ต้นไม้ในป่า 10
For information only-the plant is not for sale.
ต่อไปเป็นพวกไม้เถาเลื้อย เนื้ออ่อน เนื้อแข็ง ไม้ผิวดิน เท่าที่หาได้ |
|||
1 | ก้นบึ้ง/Uvaria microcarpa | 38 | คำผีแปง/Caesalpinia minax |
2 | กระเช้าถุงแดง/Aristolochia tagala | 39 | คุย/Willughbeia edulis |
3 | กระเช้าถุงทอง/Aristolochia pothieri | 40 | เครือข้าวมวก/Alyxia siamensis |
4 | กระเช้านกเล็ก/Aristolochia kerrii | 41 | เครือเขาแกบ/Bauhnia curtisii |
5 | กระเช้าผีมด/Hydnophytum formicarum | 42 | เครือเขาปู้/ Pueraria candollei var. Candollei |
6 | กระดังงาจีน/Artabotrys hexapetalus | 43 | เครือเขาหนัง/Phanera bassacensis |
7 | กระดูกกบ/Hymenopyramis brachiata Wall ex |
44 | เครือเขาหลวง/Argyreia splendens |
8 | กระเพาะปลา/Finlaysonia manitima | 45 | เครืองูเห่า/Toddalia asiatica |
9 | กล้วยพังพอน/Uvaria hamiltonii | 46 | เครือโงบ/Uncaria homomalla |
10 | กล้วยมะสังก้านสั้น/Fissistigma parviflorum | 47 | ครือจักกระทงแดง/Thunbergia hossei |
11 | กล้วยลิง/Fissistigma latifolium | 48 | เครือเทพรัตน์/Thepparatia thailandica |
12 | กล้วยอ้ายพอน/Uvaria lurida | 49 | เครือพูเงิน/Argyreia mollis |
13 | กล้วยอีเห็น/ Uvaria dac | 50 | เครือมวกไทย/Alyxia thailandica |
14 | กวางดูถูก/Naravelia laurifolia | 51 | เครือมุย/Ceropegia sootepensis |
15 | กาคาบแก้ว/Dalechampia bidentata | 52 | เครือเหนียว/Friesodielsia affinis |
16 | กาติด/Erycibe cochinchinensis | 53 | งวงชุ่ม/Combretum pilosum |
17 | กาฝากตีนปู/Viscum articulatum | 54 | จั่นดิน/ Asparagus acerosus |
18 | กาฝากมหาปราบ/Helixanthera parasitica | 55 | จิงจ้อเขา/Jacquemontia paniculata |
19 | ก๋าย/Artabotrys suaveolens | 56 | ชงโคดำ/Bauhinia pottsii |
20 | การเวกกระ/ Artabotrys aeneus | 57 | ช้างสารซับมัน/Erycibe elliptilimba |
21 | การเวกช่อ/Artabotrys multiflorus | 58 | ชิงช้าสะแกราช/Tinospora siamensis |
22 | การเวกน้ำ/Artabotrys oblanceolatus | 59 | ซังแกเถา/Combretum sundaicum |
23 | การเวกใบใหญ่/Artabotrys grandifolius | 60 | ดอกน้ำตาล/Fissistigma minuticalyx |
24 | กำปองน้อย/Clematis subumbellata | 61 | ต้างไม้ฟันงู/ Hoya multiflora |
25 | กำปองหลวง/Clematis buchananiana | 62 | ติ่งตั่ง/Getonia floribunda |
26 | แก้วงามขำ/Hoya meliflua | 63 | เตยเลื้อย/Freycinetia multiflora |
27 | แก้วมือไว/Pterolobium integrum | 64 | เถากระดึงช้าง/ Argyreia lanceolata |
28 | ไกรกรัน/Jasminum annamense subsp annamense | 65 | เถานางรอง/ Epipremnum giganteum |
29 | ไก่ฟ้ายักษ์/Aristolochia grandiflora | 66 | เถาประสงค์/Streptocaulon juventas |
30 | ขางครั่ง/Dunbaria bella | 67 | เถาไฟ/Bauhinia integrifolia |
31 | ข้าวสารค่าง/Cardiopteris quinqueloba | 68 | เถามวกขาว/Urceola minutiflora |
32 | เขี้ยวกระจง/Fagerlindia sinensis | 69 | เถายั้งดง/Smilax lanceifolia |
33 | เขี้ยวงู/Jasminum decussatum | 70 | เถาวัลย์กรด/Combretum tetralophum |
34 | เขี้ยวงูเล็ก/ Jasminum nervosum | 71 | เถาวัลย์ดำ/Marsdenia glabra |
35 | เขืองแดง/Smilax siamensis | 72 | เถาวัลย์ปูน/Cissus rependa |
36 | คดสัง/Combretum trifoliatum | 73 | เถาวัลย์ยั้ง/Smilax ovalifolia |
37 | คันธุลี/Tyrophora indica | 74 | เถาอีแปะ/ Dischidia hirsuta |
ก้นบึ้ง/Uvaria microcarpa
ชื่อวิทยาศาสตร์---Uvaria microcarpa Champ. ex Benth กระเช้าถุงแดง/Aristolochia tagala ชื่อวิทยาศาสตร์---Aristolochia tagala Cham. กระเช้าถุงทอง/Aristolochia pothieri
ชื่อวิทยาศาสตร์---Aristolochia pothieri Pierre ex Lecomte
พบขึ้นกระจายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยมีการกระจายตั้งแต่ภาคเหนือลงมาจนถึงภาคใต้ตอนบน พบได้ตามป่าผลัดใบ ชายป่าดิบและทุ่งหญ้า และบริเวณเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 100-400 เมตร กระเช้านกเล็ก/Aristolochia kerrii ชื่อวิทยาศาสตร์---Aristolochia kerrii Craib กระเช้าผีมด/Hydnophytum formicarum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Hydnophytum formicarum Jack
สกุล Hydnophytum Jack เป็นหนึ่งในสกุลพืชที่เป็นที่อาศัยของมด (myrmecophyte) ในจำนวน 5 สกุลของวงศ์ Rubiaceae มีประมาณ 50 ชนิด พบที่หมู่เกาะอันดามันของอินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย และหมู่เกาะแปซิฟิก พบมากในนิวกินี ในประเทศไทยพบชนิดเดียว คือ H.formicarum ส่วนมากพบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นตามคบไม้ในป่าดิบชื้น ป่าชายหาด และป่าพรุน้ำจืด ที่ระดับความสูงถึง 1000 เมตร |
||||||||||||||||||||||||
กระดังงาจีน/Artabotrys hexapetalus ชื่อวิทยาศาสตร์---Artabotrys hexapetalus (L.f.) Bhandari
ชื่อสามัญ---Climbing Ylang Ylang, Ylang Ylang Vine, Climbing lang-lang. กระดูกกบ/Hymenopyramis brachiata ชื่อวิทยาศาสตร์---Hymenopyramis brachiata Wall. ex Griff. กระเพาะปลา/Finlaysonia manitima
ชื่อวิทยาศาสตร์---Finlaysonia manitima Backer ex Heyne พบขึ้นทั่วไปตามป่าชายเลน โดยเฉพาะบริเวณริมชายฝั่ง |
||||||||||||||||||||||||
กล้วยพังพอน/Uvaria hamiltonii ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---กล้วยพังพอน(ตราด),นมควาย(ลำปาง) ; [THAI: kluai phang phon (Trat); nom khwai (Lampang).]; [BENGALI: Latkean.]; [ORIYA: Lakhana koli.] ชื่อวงศ์---ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เอเซียเขตร้อน ประเทศไทยพยขึ้นในป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง 50-300เมตร ไม้ เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ขนาดใหญ่ เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ไกล10-18เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศเป็นจุดสีขาวประปราย ใบรูปไข่กลับกว้าง9-14ซม.ยาว 15-26ซม. โคนใบมนปลายใบมนมีติ่งแหลมยาว1-2ซม.มีขนรูปดาวสีน้ำตาลเหลืองหนาแน่นตามเส้น กลางใบและเส้นใบ ดอก เดี่ยวสีแดงเข้มมีกลิ่นหอมอ่อน ดอกบานขนาด6-8ซม. ผลเป็นผลกลุ่มมีผลย่อย20-35ผล ยาว1.5-2.5 ซม ก้านผลอ้วน ยาว 2.5-3.5 ซม.สีส้มแดงเมื่อสุก มีเมล็ดจำนวนมาก ระยะออกดอก / ติดผล--- มิถุนายน - กรกฎาคม / กันยายน - ธันวาคม ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด กล้วยมะสังก้านสั้น/Fissistigma parviflorum ชื่อวิทยาศาสตร์---Fissistigma latifolium (Dunal) Merr. var. latifolium กล้วยลิง/Fissistigma latifolium
ชื่อวิทยาศาสตร์---Fissistigma latifolium (Dunal) Merr. var. ovoideum (King) J. Sinclair กล้วยอ้ายพอน/Uvaria lurida ชื่อพ้อง---This name is a synonym of Uvaria concava Teijsm. & Binn. ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---กล้วยอ้ายพอน(จันทบุรี), บัวบก(ชลบุรี); [THAI: kluai ai phon (Chanthaburi); bua bok (Chon Buri).]OriyaGaichiria ชื่อวงศ์---ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศไทยพบในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง 30-300เมตร ไม้ เถาเนื้อแข็งเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ไกล5-8เมตร ลักษณะทรงต้น แตกกิ่งน้อย ใบรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง3-5ซม.ยาว7-13ซม.โคนใบมนปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันด้านล่างสีเขียวนวล มีขนรูปดาวสีน้ำตาลเหลืองเป็นกลุ่มเล็กๆประปรายกระจายตามเส้นกลางใบ ดอก เดี่ยวสีแดงเข้มมีกลิ่นหอมอ่อน ดอกบานขนาด4-6ซม. ผลเป็นผลกลุ่ม มี8-15ผล ติดอยู่บนแกนตุ้มกลม ผลรูปทรงกระบอกสั้น มีรอยคอดเป็นช่วงๆ ผลแก่สีส้ม ระยะออกดอก---เดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด กล้วยอีเห็น/ Uvaria dac
ชื่อพ้อง---This name is unresolved.According to the plant list.Uvaria dac Pierre ex Finet & Gagnep is anun resolved name. ชื่อสามัญ--None ชื่ออื่น---กล้วยอีเห็น กล้วยเหลืองอีเห็น(ภาคตะวันออกเฉียงใต้) ; [THAI: kluai i hen, kluai lueang i hen (Southeastern).] ชื่อวงศ์---ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย กัมพูชา ประเทศไทยพบได้เฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ตามป่าดิบแล้งหรือตามริมห้วย ไม้ เถาเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกล 5-10เมตรแตกกิ่งจำนวนมาก กิ่งอ่อนมีขนหนาแน่น เปลือกต้นสีน้ำตาลมีช่องอากาศมาก ใบเกิดเดี่ยวๆ เรียงสลับ รูปรีหรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 4-7.5 ซม. ยาว 8-16.5 ซม. ผิวใบมีขนปกคลุมเล็กน้อยโดยเฉพาะบริเวณเส้นใบ ดอกเกิดเดี่ยวๆ หรือออกเป็นกระจุกๆละ 2 ดอก ออกที่ปลายกิ่งหรือตรงข้ามใบ กลีบดอก 6 กลีบ สีขาวหรือสีเหลืองนวล รูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.3-2.5 ซม. เรียงเป็น 2 วงๆ ละ 3 กลีบ วงนอกใหญ่กว่าวงในเล็กน้อย มีขนสั้นนุ่มปกคลุม เส้นผ่านศูนย์กลางดอกบานประมาณ 2-4.5 ซม. ดอกไม่สะดุดตาแถมไม่หอม ผลเป็นผลกลุ่ม ก้านช่อผลยาว 1-4.5 ซม. มีผลย่อย 7-5 ผล ผลย่อยรูปขอบขนานโค้องขึ้นยาว 4-7 ซม. ผิวผลขรุขระ ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีเหลือง มี 7-8 เมล็ดเมื่อสุกรสหวานอมเปรี้ยว ระยะออกดอก---เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด |
||||||||||||||||||||||||
กวางดูถูก/Naravelia laurifolia ชื่อวิทยาศาสตร์---Naravelia laurifolia Wall. ex Hook. f. & Thomson
ประเทศไทยพบทุกภาค พบได้มากในป่าโปร่งทางภาคใต้และภาคอีสาน ขึ้นตามชายป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ที่โล่ง ความสูงถึงประมาณ 500 เมตร กาคาบแก้ว/Dalechampia bidentata ชื่อวิทยาศาสตร์---Dalechampia bidentata Blume
พบใน จีน(ยูนนาน) ลาว, พม่า, ไทย, อินโดนีเซีย(ชวา สุมาตรา)เติบโตในป่าหินปูนหรือในหุบเขา ที่ระดับความสูง 400-1500 เมตร ในประเทศไทย พบตามที่โล่งในป่าเปิด ในภาคกลางและภาคตะวันออก กาติด/Erycibe cochinchinensis ชื่อวิทยาศาสตร์---Erycibe cochinchinensis Gagnep.
