FAMILY DESCRIPTION |
T-Z |
TACCACEAE(วงศ์ว่านค้างคาว) | |
TACCACEAE (TACC) |
เป็น ไม้ล้มลุกเขตร้อน มีเหง้าหัว เจริญตามแนวราบใต้พื้นดิน มีรากอวบน้ำ ใบรูปหอกแกมรูปไข่ ขนาดใหญ่ ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือเฉียง แผ่นใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ก้านใบสีเขียวคล้ำชูขึ้นสูงเหนือพื้นดิน ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุก ดอกออกแน่น ดอกมีสีเขียว น้ำตาลหรือม่วง มีใบประดับเป็นเส้นยาวระหว่างดอกสีดำสนิท มีกลีบดอก 2 กลีบ ลักษณะรีรูปทรงกลม รังไข่ใต้วงกลีบดอกได้แก่ สกุลว่านค้างคาวในไทยที่พบ 3 ชนิด ได้แก่ เท้ายายม่อม Tacca leontopeltaloides , ว่านค้างคาว Tacca chantrieri , บุกฤาษี Tacca palmate และ ว่านพังพอน Tacca integrifolia l. |
Tacca chanthrieri เนระพูสีไทย | ว่านพังพอน | ว่านพังพอน | พญาหอกหล่อ |
THEACEAE(วงศ์ไม้เมี่ยง,ชา) | |||||||||||||||||||||||||||
THEACEAE (THEA) |
ประมาณ30สกุล500ชนิด เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มเป็นใบเดี่ยว ติดเรียงแบบสลับ เนื้อใบเหนียวหนา ผิวใบเป็นมัน มักมีอายุคงทน ขอบใบเป็นจักถี่ ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นพวง ออกที่ซอกกิ่งหรือปลายยอด ดอกมีรูปทรงสวย ได้สัดส่วน มีกลิ่นหอม มีเพศครบ มีกลีบประดับรองรับดอกอยู่ 2 กลีบ กลีบรอง มี 5 กลีบ แยกกัน มีสภาพคงทน กลีบดอก มี 5 กลีบ แยกกันหรือติดกันเล็กน้อยที่ฐาน ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้
|
||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||
THYMELAEACEAE(วงศ์ไม้กฤษณา) |
|||||||||||||||||||||||||||
THYMELAEACEAE (THYME) |
ประมาณ 50 สกุล 500 ชนิด กระจายพันธุ์ในประเทศไทย 5 สกุล 19 ชนิด มีทั้งไม้ต้นและไม้พุ่ม และไม้เถาเลื้อย มีเปลือกติดแน่นกับต้น ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับหรือออกตรงข้าม ใบเรียบไม่มีหูใบ ช่อดอกมีหลายแบบออกเป็นช่อเชิงลด ช่อกระจะ ช่อซี่ร่ม ช่อกระจุกแน่น ดอกสมบูรณ์เพศหรือมีดอกเพศเดียว กลีบเลี้ยงรูประฆัง รูปทรงกระบอก หรือเป็นหลอดปลายแยก 4-5แแก กลีบดอกเป็นเกล็ดเล็กหรือเป็นส่วนที่คล้ายกลีบ ติดอยู่ภายในของกลีบเลี้ยง มี4-5หรือ10 มักจะลดลงเป็นต่อมนุ่มหรือไม่มีเลย เกสรเพศผู้จำนวนมากถึง2เท่า มีฐานดอกเป็นวงกลม รังไข่เหนือวงกลีบ หรือเป็นเกล็ด หรือไม่มี ผลเป็นผลเนื้อมีหลายเมล็ด บางครั้งเป็นผลแห้งและแตกกลางพู ตัวอย่างพรรณไม้ในวงศ์นี้ได้แก่ กฤษณา Aquilaria crassna ไก่แก้ว Daphne sureil ไก่หลง Wikstroemia polyantha เข็มสร้อย Daphne composita ปอเต่าไห้ Enkleia siamensis มหาก่าน Linosterma decandrum |
