แมลงไม่เข้าทำลาย ทำทีอยู่อาศัยได้ ใช้ทำไถ ล้อเกวียน ตู้เสื้อผ้า ไม้จากต้นตูมกาขาวใช้เป็นฟืนและถ่าน เพราะเป็นไม้ที่ให้พลังงานสูงมาก ต้นใช้ผสมกับรำให้ม้ากินเป็นยาขับพยาธิตัวตืด
* ที่คล้ายกัน Strychnos nux-vomica หรือ ที่เรียกว่า แสลงใจ เป็นไม้ยืนต้นสูงถึง 25เมตร เรือนยอดเรียวเล็กกว่า ขนาดของใบกว้าง4-12ซม.ยาว5-18ซม.ผิวใบเกลี้ยง ก้านดอกมีขนหนาแน่นและมีกาบเล็กๆ ผลขนาด2.5-4.5ซม. เมล็ดรูปคล้ายจาน 1-4เมล็ด พบมากในภาคกลางและภาคตะวันออกอาจจะเป็นชนิดเดียวกันกับ Strychnos nux-blanda
รู้จักอันตราย---ข้อควรระวังเนื้อของผลทั้ง 2ชนิด รับประทานได้ แต่เมล็ดของStrychnos nux-vomica มีสาร สทริคนินซึ่งเป็นพิษต่อประสาท อย่างรุนแรง  ถึงแม้ว่าเมล็ดของ Strychnos nux-blandaไม่มีพิษ แต่2ชนิดนี้ มักสับสนกันได้ง่าย จึงไม่ควรรับประทานทั้งคู่  
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤศจิกายน/ธันวาคม
ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด 

เต็ง/ Shorea obtusa


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา-คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย
โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาตร์---Shorea obtusa Wall. ex Blume.(1856)
ชื่อพ้อง---This name is unresolved. See all http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2593937
ชื่อสามัญ---Burma Sal, Siamese Sal, Thitya, Teng.
ชื่ออื่น---เต็ง, เคาะเจื้อ, เจื้อ, แงะ, จิก, ช้นตกา, เต็งขาว, เน่าใน, ล่าไน้ ;[CHINESE: Dun ye suo luo shuang.];[KHMER: Pra-chat (Khmer-Buri Ram); Pra-choek (Khmer-Surin); Pha-chek (Khmer-Phratabong).];[THAI: Teng (Central); Kho-chuea, Chuea (Lawa-Chiang Mai); Ngae (Northern); Chik (Northeastern); Chan tok (Trat); Teng khao (Khon Kaen); Nao nai (Mae Hong Son); La-nai (Karen)];[TRADE NAME: Taengwood " Balau".].
EPPO Code---SHOSS (Preferred name: Shorea sp.)
ชื่อวงศ์--- DIPTEROCARPACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---พม่า กัมพูชา ไทย ลาว เวียตนาม
Shorea obtusa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ยางนา (Dipterocarpaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์กจากอดีตCarl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ.2396 