สกุล Erycibe มีประมาณ 75 ชนิด ส่วนมากพบในเอเชียเขตร้อน ในไทยมีประมาณ 10 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “erusibe” เชื้อราเป็นวง หมายถึงเป็นวงขาวตามลักษณะดอกหรือสิ่งปกคลุมเป็นวง ๆ |
||||||||||||||||||||||||
กำปองน้อย/Clematis subumbellata
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms ---Clematis floribunda Kurz [Illegitimate] ---Clematis kerriana Drumm. & Craib ---Clematis laxipaniculata C.Pei ---Clematis umbellifera Gagnep. ชื่อสามัญ---Npne ชื่ออื่น---กำปองน้อย, คำปองน้อย, เครือจางน้อย, เครือฟานไห้, พริกสั้นก้าง (เชียงใหม่), ; [THAI: khruea chang noi, khruea fan hai, phrik san kang (Chiang Mai); [THAI: xi mu tong.] ชื่อวงศ์---RANUNCULACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน อินโดจีน พบในจีน (ยูนนาน) ตอนเหนือของ พม่า ไทย ลาว เวียตนาม ตามขอบป่าลาดชัน ที่ระดับความสูง 400-1900 เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาคของประเทศ พบในป่าผลัดใบ ป่าดิบใกล้ลำห้วย ที่ระดับความสูงถึง1,200เมตร ไม้เถาเลื้อย ลำต้นเป็นร่องตื้น ๆ กิ่งก้านมีขนปกคลุม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายใบคี่ ใบย่อยรูปหอก กว้าง 2-3.8 ซม.ยาว 3-8.5 ซม. ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ปลายใบแหลมโคนใบกลมมน ขอบใบเรียบ มีหูเป็นแผ่นใบทรงกลมขนาด1ซม.ก้านใบยาว 2--6.5 ซม ดอกสีขาวนวลหรือแกมเขียวอ่อน ออกเป็นช่อ จากซอกใบถึงปลายกิ่งยาวได้ถึง15ซม. ดอกย่อยขนาด1.2-1.6ซม.เมื่อบาน กลีบรองดอก4กลีบรูปหอกกลับ มีขนละเอียด กลีบดอกลดรูป เกสรผู้จำนวนมากผิวเกลี้ยง ผลเป็นผลกลุ่มรูปแบนส่วนปลายมีขนเป็นพู่ยาวเรียว ยาวประมาณ2.5ซม. ระยะออกดอก/ติดผล---ธันวาคม-มกราคม/กุมภาพันธ์-เมษายน ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ กำปองหลวง/Clematis buchananiana
---Clematis bucamara Buch.-Ham. ex DC. ---Clematis buchananiana var. sericea S.K.Agarwal ---Clematis buchananii D.Don ---Clematis loasifolia D.Don ---Clematis wattii Drumm. & Craib ชื่อสามัญ---White climber ชื่ออื่น---กำปองหลวง, คำปองหลวง(เชียงใหม่),เครือบูชา(ภาคเหนือ); [THAI: kam pong luang, kham pong luang (Chiang Mai); khruea bu cha (Northern).]; [KANNADA: Mei-bytengdoh.] ชื่อวงศ์--- RANUNCULACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบในเทือกเขาหิมาลัยจากแคชเมียร์ถึงทิเบต พม่า ไทย และจีนตะวันตก เจริญเติบโตโดยทั่วไปบนต้นไม้และพุ่มไม้เล็ก ๆ บางครั้งบนหินตามแนวด้านข้างของลำธารที่ระดับความสูง 460 - 3,650 เมตร ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ตามชายป่าดิบเขาที่ระดับความสูง1,500-2,000 เมตร ไม้ เถาเลื้อยได้ไกลถึง 6 เมคร ลำต้นเป็นร่องตื้นๆกิ่ง ก้านใบ และช่อดอกมีขนสั้นหนานุ่ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ใบย่อยเรียงตรงข้ามรูปไข่ กว้าง4-7ซม.ยาว6-10ซม.แผ่นใบหยักเป็น3แฉก ปลายเรียวแหลม โคนใบมน ผิวใบทั้งสองด้านมีขนหนานุ่มดอก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ยาว10-25ซม. ดอกย่อยบานเต็มที่กว้าง1-2ซม.ไม่มีกลีบดอกแต่กลีบรองดอกมี4กลีบ ด้านนอกมีขนหนานุ่มเมื่อบานปลายใบจะม้วนออก มีเกสรผู้และเกสรเมียจำนวนมาก ใช้ประโยชน์---มีการเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและยา -ใช้กิน ใช้ในเนปาลเพื่อทำมาร์ชาซึ่งเป็นเค้กหมักที่กลั่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ -ใช้เป็นยา รากใช้เป็นยาพอกเพื่อรักษาอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบ น้ำคั้นจากรากใช้ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ใช้ก้านหรือเปลือกรากกดกับฟันเป็นเวลาประมาณ 15 นาทีเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน น้ำผลไม้ของพืชถูกนำไปใช้ภายนอกเพื่อลดและบาดแผล ใช้ภายในในการรักษาอาหารไม่ย่อย น้ำคั้นจากใบอุ่นหยอดจมูกรักษาไซนัสอักเสบ ระยะออกดอก---ธันวาคม-กุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ |
||||||||||||||||||||||||
กาฝากตีนปู/Viscum articulatum
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms ---Viscum nepalense Spreng. ชื่อสามัญ---Leafless Mistletoe, Jointed Mistletoe ชื่ออื่น---กาฝากตีนปู(ปัตตานี), กาฝากต้นเปา(เชียงหม่), กาฝากเถาหาผัวชก(จำปูน),หางสิงห์(ตราด), นางหัก(สุราษฎร์ธานี) ; [THAI: kafak tin pu (Pattani); kafak ton pao (Chiang Mai); kafak thao ha phua chok (Chumphon); hang sing (Trat); nang hak (Surat Thani).]; [CHINESE: bian zhi hu ji sheng, Páng xiè jiǎo]; [HINDI: Budu, Pudu, Hurchu.] ; [MARATHI: Banda.]; [KANNADA: Badanike.]; [BENGALI: Mandala.]; [ORIYA: Madanga.]; [SANSKRIT: Kamini.]; [VIETNAM: Tầm gửi càng cua, Tầm gửi dẹt, Mạy phác tít (Tày), Ghi.] ชื่อวงศ์---SANTALACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย กระจายพันธุ์ทั่วไปในจีน ( กวางตุ้ง, กวางสี, ไหหลำ, เสฉวนและยูนนานมากที่สุด) นอกจากนี้ยังพบกระจายตัวอยู่แถบเอเชียเช่นอินเดีย ศรีลังกา พม่า เวียดนาม ไทย ลาว ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย เติบโตขึ้นบนเทือกเขา ป่าดิบเขา ป่าที่ราบเนินเขา ที่ระดับความสูง 100-1200 (-1700)เมตร เป็นพืชที่มักเกาะหาอาหารจากพืชอื่นเรียกว่าเป็นพวกพืชเบียน ลำต้นแบนห้อยยาวได้ถึง 0.20- 0.40 เมตร. มีร่อง3-4ร่องข้อปล้องชัดเจนระยะห่างระหว่างข้อ3-7ซม.ใบลดรูปมองเห็นไม่ชัด ดอกช่อแบบช่อกระจุกออกที่ซอกใบ1-3ดอก ดอกเล็กมากกลีบรวม4กลีบสีเขียวอ่อน เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 1 มม. ผลสดสีขาวหรือเหลืองอ่อนไม่มีก้านผลผิวเรียบขนาด 3-4 มม.มีเมล็ด1เมล็ดสีเขียว แบนขนาด 2.5-4 x 2.5-3 มม. ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ในจีนนิยมนำมาต้มดื่มแทนน้ำ หรือเข้ากับตัวยาอื่น ๆ เช่นเข้ากับชาผู่เอ๋อร์ หรือเอาไปประกอบอาหารเช่นต้มกับไก่ทำเป็นซุป -ใช้เป็นยา ทุกส่วนนำมาทำยาทั้งสิ้น อิสานใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่มแก้เหน็บชา -ในเวียตนามใช้ ทั้งต้นรักษาโรคไขข้อ, ห้ามเลือด, โรคบิด, มัดกระดูก นอกจากนี้ยังใช้ในการปรุงน้ำดื่มเพื่อรักษาโรคหลอดลมอักเสบ-ในจีนทั้งต้นของกาฝากขาปูนี้ถือเป็นสมุนไพรฤทธิ์เย็น ขับร้อน บำรุงหัวใจและระบบย่อยอาหาร มีบันทึกเอาไว้ว่าตั้งแต่โบราณ ชาวหยุนหนานใช้ต้นไม้นี้มาชงดื่มเพื่อแก้อาหารเป็นแผลในกระเพาะ อาหารเป็นแผลในลำไส้ ลำไส้อักเสบ-กาฝากตีนปู มีหลายสายพันธุ์ ที่แตกต่างกันเด่นชัดแบ่งออกเป็นสองชนิดคือแบบปล้องสั้นและปล้องยาว ซึ่งมีสรรพคุณที่เหมือนกัน รสขมก่อนแล้วค่อยหวาน กาฝากชนิดนี้มักพบบนต้นชาอายุมากกว่าร้อยปีขึ้นไปในเขตหยุนหนาน เนื่องจากเป็นพืชกาฝากจึงต้องไปเกิดบนต้นไม้ที่มีพลังชีวิตแข็งแกร่ง ซึ่งต้นไม้ที่รองรับกาฝากแบบนี้ได้ก็คงจะต้องเป็นไม้ใหญ่และมีอายุยาวนาน ต้นชาก็เป็นหนึ่งในนั้น การที่กาฝากเกิดขึ้นบนต้นชานี้เองมีการดูดเอาน้ำเลี้ยงจากต้นชาไปหล่อเลี้ยงต้นของตัวเอง ชาวบ้านในเขตเมืองผู่เอ่อร์จึงเชื่อกันว่ากาฝากชนิดนี้ดึงดูดเอาพลังรักษาโรคจากต้นชาผู่เอ่อร์ไปด้วย จึงได้มีประสิทธิภาพทางยา แนวคิดนี้สืบต่อกันมาจากโบราณจนถึงปัจจุบัน กาฝากชนิดนี้ปัจจุบันถูกนำมาค้นคว้าทางเภสัชศาสตร์สมัยใหม่ก็ได้ผลดังที่นำมาใช้เป็นสมุนไพรเช่นกัน(บางส่วนจาก https://steventearoom.blogspot.com/2013/09/5_8.html) ระยะออกดอกและติดผล--- กุมภาพันธ์ - เมษายน ขยายพันธุ์---เมล็ด กาฝากมหาปราบ/Helixanthera parasitica ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms ---Helicia parasitica (Lour.) Pers. ---Leucobotrys adpressa Tiegh. ---Loranthus adpressus (Tiegh.) Lecomte ---Loranthus pentapetalus Roxb ชื่อสามัญ---Mistletoe ชื่ออื่น---กาฝากมหาปราบ,กาฝากพญามหาปราบ(ทั่วไป) กาฝากก่อ(ภาคเหนือ), กาฝากไม้มังตาน(ชุมพร),เตอสี่น่ะเดอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; [THAI: kafak mahaprap, kafak phaya mahaprap (general).; kafak ko (Northern).; kafak mai mang tan (Chumphon).; toe-si-na-doe (Karen-Mae Hong Son).]; [CHINESE: Lí bàn jì shēng.]; [VIETNAM: Tầm gửi năm cánh, Chùm gởi ký sinh, Cây cui] ชื่อวงศ์---LORANTHACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สกุล Helixanthera Lour. มีประมาณ 35 ชนิด พบในแอฟริกาและเอเชีย ในไทยมี 8 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “helix” บิดเวียน และ “anthera” อับเรณู ตามลักษณะของอับเรณูรูปแถบ แห้งแล้วคล้ายบิดเวียน ขึ้นกระจายในเอเซียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน จากเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย, สิกขิม, เนปาล บังคลาเทศ ไปยังตอนใต้ของจีน(ฝูเจี้ยน, กวางตุ้ง, กวางสี, กุ้ยโจว, ยูนนาน) ทิเบต ไทยและเวียดนาม ถึง Malesia: สุมาตรา, คาบสมุทรมาเลเซีย, บอร์เนียว, ชวา, ฟิลิปปินส์ พบบริเวณป่าชื้น ป่าโปร่ง ป่าดิบ ที่ระดับความสูง 1,800 (2,000) เมตร เป็นพืชเบียนเกาะอาศัยแย่งอาหารจากต้นไม้อื่น พบขึ้นตามกิ่งและลำต้นของต้นไม้ใหญ่ กิ่งย้อยและห้อยยาว 1.5 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่แกมรูปหอก กว้าง1.8-8 ซม.ยาว 5-18 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมมน ขอบเรียบ เส้นกลางใบและเส้นใบเห็นชัดทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 5-20 มม.แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบเป็นมันวาวหรือหม่นทั้งสองด้าน ดอกสีแดงคล้ำออกเป็นช่อตามง่ามใบ ยาว10-30 ซม. ดอกย่อยจำนวนมาก40-60 ดอกออกรอบก้านช่อ กลีบดอกรูปขอบขนานแคบๆ 5 กลีบยาว 4-9มม.โค้งกลับโคนกลีบเชื่อมกัน รูปกระบอง ปลายมน สีแดง ผิวด้านนอกและผิวด้านในมีขนกำมะหยี่ ก้านช่อดอกมีขนสั้น หรือเป็นขุยสีน้ำตาล ใบประดับรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยม ยาว 0.7-1.5 มม. ปลายแหลมหรือมน กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายตัด ยาว 0.3-0.7มม. ขอบเรียบกางออก เกสรเพศผู้มี 4 อัน ติดกับกลีบแบบตรงข้ามกลีบ อับเรณูยาว 1-2.5มม. ปลายมน เกสรเพศเมีย มีรังไข่เกลี้ยงอยู่ใต้วงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียยาว 3-5 มม. โคนเป็นเหลี่ยม ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มกลม ผลกลมรีขนาด 6x4 มม.สีเหลืองเมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ รีมีเมล็ด1เมล็ด เมล็ดมี ยางเหนียวหุ้ม ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ทั้งต้น ผสมกาฝากชนิดอื่นๆ รวม 32 ชนิด ต้มน้ำดื่มแก้โรคตับโต-ตำรายาไทย ใบนำมาต้มน้ำกินแก้ปวดกระเพาะอาหาร-ในเวียตนามใช้บรรเทาอาการไอ รักษาอาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ระยะออกดอก/ติดผล---มกราคม-กรกฎาคม/พฤษภาคม-สิงหาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด |
||||||||||||||||||||||||
ก๋าย/Artabotrys suaveolens ชื่อวิทยาศาสตร์---Artabotrys suaveolens (Blume) Blume.
