ไม้ใหญ่ยืนต้น 1
" หว่านพืชไว้แต่อดีตกาล
เป็นต้นไม้สูงตระหง่านโตใหญ่
หว่านพืชลง ณ บัดนี้ไซร้
มิทันไรเป็นต้นไม้ที่เติบโต "
หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล แปลจากไดกุ บทหนึ่งของท่าน เมธี มิโนมิยา พ.ศ.๒๔๘๑
ความ รู้ที่ได้จากหนังสือต่างๆที่ท่านคณาจารย์ได้เรียบเรียงขึ้นมา และนำมาที่นี้ มิได้มีเจตนาอื่นใด
นอกจากต้องการสื่อความรักความใส่ใจ ในต้นไม้ ให้กับท่านผู้ใคร่รู้
อาจตัดทอนหรือเรียบเรียงใหม่จากประสบการณ์ของตนเองบ้าง เพื่อให้สื่อได้แต่ก็แค่พื้นๆ
จึงได้พยายามรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับต้นไม้เอาไว้ ไม่ได้นำมาเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือใดๆทั้งสิ้น
เจตนาเพียง หากท่านเห็นต้นไม้ต้นหนึ่ง อาจเหยียบย่ำหรือเดินผ่านเลยไปโดยไม่สนใจ แต่ถ้ารู้จัก
และรู้ถึงคุณค่าของต้นไม้ต้นนั้น ท่านอาจจะหยุดคิด และพิจารณา หรือเพื่อเก็บรักษาต่อไป
หวังว่าประโยชน์นั้นพึงจะเกิดขึ้นกับ ผู้ที่สนใจใคร่รู้ทั่วไป
และต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่าน ผู้เขียนหนังสือทุกเล่ม ไว้ ณ.ที่นี้ด้วยความเคารพอย่างสูงสุด
เรื่อง ราวของไม้ใหญ่ยืนต้นที่นิยมนำมาใช้ในการจัดสวน
ปลูกประดับและให้ร่มเงา รวมถึงเกร็ดความรู้ต่างๆ ในบทนี้ ที่บางต้นมี บางต้นก็ไม่มี รวบรวมมานาๆเรื่อง ดังนี้
เรียงตามลำดับต่อๆไป
1 | ราชพฤกษ์/Cassia fistula | 16 | ทองกวาวดอกเหลือง/Butea monosperma |
2 | กัลปพฤกษ์/Cassia bakeriana. | 17 | ปีบ/Millingtonia hortensis |
3 | กาฬพฤกษ์/Cassia grandis | 18 | ปีบทอง/Radermachera ignea |
4 | ชัยพฤกษ์/Cassia javanica | 19 | ประดู่ป่า/Pterocarpus macrocarpus |
5 | รัตนพฤกษ์/Cassia fistula x Cassia javanica | 20 | ประดู่บ้าน/Pterocarpus indicus |
6 | ราชายตนพฤกษ์/Manikara hexandra | 21 |
ประดู่แดง/Phyllocarpus septentrionalis
|
7 | สุวรรณพฤกษ์/Cordia dentata | 22 | พญาสัตบรรณ/Alstonia scholaris |
8 | พฤกษ์/Albizia lebbeck | 23 | ตีนเป็ดน้ำ/Cerbera odollam |
9 | จามจุรี/Samanea saman | 24 | ตีนเป็ดทราย/Cerbera manghas |
10 | ถ่อน/Albizia procera | 25 | ตีนเป็ดแดง/Dyera costulata |
11 | แคแสด/spathodea campanulata | 26 | บุหงาตันหยง/Caesalpinia coriaria |
12 | นนทรี/Peltophorum pterocarpum | 27 | สุพรรณิการ์/Cochlospermum religiosum |
13 | อะราง/Peltophorum dasyrachis | 28 | สุพรรณิการ์ดอกซ้อน/Cochlospermum regium |
14 | ทองหลางลาย/Erythrina variegata | 29 | สาละลังกา/Couroupita guianensis |
15 | ทองกวาว/Butea monosperma | 30 | สาละอินเดีย/Shorea robusta |
31 | ศรีตรัง/Jacaranda filicifolia |
1 ราชพฤกษ์/Cassia fistula
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cassia fistula Linn.
|
|||||
ไม้ ต้นขนาดกลางสูง 10-15เมตร ขึ้นได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณหรือป่าแดงทั่วไป แต่พบมากทางภาคเหนือ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ลักษณะเปลือกต้นเรียบเกลี้ยงสีเทาอ่อน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 7-12 คู่ ขนาดของใบย่อย3.5-5.5ซม.ช่อดอกออกตามกิ่งข้างและห้อยลง ช่อดอกโปร่งยาว 20-45ซม.กลีบดอกสีเหลืองสด หรือเหลืองแกมเขียว ผล เป็นฝัก รูปทรงเป็นแท่งกลม ยาว 20-60ซม.ผิวเกลี้ยง ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ภายในฝักจะมีผนังเยื่อบางๆกั้นเป็นช่องๆตามแนวขวางของฝักและตามช่องเหล่านี้ จะมี เมล็ดมนแบนสีน้ำตาลเป็นมัน ระยะออกดอก : ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม ขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ด |
|||||
2 กัลปพฤกษ์/Cassia bakeriana.
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cassia bakeriana.,Craib.
|
|||||
ไม้มงคลนาม สัญลักษณ์แห่งชัยชนะ
ดอกเป็นช่อไม่แตกแขนงมักจะออกหลังใบ ออกตามกิ่งก้านตลอดกิ่ง อาจห้อยลงเป็นพวง หรือชูช่อตั้งขึ้น ช่อดอกยาว10-20ซม.ก้านดอกยาวประมาณ 6ซม.กลีบดอกสีชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นจางจนเกือบขาว ระยะนี้บริเวณโคนต้นจะเต็มไปด้วยกลีบดอกสีขาวที่ทยอยร่วงหล่นจากต้น กลีบรองกลีบดอกยาว 9-12 มม.กลีบดอกแยกจากกันเป็นอิสระแต่ละกลีบมีขนาดเกือบ เท่ากัน เป็นรูปไข่ ขนาดกว้าง1.2-2.5 ซม.ยาว 3.5-4.5 ซม. ปกคลุมด้วยขนละเอียดบางๆทั้งสองด้าน เกสรเพศผู้ 3 อันยาวกว่าอันอื่นๆ ก้านเกสรตรงกลางพองออก จะออกดอกหลังผลัดใบพร้อมกับผลิใบใหม่ |
|||||
3 กาฬพฤกษ์/Cassia grandis ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cassia grandis Linn.f.
