เปิดเว็บไซต์ |
15/02/2008 |
ปรับปรุง |
02/11/2024 |
สถิติผู้เข้าชม |
53,307,355 |
Page Views |
60,126,612 |
|
«
| November 2024 | »
|
---|
S | M | T | W | T | F | S |
---|
| | | | | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
|
23/04/2024
View: 12,592
ต้นไม้ในป่า 8
For information only-the plant is not for sale.
ต่อไปเป็น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ไม้ผิวดิน ไม้รอเลื้อย ไม้ต้นขนาดเล็ก ปนๆ เท่าที่หาได้
|
1 |
ก้นบึ้งเล็ก/Lespedeza parviflora |
53 |
ดองดึง/ Gloriosa superba |
2 |
กระตืดแมว/Desmodium megaphyllum |
54 |
ดาราคาม/Eranthemum pulchellum |
3 |
กระโถนนางสีดา/Sapria poilanei |
55 |
ดาวดิน/Argostemma parvum |
4 |
กระโถนพระราม/Sapria ram |
56 |
ดุสิตา/Utricularia delphinioides |
5 |
กระโถนพระฤาษี/Sapria himalayana |
57 |
ต่างไก่ป่า/Polygala arillata |
6 |
กลิ้งกลางดง/Dioscorea bulbifera |
58 |
ตานฟัก/Crotalaria ferruginea |
7 |
กอมก้อยลอดขอน/Aristolochia arenicola |
59 |
ตาเหินเชียงดาว/Hedychium tomentosum |
8 |
กะเลียว/Polygonatum kingianum |
60 |
ตาเหินหลวง/Hedychium stenopetalum |
9 |
กับแก/Rhaphiolepis indica |
61 |
ตาเหินเหลือง/Hedychium flavum |
10 |
กากหมากตาฤาษี/Balanophora fungosa |
62 |
ตำแยดิน/Argyreia thorelii |
11 |
กากุ๊ก/Alpinia blepharocalyx |
63 |
ตุ้มมณี/Scabiosa siamensis |
12 |
กินกุ้ง/Murdannia simplex |
64 |
แตงหนู/Mukia maderaspatana |
13 |
เกล็ดปลาหมอ/Phyllodium elegans |
65 |
ถั่วเขา/Campylotropis pinetorum |
14 |
แก้มอ้น/Pavonia rigida |
66 |
ทองพันดุล/Decashistia parviflora |
15 |
แก้วน้ำค้าง/Henckelia hispida |
67 |
ทิพเกสร/Utricularia minutissima |
16 |
ขนำชาวไร่/Adenosma elsholtzioides |
68 |
ทืบยอด/Biophytum petersianum |
17 |
ขยุ้มฝอยตอก/Pertya hossei |
69 |
เทพอัปสร/Delphinium scabriflorum |
18 |
ข่าไฟ/Hedychium coccineum |
70 |
เทียนเข็ม/Impatiens radiata |
19 |
ข่าหด/Fissistigma polyanthoides |
71 |
เทียนคำ/Impatiens longiloba |
20 |
ข้าวพันก้อน/Rungia parviflora subsp. pectinata |
72 |
เทียนธารา/Impatiens mengtzeana |
21 |
ข้าวเย็นเหนือ-ข้าวเย็นใต้/Smilax sp |
73 |
เทียนนกแก้ว/Impatiens psittaciana |
22 |
ข้าวสารดอกเล็ก/Raphistemma hooperianum |
74 |
เทียนภูคา/Impatiens claviger |
23 |
ข้าวไหม้/Dendrolobium thorelii |
75 |
เทียนภูหลวง/Impatiens phuluangensis |
24 |
ขี้กาเครือ/Strycgnos rupicola |
76 |
เทียนหางงอ/ Impatiens chinensis |
25 |
ขี้กาดง/Gymnopetalum chinense |
77 |
เทียนหิน/Impatiens muscicola |
26 |
ขี้ตุ่น/Hericteres angustifolia |
78 |
นางนวล/Urena lobata |
27 |
เข็มดอย/Duperrea pavettaefolia |
79 |
นางนูน/Adenia heterophylla subsp. arcta |
28 |
เข็มสร้อย/Daphne composita |
80 |
นางแย้มป่า/Clerodendrum viscosum |
29 |
ไข่ปูลิ้นแลน/Rubus ellipticus var. obcordatus |
81 |
นางออม/Limnophilla repens |
30 |
คราม/Indigofera tinctoria |
82 |
น้ำค้างกลางเที่ยง/Murdannia gigantia |
31 |
ครามขน/Indigofera hirsuta |
83 |
เนียมฤาษีเชียงดาว/Disporum cantoniense |
32 |
ครูมวย/Anisochilus harmandii |
84 |
บั้งม่วงเชียงดาว/Cicerbita chiangdaoensis |
33 |
คลุ้ม/Donax grandis |
85 |
บัวทอง/Hypericum hookerianum |
34 |
ควินิน/Cinchona ledgeriana |
86 |
บัวผุด/Rafflesia kerri |
35 |
คำฝอย/Carthamus tinctorius |
87 |
บัวสันโดษ/Nervilia aragoana |
36 |
คำยอด/Youngia japonica |
88 |
บานเที่ยง/Pentapetes phoenicea |
37 |
คำหยาด/Chirita micromusa |
89 |
บุษบาอธิษฐาน/Adenosma caerulea |
38 |
ฆ้อนกระแต/Premna herbacea |
90 |
บูดูบูลัง/Thottea tomentosa |
39 |
เงี่ยงปลา/Lindernia ciliata |
91 |
ใบพาย/Viola betonicifolia |
40 |
จอกบ่วาย/Drosera burmannii |
92 |
ประทัดกระเหรี่ยง/Agapetes macrostemon |
41 |
จันทร์เชียงดาว/Pedicularis thailandica |
93 |
ประทัดดอย/Agapetes parishii |
42 |
จั่นน้ำ/Ethretia winitii |
94 |
ประทัดใหญ่/Agapetes variagata |
43 |
จ๊าฮ่อม/Peristrophe lanceolaria |
95 |
ประทัดอ่างขาง/Agapetes megacarpa |
44 |
จุกโรหินี/Dischidia rafflesiana |
96 |
ประไหมสุหรี/Centaurea moschata |
45 |
เจ้าแตรวง/Lilium primulinum var. burmanicum |
97 |
ปอกะปลา/Thyrsanthera suborbicularis |
46 |
ชมพูเชียงดาว/Pedicularis siamensis |
98 |
ปอผี/Hydrolea zeylanica |
47 |
ชมพูสิริน/ Impatiens sirindhorniae |
99 |
ปัดน้ำ/ Drosera peltata |
48 |
ช่อม่วงเชียงดาว/Strobilanthes chiangdaoensis |
100 |
ปุดดอย/Etlingera araneosa |
49 |
ไชหิน/Tadehagi godefroyanum |
101 |
ปุดเดือน/Hedychium longicornutum |
50 |
เฒ่าหลังลาย/Pseuderanthemum graciliflorum |
102 |
ปุดสิงห์/Elettariopsis sp. |
51 |
ดอกดินแดง/Aeginetia indica |
103 |
ปุดใหญ่/Etlingera littoralis |
52 |
ดอกหรีด/Gentiana hesseliana var.
|
104 |
เปราะภู/Caulokaempferia thailandica |
|
|
105 |
เปราะหิน/Caulokaempferia Saxicola |
Online Resources ---JSON (data interchange format) ---GBIF ---Encyclopaedia of Life ---Biodiversity Heritage Library ---ALA occurrences ---Google search
|
EPPO code---รหัส EPPO คือรหัสคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับพืช แมลงศัตรูพืช (รวมถึงเชื้อโรค) ซึ่งมีความสำคัญในการเกษตรและการปกป้องพืช รหัสEPPOเป็นระบบการเข้ารหัสที่กลมกลืนกันซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการชื่อพืชและศัตรูพืชในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบไอที EPPO (2021) EPPO Global Database (พร้อมใช้งานออนไลน์) https://gd.eppo.int
|
ก้นบึ้งเล็ก/Lespedeza parviflora
ชื่อวิทยาศาสตร์---Campylotropis parviflora (Kurz) Schindl.(1912) ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms. ---Basionym: Lespedeza parviflora Kurz.(1873) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-44365 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ก้นบึ้งเล็ก, หิ่งเม่น (เชียงใหม่); เลือดใน (ทั่วไป);[CHINESE: Xiǎohuā háng zi shāo.];[THAI: Hing men (Chiang Mai); Lueat nai (General); Kon berng lek.];[VIETNAM: Biến hướng hoa nhỏ.] EPPO Code---CMLSS (Preferred name: Campylotropis sp.) ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน เวียตนาม ไทย พม่า Lespedeza parviflora เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Wilhelm Sulpiz Kurz (1834-1878) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Anton Karl Schindler(1879-1964) เป็นทันตแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2445
ที่อยู่อาศัย พบในจีน เวียตนาม ไทย พม่า พบตามสภาพพื้นที่เป็นเป่าขา ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 450-1,500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว สูงประมาณ 0.30-0.60 (1) เมตร. ลำต้นมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย3ใบ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ใบกลางใหญ่สุด กว้าง2-3ซม.ยาว4-6ซม.หน้าใบมีขนปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนน้อยมาก ดอกช่อออกที่ปลายกิ่งช่อดอกยาว 10.5 –12.8 ซม.ดอกย่อยรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีชมพู ผลเป็นฝักแบนค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ ขนาด กว้าง 3.8-4.5 มม.ยาว 6.5-8 มม. เมล็ดมี 1 เมล็ด ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้าน ใช้รากต้มน้ำดื่ม ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ (วงศ์สถิต และคณะ, 2543) ระยะออกดอก--พฤศจิกายน-ธันวาคม และต้นฤดูฝนพฤษภาคม-มิถุนายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
กระตืดแมว/Desmodium megaphyllum
ชื่อวิทยาศาสตร์--- Desmodium megaphyllum Zoll.(1846) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-44221 ---Desmodium prainii Schindl.(1925) ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---กระตืดแมว (เชียงใหม่);[CHINESE: Diān nán shān mǎ huáng.];[THAI: Katuet maeo (Chiang Mai).];[VIETNAMESE: Thóc lép lá to; Tràng quả lá to.] EPPO Code---DEDSS (Preferred name: Desmodium sp.) ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้(ยูนนาน) [อินเดีย (อัสสัม), อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ไทย, เวียดนาม] Desmodium megaphyllum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Heinrich Zollinger (1818 –1859) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส ในปี พ.ศ.2389 ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบตามป่าผลัดใบและป่าดิบเขา ตามไหล่เขาและหน้าผา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่700-1200เมตร ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก ที่ระดับความสูง 800 เมตรขึ้นไป ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกต้นสูง 1-3(4)เมตร ลักษณะ แตกกิ่งก้านมากสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาล มีขนสีขาวคลุม ใบประกอบแบบมีใบย่อย3ใบมีขนคลุมทั้งสองด้านดอกออกเป็นช่อกระจะบริเวณปลายยอด และปลายกิ่งสีขาวอมชมพูถึงม่วง ดอกย่อยเป็นรูปถั่วกลีบดอก5กลีบเกสรเพศผู้10อันมี1อันแยกอิสระ ระยะออกดอก--- พฤศจิกายน- มกราคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
สกุล Sapria หรือ สกุลกระโถนฤๅษี เป็นประเภทของปรสิต พืชดอกในครอบครัววงศ์กระโถนฤๅษี (Rafflesiaceae) มันจะเติบโตภายในรากของพืชที่มันอิงอาศัยที่เป็นไม้เลื้อยเขตร้อน เช่น Vitis (องุ่น) และTetrastigma (พืชสกุลเถาวัลย์น้ำ) ประเภทที่ถูกจำกัดไว้ที่ป่าเขตร้อนของภาคใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดอกไม้ของ Sapria มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 ซม.,แดงสดมีจุดสีเหลืองหรือสีขาว, มีเพศเดียว(unisexual) แยกเพศอยู่กันคนละดอก มีลักษณะแตกต่างกันไป ตรงกันข้ามกับสกุล Rafflesiaที่เกี่ยวข้อง ดอกไม้มี 10 แฉก มีการอธิบายสี่สปีชีส์ -Sapria himalayana พบในกัมพูชาบางส่วนของจีนอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือพม่าไทยและเวียดนามในขณะที่ -Sapria poilanei พบได้ในประเทศจีนเท่านั้น -Sapria ram สายพันธุ์ที่สามที่อธิบายใหม่พบในประเทศไทย -Sapria myanmarensis อธิบายครั้งแรกในปี 2019 มีถิ่นกำเนิดในเมียนมาร์ (แสดงในหน้านี้ 3 สายพันธุ์)
กระโถนพระฤาษี/Sapria himalayana
ชื่อวิทยาศาสตร์---Sapria himalayana Griff.(1844) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-27000036 ---Richthofenia siamensis Hosseus.(1907) ชื่อสามัญ---Himalayan Sapria, Couple Rafflesia. ชื่ออื่น---กระโถนพระฤาษี(เชียงใหม่) ;[CHINESE: Ji sheng hua.];[INDIA: Lei-par (Mizoram).];[THAI: Kra thon phra ruesi (Chiang Mai).];[VIETNAM: Địa nhãn Himalaya.] EPPO Code---ZIAHI (Preferred name: Sapria himalayana.) ชื่อวงศ์---RAFFLESIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ภูฏาน พม่า ไทย เวียตนาม Sapria himalayana เป็นสายพันธุ์พืชดอกที่เป็นพืชเบียนในครอบครัววงศ์กระโถนฤๅษี (Rafflesiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Griffith (1810–1845) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2387
ที่อยู่อาศัยพบในอุทยานแห่งชาตินัมทาฟาในตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ( SE Xizang, S Yunnan), พม่า, ไทยและเวียดนาม พบตามธรรมชาติในป่าดิบเขาที่ระดับความสูงระหว่าง 800 - 1,450 เมตร ในประเทศไทยพบในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย, อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์, อุทยานแห่งชาติดอยภูคา, ภูสอยดาว, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พบเกาะอาศัยตามรากของเครือเขาน้ำ หุ่นแป และเถาส้มกุ้ง ตามป่าดิบชื้น ที่ความสูง 800-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะ เป็นพืชเบียนล้มลุกที่ไม่สังเคราะห์แสง อาศัยเกาะกินน้ำเลี้ยงจากรากของต้นไม้ชนิดอื่นมีลักษณะเป็นก้อนกลมติดกับรากไม้ ภายในจะมีการพัฒนาไปเรื่อยๆอย่างช้าๆ โดยใช้เวลาประมาณ10 เดือน ดอกออกเดี่ยวๆหรือออกเป็นกลุ่มคล้ายเห็ดเหนือพื้นดิน ดอกอ่อนรูปร่างกลมขนาดผลมะนาว สีแดง ขนาด 4-7 ซม.ดอกอุ้มน้ำและมียางสีขาว ดอกบานใน 2-3 วัน เมื่อโตและบานเต็มที่มีขนาดผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม.ดอกมี 10 กลีบ กลีบหนาอ้วน เรียงเป็น 2 ชั้นกลีบชั้นนอกใหญ่กว่ากลีบชั้นใน มีสีแดงเลือดหมูปกคลุมด้วยจุดสีเหลือง กลีบดอกอุ้มน้ำติดกันเป็นถ้วยขึ้นมาจากฐานปลายแยกเป็นแฉกประมาณ10 แฉกตรงบริเวณกลางถ้วยด้านในจะมี พังผืดติดอยู่เป็นรูปแหวน จากรูแหวนจะมองเห็นเป็นกลุ่มเกสรตัวผู้ 20 อันติดอยู่รอบแท่นกลมๆ โคนดอกจะมีกาบใหญ่ๆรองหุ้มกันเป็นเกล็ดแข็ง ดอกบานมีกลิ่นเหม็นคล้ายซากสัตว์เน่าเปื่อยเพื่อดึงดูดแมลงปีกแข็งและแมลงวันหลายชนิด ทำให้เกิดการผสมเกสรระหว่างดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย หลังจากดอกบานดอกไม้จะยุบตัวกลายเป็นสีเข้มและสลายตัวช้าๆ เมล็ดมีขนาดเท่าผลองุ่นและมีสีน้ำตาลดำ ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---กระโถนพระฤๅษีเป็นการแสดงออกให้เห็นอย่างสุดโต่งของการอิงอาศัย ทุกอย่างจะขึ้นกับพืชเจ้าของบ้านไม่ว่าจะเป็นน้ำ, สารอาหาร และ ผลผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์แสงที่มันจะดูดมาด้วยระบบรากพิเศษที่เรียกว่ารากเบียน (haustoria) รากเบียนนี้จะเจาะเข้าไปที่ท่อส่งน้ำและอาหารของพืชเจ้าบ้าน การใช้ประโยชน์--- ยังไม่ได้มีการศึกษา แต่เป็นพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย เนื่องจากสภาพป่าที่เหมาะสมสำหรับพืชชนิดนี้ถูกทำลาย ระยะออกดอก/ติดผล---สิงหาคม-กันยายน/ธันวาคม-กุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์---เมล็ด
กระโถนนางสีดา/Sapria poilanei
ชื่อวิทยาศาสตร์---Sapria poilanei Gagnep.(1941) ---This name is unresolved.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2600892 ชื่อสามัญ---Sida’s spittoon ชื่ออื่น---กระโถนนางสีดา (จันทบุรี-กาญจนบุรี) ;[THAI: Kra thon nang sida (Chanthaburi, Kanchanaburi).] EPPO Code--- ZIASS (Preferred name: Sapria sp.) ชื่อวงศ์---RAFFLESIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน คาบสมุทรมาลายู Sapria poilanei เป็นสายพันธุ์พืชดอกที่เป็นพืชเบียนในครอบครัววงศ์กระโถนฤๅษี (Rafflesiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francois Gagnepain (1866-1952 )นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2484 ที่อยู่อาศัยพบในประเทศจีน กัมพูชา ลาว ไทย คาบสมุทรมาลายู ขึ้นอาศัยบนเถาพืชสกุลเถาวัลย์น้ำที่ระดับความสูง 1,200 ถึง 1,400เมตร.จากระดับน้ำทะเล สำหรับในประเทศไทยพบตามป่าดิบเขาทางภาคตะวันตกและภาคตะวันออก ลักษณะ เป็นพืชดอกจำพวกกาฝากหรือพืชเบียน เป็นญาติใกล้ชิดกับพืชสกุลบัวผุด มีลำต้นเช่นเดียวกับกระโถนฤาษ๊ แต่อาศัยอยู่บนรากไม้ของพืชชนิดหนึ่งที่ยังไม่รู้แน่ชัด รู้แต่เพียงว่าเป็นพืชในสกุลเถาวัลย์น้ำ(Tetrastigma) ดอกเหมือนกับกระโถนฤาษ๊ แต่แตกต่างกันตรงที่ดอกของกระโถนนางสีดามีสีชมพูล้วนหรือสีกุหลาบ ดอกตูมขนาด 6-7 ซม.และกลีบรวมชั้นในมีขนาดใหญ่กว่ากลีบรวมชั้นนอก ลักษณะดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกบานมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-13 ซม. มี 10 กลีบ เมื่อบานกลีบรวมแผ่ออกค่อนข้างมากปลายโค้งแอ่นออกเล็กน้อย มีสีเลือดหมูหรือแดงอมชมพู มีกระสีขาวกระจายแน่นตรงโคนกลีบ มีกระบังเป็นวงอยู่ตรงกลางนูนขึ้นเล็กน้อย มีสีขาว มีช่องเปิดตรงกลาง ปลายฐานแคปซูลบานออกเป็นรูปถ้วย มีขนสั้นนุ่มสีแดง ภายในท่อกลีบรวมมีสันนูนสีขาวจำนวน 16 สัน เรียงตามรัศมี การใช้ประโยชน์--- ยังไม่ได้มีการศึกษา ระยะออกดอก---กุมภาพันธ์-มีนาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
กระโถนพระราม/Sapria ram
ชื่อวิทยาศาสตร์---Sapria ram Bänziger & B.Hansen.(1997) ---This name is unresolved.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2600873 ชื่อสามัญ---Sapria ram. ชื่ออื่น---กระโถนพระราม (ภาคใต้) ;[THAI: Kra thon phra ram (Peninsular).]. EPPO Code--- ZIASS (Preferred name: Sapria sp.) ชื่อวงศ์---RAFFLESIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- ไทย กัมพูชา Sapria ram เป็นสายพันธุ์พืชดอกที่เป็นพืชเบียนในครอบครัววงศ์กระโถนฤๅษี (Rafflesiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Hans Bänziger (born1941-) นักกีฏวิทยาชาวเยอรมัน และ Bertel Hansen (1932-2005) นักพฤกษศาสตร์ชาวสเปนในปี พ.ศ.2540 ที่อยู่อาศัย พบในไทย กัมพูชา ขึ้นอาศัยบนเถาพืชสกุลเถาวัลย์น้ำ (Tetrastigma) ที่ระดับความสูง 200-750 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นพืชถิ่นเดียวพบทางภาคตะวันตกของประเทศไทย พบในป่าดงดิบที่ชุ่มชื้นและมีร่มเงา ที่ระดับความสูง 100-800 เมตร ในเขตจังหวัดตาก กาญจนบุรี ระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานีเคยพบได้ตั้งแต่ภาคตะวันตกลงไปจนถึงภาคใต้ ตามแนวเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรี อาทิ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น ลักษณะ เป็นเป็นพืชดอกจำพวกกาฝากหรือพืชเบียนในสกุลกระโถนฤๅษี อาศัยรากของต้นไม้อื่น ไม่มีราก ลำต้น และใบที่แท้จริง จะพบเฉพาะช่วงออกดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกกันคนละต้น (Dioecious) ดอกสีน้ำตาลออกเป็นดอกเดี่ยวแทงโผล่พ้นผิวดินขึ้นมา ตาดอกมีใบประดับหุ้ม ดอกตูมลักษณะทรงกลม เมื่อบานคล้ายกระโถน กว้าง 8-15 ซม.สูง 6-8 ซม.กลีบดอกเชื่อมติดกันตอนปลายแยกออกเป็นแฉกปลายแฉกเป็นติ่งแหลม หนาอุ้มน้ำ แยกเป็น 2 วงๆ ละ 5 กลีบ กลีบวงนอกใหญ่กว่ากลีบวงใน กลีบสีแดงเข้ม มีตุ่มนูนสีขาวทั่วไป เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ตรงกลางดอกลักษณะเป็นวงสีน้ำตาลอมแดง การใช้ประโยชน์--- ยังไม่ได้มีการศึกษา สถานภาพ---เป็นพืชถิ่นเดียวหายากที่ใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย ระยะออกดอก---พฤศจิกายน-มกราคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
กระทืบยอบ/Biophytum sensitivum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Biophytum sensitivum (L.) DC.(1824) ชื่อพ้อง---Has 18 Synonyms ---Basionym: Oxalis sensitiva L.(1753) ---Biophytum cumingii Klotzsch.(1861) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2676192 ชื่อสามัญ---Little tree plant, Lifeplant, Sensitive plant, Sensitive wood sorrel. ชื่ออื่น---ไมยราบ, กระทืบยอบ, คันร่ม, เช้ายอบ(กลาง); จิยอบต้นตาล(เหนือ); หน่อปีเหมาะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน); หัวใจไมยราบ(ใต้) ;[AFRIKAANS: Burundati, Niramabumba, Nyiramabumba (Kinyarwanda); Kamimbi, Kapele, Lumimbi (Luba-Katanga).];[BENGALI: Jhalai.];[CHINESE: Gǎn yīng cǎo,];[DUTCH: Gevoelige klaverzuring.];[FRENCH: Herbe d'amour, Herbe vivante, Herbe vive.];[GERMAN: Empfindlicher Sinnklee, Fühlkraut.];[HINDI: Laajjaalu, Lak chana, Lakshmana.];[KANNADA: Hara muni, Jalapushpa.];[MALAYALAM: Mukkootti, Mukkutti.];[MARATHI: Jharera, Lajwanti.];[SANSKRIT: Jhullipuspa, Panktipatra.];[SWEDISH: Sensitivrosett.];[TAMIL: Vipareetalajjaalu, Jhulapushpa, Tintaanaalee, Tintanali.];[TELUGU: Attapatti, Chumi, Jalapuspa, Pulicenta.];[THAI: Maiyarap (Central); Kra thuep yop (Central); Khan rom (Central); Chi yop ton tan (Northern); Chao yop (Central); No-pi-mo (Karen-Mae Hong Son); Huachai maiyarap (Peninsular).]. EPPO Code---BHYSE (Preferred name: Biophytum sensitivum.) ชื่อวงศ์---OXALIDACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์และแอฟริกา Biophytum sensitivum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระทืบยอด (Oxalidaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดยCarl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Augustin Pyrame de Candolle (1778-1841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส ในปี พ.ศ.2367
ที่อยู่อาศัย พบในเขตร้อนชื้นของอินเดีย(แพร่หลาย), เนปาล, ศรีลังกา, ไทย, ชวา, คาบสมุทรมาเลเซีย (เกาะปีนัง, มะละกา), สุมาตรา, บอร์เนียว, สุลาเวสี, ฟิลิปปินส์, Lesser Sunda, โมลุกกะ, เมียนมาร์ (มัณฑะเลย์, ซากาย, ฉาน, ทานินทยี, ย่างกุ้ง), ลาว, เวียดนาม, จีน (กวางตุ้ง, กวางสี, กุ้ยโจว, ไหหลำ, ยูนนาน), ไต้หวันและแนะนำในแอฟริกา (มาดากัสการ์, แคเมอรูน, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง) โดยปกติจะขึ้นอยู่ในร่มเงาของต้นไม้และพุ่มไม้ในพื้นที่เป็นหญ้าที่ระดับความสูงต่ำและปานกลาง เป็นวัชพืชที่พบบ่อยในเขตร้อน มันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นพืชชีวิต (Lifeplant) ใบของBiophytum sensitivumสามารถเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อการกระตุ้นทางกลเช่น การสัมผัส ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงสีน้ำตาลแดง สูงสุดได้ 20 ซม.ไม่แตกกิ่งก้าน มีขนละเอียด ใบประกอบแบบขนนกเรียงเวียนสลับแกนกลางยาว 5–16 ซม.ใบย่อย 7-14 คู่ ใบย่อยรูปคล้ายโล่ กว้าง 4.5-10 มม.ยาว 6-12 มม.ก้านใบสั้นมาก ดอกช่อออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว 3-10 ซม.กลีบเลี้ยงรูปใบหอกแกมรูปไข่ ยาว 4–7 มม.ติดทน กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคนเป็นหลอดสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีเหลืองมีขีดแดงตามยาว ผลรูปรี ยาว 3–4 มม.สีเขียวอ่อนมีขนแข็งเอนและขนต่อมตามสัน ผลแห้งแตกได้ แต่ละซีกมีประมาณ 3 เมล็ด ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านไทยใช้ ทั้งต้นแก้เบาหวาน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ หรือโขลกพอกฝี รักษาแผลเรื้อรัง แก้พิษแมงป่อง ;-ในเนปาลและอินเดีย ใช้เพื่อการรักษาโรค พืชมีรสขมขับเสมหะ กระตุ้นและบำรุงในอายุรเวท ใช้เป็นยาแผนโบราณในหลายวัตถุประสงค์ รักษาอาการปวดท้อง, โรคหอบหืด, โรคนอนไม่หลับ, ชัก, ตะคริว, การการอักเสบ, เนื้องอกและการรักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง โดยทั่วไปแล้วการต้มพืชทั้งหมดจะใช้สำหรับโรคหอบหืด ยาต้มของรากใช้สำหรับโรคหนองใน ใบเป็นยาขับปัสสาวะ นำใบและเมล็ดที่เป็นผงมาใช้ทาแผล เป็นหนึ่งในพืชที่ใช้ต้านพิษของงู ;-ในฟิลิปปินส์ใช้น้ำต้มจากรากกินแก้โรคหนองในและโรคนิ่วในถุงน้ำดี น้ำต้มจากทั้งต้นแก้โรคเบาหวาน *จากการศึกษาส่วนต่าง ๆ ของพืชนั้นอุดมไปด้วยสารประกอบที่เป็นประโยชน์มากมายเช่น amentoflavone, cupressuflavone และ isoorientin สารสกัดและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ สารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการแผ่รังสีการรักษาด้วยเคมีบำบัด การต่อต้านมะเร็ง การต่อต้านบาดแผล การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน การต่อต้านโรคเบาหวาน และนี่แสดงให้เห็นถึง B. sensitivum เป็นพืชที่มีคุณค่าทางยา*https://www.ncbi.nlm.nih.gov/ ความเชื่อ/พิธีกรรม--- ดอกไม้ของพืชชนิดนี้ถือเป็นหนึ่งในสิบพืชศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า Dasapushpam ในประเพณีและวัฒนธรรมของรัฐ Kerala ในประเทศอินเดีย ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฎาคม-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
กอมก้อยลอดขอน/Aristolochia arenicola
ชื่อวิทยาศาสตร์---Aristolochia arenicola Hance.(1876) ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2651164 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---กอมก้อยลอดขอน, กอมก้อลอดขอน, แผ่นดินเย็น ; [THAI: Kom koi lot khon, Kom ko lot khon, Phandin yen (Northeastern).] EPPO Code---ARPSS (Preferred name: Aristolochia sp.) ชื่อวงศ์---ARISTOLOCHIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย กัมพูชา Aristolochia arenicola เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเช้าสีดา (Aristolochiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Henry Fletcher Hance (1827–1886)เป็นนักการทูตชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2419 ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย กัมพูชา) ในประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นตามดินทรายหรือดินเค็ม ที่ระดับความ สูง 100-200 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ต้นเลื้อยตามพื้นดิน ลำต้นสลับเป็นฟันปลา ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่กลม โคนเว้า ขนาด 2.0-3.5 ซม. ก้านใบยาวไม่เกิน 3 มม. เส้นใบเรียงแบบนิ้วมือ จำนวน 5-7 เส้น ผิวใบด้านบนเป็นมันเกลี้ยง ด้านล่างมีขนปกคลุมขอบใบมีขนแข็งและเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. ดอกรูปรียาว กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ลักษณะค่อนข้างกลม กว้าง 3-6 ซม. ยาว 4-8 มม.ส่วนปลายเป็นระยางค์ยื่นออกไป กว้าง 1.5-2 มม. ยาว 2-3 มม. ผลเป็นผลแห้งแก่แล้วแตกรูปรีแกมกว้าง มีสันชัดเจน ขนาดกว้าง 1.2-1.5 ซม. ยาว 1.5 ซม. ก้านผลยาว 1-1.5 ซม. เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่กลับ ไม่มีปีก ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา สรรพคุณ รากแก้กษัย ทั้งต้นแก้เบาหวาน ฝนทาแก้ธรรมลา ใช้รากฝนร่วมกับดู่ทุ่ง(ประดู่โคก)และรากเอี่ยนด่อน (ปลาไหลเผือก) ฝนกินแก้พากเข้าซี่โครง (อาการเสียดท้องตามแนวชายโครงและท้องเดินอย่างรุนแรง) ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เมล็ด
กะเลียว/Polygonatum kingianum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Polygonatum kingianum Collett & Hemsl.(1890) ชื่อพ้อง---Has 12 Synonyms ---Galium tuberosum Lour.(1790) ---Polygonatum agglutinatum Hua.(1892) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-283977 ชื่อสามัญ---King Solomon's-seal, King's Solomon Seal, Orange Solomon's seal ชื่ออื่น---กะเลียว, ว่านนางแลว (ทั่วไป) ;[CHINESE: Dian huang jing.];[THAI: Ka Lio, Wan nang laeo (General).]. EPPO Code---PGTSS (Preferred name: Polygonatum sp.) ชื่อวงศ์---ASPARAGACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---พม่า จีนตอนใต้ ลาว เวียตนาม ไทย Polygonatum kingianum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Ambroise Colete Alexandre Verschaffelt (1825-1886) นักพืชสวนชาวเบลเยี่ยมและ William Botting Hemsley (1843-1924) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2433 ที่อยู่อาศัยพบในประเทศจีน (กวางสี กุ้ยโจว เสฉวนและยูนนาน) ขึ้นตามป่าไม้หนาทึบที่ระดับความสูง 700 - 3,600 เมตร ยังพบใน พม่า ไทย เวียดนาม ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือบริเวณป่าดิบเขา ที่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง1- 2(-5) เมตร ใบเดี่ยวออกเรียงเวียนรอบข้อ จำนวน 2-6 ใบ รูปหอกแคบหรือขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม.ยาว 10-15 ซม. โคนใบสอบปลายใบเรียวแหลมและม้วนงอ ขอบใบเรียบเส้นใบขนาน แตกจากโคนใบ3เส้นไม่มีก้านใบ ดอกสีชมพูหรือม่วงแดง ปลายกลีบสีเขียว ออกเป็นช่อคล้ายร่มบริเวณซอกใบ กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น6กลีบ ผลเป็นผลสด ผลแก่สีเขียวค่อนข้างกลมขนาด 1-1.5 ซม.มี 2-4 พูแต่ละพูมี 2 เมล็ด ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อ การใช้งานช่วยป้องกันหลอดเลือดและการแทรกซึมของไขมันในตับ ใช้ในการรักษาอาการไอแห้งเนื่องจากหลอดลมอักเสบเรื้อรังและวัณโรคปอดอ่อนเพลียและเบื่ออาหาร ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-มิถุนายน/กรกฎาคม-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
กับแก/Rhaphiolepis indica
ชื่อวิทยาศาสตร์---Rhaphiolepis indica (L.) Lindl.(1820) ชื่อพ้อง---Has 17 Synonyms ---Basionym: Crataegus indica L.(1753.) ---More. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/rjp-6891 ชื่อสามัญ---Indian hawthorn, India hawthorn, Hong Kong hawthorn, Cherry laurel. ชื่ออื่น--กับแก, พังกี่, อะห้วย (เหนือ), คันคาก, เม้งสะเกริม (ตะวันออก);[CHINESE: Shi ban mu.];[FRENCH: Raphiolépide de l'Inde.];[GERMAN: Chinesischer Traubenapfel, Japanische Weißdolde.];[JAPANESE: Maruba-sharimbai.];[KOREAN: Da jeong keum na mu.];[SPANISH: Rafiolepis de India.];[THAI: Kap kae (North); Khan khak, Meng sa kroem(Eastern); Phang ki, A huai (Northeastern).];[VIETNAM: Đào bánh xe.]. EPPO Code--- RAHIN (Preferred name: Rhaphiolepis indica.) ชื่อวงศ์---ROSACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- จีน ไต้หวัน พม่า อินโดจีน ญึ่ปุ่น Rhaphiolepis indica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กุหลาบ (Rosaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดยJohn Lindley(1789-1865) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2363 ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดใน จีนตอนใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ลาว กัมพูชา ไทยและเวียดนาม บนเนินเขาริมถนนพุ่มไม้ ริมลำธารลำธาร ที่ระดับความสูง 700-1600 เมตร ในประเทศไทยพบในป่าดิบเขาทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากที่ราบจนถึงระดับความสูง 1,500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กสูง 2-3(4) เมตร กิ่งก้านอ่อนสีน้ำตาลอม่วง กิ่งแก่สีน้ำตาลอมเทา ก้านใบ 0.5-1.8 ซม.ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับรูปไข่หรือรูปหอกกลับ กว้าง 2.5-4 ซม.ยาว 6-8.5 ซม.โคนใบสอบเรียวปลายใบแหลม ขอบใบจักตื้นห่างๆ ดอกสีขาวออกเป็นช่อกระจุกแน่นบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกรูปไข่กลับ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.3 (-1.5) ซม.มี 5กลีบปลายกลีบแหลม เกสรเพศผู้สีขาว อับเรณูสีเหลือง เกสรเพศเมีย1อันยอดเกสรสีเขียวอ่อน ผลรูปทรงกลมขนาด 5-10 มม เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำเงินดำหรือสีม่วงเมื่อสุก มีเมล็ด 1-2 เมล็ด ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลกินได้เมื่อสุก ใช้ทำแยมได้ -ใช้ปลูกประดับ สายพันธุ์นี้มักจะได้รับการปลูกเลี้ยง เป็นไม้ประดับสวน และเป็นที่นิยมในวัฒนธรรมบอนไซ-เป็นแกนนำพืชสวนในภาคใต้ของสหรัฐอเมริกามักจะพบในเชิงพานิชย์ ปลูกเป็นไม้ประดับในภูมิทัศน์ส่วนตัว และสวนทั่วไป นอกจากสายพันธุ์นี้ยังมีสายพันธุ์และลูกผสมที่ทันสมัยหลายชนิดซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นพืชที่มีขนาดเล็กกว่าด้วยดอกไม้ตั้งแต่สีขาวไปจนถึงสีชมพูสดใส สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ 'Pink Lady' (หรือที่เรียกว่า 'Ballerina'), 'Enchantress', 'Springtime' และ 'Snow Maiden' Pink Indian Hawthorn ( Rhaphiolepis x delacourii ) ลูกผสมของ Indian Hawthorn ( Rhaphiolepis indica ) และ Hawthorn ญี่ปุ่น ( Rhaphiolepis umbellata) ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2019. ระยะออกดอก---กรกฎาคม-สิงหาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
กากหมากตาฤาษี/Balanophora fungosa
ชื่อวิทยาศาสตร์---Balanophora fungosa J.R.Forst. & G.Forst.(1775) ชื่อพ้อง---Has 12 Synonyms ---Balanophora kuroiwai (Makino) Makino.(1902) ---Cynomorium philippense Blanco.(1837) ---Cynomorium australe Hook.f.(1856) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2668043 ชื่อสามัญ---Fungus root ชื่ออื่น---กากหมากตาฤาษี (ตราด); กกหมากพาสี (เชียงใหม่); ขนุนดิน (ทั่วไป); ดอกกฤษณารากไม้ (ประจวบคีรีขันธ์); บัวผุด (ชุมพร); ว่านดอกดิน (สระบุรี); เห็ดหิน (เลย);[CHINESE: She gu shu.];[THAI: Kak mak ta ruesi (Trat); Kok mak phasi (Chiang Mai); Khanun din (General); Dok kritsana rak mai (Prachuap Khiri Khan); bua phut (Chumphon); Wan dok din (Saraburi); Het hin (Loei).];[VIETNAM: Chi Dó đất.]. EPPO Code---BNPSS (Preferred name: Balanophora sp.) ชื่อวงศ์---BALANOPHORACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- จีนตอนใต้ อินโดจีน มาเลเซีย ทวีปออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก Balanophora fungosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกที่เป็นพืชเบียนในครอบครัววงศ์ขนุนดิน (Balanophoraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Johann Reinhold Forster (1729–1798) นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมันพร้อมกับลูกชายของเขา Johann Georg Adam Forster (1754 –1794) นักธรรมชาติวิทยา (พฤกษศาสตร์กีฏวิทยาและมานุษยวิทยา)ในปี พ.ศ.2318 Balanophora fungosa มีสองชนิดย่อย:ได้แก่ ---Balanophora fungosa var. fungosa ---Balanophora fungosa var. indica
ที่อยู่อาศัย พบที่ จีนตอนใต้ (ไห่หนาน ไต้หวัน) ญี่ปุ่น ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก เป็นพืชหายาก พบตามป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้นทั่วไปที่ระดับความสูง 500-2,600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประเทศไทยพบได้ทุกภาคจากระดับน้ำทะเลถึง 2,000 เมตร ลักษณะ เป็นพืชล้มลุกประเภทพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่นเพราะตัวเองไม่มีคลอโรฟิลด์เอาไว้ สังเคราะห์แสงสร้างอาหารได้ ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ขรุขระใต้ดิน สูงถึง 15 ซม.ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กลักษณะคล้ายเกล็ดสีครีมซีดมีความยาว 8-30 มม เรียงเวียนสลับมีประมาณ 10-20 ใบ ดอก สีแดงอมน้ำตาลออกเป็นช่อ ดอกเพศผู้ดอกเพศเมียแยกต้นกัน ช่อแก่จะส่งก้านขึ้นเหนือผิวดิน เป็นกลุ่มหรือเป็นกระจุกกลุ่มหนึ่งอาจมีมากกว่า10ดอก มีกลิ่นหอมเอียน ช่อดอกเพศผู้เป็นรูปไข่แกมรูปรีกว้าง 2-6 ซม. ยาว 4-15 ซม.กาบรองดอกเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือมน ยาว6มม.ดอก มีจำนวนมาก กลีบดอกมีจำนวน 4-5 กลีบสีเหลืองอมเขียวอ่อนมีขนาดเล็กมาก เกสรเพศผู้มี4-5อัน เชื่อมติดกันเป็นก้อนแบนแคบๆ ยาว 2.5-5.0 มม.ตุ่มเกสรเป็นรูปเกือกม้า ข่อดอกเพศเมียสีน้ำตาลแดง รูปค่อนข้างกลมรี ขนาด 2-10 ซม. มีดอกเล็กละเอียดจำนวนมากอยู่ชิดกันแน่น หัวทรงกระบอกมีความยาวประมาณ 30 - 80 มม. กว้าง 12 - 14 มม ใช้ประโยชน์---รากของพืชชนิดนี้ถูกเก็บเกี่ยวในท้องถิ่นเพื่อหาแว็กซ์ซึ่งใช้สำหรับจุดประสงค์ในการให้แสงสว่าง -ใช้เป็นยา สปีชีส์ Balanophora เป็นพืชกาฝากทั้งหมดที่ใช้ในการแพทย์พื้นบ้านในหลายวัฒนธรรมของเอเชีย ยกตัวอย่างเช่นในประเทศจีน , Balanophora ที่รู้จักในฐานะ XA (เห็ดแข็ง) และในประเทศไทย ยาพื้นบ้านใช้ รากต้มน้ำดื่ม ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ -อื่น ๆ หัวมีขี้ผึ้งเหนียว (Balanophorin) มักมีอยู่ในปริมาณมาก ใช้ทำเป็นเทียนสำหรับให้แสงสว่าง ระยะออกดอก---กันยายน-กุมภาพันธุ์ ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
กากุ๊ก/Alpinia blepharocalyx