ไม้ เลื้อยเนื้อแข็งเลื้อยได้ไกล5-10เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอมดำ เรียบมีร่องตื้นๆ มีช่องอากาศเป็นจุดสีขาว บิดเวียน ตามลำต้นและกิ่งมีตะขอ เนื้อไม้เหนียวมาก ชอบขึ้นในที่ชุ่มชื้น เป็นไม้สกุลเดียวกับการเวก ตามต้นไม่มีหนาม ใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง2.2-5ซม. ยาว5-14ซม. โคนใบรูปลิ่มปลายใบแหลม ค่อนข้างหนาและเหนียว ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อ ช่อละ5-10ดอก ก้านช่อโค้งเป็นตะขอ ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานสีขาวนวลหรือแกมม่วง กลีบดอก6 กลีบสีขาวเรียวกลม มีกลิ่นหอม ดอก บาน2วันแล้วโรยกลิ่นหอมอ่อนๆช่วงกลางวันและหอมแรงช่วงพลบค่ำ ก้านผลยาว 5-8 มม. ส่วนมากมี 1-3 ผลย่อย รูปรี ยาว 1-1.5 ซม. ไม่มีก้าน เมล็ดรูปรี ยาวประมาณ 1 ซม. มีร่องตามยาว ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเป็นแหล่งยาและเส้นใยท้องถิ่น -ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ เปลือก ต้น ราก ใบ ยาต้มจากเปลือกและรากใช้เป็น emmenagogue(สารที่ช่วยกระตุ้นหรือเพิ่มการไหลของประจำเดือน) และสำหรับผู้หญิงหลังคลอด ใบมีกลิ่นหอม ใช้รักษาโรคอหิวาตกโรค -ใช้ปลูกประดับเป็นไม้เลื้อยขึ้นซุ้มให้ร่มเงาดี -อื่น ๆ เปลือกของลำต้นและรากประกอบด้วย อัลคาลอยด์ suaveoline และ artabotrine ระยะดอกออก---เดือนสิงหาคม-เดือนตุลาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง การเวกกระ/ Artabotrys aeneus ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ชื่อสามัญ--None ชื่ออื่น---การเวกกระ(ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ; [THAI: karawek kra (Northeastern, Northern).] ชื่อวงศ์---ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์อยู่บนยอดเขาสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม้ เถาเนื้อแข็งเถาเลื้อยได้ไกล5-20เมตร เถาเล็กแกร่งและมีหนามแข็งเป็นช่วงๆ เปลือกต้นเรียบสีดำใบรูปรีขนาดกว้าง3-4.5ซม.ยาว8-14ซม.ใบหนาแข็ง เรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อกระจุก ต่อจากตะขอ มีดอกย่อย20-40ดอก ขนาด1-1.5 ซม.ปลายกลีบดอกงองุ้มเมื่อบานสีน้ำตาลส่งกลิ่นหอมแรงในช่วงพลบค่ำ ผลกลุ่มมีผลย่อย3-8ผล เมื่อแก่สีเขียวอมเหลือง ระยะออกดอก---เดือนกุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง การเวกช่อ/Artabotrys multiflorus ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---การเวกช่อ(ทั่วไป); [THAI: karawek cho (General).]; [CHINESE: duo hua ying zhua hua.] ชื่อวงศ์---ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน พม่า ไทย พบในจีน กวางตุ้ง, กวางสี, กุ้ยโจว, ยูนนาน [พม่า,ไทย] ในพุ่มไม้บนหินปูน ที่ระดับความสูง 800-1000 เมตร ไม้ เลื้อยเนื้อแข็งเลื้อยได้ไกล10-15เมตร เนื้อไม้เหนียวมาก เปลือกลำต้นสีดำ ตามลำต้นและกิ่งไม่มีหนาม ใบรูปรี ขนาด10-16.5 × 4-6.5 ซม. ใบหนาแข็งเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 5-8 มม.ดอกออกเป็นกระจุก กระจุกละ1-6ดอก กลีบดอกสีเหลือง เมื่อบานมีขนาด1.5-2ซม.ผลกลุ่มมีผลย่อย3-6ผล เมื่อแก่มีสีเขียวอมเหลือง ดอกทยอยบาน อยู่ได้2วัน กลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มแล้วร่วงส่งกลิ่นหอมอ่อนในช่วง กลางวันและหอมแรงในช่วงพลบค่ำ ผลไม่ปรากฎให้เห็น ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-สิงหาคม/กรกฎาคม-ตุลาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง การเวกน้ำ/Artabotrys oblanceolatus
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---การเวกน้ำ(ทั่วไป) กระดังงาเขา(ภาคตะวันออก),หัวสุ่ม (อุบลราชธานี) ; [THAI: karawek nam (general); kradang nga khao (Eastern); hua sum (Ubon Ratchathani).] ชื่อวงศ์---ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย ในประเทศไทย พบตามธรรมชาติริมหนองน้ำตามป่าละเมาะทางภาคตะวันออก ที่ระดับความสูง 200 เมตร ไม้ พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันไม้อื่นได้ไกล 4-8 เมตร กิ่งอ่อนมีขนกิ่งแก่เรียบสีน้ำตาลอมดำ แตกกิ่งเล็กจำนวนมาก กิ่งอ่อนยืดยาวได้รวดเร็วมาก ตามลำต้นมีหนามแหลมสีดำแข็งยาว1ซม อยู่ห่างๆกัน เนื้อไม้เหนียว ใบรูปขนานแกมใบหอก กว้าง 2.5-4ซม.ยาว 10-15 ซม. ใบบางเนื้อใบเหนียว เรียบเป็นมันทั้งสองด้าน เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบด้านบนเป็นร่อง ดอก เดี่ยวออกตรงข้ามต่อจากตะขอ ดอกสีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอมแรงเฉพาะช่วงพลบค่ำ ผลเป็นผลกลุ่มมีผลย่อย 4-6 ผล ผลย่อยมีก้านผลสั้นมาก รูปกลมทรงกระบอก กว้าง 1 ซม.ยาว 2-3 ซม.เปลือกผลมีลายสีเขียวสลับขาว มี2 เมล็ดปลูกเป็นไม้ประดับ มีดอกหอม ปลูกให้เลื้อยไต่ซุ้มได้ดี ระยะออกดอก---เดือนมิถุนายน-เดือนสิงหาคม ผลแก่หลังดอกบาน5เดือน ขยายพันธุ์---โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง การเวกใบใหญ่/Artabotrys grandifolius
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ชื่อสามัญ--None ชื่ออื่น---การเวกใบใหญ่(ทั่วไป) ; [THAI: karawek bai yai (General).] ชื่อวงศ์---ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย คาบสมุทรมาลายู สุมาตรา ไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยได้ไกล10-20เมตร กิ่งอ่อนเรียบสีน้ำตาลมีช่องอากาศเป็นจุดๆ เถามีความเหนียวมาก ใบ มีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน รูปรีแกมขอบขนานกว้าง8-11ซม. ยาว20-25ซม.ใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้มด้านล่างสีอ่อนกว่า โคนใบรูปลิ่มปลายใบเรียวแหลม ดอก เดี่ยวออกที่ปลายตะขอตรงข้ามใบ ดอกสีเขียวมีใบประดับเล็กๆที่โคนก้านดอก ผลเป็นผลกลุ่ม ก้านช่อใหญ่ แข็ง มี15-25ผล ก้านผลย่อยสั้นมาก รูปไข่กลับขนาดกว้าง2.5ซม.ยาว3.7ซม. ปลายผลเป็นตุ่มแหลม ระยะออกดอก---เดือนมีนาคม-เมษายน ขยายพันธุ์---โดยการเพาะเมล็ด |
||||||||||||||||||||||||
แก้วงามขำ/Hoya meliflua
ชื่อวิทยาศาสตร์---Hoya meliflua (Blanco) Merr. แก้วมือไว/Pterolobium integrum
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms ---Pterolobium micranthum sensu auct. ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---แก้วมือไว,แก้วตาไว(ภาคกลาง),กะแทว,กะแท้วแดง(เลย),ขี้แร๊ก(ราชบุรี),เขนแทว,ทับเพียว(นครราชสีมา), หนามเล็บแมว,หนามเหียง(ตาก); [THAI: kaeo mue wai (Central); kaeo ta wai (Central); ka thaeo (Loei); ka thaeo daeng (Loei); khi raek, khi raet (Ratchaburi); khen thaeo, khen thaeo (Eastern); thap phiao (Nakhon Ratchasima); nam lep maeo (Tak); nam hiang (Tak).] ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAECALPINOIDEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- ในประเทศไทยพบในภาคกลางและภาคอีสาน พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าผลัดใบ ที่ความสูงใกล้ระดับน้ำทะเล ถึง500เมตร ไม้ เลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันไม้ใหญ่ ลำต้นและกิ่งมีหนามงองุ้ม ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนโคนใบเบี้ยว ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ตามปลายยอดสีขาวอมชมพูขนาดเล็กมี5กลีบ ที่เห็นในรูปเป็นผลหรือฝักสีแดงอมชมพูมีปีกบิดเป็นคลื่น ยอดอ่อนและใบ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฎาคม-สิงหาคม/พฤศจิกายน-ธันวาคม ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด ที่คล้ายกัน---แก้วตาไว/Pterolobium macropterum Kurz -ลักษณะคล้ายกันกับแก้วมือไว (ไม่มีรูปภาพ) |
||||||||||||||||||||||||
ไก่ฟ้ายักษ์/Aristolochia grandiflora ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms ---Aristolochia gigas Lindl. ---Aristolochia gigas var. sturtevantii S.Watson ---Aristolochia pichinchensis Pfeifer ---Aristolochia sturtevantii (S.Watson) Mottet ---Howardia foetens Klotzsch ---Howardia grandiflora (Sw.) Klotzsch ชื่อสามัญ---Dutchman's Flower, Pelican Flower, Poisonous hogweed, Swan flower, Dutchman's pipe ชื่ออื่น---ไก่ฟ้ายักษ์ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าใหญ่ นกกระทุง; [THAI: kai fa yak, kai fa phaya lqr, kai fa yai, nok ka thung.]; [GERMAN: Großblütige Pfeifenwinde.]; [SWEDISH: Pelikanpipranka.]; [SPANISH: alcatraz, bonete de diablo, gueguecho.] ชื่อวงศ์---ARISTTOLOCHIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา เขตกระจายพันธุ์---ปานามา คอสตาริก้า นิคารากัว เอลซัลวาดอร์ ฮอนดูรัส เบลิซ กัวเตมาลา เม็กซิโก แคริเบียน เวสต์อินดีส พืชในเขตร้อนชื้นซึ่งพบได้ในป่าใกล้ลำธารและลำห้วยที่ระดับสูงถึง 600 เมตร ไม้ เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เลื้อยได้ไกล 2-4เมตร ลำต้นเกลี้ยง ใบรูปหัวใจแกมรูปขอบขนาน ขนาดของใบกว้าง6-10ซม.ยาว9-15ซม. ปลายใบแหลมโคนใบเว้าตื้นแผ่นใบสีเขียวเข้ม เส้นใบหลักสีเขียวอ่อน ดอก เดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกตูมรูปร่างคล้ายนกขนาดใหญ่ กลีบรวมเชื่อมติดกัน โคนกลีบสีเขียวอมเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นกระเปาะคล้ายลำตัวนก เมื่อดอกบานปลายกลีบสีม่วงแผ่บานออก ดอกสีเหลืองครีมมีลายตาข่ายสีม่วงแดง ขนาดดอกยาว18-30ซม. และมีหางที่มีความยาวสูงสุด 60 ซม.ดอกมีกลิ่นเหม็น ผลรูปทรงกระบอกเมื่อแก่แตกออก เมล็ดรูปสามเหลี่ยมแบน ใช้ประโยชน์---พืชที่เก็บเกี่ยวจากป่าและใช้ในการแพทย์แผนโบราณ -ใช้เป็นยา ในโคลัมเบียใช้เพื่อรักษางูกัด และยังใช้เป็นยาปฏิชีวนะ -ใช้ปลูกประดับได้รับการปลูกเป็นไม้ประดับ สายพันธุ์นี้และสายพันธุ์อื่นของ Aristolochia ยังปลูกเป็นพืชอาหารสำหรับผีเสื้อหางแฉกเขตร้อน ระยะออกดอก---เดือนธันวาคม-มีนาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำกิ่ง ไกรกรัน/Jasminum annamense subsp annamense ชื่อวิทยาศาสตร์---Jasminum annamense Wernham subsp annamense |
||||||||||||||||||||||||
ขางครั่ง/Dunbaria bella ชื่อวิทยาศาสตร์---Dunbaria bella Prain.