|
|||||
ไม้ต้นสูงประมาณ20เมตร โคนต้นมีพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลมเปลือกสี ดำแตกเป็นร่องลึกกิ่งอ่อนสีน้ำตาล ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกตรงข้ามเป็นคู่ๆมีใบย่อย10-20คู่ ใบอ่อนสีแดงอมน้ำตาล ใบเกลี้ยงมันหลังใบมีขนนุ่มโคนใบและปลายใบมนกลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบมีขน ช่อ ดอกออกตามกิ่งข้าง ช่อหนึ่งมีประมาณ20ดอก ดอกขนาดเล็ก กลีบรองดอกกลมมีขน ขณะบานกลีบจะกระดกกลับ กลีบดอกรูปไข่ ขนาด1.2-1.6 ซ.ม ดอกบานใหม่จะออกป็นสีออกแดง แล้วเปลี่ยนเป็นชมพูและส้ม ดอกมีกลิ่นหอม ผล เป็นฝักกลมแข็งสีดำ รูปทรงกระบอก เนื้อในฝักสีขาว เมื่อผลแห้งเนื้อในฝักจะซ้อนกันเป็นชั้นๆ ยาว 20-40 ซม.กว้าง 2-4 ซม.เมล็ดกลมรี แบน มี 20-40 เมล็ด ระยะออกดอก : เดือน กุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม ขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ด |
|||||
4 ชัยพฤกษ์/Cassia javanica ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cassia javanica L.
|
|||||
ไม้ ต้นผลัดใบสูง 15เมตร เรือนยอดเป็นรูปร่ม เปลือกสีน้ำตาล เมื่อยังอ่อนตามลำต้นจะมีหนาม ใบเป็นใบประกอบใบย่อย5-15คู่ ช่อดอกออกตามกิ่งเป็นช่อสั้นๆกลีบรองดอกรูปไข่ปลายแหลมสีแดง กลีบดอกรูปไข่กลับสีชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้มแล้วซีดจางลงเรื่อยๆ เกสรเพศผู้มี10อันขนาดไม่เท่ากัน ฝักกลมยาวสีดำ เกลี้ยง ขนาด20-60ซม. มีเมล็ด50-75เมล็ด เมล็ดกลมแบนสีน้ำตาลเป็นมัน ยัง มีอีกพันธุ์ที่ลำต้นไม่มีหนาม มีคู่ใบ5-12คู่และปลายใบย่อยแหลม ช่อดอกผอมบาง กลีบรองดอกสีเขียวและกลีบดอกเล็กกว่าเป็น subsp.nodosa ระยะออกดอก : เดือนกุมภาพันธ์ -เดือนเมษายน ขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ด |
|||||
5 รัตนพฤกษ์/Cassia fistula x Cassia javanica
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cassia fistula x Cassia bakeriana หรือ Cassia fistula x Cassia javanica |
|||||
6 ราชายตนพฤกษ์ หรือ ต้นเกด/Manikara hexandra
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Manikara hexandra (Roxb.) Dubard
|
|||||
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ขึ้นกระจัดกระจายในป่าดิบ บนพื้นที่ดินร่วนปนทรายใกล้ฝั่งทะเล และตามเขาหินปูน ต้นเกด มีน้ำยางขาว ขนาดความสูงประมาณ 15-25 ม. เรือนยอดแน่นทึบเป็นพุ่มกลม ลำต้น และกิ่งมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทาหรือสีคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยมหรือแตกเป็นร่องลึกตามยาว เปลือกในสีแดงอมน้ำตาลหรือชมพู
ใบ เดี่ยวออกเรียงเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับ ปลายใบหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน หนาและเกลี้ยง ดอก เดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกสั้น ออกตามง่ามใบและเหนือรอยแผลใบปลายดอกชี้ลง ดอกสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมเล็กน้อย ผลรูปกลมรีผิวเรียบ ผลสุกสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อนุ่ม รสหวาน รับประทานได้ มี 1-2 เมล็ด เมล็ดแข็งรูปไข่ สีน้ำตาลแดงเป็นมัน เนื้อไม้ใช้ทำสลักแทนตะปู สำหรับติดกระดานกับโครงเรือ ใช้ทำเครื่องมือแกะสลัก เครื่องมือเกษตรกรรม ระยะออกดอก : เดือนมกราคม-กรกฎาคม ขยายพันธุ์ : ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่งหรือแยกลำต้นที่เกิดใหม่ |
|||||
7 สุวรรณพฤกษ์/Cordia dentata
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cordia dentata Poir. ![]() ![]() |
|||||
ไม้ยืนต้น สูงไม่เกิน15เมตร กึ่งผลัดใบถ้าขาดน้ำเป็นระยะเวลานาน แต่ใบไม่ร่วงหมดทำให้เห็นเป็นไม้สีเขียวได้ตลอดปี ลักษณะลำต้นอ้วนสั้น เปลือกต้นสีน้ำตาลแตกล่อนเป็นสะเก็ดเป็นแผ่นใหญ่ ใบออกเป็นคู่ตรงข้าม เรียงเวียนกันไป สีเขียวอมเหลืองรูปไข่ป้อม เนื้อใบหยาบคายเพราะมีขนอยู่ด้านล่างใบและตามซอกแยกแขนง ปลายใบรูปมนหรือมีติ่งแหลม ดอกสีเหลืองสดหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกแบบแยกแขนงเป็นช่อย่อยเบียดกันเป็นแพ ดอกรูปกรวยกลีบดอกย่น ขนาดดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1.5ซ.ม
ผลสดแบบมีเนื้อเมื่อสุกรับประทานได้ มีรสหวาน การขยายพันธุ์ที่ขยายโดยการเพาะเมล็ดเป็นไปค่อนข้างยาก |
|||||
8 พฤกษ์/Albizia lebbeck ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Albizia lebbeck (L.) Benth.
