สมาชิก




ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
 

เมนู

หน้าแรก

รวมรูปภาพ

เว็บบอร์ด

สนทนาคนรักต้นไม้

 

บทความ

หิน-หินเทียม

สารพัดต้นไม้จัดสวน

ไม้ประดับเพื่อการจัดสวน

ปลูกต้นไม้มงคล

เกี่ยวกับเรา

สวนสไตล์ต่างๆ

ต้นไม้ประจำจังหวัด ภูมิสัญญลักษณ์ของเมือง

มหัศจรรย์โลกพฤกษา

ว่าด้วยเรื่อง.....ดิน....และ..ปุ๋ย

พืชจัดสวนมีพิษที่ควรระมัดระวัง

เปลี่ยนสวนเก่าให้เป็นสวนใหม่

จัดสวนพื้นที่ขนาดใหญ่

จัดสวนด้วยตัวเอง

ชื่อนั้นสำคัญไฉน

การทำบ่อเลี้ยงปลา และระบบกรองรักษาคุณภาพน้ำอย่างง่าย

มุมสวนสวยสำหรับคุณ

ในนี้มีอะไรเยอะแยะ

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/02/2008
ปรับปรุง 28/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 17,273,149
Page Views 23,416,536
 
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

ต้นไม้ในป่า11

ต้นไม้ในป่า11

ต้นไม้ในป่า 11

For information only-the plant is not for sale.

1 นกขมิ้น/Aristolochia grandis 35 โมกหอม/Chonemorpha fagrans
2 นมควายน้อย/ Uvaria hahnii 36 ย่านขี้ผึ้ง/Sarcolobus carinatus
3 นมชะนี/Artabotrys burmanicus 37 ย่านงด/Poikilospermum suaveolens
4 นมช้าง/Uvaria cordata 38 ย่านเลือด/Fissistigma rubiginosum
5 นมแมวเขียว/Cyathostemma hookeri 39 ศรีจันทรา/Rosa helenae
6 นมแมวช่อ/Cyathostemma viridiflorum 40 ส้มขี้มอด/Embelia subcoriacea
7 นมแมวแดง/Cyathostemma argenteum 41 ส้มลม/Aganonerion polymorphum
8 นมเสือ/Dasoclema siamensis 42 ส้มสันดาน/Cissus hastata Miq.
9 น้ำเต้าน้อย/Cythostemma micranthum 43 ส้มเสี้ยวเถา/Bauhinia lakhonensis
10 น้ำเต้ายาน/Cyathostemma longipes  44 สร้อยสยาม/Bauhinia siamensis
11 โนรีเกาะช้าง/ Hiptage monopteryx 45 สวาด/Caesalpinia bonduc
12 โนรีปันหยี/Hiptage detergens 46 สะแกวัลย์/Calycopteris floribunda
13 บุหงาเถา/Friesodielsia discolor 47 สะบ้า/Entada rheedii
14 บุหรงช้าง/Dasymaschalon gran diflorum 48 สะบ้าลาย/Mucuna interrupta
15 บุหรงดอกทู่/Dasymaschalon obtusipetalumJing 49 สะพลี/Cyathostemma
16 บุหรงสุราษฏร์/Dasymaschalon blumei var.
50 สาลีแก่นใจ/Capparis zeylanica
17 ปอเกี๋ยน/Bauhinia ornata Kurz var. burmanica 51 สังวาลย์พระอินทร์/Cassytha filiformis
18 ผักบุ้งขัน/ Ipomoea asarifolia 52 สังวาลย์พระอินทร์/Hoya ovalifolia
19 ผักบุ้งแดง/Stictocardia veraviensis 53 สังวาลย์พระอุมา/Hoya diversifolia
20 ผักบุ้งทอง/Merrimia tuberosa  54 สามพันตา/Bridelia tomentosa
21 ฝนแสนห่า/Argyreia capitiformis 55 เสี้ยวแก้ว/Bauhinia nervosa
22 พญายูงทอง/Aristolochia littoralis 56 เสี้ยวเครือ/Bauhinia harmsiana
23 แพ่งเครือ/Sphenodesme mollis 57 เสี้ยวเครือยอดแดง/Bauhinia glauca ssp.
24 มหาวิหค/Aristolochia gigantea  58 เสี้ยวตัน/Jasminum calcicola Kerr
25 มะกิ้ง/Hodgsonia macrocarpa var. capniocarpa 59 เสี้ยวผี/ Jasminum scandens
26 มะเขือแจ้เครือ/Securidaca inappendiculata 60 เสี้ยวฟ่อม/Bauhinia viridescens Desv. var.
27 มะลิเฉลิมนรินทร์/Jasminum bhumibolianum
61 แสลงพันกระดูก/Bauhnia similis 
28 มะลินวลแก้ว/ Jasminum sp "Nuan Kaeo" 62 แสลงพันเถา/Bauhinia pulla
29 มะลิย่าน/ Jasminum elongatum 63 หนามแน่ขาว/Thunbergia fragrans
30 มะลิระบำ/Jasminum laurifolium var.
64 หนามแน่แดง/Thunbergia coccinea
31 มะลิสยาม/Jasminum siamense 65 หยีคลาน/Derris heptaphylla
32 มะลิหมอคาร์/Jasminum anamense 66 หวายลิง/Flagellaria indica
33 มันเทียน/Dioscorea myriantha 67 หัวลิง/Sarcolobus globosus
34 โมกจ้าง/Chonemorpha megacalyx 68 หัวสุ่ม/Artabotrys oblanceolatus 
69 อ้อยสามสวน/Myriopteron extensum
Online Resources
---JSON (data interchange format)
---GBIF
---Encyclopaedia of Life
---Biodiversity Heritage Library
---ALA occurrences
---Google search

EPPO code---รหัสEPPOคือรหัสคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับพืช แมลงศัตรูพืช (รวมถึงเชื้อโรค) ซึ่งมีความสำคัญในการเกษตรและการปกป้องพืช รหัสEPPOเป็นระบบการเข้ารหัสที่กลมกลืนกันซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการชื่อพืชและศัตรูพืชในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบไอที
EPPO (2021) EPPO Global Database (พร้อมใช้งานออนไลน์) https://gd.eppo.int

นกขมิ้น/Aristolochia grandis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Aristolochia grandis Craib.(1914)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:92981-1
---Isotrema grande (Craib) X.X.Zhu, S.Liao & J.S.Ma.(2019)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---นกขมิ้น(ภาคเหนือ) ;[THAI: Nok khamin (Northern).]
EPPO Code---ARPSS (Preferred name: Aristolochia sp.)
ชื่อวงศ์---ARISTOLOCHIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Aristolochia grandis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ไก่ฟ้า (Aristolochiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2457


ที่อยู่อาศัย เป็นพืชเฉพาะถิ่นของดอยสุเทพ พบเฉพาะในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ในป่าดิบบริเวณริมน้ำหรือที่ชื้น ที่ระดับความสูง 750 -1,300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยมีเนื้อไม้ เลื้อยได้ไกล 2-4 เมตรใบเดี่ยวออกสลับรูปรีแกมขอบขนานขนาด 6-15 x 10-25ซม.ขอบใบเรียบมีหยักเล็กน้อย หลังใบเรียบสีเขียวเข้ม ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบยาว 3-9 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบมีดอกย่อย1-2ดอก ดอกย่อยปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 4-6 ซม.ลักษณะเป็นท่อโค้งขนานไปกับตัวดอกโคนโป่งเป็นถุงส่วนปลายแผ่กว้างขอบพับขึ้น ด้านนอกสีเดงด้านในสีเหลือง มีขนปกคลุม ผลรูปกระสวยเป็น 6 สันขนาด 4-6 x 13-18 ซม. สีเทามีขนนุ่มเมื่อแก่แตก เป็น 6 แฉก มีเมล็ดจำนวนมาก
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับขึ้นซุ้มไม้เลื้อย
สถานภาพ---เป็นพืชเฉพาะถิ่นและเป็นพืชหายาก
ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน-กรกฎาคม/สิงหาคม-กันยายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ

นมควายน้อย/ Uvaria hahnii


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ

ชื่อวิทยาศาสตร์---Uvaria hahnii (Finet & Gagnep.) J.Sinclair.(1953)
---This name is unresolved.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2448237
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms
---Basionym: Unona hahnii Finet & Gagnep.(1906)
---Desmos hahnii (Finet & Gagnep.) Merr.(1915)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---นมควายน้อย, นมควาย(ระยอง) ;[THAI: Nom khwai, Nom khwai noi (Rayong).].
EPPO Code---1UVAG (Preferred name: Uvaria.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- อินโดจีน
Uvaria hahnii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย [Achille Eugene Finet.(1863 -1913) และ Francois Gagnepain (1866-1952 )สองนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส.]และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย James Sinclair (1913–1968) นักพฤกษศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ ในปีพ.ศ.2496
ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดใน กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม ประเทศไทย พบขึ้นในป่าดิบแล้งทั่วประเทศ ที่ระดับความสูงไม่เกิน 400 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ไกล 5-8 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอมดำมีช่องอากาศมาก ใบรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม.ยาว 13-18 ซม.เส้นกลางใบข้างบนเป็นร่องข้างล่างเป็นสัน มีขนหนาแน่นทั้งสองด้านใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันด้านล่างสีอ่อนกว่าดอก เดี่ยวออกตรงข้ามใบ ดอกสีเขียวเมื่อบานจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองกลิ่นหอมอ่อนๆ มีใบประดับ 1-2 ใบ ผลกลุ่ม มีผลย่อย 10-22 ผลรูปทรงกระบอกขนาด กว้าง 1.5 ซม.ยาว 2-2.5 ซม.ผลอ่อนสีเขียวผลแก่สีส้มมีเมล็ด 8-12 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลกินได้รสหวาน
-ใช้เป็นยาไม้กับรากต้มกินแก้ไข้กลับจาการกินของแสลงรากบำรุงน้ำนม แก้โรคผอมแห้งสำหรับผู้หญิงหลังคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-เมษายน/
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด 

นมชะนี/Artabotrys burmanicus


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ

ชื่อวิทยาศาสตร์---Artabotrys burmanicus A.DC.(1832)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2653254
---Ropalopetalum uniflorum Griff.(1854.)(Unresolved.)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---นมชะนี (ประจวบคีรีขันธ์) ;[CHINESE: Miǎn yīng zhǎo.];[MYANMAR: Ngabye shin, Nyane, Ta daing hmwe.];[THAI: Nom chani (Prachuap Khiri Khan).].
EPPO Code---BTBSS (Preferred name: Artabotrys sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย พม่า ไทย
Artabotrys burmanicus เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Griffith (1810–1845) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2375
ที่อยู่อาศัยพบในอินเดีย (อัสสัม) พม่า ไทย ในประเทศไทยพบขึ้นในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง 200-600 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ไกล 5-10 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมหนาแน่น ก่ิงแก่เรียบสีน้ำตาลเข้ม มีช่องหายใจเป็นขีดขาวตรงกลาง ใบรูปขอบขนานแกมใบหอกกว้าง 2.5-5 ซม.ยาว 8-15 ซม.ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ใบหนากรอบ ผิวใบด้านบนเป็นมันด้านล่างมีขนอ่อนนุ่ม ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตรงข้ามใบต่อจากตะขอ ตะขอยาว 1.8-2 ซม.ดอกสีเหลืองอมเขียวมีกลิ่นหอมแรงเฉพาะช่วงค่ำ ผลกลุ่ม ก้านช่อผลยาว 2-4 ซม.มีผลย่อย 10-15 ผล ผลย่อยมีก้านผลสั้นมาก รูปไข่กลับ กว้าง1.5 ซม.ยาว2-3 ซม.เปลือกเรียบปลายมีติ่งแหลม ผลแก่สีเหลืองมี 2 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธ์-มีนาคม/ผลแก่หลังจากดอกบาน 4 เดือน
ขยายพันธุ์--- เพาะเมล็ด ระยะเวลาการงอก 30-60 วัน (เมล็ดที่นำมาเพาะมีอัตราการงอกมากกว่า 80%)

นมช้าง/Uvaria cordata


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ

ชื่อวิทยาศาสตร์---Uvaria cordata (Dunal) Alston.(1931)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2834314
---Basionym: Guatteria cordata Dunal.(1817) (Unresolved)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---กล้วยหมูสัง (ตรัง), กาเลียบ, นมแมวใหญ่ (ชุมพร), ชูเบียง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), นมควาย (นครศรีธรรมราช), นมช้าง (ภาคเหนือ), นมวัว (สุราษฎร์ธานี), ลาเกาะ (มาเลย์-นราธิวาส);[BENGALI: Gagh-ranga.];[MALAYSIA: Akar pisang-pisang jantan, Bunga jari hutan (Peninsular).];[THAI: Kluai mu sang (Trang); Ka liap, Nom maeo yai (Chumphon); Chu-biang (Karen-Mae Hong Son); Nom khwai(Nakhon  Si Thammarat) ; Nom chang (Northern); Nom wua (Surat Thani); La-ko (Malay-Narathiwat).];[VIETNAM: Bù dẻ lá lớn, Nam kỳ hương, Dất lông.]
EPPO Code---UVASS (Preferred name: Uvaria sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Uvaria cordata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Michel Félix Dunal (1789–1856) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Charles Alston (1683 –1760) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตในปีพ.ศ.2474
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย เวียดนาม มาเลเซียและอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบในป่าดิบชื้นและในป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และตามป่าผสมผลัดใบ ขึ้นกระจายทั่วประเทศที่ระดับความสูง 200-1,200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เลื้อยได้ไกลถึง 5-6 (-20) เมตร กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสั้นๆสีน้ำตาลปกคลุม ใบรูปไข่ หนาแข็งและกรอบกว้าง 6-13 ซม.ยาว 13-23 ซม.เส้นแขนงใบมี 10-14 คู่ ก้านใบยาว 1 ซม.ดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 1-3 ดอก ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอดสีแดงเข้ม ดอกบานมีขนาด 4 ซม.เมื่อดอกโรยกลีบดอกทั้งหมดจะร่วงและติดกันเป็นรูปดอก ผลกลุ่มมีผลย่อย 20-35 ผล รูปร่างค่อนข้างกลมรี กว้าง 1.5-2 ซม.ยาว 2-3 ซม.ผลอ่อนสีเหลืองส้ม ผลแก่สีดำมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม 8-10 เมล็ด.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัดถึงรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลสุกกินได้ ในเวียตนามใช้ใบเป็นยีสต์ทำไวน์
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ ใบและราก ตำรายาพื้นบ้านใช้เปลือกต้น แก้ปวดเมื่อย กระษัยเส้น แก่น บำรุงเลือด ในเวียตนามใช้รักษาอาการ อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเสีย โรคไขข้ออักเสบ, ปวดหลัง
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
-อื่น ๆเส้นใยที่ได้จากเปลือกนำมาใช้ทอกระสอบ
ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน-กันยายน/ผลแก่-หลังจากดอกบาน 5 เดือน
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด 

นมแมวเขียว/Cyathostemma hookeri


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ

ชื่อวิทยาศาสตร์--Uvaria clementis (Merr.) Attan., I.M.Turner & R.M.K.Saunders.(2011)
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms.
---Artabotrys clementis Merr.(1922)
---Uva parviflora Kuntze.(1891)
---Uvaria kingii L.L.Zhou, Y.C.F.Su & R.M.K.Saunders.(2009)
---More.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:77116621-1
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---นมแมวเขียว (ทั่วไป) ;[THAI: Nom meow kheow (general).]
EPPO Code---UVASS (Preferred name: Uvaria sp.)
ชื่อวงศ์--- ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน
Uvaria clementis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Elmer Drew Merrill  (1876–1956) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดยAttan., Ian Mark Turner (born 1963) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ และ Richard M. K. Saunders (born 1964) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2554
ที่อยู่อาศัยกระจายใน ลาว กัมพูชา เวียตนาม ในประเทศไทยพบในป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่ระดับความสูง100-300เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยได้ไกล 10-25 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล กิ่งแก่เรียบสีดำ มีช่องอากาศเป็นลายยาวสีขาวบิดเวียนลำต้น ใบรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง5-8ซม.ยาว 12-18ซม.โคนใบมนปลายใบมีติ่งยาว ค่อนข้างหนาและเหนียวเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งแก่ ช่อละ 3-4 ดอก ดอกสีเขียวก้านช่อดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยงรูปไข่หนาสีเขียวมีขนทั้งสองด้าน กลีบดอกหนามีขนาดใกล้เคียงกัน เรียงเป็น 2 ชั้น ดอกมีขนาด 1.5 ซม. ผลกลุ่มจำนวน 4-7ผล รูปทรงกระบอก กว้าง 2 ซม.ยาว 3-4 ซม.เปลือกผลหนา มีขนคลุมมีหลายเมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-มิถุนายน/
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด

นมแมวช่อ/Cyathostemma viridiflorum


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ

ชื่อวิทยาศาสตร์---Uvaria griffithii L.L.Zhou, Y.C.F.Su & R.M.K.Saunders.(2009)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2897702
---Cyathostemma scortechinii King.(1892)
---Cyathostemma viridiflorum Griff.(1854)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---นมแมวช่อ (ทั่วไป) ;[CHINESE: Lǜ huā bēi guān mù.];[THAI: Nom meow cho (general).].
EPPO Code---UVAGR (Preferred name: Uvaria griffithii.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน ไทย พม่า มาเลเซีย
Uvaria griffithii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย (Team/Group) Linlin Zhou (fl.2003) นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน, Yvonne C. F. Su (fl 2004) นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน และ Richard M. K. Saunders (born 1964) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2552
ที่อยู่อาศัย พบในอินเดีย จีน ไทย พม่า มาเลเซีย ในประเทศไทยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ที่ระดับความสูง 100-300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกล 10-25 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล กิ่งแก่เรียบสีดำ มีช่องอากาศเป็นลายยาวสีขาวบิดเวียนตามลำต้น ใบรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 5-8 ซม.ยาว 17-22 ซม.โคนใบหยักเว้าตื้น ปลายใบเรียวแหลมและมีติ่งยาว ใบค่อนข้างหนาและเหนียว เรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ดอกออกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่งแก่ ดอกอ่อนสีเขียว บานแล้วสีเหลือง ก้านช่อดอกยาวแตกออกเป็นแนวซิกแซกทีละ 2 กิ่ง มีใบประดับเล้กๆที่โคนก้านดอก 1 แผ่น กลีบดอกหนามีสันนูนตามแนวยาวกลีบดอกด้านนอกงองุ้มเข้าหากลางดอก ดอกบานขนาด 2 ซม.ผลกลุ่มมีจำนวน 8-12 ผล ก้านผลยาว 1ซม.ติดอยู่บนแกนตุ้มกลม ผลรูปกลมรียาว 2 ซม.เปลือกผลเรียบสีเขียว มีหลายเมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
ระยะออกดอก/ติดผล---กันยายน-พฤศจิกายน/
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด

นมแมวแดง/Cyathostemma argenteum


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ

ชื่อวิทยาศาสตร์---Uvaria argentea Blume.(1830)
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms.
---Anomianthus argenteus (Blume) Backer.(1911)    
---Cyathostemma argenteum (Blume) J. Sinclair.(1951)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2447605
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---นมแมวแดง (ทั้วไป); นมแมวแดงใบหนา (ภาคใต้); หำอีปู่ (อุบลราชธานี); [THAI: nom meow daeng (general).].
EPPO Code---CWMSS (Preferred name: Cyphostemma sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย บังคลาเทศ ไทย พม่า มาเลเซีย
Uvaria argentea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ.2373  
ที่อยู่อาศัย พบในอินเดีย บังคลาเทศ ไทย พม่า มาเลเซีย ในประเทศไทย พบตามริมแหล่งน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ที่ระดับความสูง 200-300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดเล็กเลื้อยได้ไกล 2-3 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้มมีรูระบายอากาศสีขาวเป็นจุดจำนวนมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2.5 ซม.ยาว 5-7 ซม.เหนียวคล้ายแผ่นหนังด้านบนสีเขียวเป็นมัน เส้นกลางใบใหญ่นูนเห็นชัดกว่าด้านล่าง เส้นแขนงใบเห็นไม่ชัดทั้งสองด้านดอกเดี่ยวออกตามกิ่งตรงข้ามใบ ดอกสีม่วงแดง กลีบเลี้ยงสีเขียวกลีบดอกเรียงเป็นสองชั้น ขนาดดอกเมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1ซม.ผลเป็นผลกลุ่มมีจำนวน 6-10 ผล ผลรูปกลมรีหรือบิดเบี้ยว ยาว 1.5-2 ซม.ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีม่วงเข้ม มีเปลือกหนาและมีเมล็ดมาก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา  ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงน้ำนมผู้หญิงหลังคลอดบุตร
ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน-สิงหาคม/
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด

นมเสือ/Dasoclema siamensis


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ

ชื่อวิทยาศาสตร์---Uvaria dasoclema L.L.Zhou, Y.C.F.Su & R.M.K.Saunders.(2010)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
---Basionym: Monocardia siamensis Craib.(1924)
---Dasoclema siamensis (Craib) J.Sinclair.(1955)     
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2757570
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---นมเสือ (ทั่วไป) ;[THAI: Nom suea (General).].
EPPO Code---UVASS (Preferred name: Uvaria sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Uvaria dasoclema เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย (Team/Group) Linlin Zhou (fl.2003) นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน, Yvonne C. F. Su (fl 2004) นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน และ Richard M. K. Saunders (born 1964) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2553
ที่อยู่อาศัยพืชเฉพาะถิ่นของไทย พบขึ้นบนภูเขาหินปูนทางภาคเหนือตอนล่าง ที่ระดับความสูง 600 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกล 10-15 เมตร เปลือกสีดำมีกลิ่นฉุน ช่องอากาศเป็นแถบบิดเวียน เนื้อไม้เหนียว
ใบรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 4-5 ซม.ยาว 12-17 ซม.โคนใบมนถึงรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม และมีติ่งยาว 0.8-1.5 ซม.ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเรียบแข็งหนา ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ใบด้านล่างสีอ่อนกว่า ดอกเดี่ยวออกตรงข้ามใบเมื่อบานสีเหลืองนวล มีใบประดับเล็ก1แผ่นที่กลางก้านดอกใกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม.ผลเดี่ยวทรงกระบอก กว้าง 2.5 ซม.ยาว 5-6 ซม.ก้านผลยาว 5-6 ซม.ผิวผลขรุขระเปลือกหนา มี 8 เมล็ด เรียง 2 แถว
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤษภาคม-มิถุนายน/
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด

น้ำเต้าน้อย/Cythostemma micranthum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Uvaria micrantha (A.DC.) Hook.f. & Thomson.(1855)
ชื่อพ้อง---Has 9 Synonyms
---Basionym: Guatteria micrantha A.DC.(1832)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2448361
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น--เถาฤๅษี ผสมแก้ว (สุราษฎร์ธานี), นมแมว (ประจวบคีรีขันธ์), นมแมวน้อย, พญามีฤทธิ์, น้ำเต้าน้อย (ปราจีนบุรี) ; [THAI: Thao ruesi phasom kaeo (Surat Thani); Nom maeo (Prachuap Khiri Khan); Namtao noi (Prachin Buri).]; [VIETNAM: Kỳ hương, Bồ quả.].
EPPO Code---UVAMI (Preferred name: Uvaria micrantha.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---พม่า หมู่เกาะอันดามัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี ตอนเหนือของออสเตรเลีย
Uvaria micrantha เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Alphonse Louis Pierre Pyrame de Candolle(1806-1893) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Sir Joseph Dalton Hooker (1817-1911) นักพฤกษศาสตร์นักชีววิทยาและศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ และ Thomas Thomson (1817 –1878) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปีพ.ศ.2398
ที่อยู่อาศัย พบใน พม่า หมู่เกาะอันดามัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี ตอนเหนือของออสเตรเลีย พบได้ในป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ที่ระดับความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลประมาณ 300-800 เมตร ในประเทศไทย พบในป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วประเทศ ที่ความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึง 600 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มแกมไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยพาดอาศัยกับต้นไม้อื่น ๆ พยุงตัวขึ้นไปยาวได้ไกล 10-15 เมตร แตกกิ่งที่ปลายยอดจำนวนมาก เปลือกสีน้ำตาลอมดำมีช่องอากาศมาก กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมหนาแน่น ใบรูปรีแกมขอบขนาน 4.5-11.5 x 1-4 ซม.โคนใบมนปลายใบแหลม เนื้อใบหนาเหนียวเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0.2-0.6 ซม.มีขนสีน้ำตาลปกคลุม ดอกออกตรงข้ามใบเป็นกระจุก สีน้ำตาลแกมเหลือง กลีบเลี้ยง 3 กลีบสีเขียว มีขนาดเล็กมาก และมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ กลีบดอกแข็งงุ้มเข้าหากันมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น มีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกัน  ผลเป็นผลกลุ่ม ก้านผลประมาณ 7-11 x 6-10 มม. ผลย่อยรูปกลมรี ขนาด 1.5 ซม.ผลแก่สีเหลืองอมเขียว เมล็ด 1-4 เมล็ด ขนาด 6-8 x 4-6 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา เนื้อไม้มีรสฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้ทับระดู แก้ไข้กลับ รากมีรสฝาดเฝื่อนใช้เป็นยาแก้กาฬผอมแห้งของสตรีที่อยู่ไฟไม่ได้ รากใช้ภายนอก ใช้ฝนกับน้ำทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ;- ในเวียตนามใช้เปลือกเป็นยาต้มบำรุงกำลังช่วยย่อยอาหาร มักใช้รักษาอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อยและปวดหลัง ในเวียตนามใช้เปลือกเป็นยาต้มบำรุงกำลังช่วยย่อยอาหาร มักใช้รักษาอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อยและปวดหลัง
ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน-สิงหาคม  
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด

      น้ำเต้ายาน/Cyathostemma longipes


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ

ชื่อวิทยาศาสตร์---Uvaria longipes (Craib) L.L.Zhou, Y.C.F.Su & R.M.K.Saunders.(2009)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2897704
---Cyathostemma longipes Craib.(1925)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---น้ำเต้ายาน (ทั่วไป) ;[THAI: Nam tao yan (general).].
EPPO Code---UVASS (Preferred name: Uvaria sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Uvaria longipes ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย (Team/Group) Linlin Zhou (fl.2003) นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน, Yvonne C. F. Su (fl 2004) นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน และ Richard M. K. Saunders (born 1964) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2552
ที่อยู่อาศัย พบในประเทศไทย ขึ้นกระจายในป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระดับความสูง 100-300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกล 5-8 เมตร กิ่งอ่อนมีขนเล็กน้อย กิ่งแก่เปลือกเรียบสีน้ำตาลอมดำ ใบรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 4-7 ซม.ยาว 12-20 ซม.โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ด้านบนด้านสีเขียวเข้ม ด้านล่างใบสีอ่อนกว่า ดอก เดี่ยวออกนอกซอกใบ ดอกสีเขียวอมเหลือง ก้านดอกยาวที่สุดในสกุลเดียวกัน มีความยาว 6-8 ซม.มีหูใบเล็กๆที่ใกล้โคนก้านดอก กลีบเลี้ยงหนาสีเขียว กลีบดอกหนาเรียบเป็นมันเรียงกัน 2ชั้น ดอกบานขนาด2.5ซม.ผลเป็นผลกลุ่มมี 30-50ผล ผลกลมขนาด0.7-1 ซม.เมื่อแก่สีแดง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
ใช้ประโยชน์ ---นำมาใช้ปลูกเป็นพืชสมุนไพร
ระยะออกดอก/ติดผล--- พฤษภาคม - สิงหาคม
ขยายพันธุ์--- เพาะเมล็ด

โนรีเกาะช้าง/ Hiptage monopteryx

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---Photo: https://www.dnp.go.th/botany/detail.

ชื่อวิทยาศาสตร์---Hiptage monopteryx Sirirugsa.(1987)
---This name is unresolved.
ชื่อพ้อง---See all The Plant List  http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2851653
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---โนรีเกาะช้าง (ทั่วไป) ;[THAI: Nori ko chang (General).].
EPPO Code---HTGSS (Preferred name: Hiptage sp.)
ชื่อวงศ์---MALPHIGHIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Hiptage monopteryx เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์โนรา (Malpighiaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Puangpen Sirirugsa เธอเป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวไทย ในปีพ.ศ.2530
ที่อยู่อาศัยเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย พบครั้งแรกทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่เกาะช้าง จังหวัดตราดและ พบที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบชื้น ความสูงระดับต่ำ ๆ
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งเจริญเติบโตอยู่ได้หลายปี เลื้อยพาดพุ่มไม้อื่นได้ไกล5-15 เมตรยอดอ่อนมีขน ใบเดี่ยวออกตรงข้ามรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง4-6ซม.ยาว7-14ซม. ปลายใบแหลมเนื้อใบหนาและเห็นเส้นแขนงใบเด่นชัด ช่อดอกออกที่ปลายยอด ช่อยาว8-20ซม.มีดอกย่อยจำนวนมากกลีบดอก5กลีบขนาดไม่เท่ากันสีขาว  ปีกกลางรูปขอบขนาน ปลายแยกเป็น 2 แฉกไม่เท่ากัน ปีกข้างขนาดเล็ก เมื่อบานมีขนาดดอก1.5-2 ซม.มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลแห้งมีปีก ก้านผลยาว 1.2-1.5 ซม. มีติ่งตรงจุดกึ่งกลาง
สถานภาพ---พืชถิ่นเดียว (endemic)
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนมกราคม-มีนาคม/
ขยายพันธุ์---เมล็ด

โนรีปันหยี/Hiptage detergens

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---Photo: https://www.dnp.go.th/botany/detail.