ไม้เถาล้มลุกเลื้อยพันต้นไม้อื่น ลำต้นกลม เถาอ่อนสีเขียว เถาแก่สีเขียวอมน้ำตาลเข้มยาวประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นมีขนละเอีนดยาวประมาณ 1 มม. ใบประกอบขนนกแบบใบย่อย3ใบ ใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง1.5-5ซม. ยาว4-12ซม.ปลายและโคนใบมน ก้านใบรวมยาว 1-2.9 ซม.แผ่นใบหนาเหนียวคล้ายแผ่นหนังนุ่ม หน้าใบและหลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมหนาแน่น ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย ดอก สีม่วงดำแกมเหลือง ดอกออกที่ตาข้างช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาว 6 -14 ซม. ดอกย่อยรูปดอกถั่วขนาด1-1.5 ซม.จำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกัน ปลายกลีบแยก5กลีบ กลีบดอก5กลีบ กลีบบนสีม่วงดำคลุมกลีบอื่น กลีบข้าง2กลีบสีเหลืองรูปไข่กลับ กลีบคู่ล่างเชื่อมกันสีเหลือง ส่วนปลายเรียวและบิดโค้งขึ้นเป็นงวง ผลเป็นฝักแบนรูปขอบขนานกว้าง0.8-1ซม.ยาว5-8ซม.มีขนคลุม และปลายเรียวแหลม เมล็ดกลมขนาดเล็ก ข้าวสารค่าง/Cardiopteris quinqueloba
ชื่อวิทยาศาสตร์---Cardiopteris quinqueloba (Hassk.) Hassk.
ชื่อสามัญ---None เขี้ยวกระจง/Fagerlindia sinensis ชื่อวิทยาศาสตร์---Benkara sinensis (Lour.) Ridsdale. เขี้ยวงู/Jasminum decussatum ชื่อวิทยาศาสตร์---Jasminum decussatum Wall. ex G.Don
ชื่อวิทยาศาสตร์---Jasminum nervosum Lour.
ชื่อสามัญ---Wild kunda เขืองแดง/Smilax siamensis
ชื่อพ้อง--- Has 4 Synonyms ---Smilax annamensis Rendle ---Smilax laurina Kunth ---Smilax prolifera Roxb. ---Smilax siamensis T.Koyama ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---กำลังควายถึก(นครศรีธรรมราชม ยะลา),เขืองปล้องสั้น(นครราชสีมา),เครือเดา,เดาน้ำ,สะเดา(เชียงใหม่), ก้ามกุ้ง(อุตรดิตย์),เขืองสยาม,เชืองแดง (กลาง) ; [THAI: kamlang khwai thuek (Nakhon Si Thammarat, Yala); khueang plong san (Nakhon Ratchasima); khruea dao, dao nam, sadao (Northern); kam kung (Loei, Uttaradit); khueang sayam, khueang daeng (Central).]; [ASSAMESE: Bagh-achora-lata.]; [MALAYALAM: Paichooral.]; [SINHALA:maha kabarasa.]; [CHINESE: Chuān qiào bá qiā.]; [VIETNAM: Côm lang, Dây chông chông.] ชื่อวงศ์---SMILACACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- อนุทวีปอินเดีย จีน อินโดจีน พบในเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย บังคลาเทศ เนปาล ศรีลังกา จีน(ไหหลำ) ไต้หวัน พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม พบตามป่าดิบ บนพื้นที่จากระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ 1,500 เมตร ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ไม้ เถาเลื้อยพันขนาดใหญ่ เถากลม หรือเป็นเหลี่ยมมนเกลี้ยง หรือมีหนามโค้งประปราย หนา 0.3-1.2 ซม. ช่วงระหว่างข้อยาว 8-25 ซม.ยาวได้ถึง 2-8 เมตร ลำต้นสีเขียวอ่อน ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปวงรีหรือวงรีแคบ กว้าง 3-12 ซม.ยาว 6-20 ซม.ปลายแหลม โคนมน หรือค่อนข้างแหลม แผ่นใบหนา มีนวลเล็กน้อย ก้านใบรูปสามเหลี่ยม ยาว 1.5-6 ซม. หูใบรูปไข่กว้าง มีมือเกาะยาว7-20ซม. หูใบกว้าง ดอกช่อออกที่ก้าน แยกเพศอยู่ต่างต้น ออกตามโคนหรือตอนกลางกิ่ง เป็นช่อกระจะรวมที่มีช่อย่อยๆ แบบช่อซี่ร่ม ช่อยาว 1-3 ซม. ส่วนมากมีช่อซี่ร่ม 1-3 ช่อ แต่ในช่อดอกเพศผู้อาจยาวได้ถึง 15 ซม. และมีช่อซี่ร่มได้ถึง 15 ช่อ ที่โคนของแกนช่อดอกมีใบประดับย่อย รูปไข่ปลายแหลม ยาว 0.8-1 ซม. ก้านช่อดอกแข็ง ยาว 2-5 ซม. ช่อซี่ร่มเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 ซม. มีดอกย่อย 20-70 ดอก ก้านช่อยาว 0.7-1.5 ซม. วงกลีบรวม 6 กลีบ แยกจากกัน เรียงเป็น 2 วง ดอกเพศผู้กลีบรวมยาวประมาณ 6 มม. เมื่อดอกบานกลีบโค้งลง กลีบรวมวงนอกรูปขอบขนาน ปลายมน กว้างประมาณ 1 มม. กลีบรวมวงในแคบกว่าเกสเพศผู้ 6 อัน ดอกเพศเมียกลีบรวมรูปไข่แกมรูปใบหอก ยาว 4-5 มม. เมื่อดอกบานกลีบกางตรง กลีบรวมวงนอกกว้างประมาณ 1 มม. กลีบรวมวงในแคบกว่า รังไข่รูปรี อยู่เหนือวงกลีบ มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียมี 3 แฉก มีเกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์รูปคล้ายเข็ม 3 อัน ยาว 1-2 มม. ผลเนื้อนุ่ม รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.2 ซม. เมื่อสุกสีแดง มี 1-2 เมล็ด เมล็ดสีแดงเข้ม รูปไข่กลับเกือบกลม กว้างยาวประมาณ 5 มม.http://www.rspg.or.th/plants_data/plantdat/smilacac/sperfo_2.htm ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นอาหารและยา -ใช้กิน ผลสุกกินได้ ช่อดอกใช้ลวก กินเป็นผัก ยอดอ่อน ใบอ่อนกินสดเป็นผัก ผลอ่อนใส่แกงส้มใฝ -ใช้เป็นยา เถา หัว เปลือก ใช้บำรุงร่างกาย -เถาและหัว ใช้เป็นยาบำรุงกำหนัด-เปลือกใช้เป็นยาบำรุงโลหิต ใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย -รากเหง้าใช้ปรุงเป็นยาแก้ต่อมน้ำเหลืองภายใน ขับต่อมน้ำในร่างกาย ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฏาคม-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์---เมล็ด |
||||||||||||||||||||||||
คดสัง/Combretum trifoliatum
ชื่อพ้อง---Has7 Synonyms ---Cacoucia lucida (Blume) Hassk. ---Cacoucia trifoliata (Vent.) DC. ---Combretum bellum Steud. ---Combretum lucidum Blume ---Combretum subalternans Wall. [Invalid] ---Combretum undulatum Wall. [Invalid] ---Embryogonia lucida (Blume) Blume ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---คดสัง,ย่านตุด(สุราษฎร์ธานี), จุด(ภาคใต้),เบน(ขอนแก่น),เปื่อย(นตรพนม),หญ้ายอดดำ (ภาคเหนือ); [THAI: khot sang, yan tut (Surat Thani); chut (Peninsular); ben (Khon Kaen); pueai (Nakhon Phanom); ya yot dam (Northern).]; [VIETNAM: Trâm Bầu Ba Lá.] ชื่อวงศ์---COMBRETACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์--- เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบใน พม่าไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซียอินโดนีเซียไปยังออสเตรเลีย ขึ้นในที่ชุ่มชื้นตามสองฝั่งแม่น้ำหรือที่ราบน้ำท่วมถึง ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้ ไม้ เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 3-5 เมตร ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มสีน้ำตาลแกมเหลืองขึ้นปกคลุม เมื่อแก่ขนจะหลุดร่วงไป ใบเดี่ยวออกที่ข้อเดียวกัน ใบรูปรีหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมมีติ่งสั้น โคนใบมนหรือค่อนข้างกลมเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง 3-5.5 ซม.ยาว 8-16 ซม. เนื้อใบหนาเกลี้ยง ก้านใบสีน้ำตาลดำยาว4-7 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงปลายยอดหรือตามง่ามใบ ช่อดอกยาวประมาณ 8-20 ซม. ดอกสีขาวแกมเหลือง กลิ่นหอม ผลแห้งแข็งไม่มีก้านมีสัน5สันขนาด กว้าง 1-1.5ซม.ยาว 3-3.5 ซม. ผิวเกลี้ยงผลแก่สีน้ำตาลดำและเป็นมัน มีครีบปีกแข็ง 5 ปีก หรืออาจพบแบบ 4 หรือ 6 ปีกได้บ้าง โดยปีกจะมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มม. ใช้ประโยชน์---พืชถูกรวบรวมจากป่าเพื่อใช้ในยาแผนโบราณ -ใช้กิน ยอดอ่อน ใบอ่อน กินเป็นผัก -ใช้เป็นยา ผลนำมาผสมกับเมล็ดข้าวโพดทำให้สุก ปั้นเป็นลูกกลอน ใช้เคี้ยวเป็นยาบำรุงและรักษาเหงือก รากใช้ปรุงเป็นยาชง รักษาอาการตกขาว และยังใช้ชำระล้างอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคบิดและเป็นยาขับพยาธิ ระยะออกดอก--- ขยายพันธุ์---เมล็ด (อยู่ได้หลายปีโดยไม่เสื่อมสภาพในการงอก)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms ---Apocynum reticulatum Lour. ---Asclepias asthmatica L.f. ---Cynanchum indicum Burm.f. ---Tylophora asthmatica (L.f.) Wight & Arn. ชื่อสามัญ---Indian Sarsaparilla, Panacea Twiner, Indian ipecac,Snake Gourd,Indian Ipecacuahna. ชื่ออื่น---คันธุลี,เถาหนัง(สุราษฎร์ธานี),ขุนพูม(นครพนม),ท้าวพันราก,หน่วยไส้เดือน(ชุมพร),เลอตู(นราธิวาส) ; [THAI: khan thu li, thao nang (Surat Thani); khun phun (Nakhon Phanom); thao phan rak, nuai sai duean (Chumphon); loe tu (Narathiwat).]; [ASSAMESE: Antamul, Anantamul.]; [BENGALI: antomula.]; [HINDI: Antamul, Jangli Pikvam.]; [KANNADA: Aadumuttada Gida, Antamula.]; [MALAYALAM: Vallipaala, Vallippala, Nansjera-patsja.]; [MARATHI: Pitthakaadi, Khadari, Pitvel.]; [ORIYA: Mendi, Mulini.]; [TAMIL: kalutai-p-palai.]; [SANSKRIT: Shwasaghni, Lataksiri, Arkaparni.] ชื่อวงศ์---ASCLEPIADACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อนุทวีปอินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบในอินเดีย ศรีลังกา ไทย มาเลเซีย เวียดนาม พบได้ทั่วไปในที่ราบป่าไม้เนินเขา ตามแนวชายฝั่งบนดินทรายโดยเฉพาะบนเนินทรายที่มีความเสถียรและในสวนมะพร้าว ที่ระดับความสูง 900 -1,260 เมตร ไม้ เลื้อยพันต้นไม้อื่น ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว เลื้อยได้ไกล1.5 เมตรใบเดี่ยวรูปหอกแกมขอบขนาน ออกเรียงสลับกันปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียว ขนาดใบกว้าง 1-1.5 ซม.ยาว 8-13 ซม.ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยขนาดประมาณ 1.5 ซม.กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นถ้วยสีครีมมีลายสีม่วงผลเป็นฝักคู่ภายในเมล็ดรูปไข่แบน มีขนยาวสีขาวจำนวนมาก ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นแหล่งของเส้นใยและยารักษาโรค -ใช้เป็นยา ใช้เป็นยาพื้นบ้านในบางภูมิภาคของอินเดียสำหรับการรักษาโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ, ภูมิแพ้, โรคไขข้อ โรคผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน -ใบและรากใช้ขับเสมหะ รักษาโรคภูมิแพ้, โรคบิด, ไข้ละอองฟางและโรคข้ออักเสบ -ใบแห้งเป็นยาขับปัสสาวะ -อื่น ๆ เส้นใยได้จากเถา- รากใช้เป็นสารกันบูดตามธรรมชาติที่ดีของอาหาร ระยะออกดอก---ตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล็ด คำผีแปง/Caesalpinia minax
ชื่อวิทยาศาสตร์---Caesalpinia minax Hance พบในจีน (ฝูเจี้ยน (เพาะปลูก), กวางตุ้ง, กวางสี, กุ้ยโจว, เสฉวน, ไต้หวัน, ยูนนาน) อินเดีย, ลาว, พม่า, ไทย, เวียดนาม ขึ้นตามหุบเขาริมลำธารที่ระดับ 100-1500 เมตร คุย/Willughbeia edulis ชื่อวิทยาศาสตร์---Willughbeia edulis Roxb.