|
|||||
ไม้ ต้นผลัดใบ สูงถึง25เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง กิ่งก้านใหญ่และบิดงอ เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกตื้นแต่หนาแน่น ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่
ดอก เป็นช่อกลมกว้าง4-7ซม.สีขาวอมเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นเหลืองอ่อน ช่อหนึ่งมี2-4ดอกผลเป็นฝักสีเหลืองอ่อนผิวบางและแบน แตกได้มี4-12เมล็ด ไม้ ใช้ในงานก่อสร้างในร่ม เปลือกไม้มีแทนนินมากใช้ในการเตรียมหนัง ยาเบื่อปลา เปลือกให้สีย้อมสีแดง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง ปลูกได้ในดินทั่วไป แสงแดดจัด ทนน้ำท่วมขัง และมลพิษ ระยะออกดอก---เดือนมีนาคม-เมษายน ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง |
|||||
9 จามจุรี/Samanea saman
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Samanea saman (Jacq.) Merr. |
|||||
จามจุรี เป็นไม้เนื้ออ่อนยืนต้นขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาแต่นำเข้ามาปลูกในบ้านเราตั้งแต่สมัยสมเด็จพระ พุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่๕
เป็นต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกว้างมาก สูงได้ถึง20เมตร เปลือกสีดำคล้ำแตกระแหงเป็นร่องสะเก็ดโตตลอดต้น ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ เรียงสลับ ยาวประมาณ 25-35 ซม. และแตกแขนงใบย่อยออกขนานกันเป็นคู่ๆ ใบแผงหนึ่งๆมีตั้งแต่ 7-10 คู่ ใบย่อยรูปกลมรี ปลายใบมน รูปใบมักโค้งเข้าหากันเป็นคู่ๆขนาดใบยาว 3-5 ซม. ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆตามยอดปลายกิ่ง ช่อหนึ่งๆมีดอกประมาณ 25-35 ดอกและมักบานพร้อมกัน ดอกสีชมพู รูปกรวยขนาดเล็กมี6กลีบ และมีเส้นเกสรผู้ยาวเป็นพู่ล้นดอก เกสรผู้ตอนบนสีชมพู ตอนล่างสีขาว ยาวประมาณ4ซม. ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เป็น ต้นไม้กลางแจ้งขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ขึ้นและเติบโตได้เร็วในดินเกือบทุกชนิด คนทางภาคเหนือนิยมปลูกไว้เพื่อเลี้ยงครั่ง เนื้อไม้ของจามจุรีมีลักษณะพิเศษคือ มีลวดลายสวย อ่อนเหนียว และเบา จึงนิยมต่อเป็นลังเพื่อใส่สินค้าอุตสาหกรรมหนัก เรียกกันว่า ลังไม้ฉำฉา ปัจจุบันนิยมใช้ในงานหัตถกรรมหลายประเภท ส่วนในงานแลนด์สเคป นิยมปลูกตามสวนสาธารณะให้ร่มเงา ระยะออกดอก---กุมภาพันธ์-มีนาคม ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด |
|||||
10 ถ่อน/Albizia procera
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Albizia procera (Roxb.) Benth. |
|||||
ไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ สูง 20-30เมตร ลำต้นเกลี้ยง เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล เป็นรอยขุยด่าง มีรูระบายอากาศทั่วไป โคนเป็นพูพอน เรือนยอดโปร่ง ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ มักพบขึ้นตาม ตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ชอบแสงแดดจัดขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด
ลักษณะใบของถ่อน เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกว้าง 0.75-2.5 ซ.ม.ยาว 2-6 ซ.ม.ขณะแตกใบอ่อน สีแดงเรื่อหรือน้ำตาลอมแดง ยอดและกิ่งอ่อนมีขน ดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่น ประกอบอยู่ในช่อแยกแขนง ตามปลายกิ่งสีขาว ผลเป็นฝักแบนเรียบผิวด้านหนึ่งสีเขียวอีกด้านหนึ่งสีน้ำตาลอมแดง เมล็ดแบนมี 6-12 เมล็ด ยอดอ่อน ใบอ่อนลวกต้มรับประทานได้ ใบใช้ในการหมักทำน้ำปลา ระยะออกดอก---เดือน สิงหาคม-ตุลาคม ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด |
|||||
11 แคแสด/spathodea campanulata
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---spathodea campanulata.P.Beauv. |
|||||
แคแสดเป็นไม้ยืนต้นกึ่งผลัดใบ ถ้าปลูกในที่แห้งแล้งมากจะผลัดใบ เป็นต้นไม้กลางแจ้งที่ปลูกง่าย และโตเร็ว ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ต้นสูงประมาณ 15-20เมตรใบเป็นใบผสมแบบขนนกพุ่มของใบหนาทึบ มีใบย่อย4-7คู่ รูปรีปลายแหลมผิวใบสากระคายมือ ดอกเป็นช่อเกิดที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งตรง กลีบดอกเป็นรูประฆัง คล้ายดอกทิวลิป สีส้มแสด ดอกขนาดใหญ่ กลีบร่วงง่าย เป็นต้นไม้ที่นิยมใช้ในงานจัดสวนมากอีกต้นหนึ่ง แคแสดจะให้ดอกตลอดปีแต่จะออกดอกมากที่สุดในฤดูหนาวในระหว่างเดือน ธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์
ผลแบนลักษณะคล้ายฝัก ปลายผลแหลม ผลแก่สีน้ำตาลดำผลแก่จะแตกเพียงด้านเดียว เมล็ดเล็กแบนมีปีก ดอกแคแสดสีสันแดงแสดสดใสออกเป็นช่อตามปลายกิ่งดอกมักบานพร้อมกันทั้งต้น ดอกตูมของแคแสดจะมีน้ำขังอยู่ภายในดอก เมื่อบีบแรงๆน้ำจะพุ่งออกมาตอนปลายดอกจึงมีชื่อสามัญอีกชื่อหนึ่งว่า Fountain Tree แค แสดเป็นต้นไม้กลางแจ้งที่ปลูกง่าย และโตเร็ว ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ระยะออกดอก : ตุลาคม-กุมภาพันธุ์ปีต่อไป ขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีเพาะเมล็ดหรือสกัดไหลที่รากโคนต้นมาชำ จะออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ4-8ปี |
|||||
12 นนทรี/Peltophorum pterocarpum
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Peltophorum pterocarpum (DC.) Backer.EX.K.Heyne
|
|||||
นนทรีเป็นไม้ต้นขนาดกลางสูงประมาณ 10-15 เมตร เป็นไม้ผลัดใบลำต้นค่อนข้างเปลาตรง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด เปลือกลำต้นเป็นสีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆตลอดไปทั่วลำต้น เรือนยอดเป็นรูปร่มหรือทรงกลมกลายๆ ตามกิ่งและก้านอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลแดงทั่วไป ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ใบรวมเป็นช่อสลับซ้ายขวา เป็นแผง ใบย่อยแตกเป็นคู่ตามก้านใบ 9-13 คู่ ช่อใบยาว 20-27 ซม. ดอก สีเหลือง เป็นช่อขนาดใหญ่มีกิ่งก้านแขนงมาก ออกตามง่ามใบตอนปลายกิ่งหรือบริเวณส่วนยอดของลำต้น ออกดอกเป็นช่อตั้งตรงสูง ยาวประมาณ 20-30 ซม.กลีบดอกป้อมบางและยับย่น กลีบรองดอกด้านนอกมีขนสีน้ำตาลแดง ประปราย เกสรเพศผู้มี10อัน
หลังจากดอกสีเหลืองโรยไปหมดแล้ว จะเกิดฝักมาแทนที่ ผลเป็นฝักแบนรูปรีปลายและโคนสอบแหลม ขนาดกว้างประมาณ 2 ซม.ยาว 5-12 ซม.สีน้ำตาลอมม่วง เมื่อแก่จัดจนแห้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ แต่ละฝักมี 1-4 เมล็ด |
|||||
13 อะราง/Peltophorum dasyrachis
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Peltophorum dasyrachis (Miq) Kurz |
|||||
ไม้ ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ผลัดใบ สูง15-30เมตร พบ ตามป่าเบญจพรรณทั่วไปที่สูงจากระดับน้ำทะเล100-500เมตร นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื้อไม่สีชมพูอ่อนถึงน้ำตาลแกมชมพู เป็นมันเลื่อม เนื้อหยาบปานกลาง ไส ตกแต่งง่าย เนื้อไม้ใช้ทำกระดานปูพื้น เครื่องเรือน และเป็นสมุนไพร ลักษณะเปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีเทาอมน้ำตาลค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆทั่วไป เปลือกในสีน้ำตาลอมแดง ตามกิ่งก้านและยอดอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม กิ่งและใบแก่เกลี้ยง เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมทึบ ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบประกอบออกตรงข้ามเป็นคู่9-13คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานแคบ8-15คู่ โคนใบสอบและเบี้ยว ปลายทางใบทู่และหยักเว้าเล็กน้อย หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจางขอบใบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายใบกระถิน อะราง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองสด ช่อดอกห้อยลง (นนทรีตั้งขึ้น) กลีบฐานดอกมี5กลีบ ขอบกลีบจะเกยทับกัน กลีบดอกมี5กลีบ รูปกลีบดอกป้อมๆ กลีบดอกย่นโคนกลีบมีขนสีน้ำตาลประปราย เกสรผู้มี10อัน ผลเป็นฝักแบนโคนและปลายฝักเรียวแหลม ภายในมีเมล็ดแบนๆเรียงตัวตามขวางของฝัก จำนวน1-4เมล็ด ระยะออกดอก : เดือนมกราคม-เดือนมีนาคม ขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ด |
|||||
14 ทองหลางลาย/Erythrina variegata
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Erythrina variegata Linn.