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบมากโดยเฉพาะที่แห้งแล้งและป่าเสื่อมโทรม ป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่ามรสุมผลัดใบและพื้นที่แห้งแล้งเช่น ป่าสะวันนาที่ระดับความสูง 200 - 1,000 เมตร ในประเทศไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมสน ความสูงถึงประมาณตั้งแต่ 150- 1300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-30 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นสูงถึง 60 ซม.ลักษณะลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่องยาวลึกหรือสะเก็ดหนา เปลือกชั้นในสีน้ำตาลออกเหลือง มักมีชันสีเหลืองขุ่นเกาะเป็นก้อนอยู่ตามรอยแตกของเปลือก ใบเดี่ยวกว้าง3-7.5ซม.ยาว8-15ซม. เรียงสลับ ใบมนรีแคบหรือขอบขนาน ปลายใบป้านหรือกลม ฐานใบรูปหัวใจ  ก้านใบยาว 1-1.5 ซม ใบอ่อนมีขนรูปดาวสีเทา ใบแก่สีเขียวหม่นเกือบเกลี้ยง มักหนาและเหนียว ใบแก่ก่อนร่วงสีเหลือง ช่อดอกห้อยลง ยาว 6-12 ซม.ออกที่ปลายกิ่ง ดอกขนาด1.5-2 ซม.สีขาวหรือเหลืองครีมมีกลิ่นหอม กลีบรองดอก 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ รูปใบหอก กว้าง 3-5 มม. ยาว 1-1.5 ซม. ปากกลีบบิด เกสรเพศผู้ขนาดเล็ก จำนวนมาก ดอกตูมรูปขอบขนาน กลีบดอกแหลมและแคบ บิดเป็นเกลียวซ้อนกันแต่ฐานไม่เชื่อมกัน เวลาหลุดร่วงทีละกลีบ ผล รูปไข่ ขนาด 6-8 มม. มีปีกยาว 3 ปีกสั้น 2 ปีก ปีกยาวรูปหอกกลับ กว้าง 0.7-1 ซม. ยาว 4-6 ซม.โคนปีกหุ้มผล มีเมล็ด 1 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแสงแดด บนดินทรายที่มีการระบายน้ำดี ดินหิน ดินลูกรัง รวมถึง ferric acrisols, gleyic acrisols และ ferralic cambisols ต่างจาก Dipterocarps ส่วนใหญ่ มันสามารถอยู่รอดได้แม้ในดินที่ขาดธาตุอาหารมากและพื้นที่ที่เป็นหิน่ป็นกรดถึง pH เป็นกลาง ในกัมพูชามักพบในดินสีเทาบนชั้นหิน
ใช้ประโยชน์---ไม้มีมูลค่าการค้าสูงและมักจะเก็บเกี่ยวจากป่านำมาค้าขายในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังมีเรซิ่นสำหรับใช้ในท้องถิ่นและมีการใช้เป็นยาในท้องถิ่นหลายประเภท
-ใช้เป็นยา เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานแผล ห้ามเลือด รักษาแผลเรื้อรัง และแผลพุพอง เรซินที่ได้จากต้นไม้เป็นยาปฏิชีวนะ มีคุณสมบัติป้องกันเชื้อแบคทีเรีย  ใช้ในการรักษาบาดแผล รักษาโรคบิด เปลือกไม้ใช้รักษาโรคมาลาเรีย
-อื่น ๆ แก่นไม้มีสีน้ำตาลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลแดงเข้มมักมีเส้นสีดำละเอียด ไม้มีน้ำหนักมากหนักและทนทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่โล่งและสัมผัสกับน้ำ เป็นไม้เนื้อแข็งและทน ใช้งานภายนอกได้นาน 10-15 ปี แต่ถ้าใช้งานภายในอาคารอาจใช้เวลา 50-60 ปี ไม้ใช้ในงานก่อสร้าง สะพาน เสา รอด ตง คาน ขื่อ พื้นกระดาน ต่อเรือและเฟอร์นิเจอร์ในสวน เรซิ่นสีเหลืองจากเปลือกไม้ ใช้สำหรับเป็นกาวยาใช้ชันตะกร้าและเรือและทำคบเพลิงแบบดั้งเดิม  เปลือกไม้มีสารแทนนินสูง  
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธ์-พฤษภาคม/ผลแก่---เมษายน-กรกฎาคม    
ขยายพันธุ์---เมล็ด ความสามารถในการดำรงชีวิตของเมล็ดที่เพิ่งเก็บใหม่มีน้อย และหลังจากคัดแยกเมล็ดที่ถูกแมลงโจมตีและตัดปีกออกแล้ว เมล็ดจะถูกหว่านทันทีในเรือนเพาะชำที่มีร่มเงา มีรายงานว่าเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตอยู่ที่ 65 - 75%


เต็งหนาม/Bridelia retusa

 

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา-คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย                                                              โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร
ชื่อวิทยาศาตร์---Bridelia retusa (L.) A.Juss.(1824)
ชื่อพ้อง---Has 23 Synonyms
---Basionym: Clutia retusa L.(1753)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-24616
ชื่อสามัญ---Kino Tree
ชื่ออื่น---เปาหนาม (ลำปาง), ฮังหนาม (นครพนม), รังโทน (นครราชสีมา), เต็งหนาม (ราชบุรี), จาลีลึกป๊วก (เขมร-สุรินทร์), ว้อโบ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ;[ASSAMESE: Kunhi, Kuhir, Kuhit.];[BENGALI: Geio.];[CHINESE: Da ye tu mi shu.];[HINDI: Kuhir, Kattian, Kasai, Khaja, Katti-daman.];[KANNADA: Mulluhonne Mara.];[KHASI: Dieng Rishan.];[MALAYALAM: Ulluvenga, Mulkain.];[MARATHI: Asana.];[SANSKRIT: Asana.];[TAMIL: Malai-venkai, Cemmaram, Maravakai.];[TELUGU: Koramaddi, Putta-karaka, Maddi-kayalu, Mulu-maddi.];[THAI: Pao hnam, Teng hnam.].  
EPPO Code---BDIRE (Preferred name: Bridelia retusa)
ชื่อวงศ์---PHYLLANTHACEAE  
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ศรีลังกา อินเดีย สิกขิม ภูฏาน พม่า จีนตอนใต้ คาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมาเลย์ สุมาตรา
Bridelia retusa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะขามป้อม (Phyllanthaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Adrien Henri Laurent de Jussieu (1797–1853)นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2367