||||||||||||||||||||||||||
กฤษณา Aquilaria crassna | ไก่หลง Wikstroemia polyantha |
มหาก่าน |
ไก่แก้ว Daphne sureil | ไก่แก้ว Daphne sureil | ไก่แก้ว |
เข็มสร้อย |
THUNBERGIACEAE/ACANTHACEAE | |||||||||||||||||||||
สกุล Thunbergia เคยถูกจัดให้อยู่ภายใต้วงศ์ Thunbergiaceae จากลักษณะของอับเรณู เมล็ด กลีบเลี้ยง และแคปซูล ในปัจจุบันอยู่ภายใต้วงศ์ Acanthaceae วงศ์ย่อย Thunbergioideae สกุลรางจืดมีสมาชิกประมาณ 90 ชนิด มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา มาดากัสการ์ และเอเซียเขตร้อน ในไทยมีประมาณ 10 ชนิดตัวอย่างชนิดพืชได้แก่ รางจืด Thunbergia laurifolia
|
|||||||||||||||||||||
TILIACEAE(วงศ์ไม้ตะขบฝรั่ง) |
|||||||||||||||||||||
TILIACEAE (TILIA) |
มี 62 สกุล ประมาณ 800 ชนิด เป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม มีบางชนิดเป็นไม้เถาเลื้อยหรือล้มลุก ใบและลำต้นเป็นเส้นใยเหนียวและมียางเมือก บางชนิดที่ยอดอ่อนและก้านใบมีต่อมสร้างน้ำยางหนืด ใบเดี่ยว ติดเรียงแบบสลับ ขอบใบเรียบหรือเป็นจักซี่ ฐานใบมักเฉียงเบี้ยว โดยซีกที่มีเนื้อใบมากมักอยู่ใกล้กิ่ง มีเยื่อก้านใบซึ่งมักร่วงตั้งใบอ่อนเริ่มผลิ เป็นช่อดอกแบบ ออกที่ปลายยอดหรือซอกกิ่ง ดอกย่อยมีเพศครบ รูปทรงมีสัดส่วนสมดุลย์ บางชนิดกลุ่มดอกงอกออกที่กลางแผ่นใบของกลีบประดับ กลีบรอง มี 5 กลีบ ติดกันที่ฐาน อยู่แยกกัน ที่โคนกลีบมีกลุ่มของเซลล์ต่อมปรากฏ เกสร ตัวผู้ มีตั้งแต่ 10 อันขึ้นไป อยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ หลายกลุ่มติดอยู่บนขอบวงนูน ก้านเกสรเป็นเส้นยาวเล็ก บางชนิดมีสภาพคงทน อับเกสรมี 2 ห้อง แตกตามยาวหรือแตกเป็นช่องตอนปลาย เกสรตัวเมีย มีรังไข่เป็นแบบ มีฐานสั้น ภายในมีตั้งแต่ 2-10 ห้อง ภายในมีเม็ดไข่มาก ยอดเกสรแยกเป็นแฉก มีจำนวนเท่ากับห้องภายในรังไข่Colona auriculata ปอพราน |
||||||||||||||||||||
รวงผึ้ง Schoutenia glomerata | รวงผึ้ง | ม่วงดวงดาว Grewia caffra |
ยาบใบยาว | ปอตีนเต่า Colona winitii | พลับพลา | พลับพลา |
ปอมืน Colona floribunda |
ตะขบฝรั่ง Muntingia calabura | ตะขบฝรั่ง |
TURNERACEAE(วงศ์บานเช้า) |
|
TURNERACEAE (TURN) |