|
|||||
ต้นทองหลางถือว่าเป็นพืชพรรณไม้ของเทพเจ้า เรียกในภาษาสันสกฤตว่า มนทาระ มีใบย่อย3ใบเป็นเครื่องหมายของพระเป็นเจ้าทั้ง3 ใบกลางได้แก่พระวิษณุ ใบซ้ายได้แก่ พระศิวะ และใบขวาได้แก่ พระพรหม ดอกทองหลาง เรียกว่า ดอกปาริชาติ เชื่อว่าหากใครได้ดมกลิ่นแล้วก็จะระลึกชาติได้ และถ้าจะให้ทองหลางออกดอกต้องมีหญิงสาวสวยมาพูดหวานๆด้วย ต้นไม้ ในสกุลทองหลางในบ้านเรามีอยู่มากมายหลายพันธุ์ มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ผิดกันเฉพาะที่สีของดอกและลายของใบเท่านั้น เคยมีผู้ตั้งชื่อเรียกทองหลางประเภทนี้ว่า "ทองหลางใบมน"แยกชนิดไว้ เช่น ทองหลางใบมนด่าง,ทองหลางใบมนดอกขาว และทองหลางใบมนดอกแดง ซึ่งทองหลางเหล่านี้ลักษณะของใบจะผิดกับใบทองหลางที่เราใช้กินกับเมี่ยงคำ ทองหลาง ลายเป็นทองหลางใบมนชนิดหนึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อนยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 20เมตร ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมคม ลักษณะหนามโค้งคล้ายเล็บสัตว์ ปลายหนามสีม่วงคล้ำ เปลือกเป็นสีเหลืองอ่อนๆใบเป็นแบบใบรวม กลุ่มหนึ่งมีสามใบ ใบสีเขียวสด รูปใบมนปลายแหลมแบบใบโพ เส้นกลางใบและเสนแขนงใบสีเหลือง ดอกออกเป็นช่อสีแดงสดติดกันเป็นกลุ่ม ตามข้อต้นโคนใบ เวลาออกดอกจะทิ้งใบหมดต้นถ้าปลูกอยู่ในที่แห้งแล้ง ดอกออกราวเดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธุ์ ใช้กิ่งปักชำขึ้นง่ายในดินทุกประเภท นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะเป็นไม้ที่มีความสวยงาม เนื่องจากใบมีลวดลายสีโดดเด่นน่ามอง ระยะออกดอก---เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์ : ด้วยการปักชำกิ่งและตอนกิ่ง |
|||||
15 ทองกวาว/Butea monosperma
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Butea monosperma (Lam.) Taub.
|
|||||
ต้น ทองกวาวมีความเชื่อทั้งพุทธและฮินดู ชาวพุทธในอินเดียถือว่าเป็นไม้พระพุทธเจ้า ในตำนานอดีตพุทธเจ้ากล่าวว่า พระเมธังกรพุทธเจ้าตรัสรู้ ณ โคนต้นทองกวาว ส่วนชาวฮินดูในอินเดียถือว่าเป็นไม้พระจันทร์ มีตำนานว่าเกิดจากขนเหยี่ยวกำซาบด้วยน้ำโสม
ดอก ออกเป็นช่อ ดอกมีรูปร่างคล้ายดอกถั่ว หรือดอกแค สีแดงอมส้มสดใสสวยงามมาก ดอกจะออกเป็นช่อเรียงติดกันแน่นตามกิ่งส่วนยอด ดอกช่อนึงยาวประมาณ 2-3ฟุต เมื่อออกดอกมักทิ้งใบเกือบหมด บางต้นอาจไม่มีใบเหลืออยู่เลยมีแต่ดอกเต็มต้น |
|||||
16 ทองกวาวดอกเหลือง/Butea monosperma
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Butea monosperma (Lam.) Taub.