ชื่อสามัญ---None เครือข้าวมวก/Alyxia siamensis ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ชื่อสามัญ---Long-cyme Alyxia ชื่ออื่น---เครือข้าวมวก(เชียงใหม่); [THAI: khruea khaw muak.]; [CHINESE: chang xu lian zhu teng.] ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน(ยูนนาน) ไทย เวียตนาม พบในจีน ( กวางตุ้ง, กวางสี, ยูนนาน) ไทย เวียตนาม ในป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 250-1,500 เมตร ในประเทศไทย พบในจ.เชียงใหม่ ตาก หนองคาย ชัยภูมิและตราด ขึ้น อยู่ในป่าดิบชื้นและป่าดิบเขาที่ระดับควมสูง 800-1,500 เมตร มีสถานภาพหายากและใกล้สูญพันธุ์ในถิ่นกำเนิด ไม้เถาเนื้ออ่อนเลื้อยได้ไกล3-10เมตร ลักษณะทั่วไปของเครือข้าวมวก เปลือกสีเทาหม่น กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย กิ่งแก่เรียบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามหรือออกเป็นนกระจุกตามกิ่ง3ใบ เนื้อใบหนารูปรีกว้าง 1.7-5.7ซม.ยาว5.2-18.5ซม. โคนใบรูปลิ่มปลายใบเรียวแหลม ด้านบนและด้านล่างของแผ่นใบมีขนปกคลุม ช่อดอกออกเป็นกระจุกที่ซอกใบและปลายยอด มีดอกย่อยจำนวนมากสีขาว ปลายกลีบเรียงวน เมื่อบานมีกลิ่นหอมอ่อน ผลทรงรีกว้าง8 มม.ยาว15มม. ระยะออกดอก---มิถุนายน-กรกฎาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด เครือเขาแกบ/Bauhnia curtisii ชื่อวิทยาศาสตร์---Lasiobema curtisii (Prain) de Wit
พบในภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ประเทศไทยพบทุกภาคตามชายป่าดงดิบ ที่ชื้นแฉะหรือบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 500เมตร เครือเขาปู้/ Pueraria candollei var. candollei
ชื่อพ้อง---No synonyms are record for this name. ชื่อสามัญ---Kwao khruea ชื่ออื่น---เครือเขาปู้, ตาลานเครือ (ลำปาง); [THAI: khruea khao pu, talan khruea (Lampang).]; [FRENCH: Kudzu de Birmanie.] ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---บังคลาเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย พม่า ไทย พบตามป่าละเมาะ ป่าผลัดใบ บนโขดหิน หินปูน ริมลำธารหรือริมน้ำ ที่ระดับความสูง สูงสุด 1,300 เมตร มี2ชนิดถูกใช้เป็นแหล่งของ Kwao khruea(กวาวเครือ) ได้แก่ -Pueraria candollei Graham ex Benth. var. candollei พบมากในจังหวัดกาญจนบุรีและลำปาง -Pueraria candollei Graham ex Benth. var. mirifica (Airy Shew Savat.)-White Kwao khruea(กวาวเครือขาว) พบมากในจังหวัดสระบุรี โดยฝักจะมีขนยาวกว่า ลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดยทั่วไปคล้ายคลึงกันคือเป็น ไม้ เถาเนื้อแข็งอายุหลายปี มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ ใบประกอบแบบขนนก ชั้นเดียว ใบย่อย3ใบเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กว้าง 10-20ซม. ยาว 15-25ซม. ปลายใบแหลมโคนใบรูปลิ่มถึงตัด มีหูใบรูปโล่ ดอกช่อแบบช่อกระจะ แยกแขนง โปร่ง ดอกย่อยรูปดอกถั่ว สีม่วง ฝักเป็นรูปขอบขนานแบน ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา หัวใต้ดินคล้ายมันแกวขนาดใหญ่ เนื้อในสีขาว ใช้เป็นตัวยาหนึ่งในตำรับยาบำรุงร่างกาย บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์และมดลูก -ยาพื้นบ้านอิสานใช้หัวต้มน้ำดี่มบำรุงกำลัง ระยะออกดอก--- ขยายพันธุ์---เมล็ด เครือเขาหนัง/Phanera bassacensis
ชื่อวิทยาศาสตร์---Bauhinia bassacensis Gagnep.
ชื่อสามัญ---None เครือเขาหลวง/Argyreia splendens ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms ---Basionym: Convolvulus splendens Hornem ---Amphione splendens (Hornem.) Raf. ---Ipomoea splendens (Roxb.) Sims ---Lettsomia splendens Roxb. ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---มันฤาษี(ลำปาง); เครือเขาหลวง, เครือเขาหลง,เครือหมาหลง, บ่าน้ำป่า, สีจ้อ(เชียงใหม่); เครือตาปลา(ศรีสะเกษ); ฮ้านผีป้าย(จันทบุรี); [THAI: man rue si, thao wan long, thao wan hloueng, khruea khao hlong, khruea khao luang, khruea ta pla, han phi pai.]; [CHINESE: liang ye yin bai teng.] ชื่อวงศ์---CONVOLVULCEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบในจีน(ยูนนาน) ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย พม่าและไทย พบในป่าดิบทึบ ที่ระดับความสูง1,000-4,000เมตร ไม้ เลื้อยพันต้นไม้อื่น อายุหลายปี ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปใบหอกขนาด 12-27 X 5-15 ซม มีขนสีเงินหนาแน่น ก้านใบยาว 5-15 ซม ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ดอกออกที่ปลายเถาเป็นช่อ มี 4-6 ดอก ดอกย่อยขนาดใหญ่คล้ายดอกผักบุ้ง แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย สีขาวและสีม่วง มีรอยพับเป็นรูปดาว5แฉก ภายในสีม่วงสด ปลายกลีบสีม่วงอ่อน ผล รูปค่อนข้างกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. ผลอ่อนสีแดงเข้ม แก่เป็นสีดำ มีเมล็ดสีน้ำตาล 4เมล็ด รูปไข่ ขนาด4-5 มม. ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร ช่วยรักษาแผล โดยนำต้นมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแผล ทำให้แผลหายเร็ว พิธีกรรม/ความเชื่อ---ชื่อว่าเป็นว่านเสน่ห์เมตตามหานิยม ทำให้ค้าขายดี คนโบราณเกือบทุกภาคนิยมปลูกไว้หน้าบ้าน หากนำเถาแห้งพกติดตัว จะเป็นนะจังงังและนะเมตตาอีกด้วย เถาวัลย์หลงนี้ โบราณว่าไว้ หากเดินป่าแล้วข้ามเถาต้นเถาวัลย์หลง จะทำให้หลงป่า ต้องใช้คาถาเบิกไพรถึงจะกลับออกมาได้ ระยะออกดอก--- สิงหาคม-พฤศจิกายน/กันยายน-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ |
||||||||||||||||||||||||
เครืองูเห่า/Toddalia asiatica ชื่อวิทยาศาสตร์---Toddalia asiatica (L.) Lam
ชื่อสามัญ---Forest pepper, Forest-Pepper, Wild orange tree, Lopez tree
พืชในเขตร้อนชื้นไปจนถึงเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดใน แอฟริกาตะวันออก - เอธิโอเปีย สู่ แอฟริกาใต้ รวมถึงมาดากัสการ์ เรอูนียง; E. เอเชีย - อนุทวีปอินเดีย, จีน, ญี่ปุ่น ผ่าน ไทยลาว กัมพูชา เวียตนามไปยังอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ พบตามป่าใกล้แม่น้ำหรือลำธาร ป่าทึบและป่าไม้ใกล้ชายฝั่ง ป่าชื้น จากระดับน้ำทะเลถึง 2,400 เมตร เครือโงบ/Uncaria homomalla
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms ---Uncaria tonkinensis Havil. ---Uncaria parviflora (Ridley) Ridley ---Uncaria quadrangularis Geddes ---Uruparia homomalla (Miq.) Kuntze ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---เครือโงบ(ทั่วไป),เขาควายแม่ว้อง,เขาควายแม่หลูบ(ลำปาง),เกียวโซ่(ปัตตานี),โงบ,อีโงบ(ประจวบคีรีขันธ์); [THAI: kiao so (Pattani); khao khwai mae wong, khao khwai mae lup (Lampang); ngop, i ngop (Prachuap Khiri Khan).]; [VIETNAM: Câu đằng, Dây móc ó, Dây dang quéo.]; [CHINESE: Hookoe of North Vietnam.] ชื่อวงศ์---RUBIACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในอินเดีย จีนตอนใต้ ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม มาลายา สุมาตรา ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามป่าชื้นที่ความสูงประมาณ 50-1,200 เมตร ไม้ เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง กิ่งก้านสีเขียวส่วนปลายมักเป็นสี่เหลี่ยม มีรูระบายอากาศตามกิ่งใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่สลับ หลังใบสีเข้มเหลือบมัน ท้องใบจางกว่ามีขนนุ่มแน่น ขนาดกว้าง7-9ซม.ยาว10-14ซม. มีหูใบลักษณะแผ่มน มักพบระยางค์มีลักษณะคล้ายของอ ออกเป็นคู่ตามข้อ ดอกสีขาวครีมมีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกลมแน่น ขนาดดอก3-5ซม.ก้านดอกยาว2-3ซม. ออกตามซอกใบ ผลออกเป็นกระจุกแน่นรูปทรงกลมเปลือกแข็ง ขนาด3-4ซม. ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้รากเหง้าหัว เป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่วในไต แก้ปวดหลัง ปวดเอว ตำรายาพื้นบ้านล้านนาใช้ต้นต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดเมื่อย ในเวียตนาม ใช้ รักษาไข้ ปวดหัว ชัก หูอื้อ ความดันโลหิตสูง ใช้กับเด็กที่เป็นไข้หัด -ใช้ปลูกประดับ นำมาขึ้นซุ้มไม้เลื้อย เป็นไม้ป่าของไทยส่วนปลายยอดเมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอมเย็น ระยะออกดอก--- ขยายพันุ์---เมล็ด เครือจักกระทงแดง/Thunbergia hossei
ชื่อพ้อง---This name is unresolved.According to The Plant List.Thunbergia hossei C.B. Clarke is an unresolved name. ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---เครือจักกระทงแดง หนามแน่ดง น้ำแย้น้อย จิงจ้อน้อย นมแน่ดง หนามแน่; [THAI: khruea chak kra thong daeng (Nakhon Ratchasima); chingcho noi (Nakhon Ratchasima); nom nae dong, nam nae dong, nam yae noi, nam nae (Chiang Mai).] ชื่อวงศ์---ACANTHACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประทศไทย ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง เลื้อยได้ไกล4-6เมตร ใบเดี่ยวรูปรีแคบ ขอบจักฟันเลื่อยห่างๆ โคนใบเว้า ปลายแหลม แผ่นใบสีเขียว ขนาดใบกว้าง3-4ซม.ยาว5-8ซม.ซม.เส้นใบหลัก3เส้นออกจากโคนใบเห็นเด่นชัด ดอก ออกเป็นช่อกระจะ ห้อยลง ช่อดอกสั้นและดอกมีจำนวนน้อย กลีบดอกสีเหลืองสด ปลายกลีบมีสีแดงเรื่อ โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น5กลีบ ขอบกลีบโค้งไปด้านหลัง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก3-3.5ซม. ไม่ติดผล ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดดปานกลางถึงแดดจัด ใช้ประโยชน์---นิยมปลูกประดับซุ้มขนาดใหญ่และมักปลูกได้ดีทางภาคเหนือ ระยะออกดอก---กันยายน-ธันวาคม ขยายพันธุ์---ปักชำ เครือเทพรัตน์/Thepparatia thailandica