ที่อยู่อาศัย พบได้ทั่วไปในป่าไม้และพื้นที่เปิดโล่ง ป่าดิบแล้งหรือป่าผลัดใบ ดินร่วนปนทราย, หินแกรนิตหรือหินบะซอลต์ที่ได้จากดินทรายและหินปูนที่ระดับความสูง 50 - 600 (-1400) เมตร ในประเทศไทยพบ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นสูง5-15เมตร ผลัดใบลักษณะ เปลือกต้นหนาสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา แตกเป็นร่องยาวและเป็นสะเก็ด กิ่งเล็กและมีลักษณะเป็นหนาม  ยอดอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ก้านใบยาว 9-15 มม. ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปรีหรือขอบขนานแกมรูปรี กว้าง4-9ซม.ยาว8-20ซม. มีหูใบ1คู่ที่โคนก้านใบ โคนใบทู่หรือมนเบี้ยวปลายใบแหลม เนื้อใบหนาด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนแน่น เส้นแขนงใบเด่นชัด ดอกแยกแขนงออกตามปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีเหลืองแยกเพศ กลีบดอก5กลีบ ผลกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-0.9 ซม.สีเขียวอ่อน สุกแล้วสีแดงเข้มถึงดำ
ใช้ประโยชน์--- ต้นไม้ถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยาอาหารและแหล่งไม้คุณภาพดี
-ใช้กินได้ ผลกินได้แต่มีรสฝาดมาก
-ใช้เป็นยา เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาฝาดสมาน ปิ้งไฟ แช่น้ำเกลือ ดื่มแก้ท้องร่วง ตำผสมหัวแห้วหมูและผักเสี้ยนผีทั้งต้น ทำเป็นลูกประคบ แก้ปวดหัวเข่า สารสกัดแอลกอฮอล์จากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านเนื้องอกและลดความดันโลหิต ในประเทศศรีลังกาจะใช้เปลือกต้นและรากเต็งหนามเป็นยารักษาโรคข้อรูมาติซึม และใช้เป็นยาฝาดสมาน
-ใช้อื่น ๆ  ไม้เนื้อแข็ง ใช้ในงานก่อสร้าง อุปกรณ์การเกษตร เครื่องมือเครื่องใช้ทางอุตสาหกรรม -ใบใช้เลี้ยงสัตว์ ผลเป็นอาหารนก- เปลือกต้นมีสารแทนนิน16 - 40%ใช้ในทางเภสัชกรรม มีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านไวรัสบางชนิด
ภัยคุกคาม--เนื่องจากไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2019
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-มิถุนายน/กรกฎาคม-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด


ไทรกระเป๋า/Ficus benghalensis L. cv. Krishnae


ชื่อวิทยาศาตร์---Ficus benghalensis var. krishnae (C. DC.) Corner.(1965.)
ชื่อพ้อง---This name is a synonym of Ficus benghalensis L.(1753.)
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2809653
ชื่อสามัญ---Krishnae Fig, Krishna fig tree, Krishnae's Cup, Krishna's butter cup.
ชื่ออื่น---ไทรกระเป๋า ;[CHINESE: Náng yè róng (Taiwan).];[BENGALI: Krishnabat.];[HINDI: Makhan Katori, Krishna badh.];[MANIPURI:: Krishna Khongnang.];[MARATHI: Krishnavad.];[SANSKRIT: Krisna badh.];[SPANISH: Arbol sagrado de la India, Higuera religiosa de la India, Higuera sagrada de los budistas.];[THAI: Sai krapao.].
EPPO Code---FIUBG (Preferred name: Ficus benghalensis)
ชื่อวงศ์---MORACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ปากีสถาน
Ficus benghalensis var. krishnae เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะเดื่อ (Moraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Anne Casimir Pyramus de Candolle (1836–1918) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Friedrich Anton Wilhelm Miquel (1811–1871) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ ในปี พ.ศ.2508
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดใน อินเดียและปากีสถาน พบตามป่าดิบแล้งถึงป่าผลัดใบ และปลูกในสวนและวัด
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง30เมตร เรือนยอดอาจกว้างได้ถึง 20 เมตร มีกิ่งก้านแข็งแรงโดยมีรากค้ำยันไว้ มีหรือไม่มีรากอากาศ ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว กว้าง 10-12 ซม. ยาว 15-20 ซม.เรียงสลับ ปลายใบป้านหรือเรียวแหลมโคนใบกลมหรือตัดพับเข้าหากันเป็น รูปถ้วย ก้านใบยาว 5-7 ซม.เนื้อใบหนาและเหนียว ผิวเกลี้ยง ดอก สีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อรูปร่างคล้ายผล คือ มีฐานรองดอก เจริญแผ่ขยายใหญ่เป็นกระเปาะมีรูเปิดที่ปลายโอบดอกไว้ ดอกมีขนาดเล็ก แยกเพศในกระเปาะ ดอกทั้งสองเพศ มีกลีบรวม 3 กลีบ รูปไข่ ดอกเพศผู้มีจำนวนน้อย เส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอก 1-1.2 ซม. ไม่มีก้านช่อดอก ผลสดแบบมะเดื่อ ทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. ออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ไม่มีก้านผล ที่ขั้วผลมีกาบ 3 กาบรองรับ เมื่อสุกสีนํ้าตาลแดงหรือสีส้มแดง ด้านบนมีรอยบุ๋ม เมล็ดกลม สีดำ ขนาดเล็กจำนวนมาก
ใช้ประโยชน์---ใช้กินได้ ผลกินได้และเป็นอาหารของนก
-ใช้เป็นยา เปลือกต้น แก้ท้องเดิน แก้บิด ยาชงใช้ลดนํ้าตาลในเลือด ยาง แก้บิด แก้ท้องเดิน เมล็ด เป็นยาเย็น และยาบำรุง
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อน นิยมนำมาทำเป็นบอนไซ
ตำนาน/ความเชื่อ--เป็นต้นไม้ที่สำคัญในอินเดีย ตามตำนานฮินดู พระกฤษณะ ใช้ใบเป็นถ้วยตักเนย เรียกว่า "Makhan Katori"
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธ์-มีนาคม/มีนาคม-เมษายน
ขยายพันธุ์---ด้วยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ด