|
|||||
เป็นต้นไม้ต้นเดียวกันกับทองกวาวนั่นแหละชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกัน ไม่ได้เขียนผิด แต่ผ่าเหล่ามาเป็นสีเหลือง ถ้าจะปลูกด้วยเมล็ดอาจกลายเป็นต้นสีแดงได้ ถ้าอยากได้ดอกสีเหลืองต้องตอนกิ่งเอา ในประเทศไทยจะพบเห็นทองกวาวเหลืองได้ตามป่าผลัดใบหรือปลูกตามริมข้างทาง ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นไม้ต้น สูง 8-15เมตร ลำต้นมักคดงอ ใบประกอบแบบใบย่อย3ใบรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือเกือบกลม ปลายใบทู่ โคนใบไม่สมมาตร ระยะออกดอก : เดือนมกราคม-เดือนมีนาคม ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง |
|||||
17 ปีบ/Millingtonia hortensis
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Millingtonia hortensis.,Linn.f. |
|||||
เป็นต้นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงทะมึนได้ถึง 25 เมตร เปลือกขรุขระสีเทาเนื้อหยุ่นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น มีใบย่อยหลายใบ ใบย่อยรูปไข่ ขนาดความกว้าง2--3.5ซม.ยาว3-5.5ซม. ขอบใบเรียบหรือหยักห่างๆ โคนใบมนปลายใบแหลมเป็นติ่งยาว ดอก เป็นช่อ เกิดที่ปลายกิ่งห้อยลงสีขาวมีกลิ่นหอม กลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ6ซม.ปลายเป็นรูปถ้วยแยกเป็น5กลีบ ดอกบานตอนกลาง คืน ในตอนเช้าดอกที่บานก็จะร่วงหล่นเกลื่อนอยู่ใต้ต้น ผล เป็นฝักแบนขนาดกว้าง2ซม.ยาว30ซม.เมื่อฝักแก่จะแตกออกทำให้เมล็ดปลิวกระจายไป ได้ไกล เมล็ดแบนมีปีกบางๆปลิวไปตามลมได้ ขนาดเมล็ดรวมปีกกว้างประมาณ1.3ซม.ยาว2.5ซม. ไม้ต้นนี้จัดเป็นไม้ประดับแบบไทยๆที่สวยงาม ดอกหอมมาก ชอบอากาศชุ่มชื้นแต่มีความทนอากาศแห้งแล้งได้ดีปลูกง่ายโตเร็ว แต่รากปีบไม่หยั่งลึกลงไปในดินเหมือนต้นไม้ใหญ่อื่นๆ รากไปตามผิวดิน และจะแตกต้นใหม่ขึ้นสามารถสกัดรากไปปลูกใหม่ได้ ฉะนั้นใครปลูกปีปไว้ใกล้บ้านอย่าปล่อยให้สูงตระหง่านนักเพราะจะทานแรงลมพายุไม่ไหว ต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งบ่อยๆจะทำให้ทรงต้นสวยด้วย ถ้าจะกล่าวถึงปีปในแง่ที่เป็นสมุนไพร ตำรับยาบางขนานของเราคงจะได้รับอิทธิพลมาจากหมอยาทางฝั่งประเทศลาวในสมัยโบราณด้วยทางโน้นมีคติเชื่อว่า สมุนยาที่มีชื่อเรียกปู่เจ้านำหน้านั้น เป็นต้นพืชอันศักดิ์สิทธื์ สามารถนำมาปรุงยารักษาโรคร้ายให้หายได้ หมอยาเรียกต้นปีปว่า "ปู่เจ้าครองดง " ระยะออกดอก : ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม การขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด สกัดต้นอ่อนจากราก |
|||||
18 ปีบทอง/Radermachera ignea
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Radermachera ignea (Kurz) Steenis.
|
|||||
ปีบ ทองเป็นไม้ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ความสูงประมาณ 6 - 14 เมตร เรือนยอดหนาทึบใบเป็นใบประกอบแบบขนนก2-3ชั้น ใบย่อยรูปไข่หรือใบมน ขนาดกว้าง2.8-4.4ซม.ยาว6-12ซม.ปลายใบแหลมยาว ขอบใบเรียบ ดอกสีเหลืองเข้มสวยซะไม่มีล่ะออกเป็นช่อสั้นๆเป็นกลุ่ม ตามลำต้นและกิ่งก้าน ช่อหนึ่งมี5-10ดอกบานไม่พร้อมกัน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ที่ฐานและค่อยๆโป่งพองออกที่ตอนกลางและปลายกลีบดอก ปลายกลีบแยกเป็น5แฉก ผลเป็นฝักกลมยาวเรียวคล้ายฝักถั่วฝักยาว ความยาวประมาณ40ซม.ผิวเกลี้ยง ฝักแก่จะแตกเป็น2ซีกบิดงอ เมล็ดมีปีกบางๆทางด้านข้างของเมล็ด ปีบทองชอบขึ้นอยู่ตามเขาหินปูนค่อนข้างชุ่มชื้น โดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศ มักไม่พบขึ้นเองทางภาคอื่น นอกจากจะนำไปปลูกประดับจัดสวน มีเขตการกระจายพันธุ์จากพม่าตอนใต้จนถึงเกาะไหหลำ บาง ทีการรู้จักแหล่งกำเนิดทางธรรมชาติก็จะเป็นการพิจารณาได้อีกทางสำหรับการ กำหนดต้นไม้ที่จะนำไปปลูกเพราะบางทีผิดที่ผิดทางดูแลไม่ดีก็อาจทำให้เกิดการ สูญเสียขึ้นได้ เพราะไม่ค่อยน่าจะสบายใจเท่าไหร่นักกับการเคลื่อนต้นไม้ขนาดใหญ่จากที่หนึ่ง ไปที่หนึ่งโดยไม่ได้ศึกษาธรรมชาติของต้นไม้ต้นนั้นอย่างถ้วนทั่ว ทำให้รักษาเอาไว้ไม่ได้ ตายไปอย่างน่าเสียดายนักต่อนัก ดอกของปีบทองสวยงามมากเวลาออกดอกจะทิ้งใบหมดต้นเหลือเฉพาะดอก ทรงต้นก็สวย เรือนพุ่ม ทึบหนามีน้ำหนักดี จึงนิยมนำมาใช้จัดสวน ราคาพอรับได้ คุ้มค่า ระยะเวลาออกดอก : มกราคม-เมษายน แต่บางที่จะออกดอกล่าไป คือ ระหว่าง มิถุนายน-กรกฏาคม การขยายพันธุ์ :โดยการเพาะเมล็ด |
|||||
19 ประดู่ป่า/Pterocarpus macrocarpus
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Pterocarpus macrocarpus Kurz
|
|||||
ต้นประดู่ในเมืองไทยมี 2 พันธุ์ คือประดู่ป่าPterocarpus macrocarpus และประดู่บ้าน หรือประดู่อังสนา หรือประดู่กิ่งอ่อน (Ptercarpus indicus ) ประดู่บ้านคือต้นที่เรามักได้เห็นและได้กลิ่นหอมไปทั่วบ้านทั่วเมืองดอกดกๆนั่นแหละ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนและสถานที่ราชการ ประดู่บ้านต้นนี้ช่างไม้หรือช่างทำเฟอร์นิเจอร์จะเรียกเนื้อไม้ของประดู่ บ้านนี้ว่า"ประดู่ลาย"เพราะเนื้อไม้ที่มีลวดลายงดงามมากที่เดียว ต้น ประดู่ป่ากับต้นประดู่บ้านซึ่งมีอายุเท่ากัน ต้นประดู่ป่าจะมีปุ่มประดู่มากกว่า ต้นประดู่บ้านอยู่หลายปุ่ม แต่ปุ่มประดู่บ้านจะมีลวดลายสะสวยกว่าลวดลายของปุ่มประดู่ป่า สำหรับความงามของปุ่มประดู่ท่านว่า ปุ่มมะค่านี่ชิดซ้ายไปเลย และส่วนตรงนี้จะกลายเป็นเนื้อไม้ที่มีค่ายิ่งในวงการหัตถศิลปและศิลปกรรม ประจำชาติไทย |
|||||
20 ประดู่บ้าน/Pterocarpus indicus
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Pterocarpus indicus Willd.