ชื่อวิทยาศาสตร์---Alpinia rafflesiana var. hirtior (Ridl.) Holttum.(1950) ชื่อพ้อง--Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-219004 ---Basionym: Alpinia aurantiaca var. hirtior Ridl.(1924) ---Alpinia mythiana C.K.Lim.(2004) ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---กากุ๊ก(เชียงใหม่), ข่าแดง; [THAI: Ka kook (Chiangmai); Kha daeng.]. EPPO Code---AIISS (Preferred name: Alpinia sp.) ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้ พม่า บังกลาเทศ อินเดีย ลาว และเวียดนาม Alpinia rafflesiana var. hirtior เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Henry Nicholas Ridley (1855–1956) นักพฤกษศาสตร์และนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Richard Eric Holttum (1895 –1990) นักพฤกษศาสตร์และนักเขียนชาวอังกฤษในปีพ.ศ.2493 ที่อยู่อาศัย พบในจีนตอนใต้ พม่า บังกลาเทศ อินเดีย ลาว และเวียดนาม มักพบในพื้นที่เป็นป่าดิบแล้ง ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเทียมสูง 1.5-2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหอก กว้าง 6-10 ซม.ยาว 25-45 ซม.ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่มหรือรูปหัวใจ ผิวใบมีขน ดอกช่อออกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายลำต้นเทียม ยาว15-30 ซม.กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด หยักลึกด้านเดียว ปลายแยกเป็น3แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น3แฉกสีขาว เกสรผู้ที่เป็นหมัน ด้านข้างลดรูป กลีบปากเป็นถุงสีเหลือง มีลายสีส้มแดง ผลแห้งแตก รูปเกือบกลม สีน้ำตาล เมล็ดเกาะกันแน่น ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ดอกอ่อน ยอดอ่อน และผลอ่อนกินเป็นผัก -ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านอีสานใช้ เหง้า ฝนน้ำดื่มบำรุงโลหิต ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เหง้า เมล็ด แยกกอ
กินกุ้ง/Murdannia simplex
ชื่อวิทยาศาสตร์---Murdannia simplex (Vahl.) Brenan.(1952) ชื่อพ้อง---Has 15 Synonyms. ---Basionym: Commelina simplex Vahl.(1805) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-254715 ชื่อสามัญ---Simplex Murdannia. ชื่ออื่น---กินกุ้ง (ทั่วไป) ;[CHINESE: Xì zhú hāo cǎo, Jiàn xiě chóu, Yún máocǎo.];[THAI: Kin koong.];[VIETNAM: Cây Rau Rươi Đơn Giản.]. EPPO Code---MUDSS (Preferred name: Murdannia sp.) ชื่อวงศ์---COMMELINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา เขตกระจายพันธุ์---ซาฮารันแอฟริกา, มาดากัสการ์, อนุทวีปอินเดีย, จีนตอนใต้, อินโดจีน, ออสเตรเลีย Murdannia simplex เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ผักปลาบ (Commelinaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Martin Vahl (1749–1804)นักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาชาวเดนมาร์ก-นอร์เวย์และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย John Patrick Micklethwait Brenan (1917-1985) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2495 ที่อยู่อาศัย แพร่หลายในแอฟริกาเขตร้อนแอฟริกาใต้และมาดากัสการ์ ตามป่าหนองน้ำทุ่งหญ้าชื้น ใกล้ระดับน้ำทะเลถึง 2,100 เมตร และยังแพร่กระจายในจีนตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของจีน [ (กวางตุ้ง, กวางสี, กุ้ยโจว, ไหหลำ (ซานย่า), เสฉวน, ยูนนาน] ตามป่าผลัดใบชื้นและทุ่งหญ้าที่ระดับความสูงถึง 2700เมตร จากอินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ไทย, เวียดนาม ถึงออสเตรเลีย (ควีนส์แลนด์) ตามป่าไม้, บนโขดหิน, ไปตามถนน ริมบึง, เขื่อนและแม่น้ำ สูงสุดที่ระดับความสูง 200-2,000 เมตร แหล่งที่พบในประเทศไทย พบตามลานหินที่มีน้ำขังและทุ่งหญ้าบนภูเขาทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกต้นสูง (0.3-0.6)-1-2 เมตร ใบเดี่ยวรูปดาบออกสลับรอบข้อที่ผิวดิน ดอกสีม่วงอ่อนแกมชมพู โคนกลีบสีเข้ม กลีบดอก3กลีบเกสรเพศผู้6อันอับเรณูสีม่วงอ่อน เกสรเพศเมียมีก้านเกสรเรียวยาว1อัน ผลเป็นแคปซูลเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า - ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 มม.เมล็ดรูปไข่สีน้ำตาลขนาด 0.4 มม. ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ในประเทศจีนมีการใช้พืชทั้งหมดในการล้างความร้อนเลือดหล่อเย็นการล้างพิษ รักษาไข้เด็กที่มีอาการชัก เด็กที่เป็นโรคเรื้อน ตาแดงบวมและปวด มะเร็งที่เป็นพิษ รากเป็นยาชูกำลังและกระชับผิว ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2018 ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-กรกฎาคม/สิงหาคม-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
กลิ้งกลางดง/Dioscorea bulbifera
ชื่อวิทยาศาสตร์---Dioscorea bulbifera L.(1753) ชื่อพ้อง---Has 27 Synonyms ---Dioscorea anthropophagorum A.Chev.(1913) ---Helmia bulbifera (L.) Kunth.(1850). ---Polynome bulbifera (L.) Salisb.(1866). ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-239891 ชื่อสามัญ---Shoebutton, Air potato, Aerial yam, Air yam, Bitter yam, Cheeky yam, Bulb bearing yam. ชื่ออื่น---กลิ้งกลางดง (ภาคเหนือ); เดะควา (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่); เถามันนก (สุราษฎร์ธานี); เบี้ย (จันทบุรี); มะมู (ภาคเหนือ); มันกะทาด (นครราชสีมา); มันขมิ้น (ภาคกลาง); มันตกเลือด (นครศรีธรรมราช); มันทราย, มันนก, มันนางนอน (ชลบุรี); มันแนบ (สระบุรี); มันเสิน (นครศรีธรรมราช); มันหมู (ชลบุรี); มันหลวง (ประจวบคีรีขันธ์); มันหามเป้า (ภาคเหนือ); มันอีโม้ (สุโขทัย); มันอีลุ้ม (จันทบุรี); ละสา, เล่าะแจ๊มื่อ (กะเหรียง-แม่ฮ่องสอน); ว่านพระฉิม, ว่านสามพันตึง (ภาคกลาง); หำเป้า (ภาคเหนือ); อีรุมปุมเป้า (สระแก้ว); อึ้งเอี๊ยะ (จีน) ;[BRAZIL: Cará-de-árvore, Cara-de-espinho, Cará-do-ar, Cará-moela.];[CENTEAL AMERIDA: Papa aérea.];[CHINESE: Huang du.];[DOMINICAN: Bonda, Bondanza, Bonday, Masoco, Monday.];[FIJI: Kaile, Kaile manu, Sarau.];[FRENCH: Igname bulbifere, Igname massokor, Igname pousse en l’air.];[GERMAN: Knollen- Yam, Knollenyam.];[HAITI: Bonay, Igname massokor, Massokop.];[INDIA: Hoei-oepas.];[JAPANESE: Nigakashū.];[KOREAN: Dung geun ma.];[MALAYSIA: Kaachil.];[MYANMAR: Kway, Ah-lu-thi, Putsa-u.];[PORTUGUESE: Inhame-de-bolbos-aéreos, Inhame-zambuco, Batata-de-rama, Cara-de-aire, Cara-de-sapateiro.];[PUERTO RICO: Gunda.];[SENEGAL: Danda.];[SPANISH: Name blanco, Name de guada, Papa caribe, Papa del aire, Papa voladora.];[THAI: Kling klang dong, Ma mu, Man ham pao, Ham pao (Northern); De-khwa (Karen-Chiang Mai); Thao man nok (Surat Thani); Bia, Man i lum (Chanthaburi); Man ka tha (Nakhon Ratchasima); Man khamin, Wan phra chim, Wan sam phan tueng (Central); Man tok lueat (Nakhon Si Thammarat); Man sai, Man nok, Man nang non, Man mu (Chon Buri); Man naep (Saraburi); Man soen (Nakhon Si Thammarat); Man luang (Prachuap Khiri Khan); Man i mo (Sukhothai); La-sa-mi, Lo-chae-mue (Karen-Mae Hong Son); I rum pum pao (Sa Kaeo); Ueang-ia (Chinese).];[USA/HAWAII: Hoi.];[VENEZUELA: Name Congo, Name criollo, Name de mata.]. EPPO Code---DIUBU (Preferred name: Dioscorea bulbifera.) ชื่อวงศ์---DIOSCOREACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย แอฟริกา ออสเตรเลีย เขตกระจายพันธุ์---อเมริกา แอฟริกา เอเชียเขตร้อน ออสเตรเลียตอนเหนือ Dioscorea bulbifera เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กลอย (Dioscoreaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา เอเชียและออสเตรเลียตอนเหนือ ได้รับการปลูกเลี้ยงอย่างกว้างขวางและได้กลายเป็นสัญชาติในหลายภูมิภาค (ละตินอเมริกา ,หมู่เกาะอินเดียตะวันตก , สหรัฐอเมริกาและหมู่เกาะในมหาสมุทรต่าง ๆ )และพบเป็นวัชพืชรุกรานในบางพื้นที่ ในประเทศไทยไทยพบทุกภาค ขึ้นตามที่โล่ง ชายป่า ความสูงจนถึง 1400 เมตร *เป็นเถาไม้ยืนต้นที่มีลักษณะเป็นเอกเทศมีต้นกำเนิดเดี่ยวซึ่งได้รับการอธิบายว่าเป็นวัชพืชที่ก้าวร้าวมากที่สุดชนิดหนึ่งที่เคยนำเข้าสู่สหรัฐอเมริกา ( Florida Exotic Pest Plant Council, 2008 ) มันเป็นพืชที่มีการรุกรานสูงซึ่งรวมอยู่ใน Global Compendium of Weed ( Randall, 2012 ) และสร้างปัญหาการจัดการในหลายส่วนของโลก สปีชี่ส์นี้สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการเพาะเมล็ดและพืชโดยหัวใต้ดินและหัวอากาศ (bulbils) ซึ่งทำให้มันแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและตั้งรกรากทั้งป่าในฤดูปลูกเดี่ยว ( Hammer, 1998 ; Langeland et al., 1998 ) D. bulbiferaได้รับการแนะนำอย่างกว้างขวางในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลกเพื่อใช้เป็นพืชอาหาร ต่อมาพืชได้หลบหนีออกจากพื้นที่เพาะปลูกและสวนไปสู่ป่าธรรมชาติที่ซึ่งมันได้กลายเป็นที่รุกราน ( ISSG, 2012 ) สายพันธุ์ที่รุกรานนี้มีศักยภาพในการปรับเปลี่ยนและยุบชุมชนพืชพื้นเมืองโดยการแทนที่ชนิดพันธุ์พื้นเมืองเปลี่ยนโครงสร้างชุมชนและเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบนิเวศ ( ฟลอริด้า Exotic Pest Plant Council, 2011 ) ปัจจุบันสายพันธุ์นี้จัดอยู่ใน“ วัชพืชพิษ” ในอลาบามาและฟลอริดา ( USDA-NRCS, 2012 ) และเป็นสายพันธุ์ที่รุกรานในคิวบา บาฮามาส เปอร์โตริโกและหมู่เกาะแปซิฟิกรวมถึงฮาวาย ฟิจิ เฟรนช์โปลินีเซีย นีอูเอและปาเลา ลักษณะ เป็นไม้เถายืนต้นมีหัวใต้ดินกลมแป้น สามารถแตกหัวย่อยตามข้อใบได้ หัวรูปทรงกลมสีน้ำตาล ผิวขรุขระ มีรอยนูนกึ่งกลางบุ๋ม ยาว 10-20 ซม. ลำต้นเกลี้ยง ไม่มีหนามยาวถึง10(20)เมตร ใบเดี่ยวเรียงเวียนรูปหัวใจ แกมรูปไข่ ขนาด5-10ซม. เส้นใบขนานตามแนวยาวเป็นร่องลึก5-11 เส้น ก้านใบยาว 5-12 ซม. มีร่องตรงกลาง ขอบบางคล้ายครีบ มีหัวย่อย (bulbils) ตามซอกใบ กลม รูปไข่ หรือรูปทรงกระบอก ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น (Dioecious) ช่อดอกแบบช่อหางกระรอก ออกตามซอกใบ 2-6 ช่อ ห้อยลง ยาว 4-10 ซม. ก้านช่อสั้น ช่อดอกเพศผู้ออก 1-2 ดอก ต่อกระจุก ดอกเพศผู้มีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียออกเดี่ยว ๆ ดอกสีขาวอมเขียวหรือชมพู กลีบรวม 6 กลีบ เรียง 2 วง รูปขอบขนาน ยาว 1.5-2.8 มม. เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดที่โคนกลีบ เป็นหมันในดอกเพศเมีย ฐานดอกยาวประมาณ 2.5 มม. มีครีบตามยาว 3 ครีบ รังไข่ใต้วงกลีบ มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียปลายจัก 3 พู ผลแห้งแตกเป็น 3 ซีก รูปขอบขนาน มีปีกรอบ 3 ปีก ยาว 2.5-5 ซม. รวมปีก เมล็ดรูปรี แบน ยาว 3-5 มม. ปลายมีปีกบางรูปขอบขนาน ยาว 1-1.5 ซม. ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เติบโตได้ดีที่สุดในดินร่วนที่มีการระบายน้ำดีและมีอินทรีย์วัตถุสูง pH ในช่วง 6 - 6.7 ทน 5.3 - 8 ไม่ทนต่อสภาพเค็มหรือหนาวจัดและความแข็งแรงของพืชจะได้รับผลกระทบที่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 ° C ชนิดนี้มีช่วงพักตัวในฤดูหนาวหลังจากที่หยุดพักชั่วคราวหัวใต้ดินก่อให้เกิดลำต้นที่เติบโตอย่างรวดเร็วอาจจะยาวถึง 20 เมตรในช่วงปลายฤดูการเติบโต ใช้ประโยชน์---ใช้กิน หัวอากาศ ราก-สุก ช่อดอก ต้ม อบ ทอด ต้องปรุงสุกอย่างทั่วถึงเพื่อที่จะทำลายอัลคาลอยด์พิษ Dioscorea ชนิดที่กินได้มีใบตรงข้ามในขณะที่ชนิดที่เป็นพิษมีใบแบบอื่น -ใช้เป็นยา ใช้ในยาแผนโบราณในเอเชียแอฟริกาและละตินอเมริกาเพื่อรักษาอาการท้องเสีย โรคตาแดง , โรคท้องร่วง ,โรคบิด อ่อนเพลียและซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ;-ในประเทศไทยใช้เป็นสมุนไพรโดยนำหัวมาฝนกับว่านเพชรหึง ใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสายยา ใช้กินและทาแก้โรคฝีกาฬ และระงับพิษร้อนให้เย็น หรือใช้อาบเป็นยาแก้ร้อนใน ช่วยรักษาโรคไข้ทรพิษ ในอินเดียหัวถือว่าเป็นยาขับปัสสาวะและเป็นยาสำหรับโรคท้องร่วงและริดสีดวงทวาร -อื่น ๆ ตรวจพบสารออกฤทธิ์ทางการแพทย์หลายชนิดในพืช ตรวจพบ Dioscorine ในหัวแม้ว่าวัสดุไนจีเรียบางชนิดได้รับการรายงานว่าปราศจากอัลคาลอยด์ มีรายงานเกี่ยวกับสารอัลคาลอยด์จากใบและลำต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผล ตรวจพบไดออสเจนินที่ความเข้มข้น 0·45% มีซาโปนินและสารออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ระยะออกดอก---กันยายน-ตุลาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด (ไม่ค่อยใช้ในการขยายสายพันธุ์นี้) แบ่งหัว แยกหัว โดยนำหัวที่แตกย่อยมาปลูกใหม่
เกล็ดปลาหมอ/Phyllodium elegans
ชื่อวิทยาศาสตร์---Phyllodium elegans (Lour.) Desv.(1826) ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms ---Basionym: Hedysarum elegans Lour.(1790) ---Desmodium blandum Meeuwen.(1962) ---Desmodium elegans (Lour.) Benth.(1861) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-32881 ชื่อสามัญ--None (Not recorded) ชื่ออื่น---เกล็ดปลาหมอ(บุรีรัมย์), สามสิบประดง (ยโสธร), กาสามปีกกลาง (สระบุรี, ปราจีนบุรี); หญ้าเกล็ดลิ่น (ภาคเหนือ,ภาคใต้); หางลิ่น (สุราษฎร์ธานี) , กั้วจั่วเหน่ง(ม้ง), หญ้าคอตุง (คนเมือง) ;[CAMBODIA: Kantouy trakuot (Central Khmer),];[CHINESE: Máo pái qián shù.];[THAI: Klet pla mo (Buri Ram); Sam sip pradong (Yasothon); Ka sam peek klang (Central); Ya klet lin (North-South); Hang lin (Surat thani).];[VIETNAM: Cây Đồng Tiền.]. EPPO Code---QDQSS (Preferred name: Phyllodium sp.) ชื่อวงศ์---FABACEAE (Leguminosae-Papilionaceae) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- จีน ไทย กัมพูชา ลาว เวียตนาม อินโดนีเซีย (ชวา) Phyllodium elegans เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดยJoao de Loureiro (1717–1791) นักพฤกษศาสตร์ชาวโปรตุเกสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Nicaise Auguste Desvaux (1784–1856) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในปีพ.ศ.2369 ที่อยู่อาศัย พบใน จีน ไทย กัมพูชา ลาว เวียตนาม อินโดนีเซีย (ชวา) ตั้งแต่ป่าเก่าแก่ที่เปิดกว้างทุ่งหญ้าแห้งไปจนถึงนาข้าวรกร้างงที่ระดับความสูงไม่เกิน 600-1,600 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มลำต้นตั้งตรงสูง 1-2 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนสีน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อย3ใบ ใบย่อยใบกลางรูปไข่กว้าง กว้าง3-7ซม.ยาว4-9 ซม.ใบย่อยด้านข้างกว้าง 1.5-4 ซม.ยาว 2.5 ซม. ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ มีใบประดับลักษณะคล้ายเกล็ดปลา ประกบหุ้มไว้2ใบ กลีบดอกสีขาวรูปถั่ว กลีบกลาง รูปไข่กลับ กลีบคู่ข้าง รูปขอบขนาน กลีบคู่ล่าง รูปขอบขนาน เกสรเพศผู้มี 10 อัน เกสรเพศเมีย มีขน กลีบเลี้ยงสีเขียว รูประฆัง เชื่อมติดกันตรงโคน ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขน ผลเป็นฝักแบนยาวคอดเป็นข้อ1-4 ข้อ ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---สายพันธุ์นี้มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดินบางชนิด แบคทีเรียเหล่านี้ก่อให้เกิดก้อนบนรากและตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ ไนโตรเจนบางส่วนนี้ถูกใช้ในพืชที่กำลังเติบโต แต่บางชนิดก็สามารถนำมาใช้กับพืชชนิดอื่นที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียงได้ ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยา -ใช้เป็นยา รากและใบถูกนำมาใช้เป็นยาเพื่อลดไข้และเป็นยาแก้ไข้และยาขับปัสสาวะ ยาพื้นบ้านใช้รากต้มน้ำดื่ม แก้โรคตับพิการ(อาการผิดปกติของตับ) ผสมกับรากกระดูกอึ่ง รากกาสามปีกใหญ่ รากโมกมันและรากหางหมาจอก ต้มน้ำดื่มแก้คุณไสย (มีอาการผอมแห้ง ใจสั่น บางเวลาเพ้อคลั่งร้องไห้) ในกัมพูชามีการใช้รากในการแพทย์พื้นบ้านเพื่อรักษาอาการบวมน้ำในทารกแรกเกิด ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2012 ระยะออกดอก---สิงหาคม-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
แก้มอ้น/ Pavonia rigida
ชื่อวิทยาศาสตร์---Pavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr.(1901) ---This name is unresolved.According to The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2898920 ชื่อพ้อง---This is a synonym of Urena rigida Wall. ex Mast.(1874) ---See https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:60453496-2 ชื่อสามัญ--None (Not recorded) ชื่ออื่น---ขี้อ้น (บุรีรัมย์), ขอบจักรวาล, ครอบจักรวาล, แสงอาทิตย์ (จันทบุรี), คืนหน (ประจวบคีรีขันธ์), หัสคุณดอกแดง (สตูล);[MYANMAR: Wetchi-pane.];[THAI: Khi on (Buri Ram); Khrop chakkrawan (Chanthaburi); Khuen hon (Prachuap Khiri Khan); Saeng a thit (Chanthaburi); Ngon kai (Ubon Ratchathani); Hatsa khun dok daeng (Satun); On daeng (Ubon Ratchathani).];[VIETNAM: Ké trơn.] EPPO Code---URNRI (Preferred name: Urena rigida.) ชื่อวงศ์---MALVACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย กัมพูชา Pavonia rigida เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชบา (Malvaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย (Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก จากอดีต Maxwell Tylden Masters (1833–1907) นักพฤกษศาสตร์และนักอนุกรมวิธานชาวอังกฤษ.) และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Bénédict Pierre Georges Hochreutiner (1873-1959) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส.ในปีพ.ศ.2444 ที่อยู่อาศัย พบในไทย กัมพูชา ในประเทศไทยพบแถบภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในทุ่งหญ้าเปิดโล่ง ป่าโปร่ง ทุ่งนา ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กทอดเลื้อยชูยอดตั้งขึ้น สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นมีขน ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอกกว้าง 4.5-5ซม. ยาว6-7.5 ซม.ปลายใบแหลมโคนฐานใบรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย มีขนรูปดาว มีต่อม 1 ต่อม ที่โคนเส้นกลางใบ เส้นใบและก้านใบมีสีแดง ก้านใบยาว 3 ซม. ดอกออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบดอกมี 5กลีบสี ชมพู หรือส้มอ่อน กลางดอกมักเป็นสีขาว เกสรเพศเมีย มีก้านชูเกสรแยกเป็น 10 แฉก เกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมกันเป็นกลุ่มเดียว ผลกลมหรือเป็นพูเล็กน้อยมีขนสีน้ำตาลเป็นริ้ว ประดับรูปถ้วยหุ้มเมล็ดรูปไตไว้ ผลแห้งแล้วแตก ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ราก ต้มน้ำให้สตรีระหว่างอยู่ไฟหลังคลอดดื่ม และบำรุงโลหิต ในประเทศลาว ราก ใช้รักษานิ่วในถุงน้ำดี โดยใช้ราก 100 กรัม ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นอีก 4 ชนิด อย่างละเท่าๆกัน ต้มน้ำดื่ม ระยะออกดอก--- พฤษภาคม- ตุลาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
สกุล Codonoboea เป็นประเภทของพืชออกดอกในครอบครัวGesneriaceae หลายสปีชีส์ของมันถูกวางไว้ในสกุล Henckelia ซึ่งเป็นสกุลที่ถูกยุบไป ปัจจุบันมีประมาณ124 สายพันธุ์ที่ยอมรับ (POWO 2019) ซึ่งเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีประมาณ 14 ชนิด เช่น -Codonoboea appressipilosa (B.L.Burtt) D.J.Middleton-แก้วน้ำค้าง -Codonoboea hispida (Ridl.) Kiew-แก้วน้ำค้าง -Codonoboea filicalyx (B.L.Burtt) D.J.Middleton-แก้วบุษรา -Codonoboea pumila (Ridl.) CLim-แก้วพรหมินทร์ -Codonoboea inaequalis (Ridl.) Kiew-แก้วอัคนี -Codonoboea reptans (Jack) C.L.Lim-แก้วทับทิม
แก้วน้ำค้าง/Codonoboea hispida
ชื่อวิทยาศาสตร์---Codonoboea hispida (Ridl.) Kiew.(2011) ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms. ---Basionym: Didymocarpus hispidus Ridl.(1896) ---Henckelia hispida (Ridl.) A. Weber.(1997-1998 publ. 1998) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2903491 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---แก้วน้ำค้าง (ทั่วไป); [THAI: Kaeo nam khang (General).] EPPO Code---1GESF (Preferred name: Gesneriaceae.) ชื่อวงศ์---GESNERIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย คาบสมุทรมาลายู อินโดนีเซีย สุมาตรา Codonoboea hispida เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัว Gesneriaceaeได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Henry Nicholas Ridley (1855–1956) นักพฤกษศาสตร์และนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Ruth Kiew (born 1946) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปีพ.ศ.2554 ที่อยู่อาศัย พบใน ไทย คาบสมุทมาลายู อินโดนีเซีย สุมาตรา บางที อาจจะอยู่บนเกาะอื่น ๆ ในพื้นที่ เติบโตในเชิงเขาและป่าเขตร้อนที่เป็นภูเขาในพื้นที่ชุ่มน้ำและตามริมฝั่งแม่น้ำ ในประเทศไทยพบในภาคใต้ ที่ นครศรีธรรมราช ยะลา ขึ้นตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,300-1,400 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-50 (-80 ) ซม.ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 3.5-11 ซม.โคนใบสอบปลายใบแหลม ขอบใบจักถี่ตื้น เส้นแขนงใบข้างละ 7-12 เส้น ก้านใบยาว 0.5-2 ซม. มีขนสากตามแผ่นใบด้านล่างช่อดอกและกลีบเลี้ยง ดอกสีม่วงอ่อนออกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-3 ดอกขนาด 2.5-3 ซม.ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ก้านช่อยาว 7.5 ซม.ก้านดอกยาว 5-8 มม.กลีบเลี้ยงรูปแถบ ยาว 3-8 มม.ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบโคนเชื่อมติดกันตอนปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกด้านในแต้มสีเหลือง มีเส้นสีม่วงแดงแซมก้านเกสรเพศเมียยาว 1.3-1.8 ซม. มีขนหนาแน่น ผลเป็นแคปซูลยาว 3.5 ซม. ระยะออกดอก---กุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์---เมล็ด
ขนำชาวไร่/Adenosma elsholtzioides
ชื่อวิทยาศาสตร์---Adenosma elsholtzioides T.Yamaz.(1980) ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2621886 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ขนำชาวไร่ (ตะวันออกเฉียงใต้), หญ้าสมัด, หอมสนั่นเมือง ;[THAI: Kha-hnam chao rai (Southeastern), Ya sa-mut, Hom sa-nan mueang.]. EPPO Code---ADVSS (Preferred name: Adenosma sp.) ชื่อวงศ์---PLANTAGINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย ลาว Adenosma elsholtzioides เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เทียนเกล็ดหอย (Plantaginaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Takasi (Takashi) Yamazaki (1921-2007) นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ในปี พ.ศ.2513 ที่อยู่อาศัย พบใน ไทย ลาว ในประเทศไทยพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นตามที่ชื้นบนลานหินทราย เช่น ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกลำต้นสูง20-50 ซม.ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามรูปขอบขนานกว้าง 1.5-10 มม.ยาว 7-35 มม.ปลายใบแหลมโคนใบคล้ายรูปติ่งหูไม่มีก้านใบ ดอกช่อเชิงลดดอกย่อยหลายดอก ใบประดับรูปไข่กว้าง สีเขียว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปปากเปิด ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาวหรือม่วงอ่อน ผลกลมแห้งแล้วแตก ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นสมุนไพรทางภาคอิสาน ทั้งต้นต้มน้ำดื่มแก้ตกเลือด, ทั้งต้นผสมใบมะนาว ต้นตะไคร้ ใบมะม่วง เหง้าขิง ต้มน้ำอาบ อบ แก้ลมวิงเวียน ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เมล็ด
ขยุ้มฝอยตอก/Pertya hossei
ชื่อวิทยาศาสตร์---Pertya hossei Craib ex Hosseus.(1911) ---This name is unresolved.According to The Plant List Pertya hossei Craib ex Hosseus is an unresolved name ชื่อพ้อง---No synonyms are record for this name ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-104515 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ขยุ้มฝอยตอก (ภาคเหนือ); [THAI: Kha yum foi tok (Northern).]. EPPO Code---PWYSS (Preferred name: Pertya sp.) ชื่อวงศ์---ASTERACEAE (COMPOSITAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย Pertya hossei เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ทานตะวัน (Asteraceae หรือ Compositae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ จากอดีต Dr Carl Curt Hosseus (1878 - 1950) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2454 ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศไทยเป็นพืชหายาก พบที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ พบขึ้นบนสันเขาหินปูน ตามซอกหิน ในที่โล่งแจ้ง ที่ระดับความสูง 1,800-2,190 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดเล็กสูง 15-20 ซม.ลำต้นกลม เรียวสีน้ำตาลอมม่วง มักไม่แตกกิ่ง ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับเป็นเกลียวรอบต้น แผ่นใบรูปไข่กว้าง ขนาดยาว 5-7 ซม.กว้าง 3-6 ซม.แผ่นใบหนาแข็งสีเขียวนวลเป็นมันวาว มีเส้นใบ 3 เส้น ดอกช่อแบบช่อกระจุกแน่น เกิดที่ปลายยอด ดอกวงนอกมีดอกย่อยจำนวน 5 ดอก ฐานรองดอกเป็นเกล็ดเรียงซ้อนกันรูปไข่ ยาว 5 ซม. แต่ละกลีบรูปไข่แคบยาว 1-1.5 ซม.สีเขียวเข้ม ขอบกลีบสีน้ำตาลอมม่วง ดอกย่อยกว้างประมาณ 1 ซม.ปลายม้วนออก แต่ละดอกย่อยมีกลีบดอก5กลีบรูปแถบยาวเป็นริ้วเรียงซ้อนเหลื่อมกัน ดอกวงในเกสรเพศผู้ 5 อันเชื่อมติดกันเป็นแท่ง ยาว 2-3 ซม.หุ้มเกสรเพศเมียเอาไว้ สีเหลืองอมน้ำตาลยื่นยาวพ้นกลีบดอกมาก ดอกวงในไม่เจริญ ระยะออกดอก/ติดผล---สิงหาคม-ตุลาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
ข่าไฟ/Hedychium coccineum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Hedychium coccineum Buch.-Ham. ex Sm.(1811) ชื่อพ้อง---Has 13 Synonyms ---Gandasulium angustifolium (Roxb.) Kuntze.(1891) ---Gandasulium coccineum (Buch.-Ham. ex Sm.) Kuntze.(1891) ---Hedychium angustifolium Roxb.(1820) ---Hedychium aurantiacum Roscoe.(1825) ---Hedychium longifolium Roscoe.(1824) ---Hedychium squarrosum Buch.-Ham. ex Wall.(1853) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-248105 ชื่อสามัญ---Red ginger lily, Orange Ginger Lily, Scarlet butterfly ginger,Scarlet ginger-lily, Orange bottlebrush ginger. ชื่ออื่น---ข่าไฟ ,ข่าดง (ภาคเหนือ), ข่าตาเหินแดง ;[AFRIKAANS: Rooigemmerlelie.];[BRAZIL: Gengibre vermelho, Jasmim-vermelho.];[CHINESE: Hong jiang hua.];[CUBA: Mariposa punzó, Mariposa roja.];[FRENCH: Gingembre-douleur, Hédychie écarlate, Longose, Longose à fleurs rouges.];[GERMAN: Scharlachingwer.];[INDIA: Bhui ada, Litsung, Ruangpua, Samriching.];[JAMAICA: Red ginger lily, Scarlet ginger lily.];[PORTUGUESE: Gengibre-vermelho.];[REUNION: Gingembre-douleur, Hédychie écarlate, Longose à fleurs rouges.];[SOUTH AFRICA: Red ginger lily, Rooigemmerlelies.];[SPANISH: Lirio de gengibre rojo, Mariposa punzó, Mariposa roja.];[THAI: Kha phai, Kha dong (Northern), Ta hoen daeng.]; EPPO Code---HEYCC (Preferred name: Hedychium coccineum.) ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา เนปาล จีนตอนใต้ พม่า ไทย Hedychium coccineum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francis Buchanan-Hamilton(1762-1829) แพทย์ชาวสก็อตที่มีส่วนร่วมสำคัญในฐานะนักภูมิศาสตร์ นักสัตววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ในขณะที่อาศัยอยู่ในอินเดีย จากอดีต James Edward Smith (1759 - 1828) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2354
ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาหิมาลัยของอินเดียและเนปาล (ภูฏาน, NE อินเดีย, พม่า, สิกขิม) จีน (ยูนนาน,กวางสี, ทิเบต)ไปยังบังคลาเทศ พม่า ไทยและเวียดนามตอนเหนือ มีการเพาะปลูกทั่วเอเชียใต้และเอเชียกลางตอนใต้ มีสัญชาติในหลายภูมิภาคทั่วโลกรวมถึงแอฟริกา ศรีลังกา บราซิลและหมู่เกาะอินเดียตะวันตก พบตามธรรมชาติหรือกึ่งธรรมชาติ ตามริมแม่น้ำ ทุ่งหญ้า ภูเขาไปจนถึงป่าทึบ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 750-2,700 เมตร ในประเทศไทยพบในภาคเหนือที่เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ขึ้นตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดินสูง 1-2 เมตร.ลิ้นใบยาว 1.2-2.5 ซม.ใบเดี่ยวรูปแถบ กว้าง2-4 ซม.ยาว 35-45 ซม.แผ่นใบด้านล่างมักมีสีม่วง ผิวใบเกลี้ยงด้านล่างมีขนที่เส้นกลางใบ ไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อตั้ง ยาว20-35ซม.ใบประดับสีเขียวเข้มมีขนประปรายม้วนรอบดอก แต่ละใบประดับมี 5-6 ดอก มีขนสั้นนุ่ม ใบประดับวงนอกเป็นหลอด ยาว 3.5-4 ซม. ใบประดับวงในรูปขอบขนาน ยาว 2-2.5 ซม. ปลายจัก 3 พูตื้น ๆ ใบประดับย่อยยาวประมาณ 1.5 ซม รูปขอบขนาน ปลายแยก2แฉกไม่เท่ากัน กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว2.5-3ซม. มีขนแน่น ดอกสีส้มอมแดง ยาว 4-5 ซม. ปลายกลีบแยก 3 แฉก กลีบดอกเป็นหลอดยาว 3.3 ซม.มีแฉกเป็นเส้นปลายแหลม กลีบปากมนกลม ปลายแยกเป็น2แฉกลึก รังไข่มีขนแน่น มีไข่อ่อนจำนวนมาก ผลแคปซูลกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. เมล็ดสีแดง ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบพื้นที่กึ่งร่มเงา ดินที่ชื้น เปียก และมีการระบายน้ำดี ปลูกง่ายในสวนในเขตอบอุ่น จะทนต่อแสงแดดจนถึงร่มเงา ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ H. coccineum รูปแบบต่างๆและhybrids อื่นๆอีกหลายชนิดมีการค้าขายกันทั่วโลกเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่ง เช่น Hedychium 'Dr Moy' ( H. flavum × H. coccineum ), Hedychium 'Edison Home', Hedychium 'Moy Giant' ( H. coccineum × H. coronarium ) Hedychium 'salmon' และ Hedychium 'Tai Pink Profusion' ( H. densiflorum × H. coccineum ) ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า
ข่าหด/Fissistigma polyanthoides
ชื่อวิทยาศาสตร์---Fissistigma polyanthoides (A.DC.) Merr.(1919) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms, See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:73055-1#synonyms ---Basionym: Melodorum polyanthoides Aug.DC.(1904) ---See https://www.gbif.org/species/3157389 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ข่าหด (ภาคเหนือ), นมควาย (เชียงราย) ;[CHINESE: Xiao e gua fu mu (pinyin, China).];[THAI: Kha hod (Northern); Nom khwai (Chiang Rai).];[VIENAM: Dời dợi, Quả vú dê, Chầu pẻng mộc.]. EPPO Code---FSGSS (Preferred name: Fissistigma sp.) ชื่อวงศ์---ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน, เมียนมาร์, ไทย, ลาว, เวียดนาม Fissistigma polyanthoides เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Alphonse Louis Pierre Pyrame de Candolle (1806-1893) บุตรชาย Augustin de Pyrame Candolle (1778–1841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Elmer Drew Merrill (1876–1956) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกันในปีพ.ศ.2462 ที่อยู่อาศัย พบใน จีน (กุ้ยโจว, ยูนนาน), เมียนมาร์, ตอนเหนือของไทย, ลาว, เวียดนาม พบตามทางลาดที่เป็นป่าทึบ ที่ระดับความสูง 500-1,600 เมตร ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ไกลถึง 20 เมตร กิ่งแก่สีน้ำตาลเข้มมีช่องอากาศมาก กิ่งอ่อนสีเขียวมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ก้านใบมีขนดกยาว 1-1.3 ซม.ใบรูปขอบขนาน กว้าง 5-9 ซม.ยาว 10-20 ซม.ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า มีขนสีน้ำตาลที่เส้นใบ ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก 1-5 ดอก สีขาวนวลกลิ่นหอมอ่อนๆ มีดอกดกและบานพร้อมกันเกือบทั้งต้น ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม.เปลือกหนามีขนสีน้ำตาลหนาแน่น เมล็ด สีน้ำตาลแดง ยาว ประมาณ. 1.5 × 0.6 ซม. ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา นำเปลือกต้นมา ต้มน้ำ ฝนน้ำข้นๆ หรือดองเหล้า กินครั้งละ1-2 ช้อนชาวันละ 2 ครั้ง แก้สำแดง อาหารเป็นพิษ *ข่าหดยังช่วยแก้ปัญหามดลูกหย่อน ช่วยแก้ปัญหาริดสีดวงทวารและไส้เลื่อนได้*ที่มา http://www.manager.co.th/ ;- ในเวียตนาม ใบใช้รักษาอาการเต้านมคัด เปลือกแก้ ท้องเสีย ;-ในจีน ลำต้นนิยมใช้รักษาโรคไขข้อและสตรีพักฟื้นหลังคลอดบุตร ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-พฤศจิกายน/สิงหาคม-มีนาคม (ในประเทศจีน) ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง
ข้าวพันก้อน/Rungia parviflora subsp. pectinata
ชื่อวิทยาศาสตร์---Rungia parviflora subsp. pectinata (L.) L.H.Cramer ชื่อพ้อง---This name is a synonym of Rungia pectinata (L.) Nees.(1847) ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-100372652 ชื่อสามัญ---Comb Rungia ชื่ออื่น---ข้าวพันก้อน, สันพร้า (ทั่วไป) ;[CHINESE: Jié jié hóng, Hái'ér cǎo shǔ.];[INDIA: Punakapundu, Tavashu murunghie.]; [MARATHI: Mashi, Sut.];[TAMIL:Tavacu-murunkai.];[TELUGU: Pindikunda.];[THAI: Khao phan kon, San phra (General).]. EPPO Code---RNGPA (Preferred name: Rungia parviflora.) ชื่อวงศ์---ACANTHACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- จีน อนุทวีปอินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียตนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ Rungia parviflora subsp. pectinata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เหงือกปลาหมอหรือวงศ์กระดูกไก่ (Acanthaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Louis Hermenegild Cramer (1924– ) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่อยู่อาศัย พบใน จีน (กวางตุ้ง, กวางสี, ไหหลำ, ยูนนาน) อนุทวีปอินเดีย (อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ, ภูฏาน,) พม่า ไทยลาว เวียตนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วไปใน ที่รกร้างและ พื้นที่ ที่ถูกรบกวน สถานที่เปียกชื้น, พื้นที่เปียก, ช่องทางชลประทาน ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกสูง 20-50 ซม.ลำต้นตั้งตรงมีขน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรีแกมใบหอกถึงรูปขอบขนานกว้าง 0.4-2 ซม.ยาว 1-7 ซม.ปลายใบแหลมโคนใบรูปลิ่ม ดอกช่อแบบช่อเชิงลด ออกที่ซอกใบและปลายยอด ใบประดับมี2แบบ รูปไข่แกมใบหอกปลายใบเรียวแหลมและรูปไข่กลับแกมรีถึงกลม ปลายมนมีติ่งแหลม ขอบมีเยื่อบางใส มีขนสีขาวปกคลุม กลีบเลี้ยงบางเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น5แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปปากเปิดปลายแยกเป็น5แฉกสีขาวถึงขาวแกมม่วงอ่อน ผลแดปซูลทรงรีแห้งแล้วแตกยาว 2.5 มม.เกลี้ยงมีเมล็ดสีน้ำตาล 2-4 เมล็ด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 มม. ใช้ประโยชน์---สายพันธุ์นี้ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ทั้งต้นต้มน้ำดื่มทำให้อยากอาหาร ในการแพทยฺแผนจีน ใช้ รักษาโรคตับอักเสบ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบรวมเฉียบพลัน,รักษาอาการอาหารไม่ย่อยในเด็ก โรคบิด, วัณโรคต่อมน้ำเหลืองที่ปากมดลูก ใช้รักษาอาการบวมจากงูพิษกัดใช้หญ้าสดทั้ต้นทุบพอก รอบ ๆบาดแผล ระยะออกดอก/ติดผล--พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์/มกราคม-เมษายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
สกุล Smilax เป็นสกุลเดียวในวงศ์ Smilacaceae มีประมาณ 262 สายพันธุ์ที่ยอมรับ ครอบครัวนี้เกิดขึ้นทั่วเขตร้อนและเขตอบอุ่นของโลก สมาชิกในครอบครัวนี้สามารถเป็นไม้ล้มลุกถึงเถาวัลย์ "Woody" พวกมันเติบโตจากเหง้าและมักมีหนามที่ลำต้นและ/หรือใบ -ข้าวเย็น---Smilax sp. เกิดตามป่าโปร่ง ป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ -ข้าวเย็นเหนือ---Smilax cerbularia subsp. corbularia ในไทยพบทางภาคเหนือ ใช้เป็นยาแก้ตาแดง คุดทะราด แก้กามโรค -ข้าวเย็นใต้---Smilax glabra Roxb. สำหรับในประเทศไทยพบเห็นได้ง่าย พบตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ เลย นครพนม นครราชสีมา ชัยภูมิ สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช และระนองเป็นต้น ข้าวเย็นใต้และข้าวเย็นเหนือมีสรรพคุณที่เหมือนกัน และนิยมนำมาใช้คู่กัน โดยจะเรียกว่า “ข้าวเย็นทั้งสอง”
ข้าวเย็นเหนือ-ข้าวเย็นใต้/Smilax sp.