ชื่อพ้อง---This name is unresolved.According to The Plant List.Thepparatia thailandica Phuph. is an unresolved name ชื่อสามัญ--None ชื่ออื่น---เครือเทพรัตน์ (ทั่วไป) ; [THAI: khruea theppharat (General).] ชื่อวงศ์---MALVACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย สกุล Thepparatia Phuph. อยู่ในเผ่า Gossypieae มีชนิดเดียว ชื่อสกุลตั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบทางภาคเหนือที่ตาก เชียงใหม่ ขึ้นตามหุบเขาที่ลาดชันใกล้ลำธารในป่าดิบแล้ง ความสูง 300-700 เมตร เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่ จ.ตากใกล้ชายแดนพม่า โดย ดร.ราชันย์ ภู่มา นักพฤกษศาสตร์หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช พ.ศ.2548 มีสถานภาพหายากและใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งในถิ่นกำเนิด ไม้เถาขนาดใหญ่เลื้อยได้ไกลถึง20เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 ซม.มีขนรูปดาวทุกส่วนของลำต้น ใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ มีแฉกตื้น3-5แฉก ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่างๆด้านบนของแผ่นใบมีต่อมทั่วไป ขนาดของใบกว้าง7-12ซม.ยาว 6-12ซม.ช่อดอกยาว20ซม.ออกเป็นช่อกระจะห้อยลง ดอกย่อยจำนวนมาก รูประฆัง ริ้วประดับ5-7กลีบติดทน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ5กลีบ กลีบดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีครีมมีแถบสีแดงรูปไข่กลับ ปลายกลีบม้วนออก ผลแห้งแล้วแตกคามแนวยาวด้านหลัง ระยะออกดอก---เดือนมีนาคม-เมษายน การขยายพันธุ์---โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่งและปักชำในกะบะพ่นหมอกกลางแจ้ง และเสียบยอดโดยการใช้พู่ระหงเป็นต้นตอ เครือพูเงิน/Argyreia mollis
ชื่อวิทยาศาสตร์---Argyreia mollis (Burm.f.) Choisy
ชื่อสามัญ---None เครือมวกไทย/Alyxia thailandica ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---เครือมวกไทย นูดเครือ(ภาคกลาง); [Thai: khruea muak thai, nut khruea (Central).] ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย เครือมวกไทยเจริญเติบโตอยู่ในพื้นที่ระดับสูง อากาศหนาวเย็น ต้องการแดดจัดและความชื้นสูง เป็น พรรณไม้ถิ่นเดียวที่สำรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย โดย J.F.Maxwellชาวอเมริกัน ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่อยู่ในประเทศไทย จากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เขตจังหวัดนครนายก ที่ระดับความสูง1,400เมตร เมื่อพ.ศ.2517มีรายงานการตั้งชื่อเมื่อปีพ.ศ.2538 ขึ้นอยู่ในป่าดิบเขาที่ระดับความสูง1,000-1,400 เมตร สถานภาพหายากและใกล้สูญพันธุ์ในถิ่นกำเนิด ไม้ เถาเนื้ออ่อนขนาดเล็ก เลื้อยได้ไกล3-6เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมหนาแน่น กิ่งแก่เรียบ ใบออกเป็นกระจุกตามกิ่ง3-4ใบ เนื้อใบหนารูปรี กว้าง1.2-2.6ซม.ยาว3-7ซม. โคนใบรูปลิ่มปลายใบมน มีขนอ่อนที่เส้นกลางใบ ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ ช่อดอกออกเป็นกระจุกที่ซอกใบมีดอกย่อยจำนวนมากสีขาวปลายกลีบเรียงเวียน เมื่อบานมีกลิ่นหอมอ่อน ผลมีขนาด 5มม. ระยะออกดอก---เดือนกันยายน-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์---เมล็ด เครือมุย/Ceropegia sootepensis ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ชื่อสามัญ---none ชื่ออื่น---เครือมุย มะมุุยดอย มะเขือแจ้ดิน(เชียงใหม่), ว่านสามพี่น้อง(นครราชสีมา) ; [THAI: khreau mui, ma mui doi (Chiang Mai); ma khuea chae din (Chiang Mai); wan sam phi nong (Nakhon Ratchasima).] ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย สปีชี่ส์นี้ถูกอธิบายในปี 1911 และตั้งชื่อตามประเภทของ ป่าเปิดและป่าผลัดใบ พบที่ดอยสุเทพ ในจังหวัดเชียงใหม่ภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งพบว่ามีการเติบโตที่ระดับความสูงประมาณ 450 เมตร Ceropegia sootepensisอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งที่แห้งแล้ง พบได้ในพม่าและลาว แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ไม้ เลื้อยมีหัวใต้ดินลำต้นทรงกระบอกเรียวยาว ใบเดี่ยวรูปแถบออกตรงข้ามเป็นคู่ยาว 5 - 18 ซม. ไม่มีขน ดอกออกเป็นช่อสั้นบริเวณซอกใบ3-5ดอก กลีบดอก5กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบดอกแยก5แฉกคล้ายกระเช้า โคนบวมสูงและปลายหลอดดอกสีน้ำตาลแกมม่วง คอหลอดกลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ระยะออกดอก--- ขยายพันธุ์---เมล็ด เครือเหนียว/Friesodielsia affinis ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms ---Fissistigma magnisepala Irawan ---Oxymitra affinis Hook.f. & Thomson ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---เครือเหนียว(สุราษฎร์ธานี) ; [THAI: khruea niao (Surat Thani).] ชื่อวงศ์---ANNONACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ไทย มาลายา บอร์เนียว ประเทศไทยพบขึ้นกระจายตามชายป่าดิบชื้นทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง 100-400เมตร ไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพาดพันไม้อื่นได้ไกล 5-10เมตร ลักษณะเปลือกต้นสีดำ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ใบรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ กว้าง 4-5.5ซม. ยาว13-15ซม. โคนใบมนหยักเว้า ปลายใบแหลมด้านบนเรียบเกลี้ยงสีเขียวเข้ม ใบด้านล่างเคลือบขาว ผิวใบและเส้นกลางใบมีขนนุ่ม ดอกเดี่ยว ออกจากซอกใบ กลีบดอกเรียงกัน2ชั้น สีเหลืองอมเขียว ผลกลุ่มมี7-15ผล รูปกลมรี ยาว1-1.2ซม.มีขนสีน้ำตาล ปลายผลมีติ่งแหลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง มีเมล็ด1เมล็ด ใช้ประโยชน์---เถามีความเหนียวใช้แทนเชือกได้ ระยะออกดอก---เดือนกุมภาพันธ์-เดือนมิถุนายน ขยายพันธุ์---เมล็ด |
||||||||||||||||||||||||
งวงชุ่ม/Combretum pilosum
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms ---Combretum insigne Van Heurck & Müll.Arg. ---Combretum laetum Wall. ---Combretum spinescens Wall. ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น--- เครือเขามวก (หนองคาย); งวงชุ่ม (นครพนม); ตีนตั่งตัวแม่ (ลำปาง); [THAI: khruea khao muak (Nong Khai); nguang chum (Nakhon Phanom); tin tang tua mae (Lampang).]; [CHINESE: Cháng máo fēng chēzi.]; [VIETNAM: Chưng bầu lông.] ชื่อวงศ์---COMBRETACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย (อัสสัม) บังคลาเทศ พม่า จีน อินโดจีน พบใน จีน(ไหหลำ ยูนนาน) บังคลาเทศ, อินเดีย, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม พบขึ้นทั่วไปตามที่ชื้น ตามป่าเบญจพรรณและชายป่าดิบเขา หุบเขา ตามริมน้ำที่ระดับความสูง 100-800 เมตร ในประเทศไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ไม้ พุ่มรอเลื้อย หรือไม้เถาลำต้นสีน้ำตาลเทาแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆต้นมีขนหรือขนต่อมสีน้ำตาลแดงปกคลุมตามกิ่งก้าน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่หรือรูปรี ขนาดใบกว้าง3-5ซม.ยาว8-12ซม.ใบมีขน แผ่นใบสีเขียวโคนใบมนหรือเบี้ยว ปลายใบแหลม ก้านใบยาว 2-5 มม. ดอกออกแบบช่อแยกแขนง ช่อย่อยเป็นช่อกระจุก ยาว5-20ซม.ใบประดับเป็นรูปไข่ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น5แฉก กลีบดอก5กลีบสีชมพูอ่อนถึงม่วง ผลแห้งรูปทรงกลมรีหรือไข่กลับ มี 5 ปีก 2.5–3.5 × 2–2.5 ซม. สีเหลืองแกมน้ำตาล เมล็ดรูปรี ยาว1-1.2ซม. ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ใบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ราก ใช้ต้มแก้ไข้บิด ระยะออกดอก/ติดผล---ตุลาคม-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำกิ่ง |
||||||||||||||||||||||||
เงาะพวงผลกลม/Uvaria fauveliana
ชื่อวิทยาศาสตร์---Uvaria fauveliana (Finet & Gagnep.) Pierre ex Ast. จมูกปลาหลด/Oxystelma esculentum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Oxystelma esculentum (L. f.) Sm.
มีการกระจายกว้างจากแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือไปยังเอเชียตะวันตกเฉียงใต้จากอียิปต์ทางตะวันออกผ่าน แทนซาเนีย เยเมน ซินาย อิรัก ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย บังคลาเทศ พม่าและเนปาล ทางตอนใต้ของจีน ( กวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน) ผ่านอินโดจีนและคาบสมุทรมลายูไปยังอินโดนีเซีย ถึงออสเตรเลียตะวันตก เติบโตตามธรรมชาติ ในพื้นที่แอ่งน้ำ ริมน้ำเปิด ในหนองน้ำ บึงและทะเลสาบที่ระดับความสูงถึง750 เมตรในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย โดยมักขึ้นบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป จมูกปลาหลด/Tyrophora flexuosa
ชื่อวิทยาศาสตร์---Tyrophora flexuosa R.Br.