|
|||||
ประดู่ป่ากับประดู่บ้านมักสับสนกัน สังเกตุที่ดอกของประดู่ป่าดอกจะออกเป็นช่อ ที่ก้่านช่อไม่แตกแขนงช่อยาว5-9ซมออกในซอกใบ. แต่ดอกประดู่บ้านดอกมีก้านช่อที่แตกแขนงออกที่ปลายกิ่งยาว15-30ซม อันนี้ดูความแตกต่างตอนออกดอก ระยะดอกบานพร้อมกันประมาณช่วง : เดือน มีนาคม-เดือนเมษายน |
|||||
21 ประดู่แดง/Phyllocarpus septentrionalis
![]() ![]() ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Phyllocarpus septentrionalis ( Donn.) Smith
ชื่อพ้อง ---none ชื่อสามัญ ---Monkey Flower Tree, Fire of Pakistan ชื่ออื่น ---วาสุเทพ ชื่อวงศ์ ---LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE ( FABACEAE ) ถิ่นกำเนิด ---อเมริกาใต้ เขตกระจายพันธุ์ ---ประเทศในเขตร้อน ![]() ![]() |
|||||
ประดู่แดงเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณหุบเขามอนตากัว ทางทิศตะวันออกของประเทศกัวเตมาลา ในอเมริกาใต้ สำหรับประเทศไทย พระยาอายุรเวทวิจักษณ์ (ดร.เอ็ม คาทิว) ชนชาติอังกฤษ แพทย์ในราชสำนัก รัชกาลที่6 ได้นำมาปลูกเป็นคนแรก โดยปลูกไว้ที่บ้านชมเขา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีจำนวน 4ต้น ต่อมาได้ขยายพันธุ์ไปอย่างกว้างขวาง
ประดู่แดง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร ทรงพุ่มกิ่งก้านย้อยห้อยลง เปลือกต้นสีเทาขาวให้ใบและดอกดก ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 6-10 คู่ ใบที่อยู่ส่วนปลายเป็นคู่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ใบรูปไข่เกลี้ยง สีเขียวอ่อนกว้าง 2.5-7ซม.ยาว3-7ซม. ผลัดใบในฤดูหนาวราวเดือนธันวาคมถึงมกราคม ออก ดอกตอนใบร่วงหมด ดอกออกเป็นช่อกระจุกใหญ่ตามด้านข้างของกิ่ง กลีบรองกลีบดอก4กลีบสีแดง กลีบดอก5กลีบสีแดงคล้ำหรือสีเลือดหมู เกสรสีแดงขนาดยาวไม่เท่ากันไม่มีกลิ่นหอม ดอกจะบานเต็มต้นราว2สัปดาห์แล้วจะร่วงหมด ผล เป็นฝักแบนรูปร่างคล้ายใบ เปลือกผลจะมีเส้นนูนคล้ายเส้นใบปรากฏอยู่ มีเมล็ด1-2เมล็ดตรงกลางผล เมล็ดมีลักษณะแบน ขนาดของผลกว้าง1-3ซม.ยาว5-8ซม. นิยม ปลูกเป็นไม้ประดับสวนหรือไม้ประดับให้ร่มเงาทั่วไป ประดู่แดงขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด จะให้ดอกเมื่ออายุประมาณ 10-15ปี หรืออาจเร็วกว่านั้น2-3ปี แต่ก็มีน้อยมาก ระยะออกดอก---เดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ผลแก่เดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม ขยายพันธุ์---เมล็ด |
|||||
22 พญาสัตบรรณ/Alstonia scholaris
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Alstonia scholaris., R.BR. |
|||||
พญาสัตบรรณเป็นไม้ป่ายืนต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 15-25 เมตร เนื้อไม้ของพญาสัตบรรณมีค่ามากเกือบทัดเทียมกับราคาไม้สัก ทีเดียว เนื้อไม้สีขาวอมเหลืองค่อนข้างเหนียวและทนทานมาก ใช้ประโยชน์ในทางก่อสร้างและทำเครื่องเรือน จึงทำให้ พญาสัตบรรณถูกตัดนำไปใช้จำนวนมากเหลือน้อยลง
เป็นไม้ต้นลักษณะลำต้นเปลาตรงสูงใหญ่ทรงพุ่มแผ่ แตกกิ่งก้านสาขามากตามเรือนยอด ใบสีเขียวเข้มรูปมนรี ปลายใบมนโคนใบแหลม ก้านใบสั้น ขนาดของใบยาวประมาณ8-15ซมออกใบเป็นกลุ่มรอบกิ่ง กลุ่มละ7ใบกลุ่มใบต่อเนื่องกันตามกิ่งคล้ายฉัตร ดอก เป็นช่อออกตามปลายกิ่ง รวมกันเป็นกลุ่มหนาแน่น ดอกมีขนาดเล็กสีขาวอมสีเหลืองอ่อน ลักษณะดอกคล้ายดอกเข็ม ดอกช่อหนึ่งๆจะติดกลุ่มเป็นพุ่มย่อยๆช่อละ7พุ่มเหมือนกันทุกช่อ และมักบานสพรั่งพร้อมกันสวยงามน่าดู มีกลิ่นหอมแรง ผล ออกเป็นคู่รูปกลมยาวเหมือนฝักถั่วขนาด 0.2-0.3 ซ.ม.ยาว 21-56 ซ.ม. เกลี้ยงแตกได้เป็น2สวน เมล็ดมีขนที่ปลายทั้ง2ด้าน สีขาวนวลเป็นกระจุกปลิวตามลม กลิ่นหอมของดอกพญาสัตบรรณ จะหอมชื่นใจมากถ้าอยู่ในป่า เรือนยอดอยู่สูงลิบ ทำให้กลิ่นเจือจางด้วยสายลม ประกอบกับทรงต้นที่สูงตระหง่านงามสง่า ครั้งหนึ่งในอดีตน่าจะประมาณปี38-40ถ้าจำไม่ผิด มีผู้นิยมนำพญาสัตบรรณ ชลอจากป่าเข้ามาใช้ในงานภูมิทัศน์ หรูหราเป็นหน้าเป็นตามาก ต้นเล็กต้นน้อยขายได้หมด มีพวกบ้านจัดสรรเป็นลูกค้าสำคัญ แล้วก็ กทม ถนนในกรุงเทพฯจำไม่ได้อีกละว่าสายไหน ปลูกพญาสัตบรรณเป็นแถวเป็นแนวด้วยต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง1"-2" บางที่ก็ใช้ 6"-10"ก็มี ทีนี้เวลาผ่านไปได้ระยะออกดอกพร้อมกัน ความที่กลิ่นหอมแรงและอยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมากแถมต้นก็ยังสูงไม่มากทำให้หลายคนหรือทุกคนได้กลิ่นแล้วเกิดอาการวิงเวียน ที่ว่าหอมก็เป็นเหม็นไปหมด อยู่ในบ้านมีแค่ต้นเดียวก็เหลือจะทนไหนจะระบบรากที่รุนแรงเพราะเป็นไม้ใหญ่โตเร็ว ทำให้ วันหนึ่งพญาสัตบรรณที่งามสง่าก็ไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป
ระยะออกดอก : เดือนกุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์ : ด้วยการเพาะเมล็ด |
|||||
23 ตีนเป็ดน้ำ/Cerbera odollam
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cerbera odollam Gaertn
|
|||||
ไม้ต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร ทรงร่ม เปลือกนอกเรียบสีเทา มีช่องอากาศกระจายทั่วไป เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อนมีน้ำยางขาวข้นตามส่วนต่างๆ