ชือวิทยาศาสตร์---Smilax sp. ชื่อสามัญ---Common greenbriar, Greenbriar, Greenbrier, Sarsaparilla, Catbrier. ชื่ออื่น---ข้าวเย็น, ข้าวเย็นเหนือ-ข้าวเย็นใต้;[CHINESE: Ba qia shu.];[THAI: Khao yen, Khao yen nuea-Khao yen tai.]. EPPO Code---SMISS (Preferred name: Smilax sp.) ชื่อวงศ์---SMILACACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---พบได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของโลก ที่อยู่อาศัย ประมาณ 300 สปีชีส์ อยู่ในเขตร้อน กึ่งเขตร้อน และเขตอบอุ่นของซีกโลกทั้งสอง 79 สายพันธุ์ (39 เฉพาะถิ่น) ในประเทศจีน ลักษณะ เป็นไม้เถามีหัวอยู่ใต้ดิน เลื้อยพันต้นไม้อื่นอาจยาวได้ถึง 5 เมตร ลำต้นกลมมีหนาม โคนใบมีมือพันเป็นเส้นขดๆไว้จับยึด ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่แกมรีกว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 5-18 ซม. ถ้าเป็นข้าวเย็นเหนือปลายใบแหลม ข้าวเย็นใต้ ปลายใบมน ดอกออกเป็นช่อกระจะรวมทรงกลมที่มีซี่ย่อยแบบซี่ร่ม ดอกย่อยสีเขียว 20-70 ดอก ดอกแยกเพศ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นรูปทรงกลมเล็กๆขนาดประมาณ 0.5 ซม.มี 1 หรือ 2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม หัวที่มีเนื้อสีแดงเข้ม เนื้อละเอียด มีรสมัน มักเกิดทางภาคเหนือและอีสาน เรียกว่าข้าวเย็นเหนือ อีกชนิดมักส่งมาจากเมืองแต้จิ๋ว หัวมีเนื้อสีขาว เรียกว่า ข้าวเย็นใต้ ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ในทางสมุนไพรไทย ใช้หัวข้าวเย็นเหนือ-ข้าวเย็นใต้ แก้อาการน้ำเหลืองเสีย เส้นเอ็นพิการ กามโรค ปวดกระดูก เพิ่มน้ำนมมารดา รวมถึงอาการอักเสบเกือบทุกชนิด และสูตรสมุนไพรไทยกว่าร้อยละ 90 ที่เชื่อว่าแก้มะเร็งได้ ก็จะมีหัวข้าวเย็นเหนือ-ข้าวเย็นใต้ผสมอยู่ด้วยเสมอ โดยใส่ลงไปในปริมาณมาก จนเรียกว่าเป็น "หัวยา" ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-สิงหาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
ข้าวสารดอกเล็ก/Raphistemma hooperianum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Raphistemma hooperianum (Blume) Decne.(1844) ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-2602177 ---Basionym: Oxystelma hooperianum Blume.(1826) ---Raphistemma brevipedunculatum Y. Wan.(1983) ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น--- ข้าวสารดอกเล็ก (กรุงเทพฯ); เมือยสาร (ชุมพร); เคือคิก (สกลนคร); ปลายสาน ดอกข้าวสาร ผักข้าวสาร (อุดรธานี, ภาคอีสาน); ข้าวสาร เครือข้าวสาร (ภาคกลาง) ;[CHINESE: Guang xi da hua teng.];[THAI: Khao san dok lek (Bangkok); Mueai san (Chumphon).]. EPPO Code---1ASCS (Preferred name: Asclepiadoideae.) ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน ไทย เวียตนาม Raphistemma hooperianum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด Apocynaceae และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (Asclepiadoideae หรือ Asclepieaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Joseph Decaisne (1807–1882) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในปีพ.ศ. ที่อยู่อาศัย พบในจีน ไทย เวียตนาม ตามชายป่าดิบทั่วไป สวนที่รกร้าง ในประเทศไทยพบขึ้นทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยพัน ล้มลุก ลักษณะ ลำต้นสูงเกลี้ยง มีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปหัวใจ กว้าง7-10ซม.ยาว8-12ซม.ปลายใบแหลมเป็นหางยาว ขอบใบเรียบ โคนใบเว้าทั้งสองข้าง เนื้อใบบาง ด้านบนที่โคนเส้นกลางใบมีขนสั้นๆ ออกเป็นกระจุก ก้านใบเรียว เล็กยาว 2-7 ซ.ม ดอกช่อออกที่ซอกใบ ดอกขนาดเล็กมีกลิ่นหอม ก้านช่อดอกยาว 0.25-5.5 ซ.ม. ก้านดอกยาว 1.25-3.5 ซ.ม. กลีบรองดอกรูปไข่ ปลายมน ยาว 3-4 มม. โคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง กลีบดอกสีขาว ต่อมาจะจะกลายเป็นสีเหลืองอ่อน ที่ปลายกลีบมีแต้มสีม่วงดอกบานเต็มที่ 2.5-3 ซ.ม.ผลเป็นฝักรูปกระสวยสีเขียวยาวประมาณ 14 ซม.เมล็ดสีน้ำตาลมีขนสีขาว ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลและดอกปรุงสุก ใช้เป็นอาหาร กินเป็นผัก -ใช้เป็นยา ตำรายาไทย ใช้รากถอนพิษ ทำให้อาเจียน รากใช้รักษาตา-ใช้รากตากแห้งแล้วนำไปบดเป็นยากินรักษาโรคตาต่าง ๆ เช่น แก้ตาแดง ตาอักเสบ ตาแฉะ ตามัว ตาฝ้าฟาง นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคต้อกระจกได้ รู้จักอันตราย---ในเมล็ดจะมี Cardiac glycoside ที่เป็นพิษ ระยะออกดอก---ออกดอกในช่วงฤดูหนาว ขยายพันธุ์---เมล็ด
ข้าวไหม้/Dendrolobium thorelii
ชื่อวิทยาศาสตร์---Dendrolobium thorelii (Gagnep.) Schindl.(1924) ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-46548 ---Basionym: Desmodium thorelii Gagnep.(1916) ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ข้าวไหม้, เขืองข้าวไหม้ (ลำปาง); ทองหมอง (สกลนคร); หนาดใหญ๋ (เลย); ตีนกา (ลาวเวียง หนองคาย).; [THAI: Khao mai, Khueang khao mai (Lampang); Thong mong (Sakon Nakhon); Nat yai (Loei).] EPPO Code---DLBSS (Preferred name: Dendrolobium sp.) ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- ไทย ลาว
Dendrolobium thorelii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francois Gagnepain (1866-1952 )นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Anton Karl Schindler (1879-1964) เป็นทันตแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ. ที่อยู่อาศัย พบในประเทศลาวและไทย ลักษณะ เป็นไม้ พุ่มลำต้นตั้งตรงสูง1-3เมตร ทุกส่วนของต้นมีขนละเอียดยาวสีขาว ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อย3ใบรูปไข่ กว้าง5-8ซม.ยาว10-15ซม. ผิวใบมีขนละเอียดทั้ง2ด้าน ดอกช่อออกที่ปลายกิ่งรูปถั่วกลีบดอกสีขาว ผลเป็นฝักแบนโค้งงอ มีขนสีขาว ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านใช้ รากรสเฝื่อนใช้ ราก5-6 รากต้มน้ำดื่ม วันละ2-3ครั้ง แก้อการตกขาว รากใช้ปรุงยาตัดรากไข้พิษไข้กาฬ ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด
ขี้กาเครือ/Strychnos rupicola
ชื่อวิทยาศาสตร์---Strychnos rupicola Pierre ex Dop.(1910) ---This name is unresolved.According to The Plant List. Strychnos rupicola Pierre ex Dop is an unresolved name ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List ---Strychnos usitata Pierre ex Dop.(Unresolved.) ---Strychnos dongnaiensis Pierre ex Dop.(Unresolved.) ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ขี้กาเครือ (ปราจีนบุรี) ;[THAI: khi ka khruea (Prachin Buri).];[VIETNAM: Mã tiền leo.]. EPPO Code---SYHSS (Preferred name: Strychnos sp.) ชื่อวงศ์---LOGANIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย ลาว เวียตนาม
Strychnos rupicola เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กันเกรา (Loganiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดยJean Baptiste Louis Pierre (1833-1905) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส จากอดึต Paul Louis Amans Dop(1876 -1954) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2453 ที่อยู่อาศัย พบใน ไทย ลาว เวียตนาม ลักษณะ เป็นไม้เถามีเนื้อไม้ กิ่งมีประสีน้ำตาล เกลี้ยงมีมือเกาะ ใบรูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่กลับ กกว้าง4-7ซม.ยาว5-10.3ซม.ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบมนถึงตัด ดอกช่อ แบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ยาวได้ถึง3ซม. กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น5แฉก ผลสดทรงกลม ขนาด2-4.5ซม. เมื่อแห้งสีส้ม เมล็ดคล้ายทรงกลม ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านอีสานใช้ เปลือกต้นผสมลำต้น เม่าสร้อย ยอดหวายป่า เปลือกต้นส้านใบเล็ก และ ลำต้นตะครอง ฝนน้ำทารักษาอาการบวม *ในกรณีที่สงสัยวินิจฉัยไม่ได้ หมอว่าอาการไข้มันหลบข้างใน จะไม่มีใครดูออก หมอจะมียาทั่งไข้ (คือยาที่ฝนให้กินแล้วคนเป็นโรคอะไรก็จะแสดงออกมาให้เห็น แม้ผีทำก็แสดงออกมาให้รู้) แล้วหมอก็จะรู้จักโรคและรักษาได้ถูกต้อง ยาทั่งไข้นั้นมีดังนี้ -แฮนทำทาน (Grammatophyllum speciosum Blume) -แฮนจงอาง (Strychnos rupicola Pierre ex Dop.) -แฮนปลากั้ง (Homalomena sp.) -ย่านางแดง (Bauhinia strychnifolia Craib) ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน (https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/thp2010/ThailandHealthProfile6.pdf) ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เมล็ด
ขี้กาดง/Gymnopetalum chinense
ชื่อวิทยาศาสตร์---Gymnopetalum chinense (Lour.) Merr.(1919) ชื่อพ้อง--Has 17 Synonyms ---Basionym: Euonymus chinensis Lour.(1790) ---Bryonia cochinchinensis Lour.(1790) ---Gymnopetalum cochinchinensis (Lour.) Kurz.(1871) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2835947 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ขี้กาดง (สระบุรี), ผักแคบป่า (น่าน), มะนอยจา (ภาคเหนือ), มะนอยหกฟ้า (แม่ฮ่องสอน), กะดอม (ภาคกลาง) ;[MALAYSIA: Sipam (Malay).];[THAI: Kadom (Central); Khi ka dong (Saraburi); Khi ka noi (Saraburi); Khi ka lai (Nakhon Ratchasima); Khi ka liam (Northeastern); Phak khaep pa (Nan); Fak khao (Chiang Mai); Ma noi cha (Northern); Ma noi hok (Mae Hong Son); Ma noi hok fa (Mae Hong Son).];[VIETNAM: Cứt quạ, Ddây cứt quạ]. EPPO Code---GPTSS (Preferred name: Gymnopetalum sp.) ชื่อวงศ์---CUCURBITACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน เอเซียเขตร้อน Gymnopetalum chinense เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวในวงศ์แตง (Cucurbitaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Joao de Loureiro (1717–1791) นักพฤกษศาสตร์ชาวโปรตุเกสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Elmer Drew Merrill (1876–1956) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกันในปีพ.ศ.2462 ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกระจายพันธุ์ในภูฏาน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า เนปาล ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย ขึ้นอยู่ทั่วไปตามป่าเปิดโล่ง บนดินที่เสียไปตามถนนและในป่าแล้งที่ระดับความสูงต่ำ ในประเทศไทยพบขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่รกร้างพบได้ทุกภาค ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยล้มลุกมีเนื้อไม้ ลำต้นมีขนสากมีมือเกาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหัวใจกว้าง 3-8 ซม.ยาว 4-10 ซม.ปลายใบแหลมขอบใบหยักถึงเว้าลึก ดอกแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious) ดอกเพศผู้ ออกเดี่ยวหรือ 3-8 ในช่อดอก ใบประดับ 1-2.5ซม. ดอกเพศเมียออกเดี่ยว ก้านดอกยาว 1-4 ซม.รังไข่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1-1.2 × 0.5 ซม.สีขาว ผลรูปกระสวยกว้าง 2-2.3 ซม.ยาว 5 ซม.มีสันตามยาวประมาณ 10 สัน เมล็ดรูปทรงรีขนาด 0.7 × 0.3-0.35 ซม ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลอ่อนกินได้ แต่ผลสุกและผลแก่มีพิษ -ใช้เป็นยา ตำรายาไทยใช้น้ำต้ม เมล็ด รับประทานเป็นยาลดไข้ แก้พิษสำแลง เป็นยาถอนพิษจากการกินผลไม้ที่เป็นพิษบางชนิด ขับน้ำลาย ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี บำรุงธาตุ ผล บำรุงน้ำดี ผลอ่อน รสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ คลั่งเพ้อ เจริญอาหาร แก้สะอึก ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก แก้ไข้ รักษามดลูกหลังการแท้ง หรือการคลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบ ถอนพิษผิดสำแดง ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต ทั้งห้าส่วน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ถอนพิษผิดสำแดง รักษามดลูกหลังจากการคลอดบุตร เจริญอาหาร บำรุงน้ำดี บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น ดับพิษร้อน เป็นส่วนประกอบของตำรับยาหอมนวโกฐ ยาหอมอินทจักร์ และตำรับยาแก้ไข้จันทน์ลีลา ;-ยาพื้นบ้านอืสานใช้ผลต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต ;-ตำรายาไทยใช้ ใบคั้นน้ำหยอดแก้ตาแดง ตาอักเสบ เมล็ดต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ถอนพิษจากการรับประทานพืชพิษ ขับน้ำลาย ช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุ ;-ในเวียตนามรักษาผื่น, ปวดเมื่อย, มือจับใช้เป็นยาสำหรับผู้หญิงในช่วงการคลอดบุตร รากถูที่เท้าบีบนวด น้ำของใบรักษาบาดทะยัก ระยะออกดอก/ติดผล---กันยายน–พฤศจิกายน/กันยายน-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
ขี้ตุ่น/Hericteres angustifolia
ชื่อวิทยาศาสตร์---Helicteres angustifolia L.(1753) ชื่อพ้อง---Has 13 Synonyms. ---Helicteres parviflora Ridl.(1911) ---Helicteres salicifolia C.Presl.(1835) ---Helicteres virgata Wall. ex G.Don.(1831) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2843159 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ขี้ตุ่น, ปอขี้ตุ่น, ปอขี้ไก่, ปอเต่าไห้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ), ขี้อ้น (ภาคตะวันตกเฉียงใต้); เข้ากี่น้อย (ภาคตะวันออก); ปอมัดโป (ภาคตะวันออกเฉียงใต้); ป่าเหี้ยวหมอง (ภาคเหนือ); ไม้หมัด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ยำแย่ (ภาคใต้); หญ้าหางอ้น (ภาคเหนือ); ป่าช้าหมอง; [CAMBODIA: Saambok chea s (Khmer central).];[CHINESE: Kang-chih-ma.];[THAI: Khi tun, po khi kai, Po tao hai, Mai mat (Northeastern); Khi on, po mat po (Southwestern); Khao ki noi (Easthern); Pa hiao mong, Ya hang on (Northern); Yam yae (Peninsular); [VIETNAM: Thâu kén lá hẹp; Ổ kén; Tổ kén đực; Dó hẹp; Sơn chi ma; Dó mốc; Ổ kén hẹp lá tù.]. EPPO Code--- HCTAN (Preferred name: Helicteres angustifolia.) ชื่อวงศ์---MALVACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงฟิลิปปินส์ และออสเตรเลียฝั่งตะวันตก Helicteres angustifolia เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชบา (Malvaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296 ที่อยู่อาศัยพบที่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาค พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง เขาหินปูน ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-900 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูง1- 3เมตร ลำต้นและกิ่งมีขนสีน้ำตาลรูปดาวรวมถึง แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ช่อดอก ก้านดอก กลีบเลี้ยงด้านนอก และผล ใบเดี่ยวรูปหอกแกมรูปไข่ กว้าง1.4-5ซม.ยาว7-10ซม.ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบเรียบ เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบย่อยแบบขั้นบันไดและแบบร่างแห ก้านใบยาว 0.3-1.5 ซม. ดอกสีม่วงอ่อนออกเป็นกระจุกตามซอกใบดอกย่อยขนาด1-1.2ซม. กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นหลอดปลายแยก 5 แฉกไม่เท่ากัน มีขน กลีบดอก 5 กลีบปลายกลีบมนโคนสอบแคบเป็นก้านมีติ่ง 2 อันเกสรเพศผู้ 15 อัน ผลรูปขอบขนาน ยาว1-3 ซม.มี 5 สันมีขนฟูปกคลุมแน่นเมล็ดเมื่อแห้งมีสีดำ ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ราก ทุบกับเกลือ อมแก้ปวดฟัน รากใช้รักษาอาการปัสสาวะหยด ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้กษัยเส้น(อาการเสียดท้องบริเวณหัวหน่าว ปัสสาวะสีแดงเหลืองเป็นตะกอน) ต้มน้ำอาบรักษาแผลเบาหวาน รักษาพิษงู ใบ รสเฝื่อนขม ตำพอกหรือทา แก้คางทูม สมานบาดแผล ทั้งต้น รสเฝื่อนขม ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเกร็งท้อง แก้หวัดแดด แก้อาหารเป็นพิษ แก้ปวดเมื่อย แก้ฝี ขับเสมหะ สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินเพราะอาจทำให้แท้งได้ เปลือก แก้ไข้จับสั่น ฝาดสมาน ให้เส้นใย ราก รสเฝื่อนขม ต้มดื่ม แก้หวัดแดด แก้ร้อนใน แก้บิดเรื้อรัง ;-ในเวียตนามใช้รากและทั้งต้น รสขมเล็กน้อยคุณสมบัติในการสมาน ต้านการอักเสบ ต่อต้านอาการคัน มักจะใช้ในการรักษาโรคมาลาเรีย หัด, ท้องเสีย, บิด, ลำไส้, โรคผิวหนัง, ริดสีดวงทวาร, ลำไส้ใหญ่ ปวดศีรษะกระหายน้ำ ยังใช้ในการรักษาพิษงู ใช้ เป็นยาแก้พิษเพื่อล้างพิษและล้างสิวสะเก็ดเงิน -อื่นๆ ผิวลำต้น ขูดออกผสมกับเปลือกยางบงใช้ทำธูปหอม ระยะออกดอก/ติดผล--- เมษายน- กรกฎาคม/พฤษภาคม-สิงหาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
เข็มดอย/Duperrea pavettifolia
ชื่อวิทยาศาสตร์---Duperrea pavettifolia (Kurz) Pit.(1924) ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms ---Ixora pavettifolia (Kurz) Craib (1911) ---Mussaenda pavettifolia Kurz (1877) ---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:748653-1#synonyms ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---เข็มดง (เชียงใหม่), เข็มดอย (ภาคเหนือ) ;[CHINESE: Chang zhu shan dan.];[THAI: Khem dong (Chiang Mai); Khem doi (Northern).]. EPPO Code---1RUBF (Preferred name: Rubiaceae.) ชื่อวงศ์---RUBIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน พม่า เวียตนาม ลาว ไทย กัมพูชา Duperrea pavettaefolia เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Wilhelm Sulpiz Kurz (1834-1878) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Charles-Joseph Marie Pitard-Briau ( 1873-1928 ) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในปีพ.ศ. ที่อยู่อาศัย พบใน จีน (กวางสี ไหหลำ ยูนนาน) ที่ระดับความสูง 100-1100 เมตร. [กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม] เติบโตในป่าดิบชื้นและป่าดงดิบผสมป่าผลัดใบ มักอยู่ใกล้ลำธารเหนือหินปูนหรือหินทราย ที่ระดับความสูงตั้งแต่ <100–900 (1250) เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาค ภาคเหนือ: แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, น่าน, ลำพูน, ลำปาง, พิษณุโลก (ภูสอยดาว NP) ; ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:เพชรบูรณ์ (ภูเมี่ยง), หนองคาย; ภาคตะวันออก:ชัยภูมิ, นครราชสีมา; ภาคใต้ - ตะวันตก: อุทัยธานี, กาญจนบุรี (เขางิ้วใหญ่); ภาคกลาง:ชัยนาท; ภาคตะวันออกเฉียงใต้: ปราจีนบุรี, ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด; ภาคใต้ ตรัง ลักษณะ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง1.5-6 เมตร กิ่งก้านมีขนนุ่ม ใบเดี่ยวออกตรงข้ามรูปรีแกมขอบขนานถึงรูปหอกกลับ กว้าง3-9ซม.ยาว8-19ซม. โคนใบสอบปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบมีขนสากคาย มีหูใบก้านใบยาว 3-8 มม ดอก สีขาวออกเป็นช่อแน่น กลีบรองดอก5กลีบสีขาว กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบมน5แฉก เกสรผู้5อันอยู่ภายในหลอดดอก เกสรเมียโผล่พ้นกลีบดอกส่วนปลายรูปไข่ ผลเป็นผลสดทรงกลมขนาด5-10มม.เมื่อแก่สีดำ มีเมล็ด1-2เมล็ด ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2018 ระยะออกดอก/ติดผล--- (มกราคม) เมษายน - มิถุนายน (กรกฎาคม)/(มิถุนายน) กรกฎาคม - ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
เข็มสร้อย/Daphne composita
ชื่อวิทยาศาสตร์---Daphne composita (L.f.) Gilg.(1894) ชื่อพ้อง---This name is a synonym of Eriosolena composita (L.f.) Merr.(1934) ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2756922 --Basionym: Scopolia composita L.fil.(1781).See https://www.gbif.org/species/5523654 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น--เข็มสร้อย เข็มขาวป่า เหมือดสร้อย;[CHINESE: Mao hua rui xiang.];[THAI: Khem soi, Khem pa, Mueat soi.]; EPPO Code---DAPSS (Preferred name: Daphne sp.) ชื่อวงศ์---THYMELAEACEAEถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ เวียตนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา ชวา บอร์เนียว Daphne composita เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กฤษณา (Thymelaeaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carolus Linnaeus the Younger (1741–1783) นักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดนลูกชายของCarl Linnaeusและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Ernest (or Ernst) Friedrich Gilg (1867–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2437
ที่อยู่อาศัยพบขึ้นกระจายในจีน (ยูนนาน) คาบสมุทรมาเลเซีย (ปาหัง สลังงอร์, มะละกา) ชวา, มาเลเซีย, อินเดีย , เวียดนาม, สุมาตรา บอร์เนียว, พม่า (ชิน มอญ Taninthayi), ภูฏาน, ลาว ไทย พบขึ้นตามป่าไม้เนินเขาเตี้ยๆ ที่ระดับความสูง1300-1800เมตร ประเทศไทยพบทุกภาค กระจายอยู่ตามภูเขาที่ลาดชัน และในป่าดงดิบ ที่ระดับความสูง 2,000 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 4-10 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรี กว้าง 1.5-4.5 ซม.ยาว 6-12 ซม.ผิวใบด้านล่างเกลี้ยงเห็นเส้นใบชัดเจนก้านใบ 2-5 มม.เกลี้ยง ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกแน่น มีใบประดับรองรับ ดอกย่อย6-14ดอก กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นหลอด มีขนด้านนอก ปลายกลีบแยกเป็น4แฉกแหลม ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้ 8 อัน ปลายรังไข่มีขนหนาแน่น ผลสีม่วงดำรูปไข่ป้อมอ่อนนุ่มขนาด 10-15x5 มม เมล็ดมีขนาดเล็กขนาด5 มม. ระยะออกดอก---ธันวาคม-มกราคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
ไข่ปูลิ้นแลน/Rubus ellipticus var. obcordatus
ชื่อวิทยาศาสตร์---Rubus ellipticus J.E. Smith.(1815) ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/rjp-10130 ---Basionym: Rubus ellipticus f. obcordatus Franch.(1890) ---Rubus obcordatus (Franch.) Thuan.(1968) ชื่อสามัญ--Golden Evergreen Raspberry, Yellow Himalayan raspberry, Cheeseberry, Evergreen raspberry, Molucca raspberry, Wild raspberry. ชื่ออื่น--- ไข่ปูลิ้นแลน หนามไข่ปู, มะฮู้, ไข่กุ้งพู, หนามไข่กุ้ง, บ่าฮู้ดอย, มะฮู้หลวง, ไข่กุ้ง, ไข่ปู, กูวาซา, โก้วอาซา, ตาซู;[AUSTRALIA: Yellow raspberry.];[CHINESE: Tuǒ yuán xuán gōu zi, Zai yang pao.];[INDIA: Hinsal, Jotelupoka, Lalanchu, Shunu mukram.];[MAURITIUS: Piquant loulou.];[NEPAL: Ainselu, Kumaoni.];[PHILIPPINES: Buhadoi, Bunut, Hoan bao, Iinit gan kumadop, Kokobod, Mahuluang, Nam-khaikung, Quantsoe.];[THAI: Khai kung phu, Nam khai kung, Bahu doi, Mahu luang, Khai kung,(General); Khai pu (Chiang Mai); Ku-wa-sa, Kow-a-sa, Ta-su (Karen-Chiang Mai) (Lawa-Chiang Mai).];[VIETNAM: Cây Ngấy Lá Lê, Ngây long.]. EPPO Code---RUBEL (Preferred name: Rubus ellipticus.) ชื่อวงศ์---ROSACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จากอินเดีย ตอนใต้ของจีน อินโดจีน จนถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ Rubus ellipticus เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวกุหลาบ (Rosaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Sir James Edward Smith (1759 –1828)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปีพ.ศ.2358 มีการจำแนกสายพันธุ์สองชนิดคือ: -Rubus ellipticus subsp. ellipticus -Rubus ellipticus subsp. unranked Kuntze, (1891) Variety : Rubus ellipticus var. obcordatus (Franch.) Focke.(1911) (แสดงในหน้านี้ 1 สายพันธุ์)
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน เนปาล อนุทวีปอินเดีย อินโดจีน และฟิลิปปินส์ มีการกระจายอย่างกว้างขวางผ่านแหล่งที่อยู่อาศัยของความชื้นหลากหลายตั้งแต่เนินเขาที่แห้งไปจนถึงขอบของนาข้าวระดับล่างพบตามป่าดิบร้อนชื้นที่ระดับความสูง 300-2,600 เมตร ขึ้นตามพุ่มไม้และเนินเขาที่เปิดโล่ง ที่ระดับความสูง สูงสุด 2,600 เมตรในเทือกเขาหิมาลัย.ในประเทศจีนพบใน กวางสี กุ้ยโจว เสฉวน ทิเบต ยูนนาน [ลาว ไทย เวียดนาม] ตามที่ลาด ถนน พุ่มไม้ที่ระดับความสูง 300-1,000 เมตร ได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งใน 100 สายพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานที่สุดในโลก (Lower et al., 2000 ) และเป็นสายพันธุ์ที่ต้องห้ามในแอฟริกาใต้ (NEMBA Category 1a) ลักษณะ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยสูง1-3 (14.5) เมตร .กิ่งก้านเป็นเหลี่ยมมีขนสีน้ำตาลแดงและมีหนามแหลมแข็งจำนวนมาก ใบประกอบมีใบย่อย 3 ใบ ( imparipinnate 3-foliolate) ก้านใบยาว 2-6 ซม ก้านใบของใบปลายมีความยาว 2-3 ซม แผ่นใบหนาท้องใบมีขนหนานุ่ม สีเทา ขนาดของใบย่อย 4–8(–12) × 3–6(–9) ซม..ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบสีขาว ยาว 6-10 ซม. ดอกมักออกดอกเดี่ยวหรือหลายดอก ถึง 10 ดอกขึ้นไป ขนาดของดอก 0.8-1.2 ซม.กลีบรองดอก 5 กลีบ มีขนโดยรอบ กลีบดอก 5 กลีบรูปไข่กลับ ขอบกลีบหยักหลุดร่วงง่าย เกสรผู้จำนวนมาก ผล เป็นผลกลุ่มมีผลย่อยขนาดเล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม.จำนวนมาก รวมกันเป็นก้อนค่อนข้างกลมสีส้มเหลือง ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ปลูกได้ง่ายในดินร่วนปนระบายน้ำได้ดีในแสงแดดหรือกึ่งร่ม แม้ว่าจะติดผลได้ดีที่สุดในตำแหน่งที่มีแดด ในปีแรกของการเจริญเติบโต ลำต้นผลิตเพียงใบและไม่ออกดอก สร้างกิ่งก้านดอกในปีที่สองแล้วตายหลังจากติดผล พืชสามารถขึ้นรูปได้อย่างรวดเร็วและมีความหนาแน่นสูง เมื่อปลูกในเขตอบอุ่น สายพันธุ์นี้สามารถออกดอกและผลได้ตลอดทั้งปี ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลสุกกินได้มีรสหวานอมเปรี้ยว เป็นแหล่งที่ดีของสารอาหารรองเช่นแอนโธไซยานิน ฟีนอล ฟลาโวนอยด์และวิตามินซีพวกเขามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในระดับปานกลางถึงดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ผลไม้นำมาใช้ประโยชน์เช่นการแปรรูปเป็นแยม น้ำส้มสายชูและไวน์ ฯลฯ มีการปลูกเชิงพานิชย์ในอินเดีย ใบตากแห้งนำมาชงดื่มแทนชาได้ -ใช้เป็นยา พืชใช้เป็นยาสมานแผลและยาแก้ไข้ น้ำผลไม้ใช้ในการรักษาไข้อาการจุกเสียด อาการไอและเจ็บคอ ใช้ในยาจีนโบราณเพื่อต่อต้านสารพิษกำจัดการอักเสบและบวมบรรเทาอาการปวดและการตกเลือด เปลือกชั้นในนั้นใช้ในยาทิเบตกล่าวกันว่ามีรสหวานอมเปรี้ยวบวกกับความร้อน เป็นยาบำรุงไตและยาขับปัสสาวะ ในประเทศจีนใช้รากและทุกส่วนของพืชทั้งหมดเป็นยาแก้พิษ รากรักษาอาการปวดฟัน กล้ามเนื้ออักเสบ ประจำเดือนผิดปกติ -วนเกษตรใช้ ปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินและการอนุรักษ์ดิน มีการปลูกแบบดั้งเดิมเป็นรั้วมีชีวิต ในเทือกเขาหิมาลัยทิศตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งจะช่วยในการแยกปศุสัตว์และสัตว์อื่น ๆใช้ปลูกเพื่อเป็นเครื่องหมายของขอบเขตที่ดิน มักใช้เป็นสายพันธุ์บุกเบิกธรรมชาติปูทางเพื่อพัฒนาไปเป็นป่า นอกจากนี้ยังมีการใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ -อื่น ๆ รากมีสารแทนนินมากกว่า 40% ที่สามารถนำมาใช้เป็นสารสกัดแทนนิน ใช้ย้อมสีและฟอก -สีย้อมสีม่วงถึงสีน้ำเงินคล้ำได้มาจากผลไม้ ส่วนไม้ใช้ทำฟืน ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2020 ระยะออกดอก---เมษายน ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง ชำราก
|
คราม/Indigofera tinctoria
ชื่อวิทยาศาสตร์---Indigofera tinctoria L.(1753) ชื่อพ้อง---Has 15 Synonyms ---Anila tinctoria (L.) Kuntze.(1891) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-4249 ชื่อสามัญ---Indigo, True indigo, Ceylon Indigo, Bengal Indigo, Dyers Indigo, Indian indigo, Madras Indigo, Wild Indigo, Black Henna. ชื่ออื่น---คราม (ทั่วไป), นะฆอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน);[ARABIC: Nil.];[BRAZIL: Anil.];[CHINESE: Mu lan.];[CUBA: Añil; Añil cimarrón, Añil de Guatemala.];[DUTCH: Indigoboom, Indigogewassen.];[FRENCH: Indigotier, Indigotier des Indes, Indigotier tinctorial.];[GERMAN: Indigostrauch, Faerber- Indigostrauch, Färberindigostrauch.];[HAITI: Digo digot.];[HINDI: Neel, Neelini.];[INDONESIA: Tarum, Tugum, Tarum kaju, Tom jawa, Tagom-tagom.];[IRAN: Basma.];[ITALIAN: Indaco domestico, Indigofera, Indigo Sauvage, Pianta Dell' Indaco.];[JAPANESE: Taiwankomatsunagi, Nanbanai, Taiwan Komatsuna Gi.];[LESSER ANTILLES: French indigo.];[MADAGASCAR: Aika.];[MALAYSIA: Nila.];[MYANMAR: Me, Me-nai, Me-net.];[NIGERIA: Báábán Kóóre, Báábán Rínii.];[PHILIPPINES: Dagum; Malatayum (Tagalog).];[POLISH: Indygowiec barwierski, Indygowiec farbiarski, Anileiro, Indygo.];[PORTUGUESE: Anileiro, Andeira, Anileira-da-índia, Indigo.];[PUERTO RICO: añil verdadero.];[RUSSIA: Indigofera Krasilnaya.];[SANSKRIT: Neelika, Nnilapushpa.];[SENEGAL: El Badara.];[SINHALA: Nil-Awari.];[SPANISH: Indigo, Ruda Cimarrona.];[TAMIL: Avuri, Neela Amari, Neela Avari, Nila Amari, Nili.];[THAI: Khram (General); Na-kho (Karen-Mae Hong Son).];[VIETNAM: Chàm, Chàm quả cong.]. EPPO Code---INDTI (Preferred name: Indigofera tinctoria.) ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE -PAPILIOIDEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา, ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---แอฟริกาเขตร้อน อนุทวีปอินเดีย อินโดจีน Indigofera tinctoria เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296 ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดใน แอฟริกาเขตร้อน จากแอฟริกาตะวันตก Tanzania ถึง แอฟริกาใต้, อนุทวีปอินเดียกับอินโดจีน ที่พบได้ในระดับความสูงถึง 1,600 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง0.8-1ซม.ยาว1.5-3.5ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว ออก เป็นช่อที่ซอกใบ มีสีเขียวอ่อนอมครีม เริ่มบานมีสีแดงหรือชมพูฝักคล้ายฝักถั่วความยาวของฝัก 5-8ซม.เมล็ดขนาดเล็กสีครีมอมเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน รูปทรงกระบอกอยู่ภายในฝัก มีเมล็ดสีครีมอมเหลืองประมาณ 8 –12 เมล็ด ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เป็นพืชเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน สปีชีส์นี้มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดินบางชนิดแบคทีเรียเหล่านี้ก่อตัวเป็นก้อนบนรากและตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ ไนโตรเจนบางส่วนนี้ถูกใช้ในพืชที่กำลังเติบโต แต่บางชนิดก็สามารถใช้กับพืชชนิดอื่นที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียง ใช้ประโยชน์---สายพันธุ์นี้เป็นแหล่งสำคัญมีประวัติยาวนานในการใช้เป็นสีย้อม เนื่องจากมีสีน้ำเงินเข้มที่น่าทึ่งความคงทนของสีที่ยอดเยี่ยมต่อแสงและความหลากหลายของสีที่ได้จากการรวมเข้ากับสีย้อมธรรมชาติอื่น ๆ จึงถูกเรียกว่า 'ราชาแห่งสีย้อม' และไม่มีพืชย้อมสีอื่น ๆ ในอารยธรรมมากที่สุดเท่าประเภทนี้ เคยปลูกกันอย่างกว้างขวางเพื่อจุดประสงค์นี้ แต่ด้วยการมาถึงของสีย้อมสังเคราะห์ความต้องการพืชได้ลดลงอย่างมาก เผ่าพันธุ์นี้มนุษย์ใช้มานานกว่า 4,000 ปีโดยมีตัวอย่างการใช้ในผ้ามัมมี่อียิปต์โบราณ พืชชนิดนี้ยังมีการใช้แบบดั้งเดิมอื่น ๆ อีกมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยาแผนโบราณ -ใช้กิน สีย้อมสีน้ำเงินเข้มที่ได้จากใบบางครั้งใช้เพื่อต่อต้านสีเหลืองเล็กน้อยของน้ำตาลไอซิ่ง -ใช้เป็นยา แช่ใบ (บางครั้งรวมกับน้ำผึ้งหรือนม) ใช้ในการรักษาความผิดปกติ รวมถึงโรคลมชักและความผิดปกติของประสาท โรคหอบหืดและหลอดลมอักเสบ ไข้ กระเพาะอาหารตับไตและม้าม; และป้องกันเป็นโรคพิษสุนัขบ้า นำมาใช้ภายนอก, ใบจะถูกทำเป็นครีมสำหรับการรักษาโรคผิวหนัง, แผล, แผล, แผล, แผลและริดสีดวงทวาร รากจะถูกนำไปใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน ซิฟิลิส หนองในและนิ่วในไต ในอินเดียใช้ทิงเจอร์จากเมล็ดฆ่าเหา ใช้รากแช่เป็นยาแก้พิษงูกัดและใช้รักษาแมลงและแมงป่องต่อย น้ำคั้นจากใบสดช่วยบำรุงเส้นผม ป้องกันผมหงอก -อื่น ๆ สารสกัดครามทั้งต้น (ยกเว้นใบ) เป็นส่วนผสมในสีที่ใช้ย้อมผม ครามยังเป็นพืชที่มีการนำมาใช้ย้อมสีมากที่สุด เนื่องจากเป็นพืชให้สีน้ำเงินใช้ในการย้อมฝ้ายได้ผลดีโดยใช้ ต้นสดหมักในน้ำ สีน้ำเงินจะตกอยู่ที่ก้นภาชนะ เทใส่ถุงผ้าหนาๆทับให้สะเด็ดน้ำ 1-2น้ำ นำผงสีไปทำให้แห้ง ใช้เป็นสีย้อมผ้า สารที่มีสีคือ indigo-blue คุณสมบัติ พิเศษอีกประการที่มีงานวิจัยทั้งในอเมริกา และญี่ปุ่นก็คือ ผ้าที่ย้อมจากครามสามารถป้องกันผิวของผู้สวมใส่จากรังสีอัลตราไวโอเลตได้ ระยะออกดอก/ติดผล---สิงหาคม-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
ครามขน/Indigofera hirsuta
ชื่อวิทยาศาสตร์---Indigofera hirsuta L.(1753) ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms ---Anila hirsuta (L.) Kuntze.(1891) ---Indigofera ferruginea Schum. & Thonn.(1827) ---Indigofera fusca G.Don.(1837) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-3929 ชื่อสามัญ---Hairy indigo, Hirsute indigo, Rough hairy indigo, Small-leaved indigo, Anil indigo. ชื่ออื่น---ครามขน, ขี้หนอนแดง ;[AMERICAN: Rough hairy indigo.];[CHINESE: Ying mao mu lan.];[COLOMBIA: Anil de pasto.];[BRAZIL: Anileira, Anileira-do-pasto, Anil-roxo, Indigo.];[FRENCH: Indigotier herisse.];[GERMAN: Behaarter Indigostrauch.];[HINDI: Chota Sirphonka.];[INDONESIA: Jukut lulut (Java); Tebawang amjak (Sulawesi); Tom-toman.];[JAPANESE: Tanuki-komatsunagi.];[MADAGASCAR: Famafasambo; Patry.];[MALAYSIA: Cermai burong.];[PAPUA NEW GUINEA: Tildjil, Wiereka.];[PHILIPPINES: Tayom (Ilocano); Salain, Tagum (Bisaya); Tina-tinaan (Tagalog).];[PORTUGUESE: Alfafa-do-pará, Anileira felpuda, Falso-anil, Falsa-anileira, Mata-pasto-preto, Indigo, Anileira, Anileira-do-pasto, Anil-roxo.];[SPANISH: Añil dulce, Anil de pasto.];[THAI: Khram khon (northern).];[VIETNAM: Cây cỏ chàm, Cây sục sạc ma, Chàm lông ]. EPPO Code---INDHI (Preferred name: Indigofera hirsuta.) ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE -PAPILIOIDEAE) ถิ่นกำเนิด--- ทวีปแอฟริกา เขตกระจายพันธุ์---จีน เอเซียใต้ แอฟริกา อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย Indigofera hirsuta เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว(Fabaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296 ที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นตามธรรมชาติในแอฟริกาจากเซเนกัลไปยังซูดานและคองโก, แซมเบีย, โมซัมบิก, แองโกลาและมาดากัสการ์, กระจายไปเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ตอนเหนือของออสเตรเลียและควีนส์แลนด์ เกิดขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เพาะปลูกและของเสียในทุ่งหญ้าสะวันนาป่าแห้งและป่าผลัดใบบนฝั่งแม่น้ำและชายหาดระหว่างระดับความสูง 0-1,500 เมคร ลักษณะ เป็นพืชอายุหลายปีลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามากสูง 0.3-1.5 เมตรลำต้นมีขนสีน้ำตาลและสีสนิม ใบประกอบแบบขนนกรูปมนรีเรียงสลับ กว้าง2.5-10 ซม. ยาว 5-9 (-11) ซม. ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอดยาว 20-30 ซม. ดอกมีสีขาวแดง-ชมพูมีขนยาวประมาณ 4-6 มม มีขนแข็งสีน้ำตาลปกคลุมทั้งลำต้นและก้านช่อดอก ผลกลมยาว1-2 มม.เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2.5 มม.ปลายมีติ่งหนามแข็ง เมล็ดรูปกรวยสีน้ำตาล 6-9 เมล็ด ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งที่มีแดดแต่ทนร่มเงาบางส่วนได้ ดินที่มีการระบายน้ำดี ไม่ทนน้ำท่วมขัง ดิน ที่เป็นกรดอ่อนหรือด่างเล็กน้อย ชอบ pH ในช่วง 5.5 - 6.5 สามารถปรับตัวให้เข้ากับดินร่วนปนทรายที่มีค่า pH 4.5-8.0 ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงดิน สปีชีส์นี้มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดินบางชนิดแบคทีเรียเหล่านี้ก่อตัวเป็นก้อนบนรากและตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ ไนโตรเจนบางส่วนนี้ถูกใช้ในพืชที่กำลังเติบโต แต่บางชนิดก็สามารถนำมาใช้กับพืชชนิดอื่นที่ปลูกใกล้เคียงได้ ใช้ประโยชน์---พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยาและสีย้อม (แหล่งที่มาของสีครามเล็กน้อย) มักจะปลูกเป็นพื้นคลุมดินและปุ๋ยพืชสด - ใช้เป็นยา ใช้ในการรักษาเงื่อนไขต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับตับ ปัญหาเกี่ยวกับปอด โรคคุดทะราด อัมพาต โรคลมชัก ชักกระตุกและความวิกลจริต รากใช้ขับปัสสาวะ ถูกใช้เพื่อรักษาปัญหาไต, ริดสีดวงทวาร, กามโรคและโรคอาหารเป็นพิษ ;-ใช้ในการแพทย์พื้นบ้านในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้ยาต้มจากใบ แก้ปัญหากระเพาะอาหาร (ท้องเสีย) ;-ในกานา (โกลด์โคสต์) ใบใช้เป็นโลชั่นสำหรับโรคคุดทะราด ;-ใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต - วนเกษตรใช้ เป็นปุ๋ยพืชสดและพืชคลุมดินที่มีคุณค่าใช้ในสวนชากาแฟและสวนยางในเอเชียและในสวนส้มในฟลอริด้า รวมทั้งช่วยควบคุมการกัดเซาะ - อื่น ๆ สับเป็นท่อนๆวางที่ปากไหปลาร้า ป้องกันหนอนขึ้น ยาฆ่าแมลงทำจากรากและเมล็ด ใบผสมกับหญ้าเป็นพืชอาหารสัตว์- ใบเป็นแหล่งกำเนิดของสีย้อมคราม ในแอฟริกาตะวันตกมีการใช้สีย้อมเป็นครั้งคราว ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฎาคม-กันยายน/ตุลาคม-ธันวาคม (พืชสามารถออกดอก/ติดผลเป็นระยะตลอดปี) ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
ครูมวย/Anisochilus harmandii
ชื่อวิทยาศาสตร์---Anisochilus harmandii Doan ex Suddee & A.J. Paton.(2004) ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-220331 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ครูมวย(ตราด), ยางดำ (อุบล); [THAI: Khru muai (Trat); Yang dam (Ubon Ratchathani).]. EPPO Code---AIHSS (Preferred name: Anisochilus sp.) ชื่อวงศ์---LAMIACEAE (LABIATAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---กัมพูชา ลาว ไทย Anisochilus harmandii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเพรา (Lamiaceae หรือ Labiatae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Tiffany Marie Doan (born 1988) นักชีววิทยาชาวอเมริกัน จากอดีต สมราน สุดดี นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษชาวไทย และ Alan J. Paton (born. 1963) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2547
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอินโดจีน พบขึ้นตามโขดหินในที่โล่ง ๆ ในป่าเต็งรังหรือป่าเบญจพรรณในพื้นที่ลุ่ม ที่ระดับความสูง 20 - 900เมตร ในประเทศไทยพบกระจายห่าง ๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ที่ทุ่งค่าย จังหวัดตรัง ขึ้นตามทุ่งหญ้าที่ชื้นแฉะ ในป่าเต็งรังหรือป่าเบญจพรรณ ความสูงถึงประมาณ 900 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-1.5 เมตร ลำต้นสี่เหลี่ยม โคนต้นเป็นเนื้อไม้ที่ฐาน ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ใบย่อยเรียงตรงข้ามหรือเป็นวงรอบ ใบรูปรีถึงใบหอก หรือรูปขอบขนาน กว้าง2-2.5ซม.ยาว5-6ซม. มีขนสั้นหนานุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0-1ซม.มีขนสั้น ดอกช่อแบบช่อฉัตรออกที่ปลายยอดยาว 10-15ซม.ใบประดับรูปไข่หรือรูปใบหอกมีขนสั้นมีต่อม ดอกย่อยอัดกันแน่นไม่มีก้านดอก กลีบดอกย่อยสีขาว ยาว 8 - 10 มม กลีบเลี้ยงเยาว 1 - 1.2 มม.ชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาวแกมม่วงอ่อน ผลแห้งมีผลย่อย 4 ผลรูปไข่กลับแบนสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ยาว 1 มม ใช้ประโยชน์---ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ลำต้นต้มน้ำดื่ม รักษาโรคกระเพาะอาหาร ขับลม ระยะออกดอก/ติดผล---กันยายน - กุมภาพันธ์/ตุลาคม - มีนาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
คลุ้ม/Donax grandis
ชื่อวิทยาศาสตร์---Donax canniformis (G.Forst.) K.Schum.(1892) ชื่อพ้อง---Has 20 Synonyms. ---Basionym: Thalia canniformis G.Forst. ---Donax grandis (Miq.) Ridl.(1899) ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-241421 ชื่อสามัญ---Donax, Common Donax ชื่ออื่น---คลุ่ม, คลุ้ม (ทั่วไป), แหย่ง, กะเตียง, คล้าย, คล้า ;[BRUNEI: Bamban, Bamban batu.];[CAMBODIA: Daem run.];[CHINESE: Zhu ye jiao, Lán yǔ zhú yù.];[INDONESIA: Bamban (Malay; Javanese; Sundanese); Bangban (Sundanese); Moa (Moluccas); Bemban, Bemban ayer, Bemban gajah, Buluh leck.(Malay).];[MALAYSIA: Bemban, Bemban Gajah, Bemban Raya, Bemban Ular Bukit, Tongat setan (Malay); Lias (Dusun).];[PHILIPPINES: Bamban, Banban (Tagalog; Ilokano; Bisaya; Manobo; Sulu; Bukidnon); Matalbak, Baras-barasan (Tag.); Daromaka (Ilk.); Matapal (Isn.)];[THAI: Klah, Khlum (General); Yang, Ka-tieng.];[VIETNAM: Dong s[aaj]y.] EPPO Code---DOZCA (Preferred name: Donax canniformis.) ชื่อวงศ์---MARANTACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---หมู่เกาะอันดามัน ,พม่า, จีน ,เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ,นิวกีนี, เมลานีเซียและไมโครนีเซีย สกุล Donax มีเพียง 1สายพันธุ์ที่ได้รับการยอมรับคือ Donax canniformis (G.Forst.) K.Schum. Donax grandis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ เท้ายายม่อม (Marantaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Johann Georg Adam Forster (1754 –1794) นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน (พฤกษศาสตร์ กีฏวิทยาและมานุษยวิทยา)และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Karl Moritz Schumann (1851–1904) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2435 ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการกระจายอย่างกว้างขวางจากหมู่เกาะะอันดามัน ,พม่า,ภาคใต้ของประเทศจีน ไต้หวัน ไทย กัมพูชา ลาว เวียตนาม มาลายา สุมาตรา ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ,นิวกีนี , นิโคบาร์ โมลุกกะ พบได้ทั่วไปในป่าทุติยภูมิโดยเฉพาะตามลำธารที่ระดับความสูงถึงประมาณ 100 เมตร ลักษณะ เป็นไม้เนื้ออ่อนล้มลุกอายุหลายปี เป็นพุ่มหรือเป็นกอ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นตั้งตรง สูง 1-3 (-5) เมตร มีฐานกว้าง 1 - 2.5 เมตร กาบใบถึง 15 ซม. ก้านใบ 8--20 ซม. หนาเป็นทรงกระบอก แผ่เป็นแผ่นหุ้ม ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่แกมใบหอกกว้าง 5-12 ซม.ยาว 10-23 ซม. โคนใบมนป้านปลายใบเรียวแหลม ดอกช่อออกที่ซอกใบยาว20ซม. ช่อดอกห้อยลง ดอกออกเป็นคู่มีต่อม กลีบเลี้ยง3กลีบเป็นหลอดยาว 8-10 มม.กลีบดอกเชิงเส้นขนาด 1-1.5 ซม. x 2-3 มม.สีขาวนวล ผลสดทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม.เมื่อสุกสีขาวขุ่น ผลแห้งไม่แตกมีเมล็ด 1-3 เมล็ด กลมรีสีน้ำตาลรูปไข่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-8 มม. ใช้ประโยชน์---ใช้กิน เหง้า กินได้ ในอินเดียใช้แป้งทีได้จากเหง้าบางครั้งใช้สำหรับการทำขนม -ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านอีสานใช้ หัว ใต้ดินปรุงเป็นยาแก้ไข้หัว (ไข้หัวคือมีไข้ ร่วมกับผื่นหรือตุ่มเช่น หัด อีสุกอีใส) และรักษาโรคประดง (อาการโรคผิวหนังเป็นเม็ดคล้ายผด คันมาก มีไข้ร่วมด้วย)- ในที่อื่น ๆ-ส่วนที่ใช้ ใช้ราก ลำต้น ใบ ในปาปัวนิวกินีใช้สำหรับอาการปวดหูและหูอักเสบ ในอินโดนีเซียใช้สำหรับฝี ในมาเลย์ใช้ SAP จากหน่อเพื่อรักษาโรคตาแดง เหง้าใช้ในการรักษาโรคงูสวัด ยาต้มใบและรากทิ้งให้เย็นใช้อาบแก้ไข้ และใช้เป็นเครื่องดื่มบำรุงสายตา ในจีนใช้ รักษาอาการไอและโรคหอบหืด -ใช้อื่น ๆ แก่นของลำต้นที่ใช้สำหรับการทำกระดาษ ในนิวกินีใบไม้ใช้เป็นกระดาษมวนบุหรี่ ลำต้นแห้งแบบแยกใช้สำหรับการทอตะกร้าทำอวนและหมวก ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เมล็ด, เหง้า, แยกกอ
ควินิน/Cinchona ledgeriana
ชื่อวิทยาศาสตร์---Cinchona calisaya Wedd.(1848) ชื่อพ้อง---Has 31 Synonyms. ---Cinchona ledgeriana (Howard) Bern.Moens ex Trimen.(1881) ---Quinquina carabayensis (Wedd.) Kuntze.(1891) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-40562 ชื่อสามัญ--- Cinchona, Quinine,Yellow cinchona, Peruvian Bark, Chinabark, Ledgerbark, Jesuit's bark. ชื่ออื่น---ควินิน (ภาคกลาง); ควินินเปลือกแดง ;[CHINESE: Jin ji na shu, Shu pi.];[FRENCH: Quinquina jaune.];[GERMAN: Chinarindenbaum, Chininbaum, Fieberrindenbaum, Gelber Chinarindenbaum.];[MALAYSIA: Kuinin.(Malay).];[PORTUGUESE: Quina-amarela, Quineira-amarela.];[SPANISH: Quino.];[THAI: Khwi nin (Central).]. EPPO Code---CIHCA (Preferred name: Cinchona calisaya.) ชื่อวงศ์---RUBIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาใต้-โบลิเวีย เปรู Cinchona calisaya เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Hugh Algernon Weddell (1819–1877) นักพฤกษศาสตร์ที่เกิดในอังกฤษเติบโตในฝรั่งเศส ในปีพ.ศ.2391 ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาแอนดีสของเอกวาดอร์และเปรูพืชเขตร้อนชื้นซึ่งพบได้ที่ระดับความสูง 400 - 3,000 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นสูง 8-15 (-25) เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบกลมรีปลายใบแหลมสั้น ยาวประมาณ 7-16 (-21.5) × 2.5-6 (-11) ซม.หลังใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีเขียวอ่อนกว่า มักจะมีสีแดง และมีขนสั้นๆตามเส้นใบใหญ่ หูใบรูปใบหอกอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวหรือชมพู กลีบเลี้ยงดอกติดกันเป็นหลอดสั้น ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 2.4-3.6 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ตามกลีบดอกมีขนสีขาว ผลแก่แห้งแตกได้ ออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ด 25 เมล็ด ลักษณะเมล็ดเป็นแผ่นบางๆสีน้ำตาลแดง 3-10 × 1.6-3.7 มม. ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เติบโตได้ดีทั้งในตำแหน่งที่ทีแดดจัดและกึ่งร่มเงา ชอบดินที่มีการระบายน้ำดี pH ในช่วง 5 - 6 ทนได้ 4.5 - 6.5 และสามารถเติบโตได้ในดินที่มีกรดมาก ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ควินินสกัดจากเปลือกของต้นไม้ใช้เป็นเครื่องปรุงรสขมในน้ำโทนิคและเครื่องดื่มอัดลม ใช้เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร -ใช้เป็นยา มีประวัติใช้เป็นยามายาวนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรักษาไข้และมาลาเรีย การวิจัยสมัยใหม่แสดงให้เห็นว่าเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับไข้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาและป้องกันโรคมาลาเรีย เปลือกประกอบด้วยอัลคาลอยด์ชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะควินิน สูงถึง 70 - 80% ของอัลคาลอยด์ทั้งหมดที่อยู่ในเปลือก เปลือกมีรสขมฝาดใช้เป็นยาชูกำลัง เป็นสมุนไพรที่ช่วยลดไข้ผ่อนคลายอาการชัก เป็นยาต้านมาลาเรีย (อัลคาลอยด์ควินิน) และชะลอการเต้นของหัวใจ เปลือกนั้นมีการทำขึ้น เป็นการเตรียมที่หลากหลาย เช่นยาเม็ด สารสกัดของเหลว ทิงเจอร์และผง ใช้ภายในในการรักษาโรคมาลาเรีย, โรคประสาท, ปวดกล้ามเนื้อและภาวะการเต้นของหัวใจ เป็นส่วนผสมในการรักษาไข้หวัดใหญ่ สารสกัดจากของเหลวรักษาอาการเมาเหล้า นอกจากนี้ยังใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากในการรักษาอาการเจ็บคอ ข้อห้ามใช้--- ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้กับคนที่เป็นไข้มาลาเรียที่มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะเป็นสีดำ สตรีมีครรภ์ และคนที่เป็นโรคหัวใจขั้นรุนแรง รู้จักอันตราย--- ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้สมุนไพรนี้หลีกเลี่ยงปริมาณที่มากและคงที่เกินไปเนื่องจากส่วนเกินสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงจำนวนมากรวมถึง cinchonism, ปวดหัว, ผื่น, ปวดท้อง, หูหนวกและตาบอด สมุนไพรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของควินินอัลคาลอยด์สกัดนั้นอยู่ภายใต้ข้อ จำกัด ทางกฎหมายในบางประเทศ รยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน-กุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์---เมล็ด, ปักชำ
คำฝอย/Carthamus tinctorius