ชื่อสามัญ---None |
||||||||||||||||||||||||
จั่นดิน/ Asparagus acerosus
ชื่อพ้อง---This name is a synonym of Asparagus racemosus Willd. ชื่อสามัญ---Asparagus fern, Wild asparagus.. ชื่ออื่น---จั่นดิน(ทั่วไป) ; [THAI: Chan din (general).] ชื่อวงศ์---ASPARAGACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ขีน พม่า ไทย ลำต้นแข็งและเหนียว มีหนามแหลมคล้ายตะขอ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับรูปแถบแคบ คล้ายเข็มไม่มีก้านใบ กว้าง1.2-5มม.ยาว5-8ซม.ดอกสีขาวออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบหรือตามกิ่ง แขนงกลีบดอก6กลีบรูปไข่แกมขอบขนานขนาดเล็ก เกสรเพศผู้6อัน อับเรณูสีเหลือง รังไข่สีขาวพบตามพื้นที่โล่งชายป่า ระยะออกดอก--- ขยายพันธุ์---เมล็ด จิงจ้อเขา/Jacquemontia paniculata
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms ---Basionym: Ipomoea paniculata Burm.fil. ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---จิงจ้อเขา จิงจ้อผี(ทั่วไป) ; [THAI: ching chor khao, ching chor phi.]; [CHINESE: Xiǎo qiān niú.]; [VIETNAM: Bìm trắng.] ชื่อวงศ์---CONVOLVULACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปcvaibdk เขตกระจายพันธุ์---แอฟริกาตะวันออก มาดากัสการ์ จีน อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแอฟริกาตะวันออก-เคนยาถึงโมซัมบิก มาดากัสการ์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซียและหมู่เกาะแปซิฟิก-นิวแคลิโดเนีย พบในในป่าเปิด บนขอบของป่ามรสุมหรือป่าฝน จากระดับน้ำทะเลใกล้ถึง 600 เมตร ในประเทศไทย พบได้ทั่วไปเป็นวัชพืขตามริมทุ่งนา ริมถนน ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน เถากลมกิ่งอ่อนมีขนสีขาว ทอดเลื้อยตามผิวดินหรือพันไม้ระดับต่ำ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2 ซม.ใบรูปหัวใจ ยาว4.5 (–8)ซม. กว้าง3.5 (–5) ซม.ด้านบนใบและด้านล่างมีขนบางเบาตามเส้นใบ ก้านใบยาว 2.5 (–6) ซม. มีขนยาว ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่มขนาดเล็ก ดอก สีฟ้าอมม่วงอ่อนถึงสีขาวรูปกรวยตื้นปลายแผ่ติดกัน ขอบหยัก5แฉก ขนาดดอก2ซม. ผลแคปซูลกลมเกลี้ยงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง5-6 มม.เมล็ดยาว2.5มม.มีปีกสั้นๆที่ขอบ ระยะออกดอก--- ตุลาคม- มีนาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด |
||||||||||||||||||||||||
ชงโคดำ/Bauhinia pottsii ชื่อวิทยาศาสตร์---Bauhinia pottsii G.Don
ไม้พุ่มรอเลื้อย มีเถาเลื้อยขนาดใหญ่ไม่มีมือเกาะ มีขนสีน้ำตาลแดงตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ตาดอก และฝัก ใบเดี่ยวรูปไข่เกือบกลม กว้าง9-14ซม.ยาว10-15ซม แฉกลึกถึงประมาณกึ่งหนึ่ง ปลายแฉกกลม เส้นโคนใบข้างละ 5-7 เส้น.หูใบขนาดเล็กหลุดง่าย ก้านใบยาว 3-4 ซม. ดอกสีแดงเข้มตรงกลางเป็นแถบสีเหลือง ออกเป็นช่อยาวประมาณ10ซม.ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. ดอกย่อยบานเต็มที่กว้าง8-10ซม.กลีบรองดอกแยก เป็น2-5แฉกปลายกลีบโค้งกลับมีกลีบดอก5กลีบ เกสรผู้3อันยาว3-4.5ซม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมี 2 อัน รังไข่และก้านเกสรเพศเมียยาว2-3ซม.มีขนยาวสีน้ำตาลแดง ผลเป็นฝักเมื่อแก่แล้วแตก ปลายฝักเป็นจงอย เมล็ดรูปกลมแบนขนาด1-1.5ซม.มี4-6เมล็ด ระยะออกดอก---กันยายน-ธันวาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด ช้างสารซับมัน/Erycibe elliptilimba
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms ---Erycibe fecunda Kerr ---Erycibe noei Kerr ---Erycibe poilanei Gagnep. ---Erycibe rabilii Kerr ชื่อสามัญ--None ชื่ออื่น---ช้างสารซับมัน(นครศรีธรรมราช), ดังอีทก(นครราชสีมา), หนาวเดือนห้า(หนองคาย),โหรา(ปัตตานี) : [THAI: chang san sap man (Nakhon Si Thammarat); dang i thok (Nakhon Ratchasima); nao duean ha (Nong Khai); hora (Pattani).]; [CHINESE: Jiǔ lái lóng.] ชื่อวงศ์---CONVOLVULACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีน อินโดจีน พบในจีนแผ่นดินใหญ่(กวางตุ้ง ไหหลำ)ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม ขึ้นตามเนินเขา, ทางลาดแห้ง, ป่าไม้, ชายฝั่งทะเลที่ระดับความสูงถึง 600เมตร ไม้เถารอเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่เลื้อยได้ไกล 5-15 (20) เมตร ไม่ผลัดใบลำต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อนปนเทา กิ่งอ่อนเรียบสีเขียว ใบเดี่ยวรูปรีกว้าง4-6ซม.ยาว12-18ซม. โคนใบรูปลิ่มปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้านก้านใบสีส้มยาว1.3ซม. ดอก ออกเป็นช่อกระจุกออกเหนือรอยแผลตามกิ่งกระจุกละ 20-40 ดอก ดอกตูมสีม่วงอมดำ ดอกย่อยทยอยบาน ขนาด1-1.3ซม.สีเหลืองเข้มมี5กลีบปลายกลีบหยักเว้าเป็น2แฉก ส่งกลิ่นหอมแรงมาก การใช้ประโยชน์ จากงานวิจัยของโรงพยาบาลศิริราชพบว่า สมุนไพรชนิดนี้เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีการนำมาใช้รักษาการติดเชื้อและมะเร็งมาเป็นเวลานาน จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าสารสกัดน่าจะมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งเต้านมและทำให้เกิดการหยุดวงจรชีวิตของเซลล์มะเร็ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาในเรื่องกลไกการต้านมะเร็งต่อไป การแพทย์ดั้งเดิมของจีนใช้ส่วนของลำต้นและรากเป็นยากระจายลมและลดการเจ็บปวด หมอพื้นบ้านอีสานใช้เป็นยาแก้ไข้ที่ไม่ทราบสาเหตุ สำหรับงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากหนาวเดือนห้าชนิดนี้สามารถต้านแบคทีเรียได้หลายชนิด ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฎาคม-ตุลาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด ชิงช้าสะแกราช/Tinospora siamensis
ชื่อพ้อง-This name is unresolved.According to The Plant List.Tinospora siamensis Forman is an unresolved name ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---ชิงช้าสะแกราช (ทั่วไป) ; [THAI: chingcha sakaerat (General).] ชื่อวงศ์---MENISPERMACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย ชิงช้า สะแกราชเป็นพืชถิ่นเดียวของไทยที่ขึ้นอยู่ได้ทั้งในป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง พบครั้งแรกโดย H. Benziger ชาวเยอรมันที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ชื่อสปีชีส์ตั้งตามประเทศไทย ไม้เลื้อยเนื้ออ่อนเลื้อยได้ไกล 5-15เมตร เถาเรียบมีรูอากาศอยู่ตลอดเถา ทุกส่วนมีรสขม มี รากอากาศแตกออกมาและห้อยลงถึงพื้นดิน เมื่อหยั่งถึงพื้นจะทำหน้าที่ดูดน้ำและอาหารไปเลี้ยงลำต้น แตกกิ่งและใบตรงยอดในส่วนที่มีแดดส่องถึง ใบเดี่ยวรูปหัวใจ กว้างและยาว8-10ซม.โคนใบเว้า ปลายใบแหลม ดอกสีเหลืองเป็นช่อเล็กๆ ออกตามซอกเถาและซอกใบ ช่อดอกมีจำนวน1-3ช่อ ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก ไม่มีกลีบดอก ทยอยบานตั้งแต่โคนไปหาปลายช่อผลสดค่อนข้างกลมขนาด0.7-1ซม.อยู่รวมกันเป็นช่อแน่น สุกสีเหลือง ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา เป็นสมุนไพรพื้นบ้านของอีสานตอนล่างคุณสมบัติคล้ายคลึงกับบอระเพ็ด ระยะออกดอก---ตุลาคม-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์---เมล็ด |
||||||||||||||||||||||||
ซังแกเถา/Combretum sundaicum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Combretum sundaicum Miq |
||||||||||||||||||||||||
ดอกน้ำตาล/Fissistigma minuticalyx ชื่อวิทยาศาสตร์---Fissistigma minuticalyx (Mc Gregor & W.W.Sm.) Chatterjee
เป็นพืชเฉพาะถิ่นของจีน กระจายอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ (มณฑลยูนนาน , กุ้ยโจว) สถานที่อื่น อินเดีย พม่าขึ้นในป่าภูเขา ที่ระดับความสูง 800-1,600 เมตร |
||||||||||||||||||||||||
ติ่งตั่ง/Getonia floribunda
ชื่อพ้อง---This name is a synonym of Calycopteris floribunda (Roxb.) Lam. ชื่อสามัญ---Paper Flower Climber ชื่ออื่น--- กรูด (สุราษฎร์ธานี); ข้าวตอกแตก (ภาคกลาง); งวงชุม (ขอนแก่น); งวงสุ่ม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); งวงสุ่มขาว (พิษณุโลก, สุโขทัย); ดวงสุ่ม (อุบลราชธานี); ดอกโรค (เลย); ตะกรุด (นครศรีธรรมราช); ตาโน้ะ (มาเลย์-ยะลา); ติ่งตั่ง, ติ่งตั่งตัวผู้ (ภาคเหนือ); เถาวัลย์นวล (ราชบุรี); ประโยด (ตราด); มันเครือ (นครราชสีมา); มันแดง (กระบี่); เมี่ยงชะนวนไฟ, สังขยาขาว (พิษณุโลก, สุโขทัย); หน่วยสุด (ภาคใต้) ; [THAI: krut (Surat Thani); khao tok taek (Central); nguang chum (Khon Kaen); nguang sum (Northeastern); nguang sum khao (Phitsanulok, Sukhothai); duang sum (Ubon Ratchathani); dok rok (Loei); ta krut (Nakhon Si Thammarat); ta-no (Malay-Yala); ting tang (Northern); ting tang tua phu (Northern); thao wan nuan (Ratchaburi); prayot (Trat); man khruea (Nakhon Ratchasima); man daeng (Krabi); miang chanuan fai (Phitsanulok, Sukhothai); sang khaya khao (Phitsanulok, Sukhothai); nuai sut (Peninsular).]; [BENGALI: Gecho lata.]; [HINDI: Kokoray.]; [KANNADA: Enjarigekubsa.]; [MALAYALAM: Pullanji, Pullanni, Varavalli, Pullani.]; [MARATHI: Ukshi.]; [SANSKRIT: Susavi.]; [TAMIL: Pullanji Valli.]; [CHINESE: e chi teng.]; ; [MALAYSIA: Pelawas (peninsular).]; [LAOS: Dok ka deng, nguang 'soum.]; [CAMBODIA: Ksouohs, ta suos, qgnu.]; [VIETNAM: Cam Dang Hoang, Dia radio, Duc radio.] ชื่อวงศ์---COMBRETACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีนตอนใต้ คาบสมุทรมาลายู พบที่อินเดีย, บังกลาเทศ, จีนตอนใต้(ยูนนาน) พม่า ลาว, กัมพูชา, ไทย, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์ ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 300-600 เมตร ในประเทศไทยไทยพบทุกภาค กระจายห่าง ๆ ตามที่โล่ง และชายป่า ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งเลื้อยได้ไกล3-6 เมตร เปลือกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้นๆ กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีขนปกคลุมหนาแน่น ใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามรูปใบหอก กว้าง4-6ซม.ยาว12-20ซม. โคนใบมนปลายใบแหลม ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ดอก ช่อออกที่ปลายยอดยาว20-40ซม.มีดอกย่อยจำนวนมากโคนกลีบเชื่อมกันปลายแยก เป็น5กลีบ เมื่อบานมีขนาด2ซม. มีผลรูปรีมี 5 สัน รูปไข่ ยาว 1.8-2.3 ซม. แข็งและไม่แตกเมื่อแก่จัดผลและกลีบเลี้ยงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีเมล็ด1เมล็ด ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้-ลำต้น ใบและราก ใบใช้รักษาไข้ป่า ไข้มาลาเรีย ช่วยทำให้เจริญอาหาร เป็นยาแก้อาการจุกเสียดแน่น เป็นยาระบายท้อง แก้ปวดท้อง แก้บิด ใช้ขับพยาธิ รากใช้เป็นยาแก้พิษไข้เด็ก เนื้อไม้เป็นยาแก้เบื่อเมา แก้พิษสุราเรื้อรัง แก้ปัสสาวะดำหรือปัสสาวะเป็นเลือด เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจใช้เป็นยา ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากติ่งตั่งนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กามโรค ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ลำต้นและรากติ่งตั่ง ผสมกับลำต้นเปล้าลมต้น ลำต้นเปล้าลมเครือ ลำต้นบอระเพ็ด ลำต้นรางแดง ลำต้นแหนเครือ และลำต้นหนาด นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย -อื่น ๆ เถาเหนียวใช้ทำเครื่องจักสาน ดอกนำมาจัดทำเป็นดอกไม้แห้ง ระยะออกดอกผล---มกราคม-พฤษภาคม ขยายพันธุ์ ---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ เตยเลื้อย/Freycinetia multiflora