ชื่อวิทยาศาสตร์---Hiptage detergens Craib.(1926)
ชื่อพ้อง---This name is unresolved.
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2851626
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---โนรีปันหยี (ทั่วไป) ; [THAI: Nori pan yi (General).]
EPPO Code---HTGSS (Preferred name: Hiptage sp.)
ชื่อวงศ์--- MALPHIGHIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Hiptage detergens เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์โนรา (Malpighiaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2469  
ที่อยู่อาศัย พรรณไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทยสำรวจพบครั้งแรกที่เกาะปันหยี จังหวัดพังงา ขึ้นอยู่ตามภูเขาหรือหน้าผาหินปูน ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ไกล3-8 เมตรแตกยอดจำนวนมาก ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม.ยาว 4-7 ซม.เนื้อใบหนาและแข็งขอบใบเป็นคลื่น ช่อดอกจำนวนมากออกที่ปลายยอดช่อดอกยาว 3-5 ซม. มีดอกย่อย 12-20 ดอก กลีบดอก 6 กลีบขนาดไม่เท่ากัน สีขาว เมื่อบานดอกมีขนาด 1-1.5 ซม.ไม่มีกลิ่น ผลแห้งมีปีกปีกกลางรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายปีกกลม จักมน ยาว 1-1.4 ซม. ปีกข้าง 2 ปีก ยาว 0.5-1 ซม. มีสันเล็ก ๆ
สถานภาพ---พืชถิ่นเดียว (endemic)
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนมกราคม-เดือนมีนาคม/
ขยายพันธุ์---เมล็ด          

                                                                   

บุหงาเถา/Friesodielsia discolor


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ

ชื่อวิทยาศาสตร์---Friesodielsia discolor (Craib) D.Das.(1963)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms.See all https://www.gbif.org/species/3156686
---Basionym: Oxymitra discolor Craib.(1925)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---บุหงาเถา (ทั่วไป); [THAI: Bu nga thao (General).].
EPPO Code---FRDSS (Preferred name: Friesodielsia sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย คาบสมุทรมาลายู
Friesodielsia discolor เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Atulananda Das (1879–1952) นักพฤกษศาสตร์ชาวอินเดีย ในปีพ.ศ.2506
ที่อยู่อาศัย พบในไทยและคาบสมุทรมาลายู ในประเทศไทยพบขึ้นในป่าดิบชื้นตามเกาะต่าง ๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกล 4-6 เมตร เปลือกเรียบ สีน้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศสีขาวตามกิ่งบิดเวียนไปตามยาว เนื้อไม้เหนียว ใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5-6 ซม.ยาว 15-18 ซม.โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบด้านล่างสีเขียวอมขาว มีเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบนูนเด่น ดอกเดี่ยวออกนอกซอกใบสีเหลือง มีกลิ่นหอมเมื่อใกล้โรย ดอกบานขนาด 2-2.5 ซม.ผลกลุ่มมีผลย่อย 8-12 ผล ผลรูปกลมรีขนาด 1 ซม.ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีแดงเข้ม มี 1 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
ใช้ประโยชน์---เถามีความเหนียวใช้แทนเชือกได้
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนเมษายน-เดือนสิงหาคม
ขยายพันธุ์---โดยการเพาะเมล็ด

บุหรงช้าง/Dasymaschalon grandiflorum

   

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---Photo: https://www.vichakaset.com/บุหรงช้าง/
ชื่อวิทยาศาสตร์---Dasymaschalon grandiflorum Jing Wang, Chalermglin & R.M.K. Saunders.(2009)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2895957
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---บุหรงช้าง (ทั่วไป) ;[THAI: Burong chang.).
EPPO Code---DZWSS (Preferred name: Dasymaschalon sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Dasymaschalon grandiflorum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Jing Wang (1950–2021) เธอเป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวจีน, ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น (also spelt Piya Chalermklin; fl. 2000) นักพฤกษศาสตร์ชาวไทย และ Richard M. K. Saunders (born 1964) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2552
ที่อยู่อาศัย พบครั้งแรกในป่าดิบชื้นของ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เมื่อ พ.ศ. 2544 โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น เป็นพืชสกุลบุหรง เพียงชนิดเดียวที่เป็นไม้เลื้อย พบในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ที่ระดับความสูง 300-500 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งมีดอกและผลขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลบุหรง เลื้อยได้ไกล 10-15 เมตร แตกกิ่งน้อย กิ่งแขนงสั้น เปลือกสีน้ำตาลมีรูระบายอากาศสีขาว ใบรูปรีรูปไข่แกมขอบขนาน ใบบางขอบใบเป็นคลื่น โคนใบมนปลายใบแหลมด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบด้านล่างสีเขียวอมขาว ดอกเดี่ยวออกที่ตุ่มตามลำต้น ดอกบานมีสีม่วงแดง น้ำตาลเข้มหรือชมพู ผลเป็นผลกลุ่ม ก้านช่อผลยาว 8-10 ซม.ผลรูปทรงกระบอกมี 5-10 ผล ขยาดกว้าง 0.7-0.9 ซม.ยาว 3-6 ซม.ก้านผลย่อยยาว 1-1.5 ซม.เปลือกผลคอดห่างตามรอยเมล็ด เมื่อแก่สีแดงเข้ม แต่ละผลมีเมล็ดรูปทรงกลม 3-6 เมล็ด
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน/
ขยายพันธุ์---โดยการเพาะเมล็ด

บุหรงดอกทู่/Dasymaschalon obtusipetalumJing


ชื่อวิทยาศาสตร์---Dasymaschalon obtusipetalum Jing Wang, Chalermglin & R.M.K.Saunders.(2009)
ชื่อพ้อง-----No synonyms are recorded for this name.
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2895958
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---บุหรงดอกทู่ (ทั่วไป) ;[THAI: Burong dok thoo (General).].
EPPO Code---DZWSS (Preferred name: Dasymaschalon sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Dasymaschalon obtusipetalum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Jing Wang (1950–2021) เธอเป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวจีน, ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น (also spelt Piya Chalermklin; fl. 2000) นักพฤกษศาสตร์ชาวไทย และ Richard M. K. Saunders (born 1964) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2552
ที่อยู่อาศัยพบในป่าดิบเขาของ อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ที่ระดับความสูง 800-1,600 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่ม สูง 4-6 เมตร ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน เนื้อใบหนา ด้านบนใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาวเคลือบ ดอกออกที่ปลายยอด สีเหลืองอ่อน ขนาด 1.5-3  ซม.ขอบกลีบบรรจบกันเป็นแท่งสามเหลี่ยม ตอนปลายดอกทู่และไม่บิด
สถานภาพ---พืชถิ่นเดียว (endemic)
ระยะออกดอก---เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม    
ขยายพันธุ์*---หลังจากค้นพบทั้งสองสายพันธุ์ ดังกล่าวได้มีการวิจัยต่อยอดด้านการขยายพันธุ์ นอกถิ่นกำเนิดเพื่ออนุรักษ์พรรณไม้หายาก โดยขณะนี้ได้ทำการศึกษาขยายพันธุ์บุหรงดอกทู่ โดยวิธีการทาบกิ่ง เสียบกิ่ง และทำการศึกษาสรรพคุณด้านสมุนไพรจากสารเคมีในลำต้นของบุหรง ซึ่งเบื้องต้นพบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อมะเร็งในระดับห้องปฏิบัติการ แต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรงหรือออกฤทธิ์ได้ผล ภายในสารชนิดเดียว จึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมก่อนขยายผลการใช้ประโยชน์ด้านเภสัช กรรม สำหรับบุหรงช้างนั้นเนื่องจากเป็นพืชที่เติบโตอยู่ในพื้นที่ที่ยากลำบากในการเข้า ไปสำรวจ และเป็นพื้นที่อันตรายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะนี้จึงยังไม่ได้ทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม.*อ้างอิงจาก http://www.rssthai.com/reader.php?t=education&r=16109

บุหรงสุราษฏร์/Dasymaschalon blumei var. suratense 


ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ

ชื่อวิทยาศาสตร์---Dasymaschalon blumei Finet & Gagnep var. suratense Ban (1975)
ชื่อพ้อง---Synonym of Dasymaschalon dasymaschalum (Blume) I.M.Turner.(1906.)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---บุหรงสุราษฏร์ (ทั่วไป) ;[THAI: Burong Su rat (General).].
EPPO Code---DZWSS (Preferred name: Dasymaschalon sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Dasymaschalon blumei Finet & Gagnep var. suratense เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nguyên Tiên Bân (born 1939) นักพฤกษศาสตร์ชาวเวียตนาม ในปีพ.ศ.2518                                                                                                                                                ที่อยู่อาศัยขื้น กระจาย ตามป่าละเมาะ ตามเกาะ และตามริมทะเลทางภาคใต้ ที่ระดับความสูง 50-200 เมตร
ลักษณะ ต้นสูง 2-3 เมตร หรือแตกกิ่งยืดยาวเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เปลือกต้นสีน้ำตาลอมดำ มีช่องสีขาวเป็นจุดๆ เนื้อไม้เหนียว ใบรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง4-6ซม. ยาว 9-15 ซม.โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบเรียวทู่ ใบหนาและแข็ง ใบด้านบนสีเขียวและมีขนเล็กน้อย ใบด้านล่างสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างเป็นสันนูนเด่น ดอกเดี่ยวออกที่ปลายกิ่งหรือที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกอ่อนสีเขียวเมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แล้วหลุดร่วงลงไปทั้งกรวย ผลกลุ่มมีผลย่อย 9-12 ผล รูปทรงกระบอก ยาว1.5-2.5ซม.มีเมล็ด 2-4 เมล็ด เปลือกผลคอดถี่ตามรูปเมล็ด ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง
ระยะออกดอก---มิถุนายน-กรกฏาคม
ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง ปักชำ


ปอเกี๋ยน/Phanera ornata (Kurz) Thoth. var. burmanica

ชื่อวิทยาศาสตร์---Phanera ornata (Kurz) Thoth. var. burmanica (K. Larsen & S.S. Larsen) Bandyop., P.P. Ghoshal & M.K. Pathak.(2012)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms
---Bauhinia ornata Kurz var. burmanica K.Larsen & S.S.Larsen.(1980)
---According to  International Legume Database and Information Service https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:77125204-1
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ปอเกี๋ยน (ภาคเหนือ) ;[THAI: Po kian (northern).]
EPPO code---QRWSS (Preferred name: Phanera sp.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Phanera ornata (Kurz) Thoth. var. burmanica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย [Kai Larsen (1926–2012) นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก และ Supee Saksuwan Larsen (born 1939) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวไทย-เดนมาร์ก] และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย  Subir Bandyopadhyay (born1959) ., Ghoshal Partha P. และ Mithilesh Kumar Pathak (1968-2013) นักพฤกษศาสตร์ชาวอินเดีย ในปีพ.ศ.2555


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเมียนมาร์และประเทศไทย
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อย มีมือเกาะเ นื้อแข็งเลื้อยได้ไกล6-10เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนและปลายยอด มีขนสีสนิม ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปหัวใจปลายใบเว้าลึกเป็น 2 แฉก ขนาดกว้าง 6.5-8.5 ซม.ยาว 6-10 ซม.ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั้งสองด้าน ช่อดอกแยกแขนงเป็นช่อกลม จากซอกใบ มีดอกรูปถั่วจำนวนมาก ขนาด 2 ซม.มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ โคนกลีบดอกเว้า ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น กลีบดอกมีสีขาวนวล เกสรผู้ 3 อันก้านสีแดง อับเรณูสีชมพูอมแดง รังไข่มีขนสีน้ำตาล ผลเป็นฝักแบน ยาวประมาณ 10-20 ซม.ส่วนปลายกว้างกว่าส่วนโคน มีขนนุ่มปกคลุม เมล็ดมีประมาณ 8 เมล็ด รูปร่างกลมมน ขนาด 2-2.5 ซม.แก่แล้วแตก ดอกบานวันเดียวโรยส่งกลิ่นหอมตลอดวัน
สถานภาพ--- (ตามหลัก IUCN ปี 1994)---R = Rare Global (พืชหายากของโลก)
ระยะออกดอก/ติดผล---
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง



ผักบุ้งขัน/ Ipomoea asarifolia

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Ipomoea asarifolia (Desr.) Roem. & Schult.(1819)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.
---Basionym: Convolvulus asarifolius Desr.(1792)
---Ipomoea urbica Choisy.(1845)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-8500041
ชื่อสามัญ---Ginger-leaf morning-glory
ชื่ออื่น---ผักบุ้งขัน (ชลบุรี), ผักบุ้งขน (ชุมพร), ผักบุ้งช้าง (กาญจนบุรี).] ;[PORTUGUESE: Batata-brava, Batatarana, Batatão, Salsa-Brava.];[SPANISH: boniatillo.];[THAI: phak bung khan (Chon Buri); Phak bung khun (Chumphon); Phak bung chang (Kanchanaburi).].
EPPO Code---IPOAS (Preferred name: Ipomoea asarifolia.)
ชื่อวงศ์---CONVOLVULACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา แอฟริกา เอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกาใต้ อเมริกากลาง เอเซีย แอฟริกา
Ipomoea asarifolia เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Louis Auguste Joseph Desrousseaux (1753–1838) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Johann Jacob Roemer (1763–1819) แพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส และ Josef August Schultes (1773–1831) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย.ในปีพ.ศ.2362



ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของแอฟริกาอเมริกาและเอเชีย การกระจายในอเมริกาใต้ - ปารากวัย, บราซิล, โบลิเวีย, เปรู, เอกวาดอร์, โคลัมเบีย, เวเนซุเอลา; อเมริกากลาง- ปานามา; แคริบเบียน - จาเมกา; แอฟริกาเขตร้อน เอเซีย - อินเดีย ไทย, เวียดนาม, มาเลเซีย พบที่ระดับความสูงถึง 250 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาทอดเลื้อยไปตามพื้น ยาว 5-30 เมตร มีรากที่ข้อ มียางขาว ใบเป็นใบเดี่ยวมักออกจากลำต้นเพียงด้านเดียว รูปไข่ รูปไข่กลับ รูปรี รูปกลม หรือรูปไต  3.5–8 x3.5–10 ซม. มีขนนุ่มปลายใบหยักเป็นแฉกตื้นๆถึงแฉกกลมมน โคนใบหยักเว้ารูปหัวใจ ก้านใบหนายาว 3–9 ซม.ร่องลึก ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-3 ดอก สีชมพูหรือม่วง โคนด้านในดอกสีเข้มกว่า ก้านดอกยาว 2-5.5 (–10) ซม.ผลแคปซูลกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ซม.เป็นผลแห้งมีเมล็ดสีดำ 4 เมล็ดขนาด 5–7 มม.มีขนสีดำหนาแน่น  
ผักบุ้งขันมีลักษณะคล้ายผักบุ้งทะเลมากจนมีผู้สำคัญผิดอยู่ว่าเป็นพืชชนิด เดียวกัน แต่พืชทั้ง2ชนิดมีความแตกต่างกันดังนี้
1 ผักบุ้งทะเลชอบขึ้นอยู่ริมทะเล ส่วนผักบุ้งขันมักขึ้นอยู่ตามชายน้ำ ตามห้วยหนอง
2 ใบมีขนาดเท่าๆกันแต่ปลายใบผักบุ้งขันมีรอยเว้าที่ปลายใบตื้นกว่าผักบุ้งทะเล ใบผักบุ้งขันมีขน ใบผักบุ้งทะเลไม่มีขน
3 ดอกผักบุ้งขันมีขนาดเล็กกว่าแต่สีเหมือนๆกัน
4 เมล็ดผักบุ้งขันมีขน ส่วนเมล็ดผักบุ้งทะเลไม่มีขน
ใช้ประโยชน์---บางครั้งพืชถูกรวบรวมมาจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเช่นยา, ย้อม, มัดวัสดุและเชื้อจุดไฟ
-ใช้เป็นยา ผักบุ้งขันมีรสขื่นเย็น สรรพคุณถอนพิษลมเพลมพัด แก้จุกเสียด แก้พิษกาฬภายนอก แก้พิษสำแดง ใบต้มน้ำอาบแก้คัน ใช้ล้างแผล คั้นเอาน้ำต้มกับน้ำมันมะพร้าว ทำขี้ผึ้งทาแผลเรื้อรัง แก้พิษแมงกะพรุนไฟ เมล็ดมีรสขื่น ใช้เป็นยาถ่าย แก้ปวดท้อง แก้ตะคริว รากมีรสขื่นเย็น ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ;-พืชมีผลในการทำแท้ง oxytocic มันถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางนรีเวชต่างๆ เพื่อรักษาปัญหาปัสสาวะในระหว่างตั้งครรภ์, ตกเลือด, ประสาท, ปวดหัว, ปวดข้ออักเสบและปวดท้อง ใบต้มใช้สำหรับควบคุมความดันโลหิต ใช้อาบรักษาอาการหนาวสั่นไข้และปวดไขข้อ ยาพอกใบใช้กับแผลหนอนกินี  ดอกไม้ที่ต้มกับถั่วกินเป็นยารักษาซิฟิลิส
-วนเกษตร สามารถใช้ในโครงการรักษาเสถียรภาพของดินบนดินทราย
-อื่น ๆ ยาต้มของพืชใช้ในการย้อมผ้าและผมให้เป็นสีดำ ขี้เถ้าของพืชผสมกับสีครามเพื่อให้เป็นสีน้ำเงินย้อมผ้า ลำต้นแห้งใช้มัดวัสดุและเป็นเชื้อจุดไฟ
รู้จักอันตราย---อาจมีสารพิษตกค้างในพืช ว่ากันว่าทำให้เกิดอาการท้องร่วงในม้าถ้าเล็มหญ้าโดยบังเอิญและความบ้าคลั่งและความตายในอูฐ
ระยะออกดอก/ติดผล---ตุลาคม-ธันวาคม  
ขยายพันธุ์---เมล็ดและปักชำ

ผักบุ้งแดง/Stictocardia veraviensis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Stictocardia beraviensis (Vatke) Hallier f.(1894)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-8501838
---Ipomoea beraviensis Vatke.(1882)
---Argyreia beraviensis (Vatke) Baker.(1906)    
ชื่อสามัญ--- Mile-a-minute plant, Hawaiian Bell, Hawaiian Sunset Vine, Braveheart Vine, Sugar candy flower.
ชื่ออื่น---ผักบุ้งแดง (ทั่วไป) ;[CHINESE: Hóng xiàn yè téng.];[THAI: Phak bung daeng.].
EPPO Code---SJDSS (Preferred name: Stictocardia sp.)
ชื่อวงศ์---CONVOLVULACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---เอธิโอเปีย, โซมาเลีย แอฟริกาฝั่งตะวันตก, มาดากัสการ์
Stictocardia beraviensis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย (Vatke)และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Johannes (Hans) Gottfried Hallier (1868–1932) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2437
ที่อยู่อาศัยจากเอธิโอเปียไปจนถึงตอนใต้ของโซมาเลีย แอฟริกาฝั่งตะวันตกและมาดากัสการ์
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นทอดเลื้อยไปได้ไกล 3-5 เมตร เจริญเติบโตเร็ว ใบออกสลับ รูปหัวใจขนาด กว้าง 6-10 ซม.ยาว 6-14 ซม.ปลายใบแหลมโคนใบเว้าลึก ก้านใบยาว 17 ซม.แผ่นใบมีขนเล็กน้อยปกคลุม ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นข่อตามซอกใบและตามข้อ มี 1-3 ดอกรูปกรวย กลีบดกเชื่อมติดกัน ปลายแผ่แบน อส้นดอกเป็นแฉก สีแดงอมส้ม ด้านในสีเหลือง ขนาดดอก 3-6 ซม.ผลแคปซูลกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด 2 ซม.แห้งเมื่อแก่แล้วแตก เมล็ดกลมมีขน
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับซุ้มไม้เลื้อย
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์--- เพาะเมล็ด ปักชำ

ผักบุ้งทอง/Merrimia tuberosa


ชื่อวิทยาศาสตร์---Merrimia tuberosa (l.) Rendle.(1905.)
ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms
---Basionym: Ipomoea tuberosa L.(1753.)
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/tro-8500796
ชื่อสามัญ---Spanish Woodbine, Spanish arborvine, Spanish Morning Glory, Woodrose, Yellow Morning Glory, Hawaiian Wood Rose, Ceylon Morning-glory, Regretvine, Brazilian jalap
ชื่ออื่น---ผักบุ้งทอง, นางพญาเลื้อยคลาน (ทั่วไป) ;[BAHAMAS: Wood-rose.];[BELIZE: Seven fingers.];[CHINESE: Jī xuán huā.];[CUBA: Bejucco de indio, Rosa de madera.];[FRENCH: Liane à tonelle, Rose de bois, Liane Gandelour, Liane sultane jaune, Liane-jaune.];[GUATEMALA: Bejuco de golondrina.];[HAITI: Ferrocarril.];[HAWAII: Pilikai.];[HONDURUS: Mala hierba.];[JAPAN: Bara-asa-gao.];[LESSER ANTILLES: Bois patate; Rose de Jericho.];[MEXICO: Xixicamdtic.];[PUETO RICO: Batilla ventruda.];[PORTUGUESE: Flor-de-pau, Ipoméia-do-ceilão, Rosa-de-pau.];[SAMOAN: Losa vao.];[SPANISH: Bejuco golondrina, Foco de luz, Rosa de barranco, Rosa de palo, Quiebra caje- te, Quiebra machet, Quinamacal.];[THAI: Phak bung tgong, Nang phaya leauy khlan (general).].
EPPO Code---MRRSS (Preferred name: Merremia sp.)
ชื่อวงศ์---CONVOLVULACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลาง อเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย
Merrimia tuberosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Alfred Barton Rendle (1865–1938) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2448
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกและอเมริกากลาง พบได้ตามธรรมชาติและได้รับการปลูก ในอเมริกาใต้ - บราซิลตอนเหนือ, เอกวาดอร์, โคลัมเบีย, เวเนซุเอลา, กายอานา; อเมริกากลาง- ปานามาไปยังเม็กซิโก; แคริบเบียน - สาธารณรัฐโดมินิกันไปยังบาฮามาส เติบโตบนขอบของป่าฝนที่ระดับความสูงไม่เกิน 300 เมตร เป็นไม้เถาที่นิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับซึ่งได้หลบหนีจากการเพาะปลูกและกลายเป็นธรรมชาติส่วนใหญ่ในป่าเปียก mesic และที่ราบลุ่มในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลก จากระดับน้ำทะเลถึง 1,400 เมตร
บทสรุปของการรุกราน M. tuberosa เป็นเถาวัลย์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มันจะกลบไม้พุ่มสูงของป่าไม้ให้สิ้นซาก ทำลายต้นไม้เจ้าบ้านและพืชชั้นล่างที่มีการแข่งขันสูง มันรวมอยู่ในบทสรุปทั่วโลกของวัชพืช (Randall, 2012) และยังระบุว่าเป็นสายพันธุ์ผู้บุกรุกในฟลอริดา คิวบา เซนต์ลูเซีย ฮาวายและบนเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่อายุหลายปี มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ ลำต้นมีเนื้อไม้มากหรือน้อยโดนเฉพาะใกล้โคน ทอดเลื้อยไปได้ไกล 3-20 เมตร เถาสีแดงเข้มมีน้ำยางข้นมากมาย ใบออกสลับ รูปฝ่ามือ กว้าง 4-7 ซม.ยาว 5-15 ซม.หยักลึก 6-7 แฉก ก้านใบสีแดงเข้ม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม เงาเล็กน้อยเกลี้ยง ผิวใบด้านล่างสีเขียวอ่อน ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกรูปกรวย กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองกลีบเลี้ยงไม่เท่ากันยาว 2-3 ซม.กลีบดอกสีเหลือง ดอกขนาด 4-5 ซม.ผลแคปซูลรูปไข่ค่อนข้างกลม ยาว 1.5-2.5 ซม.สีน้ำตาลอ่อนมีกลีบเลี้ยงถาวรสีน้ำตาลติดอยู่ เมล็ดกลมสีดำมี 4 เมล็ด ยาว 1-1.5 ซม.เนื้อนิ่ม
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบดินร่วนปนทรายที่มี pH ตั้งแต่ 6.1 ถึง 7.8 เป็นเถาวัลย์เลื้อยไต่ที่เติบโตเหนือต้นไม้หรือพื้นผิวอื่น ๆ และชอบแสงแดดในระดับสูง ( PIER, 2014 ).
ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นยา มักจะใช้เป็นไม้ประดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับดอกไม้และผลไม้แห้งที่น่าดึงดูด ในอินเดียและ Malesia ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางยา
-ใช้เป็นยา รากใช้เป็นยาถ่าย (รุนแรง) พืชมีคุณสมบัติหลอนประสาท รากแก้อาการท้องบวมและขับลมในลำไส้
-อื่นๆ ดอกไม้แห้ง ผลไม้ที่แข็งเป็นไม้ ใช้ในการจัดดอกไม้ในยุโรป
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง

ฝนแสนห่า/Argyreia capitiformis

ชื่อวิทยาศาสตร์---Argyreia capitiformis (Poir.) Ooststr.(1972)
ชื่อพ้อง--- Has 9 Synonyms
---Ipomoea capitata Roem. & Schult.(1819)
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-8502992
ชื่อสามัญ---Bristled Woodrose
ชื่ออื่น---ฝนแสนห่า (จันทบุรี), เอ็นขน (สุราษฎร์ธานี), เอ็นน้ำนม (ตรัง), ดูลาน (ยะลา), จิงจ้อหลวง (ประจวบคีรีขันธ์), กระดึงช้าง (ภาคกลาง), ย่านขน (สงขลา), ลูกช้าง (กาญจนบุรี) ;[ASSAMESE: Bish-dharak.];[CHINESE: Tou hua yin bei teng.];[HINDI: Baghchooda.];[MARATHI: Masbel, Bhalsvel, Dudh wel.];[TAMIL: Unnayangodi.];[TELUGU: VerriBoddi-Tige, Maya Tige.];[THAI: Fon saen ha (Chanthaburi); En khon (Surat Thani); En nam nom (Trang); Du lan (Yala); Chingcho luang (Prachuap Khiri Khan); Kradueng chang (Central); Yan khon (Songkhla); Luk chang (Kanchanaburi).];[VIETNAM: Bạc thau đầu.].
EPPO Code---AGJSS (Preferred name: Argyreia sp.)
ชื่อวงศ์---CONVOLVULACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อนุทวีปอินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย
Argyreia capitiformis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Jean Louis Marie Poiret (1755–1834)นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Simon Jan van Ooststroom (1906–1982) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ ในปีพ.ศ.2515
ที่อยู่อาศัยพบในจีน (กวางสี กุ้ยโจว ไห่หนาน ยูนนาน)  อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย  อินโดนีเซีย พบทั่วไปบนเขาหินปูนซึ่งมีป่าดงดิบปกคลุม ตามป่าทึบในหุบเขา ที่รกร้างว่างเปล่า พื้นที่ที่ถูกรบกวน ที่ระดับความสูง 100-2,200 เมตร ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ภาคใต้แถบหมู่เกาะในทะเลอันดามัน ขึ้นตามชายป่า ที่โล่ง ความสูงถึงประมาณ 1,400 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อนล้มลุก เลื้อยได้ไกล 10-15 เมตร ลำต้นสีเขียวปนแดงเรื่อ มีขนหยาบเส้นยาวสีน้ำตาลแดงปกคลุมหนาแน่น ก้านใบยาว 3-16 ซม.ใบรูปไข่กว้าง ยาว 8-18ซม.โคนเว้าตื้น ปลายเรียวแหลม ใบมีขนทั้งสองด้าน ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว 6-30 ซม.ใบประดับรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 1.5-2.5 ซม.ติดทน ดอกสีม่วงอมชมพู ขนาดดอก 5-8 ซม.ผลกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มม เมื่อสุกสีแดง หรือน้ำตาล เมื่อแก่แห้งแตกมี 4 เมล็ดรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 7 มม.
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ใบใช้รักษาอาการบาดเจ็บประคบแผลฟกช้ำ
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤศจิกายน-มกราคม/  
ขยายพันธุ์---เมล็ด  

                                                                                          

พญายูงทอง/Aristolochia littoralis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Aristolochia littoralis Parodi.(1878)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2651580
---Aristolochia elegans Mast.(1885)
---Aristolochia elegans var. hassleriana (Chodat) Hassl.(1912)
---Aristolochia hassleriana Chodat.(1899)
ชื่อสามัญ---Calico Flower, Dutchman's Pipe, Elegant Dutchman's Pipe, Birthwort.
ชื่ออื่น---พญายูงทอง, หงส์ฟ้า, เหนียงนกกระทุง ;[BRAZIL: Cipò-mil-homens, Jarrinha, Jarrinha-pintada.];[CUBA: Cuba: Flor de pato, Patico.];[GERMAN: Strand-Pfeifenwinde.];[MAORI (Cook Islands): mokorā.];[PERSIAN: Murpank Bill.];[SPANISH: Patito.];[THAI: Nok kra thung (Chiang Mai); Nok kra thung pak ban (Bangkok); Niang nok kra thung (Bangkok).];[TONGA: Fue paipa holani.].
EPPO Code---ARPSS (Preferred name: Aristolochia sp.)
ชื่อวงศ์---ARISTOLOCHIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลาง อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล"Aristolochia" มาจากภาษากรีกโบราณ 'aristos'= "ดีที่สุด"และ 'locheia' = "การคลอดบุตร" เนื่องจากในสมัยโบราณ พืชชนิดนี้เชื่อกันว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อที่เกิดจากการคลอดบุตร ; ชื่อสายพันธุ์จากภาษาละติน 'littoralis'หมายถึง "ชายฝั่ง" ;ชื่อสามัญ 'Dutchman's Pipe' อ้างอิงจากดอกไม้ที่คล้ายกับไปป์ (Pipe) ของเชอร์ล็อค โฮล์มส์
Aristolochia littoralis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ไก่ฟ้า (Aristolochiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Parodiในปี พ.ศ.
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอาร์เจนตินา โบลิเวีย, บราซิล โคลัมเบีย, เอกวาดอร์, ปารากวัยและเปรู เป็นสายพันธุ์ที่รุกรานในออสเตรเลียและในสหรัฐอเมริกาตอนใต้ พบตามขอบของป่าและตามริมฝั่งของลำธารน้ำที่ระดับความสูงประมาณ 0-1,150 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยพันต้นไม้อื่นเลื้อยได้ไกล 3–4.5 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหัวใจปลายใบมนฐานใบเว้าลึก แผ่นใบมีขนปกคลุมทั้งสองด้านขนาดใบกว้าง 10-13 ซม.ยาว11-14ซม.ดอกขนาดใหญ่ประมาณ5-10 ซม กลีบดอกมีสีขาวนวลมีสีม่วงแต้มกระจายทั้งดอก ผลรูปทรงกระบอก ขนาด 2-3x3-5 ซม.สีน้ำตาลปลายมีติ่งแหลมยาว เมื่อแก่แตกออกเป็นรูปคล้ายกระเช้า 6แฉก เมล็ดจำนวนมาก ยาว 3–5 มม.รูปสามเหลี่ยมแบนมีปีก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งแสงแดดเต็มหรือร่มเงาบางส่วน ดินที่มีกรดเป็นกลาง (pH 5.5 - 7.0)
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ทุกส่วนของพืชถูกนำมาใช้ในการแพทย์แผนโบราณของประเทศต้นกำเนิดสำหรับโรคที่หลากหลาย
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
ได้รับรางวัล---Garden Merit (AGM) จาก Royal Horticultural Society
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธุ์-พฤษภาคม
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำ

แพ่งเครือ/Sphenodesme mollis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Sphenodesme mollis Craib.(1912)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-194065
---Sphenodesme annamitica Dop.(1932)
---Sphenodesme smitinandii Moldenke.(1962)
ชื่อสามัญ---Bitter Tree
ชื่ออื่น---ดอกกระดาษ (ภาคกลาง), แพ่งเครือ, พูหีบ, สะแกวัน (สระบุรี), สะแกใบดำ (นครราชสีมา),โพไซคุย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ;[CHINESE: Mao xie chi teng.];[THAI: Dok kradat (Central); Phaeng khruea, Phu hip, Sa kwaen (Saraburi); Sakae bai dam (Nakhon Ratchasima); Pho-sai-khui (Karen-Kanchanaburi).];[VIETNAM: Bội tinh Trường Sơn.]
EPPO Code---ZPXSS (Preferred name: Sphenodesme sp.)
ชื่อวงศ์---LAMIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน ไทย เวียตนาม
Sphenodesme mollis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระเพรา (Lamiaceae หรือ Labiatae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2455
ที่อยู่อาศัยพบในจีน (ยูนนาน) ไทย เวียตนาม ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ บนเนินเขาและตามลำธาร ที่ระดับความสูง 600-l,500 เมตร ประเทศไทยพบในทุกภาคของประเทศ ในป่าผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 10 -500 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งเลื้อยได้ไกล 5-10 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องตื้น หรือเป็นขีดตามความยาวลำต้น แตกกิ่งน้อย กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม.ยาว 8-12 ซม.โคนใบกลมมนหรือหยักเว้า ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบบางและมีขนคายทั้งสองด้าน ออกดอกที่ปลายยอดหรือซอกใบใกล้ปลายยอด เป็นช่อ ยาว 20-30 ซม.ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก แต่ละช่อย่อยมีใบประดับรองรับ 6 อันกางออกและติดอยู่จนถึงระยะผลแห้ง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ใช้ประโยชน์---นำผลมาตกแต่งเป็นไม้ประดับแห้ง
ระยะออกดอก/ติดผล---ตุลาคม-พฤศจิกายน/
ขยายพันธุ์---เมล็ด

มหาวิหค/Aristolochia gigantea


ชื่อวิทยาศาสตร์---Aristolochia gigantea Mart. & Zucc.(1816)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2651433
ชื่อสามัญ---Duck Flower, Brazilian Dutchman's pipe, Giant pelican flower
ชื่ออื่น---มหาวิหค, ไก่ฟ้าใหญ่ (ทั่วไป) ;[FRENCH: Aristoloche, Grand aristolochia du Brésil.];[GERMAN: Pelikanblume, Pfeifenwinde, Riesen-Pfeifenblume.];[PORTUGUESR: Erva-de-urubu, Cipó-de-cobra, Jarra-açu, Jarrinha, Joboinha, Milhome-gigante, Papo-de-peru, Papo-de-peru-do-grande.];[SPANISH: Aristoloquia gigante, Pipa del holandés.];[THAI: Maha wi hok, Kai fa yai.].
EPPO Code---ARPGI (Preferred name: Aristolochia gigantea.)
ชื่อวงศ์---ARISTOLOCHIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลาง อเมริกาใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อของสกุล "Aristolochia" เกิดขึ้นจากการรวมกันของคำกรีก "aristos" = ที่ดีที่สุดและ "locheia" = การคลอดบุตรมีการอ้างอิงถึงความเชื่อที่ว่าพืชช่วยในการคลอดบุตร; ชื่อของสปีชีส์คือคำภาษาละติน "gigantea" = ขนาดยักษ์
Aristolochia gigantea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ไก่ฟ้า (Aristolochiaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Friedrich Philipp von Martius (1794-1868) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันและJoseph Gerhard Zuccarini (1797–1848) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี พ.ศ.2359
ที่อยู่อาศัย เติบโตในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลก มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกากลาง-บราซิล โคลัมเบียและปานามา บางข้อมูลมีรายงานว่า มีถิ่นกำเนิดในอาร์เจนตินาใน Cordoba, Entre Rios และ Misiones, โบลิเวีย, โคลัมเบีย, เอกวาดอร์, ปารากวัย, และเปรู
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือเกาะ ยาวถึง 10 เมตร ก้านใบยาว 4-6 ซม.ใบเดี่ยวรูปหัวใจขนาดใบกว้าง 5-8 ซม.ยาว 6-10 ซม.แผ่นใบมีขนสีขาวสั้นเหมือนกำมะหยี่ปกคลุมทั่วไป ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบมีขนาดใหญ่มากขนาดดอกไม้ 35 ซม.กลีบดอกเชื่อมติดกันทั้งหมดเป็นถุงขนาด ประมาณ 10-15 ซม.ดอกสีม่วงอมน้ำตาล ดอกกือบจะไม่มีกลิ่นหากเทียบกับหลายชนิดที่ส่งกลิ่นเหม็นในพืชที่มีอายุมาก ดอกไม้สามารถผลิตได้โดยตรงจากลำต้น (cauliflory) ผลสีน้ำตาลรูปทรงกระบอก มี 5-6 เหลี่ยม ขนาด 3-4 x 6-7 ซม.เมื่อแก่แตกออกเป็นรูปคล้ายกระเช้า เมล็ดจำนวนมากรูปหัวใจแบนยาวประมาณ 7 มม.และกว้าง 5 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการตำแหน่งแสงแดดเต็มหรือร่มเงาบางส่วน ดินที่มีกรดเป็นกลาง (pH 5.5 - 7.0) ชุ่มชื้นแต่ระบายออกน้ำได้ดี ทนต่ออุณหภูมิ ต่ำสุด 10 °C (50 °F) อายุ 5-10 ปี
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ใช้รักษาอาการปวดและการติดเชื้อที่เกิดจากการคลอดบุตร
-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับขึ้นซุ้ม สามารถปลูกในกระถางได้
ได้รับรางวัล---Garden Merit (AGM) จาก Royal Horticultural Society
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำ

มะกิ้ง/Hodgsonia macrocarpa var. capniocarpa

ชื่อวิทยาศาสตร์---Hodgsonia macrocarpa (Blume) Cogn.(1881)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2852182
---Basionym: Trichosanthes macrocarpa Blume.(1826)
---Hodgsonia macrocarpa var. macrocarpa
ชื่อสามัญ---Pork Fat Nut, Chinese Lardfruit, Lard Seed, kadam-seed plant.
ชื่ออื่น---กาปาแย, สบายัง (มาเลย์-ปัตตานี), แตงขี้ไก่, มะกลิ้ง (ภาคเหนือ), บาแย (มาเลย์-นราธิวาส), มันเครือ (ภาคกลาง), มันหมู (ชุมพร), มะกิ้ง, ตรีหนุมาน (ทั่วไป) ;[ASSAMESE: Thebou-lata, Topou guti, Thebou lata, Topou-guti.];[BENGALI: Gular, Pathigular.];[CHINESE: Yǒu léng yóu guā; Yóu zhā guǒ.];[GERMAN: Kadam-Öl Pflanze.];[JAPANESE: Kigarasu-uri.];[LAOS: Mak khing.];[MALAYSIA: Akar Kepayang.];[THAI: Ka-pa-yae, Sa-ba-yang (Malay-Pattani); Taeng khi kai, Ma kling (Northern); Ba-yae (Malay-Narathiwat); Man khruea (Central); Man mu (Chumphon); Ma king, Tri ha nu man(general).];[VIETNAM: Ðài hái, Mướp rừng.].
EPPO Code---HOGMA (Preferred name: Hodgsonia macrocarpa.)
ชื่อวงศ์---CUCURBITACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - พม่า ไทย เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย
Hodgsonia macrocarpa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัวในวงศ์แตง (Cucurbitaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Célestin Alfred Cogniaux (1841–1916) นักพฤกษศาสตร์ชาว เบลเยียม ในปีพ.ศ.2424


ที่อยู่อาศัยพบขึ้นพันต้นไม้สูง ตามป่าโปร่งและป่าริมห้วย ป่าปฐมภูมิและพื้นที่ถูกรบกวน  ริมถนน ส่วนใหญ่อยู่ใกล้กับแม่น้ำ ที่ระดับความสูง 100 - 250 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยพันมีขนาดใหญ่และแข็งแรงยาวได้ถึง 30เมตร มักเจริญขึ้นคลุมยอดไม้ มีมือจับแข็งแรง ใบเป็นใบเดี่ยว เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง กว้าง 17-18 ซม.ยาว 12-15 ซม.แผ่นใบหยักลึกแบ่งเป็น 3 แฉกก้านใบยาว 2.5 ซม.มีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกกันคนละต้น (Dioecious) ดอกสีขาวครีม ค่อนข้างใหญ่ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ มีน้อยดอก กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกส่วนล่างเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 6-6.5 ซม.ส่วนบนแผ่บานเป็นปากแตร เกสรผู้มี 3 อัน ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว มีก้านเกสรเพศเมียยาว ผลเป็นผลสดกลมแป้นมีเนื้อ ขนาด 15-18 ซม.ผลแก่สีเทามีคราบนวล เมล็ดรูปรียาว 5-8 ซม.มี 6-8 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งที่มีแสงแดดจัด ดินที่อุดมสมบูรณ์และมีความชื้นมาก พืชแต่ละต้นสามารถให้ผลผลิตได้ 2.5 กิโลกรัมต่อปี
ใช้ประโยชน์---พืชผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่และกินได้ที่อุดมไปด้วยน้ำมัน นิยมใช้เป็นอาหาร และยังมีสรรพคุณทางยา
-ใช้เป็นอาหาร เนื้อในเมล็ดกินได้ถ้านำเมล็ดไปปิ้งไฟก่อนมีรสหวานมัน ในเมล็ดมีน้ำมันถึง 50-60% สีเหลืองฟางไม่มีกลิ่นไม่มีรส ใช้ประกอบอาหารได้ เหมือนน้ำมันหมู  
-ใช้เป็นยา น้ำมันจากเมล็ดใช้ในยาแผนโบราณ ยาต้มของใบรักษาไข้ รักษาแผลที่จมูก ขี้เถ้าของใบที่ถูกเผาจะใช้ในการรักษาบาดแผล;- ในเวียตนามใช้ น้ำมันเมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาระบาย สามารถใช้น้ำมันเมล็ดในการรักษาโรคบิด ใช้ลำต้นรมควันรักษาแผลในจมูก น้ำของลำต้นและใบมีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะ ;-ในอินโดนีเซีย(บอร์เนียว) คนพื้นเมืองผสมขี้เถ้าใบกับน้ำมันมะพร้าวนำไปใช้รักษาอาการบวมที่เต้านมของผู้หญิง
-อื่น ๆพืชใช้ในการย้อมสี
รู้จักอันตราย---เมล็ดดิบมีรสขมและอาจมีสารอันตราย
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธ์-มีนาคม/
ขยายพันธุ์---เมล็ด

มะเขือแจ้เครือ/Securidaca inappendiculata

ชื่อวิทยาศาสตร์---Securidaca inappendiculata Hassk.(1848)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50129217
---Securidaca bracteata A.W. Benn.(1872)
---Securidaca scandens Buch.-Ham. ex Benth.(1861)
---Securidaca tavoyana Wall. ex A.W. Benn.(1872)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ชองระอา (ภาคกลาง), จองระอา, มะเขือแจ้เครือ (เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน), จุงอาง (ตราด), สะกุ้น (สงขลา) เถามวก, เถาโมก (มุกดาหาร), รางจืด (หนองคาย) ;[ASSAMESE: Phackcena Lata, Phekchena-lata.];[CHINESE: Chán yì téng.];[THAI: Chong ra a (Central); Chong la ang, Ma khuea chae khruea (Chiang Mai); Chung ang (Trat); Sakun (Songkhla); Thao muak, Thao mok (Mukdahan); Rang chuet (Nong Khai).];[VIETNAM: Đằng ca, Dây đằng ca, Thuyền dực đằng.].
EPPO Code---SEUSS (Preferred name: Securidaca sp.)
ชื่อวงศ์---POLYGALACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดียตอนเหนือ จนถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
Securidaca inappendiculata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ต่างไก่ป่า (Polygalaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Justus Carl Hasskarl (1811-1894) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี พ.ศ.2391
รวม 2 Infraspecifics ที่ยอมรับคือ:
-Securidaca inappendiculata subsp. corymbosa (Turcz.) Meijden.(1988)
-Securidaca inappendiculata subsp. inappendiculata.(1848)


ที่อยู่อาศัยพบในอินเดีย จีน (กวางตุ้ง, กวางสี, ไหหลำ, ยูนนาน) บังคลาเทศ, กัมพูชา, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ฟิลิปปินส์, ไทย, เวียดนาม ขึ้นในป่าทึบในหุบเขาที่ระดับความสูง 500-1,100 เมตร ในประเทศไทยพบตามชายป่าริมธารน้ำที่ระดับความสูง 200-400 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง สูงได้ถึง 6 เมตร อาจเลื้อยได้ไกลถึง 20 เมตรใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่ขนานแกมรี ขนาดของใบกว้าง 5-8 ซม.ยาว 10-12 ซม.โคนใบสอบปลายใบแหลมขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อสีชมพูแกมแดง ออกเป็นช่อ ดอกย่อยขนาด 1 ซม.มีกลีบรองดอก 5 กลีบ กลีบดอกมี 3 กลีบ สองกลีบบนรูปขอบขนานโค้ง กลีบล่างรูปเรือ ปลายแผ่ เกสรเพศผู้มี 8 อันเชื่อมกันเป็นมัด ผลขนาดกว้าง 1.5 ซม.ยาว 6 ซม.มี 1 เมล็ดรูปไข่สีน้ำตาลเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 มม.มีปีก
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ทั้งต้น ใช้ต้มเป็นยาแก้ปวดหลัง และบั้นเอว ;-ใช้ขับปัสสาวะ รักษาอาการบาดเจ็บ ไขข้ออักเสบ ปวดกระดูก กระเพาะและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ;-ในเวียตนาม ใช้ราก, เปลือกไม้ แก้บวม, ปวด, ลำไส้อักเสบ, โรคกระเพาะ, ปัสสาวะน้อย, โรคไขข้อ, ปวดกระดูก  
-อื่น ๆ  ในประเทศจีนเปลือกใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผ้าฝ้ายและกระดาษ
สถานะการอนุรักษ์---ไม่ได้รับการประเมิน (NE)
ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน-กันยายน/กันยายน-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด              

                                                                    

มะลิเฉลิมนรินทร์/Jasminum bhumibolianum

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---ภาพ : สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล https://www.dnp.go.th/Botany/plantdb/plantdbdetails.

ชื่อวิทยาศาสตร์---Jasminum bhumibolianum Chalermglin.(2013)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name
---See all https://powo.science.kew.org/taxon/77132552-1
ชื่อสามัญ---King Bhumibol's Jasmine
ชื่ออื่น---มะลิเฉลิมนรินทร์ (เฉลิมนรินทร์);[THAI: Mali Chalermnarin.].
EPPO Code---IASSS (Preferred name: Jasminum sp.)
ชื่อวงศ์---OLEACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
นิรุกติศาสตร์---พันธุ์นี้ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรม นาถ บพิตร  เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2554 ทั้งนี้ วว. ได้ขอพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum bhumibolianum Chalermglin และชื่อภาษาไทย คือ มะลิเฉลิมนรินทร์ เพื่อเป็นการระลึกถึงความพยายามอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ในการอนุรักษ์พืชพื้นเมืองในประเทศไทย ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 มีความหมายว่า " มะลิเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน"  
Jasminum bhumibolianum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะลิ (Oleaceae) สกุลมะลิ (Genus Jasminum) มีลักษณะเด่นแตกต่างจากมะลิพื้นเมืองและมะลิชนิดอื่นๆ ที่มีอยู่ทั่วโลกคือ มีกลีบเลี้ยง แหลม หนาแข็งขนาดใหญ่จำนวน 4-5 ซี่ รองรับดอกสีขาวที่มีกลีบดอก 6-8 กลีบและมีกระเปาะเกสรเพศผู้สีเหลืองเด่นชัด ค้นพบและได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Dr.Piya Chalermglin (ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น also spelt Piya Chalermklin; fl. 2000) นักพฤกษศาสตร์ชาวไทย ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ วว.(สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย)ในปีพ.ศ.2556
ที่อยู่อาศัย“มะลิเฉลิมนรินทร์” พรรณไม้พระราชทานนามชนิดใหม่ของโลกเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียว (endemic) ของประเทศไทย วว. ได้ทำการสำรวจพบมะลิเฉลิมนรินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2552 กระจายพันธุ์อยู่บนเนินเขาหินปูนเตี้ยๆ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 715 เมตร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่จังหวัดเลย
ลักษณะโดยทั่วไปของมะลิเฉลิมนรินทร์ เป็นไม้เถาเลื้อยได้ไกล 1-2 เมตร กิ่งยอดเรียวเล็ก เรียบ ใบรูปรีหรือรูปหอกกว้าง โคนใบเว้า ปลายใบเป็นตุ่มแหลม ใบหนา เหนียวสีเขียว เป็นมัน กว้าง 3-3.5 ซม. ยาว 6-8 ซม. เส้นแขนงใบมี 3-4 คู่เห็นไม่เด่นชัด ก้านใบยาว 4-5 มม.มีใบประดับเรียวยาว 5-6 มม.ช่อดอกออกที่ปลายกิ่งยอดหรือปลายกิ่งข้าง มีดอกย่อย 7-13 ดอก ส่งกลิ่นหอมแรง กลีบเลี้ยงแหลมหนาแข็งขนาดใหญ่จำนวน 4-5 ซี่ยาว 3-4 มม.หลอดกลีบดอก ยาว 12-15 มม.ตอนบนมีกระเปาะเกสรเพศผู้สีเหลืองเด่นชัด กลีบดอกสีขาว 6-8 กลีบ แต่ละกลีบกว้าง 3-4 มม.ยาว 10-12.5 มม.ปลายกลีบเป็นติ่งแหลมสั้น ผลกลมรี 1-2 ผล กว้าง 9 มม.ยาว 11มม.เมื่อสุกสีดำ
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี เป็นมะลิที่เจริญเติบโตช้าเมื่อเทียบกับมะลิชนิดอื่นๆ
สถานภาพ---พรรณไม้ถิ่นเดียว (endemic) หายากและใกล้สูญพันธุ์ (rare & endangered)
ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฎาคม-กันยายน/พฤศจิกายน-มกราคม
แหล่งที่มา---www.TISTR.or.th
แหล่งที่มา---http://novataxa.blogspot.com/2013/07/jasminum-bhumibolianum.html
 

มะลินวลแก้ว/ Jasminum sp "Nuan Kaeo"

ชื่อวิทยาศาสตร์---Jasminum sp "Nuan Kaeo"
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---มะลินวลแก้ว ;[THAI: Mali nuan kaeo.].
ชื่อวงศ์---OLEACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
ที่อยู่อาศัย พรรณไม้ถิ่นเดียวประเทศไทย เพิ่งค้นพบและรอรายงานการตั้งชื่อ พบในระดับความสูง 250 เมตรที่จังหวัดเลย
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยได้ไกล 1-2 เมตรยอดอ่อนมีขนใบเดี่ยวค่อนข้างหนา รูปรีกว้าง 3-3.5 ซม.ยาว 6-8 ซม.ช่อดอกแบบช่อกระจุก มีดอกย่อย 7-13 ดอก กลีบดอกสีขาวมีกลิ่นหอมแรงขนาดดอก 2-2.5ซม.ผลทรงรีกว้าง 0.9 ซมยาว 0.11 ซม.เมื่อสุกสีดำ
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
สถานภาพ---พืชถิ่นเดียว (endemic) หายากและใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (rare & endangered)
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนกรกฏาคม-กันยายน/
การขยายพันธุ์---ที่ได้ผลดีคือการปักชำกิ่ง(จุ่มฮอร์โมนเร่งราก) แล้วนำเข้ากระโจม ควบคุมความชื้น ก็จะออกรากและแตกยอดได้ดี ส่วนการทาบกิ่งที่ใช้มะลิเสี้ยวผีและมะลิไส้ไก่เป็นต้นตอพบว่าเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ึ้วและมีความสมบูรณ์ดี

มะลิย่าน/ Jasminum elongatum

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---Photo: https://biodiversity.bt/species/show/5955
ชื่อวิทยาศาสตร์---Jasminum elongatum (P.J.Bergius) Willd.(1797)
ชื่อพ้อง---Has 61 Synonyms
---Basionym: Nyctanthes elongata P.J.Bergius.(1772)
---Jasminum bifarium Wall. & G.Don.(1837)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-352116
ชื่อสามัญ---Common Malayan jasmine, Red Kunda, Chinese jasmine, Climbing jasmine, Ear-leaf jasmine.
ชื่ออื่น---เขี้ยวงู, ดอกใบ, ดอกเสี้ยว,ไลไก่, เสี้ยวต้น, ไส้ไก่ (ทั่วไป), มอกส่วยเตาะ, มะลิจี่เลี่ยม, มะลิไส้ไก่ (ภาคกลาง), มะลิเถื่อน, มะลิป่า, มะลิย่าน, ลิ (ภาคใต้), เครือไส้ไก่ (เลย), มะลิฝรั่ง (เชียงใหม่), มะลิเลี่ยม (ภาคเหนือ) ;[ASSAMESE: Khalikakunda.];[BHUTAN: Maidal, Sanumaidal.];[INDONESIA: Melor hutan.];[MALAYSIA: Akar Pekan Hutan (Malay); Jarum ali.];[PHILIPPINRS: Sampagitaing-gubat (Tag.); Horohamorauon (P. Bis.); Manol, Manoahiyas (C. Bis.); Manomonot (Ilk.); Chaksil, Dingsil (Ig.).];[THAI: Khiao ngu, Dok bai, Dok siao, Lai kai, Siao ton, Sai kai (General); Mok-suai-to, Mali chi liam, Mali sai kai (Central); Mali thuean, Mali pa, mali yan, Li (Peninsular); Khruea sai kai (Loei); Mali farang (Chiang Mai); Mali liam (Northern).].
EPPO Code---IASEL (Preferred name: Jasminum elongatum.)
ชื่อวงศ์---OLEACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ปาปัวนิวกินี ออสเตรเลีย
Jasminum elongatum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะลิ (Oleaceae) สกุลมะลิ (Genus Jasminum)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Peter Jonas Bergius (1730–1790) เป็นแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Carl Ludwig Willdenow ( 1765–1812 ) นักพฤกษศาสตร์และเภสัชกรชาวเยอรมันในปีพ.ศ.

ที่อยู่อาศัย พบในจีนตอนใต้ เนปาล อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ถึง นิวกินี ออสเตรเลีย พบบ่อยมากในป่าดิบชื้นขั้นต้นและขั้นทุติยภูมิและชายป่า ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึงประมาณ 1,500 เมตร บางครั้งถึง 3,000 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ส่วนที่ยังอ่อนมีขน ยาวนุ่มปกคลุมห่างๆ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามแผ่นใบรูปไข่ ถึงรูปใบหอกแคบ ขนาด 3-5x5-10 ซม.โคนใบมนกลม หรือเกือบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบปลายใบเรียวแหลม ด้านบนสีเขียวเข้มด้านล่างสีซีดกว่า เนื้อใบคล้ายแผ่นหนังบางดอก แบบช่อกระจุกสองด้าน หรือช่อกระจุกสองด้านหลายชั้น ออกตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยสีขาว มีกลิ่นหอม 3-10 ดอก ดอกบานรูปดอกเข็ม ขนาด 2-3 ซม.มี 7-9 กลีบ ผลแบบผลเมล็ดเดียวแข็ง ออกเป็นคู่รูปทรงรี ขนาด 0.5-0.7 x 0.8-1.2 ซม.ผลสุกสีดำ ผิวเกลี้ยงเป็นมันวาว
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็มที่หรือในที่ร่มบางส่วน ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นแต่มีการระบายน้ำดี
ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นยาในท้องถิ่น
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ รากและใบ รากเป็นยาแก้ไข้ ยาต้มรากจะใช้หลังคลอดบุตร ;-ในฟิลิปปินส์ยาต้มจากรากใช้ภายนอกเพื่อรักษาเลือดออกตามไรฟัน และเป็นยาบ้วนปากเพื่อบรรเทาอาการเหงือกอักเสบ -ใบใช้เป็นส่วนผสมลดไข้ ยาต้มจากใบสามารถใช้รักษาอาการลำไส้แปรปรวนและนิ่วในไต -ใบใช้เป็นยาพอกเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะและอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนและโรคหวัดในเด็ก ;-ในจีนเป็นส่วนผสมในสูตรสมุนไพรที่ใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
-ใช้ปลูกประดับ มีศักยภาพในการปลูกเป็นพืชสวนเนื่องจากค่อนข้างเป็นพุ่ม ใบสีเทาอมเขียว และดอกไม้หอมสีขาวขนาดใหญ่
ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน-พฤศจิกายน หรือ พฤศจิกายน-มีนาคม  
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง

มะลิระบำ/Jasminum laurifolium var. brachylobum

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---NGUYỄN TIẾN QUẢNG
https://faunaandfloraofvietnam.blogspot.com/2020/02/jasminum-laurifolium-var-brachylobum.html
ชื่อวิทยาศาสตร์---Jasminum laurifolium Roxb. ex Hornem. var. brachylobum Kurz.(1877)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:60462117-2
---Jasminum laurifolium var. sublinearis C.B.Clarke.(1882)
ชื่อสามัญ---Angel Wing Jasmine
ชื่ออื่น---มะลิระบำ (ทั่วไป) ; [THAI: Mali rabam (General).];[VIETNAM: Lài lá quế.].
EPPO Code---IASLA (Preferred name: Jasminum laurifolium.)
ชื่อวงศ์---OLEACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, ไหหลำ, เมียนมาร์, ไทย, ทิเบต
Jasminum laurifolium var. brachylobum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์วงศ์มะลิ (Oleaceae) สกุลมะลิ (Genus Jasminum)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Wilhelm Sulpiz Kurz (1834-1878) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี พ.ศ.2420
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในอรุณาจัลประเทศถึงไหหลำ
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็ก เลื้อยได้ไกล2-3เมตร เป็นมะลิพื้นเมืองของประเทศไทย ลักษณะแตกกิ่งน้อย ใบเดี่ยวรูปหอกยาวปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบหนา ยาว10-14 ซม.ช่อดอกออกที่ปลายยอดเป็นช่อสั้นๆ มีดอกย่อย3-5ดอก กลีบดอกสีขาวมี7-9กลีบ แต่ละกลีบเรียวยาวห้อยลู่ลง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกเมื่อบาน 3-3.5 ซม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็มที่หรือในที่ร่มบางส่วน ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นแต่มีการระบายน้ำดี
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับในหลายประเทศเขตร้อนและมีอยู่ในรูปแบบและชื่อที่หลากหลาย
ระยะออกดอก---กุมภาพันธ์-มีนาคม
ขยายพันธุ์---ตอนกิ่ง ปักชำ เพาะเมล็ด

มะลิสยาม/Jasminum siamense


ชื่อวิทยาศาสตร์---Jasminum siamense Craib.(1913)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-351681
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---มะลิสยาม, มะลิวัลย์เถา (ทั่วไป) ; [THAI: Mali sayam, Mali wan thao (general).].
EPPO Code---IASSS (Preferred name: Jasminum sp.)
ชื่อวงศ์---OLEACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Jasminum siamense เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะลิ (Oleaceae) สกุลมะลิ (Genus Jasminum) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2456
ที่อยู่อาศัย เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทยมีการกระจายพันธุ์ ตามเขาหินปูนและป่าผลัดใบ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง 50-1,000 เมตร ได้รับการตั้งชื่อเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกโดยศาสตราจารย์ William Grant Craib นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum siamense Craib พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2455 ที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ตัวอย่างพันธุ์ไม้ต้นแบบหมายเลข Kerr 2307 เก็บจากป่าละเมาะระหว่างจังหวัดลําปางและจังหวัดแพร่
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงเพียง 20-40 ซม. บริเวณโคนมีเนื้อไม้ ต้นอ่อนมีขนประปราย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปใบหอก กว้าง 1-1.5 ซม.ยาว 3-5 ซม.ปลายใบแหลมและมีติ่งหนามเล็ก โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ยกเว้นใบอ่อนมีขนประปรายบริเวณโคนเส้นกลางใบด้านล่าง เส้นแขนงใบมีประมาณ 3 คู่ ไม่มีตุ่มใบ ก้านใบยาว 0.2-0.5 ซม.มีขนสั้นประปราย ช่อดอกออกที่ปลายยอด มีจำนวน1-3ดอก ซี่กลีบเลี้ยงรูปร่างคล้ายแผ่นใบ กว้าง 1-4 มม.ยาว 5-15 มม.หอมแรง กลีบดอก 7-8 กลีบยาว 12-20 มม.ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 ซม.ผลกลมขนาด 6-8 มม.เมื่อแก่สีแดงเข้ม
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---มะลิสยามทนทานต่อความแห้งแล้ง และทนต่อไฟไหม้ เนื่องจากมีลำต้นสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน จะแตกลำต้นใหม่หลังจากมีไฟไหม้  มีข้อสังเกตที่มีกลีบเลี้ยงใหญ่คล้ายแผ่นใบ มีผลสุกสีแดง
สถานภาพ---พืชถิ่นเดียว (endemic)
ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