ชื่อวิทยาศาสตร์---Carthamus tinctorius L.(1753) ชื่อพ้อง---Has 9 Synonyms ---Carduus tinctorius Ehrh.(1788) ---Carthamus glaber Burm.f.(1768) ---Centaurea carthamus E.H.L.Krause.(1906) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/gcc-123195 ชื่อสามัญ---Safflower, Saffron thistle, False saffron, Common safflower-thistle ชื่ออื่น---คำฝอย, ดอกคำ (เหนือ); คำ (ทั่วไป); คำยอง (ลำปาง) ;[ARGENTINA: Azafrán, Cártamo.];[BRAZIL: Açafrão bastardo, Açafrôa, Sultana.];[BULGARIA: Shafranka.];[CATALAN: Alasflor, Capellans, Càrtam, Safranó, Safrà bord, Safrà romi.];[CHINESE: Hong hua.];[ENGLSH/UNITED STATES: Bastard-saffron, Strawberry-clover, False saffron, Saffron.];[FINNISH: Värisaflori.];[FRENCH: Carthame des teinturiers, Faux safran, Safran bâtard.];[GERMAN: Färberdistel, Färbersaflor.];[HUNGARIAN: Kerti pórsáfrány.];[ITAJIAN: Cartamo, Zafferanone coltivato.];[JAPANESE: Benibana, Karusamusu, Kure-no-ai, Suetsumuhana.];[KOREAN: It kkot.];[MALTESE: Għosfor.];[MYANMAR: Hsu pan.];[PORTUGUESE: Açaflor, Açafroa, Açafrol, Açafrão-bastardo, Cártamo, Saflo, Semente-de-papagaios.];[ROMANIA: Pintenoagă colorante.];[SPANISH: Alazor, Azafranillo, Azafranillo de México, Azafrán bastardo, Azafrán de moriscos, Azafrán romí, Cártamo, Cártamo cultivado, Simiente de papagayo.];[SWEDISH: Färgtistel, Safflor.];[THAI: Kham (Central); Kham foi, Dok kham (Northern); Kham yong (Lampang).]. EPPO Code: CAUTI (Preferred name: Carthamus tinctorius.) ชื่อวงศ์---COMPOSITAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย ทวีปแอฟริกา เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ แอฟริกา Carthamus tinctorius เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ทานตะวัน (Compositae หรือ Asteraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296 ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย บางส่วนของแอฟริกา พื้นที่ตั้งแต่อินเดียกลางจนถึงต้นน้ำของแม่น้ำไนล์ ตะวันออกกลางและเอธิโอเปีย มีการเพาะปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกและไม่เป็นที่รู้จักในฐานะสายพันธุ์ป่าอย่างแท้จริง เจรืญเติบโตในพื้นที่ ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร ในประเทศไทย มีแหล่งผลิตดอกคำฝอยที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือ เพาะปลูกกันมากในอำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นเหลี่ยมเป็นสันแตกกิ่งก้านมาก ใบเป็นใบเดี่ยวใบกว้าง 1-5ซม.ยาว 3-12 ซม.เรียงสลับ รูปใบหอกหรือขอบขนาน ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ใบประดับแข็งเป็นหนาม รองรับช่อดอก ดอกออกรวมกันเป็นช่อรูปร่างกลมมีดอก ย่อยจำนวนมากกลีบดอกย่อยและเกสรเป็นสีส้ม ผลรูปไข่กลับ มีสีขาวงาช้างปลายตัด มีสัน 4 สัน ผลยาว 0.6-0.8 ซม. ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ด้านในผลมีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมยาวรี เปลือกแข็ง มีสี ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดเต็มที่ ไม่สามารถเติบโตในที่ร่มได้ ชอบดินแห้งหรือชื้นและสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ ชอบดินที่มีการระบายน้ำดี และสามารถเติบโตได้ในดินที่ขาดสารอาหาร pH ที่เหมาะสม: ดินที่เป็นกรดอ่อนๆ เป็นกลางและเป็นด่างอ่อนและสามารถเติบโตได้ในดินที่มีความเป็นด่างมาก ใช้ประโยชน์--ดอกคำฝอยปลูกมานานนับพันปีสำหรับสีย้อมที่สามารถหาได้จากดอกไม้และเมล็ดปัจจุบันสีย้อมไม่ได้ถูกนำมาใช้มากนักเมื่อถูกแทนที่ด้วยสีย้อมเคมี สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการใช้ยา มีคุณค่าทางอาหารและยาสูงมาก ทั้งเมล็ดและดอกไม้มีพลังในการรักษาที่ยอดเยี่ยมสำหรับปัญหาสุขภาพที่หลากหลาย พืชยังคงได้รับการปลูกเลี้ยงอย่างกว้างขวางในเชิงพาณิชย์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของโลกสำหรับเมล็ดที่อุดมด้วยน้ำมัน -ใช้กิน เมล็ดสุก คั่วหรือทอดกินได้ น้ำมันเมล็ดอุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวและส่วนใหญ่ใช้สำหรับการผลิตเนยเทียมน้ำมันสลัดและน้ำมันปรุงอาหาร น้ำมันที่มีความเสถียรมากกล่าวกันว่ามีสุขภาพดีกว่าน้ำมันพืชอื่น ๆ อีกมากมายและการเพิ่มในอาหารยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด สีเหลืองที่ได้มาจากดอกไม้กินได้ใช้เป็นสีย้อมอาหาร -ใช้เป็นยา ดอกใช้ชงเป็นชาดอกคำฝอย สมุนไพรที่ขึ้นชื่อว่าสามารถช่วยลดความอ้วนได้ เป็นยาเกี่ยวกับสตรีที่ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบเลือดได้ เนื่องจากช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้ ฯลฯ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นก็ได้แก่ ดอก (ทั้งดอกสดและดอกแห้ง), เกสร, กลีบดอกที่เหลือจากผล, เมล็ด, และน้ำมันจากเมล็ด -คำฝอยในยาจีนนั้นระบุว่า มีรสเผ็ด อุ่น เข้าเส้นหัวใจ ตับ (หมายถึงเส้นลมปราณที่ควบคุมโดยอวัยวะภายใน) คุณสมบัติ ช่วยให้เลือดหมุนเวียน ขับประจำเดือน สลายลิ่มเลือด แก้ปวด ในอิหร่านน้ำมันใช้เป็นยาบรรเทาสำหรับรักษาเคล็ดขัดยอกและโรคไขข้อ รู้จักอันตราย---โทษของดอกคำฝอย การรับประทานอย่างต่อเนื่องหรือในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะส่งผลทำให้โลหิตจางได้ มีผลทำให้มีเลือดน้อยลง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือกลายเป็นคนขี้โรคโดยไม่รู้ตัว -อื่น ๆ สารตกค้างที่เหลือหลังจากการกลั่น สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ที่มีความเข้มข้นสำหรับปศุสัตว์ ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน - กรกฎาคม/สิงหาคม - กันยายน (ในประเทศจีน) ขยายพันธุ์---เมล็ด
คำยอด/Youngia japonica
ชื่อวิทยาศาสตร์---Youngia japonica (L.) DC.(1838.) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms. ---Basionym: Prenanthes japonica L.(1767) ---Chondrilla japonica (L.) Lam. (1786). ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/gcc-120892 ชื่อสามัญ---Oriental false hawksbeard, Japanese hawkweed, Asiatic hawksbeard, Sandalwort. ชื่ออื่น---คำยอด (เชียงใหม่), ผักขนนกดอย;[CHINESE: Huang an cai.];[CUBA: Yunga.];[FRENCH: Lastron bâtard.];[HONDURUS: Estrellita.];[JAPANESE: Oni-tabirako.];[KOREA: Po-ri-paeng.];[SPANISH: Estrellita.];[THAI: Kham yot (Chiang Mai), Phak khon nok doi.]. EPPO Code---UOUJA (Preferred name: Youngia japonica.) ชื่อวงศ์---ASTERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน ถึงญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา Youngia japonica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ทานตะวัน (Compositae หรือ Asteraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Augustin Pyrame de Candolle (1778?1841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส ในปีพ.ศ. 2381 Youngia japonica มีสามชนิดย่อยได้รับการยอมรับ คือ: -Youngia japonica ssp. elstonii - มีใบลำต้นจำนวนมาก -Youngia japonica ssp. japonica - มีใบน้อยหรือไม่มีเลย พบเป็นวัชพืชเกือบทั่วโลก -Youngia japonica ssp. longiflora - มีดอกที่ใหญ่กว่า นี่ถือเป็นชนิดย่อยที่แตกต่างกันมากที่สุด
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกในประเทศจีนและญี่ปุ่น ปัจจุบันพบว่าเป็นวัชพืชเกือบทั่วโลก และเป็นสายพันธุ์ที่รุกรานในสหรัฐอเมริกา พบได้ในพื้นที่ที่ถูกรบกวน เช่น ริมถนน เขตเพาะปลูกและในสนามหญ้าพื้นที่ชื้นที่ระดับความสูง 200 - 4,500 เมตร ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระดับความสูง 200-2,000 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียวขึ้นเป็นกอสูง 10 (60)-80 (-150) ซม ลำต้นกลวง มีรากแก้วลึก ใบรูปไข่กลับแกมขอบขนาน ขอบใบเว้า เป็นพู กว้าง 1.5-5 ซม.ยาว 3-10 ซม. ดอกช่อมีดอกย่อยสีเหลืองมี 10-25 ดอกต่อช่อ ออกเป็นช่อกระจุกขนาดเล็กประมาณ 0.7-1.3 ซม.ใบประดับช่อดอกสีเขียวเรียงซ้อนกัน ดอก ย่อยเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกรูปแถบปลายกลีบหยัก 5แฉก ผลAchenes ทรงรีแคบยาว 1.5-2 มม.ปลายด้านหนึ่งมีขนนุ่มสีขาวยาวประมาณ 4 มม. ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---มักเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของมนุษย์และสามารถพบได้ในพื้นที่ที่ถูกรบกวนและพื้นที่เปิดโล่ง อย่างไรก็ตาม มันยังเติบโตในที่ร่มและในแหล่งธรรมชาติที่ค่อนข้างไม่ถูกรบกวน ชอบสภาพที่ชื้นและมีศักยภาพที่จะเติบโตในดินประเภทต่างๆ รวมทั้งดินทราย ดินร่วนปน และดินเหนียวหนัก ใช้ประโยชน์---มีการเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและยา -ใช้กิน ใบอ่อนและต้นอ่อน - ดิบหรือสุก กินเป็นผัก -ใช้ปลูกประดับ บางครั้งก็นำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ -ใช้เป็นยา ใช้เป็นยาแก้ไข้ ชิ้นส่วนของพืชทั้งหมดถูกนำมาใช้ในการแพทย์แผนโบราณเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตกขาว โรคเต้านมอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ และโรคไขข้ออักเสบ นอกจากนี้ยังใช้ในการรักษาฝีและแก้พิษงู ระยะออกดอก/ติดผล---มกราคม-เมษายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
คำหยาด/Chirita micromusa
ชื่อวิทยาศาสตร์--- Microchirita micromusa (B.L.Burtt) A.Weber & D.J.Middleton.(2011) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.net/tpl1.1/record/kew-2904635 ---Basionym: Chirita micromusa B.L.Burtt.(1960) ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---คำหยาด (นครราชสีมา); [THAI: Kham yat (Nakhon Ratchasima).] EPPO Code---MQHSS (Preferred name: Microchirita sp.) ชื่อวงศ์---GESNERIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย Microchirita micromusa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัว Gesneriaceae ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Brian Laurence "Bill" Burtt (1913 – 2008)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย William Alfred Weber (1918 –2020) นักพฤกษศาสตร์ชาวอ่มริกัน และ David John Middleton (1963-) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปีพ.ศ. ที่อยู่อาศัยเป็นพืชถิ่นเดียวพบในในประเทศไทยที่จังหวัดนครนายกพบในพื้นที่ชุ่มชื้นในป่าดงดิบ ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุก ต้นสูง 30-50 ซม. ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่กว้างแกมขอบขนาน โคนใบมนเว้าเล็กน้อยปลายใบแหลม ดอกสีส้มแกมเหลืองออกเป็นช่อสั้นๆที่ปลายยอด1-3ดอก กลีบดอก5กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด รูประฆังปลายแยกเป็น 5 แฉกตรงกลางดอกแต้มสี ส้มแดง ระยะออกดอก---เดือนกันยายน-ธันวาตม ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
ฆ้อนกระแต/Premna herbacea
ชื่อวิทยาศาสตร์---Premna herbacea Roxb.(1832) ชื่อพ้อง---Has 17 Synonyms ---Pygmaeopremna herbacea (Roxb.) Moldenke.(1941) ---More.See all The Plant List ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ขางหัวเล็ก (เชียงใหม่), ขาเปี๋ยนุ่ม (ทั่วไป), ข้าวเย็นเหนือ (ลพบุรี), แผ่นดินเย็น (เชียงราย), ส้มกั้ง (ปราจีนบุรี), หัวฆ้อน กระแต (อุบลราชธานี) ;[ASSAMESE: Matiya-jam, Matia-jam, Matiphesua.];[CHINESE: Qian jie cao.];[BENGALI: Bamanhali.];[HINDI: Bharangi.];[KANNADA: Nayit-yaga.];[MARATHI: Gantubarangi.];[PHILIPPINES: Huniyan(Buk).];[SANSKRIT: Boomi-jambuka.];[SIDDHA/TAMIL: Siru Thekku];[TAMIL: Sirudekku.];[TELUGU: Nelaneredu.];[THAI: Khang hua lek (Chiang Mai); Kha pia num (General); Khao yen nuea (Lop Buri); Phaen din yen (Chiang Rai); Som kang (Prachin Buri); Hua khon kra tae (Ubon Ratchathani).] EPPO Code---PRESS (Preferred name: Premna sp.) ชื่อวงศ์---LAMIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน (ยูนนาน) เอเซียเขตร้อน ตอนเหนือของออสเตรเลีย Premna herbacea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเพรา (Lamiaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2375 ที่อยู่อาศัยจีนตอนใต้อนุทวีปอินเดียพม่าไทยกัมพูชาลาวเวียดนามมาเลเซียอินโดนีเซียฟิลิปปินส์นิวกินีออสเตรเลีย ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นเหนือดิน สูง0.30-0.50 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง5-10ซม.ยาว15-25ซม.ปลายเรียวแหลม โคนใบมนหรือแหลม ผิวใบมีขนนุ่ม ดอก ช่อออกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น5แฉกสีน้ำตาลเข้ม กลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉกสีเขียวอ่อน ผลทรงกลมสีดำเส้นผ่านศูนย์กลาง 4- 5 มม.แห้งแล้วแตก ใช้ประโยชน์---พืชมักถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคในท้องถิ่นและบางครั้งเป็นอาหาร ได้รับการปลูกเพื่อใช้เป็นยาในอินเดียและศรีลังกา -ใช้กิน ผลไม้สุกกินได้จะกินเป็นครั้งคราว -ใช้เป็นยา รากมีรสขม-ขมจัด ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ หรือเข้ายาแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ยาพื้นบ้านอีสานใช้ รากผสมหัวข้าวเย็นเหนือ ลำต้นส้มกุ้ง เปลือกต้นสะเดาช้าง และลำต้นขมิ้นเครือ ต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง ในอินเดียใช้น้ำจากรากและเหง้ารักษาท้องมาน, ไอ,ไข้, โรคไขข้อและอหิวาตกโรค ใช้น้ำผลไม้ของรากผสมกับน้ำขิงและน้ำอุ่นสำหรับโรคหอบหืด ในรัฐอัสสัมใบและยอดอ่อนใช้แก้ไข้นอนไม่หลับและดีซ่าน ในอายุรเวทใช้เดี่ยว ๆ เพียงอย่างเดียวหรือใช้เป็นส่วนผสม สำหรับโรคหลอดลมอักเสบ, โรคหอบหืด, ความดันโลหิตสูง, เนื้องอก, การอักเสบ, โรคลมชักและโรคพยาธิ ระยะออกดอก---พฤษภาคม-มิถุนายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
เงี่ยงปลา/Lindernia ciliata
ชื่อวิทยาศาสตร์---Lindernia ciliata (Colsm.) Pennell.(1936) ชื่อพ้อง---Has 15 Synonyms ---Bonnaya ciliata (Colsm.) Spreng.(1824) ---Bonnaya brachiata Link & Otto.(1821) ---Bonnaya personata Hassk.(1864) ---Gratiola serrata Roxb..(1824) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2498933 ชื่อสามัญ--- Hairy Slitwort, Fringed False Pimpernel ชื่ออื่น---เงี่ยงปลา (ภาคเหนือ) ผักกาดภู, ผักอีแฮ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผักหอมฮ่อป่า (กาญจนบุรี) , หญ้ากะร่อน (ภาคกลาง) ;[CHINESE: Ci chi ni hua cao.];[THAI: Ngiang pla (Northern); Phak kat phu, phak i hae (Northeastern); Phak hom ho pa (kanchanaburi); Ya karon (Central).]. EPPO code---LIDSS (Preferred name: Lindernia sp.) ชื่อวงศ์---LINDERMIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน, อินเดีย, เมียนมาร์, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ออสเตรเลียตอนเหนือ, แปซิฟิก Lindernia ciliata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ (Linderniaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Johannes Colsmann (1771-1830) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Francis Whittier Pennell (1886–1952)นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ในปีพ.ศ.2479 Lindernia ciliata เคยถูกรวมไว้ในวงศ์ Scrophulariaceae ที่อยู่อาศัย มีกระจายอย่างกว้างขวางในเอเชียเขตร้อนไปถึงออสเตรเลีย ตั้งแต่ จีน อินเดีย ศรีลังกา เนปาล พม่า ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ถึงออสเตรเลีย และเแปซิฟิก ขึ้นตามนาข้าว ที่รกร้าง ริมถนนริมฝั่งของลำธารที่ดินปนทรายชุ่มชื้น ที่ระดับ 700-1,500 เมตร ลักษณะ เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี สูง 5-20 ซม.ลักษณะลำต้นแตกกิ่งทอดเอน ใบรูปรีขอบขนาน ขอบใบจักฟันเลื่อยแหลมไม่มีก้านใบยาวประมาณ 1-3 ซม.ดอกออกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อ ช่อละ 2-3 ดอกสีขาวหรือชมพูเรื่อ ผลรูปขอบขนานปลายแหลมยาว 1 ซม. ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม-ต้องการตำแหน่งที่มีแดดจัดถึงร่มเงาบางส่วน ชอบบริเวณที่ชื้นและสามารถทนต่อการจมอยู่ใต้น้ำได้หลายวัน ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยา -ใช้เป็นยา น้ำนมจากใบที่บดแล้วใช้กับสตรีหลังคลอดบุตรในไต้หวันพืชถือเป็นวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับmenorrhagia ประจำเดือนผิดปกติ (การสูญเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป) ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2013 ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
จอกบ่วาย/Drosera burmannii
ชื่อวิทยาศาสตร์---Drosera burmannii Vahl.(1794) ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-64278 ---Drosera burmannii var.dietrichiana (Rchb.f.) Diels.(1906) ---Drosera dietrichiana Rchb.f.(1871) ---Drosera indica var. dietrichiana (Rchb.f.) Diels.(1906) ชื่อสามัญ---Sundew, Burmese sundew, Burmann's Sundew, Tropical sundew. ชื่ออื่น---จอกบ่วาย (เลย) ;[ASSAMESE: Rod-mukuta.];[CHINESE: Jǐn de luō.];[HINDI: Mukhajali.];[JAPANESE: Mōsengoke.];[KANNADA: Hula Hidaka Gida, Krimibamdha.];[MARATHI: Davabindu.];[TELUGU: Burada Buchi, Kavara Mogga.];[THAI: Chok bo wai (Loei).];[VIETNAM: Cây cỏ trói gà.]. EPPO Code---DRSBU (Preferred name: Drosera burmannii.) ชื่อวงศ์---DROSERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เอเซียตะวันออกเฉยงใต้ ออสเตรเลีย Drosera burmannii เป็นสายพันธุ์พืชกินเนื้อครอบครัววงศ์หยาดน้ำค้าง (Droseraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Martin Vahl (1749–1804) นักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาชาวเดนมาร์ก-นอร์เวย์ในปี พ.ศ.2337
ที่อยู่อาศัย พบที่อินเดีย ศรีลังกา จีน พม่า ไต้หวัน ญี่ปุ่น ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวกินี ออสเตรเลีย นิวแคลิโดเนีย พบขึ้นตามที่โล่งที่ดินที่ไม่สมบูรณ์ ความสูงถึงประมาณ 1400 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วไปตามทุ่งหญ้าหรือตามพื้นที่โล่งๆชื้นแฉะในป่าเต็งรัง บนภูเขาหินทรายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทุกภาคของประเทศ ลักษณะ เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กใบปกคลุม ลำต้นผิวดิน ใบเดี่ยว เปลี่ยนไปทำหน้าที่ดักแมลงมีสีออกแดง รูปมนรีคล้ายรูปช้อนเรียงซ้อนกันเป็นกระจุกรูปวงกลมกว้าง1-3ซม.มีขนปกคลุม ตามขอบใบมีขนขนาดเล็กจำนวนมาก ปลายขนมีหยดน้ำหวานเหนียวๆเกาะอยู่คล้ายหยาดน้ำค้าง เพื่อดักจับแมลงเป็นอาหาร ดอกสีขาวออกเป็นช่อตั้งจากโคนกอหรือปลายยอดสูง5-20ซม. ดอกย่อยขนาดเล็กติดเรียงอยู่บริเวณปลายช่อ กลีบรองดอกและกลีบดอกมีอย่างละ5กลีบ เกสรเพศผู้5อัน ก้านเกสรเพศเมียมี5อัน แยกจากกัน ผลกลมมีขนาดเล็กมาก1-2 มม. แก่แล้วแตก ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ในเวียตนาม ใช้เป็นยารักษาโรคไอกรน, ไอ, ใช้ในรูปแบบของทิงเจอร์, ไซรัป, ยาระงับ ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2011 ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
สกุล Pedicularis เคยอยู่ภายใต้วงศ์ Scrophulariaceae เช่นเดียวกับอีกหลายสกุลที่เป็นพืชเบียน เช่นเดียวกับสกุล Alectra, Buchnera, Centranthera, Sopubia และ Striga ปัจจุบันอยู่วงศ์ย่อย Pedicularideae มี 600–800 ชนิด ส่วนใหญ่พบบริเวณเขตอัลไพน์ทางตะวันตกของจีนและแถบหิมาลัย ในประเทศไทยพบมี 4 ชนิด -Pedicularis siamensis P.C.Tsoong.(1955)---ชมพูเชียงดาว -Pedicularis thailandica T.Yamaz.(1980)---จันทร์เชียงดาว -Pedicularis thailandica subsp. parvula (1995) (แสดงในหน้านี้ 2 สายพันธุ์)
จันทร์เชียงดาว/Pedicularis thailandica
ชื่อวิทยาศาสตร์---Pedicularis thailandica T.Yamaz.(1980) ---This name is unresolved.According to The Plant List Pedicularis thailandica T.Yamaz. is an unresolved name ชื่อพ้อง---No synonyms are reccorded for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2550427 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---จันทร์เชียงดาว ;[THAI: Chan chiang dao (General).]. EPPO Code---PEASS (Preferred name: Pedicularis sp.) ชื่อวงศ์---OROBANCHACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษาละติน “pediculus” = แมลงพวกเห็บ หมัด ตามความเชื่อที่ว่าเป็นที่อยู่ของพวกเห็บหมัดที่ติดจากสัตว์เลี้ยง และสัตว์เลี้ยงตัวอื่นจะติดเมื่อกินพืชสกุลนี้เป็นอาหาร Pedicularis thailandica เป็นสายพันธุ์ของพืช hemiparasiticในครอบครัววงศ์ Orobanchaceae สกุลชมพูเชียงดาว เดิมรวมอยู่ในครอบครัว วงศ์ Scrophulariaceaeได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Takasi (Takashi) Yamazaki (1921-2007) นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2523 ที่อยู่อาศัย พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือเฉพาะที่ดอยเชียงดาว และดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นตามเขาหินปูนหรือป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1800-2500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกกึ่งพืชเบียนรากของพืชตระกูลอื่น สูง 40-50 ซม.ลักษณะ ลำต้นมีขนยาว ใบเรียงเป็นวงรอบข้อ 4 ใบ ใบแฉกลึกแบบขนนก 5-8 คู่ รูปแถบ ขอบจักซี่ฟัน มีขนยาว แผ่นใบบางคล้ายใบเฟินกว้าง1.5-3.5ซม. ยาว3-5ซม.ดอกสีเหลืองอ่อน ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 2-4 ดอก ออกเป็นกระจุกตามซอกใบรอบข้อ ก้านดอกสั้นมาก กลีบดอกเชื่อมติดกันมีต่อมขนหนาแน่นปลายงุ้มเป็นหมวกงอเข้า ยาว 2-2.5 ซม. กว้าง 2-3.5 ซม.ตอนปลายแยกเป็น 2 แฉกสั้น ๆ กลีบปากล่างยาวประมาณ 8 มม. แยก 3 กลีบ กลีบกลางยาวประมาณ 3 มม.ผลรูปไข่กว้าง ยาว 7-8 มม. ปลายเป็นติ่งแหลม ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เมล็ด
จั่นน้ำ/Ethretia winitii
ชื่อวิทยาศาสตร์---Ehretia winitii Craib.(1922) ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---จั่นน้ำ (กาญจนบุรี), สีฟันควาย (นครปฐม) ;[THAI: Chan nam (Kanchanaburi); Si fan khwai (Nakhon Prathom).]. EPPO Code---EHTSS (Preferred name: Ehretia sp.) ชื่อวงศ์---BORAGINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ 'winitii' ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ พระยาวินิจ วนันดร (1890–1955) นักพฤกษศาสตร์ บิดาแห่งพฤกษศาสตร์ขาวไทย Ehretia winitii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ Borage หรือ Forget-me-not (Boraginaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2465 ที่อยู่อาศัย เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวประเทศไทย พบตามเขาหินปูนในภาคกลางและภาคตะวันตก (พบในเขต จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี) พบครั้งแรกที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยพระยาวินิจวนันดร ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูง1.5-2 เมตร ลำต้นสีขาวอมน้ำตาล ก้านใบสีเขียวอมแดง ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปไข่กลับแกมรูปหอก ปลายใบกลมถึงมน โคนใบรูปลิ่ม ดอกสีม่วงอ่อนออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ดอกตูมสีท่วงเข้ม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกรูปแคบยาวปลายเรียวแหลมสีแดงคล้ำ มีขนปกคลุมเล็กน้อย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอก ปลายแยกเป็น 5 แฉกรูปใบหอก ผลเมล็ดเดียวแข็ง รูปทรงกลมสีส้มแดง ใช้ประโยชน์---ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง เนื่องจาก ใบ ดอก ผล สวยงาม นิยมใช้เป็นไม้ดัดบอนไซ ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน-ตุลาคม ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง
จ๊าฮ่อม/Peristrophe lanceolaria
ชื่อวิทยาศาสตร์---Peristrophe lanceolaria (Roxb.) Nees.(1832) ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-100372774 ---Dicliptera lanceolaria (Roxb.) Karthik. & Moorthy.(2009).This name is unresolved ---Justicia lanceolaria Roxb.(1820).This name is unresolved ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---หว้าชะอำ (นครราชสีมา), จ๊าฮ่อม (เชียงใหม่) กระดองเต่าร้าง, กระดองเต่าหัก (หนองคาย) ;[CHINESE: Wu zhi shan lan.];[THAI: Wa cha am (Nakhon Ratchasima); Cha hom (Chiang Mai); Kradong tao rang, Kradong tao hak (Nong Khai).]; EPPO Code---PEPSS (Preferred name: Peristrophe sp.) ชื่อวงศ์---ACANTHACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน อินเดีย ลาว พม่า ไทย เวียดนาม Peristrophe lanceolaria เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เหงือกปลาหมอหรือวงศ์กระดูกไก่ (Acanthaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Christian Gottfried Daniel Nees von Esenbeck (1776 –1858) นักพฤกษศาสตร์, แพทย์, นักสัตววิทยาและปรัชญาธรรมชาติชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2375 ที่อยู่อาศัย พบในจีน อินเดีย ลาว พม่า ไทย เวียดนาม ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ตามชายป่าดิบและที่ชื้น ที่ระดับความสูง 500-700 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-1.5 เมตร ลักษณะกิ่งก้านอ้นปกคลุมด้วยสีขาวบางครั้งมีขนอ่อน ก้านใบยาว (0.5-) 1.5-3.5 ซม.ใบเดี่ยวรูปใบหอกเรียงตรงข้ามกัน กว้าง 2.5-6 ซม.ยาว 8-14 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ดอกสีชมพูอมม่วง ออกเป็นช่อจากซอกใบหรือปลายยอด มีดอกย่อย 4-7 ดอกดอกย่อยบานเต็มที่ กว้าง 2.5-3.5 ซม. กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นหลอดปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมกัน ปลายกลีบแยกเป็น2ปาก เกสรผู้ 2 อัน ผลเป็นฝักรูปกระสวย ยาวประมาณ 1.4-1.8 ซม. แก่แล้วแตก เมล็ดขนาดเล็กรูปไข่ขนาด 3x2 มม. มีตะขอ ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด เติบโตได้ดีในดินปนทรายและดินทั่วไปที่มีการระยายน้ำดี ใช้ประโยชน์-ใช้เป็นยา รากฝนกับเหล้าใช้ป้ายลิ้นแก้ซางเด็ก ชาวเขาอีก้อใช้ใบตำคั้นน้ำทาหรือพอกแก้อักเสบบวมหรือแผลติดเชื้อ -ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกมีความสวยงาม นำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้ ระยะออกดอก/ติดผล--- พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์/ผลแก่---มีนาคม-มิถุนายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
จุกโรหินี/Dischidia rafflesiana
ชื่อวิทยาศาสตร์---Dischidia major (Vahl) Merr.(1917) ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms. ---Basionym: Collyris major Vahl.(1810) ---Dischidia rafflesiana Wall.(1831) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2772546 ชื่อสามัญ---Malayan urn vine, Ant plant, Rattle Sculls. ชื่ออื่น---จุกโรหินี, โกฐพุงปลา (ภาคกลาง), เถาพุงปลา (ระนอง, ระยอง, ภาคตะวันออก), นมตำไร (เขมร), บวบลม (นครราชสีมา, อุบลราชธานี), พุงปลาช่อน (ภาคกลาง,ภาคเหนือ), พุงปลา (จันทบุรี, ตราด), กล้วยมุสัง (พังงา), จุรูหินี (ชุมพร), กล้วยไม้ (ภาคเหนือ) ;[ASSAMESE: Honkho-ojhar-mona, Khamal-lata.];[MALAYSIA: Akar bani (Malay).];[THAI: Kot phung pla (Central); Chuk rohini (Central); Thao phung pla (Eastern, Ranong); Nom-tam-rai (Khmer); Buap lom (Eastern); Phung pla chon (Central); Kluai mai (Northern).]; [VIETNAM: Trái mỏ quạ, Mộc tiền bầu, Mộc tiền to.] EPPO Code---DIJMA (Preferred name: Dischidia major.) ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ไต้หวัน นิวกินี โมลุกกะ ออสเตรเลีบ Dischidia major เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด Apocynaceae และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (Asclepiadoideae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Martin Vahl (1749–1804) นักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาชาวเดนมาร์ก-นอร์เวย์และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Elmer Drew Merrill (1876–1956) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ในปีพ.ศ.2460
ที่อยู่อาศัย พบทั่วเขตร้อนของเอเชีย เติบโตเป็นเถาอิงอาศัยในป่าเปิด พุ่มไม้เถา ป่าพรุและป่าฝน นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นในนิวกินีและส่วนอื่น ๆ ของมาเลเซีย โมลุกกะ ถึงรัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีบ ในประเทศไทยพบได้ตามป่าดงดิบทั่วไป ป่าชายเลน ป่าแพะ และป่าเบญจพรรณ[ ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น เถากลมสีเขียว ตามข้อเถามีรากงอกออก มีไว้สำหรับใช้ยึดเกาะ ส่วนต่างๆมีมีน้ำยางขาวข้นคล้ายนม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่กว้างหรือรูปโล่ ขนาดกว้าง 1-2 ซม.ยาว 1.2-5 ซม.โคนใบกลมขอบใบเรียบ ปลายใบมนกลมและมีติ่งแหลมสั้น เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยกตัว เนื้อใบหนาอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน สีเขียวอมเหลืองถึงสีเขียว แผ่นใบมักถูกมดเจาะเข้าอาศัยอยู่ภายใน ทำให้มีลักษณะโป่งคล้ายผลกล้วย ขนาดกว้าง 3-5 ซม.ยาว 5-15 ซม.ผิวด้านในสีม่วงเข้ม ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆแบบช่อกระจุกที่ซอกใบ มีดอกย่อย 7-8 ดอก กลีบดอกรูปคนโทสีเหลืองแกมเขียวเชื่อมติดกันเป็นหลอดป่องเบี้ยวไปข้างหนึ่ง ผลเป็นฝักรูปเรียวยาวรูปทรงกระบอกขนาดกว้าง 0.3-0.5 ซม.ยาว 5-10 ซม.สีเหลืองส้ม เมล็ดขนาดเล็ก แบนมีขนเป็นพู่ที่ปลายดอก เมล็ดกว้างประมาณ 3 x 1 มม. ขนพู่ยาวประมาณ 10-12 มม.(ผลของ D. major ประกอบด้วยรูขุมคู่ปกติในขณะที่เมล็ดมีขนเป็นกระจุกที่ปลายด้านหนึ่ง และมีส่วนที่กินได้หรือelaiosomeเพื่อเป็นแรงจูงใจให้มดย้ายเมล็ด ( myrmecochory ) ไปทำรังภายใน) ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เป็นพืชในสกุลDischidia พวกมันมีใบไม้ดัดแปลง ให้ที่พักแก่มด รวมถึงของตระกูล Dolichoderinae และในทางกลับกัน พวกมันก็จะได้รับอาหารบางส่วนจากระดับคาร์บอนไดออกไซด์และไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้นและระดับการป้องกันจากสัตว์และพืชที่เป็นพิษ ลักษณะการทำงานร่วมกันนี้เรียกว่า 'myrmecophily' แพร่หลายไปทั่วโลกของพืชและมีประโยชน์อย่างมากสำหรับมดและพืชอย่างชัดเจน ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ใบอ่อนกินได้ โดยใช้กินร่วมกับขนมจีน -ใช้ปลูกประดับ ใช้ปลูกเลื้อยพันเกาะตามต้นไม้ใหญ่เพื่อความสวยงาม -ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง เนื่องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ผลต้มกับน้ำดื่ม ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รากแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงกำลัง รากใช้เป็นยาแก้ไข้เพื่อโลหิต แก้ลมปลายไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย รากเคี้ยวกับพลูแก้อาการไอ ใบมีรสฝาด ใช้ภายนอกเป็นยาฝาดสมาน สมานแผล ใช้ใบ ราก แก้บิด แก้ปวดเบ่ง มูกเลือด เถาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ผลนำมาดึงไส้ออก ใส่น้ำ นำไปเผาไฟให้อุ่น ใช้เป็นยาหยอดหู หรือจะนำผลมาเผาไฟเอาน้ำใช้หยอดหูน้ำหนวก -ในเวียตนาม ใช้ทุกส่วนของพืชรักษาอาการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง และใช้รักษาโรคหัด -อื่น ๆ ผลนำมาผสมกับข้าวเย็นเหนือ ใช้เลิกบุหรี่ ระยะออกดอก/ติดผล---มกราคม-มีนาคม, เมษายน-มิถุนายน/สิงหาคม-กันยายน, ตุลาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
เจ้าแตรวง/Lilium primulinum var. burmanicum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Lilium primulinum Baker var. burmanicum (W.W.Sm.) Stearn.(1948) ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-310597?ref=tpl1 ---Lilium nepalense var. burmanicum W.W.Sm.(1922) ---Lilium ochraceum var. burmanicum (W.W. Sm.) Cotton.(2010) ชื่อสามัญ---Primulinum lily. ชื่ออื่น---ดอกแตรหลวง, เด็งช้างเผือก, อินทง (เชียงใหม่),โพ้แม่ลา (กระเหรี่ยง เชียงใหม่), เจ้าแตรวง, สาวแม่แมะ ;[CHINESE: Zi hou bai he, Zhǎi yè bǎihé (biànzhǒng).];[THAI: Dok trae wong, Deng chang phueak, In thong (Chiang Mai); Pho-mae-la (Karen-Chiang Mai); Chao trae wong, Sao mae-mae.]. EPPO Code---LILSS (Preferred name: Lilium sp.) ชื่อวงศ์---LILIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน, พม่า,ไทย Lilium primulinum var. burmanicum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ลิลลี่และทิวลิป (Liliaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Wright Smith (1875–1956) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย William Thomas Stearn (1911–2001) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2491 ที่อยู่อาศัย พบที่จีนตอนใต้ พม่า ไทย ตามป่าเต็งรังผสมป่าสน,ป่าดิบเขาระดับต่ำ ที่ความสูง 800-1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคเหนือ ที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และดอยสุเทพ ขึ้นตามป่าดิบเขา ป่าสน ที่โล่งบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 800-1500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอวบน้ำต้นตั้งตรงสูง1-1.5 (2) เมตร ลำต้นกลมมักไม่แตกกิ่ง มีหัวใต้ดินยาว 5-6 ซม.เนื้อในหัวสีขาวอมเหลือง ใบเดี่ยวออกสลับหรือเรียงวนรอบลำต้น ใบยาว 5.5-12 ซม. เส้นโคนใบ 3 เส้น เรียงขนานกัน ใบรูปขอบขนาน โคนใบสอบปลายใบแหลม ท้องใบสีเขียวจางมีขนนุ่มปกคลุม ดอก ออกเดี่ยวๆ หรือออกเป็นช่อตามยอด 4-9ดอกดอกสีเหลืองด้านในสีม่วงแกมน้ำตาลเข้ม ดอกเดี่ยวมีขนาดใหญ่ มี 6 กลีบยาว 6.5-9 ซม. และมักห้อยคว่ำลงดินเพราะดอกมีขนาดใหญ่ก้านดอกรับน้ำหนักไม่ไหว เมื่อดอกบานเต็มที่ปลายกลีบจะงอกลับไปด้านหลัง มีกลิ่นหอมตอนเย็น ผลเป็นฝักรูปขอบขนานกว้าง 2.5 ซม.ยาว4-7ซม.มีสันตามยาว แก่ไม่แตก ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัดและมีที่กำบัง ดินร่วนลึกอุดมสมบูรณ์เป็นกรดเล็กน้อยและมีการระบายน้ำได้ดี ระยะออกดอก/ติดผล---สิงหาคม-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
ชมพูเชียงดาว/Pedicularis siamensis
ชื่อวิทยาศาสตร์---Pedicularis siamensis P.C.Tsoong.(1955) ---This name is unresolved.According to The Plant List Pedicularis siamensis P.C.Tsoong is an unresolved name ชื่อพ้อง---No synonyms are record for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2550217 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ชมพูเชียงดาว (ภาคกลาง, ทั่วไป) ;[THAI: Chomphu chiang dao (Central, General).] EPPO Code---PEASS (Preferred name: Pedicularis sp.) ชื่อวงศ์---OROBANCHACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซียพืช เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลมาจากภาษาละติน “pediculus” = แมลงพวกเห็บ หมัด ตามความเชื่อที่ว่าเป็นที่อยู่ของพวกเห็บหมัดที่ติดจากสัตว์เลี้ยง และสัตว์เลี้ยงตัวอื่นจะติดเมื่อกินพืชสกุลนี้เป็นอาหาร Pedicularis siamensis เป็นสายพันธุ์ของพืช hemiparasiticในครอบครัววงศ์ Orobanchaceae สกุลชมพูเชียงดาว เดิมรวมอยู่ในครอบครัว วงศ์ Scrophulariaceaeได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Pu-Chiu Tsoong (1906-1981) นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน ในปี พ.ศ.2523
ที่อยู่อาศัยพืชเฉพาะถิ่น (Endemic species) พบทางภาคเหนือที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พบขึ้นเป็นกลุ่มแทรกปะปนกับกอหญ้าและไม้พุ่มเตี้ยตามป่าบนเขาหินปูน ในที่โล่งแจ้ง หรือตามซอกหินปูนบนภูเขาสูงที่มีอากาศเย็นตลอดปี ที่ระดับความสูง 1,800-2,200 เมตร ลักษณะ เป็นพืชกึ่งเบียนของพืชวงศ์หญ้า เป็นพืชล้มลุกที่มีดอกสีสวยงามสะดุดตา ต้นสูง 40-60 ซม.ลำต้นมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ หรือรอบต้นในระนาบเดียวกัน มี 5-12 คู่แผ่นใบคล้ายใบเฟิน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 1.5-2.5 ซม.ยาว 2-5 ซม. มีหยักเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบขอบใบจักฟันเลื่อย ผิวใบด้านบนมีประขาวด้านล่างสีขาวนวลแบบแป้ง ดอกออกเป็นช่อกระจุกสั้นๆออกตรงซอกใบยาวได้ถึง 40 ซม. มีช่อละ 2-4 ดอก ไม่มีก้านดอกและก้านดอกย่อย กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วยทรงป้อม อ้วน ปลายจักซี่ฟันแหลม มักโค้งม้วนออก สีขาวอมชมพู ตามสันเป็นสีชมพูเข้มผลเป็นกระเปาะแข็งรูปไข่ ยาว 0.8-1.2 ซม. ปลายมีติ่งแหลม เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก สถานภาพ---พืชถิ่นเดียวของไทยและพืชหายาก ระยะออกดอก---ธันวาคม-มกราคม ขยายพันธุ์--เมล็ด
ชมพูสิริน/ Impatiens sirindhorniae
อ้างอิงภาพประกอบเพื่อการศึกษา---https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99 ชื่อวิทยาศาสตร์---Impatiens sirindhorniae Triboun & Suksathan.(2009) ชื่อพ้อง---This name is unresolved.The record derives from WCSP (in review) (data supplied on 2555-03-23 ) ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2896398 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ชมพูสิริน, เทียนสิรินธร (ทั่วไป) ; [THAI: Chomphu sirin, Thian sirinthon (General).] EPPO code---IPASS (Impatiens sp.) ชื่อวงศ์---BALSAMINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย Impatiens sirindhorniae เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เทียนดอก (Balsaminaceae) สำรวจพบโดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ นักวิชาการเกษตรชำนาญการจากกรมวิชาการเกษตร (ในขณะสำรวจพบ) และ ดร.ปิยเกษตร สุขสถาน นักพฤกษศาสตร์จากองค์การสวนพฤกษศาสตร์(ในขณะสำรวจพบ) และได้ขอพระบรมราชานุญาตตั้งชื่อเป็นพรรณไม้ในพระนามของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเทิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 55 พรรษา 2 เมษายน พ.ศ. 2553 อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ชมพูสิริน”ตามสีชมพูของดอกไม้และได้ตีพิมพ์ในวารสาร Garden's Bullitin Singapore 61(1): 174. 2009. การตีพิมพ์ในวารสารเพื่อยืนยัน พืชพันธุ์ใหม่ของโลกเพื่อนำไปใช้ใน การอ้างอิงในด้านอนุกรมวิธานพืช ข้อมูลที่ศึกษาและตัวอย่างอ้างอิงได้นำไปเก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช เพื่อการศึกษาด้านอนุกรมวธินต่อไป ข้อมูลที่ศึกษาสามารถเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานอื่นในประเทศและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยโดยมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทยของพืช วงศ์เทียน (Balsaminaceae) ซึ่งจัดทำโดย ดร.ปิยเกษตร สุขสถาน สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์แม่ริม เชียงใหม่ และการค้นพบยังมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทยของพืชวงศ์ชาฤๅษี (Gesneriaceae) กับ ดร.เดวิด เจ. มิดเดิลตัน (Dr.David J. Middleton) จาก สวนพฤกษศาสตร์หลวงเอเดนเบิร์ก สก็อตแลนด์ สหราชอาณาจักร (Royal Botanic Garden Edinburgh, Edinburgh, Scotland, United Kingdom) ข้อมูลที่ได้ทำการศึกษาสามารถเป็นพื้นฐานให้เกิดการต่อยอดในงานวิจัยอื่น ๆ อีกมากมาย ที่อยู่อาศัย เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคใต้ที่ จ.กระบี่ และ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นตามหน้าผาหินปูน ที่ระดับความสูง 20-150 เมตร ชมพูสิรินไม้ล้มลุกวงศ์เทียน ต้นสูงได้ประมาณ 50 ซม. แตกกอ ลำต้นมักห้อยลง อวบน้ำ เกลี้ยง มีนวล ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ออกหนาแน่นตามปลายกิ่ง รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 3-4 ซม.ขอบใบจักห่าง ๆ มีต่อมที่โคนเหนือก้านใบ ปลายใบแหลม แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 2-7.5 ซม.ดอกสีชมพูออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ ก้านดอกยาว 3-6.5 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ คู่นอกรูปไข่ ยาว 6-7 มม. คู่ในกลม ขนาดประมาณ 2 มม. กลีบปากเป็นถุงโค้งเรียวยาวเป็นเดือย ยาวได้ถึง 6 ซม. ดอกสีชมพูอมม่วง ปลายกลีบมีติ่งแหลม กลีบกลางรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 2.5 ซม. โคนมีเขาขนาดเล็ก 1 คู่ กลีบปีกเชื่อมติดกัน คู่นอกแฉกลึกเกินกึ่งหนึ่งคล้ายรูปหัวใจ ยาวประมาณ 2 ซม. กว้างประมาณ 2.5 ซม. คู่ในรูปไข่กลับ ยาวเท่า ๆ คู่นอก ผลเต่งกลาง รูปขอบขนาน ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เมล็ด
ช่อม่วงเชียงดาว/Strobilanthes chiangdaoensis
ชื่อวิทยาศาสตร์---Strobilanthes chiangdaoensis Terao.(1981) ---This name is unresolved.According to The Plant List.Strobilanthes chiangdaoensis Terao is an unresolved name ชื่อพ้อง--No synonyms are record for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2478362 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ช่อม่วงเชียงดาว, จ๊าฮ่อมเชียงดาว, ฮ่อมดง; [THAI: Cho moung chiang dao, Cha hom chiang dao, Hom dong (General).] EPPO Code--- SBTSS (Preferred name: Strobilanthes sp.) ชื่อวงศ์---ACANTHACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--ประเทศไทย Strobilanthes chiangdaoensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เหงือกปลาหมอหรือวงศ์กระดูกไก่ (Acanthaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย H.Terao (born 1877) นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ในปี พ.ศ.2524
ที่อยู่อาศัย พบเฉพาะในประเทศไทย-เป็นพืชถิ่นเดียวดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เจริญเติบโตเป็นกลุ่มตามซอกหิน บนยอดเขาหินปูน ในที่โล่งแจ้งที่ระดับความสูง 1,600-2,000 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขึ้นรวมเป็นกลุ่มแตกกิ่งก้านมาก ลักษณะทรงต้น เรือนยอดทรงกลมหนาทึบ ลำต้นแตกเปราะหักง่าย ต้นสูงประมาณ1-2เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบต้น แผ่นใบรูปไข่หรือรูปหัวใจขนาดกว้าง 2-2.5 ซม.ยาว 2.5-4 ซม. โคนใบแหลมหรือเว้าตื้น ขอบใบจักฟันเลื่อย ตามขอบใบมักมีสีม่วงอมแดงโดยรอบ ผิวใบทั้งสองด้านมีขนปกคลุม ตามเส้นใบเห็นร่องลึกชัดเจนจึงดูเหมือนคล้ายกับว่าแผ่นใบยับย่น ใบหนานุ่ม ดอกช่อแบบช่อเชิงลด เกิดที่ปลายยอดหรือตามซอกใบ ตั้งขึ้น ช่อดอกยาว 5-10 ซม. ดอกมักบานครั้งละ 1-2 ดอก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายบานออกคล้ายแตร และมักโค้งงุ้มลงด้านหน้าจนอยู่ในแนวขนานกับพื้น หลอดกลีบดอกยาว 5 ซม.ดอกขนาด 2-2.5 ซม.ผลแบบแห้งแล้วแตก รูปรี เมล็ดสีน้ำตาล มีช่องเป็นร่างแห ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เมล็ด
ไชหิน/Akschindlium godefroyanum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Akschindlium godefroyanum (Kuntze) H.Ohashi.(2003) ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms. ---Basionym: Meibomia godefroyana Kuntze.(1891) ---Droogmansia godefroyana (Kuntze) Schindl.(1924) ---Meibomia godefroyana Kuntze.(1891) ---Tadehagi godefroyanum (Kuntze) H.Ohashi.(1973) ---More.See all https://www.gbif.org/species/3968877 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ไชหิน (สุรินทร์), การะ (ส่วย สุรินทร์), ต่างมอง (ชัยภูมิ), เรียะ (เขมร สุรินทร์); [THAI: Kara (Suai-Surin); Chai hin (Chaiyaphum, Surin); Tong mong (Ubon Ratchathani); Tang mong (Khmer-Surin); Riang (Khmer-Surin); Ria (Khmer-Surin).]. EPPO Code---TDHSS (Preferred name: Tadehagi sp.) ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONACEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม Akschindlium godefroyanum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ernst Otto Kuntze (1843–1907) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Hiroyoshi Ohashi (born 1936) นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่นในปีพ.ศ.2547
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอินโดจีน พบในไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม ลักษณะ เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงสูง1.5-3 เมตรเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.3-5.4 ซม.ใบประกอบชนิดมี ใบเดียวเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง5-8ซม.ยาว12-45ซม. แผ่นใบค่อนข้างหนาสีเขียวอมเทา หลังใบมีขนสีขาวปกคลุมหนาแน่น ใบด้านหน้าไม่มีขน ก้านใบแผ่เป็นครีบ ก้านใบ ยาว 1.7-2.9 ซม. ก้านใบและกิ่งมีขนละเอียดสีขาวปกคลุมหนาแน่น ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว90-100ซม.ดอกย่อยรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีม่วงแดง ด้านหลังกลีบดอกสีม่วงหม่นปนขาว ผลเป็นฝักยาว 3.9-4.5 ซม.กว้าง0.5-0.7ซม.แบนคอดเป็นข้อๆ ปลายฝักเป็นตะขอ มีเมล็ด2-5เมล็ด ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---พืชสามารถพบได้ในดินที่หลากหลายในป่า ตั้งแต่ทรายไปจนถึงดินเหนียว สายพันธุ์นี้มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดินบางชนิด แบคทีเรียเหล่านี้ก่อให้เกิดก้อนบนรากและตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ ไนโตรเจนบางส่วนนี้ถูกใช้ในพืชที่กำลังเติบโต แต่บางชนิดก็สามารถนำมาใช้กับพืชชนิดอื่นที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียงได้ ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยา -ใช้เป็นยา ยาต้มของใบและยอดอ่อนถูกใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากสำหรับรักษาอาการเสียวฟัน ปวดฟัน ยาต้มใช้เป็นยาแก้อาเจียน ยาต้านมาเลเรีย แก้ท้องร่วง และรักษาอาการตกเลือดทั้งทางปากและทางทวารหนัก รากใช้สำหรับฟื้นฟูรอบเดือนปกติ;- ยาพื้นบ้านใช้รากต้มน้ำดื่ม แก้อาเจียน มีเลือดออกทั้งทางปากและทวารหนัก ;-สารสกัดจากเอทิลแอลกอฮอล์ของรากแสดงคุณสมบัติ oestrogenic ที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีการแสดงเพื่อลดการตายของเซลล์จากการเกิดออกซิเดชัน พืชมีศักยภาพเป็นสารออกฤทธิ์ในการเตรียมการรักษาริ้วรอยผิวในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน -อื่น ๆ เป็นอาหารสัตว์ กระบือ ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เมล็ด
เฒ่าหลังลาย/Pseuderanthemum graciliflorum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Pseuderanthemum graciliflorum (Nees) Ridl.(1923) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2406717 ---Basionym: Eranthemum graciliflorum Nees.(1832) ชื่อสามัญ---Blue Twilight, Blue Crossandra, Florida Twilight, Blue Sage. ชื่ออื่น---รงไม้, ร่องไม้ (ภาคใต้), ยายปลัง (สุราษฎร์ธานี), เฒ่าหลังลาย (ชลบุรี), เฉียงพร้าป่า (ตรัง); [THAI: Rong mai (Surat Thani), Rong mai (Peninsular); Yai plang (Surat Thani); Thao lang lai (Chon Buri); Chiang phra pa (Trang).] EPPO Code--- PZMGR (Preferred name: Pseuderanthemum graciliflorum.) ชื่อวงศ์---ACANTHACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---พม่า ไทย ลาว เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย (ชวา) ฟิลิปปินส์ Pseuderanthemum graciliflorum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เหงือกปลาหมอหรือวงศ์กระดูกไก่ (Acanthaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Christian Gottfried Daniel Nees von Esenbeck (1776 –1858) นักพฤกษศาสตร์, แพทย์, นักสัตววิทยาและปรัชญาธรรมชาติชาวเยอรมันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Henry Nicholas Ridley (1855–1956) นักพฤกษศาสตร์และนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษในปีพ.ศ. ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้เขตร้อน -มาเลเซีย ปีนัง ศรีลังกา อินเดีย แหลมมาลายูและ ฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบในธรรมชาติ ตามป่าดงดิบทางภาคใต้ ลักษณะ เป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามเป็นคู่ สลับฉากรูปใบหอกถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 3-6 ซม.ยาว 12-15 ซม.ดอก สีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอดและปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมกันเป็นหลอดยาวปลายแยกเป็น 5 กลีบ 2กลีบอยู่ด้านบน 3 กลีบ อยู่ด้านล่าง กลางกลีบมีสีขาวแกมม่วงอ่อน ผลแคปซูล ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดครึ่งวัเข้าถึงรำไร ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี อัตราการเจริญเติบโต เร็ว หากปลูกในบริเวณที่มีน้ำท่วมขังหรือแดดจัดใบจะร่วง ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ลำต้นบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย รักษาริดสีดวงทวาร บำรุงกำลังบุรุษ ใบรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน และหูด ทั้งห้า (ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล) ผสมหัวข้าวเย็นต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย -ใช้ปลูกประดับ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับในที่ร่มรำไรได้สวยงาม ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง
ดอกดินแดง/Aeginetia indica
ชื่อวิทยาศาสตร์---Aeginetia indica L.(1753) ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms ---Aeginetia aeginetia Huth.(1893) ---Aeginetia japonica Siebold & Zucc.(1846) ---Orobanche aeginetia L.(1763) ---Phelipaea indica (L.) Spreng. ex Steud.(1842) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2623431 ชื่อสามัญ---Indian broomrape, Forest ghost flower, Ghost flower. ชื่ออื่น---ซอซวย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ดอกดินแดง (ตราด); ปากจะเข้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); สบแล้ง (สงขลา); หญ้าดอกขอ (เลย) ;[BENGALI: Agienata.];[CHINESE: Ye gu, Guan hen huang, Guan-jen-huang.];[DUTCH: Indische bremraap.];[HINDI: Aankuri bankuri.];[INDONESIA: Rajatawa (Java).];[JAPAN: Ama outsibo, Ki moura dake, Nanban-giseru, Nousbi tono aki.];[KOREA: Yago.];[MALAYALAM: Keeripu.];[MALAYSIA: Keeripu.];[MYANMAR: Kauk-hlaing-ti.];[NEPALI: Aankuri bankuri, Gaibyai, Gaura parbata, Nila jbar.];[NETHERLANDS: Indische bremraap.];[PHILIPPINES:: Bangbangan-ti kiuing, Bulaklak ng tubo, Bulaklak, Bulaklak sa puno, Bunga ng tubo, Cabrita, Dagatan, Dapong-tubo, Kola, Lapo, Suako-ti-uak.];[THAI: So-suai (Karen-Mae Hong Son); Dok din daeng (Trat); Pak cha khe (Northeastern); Sop laeng (Songkhla); Ya dok kho (Loei).];[VIETNAM: Cây Tai đất, Dã cô, Lệ dương, Tai dất, Tai-dât án.]. EPPO Code---AEIIN (Preferred name: Aeginetia indica.) ชื่อวงศ์---OROBANCHACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา จีน ญี่ปุ่น พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและภูมิภาคมาเลเซีย นิวกินี Aeginetia indica เป็นสายพันธุ์ของพืช hemiparasiticในครอบครัววงศ์ (Orobanchaceae) เดิมรวมอยู่ในครอบครัว วงศ์ Scrophulariaceaeได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2296