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name. ชื่อสามัญ---Climbing Pandanus, Flowering Pandanus, Freycinetia. ชื่ออื่น---เตยเลื้อย(ทั่วไป) ; [THAI: toei leuay (general).]; [CHINESE: Duō huā téng lù dōu.]; [JAPANESE: Tsurutakonoki.] ชื่อวงศ์---PANDANACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย- เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีถิ่นกำเนิดในฟิลิปปินส์ สุลาเวสี สกุลนี้ถูกตั้งชื่อโดย Charles Gaudichaud Beaupre (1789-1854) นักพฤกษศาสตร์ผู้รวบรวมและบรรยายสกุลFreycinetiaเป็นครั้งแรกเพื่อเป็นเกียรติแก่พลเรือเอก Louis Claude de Saulses de Freycinet (1779-1842) เจ้าหน้าที่ทหารเรือชาวฝรั่งเศสผู้วางแผนและนักเดินเรือที่สำรวจออสเตรเลียและ เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ไม้ พุ่มกึ่งเลื้อย กิ่งก้านทอดเลื้อยได้ไกล2-4เมตร ใบออกสลับรูปใบหอก ขนาด3-5x10-20ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบหยักซี่ฟัน บิดเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบบางสีเขียว ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีใบประดับรองรับ ช่อดอกสีส้ม ดอกแยกเพศ มักไม่ค่อยออกดอกให้เห็น ผลมีเนื้อขนาดเล็กเพียง5,มม. แต่มักไม่ติดผล ใช้ประโยชน์--ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ระยะออกดอก----เดือนมกราคม-มีนาคม ขยายพันธุ์---ด้วยการปักชำกิ่ง ต้างไม้ฟันงู/ Hoya multiflora ชื่อวิทยาศาสตร์---Hoya multiflora Blume
ชื่อสามัญ---Shooting Star Hoya, Many flowered Hoya, Wax Plant, Porcelain Flower |
||||||||||||||||||||||||
เถากระดึงช้าง/ Argyreia lanceolata -This name is unresolved.According to The Plant List.Argyreia lanceolata Choisy is an unresolved name. ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---เถากระดึงช้าง(นครราชสีมา) ; [THAI: thao kradueng chang (Nakhon Ratchasima).]; [CHINESE: yin bei teng shu.] ชื่อวงศ์---CONVOLVULCEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย พม่า อินโดจีน พบที่อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม ในไทยพบกระจายห่าง ๆ แทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเต็งรังผสมสนเขา ความสูง 100-800 เมตร ไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น ลำต้นมีขนสั้นนุ่มสีเงินปกคลุม ใบเดี่ยวเรียงสลับ ขนาดใบกว้าง6-12ซม.ยาว8-15ซม. โคนใบเว้ารูปหัวใจ ปลายใบมีติ่งแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านล่างมีขนกระจาย ก้านใบยาว 0.5-2 ซม. ดอกสีขาวมีแต้มสีม่วงหรือชมพูอมม่วงบริเวณใจกลางดอก ออกเป็นช่อสั้นบริเวณซอกใบ ส่วนมากมี 1-3 ดอก ก้านดอกยาว 0.6-1 ซม. ใบประดับรูปใบหอก ยาวได้ถึง 1.2 ซม. ร่วงเร็ว มีขนหนาแน่น กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปแตร สีม่วงอมแดง ยาว 5-6.3 ซม. กว้าง3-5 ซม.ปลายแยกออกเป็น5แฉกตื้นสีขาว เกสรผู้สีขาวติดอยู่ภายในหลอดกลีบยาวไม่เท่ากัน ยาว 2.6-3.4 ซม. จานฐานดอกจัก 5 พู ตื้น ๆ รังไข่เกลี้ยง มี 2 ช่อง เกสรเพศเมียยาว 3.6-4 ซม. ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 7-8 มม. เกลี้ยง เมล็ดยาว 3-4.5 มม. ระยะออกดอก--- ขยายพันธุ์---เมล็ด เถานางรอง/ Epipremnum giganteum
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms ---Basionym: Pothos giganteus Roxb ---Monstera gigantea (Roxb.) Schott ---Rhaphidophora gigantea (Roxb.) Ridl. ---Scindapsus giganteus (Roxb.) Schott ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---งด(สุราษฎร์ธานี), เถานางรอง(ตราด), ระงดกล้วย(ปัตตานี),รีงุอะการ์(มลายู นราธิวาส) ; [THAI: ngot (Surat Thani); thao nang rong (Trat); ra ngot kluai (Pattani); ri-ngu-a-ka (Malay-Narathiwat).]; [CHINESE: Jù līn shù téng.]; [MALAYSIA: Akar Resdung (Malay).]; [VIETNAM: Thượng cán to.] ชื่อวงศ์---ARACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบใน พม่า คาบสมุทรมาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา ไทย เวียตนาม ขึ้นตามสันเขาหินปูน หน้าผา ในสวนปาล์มน้ำมัน บนที่ลุ่มที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก ป่าฝนเขตร้อนชื้น ป่าพรุที่ระดับความสูง 90--170 เมตร ไม้ เถาขนาดใหญ่ มักขึ้นเป็นกลุ่มคลุมผิวดิน แล้วเลื้อยพันต้นไม้อื่นเมื่ออายุมากขึ้นยาวได้ถึง60เมตร โดยอาศัยรากยึดเกาะ มีรากอากาศเรียวยาว ลำต้นอวบหนาเกลี้ยง สีเขียวเข้มเป็นมันแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ลำต้นที่แก่จัดเป็นข้อปล้องชัดแข็งคล้ายมีเนื้อไม้ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปรี ขนาด10-30x30-60ซม. โคนใบกลมไม่สมมาตร ขอบใบเรียบใสและเป็นคลื่น ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เนื้อใบแข็งกระด้างคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ก้านใบเป็นแผ่นกาบเรียบมีครีบแคบสีเขียวคล้ำ ยาว20-60ซม.โคนก้านแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ส่วนปลายเป็นข้อหักงอขึ้น ดอกแบบช่อเชิงลดมีกาบ ออกตามง่ามใบ ช่อดอกรูปทรงกระบอกขนาด 1.5-4.5 x 15-28 ซม.ดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนแกนช่อเดียวกัน ดอกขนาดเล็กสีเหลืองขนาด0.25-0.4ซม. ผลแบบมีเนื้อนุ่มภายในมีเมล็ดเดียวแข็ง ผลอ่อนสีเขียวสด ผลแก่สีส้มหม่น เมล็ดโค้งงอเล็กน้อย 5 x 2 มม.สีน้ำตาลอ่อนเป็นมัน ระยะออกดอก---ตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล็ด เถาประสงค์/Streptocaulon juventas ชื่อวิทยาศาสตร์---Streptocaulon juventas (Lour.) Merr. เถาไฟ/Bauhinia integrifolia
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms ---Bauhinia flammifera Ridl. ---Bauhinia holosericea Ridl. ---Phanera integrifolia (Roxb.) Benth. ---Phanera junghuhniana Benth. ---Phanera polyantha Miq. ชื่อสามัญ--- Flame vine bauhinia. ชื่ออื่น---กุกูกูด้อ, กุกูกูบา (มาเลย์-ปัตตานี); ชงโคย่าน (ตรัง); ชิงโคย่าน (ภาคใต้); ดาโอะ (นราธิวาส); เถาไฟ (กรุงเทพฯ); ปอลิง (สุราษฎร์ธานี); ย่านชงโค (ตรัง); โยทะกา (กรุงเทพฯ); เล็บควายใหญ่ (ยะลา, ปัตตานี) ; [THAI: ku-ku-ku-do, ku-ku-ku-ba (Malay-Pattani); chongkho yan (Trang); chingkho yan (Peninsular); da o (Narathiwat); thao fai (Bangkok); po ling (Surat Thani); yan chongkho (Trang); yo tha ka (Bangkok); lep khwai yai (Pattani, Yala).] ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIACEAE) ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน พม่า ไทย มาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนีบว ฟิลิปปินส์ พบที่คาบสมุทรมลายู และพบมากมายในป่าภาคใต้ของประเทศไทย ขึ้นกระจายตั้งแต่จังหวัดระนองแถบคอคอดกระลงไป ขึ้นตามชายป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 900 เมตร เถา ไฟเป็นไม้เลื้อย มีเถาใหญ่เนื้อเหนียวค่อนข้างแข็ง สามารถเลื้อยพันเกาะต้นไม้อื่น หรือเลื้อยพาดพิงไปตามหน้าผาสูงได้ถึง40เมตรหรือกว่านั้นและมีมือเกาะตามกิ่งอ่อนและขนสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่ค่อนข้างเว้าหรือกลม ขนาดกว้างยาวเกือบเท่ากันประมาณ10ซม.โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจปลายใบเว้าลึกบ้างตื้นบ้าง ปลายแฉกแหลมหรือกลม ก้านใบยาว 1-5 ซม. ดอกสีส้มแดงขนาดเล็กออกเป็นช่อ มีขน ลักษณะชะลูดเพรียวดูบอบบาง ขนาดช่อยาวประมาณ15-20ซม. ดอกตูมกลมปลายแหลม ขนาดดอกบาน2ซม.กลีบดอก5กลีบรูปไข่กลับ แต่ละกลีบมีรอยยับย่น เมื่อแรกบานดอกเป็นสีส้มและจะเปลี่ยนเป็นสีแสดภายหลัง ฝักรูปแถบ ยาว 15-20 ซม. เกลี้ยง มี 5-8 เมล็ด เป็น พันธุ์ไม้ที่มีดอกดกออกดอกตลอดปี ดอกมักบานพร้อมๆกัน ชอบกลางแจ้งแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในสภาพดินเกือบทุกชนิด (ยกเว้นในที่ที่น้ำท่วมถึงราก) -ใช้ปล๔กเป็นไม้เลื้อยประดับขึ้นซุ้ม Pergola หรือปลูกเป็นไม้ประดัยริมรั้ว ระยะออกดอก---ตลอดปี ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง เถามวกขาว/Urceola minutiflora ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms ---Micrechites minutiflorus (Pierre) P.T.Li ---Xylinabaria minutiflora Pierre ชื่อสามัญ---None ชื่ออื่น---เถามวกขาว เครือช้างน้ำ ตังกะติ้ว เถามวกเขา มวกแดง; [THAI: thao muak khao (Nakhon Ratchasima); muak daeng (Central)]; [VIETNAM: Mộc tỉnh, Dây bói cá.] ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน-กัมพูชา ลาว ไทยเ วียดนาม ไม้ เลื้อย กิ่งมีขนนุ่มปกคลุม ใบเดี่ยวออกตรงข้ามรูปรีดอกออกที่ซอกใบแบบช่อแยกแขนง มีดอกย่อยขนาดเล็กกลีบเลี้ยง5กลีบสีเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น5แฉก ผลเป็นฝักคู่ ผลย่อยแตกแนวเดียวปลายข้างหนึ่งมีขน ขยายพันธุ์ ---เมล็ด เถายั้งดง/Smilax lanceifolia ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms ---Smilax austrosinensis F.T.Wang & Tang ---Smilax cocculoides lanceolata J.B.Norton ---Smilax impressinervia F.T.Wang & Tang ---Smilax microphylla elongata Warb. ---Smilax micropoda A.DC. ---Smilax tortopetiolata H.Lév. & Vaniot ชื่อสามัญ---Green bier, Tawar Root Tree. ชื่ออื่น---เถายั้งด้ง(ตะวันออกเฉียงใต้), เดา, หนามเดา(เชียงใหม่); [THAI: thao yang dong (Southeastern); dao, nam dao (Chiang Mai).]; ; [CHINESE: Mǎ jiǎ bá qiā.]; [TAIWAN: tǔ fú líng (táiwān bá qiā, mǎjiǎ bá qiā).]; [VIETNAM: Kim cang lá mác.]; [INDONESIA: Pokok Akar Tawar.]; [AYURVEDIC: Hindi Chobachini.] ชื่อวงศ์---SIMILACACEAE ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้, อินเดีย, เนปาล, ภูฏาน, บังคลาเทศ, พม่า, ไทย, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ พบได้ในเขตอบอุ่นทางตอนกลางของประเทศจีนจนถึงเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเนปาล ผ่าน จีน พม่า ไทย ถึงไต้หวัน และW.Malesia ขึ้นตามที่ชื้น ชายป่าพุ่มไม้ บนเนินเขาที่ระดับความสูง 100 - 2800 เมตร ไม้ เถาเลื้อยพันไม้อื่นหรือเลื้อยตามพื้นเลื้อยได้ไกลถึง1-2เมตร เถาสีเขียวอมม่วงตามเถามักมีหนามแหลม ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่ใบ 6-17 × 2-8 ซม.เนื้อใบหนาผิวเกลี้ยงสีเขียวเข้มก้านใบ 1-2.5ซม.ดอกออกเป็นช่อกระจะ ช่อดอกย่อยแบบซี่ร่มสีเหลืองอ่อน ก้านช่อดอก 1-3-1.5 ซม ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ทั้งสองเพศมีดอกหนาแน่นหนาแน่น 20--30 ดอก ผลเมีเนื้อ สีเหลืองแดงถึงดำผลกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-7 มม ใช้ประโยชน์---พืชจะถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและยา -ใช้กิน ยอดอ่อน ใบอ่อน นำไปทำให้สุกกินเป็นผักรสขมอมหวาน หัวใต้ดินรสหวานจืด -ใช้เป็นยา น้ำจากรากสดถูกนำมาใช้ภายในในการรักษาโรคไขข้อ ในขณะที่ส่วนที่เหลือของรากจะถูกนำไปใช้ภายนอกกับบริเวณส่วนที่ได้รับผลกระทบ ยาต้มของรากใช้รักษาโรคซิฟิลิสและโรคไขข้อ ใบและผลไม้ใช้ในยาแผนโบราณในเวียดนาม ใช้รากบรรเทาอาการไขข้ออักเสบ ต้านการอักเสบ ใช้รักษาเบาหวาน ระยะออกดอก---กันยายน-ตุลาคม ขยายพันธุ์--- เมล็ดและแยกหน่อ เถาวัลย์กรด/Combretum tetralophum
ชื่อวิทยาศาสตร์---Combretum tetralophum C. B. Clarke เถาวัลย์ดำ/Marsdenia glabra
ชื่อวิทยาศาสตร์---Marsdenia glabra Costantin เถาวัลย์ปูน/Cissus rependa
ชื่อวิทยาศาสตร์---Cissus repanda Vahl.
ชื่อสามัญ--- Wavy-leaved cissus เถาวัลย์ยั้ง/Smilax ovalifolia
ชื่อวิทยาศาสตร์---Smilax ovalifolia Roxb. ex D. Don ไม้ เถาขนาดเล็ก เถากลม มีมือเกาะพันต้นไม้อื่นได้ไกล3-4เมตร มักมีหนามตามเถา ใบเดี่ยวรูปใบหอก 6 - 12 × 13-25 ซม.ปลายใบมน โคนใบตัดโค้งมน ก้านใบยาว 1 - 1.5 ซม. แผ่นใบหนา ผิวใบเกลี้ยง ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงออกจากโคนใบยาวจรดปลายใบ ดอกออกเป็นช่อซี่ร่ม ตามซอกใบมีดอกย่อยจำนวนมากสีเหลืองอ่อน ผลรูปไข่สีเขียวมี1เมล็ด เถาอีแปะ/ Dischidia hirsuta
ชื่อวิทยาศาสตร์---Dischidia hirsuta (Blume) Decne.
ชื่อสามัญ---None |
อ้างอิง, ภาพประกอบเพื่อการศึกษา : |