ไทรใบจิก/Ficus pseudopalma

ชื่อวิทยาศาตร์---Ficus pseudopalma Blanco.(1845)
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms
---Ficus blancoi Elmer.(1908).
---Ficus haenkei Warb.(1904)
---Ficus palmifolia Usteri.(1904) [Illegitimate]
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2811894
ชื่อสามัญ---Dracaena Fig, Philillippine Fig, Palm-leaf fig, Palm-like fig, Dracaen fig.
ชื่ออื่น---ไทรใบจิก; [PHILIPPINES: Niyog-niyogan, Niog-niogan, Lubi-lubi (Tag.); Lamiyog (Bis.).];[THAI: Sai bai chik.].
EPPO Code---FIUPP (Preferred name: Ficus pseudopalma.)
ชื่อวงศ์--- MORACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ "pseudopalma" หมายถึง "ปาล์มปลอม"
Ficus pseudopalma เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะเดื่อ (Moraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francisco Manuel Blanco (1778–1845) นักพฤกษศาสตร์ชาวสเปนในปี พ.ศ.2388
ที่อยู่อาศัย ถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะลูซอนของ ฟิลิปปินส์ และกระจาย ไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก ขึ้นอยู่ในป่าดิบชั้นสองและแนวชายป่าดิบชั้้นแรก
ลักษณะ เป็นไทรขนาดเล็กสูงประมาณ4-6เมตรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 ซม. ลำต้นสูงชะลูด ใบและผลทิ้งรอยแผลเป็นไว้บนลำต้น กลุ่มของใบทำให้มันมีลักษณะของปาล์ม ใบมีความยาวสูงสุดถึง75ซม.ต้นไม้สร้างดอกไม้สามประเภท ตัวผู้เป็นเพศหญิงที่มีสไตล์ยาวและดอกไม้เพศเมียที่เรียกสั้น ๆ ว่ามักเรียกกันว่าดอกน้ำดี ดอกไม้ทั้งสามชนิดมีอยู่ในโครงสร้างที่เรามักจะคิดว่าเป็นผลไม้ ผลเป็นผลมะเดื่อสีเขียวเข้มที่โตเป็นคู่ผลไม้แต่ละคู่ยาวกว่า2.5ซม.ตัวต่อมีบทบาทสำคัญในการผสมเกสรและการสืบพันธุ์ของสายพันธุ์นี้
ใช้ประโยชน์---เป็นอาหารและยาของชาวพื้นเมือง ในฟิลิปปินส์ ปลูกเพาะต้นอ่อนเล็กๆเหมือนถั่วงอกเล็กที่กินได้ ในปี 2546 ใบขายในตลาดราคา 0.74 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม
-ใช้กินได้ ใช้ต้นอ่อนกิน ในฟิลิปปินส์ เขต Bicol ใบไม้จะถูกปรุงในกาตะ (กะทิ) ปรุงด้วยข้าวสวยร้อนๆจากนั้นโรยหน้าด้วย Calamansi (Ini-ensalada) ปรุงเป็นกับข้าว ( bini-berdura) หรือเป็นจานไข่ ( tinorta )ใบ lubi-lubi เป็นเครื่องปรุงในก๋วยเตี๋ยวผัก
-ใช้เป็นยา ยาต้มใบใช้สำหรับรักษา ความดันโลหิตสูง เบาหวาน นิ่วในไตและคอเลสเตอรอล การศึกษาพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระ, ต้านเชื้อแบคทีเรีย, antiproliferative, คุณสมบัติลดน้ำตาลในเลือด
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบสวยมาก ถูกใช้เป็นพืชจัดสวนในฮาวายและนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับในเขตร้อนทั่วไป
ขยายพันธุ์---ตอนกิ่ง เพาะเมล็ด

ไทรใบยาว/Ficus maciellandii

ชื่อวิทยาศาตร์--- Ficus maciellandii King.(1887)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2811190
---Ficus maclellandii var. rhododendrifolia (Miq.) Corner.(1960)
---Ficus rhododendrifolia (Miq.) Miq.(1867)
---Ficus thorelii Gagnep.(1927)
---Urostigma rhododendrifolium Miq.((1847)
ชื่อสามัญ---Banana-Leaf Fig, Long-leaf fig, Alii Fig, Willow fig.
ชื่ออื่น---ไทรใบยาว ;[CHINESE: Lliu zhi rong.];[THAI: Sai bai yaw, Sai bai yoi];
EPPO Code--- FIUMC (Preferred name: Ficus maclellandii.)
ชื่อวงศ์---MORACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
Ficus maciellandi เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะเดื่อ (Moraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย George King (1840–1909) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในอินเดียในปี พ.ศ.2430
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน พบตามลำธารที่ราบที่ระดับความสูง 400-1,200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 3-5 (-20) เมตร ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเดี่ยว7-15 x 3-6 ซม. รูปรีแกมรูปไข่แตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ก้านใบยาว 1.5 ซม ใบมีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือ มีใบแคบบนกิ่งที่ต่ำกว่าและใบที่กว้างกว่าบนกิ่งที่สูงกว่า การแพร่กระจายพันธุ์เมล็ดจะถูกส่งผ่านทางเดินอาหารของนกและสัตว์อื่น ๆ ที่กินผลไม้ ตัวต่อมีบทบาทสำคัญในการผสมเกสรและการสืบพันธุ์ของสายพันธุ์นี้
ใช้ประโยชน์--- สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือ 'Alii' ซึ่งเป็นที่รู้จักในฮาวาย นำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
-ใช้ปลูกประดับ สำหรับปลูกประดับสวนกลางแจ้ง ปลูกเดี่ยวแบบสแตนด์อโลนเพื่อโชว์รูปทรงและใบยาวพริ้วสวยงาม หรือสำหรับปลูกในภาชนะขนาดใหญ่ เป็นพืชช่วยในการเป็นเครื่องฟอกอากาศโดยรวมที่ยอดเยี่ยม
ระยะออกดอก---พฤษภาคม-มิถุนายน
ขยายพันธุ์---ตอนกิ่ง ปักชำ