ที่อยู่อาศัย พบตั้งแต่ตอนกลางของทวีปเอเซีย มาทางตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาคโดยเฉพาะบริเวณที่ค่อนข้างชื้นในป่าเต็งรัง มักขึ้นเป็นกลุ่มหนาแน่น ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 1,600 เมตร ลักษณะ เป็นพืชกาฝากขึ้นบนไม้อื่น มีลำต้นใต้ดินขนาดเล็ก เป็นพืชอาศัยอยู่กับรากไม้ โดยเฉพาะ กกและไผ่ ไม่มีใบ ดอกเดี่ยวชูก้านขึ้นมาจากลำต้นใต้พื้นดิน ยาว 15-40 ซม. ส่วนต่าง ๆ สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแดง มักมีริ้วสีเข้ม ออกดอก 1-2 ดอกต่อเหง้า กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้างโค้งงอมีลักษณะเป็นถ้วยคว่ำ อ้วนยาว 2-4 ซม.สีม่วงแดงผิวเกลี้ยงเป็นมัน กลีบรองดอกเป็นประกับหุ้มโคนดอก สีม่วงอมชมพูสีอ่อนกว่ากลีบดอก เกสรเพศผู้ติดที่ประมาณจุดที่หลอดกลีบงอ ก้านชูอับเรณูเกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียโค้ง ยาว 1-1.5 ซม. ผลแห้งแตกได้ยาวประมาณ 2-3 ซม.เมล็ดสีเหลืองอ่อนทรงรีขนาดเล็กมาก ประมาณ. 0.04 มม. ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม---โดยทั่วไปแล้ว Orobanchaceae จะเติบโตในดินที่ไม่ดีและการใส่ปุ๋ยก็เป็นอันตรายต่อสายพันธุ์ เนื่องจากพวกมันมีความสามารถในการล้างสารพิษได้น้อย มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับA. indica ในประเทศไทยมีรายงานว่าพืชชนิดนี้เติบโตในดินที่เป็นกรด (pH 4.49) โดยมีฟอสฟอรัสต่ำ โพแทสเซียมต่ำ และแคลเซียมสูง ( Auttachoat, 2003 ) ใช้ประโยชน์---บางครั้งพืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและยา -ใช้กิน ชาวบ้านใช้ดอกสดหรือแห้ง คั้นน้ำ จะได้น้ำสีม่วงสำหรับแต่งสีอาหาร ใช้ทำขนมหรือผสมข้าวเหนียวเป็นข้าวก่ำ คนไทย รู้จักกันในชื่อ 'ขนมดอกดิน' -ใช้เป็นยา รากและดอกไม้ถูกใช้เป็นยาเพื่อล้างความร้อนและวัสดุที่เป็นพิษ ขับพิษ แก้อักเสบ ล้างพิษถุงลมโป่งพอง ในประเทศจีนจะใช้ในการรักษาหวัด, ต่อมทอนซิลอักเสบ, โรคประสาทอ่อน, การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, กระดูกอักเสบ รูปแบบยาต้ม ใช้เฉพาะในการรักษาฝีและงูพิษ ในปากีสถานใช้ราก รักษาโรคตับเรื้อรัง อาการไอและโรคข้ออักเสบ ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฏาคม-สิงหาคม/กันยายน-ตุลาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
สกุล Gentiana เป็นสกุลของพืชดอกของวงศ์ดอกหรีดเขา (Gentianaceae) ประกอบด้วยประมาณ 400 สปีชีส์ ซึ่งถือว่าเป็นสกุลใหญ่ ชื่อสกุลเป็นคำบกบ่องให้ Gentius กษัตริย์อิลลิเรียน ที่อาจเป็นผู้ค้นพบคุณสมบัติในพืชวงศ์นี้ Gentiana nudicaulis Kurz (1873) มี 3 ชนิดย่อยคือ -Gentiana nudicaulis subsp. ting-nung-hoae (Halda) T.N.Ho. (2001) พบที่กัมพูชา -Gentiana nudicaulis subsp. nudicaulis พบที่อินเดีย พม่า และคาบสมุทรมลายู -Gentiana nudicaulis subsp. lakshnakarae (Kerr) Halda.(1995) Variety -Gentiana nudicaulis var. assamensis T.N.Ho.(2000) -Gentiana nudicaulis var. nudicaulis (แสดงในหน้านี้ 1 สายพันธุ์)
ดอกหรีด/Gentiana nudicaulis subsp. lakshnakarae
ชื่อวิทยาศาสตร์---Gentiana nudicaulis Kurz subsp. lakshnakarae (Kerr) Halda.(1995) ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:1000591-1 ---Gentiana hesseliana Hoss. var. lakshnakarae (Kerr.) Toyokuni.(1981) ---Gentiana lakshnakarae Kerr.(1940) ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ดอกหรีด (เลย); ดอกหรีดกอ, ลักษณา (ทั่วไป) ;[THAI: Dok rit (Loei); Dok rit ko, Laksana (General).] EPPO Code---GETSS (Preferred name: Gentiana sp.) ชื่อวงศ์---GENTIANACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- ไทย Gentiana nudicaulis subsp. lakshnakarae เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ดอกหรีดเขา (Gentianaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Arthur Francis George Kerr (1877–1942) เป็นแพทย์ชาวไอริช เขาเป็นที่รู้จักโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการทำงานพฤกษศาสตร์ของเขาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการศึกษาของพืชของประเทศไทยและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Josef Jakob Halda (born1943) นักพฤกษศาสตร์ชาวเช็ค ในปีพ.ศ.2538 ที่อยู่อาศัยเป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทยพบที่ภูกระดึง และภูหลวง จังหวัดเลย ขึ้นตามพื้นป่าสน ทุ่งหญ้า ป่าดิบเขา ที่เปิดโล่ง ระดับความสูง1,200เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกสูง5-15ซม.ไม่แตกกิ่งก้านสาขาใบเดี่ยวออกตรงข้ามเรียงเวียนกันแน่น ใกล้โคนต้น รูปรีแกมรูปไข่กว้าง0.3ซม.ยาว2-6ซม. ปลายใบแหลมขอบใบเรียบดอกสีม่วงแกมฟ้าไม่มีก้านดอก ออกเป็นกระจุกบริเวณปลายยอด1-16ดอก กลีบรองดอกเชื่อมเป็นหลอดยาว0.4-0.9ซม.กลีบดอกมีลักษณะเป็นถ้วยตื้นๆปลายแยก เป็น5กลีบ มองรวมๆคล้ายรูปดาว ผลเป็นผลแห้งรูปไข่กลับขนาด5-10มม. ปลายมีปีก ก้านยาวประมาณ 3.5 มม. ระยะออกดอก/ติดผล---พฤศจิกายน-พฤษภาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
ดองดึง/ Gloriosa superba
ชื่อวิทยาศาสตร์---Gloriosa superba L.(1753) ชื่อพ้อง---Has 40 Synonyms ---Gloriosa simplex L.(1767) ---Gloriosa virescens Lindl.(1825) ---Gloriosa abyssinica A.Rich.(1850) ---Gloriosa carsonii Baker.(1895) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-307988 ชื่อสามัญ---Climbing Lily, Gloriosa lily, Creeping Lily, Flame lily, Tiger claw, Fire lily, Superb lily, Turk's cap, Mozambique lily. ชื่ออื่น---ก้ามปู (ชัยนาท); คมขวาน (ชลบุรี); ดองดึง (ทั่วไป); ดาวดึงส์ (ภาคกลาง); บ้องขวาน (ชลบุรี); พันมหา (นครราชสีมาร); มะขาโก่ง (ภาคเหนือ); ว่านก้ามปู (ภาคกลาง); หมอยหีย่า (อุดรธานี); หัวขวาน (ชลบุรี) ;[AFRIKAANS: Vlamlelie, Boslelie, Geelboslelie, Rooiboslelie.];[ARABIC: Al Bâhir Al Hindîyah.];[ASSAMESE: Agnisikha/ Ulat-chandal.];[AYURVEDIC: Laangali, Laanglaahva, Indrapushpi.];[BENGALI: Bishalanguli, Ulatchandal.];[BRAZIL: Gloriosa, Lírio-trepador.];[CAMBODIA: Var sleng dong dang.];[CHINESE: Jia lan.];[DUTCH: Prachtelie.];[FRENCH: Lis De Malabar, lis de Pobèguin, Lis Glorieux, Lis grimpant, Méthonique Du Malabar.];[GERMAN: Malabarische Methonika, Ruhmeskrone.];[HINDI: Bachnag, Kadyanag, Kalihari, Kari Hari.];[INDONESIA: Kembang sungsang (general), Pacing tawa (Javanese), Katongkat (Sundanese).];[ITALIAN: Gloriosa Superba, Narciso Superbo, Superba Del Malabar.];[JAPANESE: Gurorioosa - Superuba, Kitsune Yuri, Yuri Kuruma.];[KANNADA: Agnisikhe, Karadikanninagadde, Siva Raktaballi, Siva Saktiballi.];[LAOS: Phan ma ha.];[MALAYALAM: Kithonni, Mendoni, Mettoni.];[MYANMAR: Hsee mee-tauk.];[PHILIPPINES: Climbing lily, Turk's cap.];[PORTUGUESE: Aranha de emposse, Garras de tigre, Lírio-Trepador, Raiz-de-empose.];[SANSKRIT: Agnimukhi, Agnisikha, Ailni, Garbhaghatini, Kalihari, Kalikari, Langalika.];[SIDDHA/TAMIL: Kalappankizhangu.];[SPANISH: Gloriosa, Lirio Trepador, Pipa De Turco.];[TAMIL: Anaravan, Iradi, Kaandhal, Kalappai Kizhangu, Kallappai Kilangu, Kannoru, Kannovu, Tonri.];[TELUGU: Adavi Nabhi, Agni Sikha, Ganjeri, Kalappagadda, Nabhi, Nirupippali, Potti Dumpa, Potti Nabhi.];[THAI: Kam pu (Chai Nat); Khom khwan (Chon Buri); Dong dueng (General); Dao dueng (Central); Bong khwan (Chon Buri); Phan maha (Nakhon Ratchasima); Ma kha kong (Northern); Wan kam pu (Central); Moi hi ya (Udon Thani); Hua khwan (Chon buri).];[URDU: Kanol, Kulhar.];[VIETNAM: Ngót nghẻo.]. EPPO Code---GLOSI (Preferred name: Gloriosa superba.) ชื่อวงศ์---LILIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา เขตกระจายพันธุ์---แอฟริกา เอเซียเขตร้อน นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล 'Gloriosa' มาจากภาษาละติน 'gloriosus' หมายถึง 'รุ่งโรจน์', 'มีชื่อเสียง' หรือ 'โอ้อวด' ; ชื่อสายพันธุ์ 'superba' หมายถึง 'ยอดเยี่ยม' พืชชนิดนี้ได้รับการตั้งชื่ออ้างอิงถึงดอกไม้ฤดูร้อนที่ 'รุ่งโรจน์' ที่ฉูดฉาด Gloriosa superba เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ลิลลี่และทิวลิป (Liliaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296 ที่อยู่อาศัย พบในแอฟริกา มาดากัสการ์ อินเดีย เนปาล ศรีลังกา จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นเป็นวัชพืชในอเมริกาและออสเตรเลีย ลักษณะ เป็นพรรณไม้เถาล้มลุกชนิดหนึ่ง ยาวได้ถึง 5 เมตร ลำต้นเกิดจากหัวหรือเหง้าใต้ดินมีลักษณะคล้ายหัวขวานหรือฝักกระจับ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปใบหอกแกมรูปแถบ กว้าง1.5-4ซม.ยาว8-25ซม.สีเขียว ปลายใบบิดม้วนเข้าและม้วนลงเพื่อช่วยในการเกาะยึดหรือพันดอก สีสวยสะดุดตามาก ออกเป็นดอกเดี่ยว ตามซอกใบใกล้ปลายยอด รูปถ้วย กลีบดอก 6 กลีบ ไม่เชื่อมติดกัน รูปแถบยาว โคนกลีบสีเหลืองปลายกลีบสีแดง เมื่อดอกบานเต็มที่ขนาดประมาณ 4-6 ซม.สีจะเข้มขึ้น ผลเป็นฝัก ยาว 4-5 ซม.มี3พู ผลเป็นแคปซูลแห้งแตกตามรอยประสาน รูปขอบขนาน ยาว 4-6 ซม. ใช้เวลา 6-10 สัปดาห์ในการสุก เมล็ดรูปไข่ สีแดงอมส้ม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 มม.มีเนื้อชั้นนอกบางๆ ใช้ประโยชน์---ถูกใช้เป็นยาแผนโบราณมานานในหลายวัฒนธรรม มันได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาของโรคเกาต์, ภาวะมีบุตรยาก, แผลเปิด, งู, แผล, โรคข้ออักเสบ, อหิวาตกโรค, อาการจุกเสียด, ปัญหาไต, โรคไข้รากสาดใหญ่, โรคเรื้อน , รอยฟกช้ำ, เคล็ดขัดยอก, โรคริดสีดวงทวาร, โรคมะเร็ง, ความอ่อนแอ, ฝันเปียก, ไข้ทรพิษ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และอีกหลายประเภทของปรสิต (พยาธิ) ;-ในยาอายุรเวm หัวใช้เป็นยาทำแท้ง แก้ปวด แก้ปวดข้อ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โรคริดสีดวงทวาร ต้านประจำเดือน เส้นเลือดขอด ยาขับปัสสาวะ และยาชูกำลัง ถือว่ามีประโยชน์ในการรักษาแผล เรื้อน ริดสีดวงทวาร การอักเสบ ปวดท้อง อาการคัน และกระหายน้ำ ;-ในปริมาณที่น้อย หัวจะถือว่ามีสรรพคุณทางยามากมายในแอฟริกา ยาต้มใช้เพื่อรักษาอาการผิดปกติของช่องท้อง กระตุ้นการทำแท้ง เป็นยาชูกำลังและเป็นยาระบาย -ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ - อื่นๆ ใช้น้ำใบ ผลไม้ที่ไม่สุกผสมกับเนย และหัวผักกาดเพื่อฆ่าเหา เมล็ดสีแดงสดใช้ทำสร้อยคอประดับ รู้จักอันตราย---คนอีสานแต่โบราณรู้ว่าดองดึงมีพิษจึงใช้ดองดึงเป็นยาเบื่อสุนัข โดยเอาส่วนหัวที่มีรากสะสมอาหารมาทุบให้แหลก ผสมข้าวเหนียวโยนให้สุนัขกิน ความเป็นพิษของดองดึงนี่หมอพื้นบ้านกล่าวว่า ถ้าคนรับประทานหัวดองดึงเข้าไปภายใน 2-6 ชั่วโมงจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรงและอาจถ่ายออกมามีเลือดด้วย ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2017 ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฎาคม-ธันวาคม (พืชสามารถออกดอกและให้เมล็ดได้ตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่ในช่วงฤดูฝน) ขยายพันธุ์---ด้วยการใช้หัวหรือเพาะเมล็ดก็ได้ พืชใช้เวลา 3-4 ปีในการออกดอกเป็นครั้งแรกจากเมล็ด
ดาวดิน/Argostemma parvum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Argostemma parvum Geddes.(1927) ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-14936 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ดาวดิน, ประดับหินลาย, ประดับหินใบขาว, ประดับหินดอกเข็ม (ทั่วไป) ;[THAI: Pradap hin dok khem, Pradap hin bai khao, Pradap hin lai (General) EPPO Code---AGOSS (Preferred name: Agrostemma sp.) ชื่อวงศ์---RUBIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย Argostemma parvum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เข็ม (Rubiaceae) สกุลดาวเงิน (Argostemma)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Sir Patrick Geddes FRSE (1854–1932) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2470 ที่อยู่อาศัย พืชเฉพาะถิ่นประเทศไทยพบ ทางภาคตะวันออก ที่จังหวัดศรีสะเกษ; ภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่จังหวัด ระยอง, จันทบุรี, ตราด พบตามป่าดงดิบร่มครึ้มและชุ่มชื้น บางชนิดขึ้นบนโขดหินใกล้น้ำตก และมีหลายชนิดที่ขึ้นหนาแน่นเป็นพืชคลุมดินของป่าดิบ พบเห็นได้ง่ายระดับความสูง 10-450 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูง30-50 ซม.มีเหง้าและหัวใต้ดินมีรากหนาทึบ ลำต้นตั้งตรงหรือเลื้อย ไม่แตกกิ่งก้านหรือแตกกิ่งก้านเล็กน้อย ใบ เดี่ยวออกตรงข้าม3-4คู่ แต่ส่วนใหญ่จะเห็นใบเดียว เนื่องจากอีกใบหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามลดรูปจนมีขนาดเล็กมาก ถ้าไม่สังเกตุให้ดีจะมองไม่เห็น แผ่นใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายแหลมขนาด10-64 (110)x2-12 (16) มม. เส้นกลางใบเห็นชัด ยกขึ้นด้านล่าง มีสีซีด (สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวอ่อนด้านล่าง, สีเข้มกว่าด้านบน), ดอก สีขาวออกเป็นช่อที่ปลายยอด1-2 ดอก ก้านดอกยาวประมาณ 3-7 มม. เกลี้ยง ดอกเป็นรูปดาวกลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม 3-3.5 x 2 มม. มีหลอดกลีบสั้น 0.5 - 0.5-1 มม.เกสรผู้ติดโคนหลอดกลีบโคนเกสรผู้มีสีเข้ม ตอนปลายสีขาว ก้านเกสรแยกกันอับเรณูชิดกันที่แกนกลาง ก้านเกสรเมียเป็นเส้นด้าย ผลผลไม้กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 มม. แห้งแตก มีฝาเปิดปิดที่ปลาย เมล็ดเล็กมีจำนวนมาก ระยะออกดอก/ติดผล---สิงหาคม-กันยายน/กันยายน-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
ดาราคาม/Eranthemum pulchellum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Eranthemum pulchellum Andrews.(1800) ชื่อพ้อง---Has 18 Synonyms ---Daedalacanthus nervosus (Vahl) Anderson.(1867) ---Eranthemum nervosum (Vahl) Römer & Schultes.(1817) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2791833 ชื่อสามัญ---Star Of Village, Blue Sage, Blue Eranthemum, Indian blue sage, Blue-sage. ชื่ออื่น---ดาราคาม, เข็มเขียว, เข็มพญาอินทร์, เข็มม่วง(กรุงเทพฯ) ;[HINDI: Gulsham.];[INDIA: Gulsham, Neelambaramu, Neelamulli, Neeli buti.];[GERMAN: Blaue Frühlingsblume.];[PORTUGUESE: Camarão-azul, Salva-azul.];[SPANISH: Azulejo.];[SWEDISH: Safirbuske.];[TAMIL: Neelamulli.];[THAI: Darakham, Khem khieao, Khem phaya in, Khem muang (Bangkok).];[VIETNAM: Tinh hoa đẹp, Tinh hoa xinh.]. EPPO Code---EAUNV (Preferred name: Eranthemum pulchellum.) ชื่อวงศ์---ACANTHACEAE ถิ่นกำเนิด---อเมริกากลาง เขตกระจายพันธุ์--- ปากีสถาน อนุทวีปอินเดีย อินโดจีน Eranthemum pulchellum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เหงือกปลาหมอหรือวงศ์กระดูกไก่ (Acanthaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Henry Cranke Andrews (fl. 1794 – 1830) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2343 ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในภูฏาน อินเดีย พม่าและเนปาล ซึ่งเติบโตจากระดับน้ำทะเลสูงถึงประมาณ 900 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสูง1.5-3 เมตร เป็นไม้ในกลุ่มเดียวกันกับอังกาบและสังกรณี ก้านใบยาว0.5-2ซม.ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันรูปไข่แกมใบหอกยาว5-10ซม. ผิวใบมีสีเขียวเข้ม ดอก เดี่ยวออกเป็นช่อ โคนเชื่อมกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 กลีบดอกมีสีม่วงอมฟ้า ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี แสงแดดครึ่งวันถึงเต็มวัน ทนทานต่อแสงเงาสูง ทนดินที่มีสารอาหารต่ำและเป็นกรด (pH 5-5.7) ใช้ประโยชน์---ปลูกเป็นไม้ประดับ ระยะออกดอก/ติดผล---ออกดอกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ
ดุสิตา/Utricularia delphinioides
ชื่อวิทยาศาสตร์---Utricularia delphinioides Thorel ex Pellegr.(1920) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50188126 ---Utricularia delphinioides var. minor Pellegr.(1920) ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ดอกขมิ้น (ศรีสะเกษ); ดุสิตา (กรุงเทพฯ); แตดข้า (อุบลราชธานี); หญ้าข้าวก่ำน้อย, หญ้าเข็ม (เลย) ;[CHINESE: Cuì què lí zǎo.];[THAI: Dok khamin (Si Sa ket); Dusita (Bangkok); Taet kha (Ubon Ratchathani); Ya khao kam noi, Ya khem (Loei).]. EPPO Code--- UTRSS (Preferred name: Utricularia sp.) ชื่อวงศ์---LENTIBULARIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- อินโดจีน: กัมพูชา, ลาว, ไทยและเวียดนาม Utricularia delphinioides เป็นสายพันธุ์ของพืชกินเนื้อเป็นอาหารของสกุล Utriculariaในครอบครัววงศ์สร้อยสุวรรณา (Lentibulariaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Clovis Thorel (1833-1911) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส จากอดีต François Pellegrin (1881-1965) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2463 ดุสิตา เป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้พระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จากทุ่งดอกไม้ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ที่อยู่อาศัย เป็นพืชเฉพาะถิ่นอินโดจีนในประเทศไทยพบมากทางภาคทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก ขึ้นตามที่โล่งที่ชื้นแฉะบนลานหินทราย ในป่าสน และป่าเต็งรัง ความสูงถึงประมาณ 150 - 1,400 เมตร ลักษณะ เป็นพืชล้มลุกกินแมลงที่มักพบขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่หนาแน่นตามแอ่งที่ชื้นแฉะอยู่บนลานหินขึ้นเป็นกอสุงประมาณ 10-20 ซม.ไหลเป็นเส้นรูปเส้นด้าย ใบออกจากไหล รูปแถบ ยาว 2.5 ซม.ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กออกบริเวณข้อใกล้โคนต้น และมีใบซึ่งเปลี่ยนเป็นถุง ยาว 1-2 มม.สำหรับดักแมลงขนาดเล็กมาย่อยกินเป็นอาหาร ดอกสีม่วงเข้มออกเป็นช่อแทงขึ้นจากโคนกอ ช่อดอกตั้งสูงประมาณ 5-20 ซม.มีดอกย่อย 3-10 ดอก ขนาดประมาณ 6-10 มม. กลีบดอกล่างแผ่ออกเป็น 2 ปากยาว 5-7 มม.ผลรูปรี ยาว 3-4 มม. เมล็ดผิวเรียบ ระยะออกดอก/ติดผล---ตุลาคม-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
ต่างไก่ป่า/Polygala arillata
ชื่อวิทยาศาสตร์---Polygala arillata Buch.-Ham. ex. D.Don.(1825) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/tro-50001871 ---Polygala arillata var. ovata Gagnep.(1939) ชื่อสามัญ---Yellow Milkwort, Red eye, Marcha Plant ชื่ออื่น---ต่างไก่ป่า (เลย) :[BENGALI: Karima.];[BHUTAN: Baahu, Marcha, Lapinku, Yangrim.];[CHINESE: Hé bāo shān guì huā.];[NEPALI: Marcha];[THAI: Tang kai pa (Loei).];[VIETNAM: Viễn chí, Kích nhũ mồng.]. EPPO Code---POGAK (Preferred name: Polygala arillata.) ชื่อวงศ์---POLYGALACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- อินเดีย เนปาล จีน อินโดจีน Polygala arillata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ต่างไก่ป่า (Polygalaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francis Buchanan-Hamilton(1762-1829) แพทย์ชาวสก็อตที่มีส่วนร่วมสำคัญในฐานะนักภูมิศาสตร์นักสัตววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ในขณะที่อาศัยอยู่ในอินเดีย จากอดีต David Don (1799-1841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตในปี พ.ศ.2368
ที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่กระจายอยู่ใน เนปาล อินเดีย (สิกขิม) พม่าและทางตอนเหนือของเวียดนาม ลาว ไทย ในประเทศจีนมีการกระจายส่วนใหญ่ในหลายจังหวัดทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีพบในยูนนานมากที่สุดพบขึ้นตามป่าดิบที่ระดับความสูง 900-2300 เมตร ในประเทศไทยพบขึ้นหนาแน่นตามชายป่าดงดิบเขาแทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ที่ระดับความสูง 600-1,200 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง 3-5 เมตร ใบเป็น ใบเดี่ยวรูปหอก กว้าง 4-7 ซม.ยาว 10-20 ซม.โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลมยาว ขอบใบเป็นคลื่น ก้านใบยาว 1-2 ซม.ดอก สีเหลืองแกมส้ม ออกเป็นช่อห้อย ยาว 25-40 ซม.ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกขนาด 1-2 ซม. บานจากโคนไปหาปลายช่อ กลีบรองดอก 5 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ กลีบล่างคล้ายกระทงยาวเป็น 2 เท่าของ กลีบดอกคู่ข้างเกสรผู้ 8 อัน รวมเป็นมัด ปลายยอดสีส้ม ผลเป็นผลแห้งมี 2 พู ยาว 8 x 14 มม เมล็ดสีดำยาว 7 x 4 มม. เนื้อหุ้มเมล็ดสีส้ม ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ใช้กันอย่างแพร่หลายในการแพทย์แผนโบราณในหลายประเทศเพื่อทำยาบำรุง ลดไข้ รักษาอาการไอ อาการอักเสบ -รากและลำต้นมักใช้รักษาอาการผิดปกติของประจำเดือน ตับอักเสบ ปอดบวม แก้ไข้ ปรับปรุงความจำและลดการอักเสบ ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species ( 2019) ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-ตุลาคม/มิถุนายน-พฤศจิกวยน ขยายพันธุ์---เมล็ด
ตานฟัก/Crotalaria ferruginea
ชื่อวิทยาศาสตร์---Crotalaria ferruginea Graham ex Benth..(1843) ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms ---Crotalaria bodinieri H.Lév.(1915) ---Crotalaria chiayiana Y.C.Liu & F.Y.Lu.(1979) ---Crotalaria lejoloba Bartl. (1837) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-45190 ชื่อสามัญ--- Rust-colored crotalaria, False ground blue. ชื่ออื่น---ตานฟัก (เชียงใหม่); พวนดอย (ภาคเหนือ); หมากขิ่งหนู (แม่ฮ่องสอน) ;[CHINESE: Jiǎ de lán, Xiang ling cao, Yě huā shēng.];[FRENCH: Crotalaire de Bodinier.];[JAPANESE: Nanban tanuki mame];[THAI: Tan fak (Chiang Mai); Phuan doi (Northern); Mak khing nu (Mae Hong Son).];[VIETNAM: Lục lạc sét.]; EPPO Code---CVTSS (Preferred name: Crotalaria sp.) ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน อินเดีย ศรีลังกา ถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และนิวกินี Crotalaria ferruginea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในสกุลหิ่งเม่น (Crotalaria) ครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae)lได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Graham Dugald Duncan (born 1959) นักพฤกษศาสตร์ชาวแอฟริกาใต้ จากอดีต George Bentham (1800-1884) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2392
ที่อยู่อาศัย พบในจีนตะวันตกเฉียงใต้ อินเดีย เนปาล ภูฏาน บังคลาเทศ เมียนมาร์ ไทยและนิวกินี เติบโตในป่าเต็งรังผลัดใบ, ป่าเบญจพรรณ, ป่าสนและป่าดงดิบที่ระดับความสูง 35 - 2,558 เมตร;- ในประเทศจีน พบในป่าเปิดทุ่งหญ้ามอนแทน ที่ระดับความสูงจาก 400 - 2,200 เมตร ;- ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาค ขึ้นบริเวณทุ่งหญ้าเปิดในป่าผลัดใบหรือป่าดงดิบ ที่ระดับความสูง 350-1,800 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านมีขนปกคลุมหนาแน่น ใบเดี่ยวรูปไข่ถึงรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1.5-4 ซม.ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน หูใบติดคงทน ดอกสีเหลืองออกเป้นช่อตรงซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาว 3-15 ซม. กลีบรองดอกปลายแยกเป็น2แฉกเว้าลึก มีขนสีแดงออกหนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนแผ่รูปรี กลีบข้างรูปขอบขนานกลีบล่างเชื่อมเป็นรูปท้องเรือปลายกลีบเป็นจะงอยเกสรตัว ผู้10อัน รังไข่รูปขอบขนานผิวเกลี้ยง ผลเป็นฝักรูปขอบขนานกว้าง0.8ซม.ยาว 2.5-3 ซม.มีเมล็ดประมาณ 20-30 เมล็ด เมล็ดรูปหัวใจเบี้ยวขนาดเล็ก ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแสงแดดส่องถึง ประสบผลสำเร็จในดินที่แห้งและชื้นและมีการระบายน้ำดี สายพันธุ์นี้มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับแบคทีเรียในดินบางชนิด แบคทีเรียเหล่านี้ก่อให้เกิดก้อนบนรากและตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ ไนโตรเจนบางส่วนนี้ถูกใช้ในพืชที่กำลังเติบโต แต่บางชนิดก็สามารถนำมาใช้กับพืชชนิดอื่นที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียงได้ ใช้ประโยชน์---มีการเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น บางครั้ง -ใช้เป็นยา รากใช้เป็นยารักษาไข้ ตำรายาพื้นบ้านล้านนา ใช้ตานฟักทั้งต้น ต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้ฟกบวม ในเวียตนามใช้ต้นไม้ทั้งต้นรักษาโรคหวัด, สิว, แผลที่มีอาการคัน, โรคไตอักเสบ, โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ -วนเกษตรใช้ พืขถูกใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ระยะออกดอก/ติดผล---สิงหาคม-ตุลาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
ตาเหินเชียงดาว/Hedychium tomentosum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Hedychium tomentosum Sirirugsa & K. Larsen.(1995) ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-248231 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ตาเหินเชียงดาว (เชียงใหม่) ; [THAI: Ta hoen chiang dao (Chiang Mai).] EPPO Code---HEYSS (Preferred name: Hedychium sp.) ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย Hedychium tomentosum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Puangpen Sirirugsa เธอเป็นนักพฤกษศาสตร์ที่เชี่ยวชาญพืชวงศ์ขิงของประเทศไทย และ Kai Larsen (1926–2012) นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ในปี พ.ศ.2538 ที่อยู่อาศัย พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นอิงอาศัยอยู่ตามโขดหินปูนในป่าดิบเขาที่มีความชื้นสูง ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอิงอาศัยตามโขดหิน ลักษณะลำต้นเทียมสูงประมาณ 60 ซม.ใบรูปรีหรือรูปรีแกมขอบขนาน ขนาดใบยาว 15-25 ซม.กว้าง 8-11 ซม.ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นหนานุ่ม ดอกช่อแบบช่อเชิงลดเกิดที่ปลายยอด ดอกย่อยเรียงห่างๆกัน ใบประดับรูปขอบขนานยาว 2.5 ซม.ผิวใบด้านนอกมีขนปกคลุมหนาแน่น ในแต่ละใบประดับมีดอกย่อยเพียง 1 ดอก ดอกสีเหลืองอ่อน หลอดกลีบเลี้ยงยาว3ซม.ปลายเว้าเป็น 2 แฉกตื้นๆมีขนยาวปกคลุมหลอดกลีบดอก ยาว 7.5 ซม.ปลาย แยกเป็น 3 แฉก แต่ละแฉกรูปแถบยาว 2.5 ซม. กลีบข้างรูปแถบ ขนาดเท่ากันกับแฉกกลีบดอก สีเหลืองอ่อน กลีบปากรูปไข่กลับ สีเหลืองอ่อนยาว 2-3 ซม. ตรงโคนแคบปลายแยกเป็น 2 แฉก ก้านเกสรผู้ยาว 2.8 ซม.อับเรณูยาว 0.5 ซม.สีส้ม ตรงโคนมีรยางค์ รังไข่ยาว 3 มม.มีขนปกคลุมหนาแน่น สถานภาพ---พืชถิ่นเดียวและพืชหายาก ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---อากาศเย็นและมีแสงแดดส่องถึง ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน-กรกฎาคม ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด เหง้า แยกหน่อ
ตาเหินหลวง/Hedychium stenopetalum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Hedychium stenopetalum Lodd.(1833) ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-248219 ---Hedychium barbatum Wall.(1832).[Invalid] ---Hedychium elatum Horan.(1862) ชื่อสามัญ--- Slenderpetal Ginger, Slenderpetal Lily, White Star Ginger, White Stars Ginger, Giant Butterfly Lily. ชื่ออื่น-ตาเหินหลวง(ภาคกลาง);[FRENCH:Gingembre étoile blanche.];[THAI: Ta hoen luang(Northern)];[VIETNAM: Ngải tiên rừng.]. EPPO Code--- HEYST (Preferred name: Hedychium stenopetalum.) ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- อินเดีย, บังคลาเทศ, ภูฎาน, จีน, พม่า, ไทย, เวียดนาม ลาว Hedychium stenopetalum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Conrad Loddiges (1738–1826) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2376 ที่อยู่อาศัย มีช่วงกระจายตามธรรมชาติขนาดใหญ่ตั้งแต่อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ (อัสสัม) บังคลาเทศ หิมาลัยตะวันออกถึงจังหวัดกวางสีในจีนและลงไปทางเหนือของพม่า ไทย เวียดนามและลาว ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำธารและป่าดงดิบที่ระดับความสูง 300-1,200 เมตร ลักษณะ เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่สูงที่สุดของ Hedychium ทุกชนิด สูงถึง1.5-2.5 (-4) เมตรเป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยวรูปขอบขนาน กว้าง 8-10 ซม.ยาว 35-50 ซม.ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสี ขาว ดอกไม้สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก มีสีจาง ๆสีเหลืองอมเขียวที่โคนและเกสรสีขาว ออกเป็นช่อตั้งจากปลายยอด ยาว 30-40 ซม.แกนช่อดอกมีขน ใบประดับรูปขอบขนาน ยาว 2.5-4.5 ซม. ใบประดับย่อยม้วนรอบดอกรูปขอบขนาน กลีบรองดอกเชื่อมเป็นหลอดยาว 4.7 ซม.มีขนแน่นปลายแยกเป็นสามแฉก กลีบดอกเป็นหลอดยาว 5.5 ซม.ปลายแยกเป็นแฉกรูปแถบ ยาว5ซม.กลีบปากแผ่รูปไข่กลับ กว้าง 2 ซม.ยาว 2.5 ซม.มีก้านปลายกลีบเว้าเป็นแฉกลึก ก้านเกสรผู้ยาว 7 ซม.อับเรณูยาว 1 ซม.รังไข่มีขนสีน้ำตาลแน่น เมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อนรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาด 3-4 มม. ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เติบโตในตำแหน่งที่มีแสงแดดหรือในที่ร่ม ดินที่อุดมสมบูรณ์ ชื้น แต่มีการระบายน้ำได้ดี ใช้ประโยชน์---เป็นสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฎาคม-สิงหาคม ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด เหง้า แยกหน่อ
ตาเหินเหลือง/Hedychium flavum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Hedychium flavum Roxb.(1820) ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms ---Gandasulium flavum (Roxb.) Kuntze.(1891) ---Hedychium coccineum var. flavum (Roxb.) Baker.(1892) ---Hedychium urophyllum G.Lodd.(1832) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-248138 ชื่อสามัญ---Yellow ginger, Yellow Butterfly Ginger, Nardo Ginger Lily, Cream Garland-lily, Cream Ginger. ชื่ออื่น---ตาเหินเหลือง (ภาคเหนือ) ;[CHINESE: Huáng jiāng huā.];[GERMAN: Gelbe Kranzblume.];[SWEDISH: Gul kanonviska.];[THAI: Ta hoen lueang (Northern).] EPPO Code--- HEYFL (Preferred name: Hedychium flavum.) ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย, บังคลาเทศ, พม่า, ไทย, เวียดนาม, แอฟริกา Hedychium flavum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2363 ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทิเบตและจีน (เสฉวน ยูนนาน กุ้ยโจว กวางสี) กระจายใน อินเดีย, บังคลาเทศ, พม่า, ไทย, เวียดนามและในแอฟริกา (สาธารณรัฐโดมินิกัน, จาเมกา, ซามัวและตรินิแดด-โตเบโก.) พบในพื้นที่เปิดโล่งที่ชุ่มชื้น ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 900 - 1,200 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน สูง 1.5-2 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรี กว้าง 10-12 ซม.ยาว 48-50 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบด้านบนเกลี้ยงด้านล่างมีขนสีขาว ดอก สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อยาว 12-15 ซม. ใบประดับสีเขียวมีขนประปราย ใบประดับย่อยสีขาวม้วนรอบดอก ปลายแยกเป็น 3 แฉกไม่เท่ากัน กลีบรองดอกเป็นหลอดยาว 4.5 ซม. ปลายแยกเป็น 2-3 แฉก มีขน กลีบดอกเป็นหลอดยาว 8 ซม.ปลายแยกเป็น3แฉกรูปแถบ กว้าง 0.5 ซม.ยาว 3.8 ซม.เกสรผู้เทียมรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม.ยาว 4-4.5 ซม. กลีบปากรูปไข่กลับ กว้าง 3.2 ซม.ยาว 4 ซม.ปลายกลีบแยกเป็น2พู ก้านเกสรเพศผู้สีเหลือง ยาว 3.7 ซม.อับเรณู ยาว 1.5 ซม.รังไข่มีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมหนาแน่น เมล็ด กลม เมื่อแก่สีดำ ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เติบโตในตำแหน่งที่มีแสงแดดหรือในที่ร่ม ดินที่อุดมสมบูรณ์ ชื้น แต่มีการระบายน้ำได้ดี ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเป็นแหล่งของน้ำมันหอมระเหยและปลูกเป็นไม้ประดับในสวน ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม - สิงหาคม/กรกฎาคม-กันยายน ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด เหง้า แยกหน่อ
ตำแยดิน/Argyreia thorelii
ชื่อวิทยาศาสตร์---Argyreia thorelii Gagnep.(1915) ---This name is unresolved.According to The Plant List. Argyreia thorelii Gagnep. is an unresolved name. ชื่อพ้อง---No synonym are record for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ifn-59352 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ตำแยดิน, เครือพูทอง (ทั่วไป); ขี้เจียก (อุบลราชธานี) ;[ARABIC: Arghiriat masraa, Aarghrih.];[CHINESE: Bái hè téng shǔ.];[FINLAND: Norsukierrot (suomi).];[MALAYALAM: Arjīriya.];[SWEDISH: Elefant Vindesläktet.];[THAI: Tam-yae din, Khruea phu thong (General); Khi chiak (Ubon Ratchathani).]. EPPO Code---AGJSS (Preferred name: Argyreia sp.) ชื่อวงศ์---CONVOLVULACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย ลาว Argyreia thorelii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francois Gagnepain (1866-1952 ) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2458 ที่อยู่อาศัย พบที่ลาว และภาคตะวันออกของไทยที่อุบลราชธานี ขึ้นตามป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้งที่เป็นหินทราย ความสูง 150-650 เมตร ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยล้มลุก ตามกิ่งและแผ่นใบมีขนยาวสีน้ำตาลทองประปราย ใบเดี่ยวเรียงสลับ ยาวได้ถึง 14 ซม ปลายใบเรียวแหลมก้านใบมีขนหยาบแข็งก้านใบยาว 0.7-1 ซม.แผ่นใบด้านล่างมีนวล มีขนยาวสีน้ำตาลทองหนาแน่นตามช่อดอก ใบประดับและกลีบเลี้ยง ดอกออกแบบช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกย่อย 3-7 ดอก ใบประดับย่อยรูปแถบปลายแหลมมีขนหยาบแข็ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หลอดกลีบดอกยาว 4-5 ซม.แฉกกลีบดอกยาวประมาณ 2 ซม.ผลทรงกลมแห้งแล้วแตก ใช้ประโยชน์---เป็นยาพื้นบ้านอิสาน ใช้รากต้มน้ำดื่มแก้ไอ กินสดเป็นยาระบาย ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เมล็ด
ตุ้มมณี/Scabiosa siamensis
ชื่อวิทยาศาสตร์--- Pterocephalodes siamensis (W. G. Craib) V. Mayer & Ehrend..(2000) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-100355398 ---Basionym: Scabiosa siamensis Craib.(1933) ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ตุ้มมณี, ขาวปั้น (ทั่วไป) :[THAI: Tum mani, Khao pan (General).] EPPO Code---PTBSS (Preferred name: Pterocephalus sp.) ชื่อวงศ์---DIPSACACEAE (CAPRIFOLIACEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย Pterocephalodes siamensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ (Dipsacaceae) ปัจจุบันสมาชิกของวงศ์นี้ถูกย้ายไปอยู่ในวงศ์อูนป่า (Caprifoliaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Dr. Veronika E. Mayer และ Friedrich Ehrendorfer (born1927) ศาสตราจารย์นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรียในปี พ.ศ.2543
ที่อยู่อาศัย พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือที่ดอยหัวหมด จังหวัดตาก และดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นตามเขาหินปูนที่เปิดโล่ง ตั้งแต่ระดับความสูง 1,900-2,200เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีสูงประมาณ 30-60 ซม.ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวรูปใบพาย ออกเรียงแผ่รอบโคนต้น แผ่นใบกว้าง 4-8 ซม.ยาว 6-18 ซม.โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบสั้น ดอก สีขาวออกเป็นกระจุกแน่นเกือบกลมออกเดี่ยว ๆขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6ซม.ก้านช่อดอกยาว 8-20 ซม.มีขนปกคลุม มีใบประดับรูปขอบขนานที่โคนช่อดอก 2-3 วง รูปใบหอก ยาว 1-2 ซม. ใบประดับรูปแถบ ยาวประมาณ 1 ซม.กลีบเลี้ยงเป็นขนแข็งมีประมาณ 15 อัน ยาวประมาณ 7.5 มม. มีขนรูปตะขอ ดอกสีขาว หลอดกลีบดอกยาว 1-1.2 ซม. กลีบรูปรีกว้าง กลีบบน 1 กลีบ กลีบล่าง 3 กลีบ ยาวประมาณ 3.5 มม. ด้านนอกมีขน เกสรเพศผู้ 4 อัน ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก อับเรณูสีม่วงอ่อน รังไข่ใต้วงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียสั้นกว่าเกสรเพศผู้ ผลเป็นแบบผลแห้ง เมล็ดเมื่อแก่ติดแน่นอยู่กับใบประดับ ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---พืชล้มลุกหายากที่มีดอกสวยงามชนิดหนึ่ง ลำต้นเป็นเหง้า ในฤดูแล้งจะดูเหี่ยวเฉาเหมือนตาย แต่แท้จริงเป็นการพักตัวของเหง้าใต้ดินเพื่อลดการขาดน้ำ ยามฤดูฝนจึงดูเขียวสดชื่นอีกครั้ง สถานภาพ---พืชถิ่นเดียวและพืชหายาก ระยะออกดอก---ธันวาคม-มกราคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
แตงหนู/Mukia maderaspatana
ชื่อวิทยาศาสตร์---Mukia maderaspatana (L.) M.Roem.(1846) ชื่อพ้อง---Has 17 Synonyms ---Bryonia scabrella L. f. (1781) ---Cucumis maderaspatanus L.(1753) ---Melothria maderaspatana (L.) Cogn.(1881) ---Mukia scabrella (L.) Arn.(1841) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2371639 ชื่อสามัญ---Madras Pea Pumpkin, Rough Bryony, Madras pea pumpkin, Bristly bryony ชื่ออื่น---แตงหนู (ภาคเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ), แตงนก (กาญจนบุรี), แตงผีปลูก (ชัยนาท), แตงหนูขน (ประจวบคีรีขันธ์) ;[ASSAMESE: Ban tioh.];[BENGALI: Agamukhi.];[CHINESE: Mào er guā, Mào er guā shǔ.];[HINDI: Aganaki, Agumnaki, Bilari.];[KANNADA: Mani thonde, Gubbisavathikaayi.];[MALAYALAM: Mukkalppeeram.];[MARATHI: Chirati, Bilavi.];[NEPALI: Matyangre kankri.];[SANSKRIT: Trikoshaki, Kritarandhra];[TAMIL: Mucumucukkai.];[THAI: Taeng nok (Kanchanaburi); Ttaeng phi pluk (Chai Nat); Taeng nu (Northeastern, Northern); Taeng nu khon (Prachuap Khiri Khan).];[VIETNAM: Cầu qua nhám.]. EPPO Code---MEEMA (Preferred name: Cucumis maderaspatanus.) ชื่อวงศ์---CUCURBITACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา เขตกระจายพันธุ์---แอฟริกา เอเซีย ออสเตรเลีย Mukia maderaspatana เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวในวงศ์แตง (Cucurbitaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Max Joseph Roemer (1791–1849) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2389
ที่อยู่อาศัย การกระจายพันธุ์มีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก แพร่หลายไปทั่วเขตร้อนของแอฟริกาผ่านเอเชียไปยังออสเตรเลีย ในแอฟริกาตั้งแต่แอฟริกาใต้จนถึงเซเนกัล - ซูดานทางเหนือ (รวมถึงมาดากัสการ์และมอริเชียส) ในเอเชียจากปากีสถานทางตะวันตกผ่านอินเดีย ศรีลังกา เนปาล จีน (กวางตุ้ง กวางสีและยูนนาน) ไปยังเวียดนามในภาคตะวันออก, ทางใต้ของอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์และออสเตรเลียเหนือ เติบโตในพุ่มไม้บนเนินหินทุ่งหญ้า ที่ราบลุ่มน้ำท่วมและที่ราบลุ่มหุบเขาริมแม่น้ำและสถานที่ชื้นในป่า ที่ระดับความสูง 400 - 1700 เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาค โดยเฉพาะตามที่โล่ง ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยล้มลุกเลื้อยได้ไกลสูงสุดประมาณ 4 เมตร ทั้งต้นมีขนสีขาว ใบรูปไข่กว้างคล้ายรูปสามเหลี่ยม หรือเกือบกลม เรียบหรือจักตื้น ๆ 3-5 พู กว้าง3-7ซม.ยาว4-8ซมโคนรูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อยห่าง ๆ ดอกเพศผู้มี 2-20 ดอก บางครั้งมีดอกเพศเมียปนในช่อดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว 2-7 มม. ฐานดอกยาว 1.5-4 มม. มีขน กลีบเลี้ยงยาว 1-1.5 มม. ดอกสีขาว กลีบรูปไข่ ยาว 1.5-4 มม. อับเรณูยาว 1-2 มม. ดอกเพศเมียคล้ายดอกเพศผู้ มี 1-8 ดอก ก้านดอกยาว 1-4 มม. รังไข่มีขนประปราย เกสรเพศเมียเกลี้ยง ผลกลมเมื่อสุกสีแดงสด เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1.5 ซม. ก้านผลยาว 2-5 มม. มีเมล็ดรูปไข่กลับ 10-20 เมล็ด ยาว 3-4 มม. ผิวมีรอยบุ๋ม และตุ่มกระจาย ใช้ประโยชน์---พืชมักถูกรวบรวมจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น -ใช้กิน ผลไม้ใบไม้และหน่ออ่อนใช้กิน ในประเทศลาวและ กลุ่มชนเผ่าใน Jawhar(อินเดีย) -ใช้เป็นยา พืชสมุนไพรแบบดั้งเดิมในเขตตะวันตกของรัฐทมิฬนาฑูประเทศอินเดียใช้ในอายุรเวท สิทธาในยาแผนโบราณ พื้นบ้าน เมล็ด ราก ใบ ใช้ในการขยายตัวและบรรเทาอาการปวดฟันและข้อ ใช้เป็นยาระบายอ่อนและยาขับปัสสาวะ รากถูกเคี้ยวเพื่อบรรเทาอาการปวดเส้นประสาทบนใบหน้า ปวดฟัน ยาต้มใช้ในการรักษาอาการท้องอืด ใช้เพื่อรักษาโรคเบาหวาน ถุงน้ำดีอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระ ยาพื้นบ้านไทยใช้ราก ตำพอกเหงือกแก้ปวดฟัน น้ำมันจากเมล็ด ทาถูนวดกล้ามเนื้อ แก้ปวดเมื่อย ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-สิงหาคม/สิงหาคม-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
ถั่วเขา/Campylotropis pinetorum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Campylotropis pinetorum (Kurz) Schindl.(1912) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms. See all https://www.gbif.org/species/5349837 ---Basionym: Lespedeza pinetorum Kurz.(1873) ชื่อสามัญ--None (Not recorded) ชื่ออื่น---ถั่วเขา, ถั่วดอย (เชียงใหม่), ถั่วป่า (ภาคเหนือ) ;[CHINESE: Song lin hang zi shao, Hang Zi Shao.];[THAI: Thua khao, Thua doi (Chiang Mai); Tthua pa (Northern).];[VIETNAM: Biến hướng rừng thông.]. EPPO Code---CMLSS (Preferred name: Campylotropis sp.) ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เนปาล พม่า ไทย ลาว จีน เวียตนาม Campylotropis pinetorum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Wilhelm Sulpiz Kurz (1834-1878) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Anton Karl Schindler(1879-1964) เป็นทันตแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2455 Campylotropis pinetorum มี1สายพันธุ์ย่อยคือ: -Campylotropis pinetorum subsp. velutina (Dunn) H.Ohashi.(1974) ที่อยู่อาศัย พบใน จีน (กวางสี กุ้ยโจว ยูนนาน) เนปาล พม่า ไทย ลาว เวียดนาม ตามความลาดชันของภูเขา ระยะขอบของป่า ป่าโปร่ง, ทางลาดแบบเปิดโล่ง ลำธาร ที่ระดับความสูง 700-2800เมตร ในประเทศไทยพบ เฉพาะบนภูเขาสูงทางภาคเหนือ ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยผีปันน้ำ จังหวัดเชียงราย และบนภูเขาที่สูงเกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ตามชายป่าโปร่ง ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลางม้ สูง 1-2 เมตร กิ่งก้านสาขาสีน้ำตาลอ่อน ก้านใบยาว 1-5 ซม. มีขนหนาแน่นมีใบประกอบแบบ 3 ใบย่อย เส้นใบแบบนิ้วมือ ใบย่อยรูปขอบขนาน รูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาว 6-12 (15) ซม. กว้าง 2-5 (6) ซม.ปลายกลมหรือเว้าเล็กน้อย ฐานกลม สีเขียวด้านบนมีขนสั้น ๆ ด้านล่างสีเทามีขนหนาแน่น ดอกสมมาตรด้านข้างแบบดอกถั่ว ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายยอด ช่อดอกความยาวรวมก้านดอก 3.5-9 ซม.ดอกย่อยสีขาวครีมหรือขาวอมเหลือง ดอกด้านบนสุดของช่อที่แก่ที่สุดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ผลแบบฝักถั่วเมื่อแก่แล้วแตก ขนาด 6-6 5 × 3-4 มม. มีขนสั้น ๆ บางครั้งก็ผสมกับขนต่อมแหลม สีน้ำตาลอมม่วง เมล็ดรูปขอบขนานขนาด 3.2-4 × 1.5-2 มม. ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---แสงแดดจัดตลอดวัน และอากาศเย็น ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ในจีนใช้ราก (สามใบ): ขม ฝาด ใช้ในการไหลเวียนของเลือด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวด ท้องเสีย ใช้เป็นยาสมานแผล ดอกใช้รักษา ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง, ปวดท้อง, ปวดข้อรูมาติก, ปวดประจำเดือน ระยะออกดอก/ติดผล---ธันวาคม-เมษายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
ทองพันดุล/Decashistia parviflora
ชื่อวิทยาศาสตร์---Decaschistia parviflora Kurz. (1870). ชื่อพ้อง---This name is a synonym of Decaschistia crotonifolia Wight & Arn.(1834) ชื่อสามัญ---Croton leaf mysore mallow ชื่ออื่น---ไก่อู (นครสวรรค์); ชบาหนู, ทองพันดุล (ราชบุรี); ปอดาน (หนองคาย); หัวไก่โอกใหญ่ (นครราชสีมา) ;[KANNADA: Kolle.];[TAMIL: Selangamaram.];[THAI: Kai u (Nakhon Sawan); Chaba nu, Thong phan dun (Ratchaburi); Po dan (Nong Khai); Hua kai ok yai (Nakhon Ratchasima).];[VIETNAM: Cây đùi gà, Thái tử sâm, Mạy coòng cáy (Thái), Thập tử hoa thưa.]. EPPO Code---1MAVF (Preferred name: Malvaceae) ชื่อวงศ์---MALVACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จากพม่าจนถึงคาบสมุทรอินโดจีน Decaschistia parviflora เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชบา (Malvaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Wilhelm Sulpiz Kurz (1834-1878) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2413
ที่อยู่อาศัย พบในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบแทบทุกภาค กระจายอยู่ในภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลางรวมทั้งในพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี ยกเว้นภาคเหนือตอนบนและภาคใต้ ขึ้นตามชายป่าที่โล่งในป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ความสูงถึงประมาณ 50-300 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กล้มลุกมีหัวใต้ดินดินคล้ายรากโสมเกาหลี สูง 0.5-1 เมตร พบขึ้นเป็นกอเตี้ยๆในทุ่งโล่งตามทุ่งหญ้าดินร่วนปนทราย ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปขอบขนานแกมใบหอกกว้าง 2-3 ซม.ยาว 7-10 ซม.ขอบเรียบหรือจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนมีสะเก็ดรูปดาวกระจาย ด้านล่างมีขนหนาแน่น ก้านใบยาว 0.5-4 ซม. ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบหรือเป็นช่อกระจุกสั้น ๆ ตามปลายกิ่ง ริ้วประดับ 10 กลีบ รูปแถบ ยาว 3-5 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 ซม ลักษณะคล้ายดอกชบา ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางดอก4-8ซม. มีหลายสี สีชมพู สีชมพูอมส้ม แดงแกมชมพูจนซีดเกือบขาว โคนกลีบดอกสีขาว มี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 2-3.5 ซม.เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 5-8 มม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก ติดเหนือกึ่งกลางเส้าเกสรจรดปลาย อับเรณูรูปตัวยู สีเหลือง ก้านเกสรเพศเมียแยก 8-10 แฉก ยาวประมาณ 1.5 ซม. ยอดเกสรรูปโล่ สีแดง .ผลแห้งแตกได้ รูปร่างค่อนข้างกลมมีขนสีน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. มีขนหนาแน่น แต่ละช่องมีเมล็ดเดียว รูปไต มีขนหนาแน่น ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา เหง้าใต้ดิน (หัว) กินแก้กระหายน้ำ เป็นยาเย็น ในเวียตนามใช้ ราก เป็นยาบำรุงกระตุ้นการย่อยอาหาร รักษากระดูกหัก ในประเทศกัมพูชามีการใช้รากหัวใต้ดินเพื่อรักษาพิษที่เกิดจากการกิน รากที่พบคล้ายโสมเกาหลียังไม่มีการรายงานการวิจัยถึงสรรพคุณทางยาว่ามีสารออกฤทธิ์เช่นโสมเกาหลีหรือไม่ -อื่น ๆทั้งต้นใช้ทุบแล้วพอกขาของหมูแก้อาการเคล็ดหรือนำรากมาทุบประคบแผลฟกช้ำให้ไก่ชน รากสด ใช้บดพอกเป็นยาแก้เคล็ดฟกช้ำในสัตว์ สถานภาพ---พืชหายาก ระยะออกดอก/ติดผล--- พฤศจิกายน-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
ทิพเกสร/Utricularia minutissima
ชื่อวิทยาศาสตร์---Utricularia minutissima Vahl.(1804) ชื่อพ้อง---Has 12 Synonyms ---Utricularia brevilabris Lace.(1915) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50061653 ชื่อสามัญ---(Not recorded) ชื่ออื่น--ทิพเกสร (กรุงเทพฯ), หญ้าฝอยเล็ก (เลย) ;[CHINESE: Xie guo wa er cao, Xié guǒ lí zǎo.];[INDONESIA: Gunung tahan.];[THAI: Thip keson (Bangkok); Ya foi lek (Loei).];[VIETNAM: Nhỉ cán rất nhỏ.] EPPO Code---UTRMT (Preferred name: Utricularia minutissima.) ชื่อวงศ์---LENTIBULARIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย Utricularia minutissima เป็นสายพันธุ์พืชกินเนื้อเป็นอาหารของสกุล Utriculariaในครอบครัววงศ์สร้อยสุวรรณา (Lentibulariaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Martin Vahl (1749–1804) นักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาชาวเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ในปี พ.ศ.