ใบ เดี่ยวเรียงเวียนสลับ ออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่งใบรูปใบหอกกลับแกมรูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูป ไข่ โคนใบสอบรูปลิ่มแคบ ขนาดของใบ 4-7x15-30ซม. เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวคล้ำเป็นมัน ด้านล่างสีซีดกว่า ดอก แบบช่อกระจุกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งแต่ละช่อมีหลายดอก ขนาดของดอกประมาณ 4ซม. สีขาวตรงกลางสีเหลือง โคนดอกติดกันเป็นหลอด กลีบดอก5กลีบแยกกัน ผลสีเขียวสุกสีแดงเป็นมัน ชอบขึ้นตามริมน้ำริมคลองและที่ลุ่มมีน้ำท่วมถึง ระยะออกดอก---ตลอดปี ขยายพันธุ์---ด้วยเมล็ดและกิ่งตอน |
|||||
24 ตีนเป็ดทราย/Cerbera manghas
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cerbera manghas L. |
|||||
ไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง5-10เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว มักแตกกิ่งต่ำคล้ายไม้พุ่ม เปลือกนอกเรียบสีเทา มีช่องอากาศกระจายทั่วไป เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน
ใบเดี่ยวเรียงสลับออกแน่นใกล้ปลายยอด รูปไข่กลับแกมขอบขนาน ขนาดของใบ 3-6x10-25ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ดอกแบบช่อกระจุก ออกตามปลายยอด ช่อดอกโปร่งแข็ง แต่ละช่อมีหลายดอก ดอกย่อยสีขาวปากหลอดสีชมพูปนแดงเข้ม กลีบเลี้ยงแยกเป็น5กลีบขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกเมื่อตูมจะซ้อนกันเวียนเป็นเกลียว ผลแบบผลเมล็ดเดียวแข็งรูปไข่หรือรูปรีขนาด3-5x5-8ซม. เมื่อสุกสีแดงปนดำ เนื้อนิ่ม เมล็ดแข็งน้ำหนักเบา นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกและผลมีความสวยงาม แต่ผลมีcardiac glycosideมีความเป็นพิษสูงและก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ระยะออกดอกและผล : เกือบตลอดปี ขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ด |
|||||
25 ตีนเป็ดแดง/Dyera costulata
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Dyera costulata (Miq.) Hook.f.
|
|||||
ไม้ยืนต้นโตเต็มที่ สูงได้ถึง 60 เมตร.ใหญ่เอาการเลยทีเดียว และ ในบางประเทศในเขตกระจายพันธุ์อาจสูงได้ถึง 80 เมตร ลักษณะของต้นตีนเป็ดแดง ทุกส่วนมีน้ำยางขาว กิ่งเป็นเหลี่ยม ใบเรียงเป็นวงรอบ รูปรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 8-20 ซม. ปลายแหลมสั้น ๆ หรือกลม เส้นแขนงใบตรง จำนวนมาก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ช่อย่อยแบบช่อซี่ร่ม ออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ โคนไม่มีต่อม ดอกรูปกงล้อ สีขาว มี 5 กลีบ เรียงซ้อนทับ ผลออกเป็นฝักคู่ โค้งกางออก ยาว 14-35 ซม. กว้าง 2-3 ซม. เมล็ดรูปรี ยาวประมาณ 5 ซม. รวมปีกบาง ๆ
ขึ้นตามป่าดิบชื้นความสูงระดับต่ำ ๆ น้ำยางทำให้ระคายเคือง เรียกว่า ยางเยลูตง เคยเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตหมากฝรั่ง |
|||||
26 บุหงาตันหยง/Caesalpinia coriaria ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Caesalpinia coriaria.,Willd.
|
|||||
ตันหยง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีเนื้อไม้เป็นประโยชน์ในการก่อสร้างหลายอย่างเป็นไม้พุ่มใหญ่แตกกิ่งก้าน สาขามาก ลำต้นและกิ่งเลี้ยวลดอ่อนช้อยดูคล้ายต้นไม้ดัด ใบเล็กคล้ายใบมะขาม
ระยะเวลาออกดอก : ปีละครั้งระหว่างเดือนกรกฏาคม-ถึงเดือนสิงหาคม |
|||||
27 สุพรรณิการ์/Cochlospermum religiosum
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cochlospermum religiosum.,Alston
|
|||||
เป็นต้นไม้ อีกต้น ที่มีดอกและยอมรับในความเหลืองมากๆเหลืองจริงๆ เวลาออกดอกต้นไม่มีสีเขียวปนเลย เพราะเวลาก่อนออกดอกจะทิ้งใบหมดทั้งต้น แล้วออกดอกพรึ่บดอกในช่อจะบานทีละดอกนั่นแหละแต่เพราะดอกดกมากจึงทำให้เห็น เป็นอย่างนั้น
สุพรรณนิการ์หรือฝ้ายคำต้นนี้จะเป็นดอกลา คือกลีบดอกบางชั้นเดียว ขอบดอกหยักและไม่ซ้อน พบตามป่าแห้งแล้งของไทย เช่นที่วัดเขาพระ อำเภอ อู่ทอง จังหวัสุพรรณบุรี ช่วงเดือน มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ ไปเจอสุพรรณิการ์ออกดอก เหลืองไปทั้งเขา ตามโคนต้นก็เต็มไปด้วยกลีบดอกบางสีเหลืองที่ร่วงหล่นอยู่ เห็นแล้วสุดประทับใจ ใครอยากเห็นก็ไปตามช่วงเวลาที่บอก แล้วจะรู้ว่าสามัญนามที่ได้มาไม่ได้ส่งเดช ลักษณะของสุพรรณิการ์ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง7-15เมตร ใบเดี่ยวก้านใบยาว ออกตามข้อต้นหรือกิ่ง ใบรูปใบมนปลายเว้าเป็น5แฉกมองคล้ายใบไม้แฝด5ใบรวมอยู่ในใบเดียวกัน ขนาดของใบกว้างประมาณ15ซม.ยาว20ซม. ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่กระจายที่ปลายกิ่งส่วนยอด ดอกสีเหลืองสดขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ6ซม.มี5กลีบมีเกสรเพศผู้ เป็นละอองสีเหลืองอยู่กลางดอก เมื่อบานกลีบดอกจะงองุ้มเข้าหากัน มีลักษณะคล้ายถ้วย ช่อดอกหนึ่งๆยาวประมาณ30-45ซม.ผลกลมเป็นพู เมื่อแก่จะแตกออก3-5พู ภายในผลจะมีเส้นใยคล้ายฝ้ายสีขาว เมล็ดสีดำ การขยายพันธุ์โยการเพาะเมล็ด ปักชำและตอนกิ่ง แต่จะนิยมเพาะเมล็ดมากกว่าวิธีอื่น เมล็ดใหม่มีเปอร์เซนต์การงอกสูง 80-90% ปกติจะออกดอกเมื่ออายุ3-5ปี แต่บางทีจะออกดอกเมื่อมีอายุตั้งแต่1ปีขึ้นไป ชอบดินร่วนซุย ความชื้นปานกลาง แสงแดดจัดต้องการน้ำปริมาณปานกลาง รดน้ำ2-3วันต่อครั้ง ระยะเวลาออกดอก : มกราคม - กุมภาพันธ์ การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด ปักชำและตอนกิ่ง |
|||||
28 สุพรรณิการ์ดอกซ้อน/Cochlospermum regium
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Cochlospermum regium(Mart. & Schrank) Pilg.