ไทรใบสามเหลี่ยม/Ficus triangularis

ชื่อวิทยาศาตร์---Ficus natalensis subsp. leprieurii (Miq.) C.C.Berg.(1988)
ชื่อพ้อง--Has 7 Synonyms
---Ficus brevipedicellata De Wild.(1921)
---Ficus chrysocerasus Welw. ex Warb.(1894)
---Ficus excentrica Warb.(1894.)
---Ficus furcata Warb.(1894)
---Basiohym: Ficus leprieurii Miq.(1867)
---Ficus triangularis Warb.(1894)
---(More).See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2811436
ชื่อสามัญ---Triangle Fig, Triangle Leaf Fig Tree, Sweetheart tree.
ชื่ออื่น---ไทรใบสามเหลี่ยม ;[AFRIKAANS: Kacere (Nyanja); Kanyanguni (Bemba); Mutaba (Bemba).];[CHINESE: Jiǎo róng];[SWEDISH: Triangelfikus.];[THAI: Sai bai saam liam.].
EPPO Code--- FIUMC (Preferred name: Ficus maclellandii.)
ชื่อวงศ์---MORACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---จากเซเนกัลถึง Congo และ Angola ตอนเหนือ
Ficus natalensis subsp. leprieurii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะเดื่อ (Moraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Friedrich Anton Wilhelm Miquel (1811–1871) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Cornelis Christiaan (Cees) Berg (1934–2012) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ในปี พ.ศ.2531
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดของมันคือ W. Tropical Africa ไปยัง W. Zambia พบได้ทั่วไปในภูมิภาคป่าไม้และในสภาพอากาศชื้นในเขตสะวันนา มักจะอยู่ในสถานที่ที่เป็นหิน ป่าน้ำใต้ดินถึงระดีบความสูง 2,200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ทรงพุ่มโปร่ง สูง10-20 เมตร มักจะเริ่มต้นชีวิตเป็น epiphyte มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น เปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบไม่ดก ใบเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายไทรใบโพธิ์หัวกลับแต่ปลายใบจะตัด และรูปใบจะเป็นรูปค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมมากกว่า ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน หนา  ต้นไม้สร้างดอกไม้สามประเภท ตัวผู้เป็นเพศหญิงที่มีสไตล์ยาวและดอกไม้เพศเมียที่เรียกสั้น ๆ ว่ามักเรียกกันว่าดอกน้ำดี ดอกไม้ทั้งสามชนิดมีอยู่ในโครงสร้างที่เรามักจะคิดว่าเป็นผลไม้ผลแบบผลมะเดื่อ ขนาด 1.8 – 3 ซม. ออกเป็นคู่ในซอกใบ รูปไข่ สีเหลืองอมส้มหรือเหลืองอมชมพู มักจะมีจุดสีครีม ก้านผล 1 – 1.5 ซม. อ้วนสั้น ด้านบนมีวงแหวนนูน ด้านล่างและกาบใบรูปสามเหลี่ยมแคบขนาด 4 – 7 มม. 3 กาบ ที่ยอดผล
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแดดจัดหรือร่มเงาบางส่วน ดินอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำดี ความชื้นในดินสม่ำเสมอ
ใช้ประโยชน์--นิยมปลูกประดับตามสวนทั่วไปหรือปลูกใส่กระถางขนาดใหญ่ตั้งในที่ร่มรำไรในอาคารได้
-ใช้เป็นยา ในการศึกษาพบว่าสารสกัดเอธานอลิกดิบที่ได้จาก F. natalensis subsp ใบ leprieurii ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ยาต้านจุลชีพตามธรรมชาติที่น่าสนใจ
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