ทิพเกสร เป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้พระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จากทุ่งดอกไม้ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียพบใน พม่า, กัมพูชา, จีน (เจียงซี, มณฑลเจียงซู, กวางสี, ฝูเจี้ยน ), ฮ่องกง , ไต้หวัน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, ลาว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา, ไทย, เวียดนามและออสเตรเลีย เกาะต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เกาะบอร์เนียว, นิวกินีและเกาะสุมาตรา) เติบโตในพื้นที่ชื้นแฉะ ทรายชื้น พื้นผิวที่เป็นหินหรือหนองน้ำ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,100 เมตร ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ขึ้นเป็นกลุ่มตามพื้นที่โล่งชุ่มชื้น ตามแอ่งภูเขาหินทรายที่มีน้ำไหลรินในช่วงฤดูฝน ที่ระดับความสูง 50-1,500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกกินแมลงขนาดเล็ก เจริญเพียงฤดูเดียว สูง10-30 ซม.ลำต้นเล็กมากอยู่ใต้ดินแตกแขนงเป็นเส้นฝอยเล็กๆคล้ายราก มีกระปาะกลมเล็กมากตามข้อของไหล ใบเดี่ยว 0.3-2 ซม. × 0.4-0.8 มม.และมีใบที่เปลี่ยนเป็นถุงสำหรับดักจับแมลงขนาดเล็กเป็นอาหาร ดอกสีม่วงอ่อนแกมชมพูออกเป็นช่อตั้งตรงสูง 3-12 ซม. มีดอกย่อย 1-10 ดอกออกเรียงสลับ ขนาดประมาณ 6-10 มม.กลีบดอกล่างแผ่แยกออกเป็นสองปากผลแห้งชนิดเมื่อแก่แล้วแตกตามยาวขนาด 1.5-2 มม.เมล็ดกลมถึงวงรีกว้าง 2-3 มม. ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2018 ระยะออกดอก/ติดผล---กันยายน-พฤศจิกายน/พฤศจิกายน-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
ทืบยอด/Biophytum petersianum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Biophytum umbraculum Welw.(1859). ชื่อพ้อง---Has 14 Synonyms ---Biophytum apodiscias (Turcz.) Edgew. & Hook.f.(1872) ---Biophytum petersianum Klotzsch.(1861) ---Biophytum rotundifolium Delhaye.(1952) ---Oxalis apodiscias Turcz.(1863) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2676211 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---กระทืบยอบ (ทั่วไป); ทืบยอด (สุราษฎร์ธานี); นกเขาเง้า (นครราชสีมา); ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ;[CHINESE: Wu bing gan ying cao.];[INDONRSIA: Rumput Kebar.];[KINYARWANDA: Mobikowingoko.];[RUNDI: Tinyahabagne.];[TANZANIA: Vitija mkweo.];[THAI: Kra thuep yop (Northern); Thuep yot (Surat Thani); Nok khao ngao (Nakhon Ratchasima); Ho-tu-plu (Karen-Mae Hong Son).];[VIETNAM: Sinh diệp lá cong.]. EPPO Code--- BHYSS (Preferred name: Biophytum sp.) ชื่อวงศ์---OXALIDACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาใต้ มาดากัสการ์ Biophytum umbraculum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระทืบยอด (Oxalidaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Friedrich Martin Josef Welwitsch (1806–1872) นักสำรวจและนักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ในปี พ.ศ.2402
ที่อยู่อาศัย พบที่ประเทศอินเดีย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า นิวกีนี ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม,แอฟริกาเขตร้อนและมาดากัสการ์ พบในภูเขาหุบเขาป่าไม้ที่ระดับความสูง 800 - 1,600 เมตรในภาคใต้ของจีน เป็นพืชในเขตร้อนที่สามารถพบได้ที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,500 เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือชายป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1,200 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงได้ถึง 15 ซ.ม ใบประกอบขนนกชั้นเดียวเรียงสลับ รูปไข่กลับ เฉียง กว้าง 2-5 มม.ยาว 2-8 มม.ออกเป้นกระจุกที่ปลายยอด ใบย่อย 3- 9 คู่ รูปสามเหลี่ยมถึงรูปรีแกมทรงกลม ดอก ช่อออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีส้มหรือเหลือง ปลายกลีบอาจมีสีส้มหรือแดง ผลแห้งแล้วแตกรูปทรงกระบอกมีสันตามยาว ยาว 3-4 มม. แต่ละซีกมี 3-4 เมล็ด ใช้ประโยชน์---บางครั้งเก็บเกี่ยวพืชจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น -ใช้เป็นยา ใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่มบำรุงโลหิต รักษางูกัดและเป็นยาถ่ายสำหรับเด็ก ;-ใช้ในยาแผนโบราณของอินโดนีเซีย ;-เป็นพืชสมุนไพรที่มีมูลค่าสูงในแอฟริกาซึ่งใช้รักษาโรคมาลาเรียในสมอง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27260410/ ระยะออกดอก/ติดผล---สิงหาคม-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
เทพอัปสร/Delphinium siamense
ชื่อวิทยาศาสตร์---Delphinium siamense (Craib) Munz.(1968) ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2760415 ---Delphinium stapeliosmum Brühl var. siamense Craib.(1925) ---Delphinium altissimum Wall. var. siamense (Craib) T. Shimizu.(1925) ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---เทพอัปสร (ทั่วไป), พวงแก้วเชียงดาว (ทั่วไป) ;[THAI: Thep apson, Phuang kaeo chiang dao (General).] EPPO Code---DELSS (Preferred name: Delphinium sp.) ชื่อวงศ์---RANUNCULACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย Delphinium siamense เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัว วงศ์พวงแก้วกุดั่น (Ranunculaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Philip Alexander Munz (1892–1974) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ในปีพ.ศ.
ที่อยู่อาศัยพบขึ้นตามซอกหินบนพื้นภายใต้เรือนยอดโปร่งของป่าดงดิบเขาที่มีหญ้า ขึ้นปกคลุม หรือพบตามซอกหินปูนตามแนวหน้าผาหรือแนวสันเขาที่มีร่มเงา ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 1,300-2,150 เมตร ในประเทศไทยพบที่ดอยเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ ดอยปุย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก (ดอยหัวหมด อ. อุ้มผาง) ลักษณะ เป็นไม้ ล้มลุกอายุหลายปี มักไม่แตกกิ่งก้าน ต้นสูง 30-60 ซม.แตกใบมากตรงโคนต้น ใบที่อยู่ด้านล่างมักใหญ่กว่าใบที่อยู่สูงขึ้นไป แผ่นใบรูปรีหรือรูปหอก ขนาดใบกว้าง3-5ซม.ยาว5-8ซม. ขอบใบเว้าลึกทำให้แผ่นใบรูปคล้ายฝ่ามือ 5 แฉก โคนใบเว้า ดอกช่อแบบช่อกระจะออกที่ปลายยอด ช่อดอกยาว 20-30 ซม. ดอกย่อยมีขนาด 2-3 ซม. สีม่วงเข้ม ที่โคนก้านดอกมีใบประดับรูปร่างคล้ายกับใบรูปไข่หรือรูปไข่กว้าง ยาว 1-2 ซม.กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นหลอดคล้ายหาง ชี้ตรงไปทางด้านหลังของกลีบดอก กลีบดอก5กลีบโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น5แฉก แฉกกลีบดอกรูปไข่กว้าง กลีบบน1กลีบ ตรงกลางยาว 1.2-1.5 ซม.มีปลายกลีบแหลมและโค้งลง ส่วนกลีบดอกที่อยู่ด้านข้างและด้านข้างอย่างละ2กลีบขนาดเท่ากันยาว 1-1.2 ซม.โคนกลีบเรียงซ้อนเวียนกัน ผิวด้านนอกของกลีบดอกมีขนยาวปกคลุม สถานภาพ---พืชถิ่นเดียวและพืชหายาก ระยะออกดอก---ธันวาคม - มกราคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
เทียนเข็ม/Impatiens radiata
ชื่อวิทยาศาสตร์---Impatiens radiata Hook.f.(1875) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2863097 ---Impatiens centiflora H. Lév.(1916) ชื่อสามัญ---Spreading ray’s balsam ชื่ออื่น---เทียนรัศมี, เทียนหาง, เทียนเข็ม (ทั่วไป) ;[CHINESE: Fú shè fèng xiān huā.];[THAI: Thian ratsami, Thian hang, Thian khem (General).]. EPPO Code---IPARD (Preferred name: Impatiens radiata.) ชื่อวงศ์---BALSAMINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดียถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ Impatiens radiata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เทียนดอก (Balsaminaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Sir Joseph Dalton Hooker (1817-1911) นักพฤกษศาสตร์นักชีววิทยาและศัลยแพทย์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2418
ที่อยู่อาศัย พบที่ภูฏาน , อินเดีย , เนปาล , สิกขิม จีนแผ่นดินใหญ่ (ทิเบต , เสฉวน , ยูนนาน , กุ้ยโจว) พม่า ไทย เติบโตบนทุ่งหญ้า เนินเขาหรือป่าชื้น บริเวณที่เปียกชื้น ที่ระดับความสูง 2,100 -3,500 เมตร ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นใต้ร่มเงาในป่าดิบเขาที่มีความชุ่มชื้นสูง ที่ระดับความสูง 2,400-2,500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 30- 80 ซม.ลำต้นเกลี้ยงอวบน้ำ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่แกมรี กว้าง 2.5-6 ซม.ยาว 6-15 ซม.ปลายใบเรียวแหลมโคนใบมน มีขนทั่วไป ก้านใบยาว 0.5-2.5 ซม โคนก้านใบมีต่อม2ต่อม ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกเป็นช่อที่ปลายยอดเรียงออกเป็นรัศมีเกือบเป็นวงรอบ ดอกสีชมพูอมม่วง หรือขาว เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 2-3 ดอก กลีบเลี้ยง 2 กลีบ ขนาดเล็ก ปลายมีติ่ง กลีบปากเป็นถุง โคนเรียว ยาว 6-7 มม. เดือยยาวได้ถึง 2 ซม.ก้านดอกยาว 5-6 ซม.กลีบดอก5กลีบกลีบบนสุดเป็นรูปไข่ กลีบด้านข้าง4กลีบเชื่อมติด กันเป็น 2 คู่แต่ละคู่มีพูบนรูปใบหอกกว้าง พูล่างรูปสามเหลี่ยม เล็กกว่าพูบน ผลรูปแถบยาวประมาณ 2 ซม. เกลี้ยงแก่แล้วแตกมีเมล็ด 5-7 เมล็ด ศัตรูพืช/โรคพืช---พันธุ์ไม้มีความอ่อนไหวต่อแมลงศัตรูพืช ไวรัส และเชื้อราหลายชนิด ซึ่งส่งผลต่อใบ ผลไม้ และราก สถานะการอนุรักษ์---NE -Not Evaluated (ไม่ได้รับการประเมิน) -IUCN Red List of Threatened Species ระยะออกดอก/ติดผล-- กันยายน-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
เทียนคำ/Impatiens longiloba
ชื่อวิทยาศาสตร์--- Impatiens longiloba Craib.(1926) ---This name is unresolved.According to The Plant List.Impatiens longiloba Craib is an unresolved name ชื่อพ้อง---No synonyms are record for this name ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2862765 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---เทียนคำ (ทั่วไป) เทียนเหลืองอินทนนท์ ; [THAI: Thian kham (General).] EPPO Code---IPASS (Preferred name: Impatiens sp.) ชื่อวงศ์---BALSAMINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย Impatiens longiloba เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เทียนดอก (Balsaminaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2469
ที่อยู่อาศัย พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคเหนือที่อุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่.และเชียงราย พบบนภูเขาหินแกรนิต ขึ้นตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 2,000-2,500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มล้มลุก สูง 0.50-1เมตร ลำต้นเกลี้ยงอวบน้ำ ใบเดี่ยวรูปขอบขนานแกมรีปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขนาดของใบกว้าง1.2-5ซม.ยาว3-11ซม. ขอบใบจักมนถี่มีหนามละเอียด ใกล้โคนใบมีต่อม ดอกสีเหลืองสดออกเป็นช่อ 2-4 ดอกไม่มีใบประดับ ดอกบานขนาดกว้าง 1.5-2 ซม.ยาว 3-5 ซม. กลีบรองดอก 5กลีบแยกจากกันเป็น 2 กลีบ กลีบนอกรูปไข่ 2 กลีบ กลีบในมีขนาดเล็ก อีกกลีบเชื่อมกันเป็นเดือยยาวประมาณ 3 ซม. กลีบดอก 5 กลีบไม่สมมาตร กลีบบนสุดรูปไข่ขนาด 8-13 มม. อีก4กลีบเชื่อมกันเป็น 2 คู่ คู่บนรูปใบหอกกว้าง คู่ล่างกึ่งขอบขนานยาว 1-1.5 ซม. ผลแก่แล้วแตกรูปแถบมี 3พู เมล็ดกลมขนาด 3 มม. ใช้ประโยชน์---เทียนคำมีดอกสวยงามและมีศักยภาพ ในการพัฒนา เป็นไม้ประดับ ระยะออกดอก/ติดผล---ตุาคม-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
เทียนธารา/Impatiens mengtzeana
ชื่อวิทยาศาสตร์---Impatiens mengtzeana Hook.f.(1908) ชื่อพ้อง---No synonyms are record for this name.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-3100051 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---เทียนธารา (ภาคเหนือ), พาลีจำแลง ;[CHINESE: Meng zi feng xian hua.];[THAI: Thian thara (Northern); Phali cham lang.]; EPPO Code---IPASS (Preferred name: Impatiens sp.) ชื่อวงศ์---BALSAMINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีนตอนใต้และตอนเหนือของประเทศไทย Impatiens mengtzeana เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เทียนดอก (Balsaminaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Sir Joseph Dalton Hooker (1817-1911) นักพฤกษศาสตร์นักชีววิทยาและศัลยแพทย์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2451
ที่อยู่อาศัย พบที่อินเดีย จีนตอนใต้ (ยูนนาน พบตามป่าผสมริมแม่น้ำลำคลอง ลำธารบนภูเขา หรือในที่เปียกชื้นในป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูง 600-2,100 เมตร)ในประเทศไทยพบที่ดอยสุเทพและดอยอินทนนท์จังหวัดเชียงใหม่ขึ้นริมลำธารในป่าดิบเขาที่ระดับความสูง800-1,500เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกหรือทอดเลื้อย มีรากตามข้อ สูง 60-80 ซม.ลำต้นอวบน้ำสีเขียว ใบเดี่ยวเรียงสลับตามต้นและกิ่ง แผ่นใบสีเขียว โคนใบเรียวสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบจักมน ขนาดใบกว้าง 3-5 ซม.ยาว 7-10 ซม. ก้านใบยาว 2.5-3 ซม.ช่อดอกแบบช่อกระจะ ก้านช่อยาว 3-5 ซม.มี 1-2 ดอกในแต่ละช่อใบประดับย่อยรูปใบหอก ยาวประมาณ 7 มม. ก้านดอกยาว 1-2.5 ซม. ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยง 2 กลีบ รูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายมีติ่ง กลีบปากรูปลำโพง กว้างประมาณ 1.8 ซม.ลึกประมาณ 1.5 ซม.เดือยม้วนงอเข้า ยาว 1.5-2 ซม.กลีบดอกกลีบกลางรูปรีกว้าง ยาว 1.3-1.6 ซม.ปลายกลีบคล้ายรูปหัวใจ กลีบปีกแฉกลึก คู่นอกรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5 ซม.มีติ่งที่โคน คู่ในรูปรีกว้าง ยาวเท่า ๆคู่นอก ผลสีเขียวรูปรียาว 1-1.5 ซม.มีก้านยาวเมื่อแก่จะแตกออกตามยาว เมล็ดกลมสีดำจำนวนมากดีดเมล็ดไปได้ไกล ใช้ประโยชน์--- ปลูกเป็นไม้ประดับในที่ชื้นได้ สถานภาพ---พืชหายาก ระยะออกดอก/ติดผล--- กรกฎาคม-พฤศจิกายน/กุมภาพันธ์-มีนาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
เทียนนกแก้ว/Impatiens psittaciana
ชื่อวิทยาศาสตร์---Impatiens psittaciana Hook.f.(1901) ---This name is unresolved.According to The Plant List. Impatiens psittacina Hook.f. is an unresolved name ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2863064 ชื่อสามัญ---Parrot flower, Cockatoo balsam, Parrot-billed Impatiens, Thailand Parrot Flower. ชื่ออื่น---เทียนนกแก้ว(เชียงใหม่) ;[THAI: Thian nok kaeo (Chiang Mai).]. EPPO Code--- IPASS (Preferred name: Impatiens sp.) ชื่อวงศ์---BALSAMINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย, พม่า,ไทย ***(ส่วนตัว) อะไรจะเหมือนนกปานนั้น ดอกไม้.....นะดอกไม้......อย่าตกใจ อ่านมาเพลินๆแล้วมีโวยวาย เรื่องนี้ต้องเกริ่นก่อนว่าทั้งรูปทั้งเรื่องนำมาจากหนังสือ"สูงเสียดดอยพรรณไม้งาม Plants of Doi Chiang Dao" ของคุณ ปิยะ โมคกุลและคุณบารมี เต็มบุญเกียรติ ซึ่งท่านทั้งสองเก็บข้อมูลกว่า10 ปี สำหรับนักนิยมดอกไม้ป่าโดยเฉพาะ มีรายละเอียดลึกซึ้ง หาซื้ออ่านแล้วเก็บเป็นสมบัติเฉพาะตัวได้ตามสบาย (2008)*** Impatiens psittaciana เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เทียนดอก (Balsaminaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Sir Joseph Dalton Hooker (1817-1911) นักพฤกษศาสตร์นักชีววิทยาและศัลยแพทย์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2444 ที่อยู่อาศัย เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นพบได้ในรัฐมณีปุระของอินเดีย, พม่า และภาคเหนือของประเทศไทย (พบที่เดียวที่ดอยหลวงเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่) พบขึ้นตามใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในป่าดิบเขาหรือบริเวณโขดหินปูนที่อยู่สูง จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,500-1,800 เมตร ลักษณะ เทียน นกแก้วเป็นไม้เมืองหนาวล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นอวบน้ำ สูงประมาณ 80-150 ซม.ลำต้นกลวงและเป็นข้อปล้อง แตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นอ่อนสีม่วงอมแดงและอวบน้ำ ลำต้นแก่สีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้นเป็นเกลียว รูปใบหอก หรือรูปไข่กว้าง กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-6 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นหนามแหลมสั้น โคนใบมน ผิวใบเรียบ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ตามซอกใบบริเวณปลายกิ่งลักษณะดอกมองด้านข้างเหมือนนกแก้วกำลังบิน ขนาดดอก 2-3 ซม.ดอกสีม่วงแกมแดงและขาว หรือสีชมพูเข้มแกมแดงและขาว กลางดอกมีแต้มสีเหลือง ก้านดอกยาวได้ถึง 6 ซม.ผลเป็นฝักยาวรูปกระสวย มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก สถานภาพ---พืชถิ่นเดียวและพืชหายาก ระยะออกดอก---เดือนสิงหาคม-ต้นเดือนธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
เทียนภูคา/Impatiens claviger
ชื่อวิทยาศาสตร์---Impatiens claviger Hook.f.(1908) ชื่อพ้อง---No synonyms are record for this name.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50272818 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---เทียนภูคา, เทียนนกอัคคี, เทียนสองแคว (ทั่วไป) ;[CHINESE: Bang feng xian hua, Bàng fèng xiān.];[THAI: Thian phu ka, Thian nok akkhi, Thian song khwae (General).];[VIETNAM: Bóng nước chìa khóa, Móng tai chìa khóa.]. EPPO Code---IPASS (Preferred name: Impatiens sp.) ชื่อวงศ์---BALSAMINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน ไทย เวียตนาม Impatiens claviger เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เทียนดอก (Balsaminaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Sir Joseph Dalton Hooker (1817-1911) นักพฤกษศาสตร์นักชีววิทยาและศัลยแพทย์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2451
ที่อยู่อาศัย พบขึ้นกระจายอยู่ใน อินเดีย จีนแผ่นดินใหญ่ (กวางสี, ยูนนาน) และประเทศเวียดนามตอนบน ที่ระดับความสูง 1,000-1,800 เมตร ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือที่ ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่, เชียงรายและดอยภูคา จังหวัดน่าน ที่ระดับความสูง 1200-1500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุก สูง50-60 ซม. ต้นเกลี้ยงอวบน้ำเปราะหักง่าย ใบเดี่ยวเรียงเวียนรูปรีแกมหอกกลับกว้าง 3-7.5 ซม.ยาว 5-18 ซม.ผิวใบเกลี้ยงทั้ง สองด้าน ปลายใบแหลมโคนใบสอบ ขอบใบจักมน ก้านใบยาว 1-2 ซม.ดอก สีขาวออกเป็นช่อจากซอกใบแบบช่อกระจะ ก้านช่อยาว 2-10 ซม. ก้านดอกยาว 1-2 ซม. ใบประดับย่อยยาว 3-4 มม. ร่วงเร็ว ดอกสีขาวขุ่น มีริ้วสีน้ำตาลแดง กลีบเลี้ยง 4 กลีบ คู่นอกรูปไข่ เบี้ยว ยาว 0.8-1.2 ซม. ปลายแหลมยาว คู่ในรูปใบหอก ยาวได้ถึง 1.7 ซม. กลีบปากเป็นถุงเบี้ยว กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 2-2.5 ซม. เดือยยาวประมาณ 1 ซม.โค้งงอ กลีบดอกกลีบกลางรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายมน มีติ่งแหลม กลางกลีบเป็นสัน กลีบปีกยาว 2-2.5 ซม. คู่ในรูปกลม คู่นอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาวกว่าคู่ใน มีสีเหลืองหรือแดงแต้มเป็นริ้ว ผลรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 1.5 ซม. ผิวเกลี้ยงแก่แล้วแตก ใช้ประโยขน์---ใช้เป็นยา ในจีนใช้ทั้งต้นมีฤทธิ์เย็นลดอาการบวม;-ในเวียตนามใช้ทั้งต้นทุบ รักษาอาการ บวม รักษาฝี ต้นแห้งกับเหล้า รักษาเบาหวาน ระยะออกดอก---มีนาคม-เมษายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
เทียนภูหลวง/Impatiens phuluangensis
ชื่อวิทยาศาสตร์---Impatiens phuluangensis T.Shimizu.(1969) ---This name is unresolved.According to The Plant List.Impatiens phuluangensis Shimizu is an unresolved name ชื่อพ้อง---No synonyms are record for this name ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2863008 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---เทียนภูหลวง (ทั่วไป) ;[THAI: Thian phu luang (General).]. EPPO Code---IPASS (Preferred name: Impatiens sp.) ชื่อวงศ์---BALSAMINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย นิรุกติศาสตร์---ชื่อสปีชีส์ 'phuluangensis' ตั้งเป็นเกียรติแก่สถานที่ค้นพบ Impatiens phuluangensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เทียนดอก(Balsaminaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Tatemi Shimizu (1932–2014) นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ในปี พ.ศ.2512
พบครั้งแรกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย โดย Tatemi Shimizu นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่นและคณะ ที่อยู่อาศัย เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือที่ภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ภูหลวง จังหวัดเลย ขึ้นตามแผ่นหินที่ชื้นแฉะ ที่ระดับความสูง 1,300-1,500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงได้ถึง 50-60 ซม.ลำต้นเกลี้ยงอวบน้ำ ใบเดี่ยวเรียงเวียน รูปไข่หรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบเรียว ขนาดกว้าง 2.5-6 ซม.ยาว 6-15 ซม.แผ่นใบด้านบนมีขนสั้นนุ่ม มีขนหยาบตามเส้นแขนงใบด้านล่าง ก้านใบยาวได้ถึง 3.5 ซม.ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 2-3 ดอกสีชมพู ออกตามซอกใบ ก้านดอกยาว 5-6 ซม.กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบ 2 กลีบบนรูปแถบแกมใบหอกมีขน กลีบล่างเชื่อมเป็นถุง ส่วนปลายเป็นเดือยโค้งงอ ยาว 4-5 ซม.กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบน 1 กลีบแผ่รูปหัวใจ กลีบข้าง 2 กลีบรูปขอบขนานขนาดใหญ่ครึ่งวงกลม เกสรเพศผู้ 5 อัน อับเรณูติดกัน ก้านเกสรเพศเมียสั้น ผลเป็นแคปซูลรูปกระสวยมีขนหยาบ เต่งตรงกลาง ผลแก่แล้วแตก เมล็ดรูปไข่กลับแบน ยาวประมาณ 3.5 มม.มีขนละเอียด ระยะออกดอก---ตุลาคม–ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
เทียนหางงอ/ Impatiens chinensis
ชื่อวิทยาศาสตร์---Impatiens chinensis L.(1753) ชื่อพ้อง---Has 10 Synonyms ---Balsamina chinensis (L.) DC.(1824) ---Balsamina fasciculata DC.(1824) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2862292 ชื่อสามัญ---Chinese balsam, Chinese Touch-me-not ชื่ออื่น---เทียนหางงอ, หญ้าเทียน (เลย), เทียนจีน (ทั่วไป) ;[CHINESE: Huá fèng xiān.];[MANIPURI: Moreh khujang lei.];[MALAYALAM: Machinga, Oonapoovu, Pily, Paily.];[THAI: Thian hang ngo; Thian chin (General); Ya thian (Loei).];[VIETNAM: Bóng nước tàu.]. EPPO Code---IPACH (Preferred name: Impatiens chinensis.) ชื่อวงศ์---BALSAMINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ภูฏาน จีน มาเลเซีย, พม่า, ไทย, เวียดนาม Impatiens chinensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เทียนดอก(Balsaminaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296 ที่อยู่อาศัย พบที่อินเดีย ภูฏาน จีนตอนใต้ (มณฑลอานฮุย, ฝูเจี้ยน, กวางตุ้ง, กวางสี, ไหหลำ, หูหนาน, เจียงซี, ยูนนาน, เจ้อเจียง) พม่า, ไทย, เวียดนาม มาเลเซีย พบขึ้นมากตามป่าหญ้าที่มีน้ำค้างริมลำธาร ขอบสนาม, หนองน้ำ หรือบนภูเขาสูง ที่ะดับความสูง100- 1300 เมตร ในประเทศไทยพบขึ้นหนาแน่นตามที่ชื้นแฉะ ในทุ่งหญ้าในป่าเต็งรังและป่าสนเขา หรือบนที่โล่งเขาหินปูนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระดับความสูง 500-1,100 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม.ลำต้นเกลี้ยงอวบน้ำ เปราะหักง่าย ใบเดี่ยวออกตรงข้ามรูปขอบขนานแคบกว้าง 0.5 ซม.ยาว 4-6 ซม.ขอบใบหยักปลายใบเรียว แหลมโคนใบป้านหรือหยักเป็นติ่งหูดอก สีชมพูออกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกบานกว้างถึง 2.5 ซม.กลีบรองดอก 3 กลีบ กลีบด้านล่างมีขนาดใหญ่กว่ากลีบด้านข้างและเชื่อมกันเป็นถุง ส่วนปลายเป็นเดือยยาวเรียวและโค้งงอ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบน 1 กลีบ กลีบข้าง2กลีบ และกลีบล่างขนาดใหญ่ 2 กลีบ แผ่กว้างรูปไข่กลับ ผลเป็นแคปซูลสีเขียวอ่อนเกลี้ยง ยาว 1.2-1.8 ซม.ก้านผลยาว มีเมล็ดจำนวนมากรูปทรงกลมหรือรูปขอบขนานสีดำมัน ผลเมื่อแก่จะแตกดีดเมล็ดไปได้ไกล ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ทุกส่วนของพืช ใช้เป็นยาเพื่อบรรเทาไข้และความเจ็บปวด กำจัดสารพิษ ส่งเสริมการไหลเวียนโลหิต รักษาอาการท้องเสีย รักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและรักษาแผลที่ติดเชื้อ;-ในเวียตนามใช้ รักษาไข้, คออักเสบ, ฉี่รดที่นอน, ไข้รูมาติก, เม็ดเลือดขาว ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
เทียนหิน/Impatiens muscicola
ชื่อวิทยาศาสตร์---Impatiens muscicola Craib.(1926) ---This name is unresolved.According to The Plant List.Impatiens muscicola Craib is an unresolved name ชื่อพ้อง---No synonyms are record for this name ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2862889 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---เทียนหิน, เทียนหัวไม้ขีด (ทั่วไป), เทียนน้อย(เลย) ;[THAI: Thian hin; Thian hua mai khit (General); Thian noi (Loei).]. EPPO Code---IPASS (Preferred name: Impatiens sp.) ชื่อวงศ์--- BALSAMINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย Impatiens muscicola เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เทียนดอก (Balsaminaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2469 ที่อยู่อาศัย พืชเฉพาะถิ่นของไทย ถิ่นอาศัยที่พบบนดอยเชียงดาว, ดอยกิ่วลม จังหวัดเชียงใหม่ เจริญอยู่ตามซอกหินปูนตามที่โล่งแสงแดดจัด ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กมาก สูงเพืยง 3-5 ซม.แตกใบเป็นกระจุกที่ปลายยอด ทุกส่วนของต้นมีขนปกคลุม ลำต้นและก้านใบสีแดงอมม่วง ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นเกลียวรอบต้น ก้านใบสั้นมาก แผ่นใบรูปหอกกว้าง 1ซม.ผิวใบมีขนสั้นนุ่มปกคลุม ขอบใบจัก ดอกช่อกระจะออกตามซอกใบหรือปลายยอด ดอกย่อยมีจำนวน 1-2 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กว้างประมาณ 1ซม. ระยะออกดอก--- สิงหาคม-ตุลาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
นางนวล/Urena lobata
ชื่อวิทยาศาสตร์---Urena lobata L.(1753) ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms ---Urena americana L.f.(1781) ---Urena grandiflora DC.(1824) ---Urena reticulata Cav.(1788) ---Urena trilobata Vell.(1825) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2449399 ชื่อสามัญ---Caesarweed, Congo jute, Bur Mallow, Aramina fibre plant, Aramina plant, Caesarweed aramina, Chinese burr, Hibiscus burr, Indian mallow, Pink burr, Urena burr. ชื่ออื่น---ขมงดง (สุโขทัย); ขี้ครอก (ภาคกลาง); ชบาป่า (น่าน); บอเทอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ปอเส้ง (ปัตตานี); ปะเทาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ปูลุ (มาเลย์-นราธิวาส); เส้ง (ภาคใต้); หญ้าผมยุ่ง (ภาคเหนือ); หญ้าหัวยุ่ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); หญ้าอียู (ภาคเหนือ) ;[BENGALI: Bun-okra.];[BRAZIL: Aguaxima, Carrapicho redondo, Carrapicho-de-mato, Malva-roxa.];[CHINESE: Xiao fan tian hua, Ye mian hua, Tian fu rong, Cao mai fan tia hua, Xiao feng cao, Qian chui cao, Di tao hua.];[CUBA: Malva blanca, Malva de Cuba, Malva del pais.];[FIJI: Gataya, Gatima, Katiqani viti.];[FRENCH: Cousin petit, Cousin rouge, Cousin urène, Gran maho kouzen, Herbe à panier, Uréna à feuilles lobées.];[HINDI: Bachita, Lapetua.];[INDIA: Gataya.];[INDONESIA: Pulut-pulut.];[ITALIAN: Urena.];[JAPANESE: Oobondekwa, O-boten-ka.];[KENYA: Mtishiet.];[MYANMAR: Kat-say-nei, Kat-sine, Nwar-mee-kat, Popee (Chin).];[PHILIPPINES: Afulut, Daupang, Kulotan, Mangkit, Batikil, Dalupang, Supang, Tapanding.];[PORTUGUESE: Carrapicho-de-mato, Guaxima, Juta-do-Congo, Malva-brava, Ouriço-da-China, Uaicima.];[SAMOA: Manutofu, Maoutofu, Mautofu.];[SPANISH: Aramina, Cadillo, Cousin mahoc, Escoba babosa, Malva blanca.];[THAI: Khamong dong (Sukhothai); Khi khrok (Central); Chaba pa (Nan); Bo-thoe (Karen-Mae Hong Son); Po seng (Pattani); Pa-tho (Karen-Mae Hong Son); Pu-lu (Malay-Narathiwat); Seng (Peninsular); Ya phom yung (Northern); Ya-hua-yung (Shan-Mae Hong Son); Ya i yu (Northern).];[TONGA: Mo'osipo.];[USA: Cadillo, Caesar weed.];[VIETNAMESE: Ke hoa dao.]. EPPO Code---URNLO (Preferred name: Urena lobata.) ชื่อวงศ์---MALVACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เขตร้อนทั่วโลก Urena lobata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชบา (Malvaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296 พืชมีความผันแปรสูง โดยเฉพาะรูปร่างใบ สิ่งปกคลุม ขนาดริ้วประดับ และกลีบดอก บางครั้งถูกจำแนกเป็นหลายชนิดย่อยและมีชื่อพ้องจำนวนมาก หรือบางชนิดถูกจัดให้อยู่ภายใต้สกุล Pavonia หรือ Triumfetta สกุล Urena L. อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Malvoideae เผ่า Hibisceae มีประมาณ 10 ชนิด ในไทยมี 4 ชนิด
ที่อยู่อาศัย พบขึ้นกระจายไปทั่วภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนชื้นของโลกรวมทั้งเอเชีย (บังคลาเทศ ภูฏาน อินเดีย จีน ไต้หวัน พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและ มาเลเซีย), แอฟริกาเขตร้อน, ออสเตรเลีย, ภาคเหนือภาคกลางและอเมริกาใต้, เวสต์อินดีสและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เติบโตในพื้นที่ที่ถูกรบกวน กากของเสียริมถนน ป่าที่เปิดโล่ง ขอบป่า เนินทรายชายฝั่ง ในทุ่งหญ้าและพื้นที่เพาะปลูกที่ถูกทิ้งร้าง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,000 เมตร เป็นวัชพืชกึ่งเขตร้อนซึ่งเป็นพืชที่ปลูกในหลายภูมิภาค ในฐานะที่เป็นพืชรุกรานที่ก้าวร้าวมันรวมอยู่ในบทสรุปทั่วโลกของวัชพืชและได้รับการจัดประเภทเป็นวัชพืชที่มีพิษในสหรัฐอเมริกาฟิจิและคิวบา ( Randall, 2012 ) ลักษณะ ลำต้นสูงได้ถึง 1--1.5 (3) เมตร.เปลือกเหนียวสีเขียวแกมเทามีขนรูปดาวสั้นนุ่มปกคลุมตลอดลำต้น ใบเดี่ยวเรียงเวียน รูปไข่ปลายใบเว้าเป็น3พู ยาว 4-7 ซม โคนใบมนขอบใบหยักฟันเลื่อยแผ่นใบเป็นคลื่นมีขนสากมือ ดอก เดี่ยวเกิดที่ซอกใบหรือเป็นกระจุก ก้านดอกสั้น ริ้วประดับ 5 อัน ยาวประมาณ 6 มม. เชื่อมติดกันประมาณหนึ่งในสาม ติดทน กลีบเลี้ยงรูปถ้วย มี 5 กลีบ สั้นกว่าริ้วประดับเล็กน้อย ดอกสีชมพูแกมม่วงกลีบดอกรูปไข่กลับ5กลีบ ยาวได้ถึง 1.5 ซม. มีก้านสั้น ๆ เส้าเกสรยาวประมาณ 1.5 ซม. อับเรณูจำนวนมาก ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 10 แฉก มีขน ยอดเกสรรูปจาน ผลทรงกลมแป้นมี5พูผิว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีหนามแข็งสั้นและมีน้ำเหนียวติด มี1เมล็ดรูปไตสีน้ำตาล ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องใช้ตำแหน่งที่มีแดด ไม่สามารถเติบโตใต้ร่มเงา ชอบดินที่อุดมด้วยอินทรีย์วัตถุ แต่ปรับตัวได้ดีในดินหลายชนิดที่มีการระบายน้ำดี ค่า pH ในช่วง 5.5 - 6.5 ทนได้ 4.5 - 8 ใช้ประโยชน์---แม้ว่าจะเป็นวัชพืชในบางพื้นที่แต่ก็ได้รับการปลูกเลี้ยงในภูมิภาคต่างๆของอเมริกาใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาเขตร้อน เพื่อปลูกใช้เส้นใย เส้นใยเหล่านี้มีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ใช้สำหรับทำพรมและเชือก โดยทั่วไปพืชถูกรวบรวมจากป่าเพื่อเป็นอาหารและยา และบางครั้งก็ขายในตลาดท้องถิ่นในฐานะพืชสมุนไพร -ใช้กิน เมล็ดพืชและส่วนต่าง ๆ ของพืชถูกนำมาใช้ในแอฟริกาในสตูว์และกินเป็นอาหารความอดอยาก มล็ดมีไขมันประมาณ 7% ของน้ำมัน -ใช้เป็นยา มีการใช้ใบ รากและดอกไม้ ในการแพทย์แผนโบราณ ในมาเลเซีย อินโดจีน ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ฟิจิและอินเดีย เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่นอาการจุกเสียด มาลาเรีย หนองในไข้ บาดแผล ปวดฟัน โรคไขข้อและต่อมทอนซิลอักเสบ พืชทั้งหมดถูกทำให้สุกและใช้ภายนอกเพื่อรักษากระดูกหัก, แผล, โรคเต้านมอักเสบและงูกัด ;-ในพม่า ใช้เปลือก ตากแห้งและเป็นผง ผสมกับน้ำตาลในปริมาณที่เท่ากัน และรับประทานกับนมวันละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มสมรรถภาพและการผลิตสเปิร์ม ยาต้มจากเปลือกรากใช้รักษากามโรคและอาการอื่นๆ ที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ -วนเกษตร ใช้เพื่อปกป้องอนุรักษ์ดินจากการพังทลาย แต่เนื่องจากลักษณะเชิงรุกของพันธุ์พืชไม่แนะนำให้ใช้อีกต่อไป -อื่น ๆ เส้นใยที่มีคุณภาพดีได้จากลำต้น เป็นที่รู้จักในนาม 'เส้นใย Aramina' ลักษณะเป็นเนื้อละเอียดมันเงาและนิ่ม เปรียบได้กับปอกระเจา มีความยาวไม่เกิน1เมตร สีขาวแข็งแรงมากและใช้สีย้อมเพื่อใช้ทำเชือก ผ้าหยาบ เปลญวน สามารถทนปลวกและน้ำ และใช้ทำกระดาษคุณภาพดี -ในอินเดียมีการใช้เมล็ดในการผลิตสบู่ในขณะที่ถ่านของพืชทั้งหมดใช้สำหรับถูฟัน ความเชื่อ/พิธีกรรม--ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาถือเป็นไม้วิเศษใช้ในพิธีกรรมรักษาโรคเพื่อคุ้มครอง ใช้ในพิธีแต่งงานและพิธีข้าว ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2020 ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล็ด
นางนูน/Adenia heterophylla subsp. arcta
ชื่อวิทยาศาสตร์---Adenia heterophylla (Blume) Koord. subsp. arcta (Craib) W. J. de Wilde.(1971) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2621489 ---Basionym: Adenia cardiophylla var. arcta Craib.(1931) ---Adenia peirrei Gagnep.(1920) ชื่อสามัญ---Lacewing, Lacewing Vine. ชื่ออื่น---นางนูน (ชลบุรี) ;[CHINESE: Yi ye shuo lian.];[THAI: Nang nun (Chon Buri).];[VIETNAM: Dây vòng ky, Thư diệp lá ba thùy.] EPPO Code---ADJSS (Preferred name: Adenia sp.) ชื่อวงศ์--- PASSIFLORACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน อินโดจีน Adenia heterophylla subsp.arcta เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เสาวรส (Passifloraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Willem Jan Jacobus Oswald de Wilde (born 1936) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ ในปีพ.ศ.2514 มีสายพันธุ์ย่อย (Infraspecific) ที่ยอมรับได้ 3 ส่นพันธุ์คือ: -Adenia heterophylla subsp. arcta (Craib) W.J.de Wilde.(1971) -Adenia heterophylla subsp. australis (R.Br. ex DC.) W.J.de Wilde.(1971) -Adenia heterophylla (Blume) Koord. subsp. heterophylla.(1961) Variety-Adenia heterophylla var. celebica (Koord.) W.J.de Wilde.(1971) (แสดงในหน้านี้ 1 สายพันธุ์) นี่เป็นสายพันธุ์ที่แพร่หลายและแปรปรวนอย่างมาก มันได้รับการปฏิบัติเหมือน Adenia heterophylla [subsp heterophylla ] var. heterophylla อ้างอิงจากเดอไวลด์ (Meded. Landbouwhogeschool Wageningen 71 (18): 216. 1971) ที่อยู่อาศัย พบในจีนและภูมิภาคอินโดจีนเติบโตในป่าชายหาด, แกลเลอรี่ป่าและป่าฝนที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล300-1,200 เมตร ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ มีมือเกาะ ออกที่ซอกใบและช่อดอก ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหัวใจ 8-15 x 5.2-9 ซม. ก้านใบมักบิดเป็นเกลียวอยู่ใกล้โคนยาวประมาณ 2.5-4 ซม.มีต่อม 1 คู่ใกล้ฐานใบ ขอบใบเรียบอาจเว้าเป็น 3 พู มือเกาะเกิดจากช่อดอกที่ผ่านการดัดแปลงซึ่งแตกแขนงแล้วผลิตในแกนใบ ดอกช่อแบบช่อกระจุกออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก แยกเพศอยู่ต่างต้น (dioecious) ดอกสีนวล กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกรูปสามเหลี่ยมแคบถึงรูปใบหอก ผลแห้งแตกรูปกระสวย ปลายมน กว้าง 1.5-2.5 ซม.ยาว 2-3.5 ซม เมล็ดแบนจำนวนมากสีน้ำตาลอมเทาขนาดประมาณ 8-9 x 7 มม. ใช้ประโยชน์---ใช้กินได้ -ใช้เป็นยายาพื้นบ้านอีสานใช้รากต้มน้ำดื่มบำรุงโลหิตหลังคลอด;-ในประเทศจีนรากใช้สำหรับล้างพิษกำจัดโรคไขข้อและรักษามดลูกหย่อน ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เมล็ด
นางแย้มป่า/Clerodendrum viscosum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Clerodendrum infortunatum L.(1753) ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-42706 ---Clerodendrum calycinum Turcz.(1863) ---Clerodendrum viscosum Vent.(1803).[Illegitimate] ชื่อสามัญ--- Hill glory bower, Glory Bower, Saraswaty's Leaf, Sticky Glorybower. ชื่ออื่น---กุ๋มคือ (สุโขทัย); ขัมพี (พิษณุโลก); ขี้ขม (ภาคใต้); ชมพี, ซมซี (สุโขทัย); ต่างไก่แดง (ขอนแก่น); นมสวรรค์ (ภาคกลาง, ภาคใต้); นางแย้มป่า (พิษณุโลก); ปิ้ง, ปิ้งแดงดอกขาว, ปิ้งเห็บ (เชียงใหม่); พนมสวรรค์ป่า (ทั่วไป); โพะคว่อง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); สาวยิ้ม (ทั่วไป); ฮวนฮ่อ, ฮอนห้อแดง (เลย) ;[ASSAMESE: Bhat-phul, Dhopati-tita, Bhetita, Dhopat-tita, Bhet-tita.];[BENGALI: Bhant, Ghentu.];[HINDI: Bhant, Titabhamt.];[KANNADA: Ibbane, Basavapada, Basavana Pada.];[MALAYALAM: Vattapparuvalam, Peruku, Nilamparanda, Perivelam, Periyilam, Perukilam, Vattapparuvalam.];[MARATHI: Bhandira.];[NEPALI: Rajbeli.];[SANSKRIT: Bhandirah, Mayurachuda, Bhantaka.];[TAMIL: Vattakkanni Paragu, Karukanni, Perukilai.];[TELUGU: Gurrapu Katilyaku.];[THAI: Kum khue, Chom phi, Som si (Sukhothai); Khi khom (Peninsular); Tang kai daeng (Khon Kaen); Nom sawan (Central, Peninsular); Kham phi, Nang yaem pa (Phitsanulok); Ping, Ping daeng dok khao, Ping hep (Chiang Mai); Phanom sawan pa, Sao yim (General); Pho-khwong (Karen-Kanchanaburi); Huan ho, Hon ho daeng (Loei).]. EPPO Code---CLZIF (Preferred name: Clerodendrum infortunatum.) ชื่อวงศ์---VERBENACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย บังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา พม่า ไทย มาเลเซีย หมู่เกาะอันดามัน Clerodendrum infortunatum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ผกากรอง (Verbenaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296 ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศบังกลาเทศ, อินเดีย, พม่า, ปากีสถาน, ไทย, มาเลเซีย (สุมาตรา), หมู่เกาะอันดามันและศรีลังกา ในประเทศไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือเขาหินปูน ความสูงถึงประมาณ 1,100 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 0.5-4 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยมตามข้อไม่มีแถบขน ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ ผิวใบ ก้านใบมีขนนุ่มคลุม ก้านใบยาว 1.5-15 ซม.ใบรูปวงรี หรือรูปไข่ กว้าง 3.5-20 ซม.ยาว 6-25 ซม.โคนกลมหรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักซี่ฟัน ดอกเป็นดอกช่อออกที่ปลายกิ่งช่อดอกตั้งตรง ยาวได้ถึง 60 ซม.กลีบเลี้ยงยาว 1-1.5 ซม.ไม่มีต่อมขน ดอกสีขาวแกมชมพู กลางดอกสีชมพูม่วงหรือม่วงเข้ม มีขน หลอดกลีบดอกยาว 1.5-2 ซม.ปากหลอดมีขนสั้นนุ่มและมีปื้นสีชมพูอมม่วง กลีบดอกยาว 1-1.5 ซม.เกสรเพศผู้ยาว 2.5-4 ซม.ดอกมีกลิ่นหอมตอนเช้า ผลสดรูปกลมอุ้มน้ำเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.2 ซม.แก่จัดมีสีน้ำเงินเข้มหรือดำมีกลีบเลี้ยงสีแดงหุ้ม ติดทนยาว 2-2.5 ซม.มีเมล็ดกลม 2-4 เมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม. ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ในตำแหน่งแสงแดดเต็มที่หรือในที่ร่มบางส่วน เติบโตได้ดีที่สุดในดินที่อุดมด้วยฮิวมัสที่ชื้นแต่มีการระบายน้ำได้ดี ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยา มักจะปลูกเป็นไม้ประดับสำหรับดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม -ใช้กิน ใบ - สุก.ใช้เป็นpotherb ใบของสายพันธุ์ในสกุลนี้มักจะมีรสขมและมักถูกกินเป็นยาชูกำลังส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร -ใช้เป็นยา ใช้ในอายุรเวทและสิทธา ยาแผนโบราณ ใบสดใช้สำหรับโรคท้องร่วง, ในโรคตับและไตผิดปกติ อาการปวดหัว รากระงับไข้ ปรสิตลำไส้ มาลาเรีย มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ใบที่อุ่นจะถูกนำไปใช้เป็นยาพอกที่ท้องบวม ใบถูกโขลกแล้วนำไปใช้เป็นยาพอก แผลพุพอง ฝี โรคผิวหนัง งูกัดหรือแมงป่องต่อย และใช้เป็นส่วนผสมของการอาบน้ำสมุนไพรสำหรับเด็กแรกเกิด ใบและรากใช้รักษาผมร่วง แก้ไอ โรคหอบ ขับปัสสาวะ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาแก้พิษสำหรับ Antiaris พิษและโรคบิด ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อในลำไส้และความผิดปกติของไต ได้มีการกล่าวกันว่ามีการใช้สำเร็จในการรักษาโรคดีซ่าน ในอินโดจีนสายพันธุ์นี้ใช้ในยาต้มเป็นยารักษาระดูขาว;-ในพม่าใบและรากใช้เป็นยาแก้ไข้ ระยะออกดอก/ติดผล--- ธันวาคม- กุมภาพันธ์ หรือออกได้เกือบตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำราก (เมล็ด - หว่านได้ดีที่สุดทันทีที่สุก การงอกอาจไม่แน่นอนแต่มักเกิดขึ้นภายใน 20 - 60 วัน)