มันเทียน/Dioscorea myriantha

ชื่อวิทยาศาสตร์---Dioscorea filiformis Blume.(1827)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-240136
---Dioscorea gibbiflora Hook.f.(1892)
---Dioscorea koordersii R.Knuth.(1924)
---Dioscorea myriantha Kunth.(1850)
---Dioscorea repanda Blume.(1827)
ชื่อสามัญ---Wild yam
ชื่ออื่น---ผักแมวแดง (สุราษฎร์ธานี), มันเทียน (สระบุรี); มันแซง, เครือมันแซง; อุบีตันโย (มาเลย์-ปัตตานี) ;[INDONESIA: Aroi huwi curuk (Sumatra), Dudung (Java).];[MALAYSIA: Wauh.];[PHILIPPINES: Kiroi, Kiru (Tagalog).];[THAI: Phak maeo daeng (Surat Thani); Man thian (Saraburi); U-bi-tan-yo (Malay-Pattani).].
EPPO Code---DIUSS (Preferred name: Dioscorea sp.)
Associated Non-Taxonomic---|-- vegetable crops (3VEGC)
ชื่อวงศ์---DIOSCOREACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
Dioscorea filiformis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กลอย (Dioscoreaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig von Blume.(1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2370
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดียในประเทศไทยพบได้ในทุกภาค พบในป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง มักจะอยู่บนหน้าผาหินปูนหรือหินแกรนิต
ลักษณะ เป็นไม้เถาล้มลุกอายุปีเดียว หัวอยู่ใต้ดินมีเนื้อสีขาวมีรากเล็กๆทั่วทั้งหัว ส่วนเถามีขนาดเล็กสีเขียวหรือสีน้ำตาล พันไปตามต้นไม้อื่น ใบเดี่ยว ขนาด 10 × 7 ซม.เรียงสลับแผ่นใบรูปใบหอก โคนใบปลายใบแหลม กว้างและมน แผ่นใบและขอบใบเรียบ เส้นกลางใบ 3 เส้น ออกจากโคนใบโค้งจรดขอบใบ ก้านใบเป็นเหลี่ยม โคนก้านใบสีค่อนข้างแดง ใบสีเขียวเป็นมัน ช่อดอกออกตามซอกใบตามลำต้น แต่ละช่อประกอบด้วยช่อย่อย ช่อย่อยมีดอกย่อย 10-20 ดอก ดอกย่อยไม่มีก้านดอก ผลเป็นผลแบบแคปซูลยาวถึง 24 × 22 มม.ผลเป็นมันวาวเมื่อแห้ง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบแสงแดดรำไร ขึ้นได้ดีในดินร่วนไม่อุ้มน้ำ
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน หัวใต้ดินทำให้สุกปรุงเป็นอาหารคาวหวานได้ ใช้ต้มเป็นอาหารในคาบสมุทรมาเลเซีย
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-เมษายน/
ขยายพันธุ์---การแยกเหง้าและปักชำ 

โมกจ้าง/Chonemorpha megacalyx

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---ร้านลูกแฝดพรรณไม้
https://www.facebook.com/Lookfadpanmai/posts/800660713431048/
(ไม่มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์)
ชื่อวิทยาศาสตร์---Chonemorpha megacalyx Pierre ex Spire.(1905)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-39745
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---โมกจ้าง (เชียงใหม่), โมกเลื้อยสีชมพู ;[CHINESE: Chang e lu jiao teng.];[THAI: Mok chang (Chiang Mai); Mok leauy si chomphoo.].
EPPO Code---CXMSS (Preferred name: Chonemorpha sp.)
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน ลาว และไทย
Chonemorpha megacalyx เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Jean Baptiste Louis Pierre (1833-1905) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสจากอดีต Camille Joseph Spire (1871-1932)นักพฤกษศาสตร์และนักกีฏวิทยาชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2448
ที่อยู่อาศัย เป็น พรรณไม้ที่สำรวจพบครั้งแรกในประเทศลาว กระจายในจีน (ยูนนาน) ตามชายป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 900-1500 เมตร ในประเทศไทยพบในป่าดิบชื้นที่จ.เชียงใหม่ที่ระดับความสูง 900 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่เลื้อยได้ไกล 5-10 เมตร ลำต้นมีขนหนาแน่น มีช่องหายใจเป็นขีดยาวสีขาว มีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยวรูปรีจนถึงรูปไข่กลับ กว้าง6-17ซม.ยาว8-27ซม.โคนใบเว้ารูปหัวใจปลายใบมีติ่งแหลมสั้นๆ มีขนหนาแน่นทั้งสองด้านของใบ ช่อดอกยาว12-13 ซม.มีดอกย่อย 10-15 ดอก สีชมพูอ่อนกลิ่นหอม โคนกลีบดอกเป็นหลอดปลายแยกเป็น5กลีบ กลีบม้วนบิดเป็นเกลียว ปากหลอดสีส้มเข้มปลายกลีบย่นเล็กน้อย ขนาดดอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4.5 ซม.ผลเป็นฝักยาว 10-16 ซม.มีขนหนาแน่น แก่แล้วแตกตามยาว เมล็ดมีขนปุยสีขาวลอยไปตามลมได้
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัด ความชื้นสูง
สถานภาพ--- พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ ไม่มีการกระจายพันธุ์ไปในบริเวณอื่นๆ
ระยะออกดอก/ติดผล---กุมภาพันธ์-เมษายน/
การขยายพันธุ์--- เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ปักชำราก

โมกหอม/Chonemorpha fagrans

ภาพประกอบเพื่อการศึกษา---https://ast.wikipedia.org/wiki/Chonemorpha_fragrans
ชื่อวิทยาศาสตร์---Chonemorpha fagrans (Moon) Alston.(1929)
ชื่อพ้อง---Has 25 Synonyms.
---Basionym: Echites fragrans Moon.(1824)
---Chonemorpha grandiflora G.Don.(1837)
---Chonemorpha macrophylla G.Don.(1837)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-39736
ชื่อสามัญ---Frangipani vine
ชื่ออื่น---โมกหอม (ภาคกลาง), พอกะสะคือ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ระฆังเงิน (เชียงใหม่) ;[CHINESE: Da ye lu jiao teng.];[THAI: Mok hom (Central); Pho-ka-sa-khue (Karen-Chiang Mai); Ra khang ngoen (Chiang Mai).].
EPPO Code---CXMMP (Preferred name: Chonemorpha fragrans.)
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- จีนตอนใต้, อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ไทย, มาเลเซียและอินโดนีเซีย
Chonemorpha fagrans เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Alexander Moon (1755–1825) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Charles Alston (1683 –1760) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปีพ.ศ.2472
ที่อยู่อาศัยเป็นพรรณไม้ที่สำรวจพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ในประเทศไทยพบบริเวณแคบๆในป่าดิบชื้นภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาาาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง200-900เมตร มีสถานภาพยังพอหาได้
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่เลื้อยได้ไกล 5-10 เมตร ลำต้นมีขนหนาแน่น มีช่องหายใจเป็นขีดยาวสีขาว มีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หนา รูปรี กว้าง 5-10 ซม.ยาว 10-26 ซม.โคนใบเว้าปลายใบมีติ่งแหลมสั้นๆ มีขนหนาแน่นทั้งสองด้านของใบ ช่อดอกยาว 10-15 ซม.มีดอกย่อย 8-15 ดอก สีเหลืองอ่อนกลิ่นหอม โคนกลีบดอกเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบม้วนบิดเป็นเกลียว ปากหลอดสีเหลืองเข้มปลายกลีบย่นเล็กน้อย ขนดดอก 3-4.5 ซม.ผลเป็นฝักยาว 8-12 ซม.มีขนหนาแน่น แก่แล้วแตกตามยาว เมล็ดมีขนปุยสีขาวลอยไปตามลมได้
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัด ดินร่วนชื้นสม่ำเสมอ ระบายน้ำดี
ใช้ประโยชน์---ใชัปลูกเป็นไม้ประดับมีกลิ่นหอม ปลูกลงแปลงกลางแจ้งให้เลื้อยไต่ซุ้มได้ในพื้นราบภาคกลาง
-อื่น ๆ เส้นใยที่ได้จากเปลือกนั้นทนต่อน้ำจืดและน้ำเค็มใช้สำหรับทำอวน
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน/
การขยายพันธุ์--- เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง


ย่านขี้ผึ้ง/Sarcolobus carinatus


ชื่อวิทยาศาสตร์---Sarcolobus carinatus Wall.(1816)  is an unresolved name
---This name is unresolved. (เป็นชื่อที่ไม่ได้รับการแก้ไข)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2473337
---Asclepias peregrina Blanco.(1837)    
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ย่านขี้ผึ้ง (ทั่วไป) ;[TELUGU: Pala boddu teega.];[THAI: Yan khi pung (general).]
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
วงศ์ย่อย---Asclepiadaceae
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย, พม่า, หมู่เกาะอันดามัน, ไทย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย
Sarcolobus carinatus เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (Asclepiadoideae หรือ Asclepiadaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์กในปี พ.ศ.2359  
ที่อยู่อาศัยพบในอินเดีย พม่า หมู่เกาะอันดามัน ไทย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ขึ้นตามพื้นที่ป่าชายเลนโปร่ง ที่น้ำทะเลท่วมถึงเป็นครั้งคราว
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น ลำต้นเกลี้ยงสีส้มอมน้ำตาล ยาวถึง 3 เมตร.ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3-0.5 ซม.ตามข้อมีขนสั้นเป็นวงรอบ ทุกส่วนของลำต้นมียางสีขาวคล้ายน้ำนม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่กลับ รูปรีถึงรูปใบหอกแคบ ขนาดกว้าง 1-2 ซม.ยาว 5-8 ซม.โคนใบสอบขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม แผ่นใบอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวคล้ำ ด้านล่างสีอ่อนจางกว่า ใบแก่ก่อนร่วงสีส้มถึงส้มอมแดง ดอก แบบช่อเชิงลดออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว 0.5 ซม.มีดอกย่อย 1-6 ดอก ดอกย่อยรูปกงล้อสีเหลืองนวลหรือเขียวอมเหลือง ดอกบานขนาด 0.5-0.7 ซม.ก้านดอกย่อยยาว 0.4 ซม.ผลแบบผลแตกแนวเดียวรูปรี ขนาดกว้าง 1.5-3 ซม.ยาว  4-7 ซม.ปลายผลเป็นจงอยผิวเกลี้ยงด้านบนมีสัน 2 สัน สุกสีส้มอมแดง เมล็ดแบนรูปไข่ ยาว 1 ซม. สีน้ำตาลเข้ม ขอบหนา มีปีก ไม่มีขนที่พู่ปลาย
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผล อ่อน รับประทานได้ ;-ในคาบสมุทรมาเลเซียและสิงคโปร์ใช้เปลือกผลไม้ สำหรับทำแยม หลังจากแช่เปลือกในน้ำเกลือเป็นเวลาสามวันและต้มภายหลังในน้ำเชื่อม นอกจากนี้ยังใช้ในการทำ sambal ในอินโดนีเซีย
-ใช้เป็นยา พืชถูกใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับรักษาโรคไขข้อ ไข้เลือดออกและไข้ เป็นที่ทราบกันดีว่าพืชมีสารบาร์บิเกโรนซึ่งผ่านการรับรองแล้วว่ามีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ มีประสิทธิภาพสูงในการต่อต้านเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparumและมีศักยภาพในการต้านมะเร็งเนื่องจากเป็นสาเหตุของการตายของเซลล์มะเร็งปอดในหนู  
รู้จักอันตราย---S. globosusได้รับการขึ้นทะเบียนโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่าเป็น พืช มีพิษ เป็นที่ทราบกันดีว่าเมล็ดมีพิษ สูง ต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชาวพื้นเมืองในเอเชียใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อฆ่าสุนัขและสัตว์ป่า สารสกัดจากพืชทำให้เกิดการยับยั้งระบบประสาทและกล้ามเนื้อ อาการของพิษในสัตว์ ได้แก่ ปัสสาวะเป็นเลือดและไตอักเสบ
ระยะออกดอก/ติดผล--มิถุนายน–กันยายน/ตุลาคม–มกราคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

ย่านงด/Poikilospermum suaveolens


ชื่อวิทยาศาสตร์---Poikilospermum suaveolens (Blume) Merr.(1934)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.
---Basionym: Conocephalus suaveolens Blume.(1825)
---Poikilospermum sinense (C.H. Wright) Merr.(1934)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---กุระเปี๊ยะ (สงขลา), ขมัน (จันทบุรี), เครือเต่าไห้ (ลำปาง), ชะไร (สตูล), ยาวี, เถากะมัน, ย่านมูรู (พัทลุง), มะรุ (ปัตตานี), มือกอ (มาเลย์-นราธิวาส), โร (พังงา), อ้ายไร (กรุงเทพฯ) ;[CAMBODIA: Krâpë rôô.];[CHINESE: Tentawan, Zhuī tóu má.];[INDONESIA: Mentawan (Malay); Besto (Javanese); Areuy kakejoan (Sundanese).];[MALAYSIA: Akar Murah, Akar setawan, Centawan, Mentawan (Peninsular); Akar Jangkang, Akar Kayas, Tentawan (Malay).];[PHILIPPINES: Anopol (Igorot, Bikol); Hanopol, Kanupul (Tagalog).];[THAI: Kura pia (Songkhla); Kha man (Chanthaburi); Khruea tao hai (Lampang); Cha rai, Ya wi (Satun); Thao kaman, Yan mu ru (Phatthalung); Ma ru (Pattani); Mue-ko (Malay-Narathiwat); Ro (Phangnga); Ai rai (Bangkok).];[VIETNAM: Rum, Rum thơm, Sung tây.].
EPPO Code---QKLSU (Preferred name: Poikilospermum suaveolens.)
ชื่อวงศ์---URTICACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน คาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
Poikilospermum suaveolens เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตำแย (Urticaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Elmer Drew Merrill  (1876–1956) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกันในปี พ.ศ.2477


ที่อยู่อาศัยการกระจายพื้นเมืองพบใน อินเดีย จีนตะวันออกเฉียงใต้ เมียนมาร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ภาคใต้ของไทย หมู่เกาะนิโคบาร์ สุมาตรา คาบสมุทรมาเลเซีย สิงคโปร์ บอร์เนียว ชวา สุลาเวสี และโมลุกกะ พบตามชายป่าดิบชื้นปฐมภูมิ, ป่าดงดิบรอง, ป่าพรุน้ำจืด เติบโตตามแม่น้ำและลำธาร ที่ระดับความสูงถึง 1,500 เมตร ในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้
ลักษณะ เป็นไม้เถาขึ้นตามคาคบ กิ่งอ่อนและลำต้นมีตุ่มระบายอากาศตามผิวและมียางใส ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนแน่นตามปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่หรือมนรี ขนาดกว้าง 10-14 ซม.ยาว12-26 ซม.ปลายใบทู่ โคนใบมนหรือหยักเว้า เนื้อใบหนาเกลี้ยง เส้นใบออกจากจุดฐานใบ 3 เส้น ดอกแยกเพศ ดอกผู้ออกกันเป็นก้อนหรือหัว ขนาดประมาณ1-1.5ซม. ดอกเมียรวมกันเป็นหัวเช่นกันแต่มีขนาดใหญ่กว่า ขนาดประมาณ 2-3 ซม.โคนดอกติดกันเป็นหลอดเล็กๆ และปลายแยกเป็นแฉกแหลม 4 แฉก มีเกสรเพศผู้ 2-4 อัน รังไข่มี 1 ช่อง มีไข่อ่อน 1 หน่วย ผลเป็นก้อนกลมสีแดงถึงสีน้ำตาลอมแดง ขนาด 2-4 ซม.ก้านช่อผลยาว 4 ซม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งที่แสงแดดส่องถึง ต้องการดินร่วนชื้น อุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำดี
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา น้ำคั้นจากใบหรือยาต้มใบ ใช้รักษาไข้และโรคไต, ใบและรากใช้แก้ไข้และคัน, รากอากาศจะรมควันเพื่อรักษาแผลในจมูกหรือเป็นยากระตุ้น, น้ำจากก้านสามารถใช้รักษาแผลตา ,เปลือกจากเนื้อไม้ย่านงด นำมาผสมปรุงเป็นยาบำรุงประสาท บำรุงหัวใจ และบำรุงครรภ์รักษาสำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ;-ในอินโดนีเซียใช้รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ ปวดหลัง ,มะเร็ง,แผลเปื่อย
-ใช้ปลูกประดับ เหมาะสำหรับปลูกเป็นซุ้มไม้ประดับ ปลูกในสวนสาธารณะและสวนทั่วไปโดยการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้เป็นไม้พุ่ม
-อื่น ๆ เปลือกที่มีเส้นใยสูงใช้ทำเชือก, รากและลำต้นทางอากาศเมื่อ ตัด ให้น้ำดื่ม
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนมกราคม-มีนาคม/ผลแก่---เดือนมีนาคม-เมษายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง

ย่านเลือด/Fissistigma rubiginosum

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Fissistigma rubiginosum (A.DC.) Merr.(1919)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms
---Basionym: Uvaria rubiginosa A.DC.(1832)
---Melodorum rubiginosum (A.DC.) Hook.f. & Thomson.(1855)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2813142
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ย่านเลือด (สุราษฎร์ธานี), นมวัว (สงขลา),โคลง (มลายู ปัตตานี), นมช้าง (นครราชสีมา) ;[INDIA: Thir-kalwang (Garo).];[THAI: Yan lueat (Surat Thani); Nom wua (Songkhla); Khlong (Malay-Pattani); Nom chang (Nakhon Ratchasima).];[VIETNAM: Lãnh công sét; Cách thư sét.].
EPPO Code---FSGSS (Preferred name: Fissistigma sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย กัมพูชา  มาเลเซีย อินโดนีเซีย
Fissistigma rubiginosum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Alphonse Louis Pierre Pyrame de Candolle(1806-1893) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิสและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Elmer Drew Merrill  (1876–1956) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ในปีพ.ศ.2462


ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเซีย ตั้งแต่อินเดีย (อัสสัม) ถึงอินโดนีเซีย (บอร์เนียว) ที่ระดับความสูง 100-600 เมตร ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายตามป่าดิบชื้น ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ที่ระดับความสูง 50-300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขึ้นเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นเลื้อยได้ไกล 12-15 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมดำ กิ่งอ่อนมีขนมาก ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-10 ซม.ยาว13-22 ซม.โคนใบหยักเว้า ปลายใบมนและเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างตามแผ่นใบและเส้นกลางใบมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมหนาแน่น เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบนูนเด่น เส้นแขนงใบมี 15-19 คู่ ก้านใบยาว 5-7 มม.ดอกเป็นช่อกระจุก 2-4 ดอก ดอกขนาด 2-3 ซม.มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบค่อนข้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ฐานรวมกัน มีปลายแหลมกึ่งแหลมหรือแหลมตื้น สีน้ำตาลอมเหลืองด้านนอก ยาวประมาณ 2.5-3 x 1-1.5 มม. กลีบดอก 6 กลีบใน 2 ชุด กลีบนอกรูปใบหอก ปลายแหลมสีชมพูอ่อน ด้านนอกมีขน กว้างประมาณ 2.5-3 x 1 ซม.กลีบดอกด้านในสั้นและเล็กกว่า สีเหลือง เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีชมพู ยาวประมาณ 2.5 มม.ผลกลุ่มมีผลย่อย 4- 8 ผล รูปกลมรี กว้าง1.5 ซม.ยาว 2-2.5 ซม.ปลือกหนามีขนสีน้ำตาล มีเมล็ด2 แถวสีน้ำตาลเข้มเป็นประกาย รูปไข่กลับ 5-6 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัดถึงรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน-พฤศจิกายน/ผลแก่หลังจากดอกบาน 4-5 เดือน
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด


ศรีจันทรา/Rosa helenae

ชื่อวิทยาศาสตร์---Rosa helenae Rehder & E.H.Wilson.(1915)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/tro-27807337
---Rosa floribunda Baker.(1914)
ชื่อสามัญ---Helen Rose, Helen Wilson's Rose.
ชื่ออื่น---กุห
ลาบเลื้อยเชียงดาว, กุหลาบเวียงเหนือ, ศรีจันทรา (ทั่วไป); [ARABIC: Warad hilinaa.];[CHINESE: Luan guo qiang wei.];[SWEDISH: Honungsros.];[THAI: Kulap lueai chiang dao; Kulap wiang nuea; Si chan thra (General).].
EPPO Code---ROSHE (Preferred name: Rosa helenae.)
ชื่อวงศ์---ROSACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--ตอนกลางและตอนใต้ของประเทศจีน  ภาคเหนือของประเทศไทย เวียดนามเหนือ
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสายพันธุ์ 'helenae' ตั้งชื่อตาม Helen ภรรยาของ Ernest Henry Wilson ผู้ค้นพบในประเทศจีนในปี ค.ศ. 1907  
Rosa helenae เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กุหลาบ (Rosaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Alfred Rehder(1863-1949) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันและ Ernest Henry Wilson (1876–1930) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2458


ที่อยู่อาศัย พบในประเทศจีน (กานซู กุ้ยโจว หูเป่ย มณฑลส่านซี เสฉวน ยูนนาน) รวมทั้ง ประเทศไทยและเวียดนาม เกิดขึ้นที่ขอบป่าในพุ่มไม้ บนเนินเขาและฝั่งแม่น้ำที่ระดับความสูง 1,000-3,000 เมตร ในประเทศไทย พบตามที่โล่งบนป่าหินปูน เป็นพรรณไม้หายากชนิดหนึ่งของไทยที่พบและเก็บตัวอย่างได้ที่ดอยเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ ที่ระดับความสูง 1,700-2,000 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เลื้อยทอดยาวได้ไกล 4-10 เมตร ลำต้นและกิ่งสีน้ำตาลอมม่วงมีหนามแหลมเป็นตะขอทั่วไป ยาวประมาณ 4 มม.ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 5-9 คู่ ใบรูปไข่แกมใบหอก ปลายแหลมขอบใบจักฟันถี่ ดอกออกเป็นช่อเชิงหลั่นหรือออกเดี่ยวๆที่ปลายยอด เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 3.75 ซม.กลีบเลี้ยงสีเขียวรูปใบหอก มี 5 กลีบ ดอกชั้นเดียว กลีบดอกดอกสีขาวนวลมี 5 กลีบ เมื่อใกล้โรยมีจุดสีชมพู เกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมากขนาดดอก 3-4 ซม.ดอกมีกลิ่นหอมหวาน ผลคล้ายผลสดสีแดงเข้มมีฐานดอกเจริญหุ้มรูปรีหรือรูปไข่ ขนาด1-1.5× 0.8–1 ซม.เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดจัดและอากาศเย็น ดินมีอินทรียวัตถุสูง ความชื้นสม่ำเสมอ
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับให้ดอกสวยงาม ใช้เป็นต้นตอ และปรับปรุงพันธุ์
สถานภาพ---พรรณไม้หายาก (Rare plant)
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ


ส้มขี้มอด/Embelia subcoriacea


ชื่อวิทยาศาสตร์---Embelia subcoriacea (C.B. Clarke) Mez.(1902)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2788214
---Basionym: Embelia nagushia var. subcoriacea C.B.Cl.(1882)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ส้มอ๊อบแอ๊บ (พิษณุโลก), นมนาง (ลำปาง), เบลงบล๊องดุ่ (กระเหรี่ยง กาญจนบุรี), ป้องเครือ (ภาคเหนือ), แม่น้ำนอง (เชียงใหม่), ส้มขี้หม่อน (หนองคาย) ;[CHINESE: Dà yè suān téng zi, Dà yè shíbā zhèng, Dà jī mǔ suān];[JAPANESE: Dai Kanō san Fujiko.];[THAI: Som op aep (Phitsanulok); Nom nang (Lampang); Bleng-blong-du (Karen-Kanchanaburi); Pong khruea (Northern); Mae nam nong (Chiang Mai); Som khi mon (Nong Khai); Som kung (Nakhon Ratchasima).];[VIETNAM: Cây Chua Ngút Dai, Rè dai.].
EPPO Code---EBLSS (Preferred name: Embelia sp.)
ชื่อวงศ์---MYRSINACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Embelia subcoriacea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์พิลังกาสา (Myrsinaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Charles Baron Clarke (1832-1906) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Carl Christian Mez (1866–1944) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2445
ที่อยู่อาศัยมีการกระจายในอินเดีย, จีนใต้ (กวางสี กุ้ยโจว ยูนนาน), ไทยและเวียดนาม  เกิดในป่าโปร่งหรือป่าทึบบนเนินที่ระดับความสูง ถึง 2,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยพบทุกภาค ตามป่าผลัดใบผสม ที่ระดับความสูง 300-1,000 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น หรือไม้พุ่มรอเลื้อยสูง 3-5 เมตร เปลือกเถาอ่อนสีเขียวมีจุดประสีขาวทั่วเถา เถาแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยวกว้าง 3.5-6.5 ซม. ยาว 8-15 ซม. เรียงสลับ โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียวคล้ายหนัง ผิวใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อเดี่ยวออกตามซอกใบ ช่อดอกยาว 3-5 ซม.ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอก 4 กลีบรูปรีแกมขอบขนาน ยาว 1-1.5 มม.เกสรผู้ 4 อัน ผลกลมสีเขียวเมื่อสุกสีม่วงแดง ขนาด 8-10 มม.มี 1 เมล็ด
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ใช้ใบอ่อนใส่อาหารประเภทต้มเพื่อให้มีรสเปรี้ยว ผลไม้เนื้อหุ้มเมล็ดรับประทานได้รสเปรี้ยวอมหวาน
-ใช้เป็นยา ชิ้นส่วนที่ใช้ผลไม้ ใช้เป็นพืชสมุนไพรแก้ไอ แก้ท้องร่วง ปวดท้อง ใช้ในการรักษาพยาธิตัวกลม
ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนมิถุนายน-เดือนพฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---ด้วยการเพาะเมล็ด

ส้มลม/Aganonerion polymorphum

ชื่อวิทยาศาสตร์---Aganonerion polymorphum Pierre ex Spire.(1906)
ชื่อพ้อง---This is a synonym of Urceola polymorpha (Pierre ex Spire) D.J.Middleton & Livsh.(2018)
---See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:76377-1
ชื่อสามัญ---River leaf, Sour-soup creeper, River-leaf creeper.
ชื่ออื่น---ส้มลม ;[CAMBODIA: Volli thnoeng, Kaot prom.];[THAI: Som lom (Northeastern, Saraburi).];[VIETNAM: Dây dang, Dây lá giang, Giang chua, Dây đực].
EPPO Code---URKSS (Preferred name: Urceola sp..)
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินโดจีน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Aganonerion มาจากภาษากรีก “aganos” =ชอบ และ “neros”= เปียก หมายถึงพืชที่ชอบขึ้นใกล้น้ำ
สกุล Aganonerion เป็น Monotypic genus มีเพียงชนิดเดียวคือ Aganonerion polymorphum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Jean Baptiste Louis Pierre (1833-1905) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส จากอดีต Camille Joseph Spire (1871-1932) นักพฤกษศาสตร์และนักกีฏวิทยาชาวฝรั่งเศส ในปีพ.ศ.2449
ที่อยู่อาศัย เป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาค อินโดจีน (ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม) ขึ้นตามป่าเต็งรัง ริมแม่น้ำลำคลอง ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขึ้นกระจายในป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง ความสูงถึงประมาณ 700 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น เถากลมยาว 1.5-4 เมตร สีเขียวไม่มีมือเกาะทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว กิ่งแก่มีช่องอากาศ ใบเป็นใบเดี่ยวยาว 3.5-10 ซม.กว้าง 2-5 ซม. เรียงตรงข้ามรูปไข่ปลายใบเรียวแหลมขอบใบเรียบโคนใบรูปลิ่มหรือเว้าตื้น แผ่นใบมักมีปื้นหรือจุดสีแดงกระจาย มีขนสั้นนุ่มตามซอกเส้นแขนงใบด้านล่าง ก้านใบยาว 0.5–3.2 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ คล้ายช่อเชิงลด ยาวได้ถึง 10 ซม.มี 2-5 ดอก  ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงเร็ว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ ยาวได้ถึง 3.5 มม.ขอบมีขนครุยโคนกลีบด้านในมีต่อม ดอกสีชมพูอมแดงหรือขาว มี 5 กลีบ เรียงซ้อนทับกันด้านขวาในตาดอก ดอกบานรูปดอกเข็ม หลอดกลีบยาว 3.5–5 มม.กลีบยาวประมาณ 2.5 มม.ปากหลอดมีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้ 5 อันติดใกล้โคนหลอดกลีบดอกยาว 3–4 มม.ช่วงที่เป็นหมันแนบติดก้านเกสรเพศเมีย จานฐานดอกเป็นวง มี 2 คาร์เพลแยกกัน มีขนสั้นนุ่มแนบติดก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2 มม.รวมยอดเกสร ผลเป็นฝักออกเป็นคู่ทรงกระบอกเรียวยาวสีเขียวยาวได้ถึง 20 ซม.เมล็ดมีความยาวยาวประมาณ 1 ซม.สีน้ำตาลที่ปลายด้านหนึ่งมีพู่สีขาวเป็นกระจุกยาว 1.5–3 มม. มีหลายเมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ใบอ่อน ยอดอ่อน ผลอ่อน ดิบ-สุก กินเป็นผักสดรสเปรี้ยวมัน ในเวียดนาม นำไปใส่ในอาหารประเภทต้มที่เรียกกัญจัว(canh chua)
-ใช้เป็นยา รากต้มน้ำดื่มช่วยขับลม คลายกล้ามเนื้อ หรือผสมกับยาสมุนไพรอื่นๆ รักษาอาการปวดเมื่อย ปัสสาวะขัด
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม/
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ 