ไทรอีเรกูล่า/Ficus celebensis


ชื่อวิทยาศาตร์---Ficus celebensis Corner.(1960)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2809882
---Basionym: Ficus irregularis Miq.(1867) [Illegitimate]
ชื่อสามัญ---Weeping Fig, Willow Leaved Fig.
ชื่ออื่น--- ไทรอีเรกูล่า, ไทรซีลีเบส
EPPO Code--- FIUCE (Preferred name: Ficus celebensis)
ชื่อวงศ์---MORACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---สุลาเวสี ซีลีเบส
Ficus celebensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะเดื่อ (Moraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Edred John Henry Corner FRS(1906-1996)นักพฤกษศาสตร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์ (พ.ศ. 2469-2489) และศาสตราจารย์วิชาพฤกษศาสตร์เขตร้อนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (พ.ศ. 2508-2516) ในปี พ.ศ.
ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดในสุลาเวสีเกิดขึ้นเพียงไม่กี่แห่งจาก Menado บนคาบสมุทร Minahassa: Celebes ตอนเหนือของสุลาเวสี หายากมากจากแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ อยู่ในการเพาะปลูกเป็นต้นไม้ประดับหลายประเทศในเขตร้อน
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ สูง 8-12 เมตร หรืออาจถึง 20เมตร ในถิ่นกำเนิด  เรือนยอดทรงกลมแผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านห้อยย้อย
ใบมีความยาวหนาและแคบใบอ่อนเป็นสีบรอนซ์อ่อน ใบแก่สีเขียวเข้มเป็นมัน รูปใบหอก ยาว10ซม.โคนใบและปลายใบแหลม ผลสุกสีเขียวเหลืองไม่ผลิตเมล็ดที่มีศักยภาพ
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัด ดินอุดมสมบูรณ์ ความชื้นในดินปานกลางสม่ำเสมอ ทนน้ำท่วมขังระยะสั้น ๆ ไม่ทนแรงลมและไอเกลือ ระบบรากแผ่กว้างขวางเพื่อหาน้ำ
ใช้ประโยชน์--- ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาตามที่พักอาศัย ตามสวนสาธารณะและสวนทั่วไป หรือปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งในที่แจ้ง ถ้าปลูกในที่ร่ม ใบจะร่วงมาก
รู้จักอันตราย---ยางสีขาวก่อความระคายเคืองผิวหนังและดวงตา เหมือนไทรชนิดอื่น ๆ
ขยายพันธุ์--- ตอนกิ่ง ปักชำ



อ้างอิง, ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :

---หนังสือพรรณไม้ในสวนหลวง ร.๙ เล่ม1,เล่ม 2,เล่ม 3 2554 .                                                                          ---หนังสือ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม1,เล่ม2,เล่ม3, เล่ม4 2548
---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทยโดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร หอพรรณไม้ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2549
---ไม้ต้นในสวน Trees in the Gardenโดย องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี The Botanical Garden Organization Office of the Prime Minister พิมพ์ครั้งที่1 พฤษภาคม 2542 จัดพิมพ์โดย มูลนิธิ ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี                                                                 
---คู่มือดูพรรณไม้ป่าสะแกราช เล่ม1, เล่ม2 โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,จิรพันธ์ ศรีทองกุล,อนันต์ พิริยะภัทรกิจ                      ---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ                                                      
---อ้างอิง,ภาพประกอบการศึกษา-หนังสือป่าเชายเลน นิเวศวิทยาและพรรณไม้ โดย สรายุทธ บุญยะเวชชีวิน (ผู้แต่งและภาพ) รุ่งสุริยา บัวสาลี พิมพ์ครั้งที่1 เมษายน 2554
---หนังสือ ดอกไม้ และประวัติไม้ดอกเมืองไทย จาก ชุดธรรมชาติศึกษา โดย วิชัย อภัยสุวรรณ 2532
---ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์  BGO Plant Databases, The Botanical Garden Organization http://www.qsbg.org/database/
---สำนักงานหอพรรณไม้. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย  เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช http://www.dnp.go.th/botany/mplant/index.aspx
---The International Plant Names Index and World Checklist of Selected Plant Families 2017. Published on the Internet at http://www.ipni.org and http://apps.kew.org/wcsp/
---The Plant List (TPL) was a working list of all known plant species  http://www.theplantlist.org/
---Useful Tropical Plants. http://tropical.theferns.info/viewtropical.                       
---India Biodiversity Portal. http://indiabiodiversity.org/species/show/                    
---Plants of the World Online Kew Science.www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org
---GBIF.the Global Biodiversity Information Facility.https://www.gbif.org/species/
REFERENCES ---General Bibliography
REFERENCES ---Specific & complementary

Check for more information on the species:

Plants Database  ---Names, synonymy and distribution The Garden.org Plants Database https://garden.org/plants/Global                                                                                                                                          Plant Initiative ---Digitized type specimens, descriptions and use หอพรรณไม้ -กรมอุทยานแห่งชาติ    www.dnp.go.th/botany/Herbarium/GPI.html
Tropicos ---Nomenclature, literature, distribution and collections    Tropicos - Home    www.tropicos.org/
GBIF    ---Global Biodiversity Information Facility Free and open access to biodiversity data  https://www.gbif.org/
IPNI ---International Plant Names Index    The International Plant Names Index - home page    http://www.ipni.org/
EOL ---Descriptions, photos, distribution and literature    Global access to knowledge about life on Earth    Encyclopedia of Life eol.org/
PROTA ---Uses    The Plant Resources of Tropical Africa    https://books.google.co.th/books?isbn=9057822040
Prelude  ---Medicinal uses    Prelude Medicinal Plants Database    http://www.africamuseum.be/collections/external/prelude
Google Images    ---Images                    