นางออม/Limnophilla repens
ชื่อวิทยาศาสตร์---Limnophila repens (Benth.) Benth.(1846) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-29208222 ---Basionym: Stemodia repens Benth.(1832) ชื่อสามัญ---Creeping marshweed ชื่ออื่น---นางออม (จันทบุรี), หญ้าปลาแขยง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผักกะแยงขาว, ผักกะแยงใหญ่ ;[CHINESE: Pu fu shi long wei.];[KANNADA: Amaragandhi, Mangannari.];[MALAYALAM: Manganari.];[SANSKRIT: Amragandhah.];[THAI: Nang om (Chanthaburi); Ya pla kha yaeng (Northeastern); Phak ka yaeng koa, Phak ka yaeng yai.];[TULU: Mangannari.];[VIETNAM: Rau ngổ ăn, Rau ngổ lá đối, Om bò.]. EPPO Code---LIORE (Preferred name: Limnophila repens.) ชื่อวงศ์---PLANTAGINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน เอเซียใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Limnophila มาจากภาษากรีก 'límnee' =pond, 'philos'= friend ;ชื่อสายพันธุ์ 'repens'=spreading, creeping (จาก Dave’s Botanary) Limnophila repens เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เทียนเกล็ดหอย (Plantaginaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย George Bentham (1800-1884) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย George Bentham (1800-1884) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2389 ที่อยู่อาศัย พบกระจายในประเทศจีน (ไห่หนาน, กวางตุ้ง) ในเอเชียเขตร้อน เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (บังคลาเทศ, อินเดีย, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา, ไทย, เวียดนาม) และออสเตรเลีย เติบโตในสถานที่ที่เป็นแอ่งน้ำ ทุ่งนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่ม ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกสูง 5-40 ซม.ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ขนาดใบ 1-2 x 0.4-0.9 ซม.รูปใบหอกแกมขอบขนาน ขอบใบจัก ปลายใบแหลมโคนใบสอบ ดอกช่อแบบช่อกระจะหรือกระจุกสั้น หรือดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบและปลายยอด ก้านดอกยาว 0.5-3 มม.ใบประดับยาว 2-3 มม.กลีบเลี้ยงยาว 4-6 มม.ขนสั้น กลีบดอกยาว 5-10 มม. เป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉกสีม่วง หลอดดอกสีขาว ผลแคปซูลทรงรียาว 3-4 มม.ผลแห้งแล้วแตก เมล็ดเป็นเหลี่ยมสีน้ำตาล ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านอีสานใช้ทั้งต้นผสมผักแขยงทั้งต้น ต้มน้ำอาบแก้ลมวิงเวียน ในเวียตนาม ใช้ทั้งต้น เป็นยาฆ่าเชื้อ แก้โรคผิวหนัง โรคหิด เป็นยาระบาย ล้างพิษ อาการตกเลือด อาการไอ งูกัด ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2011 ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฎาคม - ธันวาคม (ในอินเดีย) ขยายพันธุ์---เมล็ด
น้ำค้างกลางเที่ยง/Murdannia gigantia
ชื่อวิทยาศาสตร์---Murdannia gigantea (Vahl) G.Brückn.(1930) ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms ---Basionym: Commelina gigantea Vahl.(1805) ---Aneilema giganteum (Vahl) R.Br.(1810) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-254684 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---น้ำค้างกลางเที่ยง (สุราษฎร์ธานี); ว่านมูก (หนองคาย); ไส้เอียน, หงอนพญานาค, หญ้าหงอนเงือก (เลย) ;[THAI: Nam khang klang thiang (Surat Thani); Wan muk (Nong Khai); Sai ian (Loei); Ngon phaya nak (Loei); Ya ngon ngueak (Loei).]; [VIETNAM: Trai trắng.]. EPPO Code---MUDSS (Preferred name: Murdannia sp.) ชื่อวงศ์--- COMMELINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---มาดากัสการ์ อนุทวีปอินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นิวกินี ออสเตรเลีย Murdannia gigantea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ผักปลาบ (Commelinaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Martin Vahl (1749–1804)นักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาชาวเดนมาร์ก-นอร์เวย์และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Gerhard Brückner (1902–1980) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2473
ที่อยู่อาศัย พบในมาดากัสการ์, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, นิวกินี, ควีนส์แลนด์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี, นิวเซาธ์เวลส์ ขึ้นตามทุ่งหญ้าที่โล่งในป่าผลัดใบหรือป่าสนเขา ความสูงถึงประมาณ 1400 เมตร ประเทศไทย พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ลักษณะ เป็นไม้ดอกงามสีหวานซึ่งจะพบเห็นได้เฉพาะในธรรมชาติ เป็นพืชล้มลุกที่ชอบขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ ต้นสูง 1-2 เมตร ค่อนข้างอวบน้ำ มีรากสะสมอาหาร ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบข้อที่ผิวดิน ใบเป็นรูปดาบ กว้าง4-12ซม.ยาว 15-40 ซม.โคนเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อตั้งที่ปลายยอด เป็นดอกช่อแบบช่อแยกแขนงยาวประมาณ1.5เมตร ใบประดับคล้ายใบ ช่อย่อยมี 1-2 ช่อ ยาวได้ถึง 7 ซม.ก้านช่อยาวประมาณ 3 ซม.ดอกจำนวนมาก มีเมือก ดอกร่วงทิ้งรอยชัดเจน ดอกสีชมพูอ่อนหรือม่วงอ่อน และสีม่วงน้ำเงิน บางครั้งจะพบดอกสีขาวอมชมพูด้วย แต่ค่อนข้างหายาก ดอกรูปไข่กลับ ยาว 0.8-1.5 ซม.กลีบดอกมี3กลีบ กลีบตรงกลางด้านบนจะตั้งฉากกับกลีบข้างทั้งสอง กลีบบนขนาดเล็กกว่ากลีบข้างเล็กน้อย เกสรเพศผู้ส่วนมากมี 2 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 0.6-1.2 ซม.กางโค้งออก โคนมีขนเครา อับเรณูสีเทารูปรี ยาวประมาณ 2 มม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมี 4 อัน ยาวไม่เท่ากัน ยาว 4-8 มม.มีขนยาวช่วงบน ก้านเกสรเพศเมียยาว 3-4 มม.ตอนเช้าดอกจะหุบ แล้วจะบานเมื่อแสงแดดจัด ส่วนล่างของดอกมักมีหยดน้ำติดให้เห็นทุกดอก แม้ว่าจะเป็นตอนเที่ยงที่มีแสงแดดจัดแรงกล้าก็ตาม จึงได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "น้ำค้างกลางเที่ยง" ผลเป็นแห้งแล้วแตกแตกรูปทรงกระบอกเรียวยาว ยาว 0.5-1 ซม.สีน้ำตาลเป็นมัน เมล็ดยาวประมาณ 3 มม.มีหลายเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เจริญเติบโตได้ดีบนภูเขาสูงที่อากาศหนาวเย็นและชุ่มชื้น หรือตามลานหินทรายที่มีน้ำขัง เช่นอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย และเขาสมอปูน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ฯลฯ ส่วนทุ่งดอกหงอนนาคที่ขึ้นชื่อว่าสวยงามและกว้างใหญ่ที่สุดในเมืองไทยอยู่ ที่ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดอุตรดิตถ์ ระยะออกดอก---ตลอดปี ออกดอกมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
เนียมฤาษีเชียงดาว/Disporum cantoniense
ชื่อวิทยาศาสตร์---Disporum cantoniense (Lour) Merr.(1919) ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms ---Basionym: Fritillaria cantoniensis Lour.(1790) ---Disporum pullum Salisb.(1812) [Illegitimate] ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-304447 ชื่อสามัญ---Canton fairy bells, Chinese Fairy Bells, Fairy Bells, Night heron. ชื่ออื่น---เนียมฤาษีเชียงดาว, ทิวลิปดอย ;[CHINESE: Wan shou zhu.];[NEPALI: Mahjari.];[THAI: Niam ruesi chiang dao (General); Tulip doi (General). EPPO Code---DZPCA (Preferred name: Disporum cantoniense.) ชื่อวงศ์--- CONVALLARIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน อินเดีย ไต้หวัน พม่า ลาว เนปาล เวียตนาม ไทย Disporum cantoniense เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กงควน (Convallariaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Joao de Loureiro (1717–1791) นักพฤกษศาสตร์ชาวโปรตุเกสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Elmer Drew Merrill (1876–1956) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ในปีพ.ศ. ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดจาก ภูฏาน, อินเดีย สิกขิม เนปาลไปยังภาคกลางและภาคใต้ของจีนทางตอนใต้ (มณฑลอานฮุย, ฝูเจี้ยน, กวางตุ้ง, กวางสี, กุ้ยโจว, หูเป่ย, หูหนาน, มณฑลส่านซี, เสฉวน, ไต้หวัน, เซียง, ยูนนาน)ไปยังพม่า, ลาว, ไทยและเวียดนาม เติบโตตามพื้นที่โล่งแจ้ง ตามภูเขาสูงมีหญ้าปกคลุม อากาศหนาวเย็นพบที่ระดับความสูงตั้งแต่ 700-3,000 เมตร ประเเทศไทยพบตามภูเขาสูงทางภาคเหนือ ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มักผลัดใบในฤดูหนาว มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า ลำต้นมีข้อปล้อง แตกกิ่งมากบริเวณปลายยอด สูง 50-100 ซม.ก้านใบ 2--4 มม ใบรูปหอกจนถึงรูปหอกแกมรูปขอบขนานแคบๆ ขนาดแผ่นใบยาว 5-12 ซม.กว้าง 1-5 ซม.สีเขียวเป็นมัน ดอกเล็กรูประฆังสีขาวถึงสีเหลืองแกมเขียว เกิดที่ปลายยอดและแตกด้านข้าง มีดอกย่อยจำนวน 3-10 ดอก ก้านช่อดอกเห็นได้ชัดเจน มักมีปุ่มหรือขนสากกระจายอยู่ทั่วไป ดอกโตเต็มที่มักแย้มกลีบบานเล็กน้อย กลีบรวม(กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกันจนไม่อาจแยกแยะได้)สีออกม่วง แต่ละกลีบรูปใบหอกกลับ กว้าง 4-5 มม.ยาว 1.5-2.8 ซม.ปลายกลีบทู่เกือบแหลม ก้านดอก 1--4 ซม ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด ขนาด 0.8-1 ซม.เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 (-5) มม.เมื่อสุกมีสีดำอมม่วง มี 2-5 เมล็ด สถานภาพ---เป็นพืชหายาก ระยะออกดอก/ติดผล--- พฤษภาคม - กรกฎาคม/สิงหาคม-ตุลาคม (ในจีน) ขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า
|
บั้งม่วงเชียงดาว/Cicerbita chiangdaoensis
ชื่อวิทยาศาสตร์---Cicerbita chiangdaoensis H.Koyama.(2001) ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-125836 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---บั้งม่วงเชียงดาว ; [THAI: Bung moueng chiang dao.] EPPO Code---CIJSS (Preferred name: Cicerbita sp.) ชื่อวงศ์---ASTERACEAE (COMPOSITAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย Cicerbita chiangdaoensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ทานตะวัน (Asteraceae หรือ Compositae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Hiroshige Koyama (1937–2016) นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2544 ที่อยู่อาศัยเป็นพืชถิ่นเดียว ปัจจุบันมีรายงานการพบเฉพาะบนดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่ พบมากบริเวณดอยกิ่วลม ดอยหลวงเชียงดาวและดอยสามพี่น้อง พบขึ้นบนสันเขาหินปูน ในที่โล่งแจ้ง หรือขึ้นปะปนกับหญ้า ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 1,900-2,200 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กสูง 5-10 ซม.ทุกส่วนของต้นมีขนสาก ลำต้นสีน้ำตาลอมแดง ใบเดี่ยวออกสลับเวียนรอบต้น ก้านใบยาว 3-4 ซม.สีน้ำตาลอมแดง แผ่นใบรูปหัวใจกว้าง 2.5-3 ซม.โคนใบเว้า ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบจักซี่ฟันห่างๆ มีขนตามขอบ แผ่นใบหนานุ่มมีขนสากมือทั้งสองด้าน ดอกเดี่ยวเกิดตามซอกใบ บานคราวละ 1-2 ดอก สีม่วงอ่อน กว้างประมาณ 4 ซม.ก้านดอกกลม กลีบดอก 11 กลีบเรียงซ้อนกัน 2 ชั้นกลีบดอกรูปแถบหรือรูปขอบขนานยาว 2 ซม.กว้าง 5 มม.ปลายตัดตรง ขอบของปลายหยักซี่ฟัน ทรงกระบอกเรียว มีเส้นสีม่วงเข้มตามความยาวของกลีบ อับเรณูสีม่วงอมน้ำเงินเข้มยาว 1 ซม.หุ้มเกสรเพศเมียไว้ใต้เกสรเพศเมียมีขนเป็นพู่สีขาวอมม่วง สถานภาพ---พืชถิ่นเดียวและพืชหายาก ระยะออกดอก---เดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
บัวทอง/Hypericum hookerianum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Hypericum hookerianum Wight & Arn.(1834) ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms. ---Hypericum garrettii Craib.(1913) ---Norysca hookeriana (Wight & Arn.) Wight.(1838) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2858253 ชื่อสามัญ---Hooker's St.Johnswort ชื่ออื่น---บัวทอง, บัวคำ (เชียงใหม่) ;[CHINESE: Duǎn zhù jīn sī táo, Kǔ lián qiáo.];[JAPANESE: Himaraya kinshibai, Himaraya kinshiume, Kinimal Himalayan Kinshiba];[INDIA: Mehandiphul (Hin).];[KHASI: Lalyn-hen, Mat-iar-stem.];[POLISH: Dziurawiec Hookera.];[THAI: Bua thong, Bua kham (Chiang Mai).]. EPPO Code---HYPHO (Preferred name: Hypericum hookerianum.) ชื่อวงศ์---HYPERICACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---บังคลาเทศ ภูฎาน จีน อินเดีย พม่า เนปาล ไทย เวียตนาม นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Hypericum คือการรวมคำของภาษากรีก 'hyper' =โอเวอร์ และ 'eikon' =รูปภาพ ของการอ้างอิงที่ไม่ชัดเจน ; ชื่อสายพันธุ์ 'hookerianum' ได้รับเกียรติจาก William Jackson Hooker (1785-1865) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษซึ่งเป็นผู้อำนวยการคนแรกของ Royal Botanic Gardens (Kew Gardens) Hypericum hookerianum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ติ้ว (Hypericaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Robert Wight (1796–1872)นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต และGeorge Arnott Walker Arnott (1799–1868) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตในปี พ.ศ.2377
ที่อยู่อาศัย แพร่หลายในเทือกเขาหิมาลัย, เนปาล, ภูฏาน พื้นที่ภูเขาทางตอนเหนือของอินเดีย, ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน (มณฑลเสฉวน, ยูนนานและทิเบต) พม่า ไทย และเวียดนามตอนบน ขึ้นในป่าทึบภูเขาหรือชายป่าที่ระดับความสูง1,900-3,400เมตร ในประเทศไทย พบในที่โล่งในป่าดิบเขาทางภาคเหนือที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ความสูง 1,600-2,500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร กิ่งสีเขียวอมแดง ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม.ยาว 3-5 ซม.โคนใบมน ขอบใบเรียบปลายใบแหลม เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบยาว 1-4 มม.ดอกออกเดี่ยวๆหรือเป็นช่อ มี 1-5 ดอก ก้านดอกยาว 0.3-1.5 ซม กลีบรองดอก 5 กลีบสีเขียวเหลือง ดอกรูปถ้วยสีเหลืองสด เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-6 ซม.กลีบดอก 5 กลีบรูปมนผิวมัน เกสรเพศผู้สีเหลือง 5มัด มัดละ 60-80 อัน ยาว 0.5-1 ซม.ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก ก้านเกสรยาว 2-7 มม.รังไข่สีเขียวแกมเหลือง ผลรูปรียาว 1-1.7 ซม.สีน้ำตาลดำ ปลายยอดมีระยางค์แข็ง เมื่อแห้งแตกตามยาว มีเมล็ดสีน้ำตาลแดงขนาด 1 มม. ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัดหรือร่มเงาบางส่วน เติบโตในสภาพอากาศที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพอากาศที่เย็นกว่า สามารถทนต่ออุณหภูมิที่-30 องศาC ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ชื้นและมีการระบายน้ำดี ใช้ประโยชน์--- ใช้เป็นยา ในจีนใช้ทั้งต้นรักษา โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน แผลพุพอง ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-กรกฏาคม/กันยายน-ตุลาคม (ในจีน) ขยายพันธุ์---เมล็ด
สกุลบัวผุด หรือ Rafflesia เป็นสกุลของพืชเบียนที่เป็นพืชมีดอกที่อาศัยอยู่ภายใต้ภูมิอากาศแบบเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สกุลนี้มีทั้งหมด 28 สายพันธุ์ และสามารถวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 1 เมตร (Rafflesia Arnoldii) และน้ำหนักได้ถึง 10 กก. แม้แต่สปีชีส์ที่เล็กกว่า Rafflesia Baletei ก็มีดอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม.Rafflesias จึงเป็นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สายพันธุ์ที่แนะนำในหน้านี้คือ Rafflesia Kerri มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50-90 ซม. Rafflesia ถูกค้นพบโดย Louis Deschamps ในเกาะชวาในปี ค.ศ. 1791 แต่ไม่มีคำอธิบายเฉพาะเจาะจงก่อนการสำรวจในปี 1818 นำโดย Sir Thomas Raffles (แห่งราชสมาคมในลอนดอน) และคุณหมอ Arnold หลักฐานของดอกไม้ดังกล่าวพบในป่าฝนของอินโดนีเซีย Rafflesia ที่พบในประเทศไทยได้รับการตั้งชื่อเป็นสปีชีส์ของโลกเมื่อ พ.ศ. 2527 โดยวิลเลิม ไมเยอร์ (Willem Meijer) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์จากมหาวิทยาลัยเคนทักกี สหรัฐอเมริกา ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์สากลเพื่อเป็นเกียรติแก่อาร์เทอร์ ฟรานซิส จอร์จ เคอร์ (Arthur Francis George Kerr) นายแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวไอริช ผู้สำรวจพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2472
บัวผุด/Rafflesia kerri
ชื่อวิทยาศาสตร์---Rafflesia kerri Meijer.(1984) ชื่อพ้อง---No synonyms are record for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2869167 ชื่อสามัญ---Rafflesia, Corpse flower, Meat flower ชื่ออื่น---บัวตูม, บัวผุด (สุราษฎร์ธานี); บัวสวรรค์ (พังงา); บูงอเก๊ะมอ (มาเลย์-ยะลา):[JAPAN: Rafureshia.];[MAGYAR: Óriás.];[THAI: Bua tum (Surat Thani); Bua phut (Surat Thani); Bua sawan (Phangnga); Bu-ngo-ke-mo (Malay-Yala)];bűzvirág.] EPPO Code---RFFSS (Preferred name: Rafflesia sp.) ชื่อวงศ์---RAFFLESIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ตอนกลางของทวีปเอเซีย มาทางตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ 'kerri'เพื่อเป็นเกียรติแก่ Arthur Francis George Kerr(1877–1942) นายแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวไอริช ผู้สำรวจพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรก Rafflesia kerri เป็นสายพันธุ์พืชดอกที่เป็นพืชเบียนในครอบครัววงศ์กระโถนฤๅษี (Rafflesiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Willem 'Wim' Meijer (1923–2003) นักพฤกษศาสตร์และนักสะสมพืช ชาวดัตช์ในปี พ.ศ.2527
ที่อยู่อาศัย พบในป่าดิบชื้นที่ระดับความสูง 500-1,000 เมตร โดยเกาะอาศัยอยู่กับรากไม้ในวงศ์องุ่นป่าชนิดหนึ่งชื่อ "ย่านไก่ต้ม" สกุลเครือเขาน้ำ (Tetrastigma :T.leucostaphylum, T. papillosum, T.quadrangulum ) ในประเทศไทยพบเป็น ดอกไม้ถิ่นเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในโลก พบกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ของไทย ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา เรื่อยมาจนถึงบนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสก ในจ.สุราษฎ์ธานี และพบในป่าดิบ ในรัฐกลันตันและเประในประเทศมาเลเซีย ลักษณะ เป็นเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยตามรากไม้ชนิดอื่น (holoparasites)ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ดอกและลำต้นออกมาจากหัวใต้ดิน ใบลดรูปเป็นกาบหุ้มโคนดอก ดอกสีน้ำตาลแดงหรือสีปูนกินหมาก ออกเดี่ยวๆ ดอกตูมเป็นก้อนกลมคล้ายหัวกะหล่ำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 16-25 ซม.บานเต็มที่กว้าง 50-90 ซม.อาจถึง100 ซม.รูปอ่าง ดอกบานอยู่ได้หลายวัน เมื่อใกล้โรยจะมีกลิ่นเหม็นรุนแรงและมีแมลงมาตอมเป็นจำนวนมากแล้วเปลี่ยน เป็นสีดำดอกแยกเพศ ปลายดอกแยกเป็น5กลีบแต่มีเสมอที่พบว่ามี 6 กลีบ ผิวด้านในมีตุ่มเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไป ขอบถ้วยดอกมีเนื้อเยื่อติดเป็นรูปวงแหวน ตรงกลางเปิดเป็นช่องกลม บริเวณก้านดอกนูนเป็นแท่น มีรยางค์ปลายแหลมยื่นยาวทั่วไป ดอกเพศผู้มีเกสร 25-30 อัน กระจายอยู่รอบโคนฐานดอก ผลสด เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ปกติ บัวผุดจะมีลักษณะคล้ายเส้นใยราแทรกตัวดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ในเถาย่านไก่ต้ม เมื่อต้องการสืบพันธุ์จึงมีหัวตูมผุดขึ้นมาอยู่นานถึง9เดือน และบานไม่เกิน7-9 วัน โดยวันที่ 1-4 สีของดอกจะสดที่สุด หลังจากนั้นสีจะค่อยๆคล้ำลง และเน่าไปอย่างรวดเร็ว ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ชาวบ้านเก็บทั้งตาดอกและดอกไม้เป็นอาหาร -ใช้เป็นยา ดอกไม้นี้ถือว่ามีคุณค่าทางยาและใช้เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านของชาวอะบอริจินและคนในท้องถิ่น ชาวบ้านนิยมนำดอกตูมมาต้มน้ำดื่ม ช่วยให้คลอดง่าย มดลูกเข้าอู่เร็ว ดอกตูมและดอกไม้ปรุงสุกใช้เป็นยาชูกำลังทั่วไป แก้ไข้หรือปวดหลังหรือแม้กระทั่งเป็นยากระตุ้นทางเพศ สำคัญ---ดอกไม้เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติเขาสกเนื่องจากพบมากได้ในเขตพื้นที่อุทยาน สถานภาพ---พืชเฉพาะถิ่นและพืชหายาก ระยะออกดอก---บานในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
บัวสันโดษ/Nervilia aragoana
ชื่อวิทยาศาสตร์---Nervilia concolor (Blume) Schltr.(1911) ชื่อพ้อง---Has 16 Synonyms. ---Basionym: Cordyla concolor Blume.(1825) ---Nervilia aragoana Gaudich.(1829) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-135271 ชื่อสามัญ---Tall shield orchid, Aragoa-like Nervilia ชื่ออื่น---บัวสันโดษ, ว่านพระฉิม (กรุงเทพฯ), แผ่นดินเย็น (เชียงใหม่) ;[AUSTRALIA: Nervilia aragoana.];[AYURVEDIC: Padmachaarini, Shankhaaluka.];[CHINESE: Guǎng bù yù lán.];[JAPAN: Yaeyama-kuma-sô, Yaeyama Hitotsuburo, Aoi-bokuro.];[HINDI: Sthalapadma.];[INDIA: Orila thamarai.];[MALAYALAM: Nilattamara, Nilathamara, Orlattamara, Orilathamara.];[MARATHI: Duduki, Guchchha Nervi Amri.];[MALAYSIA: Daun sa-helai sa-tahun, Daun satu tahun (Peninsular).];[SANSKRIT: Padmacarini.];[TAMIL: Orilaittamarai.];[THAI:Phaen din yen(Chiang Rai);Wan phra chim(Bangkok).];[VIETNAM:Thanh thiên quỳ xanh,Trân Châu xanh.]. EPPO Code---NVLCO (Preferred name: Nervilia concolor.) ชื่อวงศ์---ORCHIDACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน, อนุทวีปอินเดีย, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, นิวกินี, ออสเตรเลีย, หมู่เกาะแปซิฟิก Nervilia concolor เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน-เนเธอร์แลนด์และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Friedrich Richard Rudolf Schlechter (1872-1925) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2454 ที่อยู่อาศัย ถิ่นที่อยู่ที่หลากหลาย พบในเอเชียตะวันตก เทือกเขาหิมาลัย อินเดีย บังคลาเทศ อินโดจีน มาเลเซีย จีน (รวมถึงไต้หวัน) นิวกินี ไปยัง ออสเตรเลีย (ตอนเหนือ ควีนส์แลนด์)และหมู่เกาะแปซิฟิก เกิดขึ้นในป่าประเภทต่าง ๆ รวมถึงในป่าไผ่ ในที่ร่มชื้นตามหุบเขา ที่ระดับความสูง 400 - 2,300 เมตร ลักษณะ เป็นกล้วยไม้ดินอายุหลายปีมีหัวใต้ดิน ใบเดี่ยว12 x 8 ซม.มี1ใบรูปหัวใจหรือเกือบกลมชูขึ้นเหนือดิน สีเขียวก้านใบยาว 15-20 ซม.พบบ้างที่มีจุดประสีม่วงเข้ม แผ่นใบพับจีบคล้ายพัด ดอกช่อแบบช่อกระจะแทงช่อดอกก่อนยอดอ่อน ยาวได้ถึง 30 ซม.กลีบเลี้ยงรูปใบหอก 20 x 4 มม.กลีบดอกคล้ายกลีบเลี้ยง กลีบยาว 20 x 5 มม ดอกย่อยมี 3-20 ดอก ริมฝีปาก 22 x 5 มม.,3 แฉก กลีบด้านข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผลแห้งแล้วแตก ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เติบโตได้ดีที่สุดในที่ร่มรำไร ดินร่วนอุดมสมบูรณ์การระบายน้ำดี ใช้ประโยชน์---พืชนี้เก็บเกี่ยวมาจากป่าเพื่อใช้เป็นยาและบางครั้งก็ใช้หัวในท้องถิ่นซึ่งรับประทานเพื่อบรรเทาอาการกระหายน้ำ -ใช้กิน ราก - ดิบ หัวแน่นเนื้อและฉ่ำ สามารถเคี้ยวดับกระหายได้ -ใช้เป็นยา หัว รสเฝื่อนขมเล็กน้อย แก้ช้ำใน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้เคล็ดขัดยอก แก้ลม เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ฝนทาแก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ ยาพื้นบ้านอีสานใช้ หัวดองเหล้าดื่มแก้อาการหน้ามืดวิงเวียน ใช้หัวต้มน้ำดื่มบำรุงหัวใจ ในเวียตนามใช้ แก้อาการไอ,ไอเป็นเลือด,วัณโรคปอด,อาการบาดเจ็บอาการปวดบวมและอาการลำไส้ใหญ่บวม ;-ในบางส่วนของมาลายา[พ.ศ. 2409]ยาต้มจากใบที่เรียกว่า 'ubat meroyan' เคยเป็นยาป้องกันที่จำเป็นหลังคลอดบุตร ระยะออกดอก---เมษายน-พฤษภาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
บานเที่ยง/Pentapetes phoenicea
ชื่อวิทยาศาสตร์---Pentapetes phoenicea L.(1753) ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms ---Blattaria phoenicea Kuntze.(1891) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2552106 ชื่อสามัญ---Midday Flower, Noon flower, Scarlet Mallow, Scarlet pentapetes, Copper Cups, Copper-cups, Flor impia. ชื่ออื่น---บานเที่ยง (ภาคกลาง); ปอเส้ง (ภาคกลาง, ภาคเหนือ); เส้ง (ภาคใต้); เส้งใบเล็ก (ชัยนาท); เส้งใหญ่ (อ่างทอง) ;[AYURVEDIC: Bandhujiva.];[BENGALI: Kat-lata, Bandhuli, Kat-lata bandhuli, Bandhuka, Dibbucchi.];[CHINESE: Ye luo jin qian, Wu shi hua, Jīnqián huā.];[HINDI: Bandhuka, Behsaram, Dopahariya, Tambridupari.];[MALAYALAM: Uchchamalari.];[PHILIPPINES: Limang-dahon (Tag.); Yamyampaka (Sub.).];[SANSKRIT: Madhyadina, Bandhuka.];[SPANISH: Flor de a las doce.];[SRI LANKA: Banduwada.];[TAMIL: Nagappu.];[TELUGU: Makinaccettu.];[THAI: Ban thiang (Central); Po seng (Central, Northern); Seng (Peninsular); Seng bai lek (Chai Nat); Seng yai (Ang Thong).]. EPPO Code---PNPPH (Preferred name: Pentapetes phoenicea.) ชื่อวงศ์---MALVACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---พบในเอเชียเขตร้อนถึงตอนบนของออสเตรเลียและตามหมู่เกาะในเขตร้อนทั่วโลก Pentapetes phoenicea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ชบา (Malvaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296 ที่อยู่อาศัย พบในจีน (กวางตุ้ง กวางสี เสฉวน ยูนนาน) บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เมียนมาร์ เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย แปลงสัญชาติในอเมริกากลาง ขึ้นเป็นวัชพืชในหลายประเทศพบในนาข้าวสถานที่แอ่งน้ำและที่เปียกชื้น ในไทยพบทุกภาคตามนาข้าว ที่โล่งที่ชื้นแฉะ ที่ระดับความสูงไม่เกิน 100 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูง1-1.5 เมตร ลำต้นเรียวเล็กสีเขียวหรือสีม่วง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนรูปใบหอกแคบ ใบยาว 3-14 ซม. ใบหยักลึกเป็น3แฉกแผ่นใบมีขนประปรายทั้งสองด้าน โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยบาง ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีแดงเลือดนก ออกตามซอกใบ ก้านดอกยาว 1-2 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดทน โคนเชื่อมติดกัน กลีบรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาว 5-7 มม. ปลายแหลมคล้ายหนามหรือตะขอ มีขนหยาบ ดอกรูปถ้วยกว้าง สีชมพูหรือแดง โคนด้านในมีสีขาว มี 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม กลีบรูปไข่กลับ ปลายกลม ยาว 1-2 ซม.เกสรเพศผู้ 15 อัน ติดกันเป็น 5 กลุ่มสั้น ๆ เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมี 5 อัน ติดระหว่างกลุ่ม รูปแถบ สั้นกว่าหรือยาวเท่า ๆ กับกลีบดอก รังไข่มีขน ก้านเกสรเพศเมียยาวเท่า ๆ หรือยาวกว่าแผ่นเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันเล็กน้อย ติดทน ผลแห้งแตกตามยาว กลมจัก 5 พู เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 ซม.มีขนหยาบกระจาย มีประมาณ 10 เมล็ด ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ในเซเลเบส ใบใช้ชงแทนชา -ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ -ใช้เป็นยา รากใช้สมานแผลต้านเชื้อแบคทีเรีย ;-ในเวียตนาม (อันนัม) ยาต้มผลไม้ใช้เป็นยาทำให้ผิวนวล รากใช้สำหรับบรรเทาลมและแก้ไข้ ;-ชนเผ่าตริปุระทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียใช้ยอดอ่อนปรุงในการรักษาโรคไต ;- การแพทย์แผนจีน: P. phoenicea เป็นส่วนประกอบของยาจีนโบราณหลายชนิดที่ใช้รักษาปฏิกิริยาของยาประเภท exfoliative dermatitis -อื่น ๆ เปลือกเหนียวใช้ทำเชือก ระยะออกดอก---มิถุนายน-กรกฎาคม,สิงหาคม-ตุลาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
บุษบาอธิษฐาน/Adenosma caerulea
ชื่อวิทยาศาสตร์---Adenosma caeruleum R.Br.(1810) ชื่อพ้อง--Has 5 Synonyms. ---Adenosma glutinosa var. caerulea (R.Br.) Tsoong.(1974) ---Adenosma villosum Benth.(1831) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2621878 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---บุษบาอธิษฐาน, หญ้าข้าวก่ำปากแตร, สนำชาวไร่ ;[CHINESE: Máo shèxiāng.];[THAI: Butsaba a-thi-than, Sa nam chao rai (Southeastern); Ya khao kam (Northeastern).];[VIETNAM: Cây Nhân Trần, Nhân trần, Tuyến hương lam, Chè nội, Chè cát, Nhân trần việt nam.]. EPPO Code--ADVSS (Preferred name: Adenosma sp.) ชื่อวงศ์---PLANTAGINACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีนตอนใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ถึงออสเตรเลีย Adenosma caeruleum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เทียนเกล็ดหอย (Plantaginaceae)สายพันธุ์นี้แต่ก่อนถูกวางไว้ในวงศ์มณเฑียรทอง (Scrophulariaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Robert Brown (1773–1858) นักพฤกษศาสตร์และนักบรรพชีวินวิทยาชาวสก็อตในปี พ.ศ.2353 ที่อยู่อาศัย พบในอินเดีย บังคลาเทศ กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เมียนมาร์ ออสเตรเลีย (ควีนส์แลนด์) ในประเทศไทยพบทุกภาค พบตามป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ทุ่งหญ้าและป่าสน ที่ระดับความสูง 300-1,500เมตร ลักษณะ เป็นพืชล้มลุกสูง 40-100 ซม. ทุกส่วนมีขนปกคลุม ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง1.5-6ซม.ยาว3-9ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ก้านใบยาว 0.5-3 ซม.ดอกสีน้ำเงินแกมม่วง ออกเป็นช่อตั้ง ห่างๆที่บริเวณปลายยอด กลีบรองดอก5กลีบ แยกออกเป็น 2 วง วงนอก 3 กลีบรูปหอกแคบ วงใน 2 กลีบเป็นเส้นเรียว กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอดส่วนปลายบนแผ่โค้งเป็นกลีบใหญ่ ส่วนล่างแยกออกเป็น 3 กลีบมน ผลรูปกระสวยขนาด 7-9 มม.เมื่อแก่จะแตก เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยาในการแพทย์แผนโบราณของเวียดนามใช้ทั้งต้นเป็นยามักใช้รักษาโรคดีซ่านเฉียบพลัน (ตับอักเสบและตัวเหลือง); ปัสสาวะสีเหลืองขุ่น; ยาต้มทั้งต้นใช้ แก้ไข้, อาหารไม่ย่อย,โรคไขข้ออักเสบในเด็ก, ลมพิษ, ยาต้มของพืชชนิดนี้มีคุณสมบัติในการย่อยอาหารกระตุ้นและบำรุงเลือด มีประโยชน์มากสำหรับสตรีมีครรภ์และยังใช้เป็นยาสำหรับสตรีหลังคลอดอีกด้วย ;-ในประเทศจีน ผู้คนใช้พืชชนิดนี้เพื่อรักษาโรคโปลิโอในวัยเด็ก โรคไขข้อ ปวดกระดูก ปวดท้อง; งูกัด กลาก ลมพิษ ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-กันยายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
บูดูบูลัง/Thottea tomentosa
ชื่อวิทยาศาสตร์---Thottea tomentosa (Blume.) Ding Hou.(1981) ชื่อพ้อง---Has 14 Synonyms ---Basionym: Ceramium tomentosum Blume.(1826) ---Bragantia tomentosa (Blume) Blume.(1827) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2438229 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---เฒ่านางรุ้ง (หนองคาย), บูดูบูลัง (ระนอง,สงขลา), หูหมีขน (ทั่วไป) ;[INDONESIA: Singa depa (Javanese, Sundanese); Kaliwaro (Sundanese); Singa dapur (Javanese).];[MALAYSIA: Kaneb, kemed, Sereng kong (Peninsular); Kemed Kaneb (Jahai); Tapak Gajah, Telinga Beruang (Malay).];[THAI: Thao nang rung (Nong Khai); Bu du bu lang (Ranong, Songkhla); Hu mi khon (General).];[VIETNAM: Tot hoa huong.]. EPPO Code---TEHTH (Preferred name: Thottea tomentosa.) ชื่อวงศ์---ARISTOLOCHIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวีนออกเฉียงใต้ เอเซียเขตร้อน Thottea tomentosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ไก่ฟ้า (Aristolochiaceae)สกุลหูหมี (Thottea)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Ding Hou (1921–2008) นักพฤกษศาสตร์ชาวอินโดนีเซีย-ดัตช์ในปีพ.ศ.2524 ที่อยู่อาศัย พบที่อินเดีย หมู่เกาะอันดามัน บังกลาเทศ พม่า เวียดนามและภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยพบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่ ภูวัว จังหวัดบึงกาฬ ขึ้นตามป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 200 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.30-0.50 เมตร มีขนละเอียดทุกส่วนของต้น ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ยาว 10-15 ซม.ปลายแหลมยาวหรือมน แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น โคนรูปลิ่ม กลมหรือรูปหัวใจเบี้ยวเล็กน้อย ก้านใบยาว 4-7 มม.ดอกช่อออกที่กิ่งก้านบริเวณโคนต้น ช่อยาว 5-9 ซม.ใบประดับรูปใบหอก ยาว 4-5 มม.ติดทน ก้านดอกยาว 6-8 มม.กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ด้านในสีน้ำตาลแกมม่วง ด้านนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 มม. แยกเป็น 3 กลีบ แฉกลึกประมาณกึ่งหนึ่ง บานออก เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียงวงเดียว อับเรณูยาวประมาณ 2 มม.เส้าเกสรยาวประมาณ 2.5 มม.ยอดเกสรจัก 3 พู เรียวยาวปลายมีขนรูปตะขอ ผลแห้งแตกได้ รูปร่างเรียวยาวบิดเป็นเกลียวยาว 3.5-5 ซม.มีสันเป็นสี่เหลี่ยม สีน้ำตาลดำหรือม่วง เมล็ดรูปขอบขนาน ขนาด 4x2 มม. ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่มรักษาต่อมลูกหมากอักเสบและขับปัสสาวะ ;-ในแหลมมลายูพืชนี้ใช้สำหรับการพอกยารักษาโรคผิวหนังและฝี;- ในชวา ลำต้นและใบถูกโขลกกับน้ำผลไม้กินเพื่อแก้ไอ รากและใบใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยังใช้กับงูกัด ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เมล็ด
ใบพาย/Viola betonicifolia
ชื่อวิทยาศาสตร์---Viola betonicifolia Sm.(1817) ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms ---Viola caespitosa D.Don.(1825) ---Viola betonicifolia subsp. nepalensis (Ging.) W. Becker.(1917) ---Viola patrinii nepaulensis Ging.(1824) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-33801371 ชื่อสามัญ---Arrowhead violet, Betony-leaved violet, Showy violet, Mountain violet. ชื่ออื่น---ใบพาย (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ;[AUSTRALIA: Arrowhead violet, Mountain violet, Showy violet.];[CHINESE: Jǐ yè jǐn cài, Jiàn yè jǐn cài.];[INDIA: Phori, Vanfsa (Hin).];[JAPANESE: Ari-ake-sumire.];[THAI: Bai phai (Northeastern, Northern).];[VIETNAM: Hoa tím lá mác.]. EPPO Code---VIOBT (Preferred name: Viola betonicifolia.) ชื่อวงศ์---VIOLACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- จีน, ญี่ปุ่นตอนกลางและตอนใต้, เกาหลี, อัฟกานิสถาน,อนุทวีปอินเดีย, พม่า, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, นิวกีนี, ออสเตรเลีย Viola betonicifolia เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ใบพาย (Violaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย James Edward Smith (1759 - 1828) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2360