ส้มสันดาน/Cissus hastata


ชื่อวิทยาศาสตร์---Cissus hastata Miq.(1861)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2722488
---Cissus glaberrima Steud.(1840)
---Vitis hastata (Miq.) Miq.(1863)
ชื่อสามัญ---White Stemmed Button Vine, Spear-Shaped Cissus, Hastateleaf Treebine, Hastate Treebine.
ชื่ออื่น---ส้มสันดาน, ส้มพอดี (ชลบุรี); ส้มข้าว (ปัตตานี); เถาส้มออบ (สุราษฎร์ธานี); ส้มออบแอบ (นครศรีธรรมราช) ;[CHINESE: Si fang teng.];[MALAYSIA: Akar asam riang, Akar iang-iang, Akar kerayong.];[THAI: Thao som op (Surat Thani); Som sandan (Chon Buri); Som khao (Pattani).];[VIETNAM: Hồ đằng mũi giáo, Chìa vôi mũi giáo.].
EPPO Code---CIBHA (Preferred name: Cissus hastata.)
ชื่อวงศ์---VITACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน พม่า เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Cissus มาจากภาษากรีกคำว่า kissos แปลว่า ไม้เลื้อย อ้างอิงถึงลักษณะนิสัยของพืชสกุลนี้ที่ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อย ; ชื่อสายพันธุ์ 'hastata' = รูปหอก อ้างอิงถึงรูปร่างของใบ
Cissus hastata เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์องุ่น (Vitaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Friedrich Anton Wilhelm Miquel (1811–1871) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ในปี พ.ศ.2404
ที่อยู่อาศัยขึ้นกระจายจากอินเดีย จีน (ไต้หวัน กวางตุ้ง ไห่หนาน กวางสี ยูนนาน) พม่า ไทย ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย ขึ้นตามชายป่าซึ่งมักจะมีต้นไม้ปกคลุมที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 700 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่นมีมือเกาะ เถาเป็นสันสี่เหลี่ยมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 ซม.ขอบสันเถาสีม่วงแดง ใบเดี่ยวขนาด7-11.5 × 5.5-10.5 ซม.รูปหัวใจเรียงสลับ ขอบใบหยักห่าง ปลายใบเรียวแหลม หลังใบสีเขียว ท้องใบสีม่วง ก้านใบยาว 1.5-4 ซม.ช่อดอกแบบช่อซี่ร่มยาว 2-3.5 ซม.ก้านช่อดอกยาว 0.5-1.2 ซม.มีขน ดอกออกเป็นกระจุกเล็กก้านดอกตรงหรือโค้งยาวประมาณ 1.5-2 มม.สีขาวถึงเหลือง ผลเป็นผลเดี่ยวรูปทรงกลม 6-7 × 4-6 มม.ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีดำ มี 1 เมล็ด เมล็ดยาว 4-4.5 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ชอบแสงแดดรำไร ดินร่วนปนทราย ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกประเภท
ใช้ประโยชน์---พืชบางครั้งเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้เป็นอาหารและยาในท้องถิ่น
-ใช้กิน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ใช้ยอดหรือใบแก่นำมาประกอบอาหารให้มีรสเปรี้ยว
-ใช้เป็นยา ใบ ลำต้น หรือผลไม้ใช้เป็นยาขับเสมหะและขับลม ใช้ในการรักษาอาการไอ, เถาดองเหล้า แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง, ราก แก้อักเสบเนื่องจากเป็นแผลในกระเพาะ อาหาร ต้มเป็นยาขับพยาธิไส้เดือนสำหรับเด็ก ใบสดตำพอกแก้พิษสุนัขกัด ดับพิษตานซาง ขับพยาธิ ;-ในเวียตนามใช้ทั้งต้น  รักษาโรคไขข้อ กล้ามเนื้อกระตุก
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฏาคม/
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำเถา

ส้มเสี้ยวเถา/Bauhinia lakhonensis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Bauhinia lakhonensis Gagnep.(1912)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-46025
---Bauhinia sepis Craib.(1927)    
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ส้มเสี้ยวเถา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ;[THAI: Som siao thao (Northeastern).]; [VIETNAM: Móng bò lakhôn, Móng bò lông xám.].
EPPO Code---BAUSS (Preferred name: Bauhinia sp.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ลาว เวียตนามเหนือ ไทย
Bauhinia lakhonensis  เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francois Gagnepain (1866-1952 ) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2455
ที่อยู่อาศัย พบเฉพาะในลาว เวียดนามตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทยที่จังหวัดนครพนม สกลนคร และหนองคาย ขึ้นกระจายห่างๆ ตามชายป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงประมาณ 200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถามีเนื้อไม้ เลื้อยขึ้นพาดพันต้นไม้อื่น ยอดและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปเกือบกลม ปลายใบแฉกลึกประมาณ 1/2 ของใบ แผ่นใบกว้าง 8-10 ซม.ยาว 10-12 ซม.โคนใบรูปหัวใจแฉกลึก มีขนสีน้ำตาลแดงตามเส้นแขนงใบด้านล่าง ดอกออกเป็นช่อชิงหลั่นตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาวประมาณ 5 ซม.ดอกย่อยขนาด 2-3 ซม.กลีบดอก 5 กลีบสีขาวโคนกลีบดอกเว้าคล้ายก้านสีแดงชมพู ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น เกสรเพศผู้พัฒนา2อันที่เหลือสั้นและเป็นหมัน เกสรเพศเมีย 1 อันอยู่ใจกลางดอก ผลแบบฝักถั่วกว้าง 1.8-2 ซม.ยาว 9-11 ซม.ปลายมีติ่ง เมล็ดสีดำรูปรีขนาด 9 x 4.5 มม.เกลี้ยง มี 8-10 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดตลอดวัน ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป อัตราการเจริญเติบโต ปานกลาง
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ในประเทศลาวใช้รากเป็นยาต้มให้ผู้หญิงดื่มทันทีหลังคลอดบุตร
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นไม้ประดับเลื้อยขึ้นซุ้ม
ระยะออกดอก/ติดผล--- มีนาคม-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

สร้อยสยาม/Bauhinia siamensis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Phanera siamensis (K. Larsen & S. S. Larsen) Mackinder & R. Clark.(2014)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all https://www.gbif.org/species/10714880
---Basionym: Bauhinia siamensis K.Larsen & S.S.Larsen.(2002)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---สร้อยสยาม, ชงโคสยาม (ทั่วไป) ; [THAI: Soi sayam, Chong ko sayam (General).].
EPPO Code---QRWSS (Preferred name: Phanera sp.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- ประเทศไทย
Phanera siamensis  เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย [Kai Larsen (1926–2012) นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก และภรรยา Supee Saksuwan  Larsen (สุภี ศักดิ์สุวรรณ เกิดปี 1939) นักพฤกษศาสตร์ชาวไทย-เดนมาร์ก]และได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Barbara Ann Mackinder (born 1958) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ และ Robert Connell Clarke (born 1953) เป็นนักเขียน นักพฤกษศาสตร์และนักพืชสวน ชาวอเมริกัน ในปีพ.ศ.2557


ที่อยู่อาศัยเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย พบที่จังหวัดพิษณุโลก ขึ้นตามป่าเบญจพรรณที่มีต้นไผ่หนาแน่น ที่ระดับความสูง 250-300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่อายุยืนหลายปี มีมือเกาะตามซอกใบปลายม้วนงอเป็นตะขอคู่ เลื้อยได้ไกล 5-15 เมตร ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม ใบรูปไข่ปลายใบเว้าลึกเป็น 2 แฉก ขนาดของใบกว้าง 4-8 ซม.และยาว 8-15 ซม.รูปร่างค่อนข้างกลม ปลายใบและโคนใบเว้าลึกคล้ายใบแฝดติดกัน แผ่นใบสีเขียว กึ่งกลางใบมีแถบสีขาวหรือเขียวอ่อนแทรก หูใบสีส้มแกมแดง ดอกออกเป็นช่อกระจะห้อยลง ช่อดอกยาว 30-80 ซม.ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 1–1.2 ซม. ก้านดอกยาว 1.5–2.5 ซม. กลีบเลี้ยงรูปปากเปิดขนาดเล็ก มีดอกย่อย 18-22 ดอก ดอกย่อยสีชมพูอมขาวหรือสีชมพูเข้มสดใสขนาด 3-4 ซม.กลีบดอกรูปรีหรือรูปไข่กลับ ขนาดไม่เท่ากัน ยาว 1.5–2 ซม. ปลายกลม โคนเรียวสอบ เกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 1.2–1.5 ซม.อับเรณูยาว 3–4 มม.เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 6 อัน อันใหญ่ 2 อัน รังไข่เรียวจรดก้านเกสรเพศเมีย ฝักรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม.ยาว 16-18 ซม.ปลายมีจะงอย ยาวประมาณ 5 มม.ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก มี 6–10 เมล็ด เมล็ดรูปไข่ แบน สีน้ำตาลเข้ม ยาว 1.5-2 ซม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดตลอดวัน ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป อัตราการเจริญเติบโต ปานกลาง
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นไม้ประดับเลื้อยขึ้นซุ้ม ที่มีใบดกแตกยอดจำนวนมากและมีดอกสีสดใส
สถานภาพ---พืชถิ่นเดียว (endemic)
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน/
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง

สวาด/Caesalpinia bonduc


ชื่อวิทยาศาสตร์---Caesalpinia bonduc (L.) Roxb.(1824)
ชื่อพ้อง---Has 14 Synonyms
---Basionym: Guilandina bonduc L.(1753)
---Caesalpinia bonducella (L.) Fleming.(1810)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-927
ชื่อสามัญ---Nickernut ,Grey Nickers, Physic-Nut, Physic nut, Fever Nut, Fever-Nut, Bonduc nut, Sea Pearl, Febrifuge Nut, Molucca Bean.
ชื่ออื่น---ดามั้ด (มาเลย์-สตูล); บ่าขี้แฮด (ภาคเหนือ); มะกาเล็ง (เงี้ยว-เชียงใหม่); สวาด (ภาคกลาง); หวาด (ภาคใต้ ) ;[ARABIC: Akit-makit, Banduc.];[ASSAMESE: Letaguti, Letaguti-goch, Letai-goch.];[BENGALI: Natakaranja.];[EGYPT: Bunduq hindi.];[FRENCH: Bonduc, Cadoc, Cadoque, Cassie., Cassie., Yeux de bourrique, Yeux de chat.];[HINDI: Kat-kaleji, Putikaranj, Panshul.];[INDONESIA: Kemrunggi (Javanese); Areuy mata hiyang (Sundanese); Kate-kate (Ternate).];[KANNADA: Gejjuga.];[MADAGASCAR: Quinique, Quinique Jaune, Sappan Liane, Sea Pearl, Sea Pod, Soni, Tataramoa, Vatolalaka.];[MALAYALAM: Kazhanji, Kalimarakam.];[MARATHI: Katukaranja, Sagargoti.];[PHILIPPINES: Kalumbibit (Tagalog), Sabinit (Bikol), Singor (Iloko).];[SANSKRIT: Angarhavallari, Kantakikaranja, Latakaranja, Kuberaksh, Raktakaranjavruksha, Vitapakaranja.];[SINHALESE: Kumburu Wel.];[TAMIL: Kalarci, Kalichikai.];[TELUGU: Gatstsa, Sukajambuka, Yakshakshi.];[THAI: Da-mat (Malay-Satun); Ba khi hat (Northern); Ma-ka-leng (Shan-Chiang Mai); Sawat (Central); Wat (Peninsular).];[URDU: Karanja.];[VIETNAM: Moc meo, Vuot hum.].
EPPO Code---CAESS (Preferred name: Caesalpinia sp.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE -CAESALPINIODEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
Caesalpinia bonduc เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปีพ.ศ.2367


ที่อยู่อาศัย กระจายกว้างขวางพบแทบทุกทวีปในเขตร้อน- ทวีปเอเซียพบทั่วเนปาล สิกขิม อินเดีย ศรีลังกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนใต้จีน และหมู่เกาะใกล้เคียง พบขึ้นตามชายหาดหรือแนวหลังป่าชายเลนที่ระดับความสูงถึง 800 เมตร ในประเทศไทยพบแทบทุกภาค แต่ส่วนมากพบทางภาคใต้  
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยมีหนาม พาดเลื้อย ยาว 5-15 เมตร ลำต้นกิ่งและแกนช่อใบ มีขนสั้นนุ่มและหนามงองุ้มรูปตะขอสั้น คล้ายหนามกุหลาบปกคลุม ใบ ประกอบแบบขนนก2ชั้นปลายคู่ มี 6-11 คู่ เรียงเวียนสลับ แผ่นใบย่อยรูปรีขนาด 1-2 ซม.ยาว 2-4 ซม.ขอบใบเรียบเป็นขนครุย ปลายใบเป็นติ่งหนามสั้น ดอก แบบช่อเชิงลดออกเหนือง่ามใบ แกนช่อดอกยาวถึง 50 ซม.มีหนาม ดอกไม่สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ5กลีบเรียงซ้อนเหลื่อมสลับกันกลีบเลี้ยงมีขน สนิมปกคลุม กลีบดอกสีเหลืองมีสีแดงเรื่อแต้มเป็นจุดหรือแถบ ผล แบบฝักถั่ว รูปขอบขนานขนาด 3-5 ซม.ยาว 5-7 ซม.โคนฝักสอบเข้าหากัน ปลายฝักมนกลม และมีก้านเกสรเมียติดอยู่ ผิวฝักมีหนามแหลมและขนแข็งปกคลุม ฝักแก่จัดแตกตามรอยตะเข็บ มีเมล็ดเกลี้ยงสีเทามัน 1-2 เมล็ด
ใช้ประโยชน์---พืชที่เพาะปลูกเป็นครั้งคราวสำหรับน้ำมันเมล็ด
-ใช้กิน น้ำมันจากเมล็ดใช้สำหรับทำอาหาร
-ใช้เป็นยา Bonduc Nut ถือเป็นสมุนไพรที่มีความสำคัญในการแพทย์แผนโบราณในแอฟริกาเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิกโดยมีการใช้ที่คล้ายกันอย่างกว้างขวางในแต่ละพื้นที่ -เมล็ดนั้นมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียต้านมะเร็ง เชื้อรา ต้านไวรัสไข้เลือดออก;- เมล็ดมีน้ำมันประมาณ 20% ซึ่งอุดมไปด้วยกรดไลโนเลอิก (68%) โดยเฉพาะและมีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้น เป็นน้ำมันที่ใช้ในการรักษาโรคไขข้ออักเสบ;- ใบเป็นส่วนผสมสูตรยาแก้ไอที่มีชื่อเสียง ;- ในแอฟริกา ใบ เปลือกและราก ใช้สำหรับแก้ไข้ ปวดศีรษะและเจ็บหน้าอกและเป็นยาแก้พยาธิ ;- ในแอฟริกาตะวันตกพืชจะใช้เป็น rubefacient และเป็นยาชูกำลังในการรักษาโรคดีซ่าน ท้องเสียและการปะทุของผิวหนัง ;- ที่ชายฝั่งเคนยาเมล็ดและใบของรากและ decoctions จะถูกนำไปรักษาโรคหอบหืดและภาวะแทรกซ้อนในระหว่างมีประจำเดือน,ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการแท้งบุตรและเป็นยาหยอดตาเพื่อรักษาลิ่มเลือดภายในตา ;- Bonduc nut หรือ Fever nut ถูกนำมาใช้ในอินเดียเป็นเวลาหลายปีเพื่อรักษาอาการไข้ การอักเสบ เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง และการคุมกำเนิด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมล็ดของพืชชนิดนี้ถูกใช้เพื่อควบคุมความผิดปกติของประจำเดือนใน PCOS Poly cystic ovary syndrome (PCOS) เป็นหนึ่งในความผิดปกติทางต่อมไร้ท่อที่พบบ่อยที่สุดที่ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ต้องเผชิญในหลายประเทศ
-วนเกษตรใช้ ใน Sierra Leone และ เอธิโอเปียใช้ปลูกเป็นรั้วพืชสด
-อื่น ๆ เมล็ดถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นลูกปัดสำหรับสร้อยคอ, กำไล, ลูกประคำ;- น้ำมันที่ได้จากเมล็ดใช้ในการเตรียมเครื่องสำอาง
ระยะออกดอกเดือน/ติดผล---กรกฎาคม-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ

สะแกวัลย์/Calycopteris floribunda


ชื่อวิทยาศาสตร์---Getonia floribunda Roxb.(1795)
ชื่อพ้อง---Has 8 Synonyms
---Calycopteris floribunda (Roxb.) Lam. ex Poir.(1811)
---Calycopteris nutans (Roxb.) Kurz.(1877)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2825138
ชื่อสามัญ---Paper Flower Climber.
ชื่ออื่น---สะแกวัลย์, ติ่งตั่ง, ติ่งตั่งตัวผู้ (เหนือ); เถาวัลย์นวล (ราชบุรี); ประโยค (ตราด); กรูด (สุราษฎร์ธานี); ข้าวตอกแตก (กลาง); งวงชุม (ของแก่น); งวงสุ่ม (ตะวันออกเฉียงเหนือ); งวงสุ่มขาว, เมี่ยงชะนวนไฟ, สังขยาขาว (พิษณุโลก, สงขลา); ดวงสุ่ม (อุบลราชธานี); มันเครือ (นครราชสีมา); ดวงสุ่ม (อุบลราชธานี); ดอกโรค (เลย) ;[BENGALI: Gaichha Lata.];[CAMBODIA: Ksouohs, Ta suos, Qgnu.];[HINDI: Kokoray.];[KANNADA: Enjarigekubsa, Marasadaboli.];[LAOS: Dok ka deng, Ngouang 'soum.];[MALAYALAM: Pullanni, Varavalli, Pullanji, Pullani.];[MALAYSIA: Pelawas (peninsular).];[MARATHI: Ukshi.];[SANSKRIT: Susavi.];[TAMIL: Pullanji Valli.];[TELUGU: Murugudutige.];[THAI: Ting tang, Nguang soom, Nguang choom, Kruut (Surat Thani), Khaao tok taek (Central).];[VIETNAM: Dực đài, Dây Đầu mầu.].
EPPO Code---1CMBF (Preferred name: Combretaceae.)
ชื่อวงศ์---COMBRETACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Getonia floribunda เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์สมอ (Combretaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตในปี พ.ศ.2338
ที่อยู่อาศัยกระจายจากอินเดียและพม่า จีนตอนใต้ ผ่านอินโดจีนและไทยไปยังคาบสมุทรมาเลเซีย (เกาะลังกาวี, ปีนัง, ปะหัง) ในคาบสมุทรมาเลเซีย เกิดขึ้นในป่าเบญจพรรณตามแนวแม่น้ำ ในกัมพูชาพบได้ทั่วไปในพื้นที่ป่าและในพื้นที่ปลูกป่าหลังการทำลายป่า ในประเทศไทยพบทุกภาค ตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ๆรูปรีไข่ โคนใบมนปลายใบแหลม ขนาดใบกว้าง 6-8 ซม.ยาว 8-12 ซม.ด้านล่างใบมีขนสีน้ำตาลเหลืองหนาแน่น ดอกออกเป็นช่อกระจายที่ปลายยอด มีดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดดอกย่อย 2-3 ซม.กลีบเลี้ยงสีเขียวแกมเหลือง ไม่มีกลีบดอก มีริ้วประดับ สีเหลืองปนเขียว 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน เรียงเป็น 2 วง วงละ 5 อัน เมื่อดอกบานแล้ว กลีบดอกจะหลุดร่วงไป คงเหลือแต่กลีบเลี้ยง ทำให้ดูเหมือนดอกบานทนนานมาก เราเรียกลักษณะนี้ว่ากลีบเลี้ยงที่คงอยู่จนเป็นผล (persistant calyx) ผลแห้ง รูปกระสวยมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ภายในมี 1 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด ดินร่วนระบายน้ำดี อัตราการเจริญเติบโต ปานกลาง
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ใบมีรสขม, ฝาด, ยาระบาย, พยาธิ, ยาแก้ไข้, แก้อาการจุกเสียด, โรคเรื้อน, ไข้มาเลเรีย, โรคบิด, แผลและอาเจียน ;- ยอดอ่อน,ใบตำผสมกับเนยทารักษาแผลเรื้อรังภายนอก ;- ผลไม้ใช้รักษาโรคดีซ่าน, แผล, อาการคันและโรคผิวหนัง
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นซุ้มไม้เลื้อยขนาดใหญ่
-อื่น ๆลำต้นนำมาใช้ทำเครื่องจักสานได้
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนมกราคม-เดือนมีนาคม/
ขยายพันธุ์--- เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง  ตอน กิ่ง

สะบ้า/Entada rheedii

 

ชื่อวิทยาศาสตร์---Entada rheedii Spreng.(1825)
ชื่อพ้อง---Has 14 Synonyms
---Entada gogo (Blanco) IMJohnst.
---Entada phasoeloides auct.
---Entada pursaetha    de Candolle.
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-32599
ชื่อสามัญ--- Giant sea bean, African dream herb, Snuff box sea bean, Cacoon vine, St. Thomas’s bean, Ladynut, Mackary Bean.
ชื่ออื่น---คำต้น, มะบ้าหลวง (ภาคเหนือ), ม๊อกแกมื่อ (ละว้า-เชียงใหม่), มะนิม, หมากงิม (เย้า-เชียงใหม่), หมากหนิม (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); บลูรู (มลายู); มะบ้า, สะบ้า, สะบ้ามอญ (ทั่วไป) ;[AFRIKAANS: Reuseseeboontjie, Seeboontjie, Boonbobbejaantou.];[CAMBODIA: Volli angkonh, Angkounh (Central Khmer).];[FRENCH: Liane Sabre, Liane Staub.];[HINDI: Barabi, Chian, Gila.];[MALAYALAM: Kakkumkaya, Kaka Valli.];[MALAYSIA: Akar Belu, Akar Beluru, Akar Kapang, Sentok (Malay); Cariu, Gandu (Bahasa Indonesia).];[THAI: Kham ton, Ma ba luang (Northern); Mok-kae-mue (Lawa-Chiang Mai); Ma-nim, Mak-ngim (Shan-Chiang Mai); Ma ba, Saba, Saba mon (General); Mak-nim (Shan-Mae Hong Son).];[TAMIL: Irikki, Yanaikozhinji.]; [ZULU: Inkwindi, Intindile, Umbhone (isiZulu).].
EPPO Code---ENTRH (Preferred name: Entada rheedei.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE)
วงศ์ย่อย---Mimosoideae
ถิ่นกำเนิด---ทวีปแอฟริกา
เขตกระจายพันธุ์---เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน (ยกเว้นทวีปอเมริกา): แอฟริกาเขตร้อน แอฟริกาใต้ เอเชียเขตร้อน และ ออสเตรเลีย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Entada มาจากภาษาโปรตุเกสคำว่า dentadoหมายถึง 'ฟัน' อธิบายถึงลำต้นและใบของบางชนิด; ชื่อสายพันธุ์ rheedii แม้ว่าชื่อที่ถูกต้องตามกฎหมายจะได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในชื่อE. rheediiแต่ก็มักเขียนว่าEntada rheedeiเพื่อเป็นเกียรติแก่ Hendrik Adriaan van Rheede tot Draakestein (1637–1691) นายทหารและผู้บริหาร Dutch East India Company และธรรมชาติวิทยา ระหว่างปี ค.ศ.1669 ถึง ค.ศ.1676
Entada rheedii เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae)วงศ์ย่อยสีเสียด (Mimosoideae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Kurt Sprengel (1766–1833) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2368
-สายพันธุ์ย่อย (Subspecies):
---Entada rheedii subsp. rheedii
---Entada rheedei subsp. sinohimalensis (Grierson & D.G.Long)
-ความหลากหลาย (Varieties):
---Entada pursaetha var. formosana F.C.Ho, 1985
---Entada pursaetha var. pursaetha


ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา - เซเนกัลไปยังยูกันดาและเคนยา, ทางใต้สู่โมซัมบิก, ซิมบับเวและเอสแอฟริกา; E. เอเชีย - อนุทวีปอินเดียผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงออสเตรเลีย (ควีนส์แลนด์) เติบโตในที่ราบลุ่มเขตร้อนตามแนวชายฝั่งและฝั่งแม่น้ำขึ้นพันไม้อื่นริมลำธารบริเวณป่าดงดิบหรือป่าผลัดใบที่ระดับความสูง 400-900 (1,100) เมตร ในประเทศไทยพบทุกภาค
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เติบโตได้สูงถึง 75 เมตร เส้นรอบวงสูงถึง 40 ซม.ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น (Bipinnate) ยาว12-25 ซม.ใบย่อยรูปไข่กลับ กว้าง 1.3-3.5 ซม.ยาว 2.5-7 ซม.ปลายใบแหลมถึงทู่เล็กน้อย และมักมีติ่งแหลม ก้านใบยาวประมาณ 4.0-7.6 ซม.มีขนเล็กน้อยกระจายทั่วไป แผ่นใบเกลี้ยง อาจพบขนโค้งงอเล็กน้อยที่โคนใบและเส้นกลางใบ เส้นใบ 7-11 คู่ ดอกแบบช่อกระจะสีขาวนวลแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกเป็นช่อแกน ยาว 13-25 ซม.ดอกย่อยขนาดเล็กมีเป็นจำนวนมาก กลีบรองดอกรูปถ้วยปากกว้าง กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแคบ ถึงรูปหอก รังไข่เกลี้ยง ผลเป็นฝักรูปขอบขนานตรงหรือโค้งความยาวสูงสุด 2 เมตรและกว้าง 15 ซม.เปลือกผลแข็งเหมือนเนื้อไม้แต่ละข้อมี 1 เมล็ด เมื่อแก่ข้อจะหักเป็นข้อๆ เมล็ดสีน้ำตาลกึ่งกลมแบนหนา แข็งผิวมันเรียบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5-6 ซม. เนื้อในเมล็ดสีขาวนวลแข็งมาก
ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารยาและแหล่งวัสดุ เมล็ดของพืชนี้เป็นสินค้าในตลาด muthi ในท้องถิ่นเพราะมีคุณค่าทางยาและเวทมนตร์
-ใช้กิน เมล็ด จะถูกปรุงแบบดั้งเดิม ต้องทำลายซาโปนินและชะล้างก่อน เมล็ดจะถูกคั่วนำไปแช่น้ำเป็นเวลาสามวันก่อนที่จะ กินได้
-ใช้เป็นยา ในเอเชีย ใบ เปลือกไม้และรากใช้ทำความสะอาดแผลรักษาแผลไฟไหม้และรักษาโรคดีซ่านในเด็ก ชาที่ทำจากพืชทั้งหมดจะใช้ในการปรับปรุงการไหลเวียนโลหิตไปยังสมอง เปลือกใช้สำหรับรักษาอาการท้องเสียบิดและติดเชื้อปรสิต;- ในยาไทยใช้เนื้อในเมล็ดดิบ รสเบื่อเมา แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้โรคเรื้อน กลากเกลื้อน เมล็ดใน สุมให้ไหม้เกรียมปรุงเป็นยารับประทานแก้พิษไข้ตัวร้อน เถาใช้ฆ่าพยาธิผิวหนัง ทางภาคอีสาน ใช้ เมล็ด หรือราก ฝนเหล้า ทาและฝนน้ำ แก้โรคผิวหนัง;-ตำรายาพื้นบ้านไทย ใช้น้ำมันจากลูกสะบ้า โดยนำเนื้อในมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว บอนท่า และกำมะถัน ใช้ทารักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้น้ำเหลืองเสีย ;- ในฟิลิปปินส์ ใช้น้ำจากเปลือกต้นทาแก้คันและโรคผิวหนังที่เป็นสะเก็ด
-อื่น ๆ พืชยังใช้ทำเชือก ยาเบื่อปลา และฟืน
รู้จักอันตราย---เมล็ดเป็นพิษเมื่อดิบมีซาโปนินอยู่ในเมล็ด
ความเชื่อ/พิธีกรรม -ใช้โดยหมอพื้นบ้านโดยแพทย์และนักบวชชั้นสูงของแอฟริกาใต้ เพื่อชักนำให้เกิดความฝันที่ชัดเจนสดใส ทำให้สามารถสื่อสารกับโลกวิญญาณกับบรรพบุรุษของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อภายในของเมล็ดจะถูกบริโภคโดยตรงหรือกับเนื้อสัตว์ที่ถูกสับแห้งผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ เช่นยาสูบและรมควันก่อนนอนเพื่อกระตุ้นความฝันที่ต้องการ ;-เมล็ดทำเครื่องประดับสวมใส่เป็นสร้อยคอและกำไลเพื่อนำความโชคดีให้กับเจ้าของ
ภัยคุกคาม---ไม่ถูกคุกคาม
สถานะการอนุรักษ์--- NT-Not Threatened
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-พฤษภาคม/   
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำรากได้ง่าย  