|
|||||
คุยเรื่องดอกลาไปแล้วต้องพูดถึงดอกซ้อนด้วยเดี๋ยวว่าไม่เต็มใจ เป็นไม้ผลัดใบเหมือนกัน แต่ขนาดเล็กกว่า สูงประมาณ 3-12 เมตร ในขณะที่ฝ้ายคำดอกลาสูงใหญ่ขนาด 7-15 เมตร และดอกไม่มีกลิ่น ดอกลามีกลิ่นนะ แต่ไม่โดดเด่นขนาด
พูดได้ว่าหอมหรือเหม็น เพราะความหอมของดอกไม้นี่พูดยาก ชอบก็ว่าหอม ไม่ชอบก็ว่าเหม็น แล้วแต่รสนิยม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเดียวกัน อีกอย่างที่ลืมพูดถึงคือ ผลของทั้งสองชนิด กลมเป็นพู เมื่อแก่จะแตกออก3-5พู ภายในผลจะมีเส้นใยคล้ายฝ้ายสีขาว เมล็ดสีดำรูปไต เหมือนกัน
ระยะเวลาออกดอก : มกราคม - กุมภาพันธ์ การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด ปักชำและตอนกิ่ง |
|||||
29 สาละลังกา/Couroupita guianensis
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Couroupita guianensis Aubl.
|
|||||
ต้น นี้หลายคนคงมีความสับสนระหว่าง สาละอินเดีย กับ สาละลังกา ว่าต้นไหนที่มีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ใบของต้นไหนที่ร่วงเองในวันพระ นำไปบูชาแล้วเกิดศิริมงคล ต้นไหนคือสาละลังกา และต้นไหนคือสาละอินเดีย |
|||||
30 สาละอินเดีย/Shorea robusta
ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Shorea robusta Roxb. |
|||||
พบ ในประเทศเนปาล และพื้นที่ทางเหนือของประเทศอินเดีย มักขึ้นเป็นกลุ่ม ในบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น พบมากในลุ่มน้ำยมุนา แถบแคว้นเบงกอลตะวันตก และแคว้นอัสสัม
ชาว อินเดียเรียกกันว่าต้นซาล ในภาษาบาลีเรียกว่า"มหาสาละ" เป็นไม้ต้นสูง 5-25เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรงเปลือกสีเทาแตกเป็นร่องลึก เป็นสะเก็ดทั่วไป ทรงต้นเป็นพุ่มทึบ ปลายกิ่งมักลู่ลง ใบ เดี่ยว ดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง โคนใบเว้า ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมันขอบใบเป็นคลื่นดอก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อสั้นๆตามปลายกิ่งและง่ามใบ มีกลิ่นหอม กลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ 5กลีบ ผล เป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก บนแต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก 10-15 เส้น ชอบขึ้นในดินลูกรัง ที่ชุ่มชื้นตามธรรมชาติมักชอบขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม(เอาละ่สิทีนี้จะปลูกต้นเดียวคงไม่ได้แล้วเดี๋ยวไม่มีเพื่อน เฉาตาย)
คงหายสับสนและพอจะเห็นหน้าตากันแล้ว ทั้งรูปทั้งต้นจริงค่อนข้างหายากอยู่เหมือนกันตอนนี้ รูปนี้ถ่ายมาจากสวนพฤกษศาสตร์ภาคกลางพุแค จ.สระบุรี ทีนี้ก็คงเก็บใบที่ร่วงเองในวันพระนำไปบูชาได้ถูกต้นแล้วสินะ ระยะออกดอก : ระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์-เดือนเมษายน ขยายพันธุ์ : ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง |
|||||
31 ศรีตรัง/Jacaranda filicifolia ชื่อวิทยาศาสตร์ ---Jacaranda filicifolia (Anders)D.Don
|
|||||
ศรีตรัง เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็ก สูงประมาณ 4-10 เมตร พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต ได้นำพันธุ์มาปลูกไว้เป็นต้นแรกที่จังหวัดตรัง และให้ชื่อต้นไม้นี้ในภาษาไทยว่า "ศรีตรัง"
ศรีตรังเป็นไม้เนื้อ แข็ง เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนเกือบขาว ลำต้นเปลาตรง โปร่ง แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นใบผสม ใบคล้ายใบเฟิน ใบย่อยเล็กมาก เป็นต้นไม้ที่มีคนชอบมาก เพราะเป็นไม้ยืนต้นที่มีดอกสีสวย ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตามยอดและตามโคนก้านใบตอนปลายกิ่ง สีน้ำเงินอมสีม่วงสดใสที่สุด เวลาออกดอกทิ้งใบเกือบหมดต้นจะเหลือดอกพร่างพราวตามปลายกิ่งทุกกิ่ง ลักษณะของดอก กลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาวคล้ายแตรหรือดอกผักบุ้ง แต่ละดอกเป็นรูปกรวยปลายแยกเป็น5แฉกยาวประมาณ 2.5-3.5 ซ.ม.กลีบดอกร่วงง่าย ศรีตรังเป็นต้นไม้กลางแจ้งที่ปลูกประมาณ 4-6 ปีจึงจะมีดอก ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิดที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ประกอบกับมีช่อดอกสีม่วงที่สวยงาม จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่างแพร่หลาย และเป็นพันธุ์ไม้ ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
|||||
มีต่อไม้ใหญ่ยืนต้น 2 Tipvipa..V..Suansavarose.2008-31/7/2016,17/4/2018 up date |
|||||
เอกสารประกอบ,อ้างอิง,แหล่งที่มา
---หนังสือ ดอกไม้ และประวัติไม้ดอกเมืองไทย จาก ชุดธรรมชาติศึกษา โดย วิชัย อภัยสุวรรณ 2532 ---หนังสือพรรณไม้ในสวนหลวง ร.๙เล่ม 2 (2542)บ.อมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) ---ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ BGO Plant Databases, The Botanical Garden OrganizationOrganization http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_page.asp ---The International Plant Names Index and World Checklist of Selected Plant Families 2017. Published on the Internet at http://www.ipni.org and http://apps.kew.org/wcsp/ ---ตีนเป็ดแดง-สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ) (Concise Encyclopedia of Plants in Thailand) http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87&typeword=group ---Check for more information on the species: |