ที่อยู่อาศัย การกระจายจาก อินเดีย, ปากีสถาน, ศรีลังกา, หิมาลัย ,จีนแผ่นดินใหญ่ (ไห่หนาน, ฝูเจี้ยน, กวางตุ้ง, กานซู, เหอหนาน, ส่านซี, เจียงซู, มณฑลเสฉวน, ทิเบต, เจ้อเจียง, มณฑลอานฮุย, ยูนนาน, หูหนาน, หูเป่ย, เจียงซี), ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, อินโดนีเซียและออสเตรเลีย เกิดอยู่ในรัฐแทสเมเนีย ออสเตรเลียตะวันออกจากรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ผ่านรัฐวิกตอเรียและนิวเซาธ์เวลส์ พบเติบโตในพื้นที่ร่มรื่นในป่าขึ้นบนเนินหญ้า ทุ่งหญ้า ริมถนน และขอบป่าที่ระดับความสูง 250-3,200 เมตร ในประเทศไทยพบในพื้นที่โล่ง ชอบขึ้นปนอยู่กับกลุ่มหญ้า ตามทุ่งหญ้าป่าสนบนภูเขาสูงที่มีอากาศหนาวเย็น พื้นดินเป็นดินร่วนปนทรายชื้นแฉะ หรือที่ร่มแสงแดดรำไร ที่ความสูง1,100-1,800 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลักษณะต้นสูง10-15 ซม.มีลำต้นสะสมอาหารใต้ดินมีเฉพาะก้านใบและใบโผล่เหนือดิน ใบเดี่ยวออกเวียนสลับเป็นเกลียวรอบข้อจำนวน4-6ใบ ก้านใบยาว 3-8 ซม.แผ่นใบรูปขอบขนานแกมไข่กลับ หรือรูปใบพายขนาดของใบกว้าง 1.5-2.5 ซม.ยาว 4-6 ซม.โคนใบตัดตรง ขอบใบหยักซี่ฟันห่าง ๆออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ก้านดอกยาว 20 ซม.ชูช่อสูงกว่าใบดอกเป็นหลอดเล็กๆปลายแยกเป็น5กลีบสีม่วงอ่อนหรือชมพู มีลายเส้นสีม่วงพาดตามความยาวของกลีบดอก ด้านบน 2 กลีบด้านล่าง 3 กลีบซึ่งกลีบตรงกลางด้านล่างจะใหญ่สุด เมื่อดอกแก่จะมีสีซีดลงจนกลายเป็นสีขาว ฝักสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดสีดำรูปไข่ขนาด 1-1.2 มม. ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---โดยทั่วไปแล้ว สปีชี่ส์ในสกุลนี้ชอบดินที่อุดมด้วยฮิวมัสที่เย็นชื้นและมีการระบายน้ำดีในที่ร่มบางส่วน ทนต่อหินทรายและดินหินปูน แต่จะกลายเป็น chlorotic (ใบคลอโรติกจะมีสีซีด เหลือง หรือเหลืองขาว) ถ้า pH สูงเกินไป ชอบ pH ระหว่าง 6 ถึง 6.5 ใช้ประโยชน์---พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและยา บางครั้งมีการปลูกเพื่อใช้เป็นสมุนไพร บางครั้งปลูกเป็นไม้ประดับสวน -ใช้กิน ใบ - ปรุงและใช้เป็นสมุนไพรหม้อ (Potherb) -ใช้เป็นยา ดอกเป็นยาขับปัสสาวะและเสมหะ น้ำเชื่อมที่ทำจากดอกไม้ใช้เป็นยาแก้ไอหวัด หวัดหืดและเสียงแหบ ในยาแผนโบราณของปากีสถานทุกส่วนของพืช ใช้เป็นยากล่อมประสาท ยาคลายกล้ามเนื้อ ยานอนหลับ และใช้เพื่อบรรเทาความผิดปกติของระบบประสาทต่างๆ ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปีแต่จะออกมากในเดือนพฤษภาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด แยกกอ
|
ประทัดกระเหรี่ยง/Agapetes macrostemon
ชื่อวิทยาศาสตร์---Agapetes macrostemon (Kurz) C.B. Clarke.(1881) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:858163-1 ---Vaccinium macrostemon Kurz.(1873) ชื่อสามัญ---Himalayan Lantern ชื่ออื่น---ประทัดกระเหรี่ยง (ทั่วไป), แมวน้ำ (ภาคเหนือ); [THAI: Prathat kariang (General); Maeo nam (Northern).]. EPPO Code---AGFSS (Preferred name: Agapetes sp.) ชื่อวงศ์---ERICACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Agapetes macrostemon เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) สกุล ประทัดดอย (Agapetes) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Wilhelm Sulpiz Kurz (1834-1878) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Charles Baron Clarke (1832-1906) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2424 ที่อยู่อาศัย ขึ้นกระจายจากภูมิภาคหิมาลัยไปจนถึงตอนใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบเกาะอาศัยตามต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง1,400-1,500เมตร ทางภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน *ลักษณะ เป็นไม้พุ่มอิงอาศัย สูงถึง1 เมตรโคนต้นอวบ ใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบกิ่ง รูปใบหอก กว้าง 1.7-4.5 ซม.ยาว 6.5-11.5 ซม.ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเกลี้ยง ดอกสีแดง หรือแดงส้มออกเป็นช่อตามกิ่งใกล้ปลายยอด มีดอก 5-10 ดอกย่อย กลีบรองดอก รูปหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉกตื้น กลีบดอก รูปหลอดป่องโค้ง ยาว 1.8-2.5 ซม. ผิวเกลี้ยง เป็นสัน 5 สัน ปลายกลีบ แยกเป็น 5 แฉก รูปแถบปลายแหลมม้วนกลับทางด้านหลังผลรูปรีหรือรูปไข่ขนาด0.7-1ซม.ปลายผลมีกลีบรองดอก ติดทน เมล็ด ขนาดเล็กจำนวนมาก* http://www.qsbg.org/database/botanic ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-เมษายน/มิถุนายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
ประทัดดอย/Agapetes parishii
ชื่อวิทยาศาสตร์---Agapetes parishii C.B.Clarke.(1881) ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2625388 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ข้าวเย็น (เลย); ประทัดดอย (กรุงเทพฯ) ;[THAI: Khao yen (Northern, Loei); Prathat doi (Bangkok).] EPPO Code---AGFSS (Preferred name: Agapetes sp.) ชื่อวงศ์---ERICACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดียถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ Agapetes parishii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) สกุล ประทัดดอย (Agapetes) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Charles Baron Clarke (1832-1906) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2424 ที่อยู่อาศัย พบที่อินเดีย อัสสัม และพม่าในประเทศไทยพบเกาะอาศัยตามต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบเขา ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง 1,100-1,600 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มอิงอาศัยสูงประมาณ 1(2) เมตร มีรากสะสมอาหารอวบบวม ใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบกิ่ง กว้าง 3.5-4 ซม.ยาว 9.5-15 ซม.ปลายใบแหลมโคนใบรูปลิ่ม ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 0.4-1.2 ซม.ดอกสีแดงสดออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน ดอกจำนวนมาก ก้านช่อยาว 4-8 มม.ก้านดอกยาว 2-2.5 ซม.กลีบดอกยาวประมาณ 3 ซม. กลีบรูปสามเหลี่ยม ยาว 3-4 มม. โค้งบานออก ก้านชูอับเรณูสั้น โคนอับเรณูไม่มีเดือย หลอดอับเรณูยาวประมาณ 2 ซม.ผลค่อนข้างกลมขนาด0.6-0.7ซม.ผิวเกลี้ยง ระยะออกดอก---ธันวาคม-มีนาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
ประทัดใหญ่/Agapetes variagata
ชื่อวิทยาศาสตร์---Agapetes variagata (Roxb.) D.Don ex G.Don.(1834) ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms. ---Basionym: Ceratostema variegatum Roxb.(1824) ---Agapetes pulcherrima (Klotzsch) Benth. & Hook.f..(1876) ---Vaccinium variegatum (Roxb.) Kurz.(1873) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2625448 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ประทัดใหญ่ (กรุงเทพฯ), สะเภาแดง (เชียงใหม่) ;[CHINESE: Shù luó bo shǔ.];[THAI: Prathat yai (Bangkok); Sa phao daeng (Chiang Mai).]. EPPO Code---AGFSS (Preferred name: Agapetes sp.) ชื่อวงศ์---ERICACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดียถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ Agapetes variagata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) สกุล ประทัดดอย (Agapetes) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย David Don (1799-1841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต จากอดีต George Don (1798–1856) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปีพ.ศ.2377 ที่อยู่อาศัย พบในอินเดียถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบเกาะอาศัยตามคาคบไม้ในป่าดงดิบ ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้และภาคใต้ ที่ระดับความสูง 200-900 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มอิงอาศัยสูงประมาณ1.5เมตร มีรากสะสมอาหารอวบบวม กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบกิ่ง รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2.3-4.5 ซม.ยาว 6.5-13 ซม.ผิวใบเกลี้ยง สีแดง มีลายสีแดงเข้ม ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง ก้านดอกยาว 2-2.5 ซม. กลีบรองดอกรูปถ้วยปลายแยก5แฉกรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกเป็นหลอดป่อง ขนาด 1-1.3 ซม.ยาว 3.5-5 ซม. มี 5 สันตามยาวชัดเจน ปลายกลีบแยก 5 แฉกรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม เกสรผู้ 10 อัน ก้านเกสรแบน ก้านเกสรเมียโผล่พ้นกลีบดอก ผลรูปค่อนข้างกลมขนาดประมาณ 1ซม.ผิวเกลี้ยงที่ปลายมีกลีบรองดอกติดอยู่ เมล็ดรูปรีค่อนข้างแบน ระยะออกดอก---เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน ขยายพันธุ์---เมล็ด
ประทัดอ่างขาง/Agapetes megacarpa
ชื่อวิทยาศาสตร์---Agapetes megacarpa W.W.Sm.(1920) ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2625362 ชื่อสามัญ---Wildflower bunch pink. ชื่ออื่น---ประทัดดอย, ประทัดใหญ่, ประทัดอ่างขาง ;[CHINESE: Da guo shu luo bo.];[THAI: Prathat doi (General); Prathat yai (General); Prathat ang khang (General).]. EPPO Code---AGFSS (Preferred name: Agapetes sp.) ชื่อวงศ์---ERICACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดียถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ Agapetes megacarpa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) สกุล ประทัดดอย (Agapetes) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Sir William Wright Smith (1875–1956)นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตในปีพ.ศ.2463 ความหลากหลายของสายพันธุ์ (Variety) : -Agapetes megacarpa var. lohitensis D.Banik & Sanjappa.(1921) -Agapetes megacarpa var. megacarpa.(2011)
ที่อยู่อาศัย พบในอินเดียถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยพบเฉพาะในภาคเหนือ อิงอาศัยเกาะตามต้นไม้ใหญ่ หรือตามหน้าผา หินปูนในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,600 เมตร ลักษณะ เป็น*ไม้พุ่มอิงอาศัย สูง 1-1.5 ม. รากสะสมอาหารอวบบวม ใบ เดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง รูปขอบขนานแกมรีหรือแกมรูปหอกกลับ กว้าง 3-4.5 ซม. ยาว 9.5-14 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือหยัก เป็นคลื่นห่างๆ มีต่อมเล็กๆ ตามขอบใบ ดอก สีชมพูหรือชมพูอมแดง ออกเป็นช่อห้อยลง กลีบรองดอก 5 กลีบ เป็นถ้วย ยาว 0.9-1.4 ซม. ส่วนปลายเป็นกลีบเรียวแหลม กลีบดอกเป็นหลอดป่อง ยาว 4.3-6 ซม. มีสันตามยาว มีลายสีแดงพาดตามยาวทั่วไป ขนาด ผ่านศูนย์กลาง 1.2-1.9 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก แหลมโค้งกลับ ผล สด รูปทรงกลม ขนาด 6-9 มม. มีกลีบรองดอกติดอยู่ที่ปลาย* http://www.qsbg.org/Database/ สถานภาพ---พืชหายาก ระยะออกดอก---เดือนธันวาคม-เดือนมีนาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด
|
ประไหมสุหรี/Centaurea moschata
ชื่อวิทยาศาสตร์---Amberboa moschata (L.) DC.(1838) ชื่อพ้อง---Has 9 Synonyms ---Basionym: Centaurea moschata L.(1753) ---Centaurium suaveolens Cass.(1817) ---Chryseis moschata (L. ) Cass.(1826) ---Cyanus luteus Moench.(1794) ---Cyanus moschatus (L. ) Gaertn.(1791) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-75547 ชื่อสามัญ---Sweet Sultan, Sweetsultan, Sweet-sultan. ชื่ออื่น---ประไหมสุหรี (ทั่วไป) ;[CHINESE: Pò jú.];[CZECH: Chrpa pižmová; nažka (fruit).];[DANISH: Duft-knopurt.];[DUTCH: Muskuscentaurie.];[FRENCH: Centaurée ambrette.];[GERMAN: Duftende Bisampflanze, Wohlriechende Ambraflockenblume, Wohlriechende Bisamflockenblume.];[HUNGARIAN: Mósuszimola.];[JAPANESE: Suīto sarutan, Nioiyaguruma.];[SPANISH: Graciosa.];[SWEDISH: Doftklint.];[THAI: Pra mai su ri.]. EPPO Code---ABBMO (Preferred name: Amberboa moschata.) ชื่อวงศ์---ASTERACEAE (COMPOSITAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันตก จีน ทวีปอเมริกา Amberboa moschata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ทานตะวัน (Asteraceae หรือ Compositae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Augustin Pyrame de Candolle (1778?1841) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิสในปีพ.ศ. ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน, เอเชียตะวันตก: คอเคซัส อิหร่าน อิรักและตุรกี, ในประเทศจีน (กานซู, ซานซี)และทวีปอเมริกาเหนือ พบที่ระดับความสูง 0-1,200 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอายุสั้นหรือ1-2 ปีต้นสูงประมาณ 60-90 ซม.แตกพุ่มขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบที่ไม่แยกออกจากกันยาว 10-25 ซม.ดอกเดี่ยวชูเด่นเหนือพุ่มใบ ดอกมีสี ขาว เหลือง ชมพูอ่อน ม่วงอมฟ้า ม่วงอมแดง กลีบดอกบางฉีกเป็นริ้วแฉกลึก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 ซม.มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลแคปซูลสีน้ำตาลเข้มขนาด 3.5–4 ซม. ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็มวัน อากาศเย็น ไม่เจาะจงชนิดของดินแต่ต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำดีอัตราการเจริญเติบโต ปานกลาง ใช้ประโยชน์---ปลูกเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในหลาย ๆ ที่ในฐานะไม้ประดับและไม้ตัดดอก ระยะออกดอก---มกราคม-กรกฏาคม (จีน) ;-มิถุนายน - กันยายน (Czech) ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด
ปอกะปลา/Thyrsanthera suborbicularis
ชื่อวิทยาศาสตร์---Thyrsanthera suborbicularis Pierre ex Gagnep.(1925) ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-205703 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ปอกะปลา (นครสวรรค์), เปล้าแขบทอง (อุบลราชธานี) ;[THAI: Po ka pla (Nakhon Sawan), Plao khap thong (Ubon ratchathani.];[VIETNAM: Chi hùng, Baavo, Phun tau, Chi hùng tròn tròn.]. EPPO Code---1EUPF (Preferred name: Euphorbiaceae.) ชื่อวงศ์---EUPHORBIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---กัมพูชา ไทย เวียตนาม Thyrsanthera suborbicularis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะไฟ (Euphorbiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Jean Baptiste Louis Pierre (1833-1905) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส จากอดีต Francois Gagnepain (1866-1952 ) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2468 ที่อยู่อาศัย สายพันธุ์เฉพาะถิ่นของกัมพูชาและเวียดนามใต้ ยังพบในไทยและลาว เติบโตตามธรรมชาติในป่าผลัดใบหรือป่าผลัดใบบนพื้นทรายที่ระดับความสูง 100-500 เมตร ลักษณะ เป็นไม้พุ่มเล็ก สูง 30-100 ซม.เป็นพืชลงรากใต้ดิน มียางใสสีเหลือง และขนนุ่มรูปดาวสีขาวปกคลุมหนาแน่นทุกส่วน ใบเดี่ยว 6-12 ซม. ยาว 5-12 ซม. เรียงเวียนสลับรูปหัวใจ ปลายใบกลม ดอกออกเป็นช่อกระจะที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกมีสีเหลือง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 10 ซม.ดอกย่อยแยกเพศ ดอกเพศผู้จำนวนมากอยู่ตอนบนของช่อ ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นแท่ง ส่วนบนมีขน ส่วนล่างเกลี้ยง มีต่อมเล็กๆ เรียงรอบโคนแท่ง กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน มีขนทั้งสองด้าน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก ด้านนอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ด้านในเกลี้ยง ดอกเพศเมียมี 1-7 ดอก อยู่ที่โคนช่อ มีขนปกคลุม ไม่มีกลีบดอก ผลรูปทรงกลม แห้งแล้วแตก มี 3 พู มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 1 ซม.มีปลายเป็นรูปมงกุฎคล้ายชมพู่ ผิวมีหนามอ่อนและมีขนสีน้ำตาลทองรูปดาว ปกคลุมหนาแน่นคล้ายกำมะหยี่ เมล็ดรูปไข่ปลายแหลมสั้นๆ เมล็ดสีน้ำตาลเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มม.ยาว 4 มม. ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ตำรายาไทย รากชงน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ฝนกับน้ำทา แก้ปวดข้อ ปวดขา ;- ในกัมพูชาใช้ราก ระงับและรักษาโรคมาลาเรีย ใช้รักษาการติดเชื้อในสตรีหลังคลอด ระยะออกดอก/ติดผล--- ขยายพันธุ์---เมล็ด
ปอผี/Hydrolea zeylanica
ชื่อวิทยาศาสตร์---Hydrolea zeylanica (L.) Vahl.(1791) ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms ---Basionym: Nama zeylanica L.(1753) ---More.See all The Plant List ชื่อสามัญ---Ceylon Hydrolea, False fiddleleaf ชื่ออื่น---ผักกะเดียง (อุบลราชธานี); ปอผี (บุรีรัมย์); บีปลาไหล, ไส้เอี่ยน, บีเอี่ยน (สกลนคร), ผักกระเดียง, ดีปลาไหล, สะเดาดิน ;[ASSAMESE: Indronil, Leheti-sak, Leheti-bon, Indranil, Leheti Bon.];[BENGALI: Isa-langulia, Kasschra.];[CHINESE: Tian ji ma, Tàn qín cǎo.];[GERMAN: Zeylonesischer Wasserbläuling.];[HINDI: Koliary.];[MALAYALAM: Cheruvallel,Vellol.];[MANIPURI: Charang.];[MARATHI: Keriti, Popti.];[THAI: Phak ka dieng (Ubon Ratchani); Po phi (Buri Ram); Bi pla lai, Sai ian, Bi ian (Sakon Nakhon), Phak kra dieng, Di pla lai, Sa dao din.]. EPPO Code---HYMZE (Preferred name: Hydrolea zeylanica.) ชื่อวงศ์---HYDROLEACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน, อนุทวีปอินเดีย, พม่า, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ออสเตรเลีย Hydrolea zeylanica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ Hydroleaceae ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Martin Vahl (1749–1804) นักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาชาวเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ในปีพ.ศ.2334
ที่อยู่อาศัย การกระจายค่อนข้างกว้างในประเทศเขตร้อน อนุทวีปอินเดีย ( อินเดีย,เปาล,ศรีลังกา) ในประเทศจีน (ฝูเจี้ยน, กวางตุ้ง, กวางสี, ไหหลำ, ไต้หวัน, ยูนนาน) ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (พม่า, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์) และประเทศในทวีปออสเตรเลีย พบตามทุ่งหญ้าริมน้ำ ริมลำธารป่าเปิดที่เป็นหนองน้ำหรือดินที่มีน้ำท่วมขัง จากระดับน้ำทะเลไปจนถึงระดับความสูง 0- 1,000 เมตร ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกทอดเลื้อยตามพื้นดินสูง10-15ซม.ลำต้นกลมแข็งเกลี้ยง มีรากออกตามข้อ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปใบหอกโคนใบแหลมปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้าง 0.5-1.2 ซม. ยาว 1.5-5 ซม.ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงยาว 5 ซม.หรือออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกย่อยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. ก้านดอกยาวง 0.5 ซม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ปลายกลีบแหลมด้านนอกมีขนปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบรูปไข่ เกสรผู้ 5 อัน เรียงสลับกับกลีบดอก ก้านชูเกสรเพศเมีย 2 อัน กลีบดอกสีน้ำเงินม่วง กลางดอกสีขาว ผลรูปขอบขนานกว้าง 2.5 มม. ยาว 5 มม. ห่อด้วยกลีบรองดอก เมล็ดรูปรี ยาว 0.3-0.4 มม.มีจำนวนมาก ผลแห้งแล้วแตก ใช้ประโยชน์---พืชบางครั้ง (กึ่ง) ปลูกสำหรับยอดอ่อนและใบอ่อนซึ่งกินในสลัด -ใช้กิน ใบอ่อน - ปรุงและกินเป็นผัก ใบกินสดเป็นสลัดผัก -ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ ต้น ใบ ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงตับ รักษาโรคมาลาเรีย และแก้เบาหวาน ใบใช้ รักษาลำไส้ผิดปกติ และใช้เป็นยาสมานแผล เป็นยาฆ่าเชื้อ ยาพื้นบ้านอีสานใช้ทั้งต้นดื่มแก้ตาฟาง ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2011 ระยะออกดอก/ติดผล---ธันวาคม-กุมภาพันธ์/มกราคม-เมษายน ขยายพันธุ์---เมล็ด หน่อ
ปัดน้ำ/ Drosera peltata
ชื่อวิทยาศาสตร์--- Drosera peltata Thunb.(1797) ชื่อพ้อง---Has 14 Synonyms ---Drosera peltata Sm. ex Willd.(1798) ---Drosera peltata var. genuina Planch.(1848) ---Sondera peltata (Thunb.) Chrtek & Slavíková.(2000).(2000) ---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-64516 ชื่อสามัญ---Shield sundew, Pale sundew. ชื่ออื่น--- หยาดน้ำค้าง (เลย) ปัดน้ำ (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เลย); หญ้าไฟตะกาด ;[ARABIC: Durusira bilata.];[CHINESE: Mao gao cai, Lán pén huā.];[INDIAN: Mukhjali, Malai azhukanni.];[JAPANESE: Ishimochisou, Ichi-mochi-sô.];[KOREAN: Kkeun Kkeun i gwi gae.];[MALAYALAM: Kosuvettipullu, Azhukanni.];[PHILIPPINES: Bain, Ruut, Sanabugan (Ig.); Gumgumayeng (Bon.).];[THAI: Yat nam khang (Loei), Pat nam (North Easthern, Loei), Ya Fai Takard.]. EPPO Code---DRSPN (Preferred name: Drosera peltata.) ชื่อวงศ์---DROSERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ออสเตรเลีย จีน, อนุทวีปอินเดีย, ไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ จากภาษาละติน 'peltata' แปลว่า รูปโล่ ซึ่งอ้างอิงถึงรูปทรงของก้านใบ Drosera peltata เป็นสายพันธุ์พืชกินเนื้อสกุลหยาดน้ำค้าง (Droseraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Peter Thunberg (1743–1828) นักพฤกษศาสตร์และนักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2340 ที่อยู่อาศัย เกิดขึ้นตามธรรมชาติทางตะวันออกและตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย (นิวเซาธ์เวลส์ นิวซีแลนด์ภาคเหนือ ออสเตรเลียใต้ แทสเมเนีย วิกตอเรีย) และส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - [ จีน ( ยูนนาน , เสฉวน , กุ้ยโจว , ทิเบต , ฮ่องกง , ไต้หวัน) ทางตะวันตกของคันโต , ญี่ปุ่น ] อนุทวีปอินเดีย, ไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์) พบบริเวณดินทรายชุ่มน้ำในป่าสนและป่าผลัดใบ ทุ่งหญ้า, ลำธาร, สถานที่โล่ง, ริมถนนที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,700 เมตร.ในประเทศไทยพบทุกภาคขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ที่โล่งและดินที่ไม่สมบูรณ์ ลักษณะ เป็นพืชกินสัตว์เป็นไม้ล้มลุกยืนต้นที่มีลำต้นตั้งตรงหรือเลื้อยไต่ได้ พืชเติบโตจากหัวใต้ดินที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มม.โดยทั่วไปแล้วหัวใต้ดินจะพบที่ประมาณ 4-6 ซม.ใต้ผิวดิน ส่วนที่อยู่เหนือดิน สูง 10-50 ซม.ใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยมออกเรียงสลับ กว้าง 3-6 มม.ยาว 5-10 มม. ดอกสีขาวกว้าง 5-6 มม.ออกเป็นช่อตั้งตรงไม่แตกแขนง บริเวณปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมรูปรี ยาว 0.2-0.3 ซม. ขอบเป็นชายครุย กลีบดอกรูปไข่กลับยาว 0.5-0.6 ซม. สีขาว ก้านดอกยาว 1-2 ซม. เกสรเพศผู้มี 5 อัน แยกกัน ยาว 0.3-0.4 ซม. อับเรณูรูปทรงกลม เกสรเพศเมียมี 3 อัน แยกเป็นหลายแฉก ดอกบานได้นาน1สัปดาห์ ผลแคปซูลมี 3 ซีก รูปขอบขนานแกมรูปไข่ขนาด 7 x 4 มม. เมล็ดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีดำ ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---สายพันธุ์ที่มีความแปรปรวนสูงในป่า ชอบดินร่วนปนทราย ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุยที่มีไนโตรเจนต่ำเพราะได้รับสารอาหารที่ต้องการจากแมลง ใบของพืชจะถูกดัดแปลงเป็นอวัยวะสำหรับจับแมลง พื้นผิวด้านบนของใบถูกปกคลุมไปด้วยขนที่หลั่งสารเหนียวหวาน สิ่งนี้ดึงดูดแมลงและไม่สามารถหนีได้ จากนั้นพืชจะระบายของเหลวที่ย่อยได้เพื่อดูดซับสารอาหารที่ต้องการจากแมลงส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบ ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น -ใช้เป็นยา ใช้เป็นยาบำรุงโลหิตบำรุงเลือดและขับลม ในอินเดียใช้ในยาอายุรเวทใช้ทองคำเป็นส่วนใหญ่ในรูปแบบ Gold bhasma (Bhasmas เป็นหนึ่งในการเตรียมการที่ไม่เหมือนใครใน Ayurveda) ประสิทธิภาพในการรักษาโรคผิวหนังและซิฟิลิสเป็นพิเศษ ใช้ฟื้นฟูและเป็นยาชูกำลัง;- ในการแพทย์แผนจีนใช้สำหรับการรักษาโรคไขข้ออักเสบและการฟกช้ำ ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2011 ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน - กรกฎาคม ;-ธันวาคม-มีนาคม (ในอินเดีย) ขยายพันธุ์---เมล็ด เมล็ดมักจะงอกใน 1 - 2 เดือน
|
ปุดดอย/Etlingera araneosa
ชื่อวิทยาศาสตร์--- Etlingera araneosa (Baker) R.M.Sm.(1986) ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-244678 ---Basionym: Amomum araneosum Baker.(1892) ---Achasma araneosum (Baker) K.Larsen.(1981) ---Hornstedtia araneosa (Baker) K.Schum.(1904) ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---กุก (แพร่), ปุดดอย, ปุดเมืองกาน, ปุดแดง, โปทาเคาะ ; [THAI: Put doi; Put mueang kan (General).] EPPO Code---ETGSS (Preferred name: Etlingera sp.) ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---มาลายา พม่า ไทย Etlingera araneosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย John Gilbert Baker (1834–1920) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Rosemary Margaret Smith (1933–2004) เป็นนักพฤกษศาสตร์และนักวาดภาพประกอบชาวสก็อตซึ่งเชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานของ Zingiberaceae หรือพืชตระกูลขิงในปีพ.ศ.2529 ที่อยู่อาศัย พบใน มาลายา พม่า ไทย พบการกระจายตัวที่ระดับความสูง 500 – 1,350 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือและบางส่วนของภาคกลาง บริเวณพื้นที่ป่าชุ่มชื้นและตามริมห้วย ไม่พบบนภูเขาสูงอากาศหนาวเย็น ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าสะสมอาหารฝังอยู่ใต้ดิน ลำต้นเหนือดินสูงประมาณ 300 - 400 ซม.ใบออกเดี่ยวๆรูปขอบขนานแกมรูปหอก แผ่นใบยาว 50-70 ซม.กว้าง 10-15 ซม.ปลายใบเรียวแหลมดอก สีแดงสด ออกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ก้านช่อดอกสั้น โคนช่อมีกาบหุ้มซ้อนกันเป็นเกล็ด ใบประดับสีเขียว ขอบมีขนนุ่มสีขาว กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยก3แฉก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสีชมพู ปลายจักเป็น 3 ซี่ โคนและปลายหลอดมีขน กลีบปากสีแดง คอดเรียวบริเวณโคน ตอนปลายแผ่ออกเกือบกลม แยกเป็น2แฉก เกสรผู้แท้อันเดียว ปลายเกสรเมียสีแดงสด รังไข่มีขน ใช้ประโยชน์---ใช้กินได้ หน่อและต้นอ่อนกินสด หรือ ลวกกินสุก เป็นผัก สถานภาพ---เป็นพืชหายาก ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-มิถุนายน/พฤษภาคม-กรกฎาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด, เหง้า
ปุดเดือน/Hedychium longicornutum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Hedychium longicornutum Griff. ex Baker.(1892) ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-248167 ---Hedychium crassifolium Baker.(1892) ---Hedychium longicornutum var. minor Ridl.(1926) ชื่อสามัญ---Perched Gingerwort, White ginger. ชื่ออื่น---ปุดเดือน (ปัตตานี); ว่านสาวกอด; ตะปุ๊จะจิง (มลายู ปัตตานี); ว่านไส้เดือน (นราธิวาศ);[THAI: Put deụ̄an.] EPPO Code---HEYLC (Preferred name: Hedychium longicornutum.) ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย Hedychium longicornutum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวพืชวงศ์ขิง(Zingiberaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Griffith (1810–1845) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษจากอดีต John Gilbert Baker(1834–1920) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2435 ที่อยู่อาศัย พบในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ป่าดงดิบทางภาคใต้ กระจายอยู่ทั่วไปในที่ลุ่มและป่าบนเนินเขาตอนล่าง บนกิ่งและกิ่งก้านของต้นไม้ขนาดเล็กซึ่งใช้ยึดติดกับรากหนาของมัน เป็นพืชในวงศ์ขิงเป็นสมุนไพร epiphytic ที่เกาะบนกิ่งไม้และพุ่มไม้ขนาดใหญ่ใกล้ระดับพื้นดิน พบการกระจายตัวที่ระดับความสูง 500–1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอิงอาศัยอายุหลายปี ลำต้นใต้ดินรูปร่างทรงกระบอกมีรูปแบบการเจริญเติบโตแบบ linear ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–2.5 ซม. ไหลยาว 1-2 ซม.ภายในสีขาว ลำต้นเหนือดินสูงประมาณ 20-50 ซม.ใบเดี่ยวติดเวียนสลับ รูปรีแกมขอบขนานกว้าง 5-10 ซม.ยาว 20-30 ซม.ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อกระจุกบริเวณปลายยอด กลีบดอก3กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบ ปลายแยกออกเป็นแฉกและบิดโค้งงอคล้ายขดลวด ก้านเกสรเพศผู้เรียวยาว 5-8 ซม.โค้งงอลงด้านล่าง แล้วแผ่ออกคล้ายรัศมี อับเรณูสีเหลืองสด ก้านเกสรเพศเมียสีแดงสดเรียยาวชี้ขึ้นด้านบน ผลกลมโตขนาด 0.8-1.2 x 1.0-1.2 ซม. มีขนสั้นสีเขียว เมล็ดจำนวนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 6-8x 3-4 มม. สีส้มแดง ใช้ประโยชน์---พืชถูกรวบรวมจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น -ใช้เป็นยา รากใช้ในการรักษาซิฟิลิส ยาต้มรากจะถูกใช้ภายนอกเพื่อรักษาอาการปวดหู ยาต้มของรากที่เพิ่มเข้าไปในห้องอาบน้ำถูกนำมาใช้แบบดั้งเดิมเป็น vermifuge (ต่อต้านปรสิต) ระยะออกดอก/ติดผล---มกราคม-กุมภาพันธุ์/มีนาคม-เมษายน ขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า
ปุดสิงห์/Elettariopsis sp.
ชื่อวิทยาศาสตร์---Elettariopsis triloba (Gagnep.) Loes.(1930) ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms. See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-243129 ---Amomum trilobum Gagnep.(1904) ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---ปุดสิงห์,[THAI: Put sing.]. EPPO Code---EETSS (Preferred name: Elettariopsis sp.) ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- จีน เวียตนาม ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ Elettariopsis triloba เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวพืชวงศ์ขิง(Zingiberaceae)สกุลว่านดอกทอง (Elettariopsis)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francois Gagnepain (1866-1952) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Ludwig Eduard Theodor Loesener(1865–1941) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ. ที่อยู่อาศัย พบการกระจายที่ระดับความสูง 200–700 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประเทศไทยพบในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ เช่นที่จังหวัดพัทลุง ทางเหนือและภาคกลางก็พบได้เช่นกัน โดยเฉพาะที่พิษณุโลก ลักษณะ เป็นพืชในวงศ์ขิงข่า มีเหง้าผอมแตกแขนงฝังอยู่ใต้ดิน ลำต้นเทียมเหนือดินสูง 10-20 ซม.จนถึง 1-2 เมตร ใบมีประมาณ 1-8 ใบต่อต้น ขอบใบเรียบ แผ่นใบรูปใบหอก จนถึงรูปรีแกมขอบขนาน ช่อดอกเป็นช่อเตี้ยๆติดดินออกจากฐานลำต้นเทียม ช่อหนึ่งมีประมาณ 5-8 ดอก ทยอยบานคราวละ 1-2 ดอก ดอกสีขาวมีใประดับรูปแถบยาว 1-2 ใบกลีบเลี้ยงเป็นรูปท่อสีขาวหรือขาวอมชมพู กลีบดอกเป็นรูปหลอดยาวกว่ากลีบเลี้ยง กลีบปากมีขนาดใหญ่สุดแผ่กว้างรูปทรงกลม ขอบพับเป็นจีบยับย่น โดยมีจุดเด่นที่แถบสีเหลืองและแดงตรงกลาง ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดรำไร ความชื้นสูง ดินร่วนปนทราย ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน/พฤษภาคม-ตุลาคม การขยายพันธุ์---แยกเหง้าและเพาะเมล็ด
ปุดใหญ่/Etlingera littoralis
ชื่อวิทยาศาสตร์---Etlingera littoralis (J. Koenig) Giseke.(1792) ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-244714 ---Amomum littorale J.Koenig.(1783) ---Cardamomum littorale (J.Koenig) Kuntze.(1891) ชื่อสามัญ--- Earth ginger. ชื่ออื่น---ปุดใหญ่, ปุดคางคก, หน่อปุด (ภาคใต้) ;[CHINESE: Hong hui sha.];[THAI: Put yai, Put khang khok, No put (Peninsular).]. EPPO Code---ETGLI (Preferred name: Etlingera littoralis.) ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย Etlingera littoralis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) สกุลดาหลา (Etlingera)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Johann Gerhard Koenig (1728–1785) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Paul Dietrich Giseke (1741–1796) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปีพ.ศ.2335 ที่อยู่อาศัย พบในจีน (ไห่หนาน)-อินโดจีน-มาเลเซีย อินโดนีเซีย (บอร์เนียว, ชวา, สุมาตรา) เติบโตในที่ลุ่มป่าเขตร้อนชื้น พบการกระจายตัวที่ระดับความสูง 200–700 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยพบในป่าดงดิบทั่วประเทศ จัดเป็นพืชองค์ประกอบของไม้พื้นล่างในป่าดิบชื้น ชอบร่มเงาและความชื้นมาก ลักษณะ เป็นพืชในวงศ์ขิงข่า มีเหง้าใต้ดินแข็งคล้ายเนื้อไม้ ส่วนที่เจริญเป็นต้นและดอกเกิดจากหน่อซึ่งแยกกัน ลำต้นเทียมเหนือดินเกิดจากกาบใบซ้อนทับกันสูงได้ถึง 3 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปขอบขนานรีหรือแกมใบหอก กว้าง 15-20 ซม.ยาว 40-60 ซม.ดอก ออกจากเหง้าเหนือพื้นดินใกล้โคนต้น ดอกออกเดี่ยวๆมีลักษณะเป็นช่อรวมอยู่บนก้านช่อสั้นๆ ระดับผิวดินมีดอกย่อย 4-10 ดอกเรียงตัวอัดกันแน่น กลีบดอกสีแดงขอบเหลืองหรือสีแดงเข้มทั้งหมด ผลแคปซูลกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 ซม. มีขนสั้น ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดรำไร ความชื้นสูง ดินร่วน ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้) สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.2019 ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน/พฤษภาคม-ตุลาคม ขยายพันธุ์---แยกเหง้าและเพาะเมล็ด
|
เปราะภู/Caulokaempferia thailandica
ชื่อวิทยาศาสตร์---Caulokaempferia thailandica K.Larsen.(1973) ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-232528 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---เปราะภู, เปราะภูกระดึง (เลย) ; [THAI: Pro phu, Pro p̣hū kra dụng (Loei).]. EPPO Code---CKFSS (Preferred name: Caulokaempferia sp.) ชื่อวงศ์--- ZINGIBERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย Caulokaempferia thailandica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดยKai Larsen (1926–2012) นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์กในปี พ.ศ.2516 ที่อยู่อาศัย พบครั้งแรกและพบเฉพาะในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง อุทยานแห่งชาติภูเรือ และในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย พบขึ้นบนลานหินหรือตามที่โล่งพื้นทราย ตามทุ่งหญ้าป่าสนบนภูเขาที่ระดับความสูง1,000-1,400 เมตร ลักษณะ เปราะภูเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีสูง 20-35 ซม.มีหัวใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงเวียนห่างๆรูปขอบขนาน ออกดอกที่ยอด 1-4 ดอกสีขาวหรือสีขาวอมชมพูเมื่อบานมีขนาด 4-5ซม. ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดรำไร อากาศเย็นความชื้นสูง ดินร่วนปนทราย สถานภาพ---พรรณไม้ถิ่นเดียวและพืชหายากของไทย ระยะออกดอก---พฤษภาคม--กรกฏาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า
เปราะหิน/Caulokaempferia Saxicola
ชื่อวิทยาศาสตร์---Caulokaempferia Saxicola K.Larsen.(1964) ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-232525 ชื่อสามัญ---None (Not recorded) ชื่ออื่น---เปราะหิน (นครราชสีมา); [THAI: Pro hin.] EPPO Code---CKFSS (Preferred name: Caulokaempferia sp.) ชื่อวงศ์---ZINGIBERACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย Caulokaempferia Saxicola เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดยKai Larsen (1926–2012) นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์กในปี พ.ศ.2507 ที่อยู่อาศัย พบในประเทศไทยขึ้นอยู่ตามซอกหินใกล้ลำธารและน้ำตกในป่าดงดิบทางภาคตะวันออกและภาคใต้ ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีลำต้นเป็นเหง้าหรือเป็นหัวอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวรูปหอก โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกันขึ้นมาเหมือนลำต้นเทียมสูง 30-50 ซม.ดอกสีเหลืองสดออกเป็นดอกเดี่ยวที่ปลายยอดกลีบดอกมี 3 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบยาว กลีบปากแผ่แบนรูปไข่ กลีบข้างรูปขอบขนานขนาดเล็กแผ่ออกด้านข้าง สถานภาพ---พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย ระยะออกดอก---กรกฎาคม - กันยายน ขยายพันธุ์---เมล็ด เหง้า
|
อ้างอิง, ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :
---หนังสือพรรณไม้ในสวนหลวง ร.๙เล่ม1,เล่ม2,เล่ม3 2554 ---หนังสือ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม1,เล่ม2,เล่ม3, เล่ม4 2548 ---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย โดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร หอพรรณไม้ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2549 ---ไม้ต้นในสวน Trees in the Gardenโดย องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี The Botanical Garden Organization Office of the Prime Minister พิมพ์ครั้งที่1 พฤษภาคม 2542 จัดพิมพ์โดย มูลนิธิ ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี ---คู่มือดูพรรณไม้ป่าสะแกราช เล่ม1, เล่ม2 โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,จิรพันธ์ ศรีทองกุล,อนันต์ พิริยะภัทรกิจ ---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ ---อ้างอิง,ภาพประกอบการศึกษา-หนังสือป่าเชายเลน นิเวศวิทยาและพรรณไม้ โดย สรายุทธ บุญยะเวชชีวิน (ผู้แต่งและภาพ) รุ่งสุริยา บัวสาลี พิมพ์ครั้งที่1 เมษายน 2554 ---ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์ http://www.dnp.go.th/botany/mplant/index.aspx ---มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. ---สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)จันทร์เชียงดาว ---มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 23.ตำแยดิน https://www.dnp.go.th/Botany/detail.aspx?wordsnamesci=Pedicularis0L
------EPPO code---รหัส EPPO คือรหัสคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับพืช แมลงศัตรูพืช (รวมถึงเชื้อโรค) ซึ่งมีความสำคัญในการเกษตรและการปกป้องพืช รหัสEPPOเป็นระบบการเข้ารหัสที่กลมกลืนกันซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการชื่อพืชและศัตรูพืชในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบไอที EPPO (2021) EPPO Global Database (พร้อมใช้งานออนไลน์) https://gd.eppo.int
REFERENCES ---General Bibliography REFERENCES ---Specific & complementary
Check for more information on the species:
Plants Database ---Names, synonymy and distribution The Garden.org Plants Database https://garden.org/plants/ Global Plant Initiative ---Digitized type specimens, descriptions and use หอพรรณไม้ - กรมอุทยานแห่งชาติ www.dnp.go.th/botany/Herbarium/GPI.html Tropicos ---Nomenclature, literature, distribution and collections Tropicos - Home www.tropicos.org/ GBIF ---Global Biodiversity Information Facility Free and open access to biodiversity data https://www.gbif.org/ IPNI ---International Plant Names Index The International Plant Names Index - home page http://www.ipni.org/ EOL ---Descriptions, photos, distribution and literature Global access to knowledge about life on Earth Encyclopedia of Life eol.org/ PROTA ---Uses The Plant Resources of Tropical Africa https://books.google.co.th/books?isbn=9057822040 Prelude ---Medicinal uses Prelude Medicinal Plants Database http://www.africamuseum.be/collections/external/prelude Google Images ---Images
รวบรวมและเรียบเรียงโดย Tipvipa..V บริษัท สวนสวรส การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด สวนเทวา เชียงใหม่ www.suansavarose.com www.suan-theva.com
1/22/2020
24/6/2022
|
|
|