รวบรวมและเรียบเรียงโดย Tipvipa..V
บริษัท สวนสวรส การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด
สวนเทวา  เชียงใหม่
www.suansavarose.com
www.suan-theva.com

Update---12/18/2019

24/6/2022



























ความคิดเห็น

  1. 1
    Kursus pajak murah
    Kursus pajak murah star@gmail.com 07/05/2023 13:18

    Nice blog, thanks Kursus pajak murah

  2. 2
    redovnojro
    redovnojro cillianmobly1@gmail.com 06/06/2022 00:01

    As a result, before myassignmenthelp uk any best essay writing service provider, consider the following factors.

  3. 3
    redovnojro
    redovnojro cillianmobly1@gmail.com 05/06/2022 23:59

    From the first phrase, you can tell if a review is professional. Providing new, non-plagiarized content is one of the most difficult components of a fantastic myassignmenthelp uk If the content is plagiarized, the website will not rank well. When looking for the best essay writing service reviews,

  4. 4
    สล็อต 008
    สล็อต 008 misterwy11kungtod@gmail.com 18/03/2022 15:16
  5. 5
    HARRY32424
    HARRY32424 kahtripeter555@gmail.com 15/03/2022 03:27
    I found so many interesting stuff in your blog especially its discussion. From the tons of comments on your articles, I guess I am not the only one having all the enjoyment here! keep up the good work... pragmatic play
  6. 6
    stephen
    stephen sameerseowork458@gmail.com 08/03/2022 15:27







  7. 7
    stephen
    stephen sameerseowork458@gmail.com 03/03/2022 19:07







  8. 8
    stephen
    stephen sameerseowork458@gmail.com 28/02/2022 18:40







  9. 9
    stephen
    stephen sameerseowork458@gmail.com 26/02/2022 16:44

    Efficiently written information. It will be profitable to anybody who utilizes it, counting me. Keep up the good work. For certain I will review out more posts day in and day out. ebet gaming

  10. 10
    stephen
    stephen sameerseowork458@gmail.com 23/02/2022 20:42

    The website is looking bit flashy and it catches the visitors eyes. Design is pretty simple and a good user friendly interface. a course in miracles

  11. 11
    Andi
    Andi 17/02/2022 06:36

    Remarkable article, it is particularly useful! I quietly began in this, and I'm becoming more acquainted with it better! Delights, keep doing more and extra impressive! Canadian Visa Online Application

  12. 12
    sunny
    sunny sameerseowork458@gmail.com 12/02/2022 14:53

    A very excellent blog post. I am thankful for your blog post. I have found a lot of approaches after visiting your post. ไฮโล UFABET

  13. 13
    andi54645
    andi54645 rultifepse@vusra.com 09/02/2022 18:28

    Friend, this web site might be fabolous, i just like it. <a href="https://jco4d.com/checking-out-the-adwords-miracle-online-review/">acim</a>


  14. 14
    HARTYYTU
    HARTYYTU petertom3345@gmail.com 06/02/2022 15:41

    This was really an interesting topic and I kinda agree with what you have mentioned here! <a href="https://www.canada-visa-online.org/bg/допустимост-за-виза-в-Канада/белгийски-граждани/">Канада ETA онлайн</a>


  15. 15
    Modern Java EE Design Patterns
    Modern Java EE Design Patterns kahtripeter555@gmail.com 30/01/2022 14:48

    You made such an interesting piece to read, giving every subject enlightenment for us to gain knowledge. Thanks for sharing the such information with us to read this...

  16. 16
    Andi
    Andi 27/01/2022 19:43

    Please share more like that. เว็บคาสิโน

  17. 17
    Ando
    Ando kahtripeter555@gmail.com 25/01/2022 03:22

    Interesting topic for a blog. I have been searching the Internet for fun and came upon your website. Fabulous post. Thanks a ton for sharing your knowledge! It is great to see that some people still put in an effort into managing their websites. I'll be sure to check back again real soon. chinese baden baden

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

  Copyright 2005-2009 suansavarose All rights reserved.
view