สะบ้าลาย/Mucuna interrupta


ชื่อวิทยาศาสตร์---Mucuna interrupta Gagnep.(1914)
ชื่อพ้อง--- Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-44437
---Mucuna nigricans var. cordata Craib.(1928)  
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---สะบ้าลาย, เครือบ้าลาย (นครราชสีมา), หมามุ้ย (ภาคกลาง) ;[CHINESE: Jiān xù yóu má téng.];[THAI: Sa ba lai, Khreau ba lai (Nakhorn ratchasima); Maa muy (Central).];[VIETNAM: Mắt mèo ma, Mắt mèo to, Dây chãng ba.]
EPPO Code---MUCSS (Preferred name: Mucuna sp.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE)
วงศ์ย่อย---MIMOSOIDEAE-MIMOSACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์--- จีน พม่า อินโดจีน
Mucuna interrupta เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae) วงศ์ย่อยสีเสียด (Mimosoideae) อยู่ในสกุลหมามุ่ย (Mucuna) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Francois Gagnepain (1866-1952 ) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2457
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่ภูฏานไปจนถึงจีน (สิบสองปันนา ยูนนาน), พม่า, ลาว, กัมพูชา,ไทยและเวียดนาม เติบโตที่ระดับความสูง 900-1,100 เมตร ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออก ตามป่าดิบ ที่ระดับความสูง 75-800 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกล 10-15 เมตร ตามลำเถาและก้านใบเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ใบเป็นใบประกอบแบบมีใบย่อย 3 ใบ (trifoliolate) รูปไข่แกมรี กว้าง 4-9 ซม.ยาว 9-16 ซม.ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ เนื้อใบบาง ก้านใบยาว 6-9 ซม. ดอกสีเหลืองนวลแกมเขียวอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกห้อยลงตามซอกใบ ยาว 10-14 ซม.ดอกย่อยรูปดอกถั่ว ยาวประมาณ 4 ซม.กลีบรองดอกรูปถ้วยปากกว้าง ผิวด้านนอกมีขนคลุม  กลีบดอก 5 กลีบเกสรผู้ยื่นยาว 10 อัน ผลเป็นฝักค่อนข้างแบนขอบผลเป็นสันหรือครีบ 1 คู่ตามยาวมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ผิวผลขรุขระเป็นลายเส้นหยาบ เมล็ดรูปกลมแบนยาว 2.5 ซม.มีประสีน้ำตาลมี 2-3 เมล็ด
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ตำรายาไทย เมล็ด รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ;- ในเวียตนามใช้สำหรับงูกัด
รู้จักอันตราย---ขนตามฝักแก่ทำให้ปวดและคันตามผิวหนัง ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงหรือบวม, เป็นตุ่มพองหรือ เป็นแผล หรือ เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน
ระยะออกดอก/ติดผล---สิงหาคม-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด


สะพลี/Cyathostemma


ชื่อวิทยาศาสตร์---Uvaria wrayi (King) L.L.Zhou, Y.C.F.Su & R.M.K.Saunders.(2009)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2897710
---Basionym: Cyathostemma wrayi King.(1892)
---Cyathostemma wrayi var. indochinensis Asteg.(1940)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---สะพลี (ทั่วไป) ; [THAI: Sa pli.]
EPPO Code---UVASS (Preferred name: Uvaria sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์--- ชื่อสกุลมาจากภาษาละติน “uva” เป็นกระจุก ตามลักษณะของผลกลุ่มที่มีผลย่อยติดเป็นกระจุก
Uvaria wrayi เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย George King (1840–1909) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในอินเดียและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Linlin Zhou (fl.2003) นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน, Yvonne Chuan Fang Su (fl 2004) นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน และ Richard M. K. Saunders (born 1964) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2552
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเซีย พบครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2535 ที่อ่าวสะพลี ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร โดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น นักพฤกษศาสตร์ชาวไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบทั่วไปในป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ที่ระดับความสูง 50-200 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ขึ้นเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ไกล 6-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขน กิ่งแก่เปลือกเรียบสีน้ำตาลอมดำ  มีลายสีขาวบิดเวียนตามยาว ใบรูปขอบขนาน กว้าง 7-10 ซม.ยาว 22-30 ซม.โคนใบมน หยักเว้าตื้น ปลายใบเรียวแหลม มีติ่งแหลมยาว 2-2.5 ซม.ใบบางเหนียว ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อยผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อนอกซอกใบ 2-4 ดอก กลีบดอกหนาสีเหลืองใส บานงองุ้มเข้าหากลางดอก ขนาดดอกเมื่อบาน 1.5-2 ซม. ผลกลุ่ม มีผลย่อย 30-50 ผล รูปกลมรีเปลือกเรียบ ยาว 1-1.5 ซม.เมื่อแก่สีแดง
ระยะออกดอก/ติดผล---
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด

สาลีแก่นใจ/Capparis zeylanica


ชื่อวิทยาศาสตร์---Capparis zeylanica L.(1762)
ชื่อพ้อง---Has 24 Synonyms
---Capparis acuminata Roxb.(1832)
---Capparis dealbata DC.(1824)
---Capparis horrida L.f.(1782)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2697723
ชื่อสามัญ---Ceylon Caper, Indian caper, Caper berry
ชื่ออื่น---สะแอะ (ราชบุรี); ค้อนก้องเครือ (เพชรบุรี); ค้อนก้อนเครือ (เพชรบูรณ์); เถาหลั่งหมากเก็บ (นครสวรรค์); เยี่ยวไก่ (นครราชสีมา); ร้านผีป้าย, ลานผีป้าย (เหนือ); สายซูใหญ่ (พิษณุโลก); สาลีแก่นใจ (เชียงใหม่) ;[ASSAMESE: Gobindaphal.];[AYURVEDIC: Ahimsra. Vyaaghranakhi.];[BENGALI: Bagnai, Kalokera.];[CHINESE: Chui guo teng, Niu yan jing.];[CZECH: Kapara.];[HINDI: Ardanda, Jhiris.];[JAPANESE: Kapparisu zairanika.];[KANNADA: Mullukattari.];[MALAYALAM: Karthotti.];[MARATHI: Kaduvaghanti, Govindi, Vaghanti.];[MYANMAR: Mai-nam-lawt, Mani-thanl-yet, Nwamni-than-lyet.];[NEPALI: ban kera.];[PHILIPPINES: Halubagat-baging, Dauag, Dawag (Tag.)];[SANSKRIT: Vyakhra nakhi, Tapasapriya, Karambha.];[SIDDHA/TAMIL: Aathondai.];[TAMIL: Adondai, Atontai,Tondai, Karrotti.];[TELUGU: Arudonda.];[THAI: Khon kong khruea (Phetchabun); Thao lang mak kep (Nakhon Sawan); Yiao kai (Nakhon Ratchasima); Lan phi pai (Northern); Sa ae (Ratchaburi); Sai su yai (Phitsanulok); Sali kaen chai (Chiang Mai).].
EPPO Code--- CPPZE (Preferred name: Capparis zeylanica.)
ชื่อวงศ์---CAPPARACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อนุทวีปอินเดีย อินโดจีน จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์
Capparis zeylanica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กุ่ม (Capparaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2405
ที่อยู่อาศัย พืชในเขตร้อนกระจายใน ศรีลังกา, ไทย, จีน (กวางตุ้ง, กวางสี, ไหหลำ), ชวา, Lessa Sunda Isl. (Lombok, Sumbawa, Semau, Timor), Sulawesi (รวมถึง Selayar Isl.), ฟิลิปปินส์ (Luzon, Mindoro, Mindanao), Moluccas (Sulu Arch.), ไต้หวัน , อันดามัน, พม่า ( แพร่หลาย), อินเดีย (แพร่หลาย) เนปาลบังคลาเทศ ปากีสถาน  เวียดนาม ลาว พบได้ในระดับความสูงถึงประมาณ 700 เมตรในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศตามฤดูกาลที่แตกต่างกัน
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยสูง 2-5 เมตร ลำต้นมีหนาม กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปหอก ขนาดกว้าง 4-8.5 ซม.ยาว 5-17 ซม.ปลายใบมนหรือเรียวแหลม แผ่นใบสีเขียวหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบยาว 0.5-2 ซม.ดอกสีขาวออกเป็นกลุ่มบนก้านช่อดอก มีกลุ่มละ 2-6 ดอก ก้านดอกยาว 0.4-2 ซม.กลีบรองดอกรูปมนหนาคล้ายแผ่นหนัง กลีบดอกรูปขอบขนานปลายมนมีสีชมพูหรือแดงที่โคนกลีบ ผลรูปกลมรีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-4 ซม. เปลือกหนาแข็ง ผิวเรียบเมื่อแก่ออกสีส้มหรือม่วง มีเมล็ดสีน้ำตาล 10-20 เมล็ด ขนาด 5-8 × 4-6 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินร่วนโปร่งเก็บความชื้นระบายน้ำและอากาศได้ดี
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผล ดิบ-สุก ในประเทศอินเดียใช้ดองกิน
-ใช้เป็นยา ส่วนที่นำมาใช้ ใบ รากและเปลือกไม้ สรรพคุณ ทั้งต้นรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ใบตำพอกฝี แผลบวม และทาแก้คัน เปลือกราก - ในกัมพูชารากและเปลือกไม้ถือว่าเป็นยาขับปัสสาวะ-ในอินเดียนิยมใช้เป็นยาแก้พิษสำหรับงูกัด, สำหรับอาการบวมของอัณฑะ, โรคฝีเล็ก ๆ , อหิวาตกโรค, อหิวาตกโรค, โคลิก, ประสาท, แผล, โรคปอดบวมและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ยาต้มเปลือกรากใช้สำหรับอาเจียนปวดท้องระคายเคืองกระเพาะอาหาร
ความเชื่อ/พิธีกรรม---คนเมืองในประเทศไทยจะใช้กิ่งนำมาผูกเปลนอนเด็ก โดยเชื่อว่าจะช่วยป้องกันภูตผี
ระยะออกดอก/ติดผล--- กรกฏาคม-กันยายน---ระยะ/ผลแก่---ตุลาคม-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

สังวาลย์พระอินทร์/Cassytha filiformis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Cassytha filiformis L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 25 Synonyms.
---Cassytha americana Nees.(1836)
---Cassytha brasiliensis von Martius.(1836)
---Cassytha senegalensis A.Chev.(1938)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2704602
ชื่อสามัญ--- Love-Vine, Air creeper, Devil's gut, Dodder-laurel, Green thread creeper, Moss creeper, Princess hair, Seashore-dodder, Woevine.
ชื่ออื่น---เขียวคำ, เขียงคำ (อุบลราชธานี); เขืองคำโคก (เลย); ช้องนางคลี่ (ภาคใต้); เซาะเบียง (เขมร); ผักปลัว (ประจวบคีรีขันธ์); รังกะสา, รังนกกะสา, ต้นตายปลายเป็น (จันทบุรี); สังวาลพระอินทร์ (นครราชสีมา); บ่อเอี่ยงติ้ง (จีนแต้จิ๋ว); อู๋เกินเถิง อู๋เย่เถิง (จีนกลาง); รังกาสา, วัวพันหลัก, เครือเขาคำ ;[AUSTRALIA: Dodder laurel, False dodder.];[AYURVEDIC: Amarvalli, Aakaashbel.];[BOLIVIA: Cabellos de angel, Tente en el aire.];[BRAZIL: Cipo-chumbo, Cipo-de-chumbo, Herva-de-chumbo.];[BRUNEI DARUSSALAM: Akar janjang.];[CHINESE: Wu gen feng, Wu gen teng.];[CONGO: Nsinga wa leembo baandu, Yele ngyengye.];[CUBA: Bejuco de fideo, Bejuco dorado.];[ETHIOPIA: Korsa buda.];[FIJI: Fetainoa, Mbuwalawalawa, Wa urulangi, Walawala];[FRENCH: Cassythe d'Amérique, Liane ficelle, Liane jaune, Liane sans tête.];[GERMAN: Fadenförmiges Flechtkraut, Flechtkraut.];[HAITI: Liane amitié.];[INDIA: Aakaasha balli, Akas bel, Akasavalli, Akasa-valli, Akashavuli, Akashbel, Amara balli, Amarvel, Ambarvel, Ankasvel, Bilu balli, Daarada balli, Erumai-k-korran, Janivaara balli, Mamgana udidaara, Pacu-n-korran, Turrumai-k-korran.];[INDONESIA: Batu, Rambut Puteri, Tali Puteri.];[JAPANESE: Sunazuru.];[MALAYSIA: Cemar batu, Chemar batu, Cemar hantu (Malay).];[MOZAMBIQUE: Ruangaro.];[MYANMAR: Ahwe-nwe.];[NIGERIA: Otetebilete, Rumfar-gada, Sulunwahi.];[PAKISTAN: Amarbel.];[PHILIPPINES: Barutbarut, Kaduad-kawaran, Malabohok.];[PORTUGUESE: Falsa-cuscuta, Ramas-de-sebe.];[PUETO RICO: Cabellos de angel.];[SEYCHELLES: Liane sans fin.];[SIDDHA/Tamil: Erumaikkottan.];[SINGAPORE: Rambut putri (Malay).];[SOUTH AFRICA: Luangalala, Nooienshaar, Umkhunga, Vrouehaar.];[SPANISH: Bejuco dorado, Bejuco fideo, Cabellos de angel, Fideillo, Fideos.];[THAI: Khiao kham, Khiang kham (Ubon Ratchathani); Khueang kham khok (Loei); Chong nang khli (Peninsular); So-biang (Khmer); Phak plua (Prachuap Khiri Khan; Rang kasa (Chanthaburi); Rang nok kasa (Chanthaburi); Sangwan phra in (Nakhon Ratchasima).];[TONGA: Fatai.];[USA/Hawaii: Kauna’oa malolo, Kauna’oa pehu.];[VIETNAM: Dây tơ xanh, Tơ hồng xanh.].
EPPO Code---CSYFI (Preferred name: Cassytha filiformis.)
ชื่อวงศ์---LAURACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปอเมริกา
เขตกระจายพันธุ์---อเมริกากลาง อเมริกาใต้ อินโดมาลายา ออสตราเซีย โพลีนีเซีย แอฟริกา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Cassytha มาจากคำว่า 'kesatha' ในภาษาอารามิค (Aramic) หมายถึง 'ผมพันกันยุ่ง' ; ชื่อระบุชนิดสายพันธุ์มาจากภาษาละติน fili, a thread= รูปทรง หมายถึง ก้านคล้ายเกลียวของสปีชีส์
Cassytha filiformis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์อบเชย (Lauraceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296
ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดทั่วอเมริกา แอฟริกา เอเชียและแปซิฟิก มีการกระจายในเขตร้อนส่วนใหญ่เป็นพืชในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เกิดขึ้นบนพืชพันธุ์ชายฝั่งโดยทั่วไป ตามชายป่าดิบชื้นลำธารและป่าแม่น้ำ ในป่าทึบหรือป่าโปร่งบนเนินเขาจากระดับน้ำทะเลถึง 1,600 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้กาฝากยืนต้น ลำต้นเป็นเส้นกลมยาว(คล้ายต้นฝอยทอง)สีเขียวแกมเหลืองเลื้อยพันบนต้นไม้อื่นยาวได้ถึง 2-8 เมตร ส่วนที่อ่อนอยู่มีขนสีเหลือง ไม่มีใบหรือลดรูปเป็นเกล็ดขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยม ยาว 1.5–2 มม ดอกช่อออกที่ซอกใบก้านช่อดอกยาว 2-5 ซม.ไม่มีก้านดอก ดอกมีขนาดเล็กสีขาว ในช่อหนึ่งมีดอก 6 ดอก กลีบดอกกลมมนเป็นรูปไข่ มีกลีบดอก 6 กลีบ แบ่งออกเป็นชั้น 2 ชั้น ชั้นนอกดอกมี 3 กลีบ ส่วนชั้นในดอกมี 3 กลีบ กลีบดอกชั้นในจะมีขนาดใหญ่กว่าชั้นนอก ยาวประมาณ 2 มม.ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวขนาดเล็ก ดอกมีเกสรเพศผู้ 9 อัน และเกสรเพศเมีย 1 อัน เรียงตามชั้นของขอบกลีบดอก ผลสดรูปไข่กลับหรือทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 มม.เมื่อสุกสีขาว ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ภายในผลมีเมล็ดรูปกลม 1 เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบความชื้นทนต่อดินเค็มไอเกลือ อัตราการเจริญเติบโตเร็ว
ใช้ประโยชน์---มีความหลากหลายของการใช้เป็นยาและการใช้งานอื่น ๆ
-ใช้กิน ใช้โดยพวกพราหมณ์ในภาคใต้ของอินเดียเพื่อปรุงรสเนยสด
-ใช้เป็นยา ต้นมีรสขม ชุ่ม เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับและไต ใช้ปรุงเป็นยาขับความชื้นในร่างกาย แก้พิษในเลือด ทำให้เลือดเย็น ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือด ช่วยบำรุงตับและไต แก้ตับอักเสบ ตัวเหลือง แก้ร้อนในตับ ใช้เป็นยาแก้ไตอักเสบเรื้อรัง ต้นสดนำมาต้มใช้น้ำชะล้างรักษาแผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง โรคผิวหนังผดผื่นคัน ฝีหนองอักเสบ ;-ในไต้หวันมีรายงานว่าC. filiformisเป็นยาที่มีประโยชน์ต่อโรคหนองใน โรคไตและยาขับปัสสาวะ  ;-ในคาบสมุทรมาเลเซียและอินเดีย ลำต้นแห้งจะนำมาบดเป็นผงและผสมกับน้ำมันงาเพื่อทำยาบำรุงผม ;-ในแอฟริกามันถูกใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งและโรคอื่น ๆ;- ทางตอนใต้ของไนจีเรีย ผู้หญิงใช้ยาต้มเพื่อระงับการหลั่งน้ำนมหลังคลอดบุตร ( Wardini, 2001 )
-อื่น ๆใช้เป็นอาหารสัตว์;- ในภูมิภาคแปซิฟิก:- เพื่อการใช้เวทมนตร์ (คิริบาติ);- สำหรับเวทมนตร์ตกปลา (Ulithi);- สำหรับยึดหลังคา (ปาปัวนิวกินี;)
รู้จักอันตราย---พืช มีสารอัลคาลอยด์ที่เป็นพิษในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งในปริมาณมากอาจถึงแก่ชีวิตได้
ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฏาคม-ตุลาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

สังวาลย์พระอินทร์/Hoya ovalifolia


ชื่อวิทยาศาสตร์---Hoya ovalifolia Wight & Arn.(1834)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2854361
---Hoya hainanensis Merr.(1923)
ชื่อสามัญ---Wax Plant
ชื่ออื่น---สังวาลพระอินทร์, นมตำเลีย, นมตารี, ต้าง (ภาคกลาง);[CHINESE: Luan ye qiu lan, Hǎi nán qiú lán.];[SINHALESE: Gonuke-wel, Gonika.];[THAI: Sangwan phra in, Nom tam lia, Nom ta ri, Tang (Central).].
EPPO Code---HOYSS (Preferred name: Hoya sp.)
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
วงศ์ย่อย---ASCLEPIADACEAE-ASCLEPIADOIDEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย
Hoya ovalifolia เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด Apocynaceae และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (Asclepiadoideae หรือ Asclepiadaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Robert Wight (1796–1872) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตและ George Arnott Walker Arnott (1799–1868) นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตในปี พ.ศ.2377
ที่อยู่อาศัย พบในจีน(ไหหลำ) อินเดีย,ศรีลังกาในป่าผสมตามริมแม่น้ำ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ทั่วไป
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยอิงอาศัยเป็นพืช epiphytic ขนาดเล็กถึงขนาดกลางเลื้อยได้ไกล 2เมตร  มีน้ำยางสีขาว มีรากออกตามข้อต้น ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม แผ่นใบหนาอวบน้ำ รูปรีหรือรูปไข่ โคนใบมนปลายใบแหลม กว้าง 4-10 ซม.ยาว 5-12 ซม.ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม.ดอกสีขาวตรงกลางสีแดง ออกเป็นช่อค่อนข้างกลมคล้ายซี่ร่ม ตามซอกใบ ดอกย่อยขนาด0.6-0.8 ซม.กลีบดอก 5 กลีบอวบมัน ผลเป็นฝักเรียว ยาว 14-15 ซม. กว้างประมาณ 0.5ซม.เมล็ดเล็กแบนรูปไข่มีขนเป็นพู่ที่ปลาย
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ เป็นไม้ประดับที่ปลูกกันแพร่หลายทั่วโลก
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ :ยางจากต้น ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ใบโขลกให้ละเอียดใช้พอกปิดฝีและแก้ฟกบวม
ระยะออกดอก/ติดผล---พฤศจิกายน-ธันวาคม/
การขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง

สังวาลย์พระอุมา/Hoya diversifolia


ชื่อวิทยาศาสตร์---Hoya diversifolia Blume.(1827)
ชื่อพ้อง---This name is unresolved.Has 4 Synonyms.
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2854157
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ลิ้นควาย (สงขลา), ต้าง, สลิท, กล้วยปิ้ง, สังวาลย์พระอุมา(ทั่วไป) ;[INDONESIA: Akar Kekapal, Akar Serapat, Akar Sesapat, Akar Sedudu Bukit, Caping Kera.];[PORTUGUESE: Flor-de-cera.];[RUSSIA: Xoyya raznolïstnaya.];[THAI: Lin kwai (Songkhla), Tang, Sa lit (General); Kluay ping, Sangwan Phra Uma.]
EPPO Code---HOYSS (Preferred name: Hoya sp.)
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
วงศ์ย่อย---ASCLEPIADACEAE-ASCLEPIADOIDEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Hoya มาจากภาษาละตินเพื่อเป็นเกียรติแก่ Thomas Hoy หัวหน้าคนสวนของ Duke of Northumberland ที่ Syon House, Isleworth แห่งศตวรรษที่ 18 ; ชื่อระบุชนิดสายพันธุ์จากภาษาละติน Diversifolia = ใบแปรผัน
Hoya diversifolia เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด Apocynaceae และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (Asclepiadoideae หรือ Asclepiadaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2370
มี 2 สายพันธุ์ย่อย (Subspecies) ที่ยอมรับ คือ :
-Hoya diversifolia subsp. diversifolia (1826)
-Hoya diversifolia subsp. el-nidicus (Kloppenb.) Kloppenb.(2001)
ที่อยู่อาศัยพบในกัมพูชา, อินโดนีเซีย (บอร์เนียว, ชวา, สุมาตรา), ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม เป็นพืช epiphytic ขึ้นกระจายบนต้นไม้ในป่าดิบชื้น ตามสวนผลไม้ ป่าโปร่ง ป่าพรุ ตลอดจนป่าชายเลนที่ลุ่มชายหาดที่ระดับความสูงถึงประมาณ 900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยอิงอาศัยลำต้นยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้อง ซึ่งแต่ละต้นจะมีรากงอกออกมาเพื่อเอาไว้ยึดเกาะ ตามลำต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ แผ่นใบหนา รูปรีหรือรูปไข่กลับ โคนและปลายมน กว้าง 3-6 ซม.ยาว 6-10 ซม.ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม.เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบมองเห็นได้ชัดทางด้านล่าง ก้านใบยาวได้ประมาณ 7-15 มม.ดอกสีแดงอมชมพูเป็นช่อรูปครึ่งวงกลม มี12-20 ดอก ออกตามง่ามใบ ก้านดอกย่อยยาว 1-2.5 ซม.เรียงแบบซี่ร่ม ก้านช่อยาว 4-8 ซม.กลีบดอกมี 5 กลีบ แผ่เชื่อมปลายแยกกันเป็น5แฉก ขอบแหลมม้วนลง ดอกมีเส้าเกสรเป็นรยางค์ 5 แฉก เกสรเพศผู้ 5 อัน ผลเป็นฝักรูปกระบอกแคบ ยาว 10-13 ซม.เมล็ดมีขนเป็นพู่สีขาวที่ปลายด้านหนึ่ง
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดรำไรหรือร่มเงาบางส่วน ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ดินชื้นระบายน้ำดี ปลูกง่าย
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ เหมาะสำหรับปลูกในสวนสาธารณะ สวน และถนน บนต้นไม้ หรือบนโครงไม้เลื้อยและเรือนกล้วยไม้
-ใช้เป็นยา พืชใช้ในการแพทย์พื้นบ้านมาเลย์ (Kuala Kangsar, Peninsular Malaysia) - ใบต้มในน้ำและยาต้มใช้อาบรักษาไข้และโรคไขข้อ
สถานะการอนุรักษ์ในท้องถิ่น---ถิ่นกำเนิดในสิงคโปร์ "ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง" [Critically Endangered (CR)]
ระยะออกดอก/ติดผล---เดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน/
การขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง

สามพันตา/Bridelia tomentosa


ชื่อวิทยาศาสตร์---Bridelia tomentosa Blume.(1826)
ชื่อพ้อง---Has 11 Synonyms
---Amanoa tomentosa Baill.(1866)
---Bridelia lancifolia Roxb.(1832)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-24668
ชื่อสามัญ---Pop-gun seed
ชื่ออื่น---สามพันตา (ราชบุรี), ไอ, ขนหนอน(นครศรีธรรมราช), กระบือ, สีฟันกระบือ (พิษณุโลก), มะแก (ชลบุรี), สะเหล่า (นครราชสีมา),โล่โก๊ะ (ส่วย-สุรินทร์), กือนุง (มาเลย์-นราธิวาส) ;[CHINESE: Tu mi shu.];[INDONESIA: Kenidai, Kernong, Kernam (Malay); Gandri (Bahasa Indonesia).];[MALAYSIA: Kenidai Jantan, Kerenan, Kernam, Kernong (Malay).];[THAI: Sam phan ta (Ratchaburi); Ai, Khon non (Nakhon Si Thammarat); Krabue, Si fan krabue (Phitsanulok); Ma kae (Chon Buri); Salao (Nakhon Ratchasima); Lo-ko (Suai-Surin); Kue-nung (Malay-Narathiwat).]
EPPO Code---BDITO (Preferred name: Bridelia tomentosa.)
ชื่อวงศ์---PHYLLANTHACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน อินเดีย เนปาล บังกลาเทศ พม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกีนีและออสเตรเลียตอนเหนือ
Bridelia tomentosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์มะขามป้อม (Phyllanthaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Ludwig von Blume. (1789–1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน - เนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2369
ที่อยู่อาศัย พบในจีนตอนใต้ (ฝูเจี้ยน กวางตุ้ง กวางสี ไห่หนาน ฯลฯ) และประเทศอื่นๆเช่น อินเดีย เนปาล บังกลาเทศ พม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกีนีและออสเตรเลียตอนเหนือ พบขึ้นตามพื้นที่เปิดโล่ง ป่าเสื่อมโทรม และป่าเกือบทุกชนิด ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยหรือไม้รอเลื้อย ต้นสูง 3-5 (-10) เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นถึง 15 ซม.กิ่งก้านมีรูอากาศกระจายทั่วไป ปลายกิ่งมักงันกลายเป็นหนามแข็ง เปลือกเรียบสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงสลับระนาบเดียว ขนาดและรูปร่างใบไม่แน่นอน ขนาด 3.7-9 x 2-6 ซม. ก้านใบยาวประมาณ 3-6 มม.ใบอ่อนสีน้ำตาลอมชมพู ท้องใบมีนวลสีขาว ดอกแบบช่อกระจุก ดอกย่อย10-20 ดอก ออกตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงประมาณ 1.5-2 x 0.5-0.9 มม. กลีบดอกมีขนาดเล็กและไม่เด่นประมาณ 0.5-0.6 x 0.4-0.5 มม.ดอกแยกเพศอยู่่ร่วมต้นเดียวกัน (monoecious) ผลเมล็ดเดียวแข็งรูปทรงกลม 6-7 x 4-6 มม.มี 2 พู ปลายผลเป็นติ่งแหลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำเนื้อนุ่ม มี 2 เมล็ด ขนาด 3-5 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดจัด ดินปนทรายหรือดินร่วนปนหินปูน ระบายน้ำดี ทนแล้ง
ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารยาและแหล่งวัสดุ
-ใช้กิน ผลกินได้
-ใช้เป็นยา เปลือกไม้ ใบไม้ ใช้รักษาอาการจุกเสียด รากบำรุงร่างกาย บำรุงหลังการคลอด ลำต้นใช้ฟอกโลหิต ใบผสมสมุนไพรอื่น แก้ปวดท้อง แก้ไข้ รักษาโรคลำไส้ ;- ในประเทศมาเลเซียแก้ปวดท้องและมีไข้สูง เปลือกใช้แก้อาการจุกเสียด รากใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่
-อื่น ๆ ไม้สีน้ำตาลมะกอกอ่อน แข็งและเนื้อแน่น ใช้สำหรับทำตะกร้า เกวียน ล้อ และที่จับเครื่องมือ-เปลือกไม้เป็นแหล่งของแทนนิน ให้สีย้อมดำ-เด็กจะใช้เมล็ดเป็นกระสุนในกระบอกไม้ไผ่
ภัยคุกคาม--เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง ประชากรจึงมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพ ไม่มีภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงจัดไว้ใน IUCN Red List ประเภท 'ความกังวลน้อยที่สุด' (ไม่น่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้)
สถานะการอนุรักษ์---LC - Least Concern - National - IUCN Red List of Threatened Species.(2019)
ระยะออกดอก/ติดผล---มีนาคม-สิงหาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด


เสี้ยวแก้ว/Bauhinia nervosa

ชื่อวิทยาศาสตร์--- Bauhinia nervosa (Wall. ex Benth.) Baker.(1878)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-46039
---Phanera nervosa Benth.(1852)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---เสี้ยวแก้ว (ทั่วไป) ;[CHINESE: Bang hua yang ti jia.];[THAI: Siao kaeo (General).]
EPPO Code---BAUSS (Preferred name: Bauhinia sp.)
ชื่อวงศ์--- FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย จีน พม่า ไทย
Bauhinia nervosa เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก จากอดีต George Bentham (1800-1884) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย John Gilbert Baker (1834–1920) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2421
ที่อยู่อาศัยพบที่ จีนตอนใต้ (ยูนนาน) พบในป่าเปิดที่ระดับความสูง 1,500-1,600 เมตร.ในอินเดีย และพม่าตอนบน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือที่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดเลย และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่จังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี ขึ้นตามชายป่าดิบแล้ง หรือบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 400-1,600 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยมีมือเกาะ เส้นผ่านศูนย์กลางฐาน 5 ซม. เปลือกบางหยาบละเอียดมาก สีน้ำตาลอ่อน ใบเดี่ยวรูปเกือบกลม 6–8 x 7–9 ซม.โคนใบเว้าปลายใบแยกเป็นสองแฉกลึก1/3ของใบ ปลายมนกลม ใบด้านบนทึบสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อนทึบ ผิวใบด้านล่างมีขนนุ่มสีน้ำตาล หูใบรูปไข่ ก้านใบยาว 1.5-3 ซม.ดอกออกเป็นช่อโปร่ง ดอกย่อยขนาด 4-6 ซม.กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนทั้งสองด้าน กลีบดอกสีขาวแกมเหลืองมีลายสีเขียวอ่อนซีดมีขนนุ่มสีน้ำตาลแดงทั่วไป ผลเป็นฝักแบนยาว 15 ซม.ฝักอ่อนมีเส้นแขนงบนผิวชัดเจน
ใช้ประโยชน์--- เป็นไม้ป่าของไทยที่นำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้
ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน-กันยายน
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด

เสี้ยวเครือ(ชงโคขี้ไก่)/Bauhinia harmsiana


ชื่อวิทยาศาสตร์--- Phanera harmsiana (Hosseus) Bandyop. & Ghoshal.(2015)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms.
---Basionym: Lasiobema harmsianum (Hosseus) de Wit.(1956)  
---See all https://www.gbif.org/species/10866149
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ชงโคขี้ไก่ (กาญจนบุรี), เสี้ยว (แพร่), เสี้ยวเคือ (ลำพูน), เสี้ยวน้อย; [THAI: Chong kho khi kai (Kanchanaburi); Siao (Phrae); Siao khuea (Lamphun).]
EPPO Code---QRWSS (Preferred name: Phanera sp.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ไทย กัมพูชา
Phanera harmsiana เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Dr Carl Curt Hosseus (1878 - 1950) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Tanoy Bandyopadhyay (born 1970) นักพฤกษศาสตร์ชาวอินเดียและ Partha Pratim Ghoshal (born 1971) นักพฤกษศาสตร์ชาวอินเดียในปีพ.ศ.2558
ที่อยู่อาศัย พบในไทย กัมพูชา ในประเทศไทยพบตามชายป่าทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้
ลักษณะ เป็นไม้กึ่งยืนต้นกึ่งเลื้อยขนาดใหญ่มีมือเกาะ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล ใบรูปไข่ ปลายใบเว้าตื้นเป็น2แฉก ปลายแฉกกลมมน โคนใบรูปหัวใจ ใต้ใบมีขนบนเส้นใบ ช่อดอกขนาดใหญ่ แตกกิ่ง ดอกตูมมีขนนุ่มสีเทา กลีบเลี้ยง 2-3 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ รูปช้อนสีเขียวอมเหลือง ขอบกลีบย่น ยาว 2-3 มม.เกสรเพศผู้ 3 อัน เกสรเพศผู้ที่ลดรูป 7 อัน รังไข่มีขนสีน้ำตาล จานรองดอกมีขน ฝักขนาดกว้าง 2.5 ซม.ยาว 11 ซม.มีเมล็ด 6-7 เมล็ด
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ลำต้น ต้มน้ำหรือฝนน้ำดื่ม แก้บิด ตำรายาไทยใช้ เถา ถอนพิษ แก้ไข้ เมล็ด ถ่ายพยาธิ แก้ไข้เซื่องซึม มีอาการหน้าหมองเนื่องจากพิษไข้ แก้ร้อนใน ขับเหงื่อ แก้พิษฝี
ระยะออกดอก/ติดผล---กรกฏาคม-สิงหาคม/
ขยายพันธุ์---เมล็ด

เสี้ยวเครือยอดแดง/Bauhinia glauca ssp. tenuiflora


ชื่อวิทยาศาสตร์---Cheniella glauca (Benth.) R.Clark & Mackinder.(2017)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:77165916-1#synonyms
---Basionym: Phanera glauca Benth.(1852)
---Bauhinia glauca (Benth.) Wall. ex Benth.(1861)
---Bauhinia micrantha Ridl.(1911)
---Phanera ochroleuca Miq.(1855)
ชื่อสามัญ---Glaucous Climbing Bauhinia.
ชื่ออื่น---คางโค (ภาคตะวันออกเฉีงใต้), ชงโค (ภาคตะวันออก), พาซิว (กะเหรี่ยง-ลำปาง), เสี้ยวเครือ (ภาคเหนือ), เสี้ยวต้น (น่าน), เสี้ยวป่า (เชียงใหม่), แสลงพัน (ภาคเหนือ); จงโค, ชงโค (ภาคใต้) ;[CHINESE: Bao ye yang ti jia, Fěn bèi yángtí jiǎ, Guò gǎng téng, Nǐ fěn yè yángtí jiǎ, Shǒu guān téng shǔ.];[INDIA: KukiJong-rekal, NagaNga-hiamba (Tribal).];[MANIPURI: Chingthrao.];[TAIWAN: Fěn yè yángtí jiǎ.];[THAI: Khang kho (South-eastern); Chong kho (Eastern); Pha-sio (Karen-Lampang); Siao khruea (Northern); Siao ton (Nan); Siao pa (Chiang Mai); Salaeng phan (Northern).].
EPPO Code---QRWSS (Preferred name: Phanera sp.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIACEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีน พม่า ไทย ลาว  
Cheniella glauca  เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย George Bentham (1800-1884) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย John Robert Clark (1969 -) ศาสตราจารย์ด้านพืชสวนชาวอเมริกัน และ Barbara Ann Mackinder (born 1958) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษในปีพ.ศ.2560


ที่อยู่อาศัย พบใน จีน (ยูนนาน กวางสี) เกิดในป่าทึบหรือป่าเชิงเขาและในหุบเขา มีการกระจายในพม่าไทย ลาว เติบโตที่ระดับความสูงถึง 1,700 เมตร ในประเทศไทยพบทางภาคใต้ ขึ้นกระจายห่าง ๆ ตามชายป่าดิบชื้น ที่ระดับความความสูงประมาณ 100 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง มีมือเกาะปลายแยกเป็นคู่ม้วนงอ กิ่งอ่อนและใบอ่อนสีแดงใบรูปกลมโคนและปลายเว้าคล้ายใบแฝดติดกันขนาดใบ 10-12 ซม. เส้นใบ 7-11 เส้น ปลายใบมน ผิวใบด้านบนเกลี้ยงใต้ใบมีขนประปราย ก้านใบยาว 1-2 ซม.ดอกออกเป็นช่อเชิงหลั่นขนาดใหญ่ 5-25 ดอก กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ ผลเป็นฝักแบนยาว 18-25 ซม.กว้าง 3-5.5 ซม.ปลายเป็นติ่ง เมล็ดรูปไข่แบนมีเมล็ด10-15 เมล็ดต่อฝัก
ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน - กรกฎาคม/กันยายน-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด

เสี้ยวตัน/Jasminum calcicola Kerr


ชื่อวิทยาศาสตร์---Jasminum calcicola Kerr.(1938)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-351771
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---เสี้ยวต้น (ภาคเหนือ) ;[THAI: Siao tan (Northern).]
EPPO Code---IASSS (Preferred name: Jasminum sp.)
ชื่อวงศ์---OLEACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Jasminum calcicola เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์วงศ์มะลิ (Oleaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Arthur Francis George Kerr (1877–1942) แพทย์ชาวไอริช เขาเป็นที่รู้จักโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการทำงานพฤกษศาสตร์ของเขาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการศึกษาของพืชในประเทศไทยในปี พ.ศ.2481
ที่อยู่อาศัย เป็นไม้ถิ่นเดียวในประเทศไทย พบครั้งแรกโดยหมอคาร์ (Arthur Francis George Kerr ) เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง กระจายพันธุ์ตามเขาหินปูนในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก โดยเฉพาะในจังหวัดลำปาง กาญจนบุรี สระบุรีและลพบุรี
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยได้ไกล 4-6 เมตร ใบประกอบแบบมีใบย่อย 3 ใบ (trifoliolate) เนื้อใบค่อนข้างหนา รูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม.ยาว 4-8 ซม. ช่อดอกมีดอกย่อย 12 ดอก ถึงจำนวนมาก ดอกสีขาว มี 5-6 กลีบ ยาว 6-10 มม.หลอดกลีบดอกยาว 8-12 มม.มีแต้มสีน้ำตาลอ่อน ผลรูปรียาว 9 มม
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---เป็นมะลิที่มีกลิ่นหอมแรงและเป็นกลิ่นที่แตกต่างจากชนิดอื่น เป็นมะลิถิ่นเดียวที่หายากของไทยที่ขึ้นอยู่บนภูเขาหินปูน
สถานภาพ---พืชถิ่นเดียว (endemic)และพืชหายาก (rare plant)
ระยะออกดอก/ติดผล---ธันวาคม-กุมภาพันธ์/
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง

เสี้ยวผี/ Jasminum scandens


ชื่อวิทยาศาสตร์---Jasminum scandens (Retz.) Vahl.(1794)
ชื่อพ้อง---Has 5 Synonyms.
---Basionym: Nyctanthes scandens Retz.(1788)
---Jasminum laetum Wall. ex G.Don.(1837)
---Mogorium scandens (Retz.) Lam.(1797)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-351652
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---เสี้ยวผี (เชียงใหม่), มะลิไส้ไก่, ไส้ไก่ (นครราชสีมา), เสี้ยวต้น (ลำปาง); [LAOS: Ma li sai kai, Sai kainony, Sai kai, Siauaton, Siav phi.];[THAI: Siao phi (Chiang Mai); Mali sai kai, Sai kai (Nakhon Ratchasima); Kai noi (Central); Siao ton (Lampang).].
EPPO Code---IASSS (Preferred name: Jasminum sp.)
ชื่อวงศ์---OLEACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เทือกเขาหิมาลัยถึงอินโดจีน
Jasminum scandens เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์วงศ์มะลิ (Oleaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Anders Jahan Retzius (1742–1821) นักไลเคนวิทยา, แพทย์ชาวสวีเดนและและศาสตราจารย์ด้านพฤกษศาสตร์ ได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Martin Henrichsen Vahl (1749–1804) นักพฤกษศาสตร์และนักสัตววิทยาชาวเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ในปีพ.ศ.
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่ เทือกเขาหิมาลัย (สิกขิม) อินเดีย (อัสสัม) บังคลาเทศ พม่า ถึง อินโดจีน (ไทย กัมพูชา)
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกลถึง 10 เมตร แตกกิ่งออกเป็นหลายยอด กิ่งอ่อนมีขนเมื่อกิ่งแก่จะมีขนน้อยลง ใบรูปไข่จนถึงรูปหอกกว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 3.5-8 ซม.โคนใบมนปลายใบแหลมขอบใบเป็นคลื่น ผิวด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน เรียบทั้งสองด้าน ยกเว้นเส้นแขนงใบ ช่อดอกออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ออกเป็นช่อเล็กๆจำนวนมากมีดอก 5-15 ดอก สีขาวมีขนสั้นนุ่ม ก้านดอกยาว 1-3 มม.กลีบเลี้ยงหลอมรวมเป็นหลอดยาว 1-2 มม. ปลายแบ่งออกเป็น 6-8 แฉก เป็นรูปขอบขนานหรือรูปสามเหลี่ยม กลีบติดกับท่อยาว 10-12 มม.ปลายแบ่งออกเป็น 6-8 แฉก เป็นรูปแถบ กว้าง 1.5-2 มม.ยาว 5-6 มม.ดอกบานพร้อมกันเกือบทั้งต้น ส่งกลิ่นหอมทั้งวันทั้งคืน ผลกลมรีขนาด กว้าง 7-8 มม. ยาว 10-11 มม.เมื่อแก่สีแดงและจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
ใช้ประโยชน์---ใช้ปลูกประดับ ใช้เป็นไม้เลื้อยประดับที่มีดอกหอม ต้นที่อยู่กลางแจ้งจะออกดอกดกและติดผลจำนวนมาก
-ใช้เป็นยา ดอกใช้ผสมในตำหรับยาสมุนไพร เปลือกบรรเทาอาการท้องเสีย ใบใช้สมานแผลสดและห้ามเลือด
ระยะออกดอก/ติดผล---
ขยายพันธุ์---เมล็ด ตอนกิ่ง

เสี้ยวฟ่อม/Bauhinia viridescens Desv. var. viridescens


ชื่อวิทยาศาสตร์---Bauhinia viridescens Desv.(1826)
ชื่อพ้อง---Has 6 Synonyms
---Bauhinia baviensis Drake.(1891)
---Bauhinia fusifera C.E.C.Fisch.(1927)
---Bauhinia polycarpa Benth.(1852)
---Bauhinia timorana Decne.(1834)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-43540
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น--- บะหมะคอมี (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ส้มเสี้ยวน้อย (ปราจีนบุรี); ส้มเสี้ยวใบบาง (ประจวบคีรีขันธ์); เสี้ยวเคี้ยว (เลย); เสี้ยวน้อย, เสี้ยวป๊อก (แพร่); เสี้ยวฟ่อม (ภาคเหนือ); [ASSAMESE: Boga-katra, Kanchan, Kuro.];[CHINESE: Lǜ huā yáng tí jiǎ.];[THAI: Ba-ma-kho-mi (Karen-Kanchanaburi); Som siao noi (Prachin Buri); Som siao bai bang (Prachuap Khiri Khan); Siao khiao (Loei); Siao noi, Siao pok (Phrae); Siao fom (Northern).];[VIETNAM: Móng bò xanh lục.].
EPPO Code---BAUSS (Preferred name: Bauhinia sp.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIACEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---จีนตอนใต้ พม่า อินโดจีน และอินโดนีเซีย
Bauhinia viridescens เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nicaise Auguste Desvaux (1784–1856) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2369
มี 2 Varieties (ความหลากหลาย)
-Bauhinia viridescens var. hirsuta K.Larsen & S.S.Larsen.(1980)
-Bauhinia viridescens var. viridescens,(Published in: Unknown)
ที่อยู่อาศัย กระจายอยู่ในภูมิภาคอินโดจีน, จีนแผ่นดินใหญ่ (ยูนนาน)และอินโดนีเซีย (เกาะติมอร์) เติบโตตามธรรมชาติในป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามชายป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงไม่เกิน 800 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูงได้ถึง 4 เมตร ยอดอ่อนเกลี้ยง กิ่งอ่อนหักพับรูปฟันปลา ใบเดี่ยวรูปไข่กว้างค่อนข้างกลม ปลายเว้าลึกโคนเว้าตื้น คล้ายใบแฝดติดกัน ขนาดใบกว้าง 4-6 ซม.ยาว 8-12 ซม.ก้านใบยาว 2-5 ซม.หูใบปลายมีขนแข็ง ดอกแยกเพศต่างต้น (Dioecious) ออกเป็นช่อกระจะ ยาว 5-15 ซม.ใบประดับรูปลิ่มแคบ ยาว 2-5 มม.ดอกย่อยสีเขียวอ่อนมี 5 กลีบซ้อนเหลื่อมกันเป็นรูปกลม ดอกเพศผู้มีเกสร 10 อัน กลีบดอก 5 อัน ดอกเพศเมียมีเกสรเพศผู้ลดรูป 10 อัน ขนาดไม่เท่ากัน รังไข่ยาว 6-8 มม.ผลเป็นฝักแบนยาว 5–7 ซม.ผิวเรียบแก่แล้วแตกตามยาวมีเมล็ดแบน 6-10 เมล็ด รูปรี แบน ยาวประมาณ 2-3 มม.
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา เถาใช้เป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้ ;-ในเวียตนามใช้ต้มน้ำดื่มบำรุงร่างกายผู้หญิงหลังคลอดบุตร
ระยะออกดอก/ติดผล---ระหว่างเดือนมีนาคม-กรกฎาคมและเดือนพฤษภาคม-มกราคม
ขยายพันธุ์---ปักชำ เพาะเมล็ด


แสลงพันกระดูก/Bauhnia similis


ชื่อวิทยาศาสตร์---Phanera similis (Craib) de Wit.(1956)
ชื่อพ้อง---Uas 1 Synonyms.See all https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:513583-1
---Bauhnia similis Craib.(1927)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---แสลงพันกระดูก (กาญจนบุรี); [THAI: Salaeng phan kraduk (Kanchanaburi).].
EPPO Code---BAUSS (Preferred name: Bauhinia sp.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---พม่า ลาว  ไทย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุล Phanera มาจากภาษากรีก “phaneros” = ชัดเจน อ้างอิงถึงลักษณะดอกที่ค่อนข้างใหญ่เห็นชัดเจน ; ชื่อระบุชนิด 'similis' จากภาษาละติน = คล้ายคลึงกัน
Phanera similis เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (CaesalpinoideaeหรือCaesalpiniaceae) สกุลแสลงพัน (Phanera)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Hendrik (Henk) Cornelis Dirk de Wit (1909 –1999) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ในปี พ.ศ.2499
ที่อยู่อาศัย พบที่พม่า และลาว ในไทยพบทางภาคเหนือที่แพร่ น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ขอนแก่น ภาคกลางที่สระบุรี ภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่จันทบุรี ขึ้นตามเขาหินปูน ความสูง 200-300 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เลื้อยได้ไกล 8-10 เมตร มีมือเกาะเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลเทา ใบรูปไข่หรือค่อนข้างกลมยาวได้ถึง 9 ซม. ปลายและโคนเว้าลึกคล้ายใบแฝด ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบยาว 1.5-3 ซม.ดอกออกเป็นช่อกระจะที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกตูมมีขนสีน้ำตาล ดอก สีเหลืองอม เขียวโคนกลีบสีชมพู กลีบดอกซ้อนกัน5กลีบมีก้านเกสรเพศผู้เป็นก้านยาวสีแดง เกสรเพศผู้มี 10 อัน สมบูรณ์ 3 อันและเป็นหมัน 7 อัน ฝักแข็งแบน รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 10-15 ซม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดตลอดวัน ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป อัตราการเจริญเติบโตปานกลาง
ระยะออกดอก/ติดผล---กันยายน-ธันวาคม
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

แสลงพันเถา/Bauhinia pulla

ชื่อวิทยาศาสตร์---Phanera pulla (Craib) Sinou & Bruneau.(2020)
ชื่อพ้อง---Has 2 Synonyms.See all https://www.gbif.org/species/11375947
---Basionym: Bauhinia pulla Craib.(1927)
---Lasiobema pullum (Craib) A.Schmitz.(1977)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---กาหลง, แสลงพันเถา (นครสวรรค์); เถากระไดลิง, แสลงพัน (นครราชสีมา) ; [THAI:  Ka long (Nakhon Sawan); Salaeng phan (Nakhon Ratchasima); Salaeng phan thao (Nakhon Sawan).].
EPPO Code---QRWSS (Preferred name: Phanera sp.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---พม่า กัมพูชา ไทย
Phanera pulla เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อยราขพฤกษ์ (Caesalpinoideae หรือ Caesalpiniaceae) สกุลแสลงพัน (Phanera)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Carole Sinou นักวิทยาศาสตร์ชีวภาพชาวแคนาดา และ Anne Bruneau นักพฤกษศาสตร์ชาวแคนาดาในปีพ.ศ.2563


ที่อยู่อาศัย พบที่พม่าและกัมพูชา ในประเทศไทยพบทุกภาค ขึ้นตามชายป่าหรือเขาหินปูนเตี้ย ๆ เลื้อยพันตามต้นไม้อื่น ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 500 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งมีมือเกาะพัน ยาวประมาณ 5 เมตร ลำต้น กลมเปลือกสีเทามีขนสีเทาปกคลุมเล็กน้อยบริเวณกิ่งอ่อน ใบเดี่ยวรูปไข่ออกเรียงเวียนสลับกัน แผ่นใบสีเขียว โคนใบเว้าแคบเป็นแฉกลึก ขนาดใบกว้าง 5-12 ซม.ยาว 8-15 ซม.ดอก ออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง รูปคล้ายปิรามิด ใบประดับย่อยรูปแถบ ยาวประมาณ 5 มม. ติดประมาณกึ่งกลางก้านดอก ก้านดอกยาวได้ถึง 1 ซม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย แยกเป็น 5 ส่วน รูปสามเหลี่ยม ดอกย่อยสีเหลืองอมเขียว รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5 ซม. รวมก้านกลีบ มีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านชูอับเรณูโค้งงอ ยาวกว่ากลีบดอก เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 7 อัน จานฐานดอกย่นคล้ายลูกฟูก รังไข่มีขนกำมะหยี่หนาแน่น ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 มม.ผลเป็นฝักแบนรูปแถบมีขนปกคลุม ยาวได้ถึง 30 ซม.ปลายมีจะงอย แห้งแล้วแตกตามยาว มี 10-20 เมล็ด เมล็ดแบน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม.
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา เถา รสเมาเบื่อร้อน ขับฟอกโลหิต ระดู กระจายโลหิตที่เป็นลิ่มเป็นก้อน บำรุงโลหิต แก้น้ำเหลืองเสีย ผื่นคันตามผิวหนัง , เมล็ด ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ร้อนใน ขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้พิษฝี
ระยะออกดอก/ติดผล---
ขยายพันธุ์---เมล็ด


หนามแน่ขาว/Thunbergia fragrans


ชื่อวิทยาศาสตร์---Thunbergia fragrans Roxb.(1796)
ชื่อพ้อง---Has 3 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2436102
---Meyenia longiflora Benth.(1849)
--- Roxburghia rostrata Russell ex Nees.(1847)
---Thunbergia volubilis Pers.(1806)
ชื่อสามัญ---Angel Wings, Fragrant Thunbergia, Sweet Clock Vine, White Clock Vine, White Lady
ชื่ออื่น---หนามแน่ขาว (ภาคเหนือ), จิงจ้อ, จิงจ้อเขาตาแป้น (สระบุรี), หูปากกา (ชุมพร), ทองหูปากกา (สุราษฎร์ธานี), ช่องหูปากกา (ประจวบคีรีขันธ์) ;[CHINESE: Wan hua cao, Tiě guàn téng, Gǒupì téng.];[CUBA: Flor de nieve, Jazmín del Vedado.];[DOMINICAN: Jazmín de maya.];[FRENCH: Bec martin, Liane toupie.];[HINDI: Chimine, Indra pushpa.];[JAMAICA: White nightshade.];[MALAYALAM: Noorvan-valli.];[MARATHI: Chimine.];[PORTUGUESE: Tumbérgia-branca.];[PUETO RICO: Susana blanca.];[SPANISH: Flor de nieve, Velo de novia.];[SWEDISH: Vit thunbergia.];[TAMIL: Indrapushpam.];[THAI: Nam nae khao (Northern), Chingcho, Chingcho khao ta paen (Saraburi), Hu pak ka (Chumphon), Thong hu pak ka (Surat Thani), Chong hu pak ka (Prachuap Khiri Khan).];[UNITED STATES VIRGIN ISLAND: White Susan vine.];[VIETNAM: Cát đằng thơm, Uyên hoa thảo.].
EPPO Code---THNFR (Preferred name: Thunbergia fragrans.)
ชื่อวงศ์---ACANTHACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทวีปอเมริกา แคริเบียน
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลThunbergiaได้รับการตั้งชื่อตามนักพฤกษศาสตร์และนักสำรวจชาวสวีเดน Carl Peter Thunberg (1743-1822)
Thunbergia fragrans เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เหงือกปลาหมอหรือวงศ์กระดูกไก่ (Acanthaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Roxburgh (1751-1815) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2339
ที่อยู่อาศัยมีถิ่นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย (ภูฏาน, อินเดีย, เนปาลและศรีลังกา), เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (พม่า กัมพูชาและเวียดนาม) ทางตอนใต้ของจีน (กวางตุ้ง กวางสี กุ้ยโจว ไหหลำ เสฉวน มณฑลยูนนาน) แพร่กระจายในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลก (ไมโครนีเซีย, ฟิจิ, ฮาวาย, นิวแคลิโดเนีย, ซามัว, ตองกา, วานูอาตู, อเมริกากลาง, อเมริกาเหนือ) เป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วไปในป่าค่อนข้างโปร่ง พื้นที่ชายฝั่ง ในพื้นที่ที่ถูกรบกวนโดยเฉพาะตามริมถนน ที่ระดับความสูง 400-2,300 เมตร
บทสรุปของการรุกราน---T. Fragransรวมอยู่ใน Global Compendium of Weed ซึ่งถูกระบุว่าเป็น“ วัชพืชสิ่งแวดล้อม” และถูกระบุว่าเป็นพืชรุกรานในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ คิวบา เปอร์โตริโก ฮาวายและเฟรนช์โปลินีเซีย ( Meyer and Lavergne, 2004 ) Mito และ Uesugi, 2004 ; Chong et al., 2009 ; กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการประมงแห่งรัฐควีนส์แลนด์, 2011 ; Oviedo-Prieto et al., 2012 ; PIER, 2014 )
ลักษณะ เป็นไม้เถาล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีความยาวประมาณ 2-3 เมตร เป็นเหลี่ยมมีขนหนาแน่นมักทอดเลื้อยและเลื้อยพันไม้อื่น ในระดับต่ำใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรีหรือรูปหอก กว้าง 1-3.5 ซม.ยาว 2.5-7 ซม. แผ่นใบบางคล้ายกระดาษผิวใบมีขนทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาวประมาณ 4 ซม. ดอกสีขาวออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ที่ซอกใบขนาดของดอก 4 ซม. ที่โคนกลีบมีกลีบรองดอกแผ่เป็นประกับสีเขียวอ่อน กลีบดอกบาง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยก 5 กลีบ ผลเกลี้ยงสีดำทรงกลม มีจงอยที่ปลาย 1 คู่ภายในมีเมล็ดกลม 4 เมล็ด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็ม รำไรหรือร่มเงาบางส่วน ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำที่ดีและ pH ตั้งแต่ 6.1 ถึง 7.8 ( PROTA, 2014 ). อัตราการเจริญเติบโต เร็ว
ใช้ประโยชน์---ใช้เป็นยา ในเวียตนามใช้รากรักษาอาการหูหนวก
-ใช้ปลูกประดับ นำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดีมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มักจะปลูกบนระแนงและรั้ว กระเช้าแขวนและปลูกเป็นพืชคลุมดิน
ระยะออกดอก/ติดผล---ตลอดปี
ขยายพันธุ์---เมล็ด ปักชำ

หนามแน่แดง/Thunbergia coccinea


ชื่อวิทยาศาสตร์---Thunbergia coccinea Wall.(1826)
ชื่อพ้อง---Has 1 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50058337
---Hexacentris coccinea (Wall.) Nees.(1832)
ชื่อสามัญ---Scarlet Clock Vine, Scarlet thunbergia.
ชื่ออื่น---หนามแน่แดง, น้ำปู้, เครือนกน้อย (เชียงใหม่), ปังกะล่ะกวอ (กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน); รางจืด, รางจืดแดง ;[ASSANMESE: Chonga-lata.];[BHUTAN: Kanesi.];[CHINESE: Hong hua shan qian niu.];[FRENCH: Thunbergie rouge.];[NEPALI: Kaanse, Rato kag chuchche, Singarne lahara.];[THAI: Nam nae daeng, Nam pu (Chiang Mai); Pang-ka-la-kwo (Karen-Mae Hong Son).].  
EPPO Code---THNCO (Preferred name: Thunbergia coccinea.)
ชื่อวงศ์---ACANTHACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---เทือกเขาหิมาลัย อินเดีย เนปาล ภูฏาน พม่า ไทย
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลThunbergiaได้รับการตั้งชื่อตามนักพฤกษศาสตร์และนักสำรวจชาวสวีเดน Carl Peter Thunberg (1743-1822); ชื่อระบุชนิด 'coccinea' =Scarlet
Thunbergia coccinea เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์เหงือกปลาหมอหรือวงศ์กระดูกไก่ (Acanthaceae)ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854)ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์กในปี พ.ศ.2369
ที่อยู่อาศัยพบในเทือกเขาหิมาลัย อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ของอินเดีย (ทมิฬนาฑู) เนปาล ภูฏาน จีน (ทิเบต ยูนนาน) พม่า ตามพื้นที่ลาดชันของป่าที่ระดับความสูง 300-2,000 เมตร ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นกระจายในป่าดิบชื้น บริเวณที่โล่งหรือชายป่า ที่ระดับความสูง 900-1,700 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดเล็กอายุหลายปี เลื้อยได้ไกล 4-8 เมตร กิ่งก้านสีเขียวใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้ามรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 3.5-7 ซม.ยาว 8-15 ซม.ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบจักซี่ฟัน เนื้อใบค่อนข้างบาง หลังใบเกลี้ยงเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่าและมีนวลสีขาวขึ้นปกคลุม เส้นใบหลัก 5-7 เส้น แตกออกจากโคนใบเห็นได้ชัดเจน ก้านใบมีลักษณะกลม ยาวประมาณ 1-3 ซม.ดอกออกเป็นช่อกระจะห้อยลงยาวได้ถึง 2 เมตร ดอกย่อยมีหลายดอก เป็นดอกสมบูรณ์ โดยมีจำนวนประมาณ 20-60 ดอกต่อช่อ ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียวเข้มอมม่วงขนาดใหญ่ 2 อันประกบกัน กลีบเลี้ยงขนาดเล็กเชื่อมติดกันคล้ายวงแหวน กลีบดอกสีแดงเชื่อมติดกันเป็นหลอดค่อนข้างแบน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีแดงแกมชมพูหรือส้มปูนขนาดดอก 2 ซม.ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน โดยจะอยู่ลึกลงไปในท่อกลีบดอก ก้านเกสรสั้น มีรังไข่ 1 อัน ผลแคปซูลค่อนข้างกลม 1-1.2 × 1.5-2 ซม มีจงอยขนาดใหญ่ 1.5-2.3 ซม เมื่อแก่จะแตกตามยาว แต่ติดผลค่อนข้างยาก ภายในฝักมีเมล็ดหลายเมล็ด เมล็ดแบนรูปไข่
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็ม ดินทั่วไป มีการระบายน้ำที่ดี pH ตั้งแต่ 6.1 ถึง 7.8 อัตราการเจริญเติบโต ปานกลาง
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ดอกนำมาใช้ประกอบอาหารได้
-ใช้เป็นยา ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากหนามแน่แดง ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น เช่น รากพญาดง (Persicaria chinensis) นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการปวดท้องน้อยของผู้ป่วยกามโรค-ดอกและผลใช้ตำพอกแผลที่โดนงูกัด จะช่วยดูดพิษได้-เครือนำมาต้มกับน้ำกินเวลาที่โดนพิษจากสัตว์มีพิษ เช่น แมงป่อง ตะขาบ แมงมุมพิษ งู - รากและใบใช้เป็นยาแก้พิษยาเบื่อ พิษจากยาฆ่าหญ้าชนิดดูดซึมหรือยาฆ่าแมลง โดยเชื่อว่าจะมีฤทธิ์แรงกว่ารางจืด (Thunbergia laurifolia Linn.)
-ใช้ปลูกประดับ ใช้เป็นไม้ประดับทั่วไป แต่ค่อนข้างหายาก
ภัยคุกคาม---จัดไว้ใน IUCN Red Lis ประเภท"ไม่ได้รับการประเมิน"
สถานะการอนุรักษ์---NE -Not Evaluated อนุกรมวิธานนี้ยังไม่ได้รับการประเมินสำหรับ IUCN Red List of Threatened Species.
ระยะออกดอก/ติดผล---กันยายน-กุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำ

หยีคลาน/Aganope heptaphylla 


ชื่อวิทยาศาสตร์---Aganope heptaphylla (L.) Polhill.(1971)
ชื่อพ้อง---Has 9 Synonyms
---Basionym: Sophora heptaphylla L.(1753)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-32279
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---หยีคลาน, ตังเจ็ดใบ (ทั่วไป) ;[MALAYSIA: Ketui besar, Pepanjat, Omis-omis, Wali ahuhun (Malay).];[THAI: Yi klan; Tang chet bai (General).];[VIETNAM: Dây cóc, Cóc kèn chùy dài.].
EPPO Code---AGQSS (Preferred name: Aganope sp.)
ชื่อวงศ์---FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลียตอนเหนือ
Aganope heptaphylla เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) วงศ์ย่อย ประดู่ (Papilionoideae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนและได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Roger Marcus Polhill (born 1937) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.
ที่อยู่อาศัย พบใน ศรีลังกา อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ถึงนิวกินีและออสเตรเลียตอนเหนือ ขึ้นตามฝั่งแม่น้ำลำคลอง และตามขอบแนวหลังป่าชายเลนที่น้ำทะเลท่วมถึงเป็นครั้งคราว ที่ระดับความสูงไม่เกิน 120 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เปลือกเรียบสีน้ำตาลเข้ม กิ่งก้านมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6–8 มม.ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (imparipinnate) ก้านช่อใบยาว 3-6 ซม. ประกอบด้วยใบย่อย 3-5-7 ใบ แผ่นใบย่อยรูปไข่ รูปไข่แกมรูปรีถึงรูปรี ขนาด 4-10 x 6-15 ซม.เรียงจากเล็กไปใหญ่สุด โคนใบกลมมน ขอบใบเรียบ ปลายใบมนถึงแหลม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ด้านล่างสีซีดกว่า เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ดอก แบบช่อเชิงลด มีก้านแยกแขนงขนาดใหญ่ ออกตามง่ามใบและปลายยอด แต่ละช่อยาวถึง 40 ซม.ดอกย่อยรูปถั่ว ขนาดเล็กสีขาวอมเขียว ผลแบบฝักถั่วโค้งบวมคอดเป็นข้อระหว่างเมล็ด มี 1-4 ข้อ ผิวเกลี้ยงและมีเส้นลายฝักเป็นร่างแห ฝักขนาด 10–20.5x 3.8 ซม.ตะเข็บฝักด้านบนเป็นปีกแคบๆเชื่อมระหว่างเมล็ดกว้าง 2-4 มม. ห้องเมล็ดพันธุ์ขาด เมล็ด มีลักษณะเป็นถั่วแคบ ๆ 21–22 x 8–9 มม.
ใช้ประโยชน์---พืชถูกเก็บเกี่ยวจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นเป็นอาหารและใช้พิษ
-ใช้กิน ใบ ดิบ-สุกใช้ปรุงแต่งรสชาดอาหาร
-อื่น ๆ พืชมี rotenone และถูกใช้เป็นยาเบื่อปลาทำให้ปลามึนงง ทำให้จับได้ง่าย แต่ปลายังคงกินได้อย่างสมบูรณ์ สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Rotenone จัดโดยองค์การอนามัยโลกว่าเป็นอันตรายปานกลาง มันเป็นพิษเล็กน้อยต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ แต่เป็นพิษอย่างยิ่งต่อแมลงหลายชนิดซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นยาฆ่าแมลง Rotenone มีประสิทธิภาพต่อศัตรูพืชสวนหลายชนิด เช่น เพลี้ย หนอนผีเสื้อและปรสิตภายนอกร่างกาย เช่น เห็บ เหา หมัดและแมลงวัน มีรายงานว่าไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันตัวเรือด, แมลงสาบ, และแมงมุมสีแดง Rotenone สามารถพบได้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช แต่โดยทั่วไปจะมีมากในเปลือกไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราก เปลือกแห้งสามารถทำเป็นผงเพื่อใช้เป็นยาฆ่าแมลง
รู้จักอันตราย---ความเป็นพิษที่สูงขึ้นในปลาและแมลงนี้เป็นเพราะ lipophilic rotenone ถูกดูดซึมผ่านเหงือกหรือหลอดลมได้ง่ายกว่าผ่านผิวหนังหรือทางเดินอาหาร ปริมาณที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับเด็กคือ 143 มก./กก. แต่การเสียชีวิตของมนุษย์จากพิษของโรทีโนนนั้นเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากการกระทำที่ระคายเคืองทำให้อาเจียน การกลืนกิน rotenone โดยเจตนาอาจถึงแก่ชีวิตได้ สารประกอบจะสลายตัวเมื่อถูกแสงแดดและมักจะมีกิจกรรมในสิ่งแวดล้อมหกวัน
สถานะการอนุรักษ์--- NT-Not Threatened-- National - IUCN Red List of Threatened Species.
ระยะออกดอก/ติดผล---
ขยายพันธุ์---เมล็ด

หวายลิง/Flagellaria indica

ชื่อวิทยาศาสตร์---Flagellaria indica L.(1753)
ชื่อพ้อง---Has 7 Synonyms
---Flagellaria catenata Lour ex B.A.Gomes.(1868)
---Flagellaria loureiroi Steud.(1855)
---Flagellaria minor Blume.(1830)
---Flagellaria philippinensis Elmer.(1908)
---More.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-246142
ชื่อสามัญ---Common Flagellaria, Wild ratan, Whip vine, Hell tail, Supplejack, False rattan, Bush cane.
ชื่ออื่น---หวายลิง, หวายเย็บจาก, หวายลี (ภาคใต้) ;[BENGALI: Ban chanda, Harcharal.];[CAMBODIA: Phdau â'nda:ëk, Phdau sva.];[CHINESE: Bian teng, Yìndù biān téng, Xu ye teng.];[CZECH: Chopatec pnulý.];[FIJI: Qalo.];[FRENCH: Flagellaire des Indes, Flagellaire d'Inde.];[GERMAN: Wilder Ratan.];[INDONESIA: Rotan dapit (eastern Sumatra), Kokrok (Javanese), Owar (Sundanese).]; Rotan Mancik, Wowo, Wala, Walan.];[JAPANESE: Kuhishi, Toutsurumodoki, Yamatuh, Habuigii, Kuji, Fuji Takeko, Yoshitake fuji.];[MADAGASCAR: Vahimpika, Vahimpiky (Malagasy); Rotan du pays.];[MALAYALAM: Panambuvalli.];[MALAYSIA: Pepanjat, Rotan dini, Rotan tikus, Rotan Kera (Malay); Rotan Mambang (Bajau).];[PAPUA NEW GUINEA: Guiaiti, Gwana, Soangang, Mung, Suwagin, Vuvu.];[PHILIPPINES: Anuad, Iñgual (Ilokano); Arayan, Baling-uai (Tagalog); Huay (Bisaya); Uai-ti-uak (Ilk.).];[PORTUGUESE: Ratao-falso.];[REUNION: Jolilave.];[THAI: Wai yep chak, Wai ling, Wai li (Peninsular).];[VIETNAM: Mây nước, Mây vọt.].
EPPO Code---FLGIN (Preferred name: Flagellaria indica.)
ชื่อวงศ์---FLAGELLARIACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดีย ศรีลังกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนเหนือของออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดียและแอฟริกา
นิรุกติศาสตร์---ชื่อสกุลจากภาษาละติน Flagellum = เลื้อย, อ้างอิงถึงปลายใบที่ลงท้ายด้วยไม้เลื้อยขด; ชื่อระบุชนิดจากภาษาละติน indica =ของอินเดีย แต่ยังใช้กับพืชที่มีต้นกำเนิดทั่วทั้งหมู่เกาะอินเดียตะวันออก โดยอ้างถึงสถานที่แห่งเดียวในการกระจายตามธรรมชาติของสายพันธุ์นี้
Flagellaria indica เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์หวายลิง (Flagellariaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Carl Linnaeus (1707–1778) นักชีววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนในปี พ.ศ.2296


ที่อยู่อาศัย พบในอินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ (กวางตุ้ง, กวางสี, ไหหลำ, ไต้หวัน), ญี่ปุ่น (หมู่เกาะริวกิว), พม่า, กัมพูชา, เวียดนาม, ภูมิภาคมาเลเซีย, นิวกินี, ฟิลิปปินส์, ออสเตรเลีย, หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดียและแอฟริกา (มาดากัสการ์ ,เซเชลส์ ,มอริเชียส ,เรอูนียง ,เกาะโรดริเกส ,โมซัมบิก ,แทนซาเนีย) ในประเทศไทยส่วนมากพบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้พบขึ้นตามแนวหลังป่าชายเลนที่เป็นดินเลนแข็งและพื้นที่เปิดโล่งริมฝั่งแม่น้ำลำคลองที่น้ำทะเลท่วมถึงเป็นครั้งคราว จากระดับน้ำทะเลใกล้ถึงระดับความสูง 1,500 เมตร
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก ยาว 3-5 เมตรหรือบางครั้งอาจยาวได้ถึง 10-15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 0.3-0.8 ซม.เหง้าเจริญด้านข้าง แตกกิ่งเป็นง่ามห่างๆลำต้นแข็งคล้ายลำหวาย สีเขียวเข้มเปลี่ยนเป็นสีเทาเมื่อแก่ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปขอบขนานแกมรูปใบหอกแคบขนาด 0.5-2 ซม.ยาว7-20 ซม.โคนใบกลมมน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวยาวแข็งและม้วนเป็นมือพัน กาบใบเรียงซ้อนทับกันหุ้มลำต้นยาวถึง 7 ซม.มีสันตามยาวและมีติ่งกาบ 2 ติ่งอยู่ที่ปลายกาบ ดอกสีขาวอมเหลืองมีกลิ่นหอม ออกแบบช่อเชิงลดตามปลายยอด ก้านช่อมักแตกเป็น 2 กิ่ง ยาว 20-30 ซม. มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมากดอกย่อยไม่มีก้านดอก ออกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก มีใบประดับคล้ายเกล็ดล้อมรอบ ผลรูปกลมขนาด 5-6 มม.ผิวเกลี้ยงเป็นมัน สีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นเหลือง แก่จัดสีชมพูอมแดงมีเมล็ด 1 (หรือ2) เมล็ด
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็มที่ รำไรหรือร่มเงาบางส่วน ขึ้นได้ดีในดินชื้น ดินร่วนระบายน้ำดี ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ชอบน้ำปานกลาง
ใช้ประโยชน์---พืชมักถูกรวบรวมจากป่าเพื่อใช้ในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นแหล่งของวัสดุสำหรับทำตะกร้า ฯลฯ เป็นอาหารและยา
-ใช้กิน หน่ออ่อน ใบอ่อน สุก กินเป็นผัก ลำต้นมีน้ำนมหวานใช้เคี้ยวกินแบบเดียวกับอ้อย ใบ,ลำต้นถูกใช้ในมาดากัสการ์สำหรับทำชา
-ใช้เป็นยา ส่วนที่ใช้ ลำต้น, เหง้า, มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ และเป็นยาคุมกำเนิดในเพศหญิง;-ในยาอายุรเวท จะใช้ก้านและเหง้าเป็นยาขับปัสสาวะ ;- ในมาเลเซียรากต้มใช้วันละสามครั้งเพื่อบำรุงสุขภาพ ;- เผ่า Murut ในซาบาห์ต้มทั้งต้นและใช้น้ำในอ่างสำหรับอาการกึ่งอัมพาต ;- ในมาเลเซียเกาะบอร์เนียวมีการใช้รากยาต้มสำหรับไข้หวัดใหญ่ไอและอาเจียน ;-นอกจากนี้ หวายลิงยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสเด็งกี (เป็นเชื้อสาเหตุของไข้เด็งกีที่มียุงเป็นพาหะ)
-อื่น ๆ ลำต้นมีความเหนียวใช้สำหรับทำเสื่อ ตะกร้า อวนจับปลา ใช้สร้างกระท่อมและหลังคา ;-ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้สำหรับสระผม ;-ผล ใช้เป็นยาเบื่อสุนัข
รู้จักอันตราย--- เมล็ด มีพิษ
พิธีกรรม/ความเชื่อ---เถาวัลย์ "huwag" จาก Flagellaria indica ใช้ในพิธีกรรมถือบวชของ Mananambal ในการผลิตและปรุงยาเพื่อการใช้เวทมนตร์
ระยะออกดอก/ติดผล---เมษายน-กรกฎาคม/กันยายน-พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์---เมล็ด

หัวลิง/Sarcolobus globosus


ชื่อวิทยาศาสตร์--- Sarcolobus globosus Wall.(1816)
ชื่อพ้อง---This name is unresolved.According to The Plant List.Sarcolobus globosus Wall. is an unresolved name
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2473339
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---หัวลิง (กรุงเทพฯ); บาตูบือแลกาเม็ง (มาลายู-นราธิวาส); [MALAYSIA: Pepanjat (Malay).];[THAI: Hua ling (Bangkok); Ba-tu-bue-lae-ka-meng (Malay-Narathiwat).];[VIETNAM: Dây cám.].
EPPO Code---1APOF (Preferred name: Apocynaceae)
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
ชื่อวงศ์ย่อย---ASCLEPIADACEAE (ASCLEPIADOIDEAE)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อินเดียตะวันออก จีน พม่า ไทย เวียตนาม มาเลเซีย บอร์เนียว ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย
Sarcolobus globosus เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae)และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (Asclepiadoideae หรือ Asclepiadaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Nathaniel Wallich (1786–1854) ศัลยแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ในปี พ.ศ.2359
ที่อยู่อาศัย ถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชีย รวมทั้งอินเดีย จีน พม่า ไทย เวียตนาม มาเลเซีย บอร์เนียว ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เกิดขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำ และพื้นที่เปิดโล่งที่น้ำทะเลท่วมถึง
ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อยเกาะพันไม้อื่น มีรากหนาและมีเนื้อรากหนา ลำต้นเกลี้ยงสีน้ำตาล ยาวถึง 5 เมตรส่วนต่างๆของเถาไม่มีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามแผ่นใบรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 3-6 ซม.ยาว 8-14 ซม.โคนใบกลมมนถึงเว้าเป็นรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบปลายใบแหลมเนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนังกึ่งอวบน้ำ ด้านบนสีเขียวคล้ำด้านล่างใบสีซีดกว่ามีเส้นใบประมาณ 5-7 คู่ มองเห็นได้ชัดเจน ดอกแบบช่อเชิงลดมีก้านคล้ายช่อซี่ร่ม ออกตามง่ามใบก้านช่อยาว 1-3 ซม.ประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอกรูปกงล้อ สีเหลืองนวลหรือเหลืองแกมน้ำตาล มีจุดประสีน้ำตาลหรือม่วงบนแถบกลีบ ดอกบานขนาด 0.8-1ซม.กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ ผลแบบผลแตกแนวเดียว รูปค่อนข้างกลมคล้ายหัวลิงแหลม ขนาด 8-10 ซม.เปลือกผลสีน้ำตาลหนา ผิวเรียบถึงหยาบเป็นลายร่างแห มีสันตามยาว 1 สัน เมล็ดรูปไข่แบนยาวได้ประมาณ 18 มม.มีปีกและมีขอบหนาสีน้ำตาลเข้ม
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ตำแหน่งแสงแดดเต็มที่ ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชุ่มชื้น
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ในประเทศไทยใบที่ปรุงสุกอย่างทั่วถึงกินกับแกง ผู้คนยังใช้ผลไม้ทำแยม ในการทำแยม จำเป็นต้องเด็ดผลไม้เมื่อมันยังเป็นสีเขียว ผ่าครึ่ง เอาเมล็ดออก ใช้มีดปลายแหลมจิ้มเรซินทั้งหมด ล้างแล้วตากในที่ร่มเป็นเวลา 8 วันแล้วต้มในน้ำเชื่อม
-ใช้เป็นยา เป็นสมุนไพรในการรักษาโรคไขข้ออักเสบ, โรคไข้เลือดออกและแก้ไข้ ;-พืชมีสารบาร์บิเกโรน ( barbigerone) ซึ่งผ่านการรับรองแล้วว่ามีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ มีประสิทธิภาพสูงในการต่อต้านเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum และมี ศักยภาพใน การต้านมะเร็ง
รู้จักอันตราย---S. globosusได้รับการขึ้นทะเบียนโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่าเป็น พืช มีพิษ เป็นที่ทราบกันดีว่า เมล็ดเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คนพื้นเมืองในเอเชียใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อฆ่าสุนัขและสัตว์ป่า มันแสดงให้เห็นว่ามันฆ่าแมวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารสกัดจากพืชที่ทำให้เกิดการยับยั้งของระบบประสาทกล้ามเนื้อ  อาการพิษในสัตว์ ได้แก่ ปัสสาวะเป็นเลือดและไตอักเสบ
ระยะออกดอก/ติดผล---มิถุนายน–กันยายน/ตุลาคม–มกราคม
ขยายพันธุ์---เมล็ด 

หัวสุ่ม/Artabotrys oblanceolatus


ชื่อวิทยาศาสตร์---Artabotrys oblanceolatus Craib.(1925)
ชื่อพ้อง---No synonyms are recorded for this name.
---See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2653328
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---การเวกป่า (ทั่วไป), กระดังงาเขา (ภาคตะวันออก), หัวสุ่ม (อุบลราชธานี) ;[THAI: Kradang nga khao (Eastern); Hua sum (Ubon Ratchathani).].
EPPO Code---BTBSS (Preferred name: Artabotrys sp.)
ชื่อวงศ์---ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---ประเทศไทย
Artabotrys oblanceolatus เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์กระดังงาหรือวงศ์น้อยหน่า (Annonaceae) ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย William Grant Craib (1882–1933) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2468
ที่อยู่อาศัย มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย กระจายอยู่ตามป่าดิบแล้ง ที่ราบต่ำ ใกล้แม่น้ำตามพื้นที่อนุรักษ์ภาคกลาง
ลักษณะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยได้ไกล 10-15 เมตร แตกกิ่งใกล้ผิวดินเป็นหลายลำต้น พันซุ้มให้ร่มเงาได้ดี ตามลำต้นมีหนามยาวและแข็งออกเป็นคู่ห่างกัน กิ่งอ่อนสีเขียวมีขนมาก ใบรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม.ยาว 13-16 ซม.ปลายใบแหลมโคนใบสอบ  ผิวใบและขอบใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ไม่มีขน ใบหนาเส้นแขนงใบเห็นไม่ชัด ดอกออกเป็นช่อตรงข้ามใบ ก้านแบนและโค้งงอเป็นตะขอ ดอกอ่อนสีเขียว บานแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงรูปไข่ปลายกระดกขึ้น กลีบดอกเรียงเป็น 2 ชั้น แต่ละกลีบหนารูปไข่ปลายแหลม ดอกบานวันเดียวร่วง ผลกลุ่มมีผลย่อย 5-8 ผล กว้าง 1.5 ซม.ยาว 2 ซม.ปลายมน ผลอ่อนสีเขียว แก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มี 1-2 เมล็ด
ระยะออกดอก/ติดผล---มกราคม-เมษายน
ขยายพันธุ์--- เมล็ด

อ้อยสามสวน/Myriopteron extensum


ชื่อวิทยาศาสตร์---Myriopteron extensum (Wight & Arn.) K. Schum.(1895)
ชื่อพ้อง---Has 4 Synonyms.See all The Plant List http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-2610791
---Basionym: Streptocaulon extensum Wight & Arn.(1834)
---Myriopteron paniculatum Griff.(1844)
---Streptocaulon extensum var. paniculatum (Griff.) Kurz.(1877)
---Streptocaulon horsfieldii Miq.(1857)
ชื่อสามัญ---None (Not recorded)
ชื่ออื่น---ชะเอม, ข้าวสาร, เครือเขาขมหลวง (ภาคกลาง), กอน (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน), ขมเหลือง (เชียงใหม่), ป้างไม้ (ลำปาง), สื่อกี่ปอบอ (กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), อ้อยสามสวน, อ้อยแสนสวน (ภาคเหนือ) ;[ASSAMESE: Khagorsinga-lata, Sagal-singha-lata.];[CHINESE: Chi guo teng, Chì guǒ fuji.];[THAI: Cha em, Khao san, Khruea khao khom luang (Central); Kon (Shan-Mae Hong Son); Khom lueang (Chiang Mai); Pang mai (Lampang); Sue-ki-po-bo (Karen-Mae Hong Son); Oi sam suan, Oi saen suan (Northern).];[VIETNAM: Sữa Dây, Quả Cánh.].
EPPO Code--- 1PERS (Preferred name: Periplocoideae.)
ชื่อวงศ์---APOCYNACEAE
ชื่อวงศ์ย่อย---Periplocaceae (Periplocoideae)
ถิ่นกำเนิด---ทวีปเอเซีย
เขตกระจายพันธุ์---อัสสัม, บังคลาเทศ, จีนตอนใต้ตอนกลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, อินเดีย, ลาว, พม่า, ไทย, เวียดนาม
Myriopteron extensum เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกในครอบครัววงศ์ Apocynaceae วงศ์ย่อย Periplocaceae หรือ Periplocoideae ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Robert Wight (1796–1872)นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตและ George Arnott Walker Arnott (1799–1868)นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตได้รับชื่อที่แน่นอนในปัจจุบันโดย Karl Moritz Schumann (1851–1904) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ในปีพ.ศ.2438
ที่อยู่อาศัยจากอินเดียถึงคาบสมุทรอินโดจีนและอินโดนีเซีย พบตามชายป่าเปิดทั่วไป ที่ระดับความสูง 100-600 เมตร.
ลักษณะ เป็นไม้เถาขนาดกลางมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปรีหรือค่อนข้างกลม กว้าง 5-6.5 ซม.ยาว 8-9 ซม.ก้านใบเรียวยาว 1.5-4 ซม. ดอกออกเป็นช่อหลวมๆตามซอกใบยาว 7-18 ซม.ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลีบรองดอกเล็กมาก กลีบดอกรูปหอกขนาด 0.8 ซม. ผลรูปกระสวยเป็นพูทรงกลมปลายแหลมมน เปลือกนอกบางเมื่อแก่จะแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว กว้าง 2 ซม.ยาว 7 ซม.เมล็ดรูปรียาว 0.8 ซม.
ข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม---ต้องการแสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน ดินร่วนระบายน้ำดี น้ำปานกลาง อัตราการเจริญเติบโต ปานกลาง
ใช้ประโยชน์---ใช้กิน ผลอ่อนกินเป็นผักลวกจิ้มน้ำพริก ผลสุกกินได้มีรสหวาน
-ใช้เป็นยา เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ทางการแพทย์พื้นบ้านสําหรับแก้ไอ บํารุงกําลัง และแก้พิษ ;- เถามีรสหวาน คนพื้นบ้านนิยมตัดเป็นท่อนเคี้ยวทำให้ชุ่มคอและแก้เจ็บคอ ;-ทั้งต้น ต้มดื่มแก้ปวดบวม ราก ต้มบำรุงน้ำนม ใช้สมานแผล เคี้ยวกินกับหมาก เข้ายาผสมแป้งเหล้า ;-กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน ใช้ราก ต้มผสมสมุนไพรอื่น แก้ไข้ หนาวสั่น ;-ลำต้นหรือราก ผสมแก่นฝาง ผลพริกไทย เหง้าขิง และสารส้ม ต้มน้ำดื่ม แก้ไอ
-ใช้ปลูกประดับ ปลูกเป็นซุ้มไม้เลื้อย
ระยะออกดอก/ติดผล---ธันวาคม-เมษายน
ขยายพันธุ์---เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง


อ้างอิง, ภาพประกอบเพื่อการศึกษา :

---หนังสือพรรณไม้ในสวนหลวง ร.๙ เล่ม1,เล่ม 2,เล่ม 3 2554 .                                                                                     ---หนังสือ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม1,เล่ม2,เล่ม3, เล่ม4 2548
---หนังสือ ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาต้นไม้ยืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทยโดย ไซมอน การ์ดเนอร์,พินดา สิทธิสุนธร,วิไลวรรณ อนุสารสุนทร หอพรรณไม้ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2549
---ไม้ต้นในสวน Trees in the Gardenโดย องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี The Botanical Garden Organization Office of the Prime Minister พิมพ์ครั้งที่1 พฤษภาคม2542จัดพิมพ์โดย มูลนิธิ ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี
---คู่มือดูพรรณไม้ป่าสะแกราช เล่ม1, เล่ม2 โดย ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,จิรพันธ์ ศรีทองกุล,อนันต์ พิริยะภัทรกิจ                                ---หนังสือ พรรณไม้วงศ์กระดังงา ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ภาพ: อภิชัย อิงควุฒิ                                                      
---อ้างอิง,ภาพประกอบการศึกษา-หนังสือป่าเชายเลน นิเวศวิทยาและพรรณไม้ โดย สรายุทธ บุญยะเวชชีวิน (ผู้แต่งและภาพ) รุ่งสุริยา บัวสาลี พิมพ์ครั้งที่1 เมษายน 2554
---หนังสือ ดอกไม้ และประวัติไม้ดอกเมืองไทย จาก ชุดธรรมชาติศึกษา โดย วิชัย อภัยสุวรรณ 2532
---ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์  BGO Plant Databases, The Botanical Garden Organization http://www.qsbg.org/database/
---สำนักงานหอพรรณไม้. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย  เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช http://www.dnp.go.th/botany/mplant/index.aspx
---The International Plant Names Index and World Checklist of Selected Plant Families 2017. Published on the Internet at http://www.ipni.org and http://apps.kew.org/wcsp/
---The Plant List (TPL) was a working list of all known plant species  http://www.theplantlist.org/
---Useful Tropical Plants. http://tropical.theferns.info/viewtropical.                       
---India Biodiversity Portal. http://indiabiodiversity.org/species/show/                    
---Plants of the World Online Kew Science.www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org
---GBIF.the Global Biodiversity Information Facility.https://www.gbif.org/species/
---เสี้ยวต้น: ปิยะ เฉลิมกลิ่น จิรพันธุ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย. กทม. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ. 2551 หน้า 188
REFERENCES ---General Bibliography
REFERENCES ---Specific & complementary
---EPPO code---รหัส EPPO คือรหัสคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับพืช แมลงศัตรูพืช (รวมถึงเชื้อโรค) ซึ่งมีความสำคัญในการเกษตรและการปกป้องพืช รหัสEPPOเป็นระบบการเข้ารหัสที่กลมกลืนกันซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการชื่อพืชและศัตรูพืชในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบไอที
EPPO (2021) EPPO Global Database (พร้อมใช้งานออนไลน์) https://gd.eppo.int
 
Check for more information on the species:

Plants Database  ---Names, synonymy and distribution The Garden.org Plants Database https://garden.org/plants/Global                                                                                                                                                                Plant Initiative ---Digitized type specimens, descriptions and use หอพรรณไม้ -กรมอุทยานแห่งชาติ    www.dnp.go.th/botany/Herbarium/GPI.html
Tropicos ---Nomenclature, literature, distribution and collections    Tropicos - Home    www.tropicos.org/
GBIF    ---Global Biodiversity Information Facility Free and open access to biodiversity data  https://www.gbif.org/
IPNI ---International Plant Names Index    The International Plant Names Index - home page    http://www.ipni.org/
EOL ---Descriptions, photos, distribution and literature    Global access to knowledge about life on Earth    Encyclopedia of Life eol.org/
PROTA ---Uses    The Plant Resources of Tropical Africa    https://books.google.co.th/books?isbn=9057822040
Prelude  ---Medicinal uses    Prelude Medicinal Plants Database    http://www.africamuseum.be/collections/external/prelude
Google Images    ---Images                    

รวบรวมและเรียบเรียงโดย Tipvipa..V
บริษัท สวนสวรส การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด
สวนเทวา  เชียงใหม่
www.suansavarose.com
www.suan-theva.com

Updatre 28/11/2019-17/2/2020-23/2/2020-28/1/2022

24/6/2022

---ข้อมูลในเว็บไซต์นี้รวบรวมจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น งานอ้างอิงเกี่ยวกับพืชสมุนไพร ไม่ได้ใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์หรือการรักษา และไม่ได้อ้างว่าจะให้คำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ผู้อ่านควรปรึกษาแพทย์ของตนก่อนใช้หรือบริโภคพืชเพื่อการรักษาโรค

ความคิดเห็น

[Back]   1  2

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

  Copyright 2005-2009 suansavarose All rights reserved.
view