ไม้ พุ่ม หายากที่เป็นไม้ต้น บางชนิดเป็นไม้ล้มลุก อายุปีเดียวหรือหลายปี ใบเรียงสลับ ดอกสมบูรณ์เพศ มักมีสีเหลือง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด มี5กลีบ กลีบดอก5กลีบ เกสรเพศผู้ 5 ผลรูปทรงกลมถึงรูปแถบ ได้แก่ บานเช้าต้น บานเช้าสีนวล |
บานเช้าสีเหลือง | บานเช้าสีเหลือง | บานเช้าสีนวล |
TYPHACEAE(วงศ์ธูปฤาษี) |
|
TYPHACEAE (TYPHA) |
มี 1 สกุล 15 ชนิด เป็น พืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เจริญได้ดีในเขตร้อนและเขตอบอุ่นมักพบในที่น้ำขัง แสงแดดจัด มีลำต้นใต้ดิน เหง้าจะเลื้อย ใบแตกออกจากลำต้นในระดับผิวดิน รูปแถบตั้งตรง ไม่มีก้านใบ แต่โคนใบแผ่ออกเป็นกาบ ประกบซ้อนกันเป็น 2 แนว ใบยาวมากเป็นเส้นแคบ ตรงสูง คล้ายรูปพัด ดอกต่างเพศร่วมต้น เรียงอัดกันแน่นเป็นแท่งทรงกระบอก ผลขนาดเล็กแห้งไม่แตก มีเกสรเพศเมียติดทน มีอาหารสะสมพร้อมที่จะงอกได้ทันที ได้แก่ ธูปฤาษี |
ธูปฤาษี | ธูปฤาษี | Typha angustifolia |
ULMACEAE(วงศ์กระเชา) | |||||||||||||||
ULMACEAE (ULMA) |
ทั่วโลกมีประมาณ175ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่นเหนือเป็นไม้ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ ไม่มียาง ใบเดี่ยวออกแบบสลับ มักจะอยู่แนวระนาบ ขอบใบมีซี่หยัก มีหูใบ ดอกเล็กสีเขียว กลีบรวม4-5พูซ้อนกันในดอกตูม ไม่มีกลีบดอกผลมีปีกหรือเป็นดรู๊ฟ ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ได้แก่ |
||||||||||||||
|
|||||||||||||||
UMBELLIFERAE |
|||||||||||||||
UMBELLIFERAE (UMBEL) |
ไม้ เนื้ออ่อน หายากที่มีเนื้อไม้ ลำต้นเป็นร่องมีไส้นิ่ม หรือกลวง ใบประกอบแบบหลายชั้นเรียงสลับ ดอกสมบูรณ์เพศ หายากที่เป็นดอกเพศเดียว กลีบเลี้ยง5กลีบดอก5 เกสรเพศผู้ 5 ผลแห้งแล้วแตกเป็น2ซีก (ผลคล้ายผักชี) เมล็ดมีอาหารสะสมพร้อมที่จะงอกทันที มักเป็นพืชในเขตอบอุ่น ในเขตร้อนมักพบตามภูเขา ได้แก่ บัวบก แว่นแก้ว คึ่นช่าย ผักชีลาว
Anethum graveolens ผักชีลาว Livisticum officnale โสมตังกุย |
||||||||||||||
แว่นแก้ว | ผักแว่นเทศ | มะแหลบ | Anethum graveolens ผักชีลาว |
URTICACEAE(วงศ์ไม้ตำแย) | |
URTICACEAE (URT) |
มี 42 สกุล ประมาณ 600 ชนิดพันธุ์ไม้ ล้มลุก ไม้พุ่ม หรือหายากที่เป็นไม้ต้น หรือไม้เลื้อยมี อายุปีเดียวหรือหลายปีบางชนิดเป็นพืชให้เส้นใย ลำต้นและก้านใบมีน้ำยางใสอยู่ภายใน ต้นและใบมีขนคัน คลุม ขนคันนี้เป็นเซลล์ต่อม มีน้ำสารคันประเภทแคลเซี่ยมอ็อกซาเลต (calcium oxalate) ทำให้เกิดอาการเคืองระคายคันแก่ผิวหนัง ใบเป็นใบเดี่ยว ติดเรียงแบบตรงกันข้ามหรือแบบสลับ ใบบางแผ่นใบกว้าง ขอบใบเป็นจัก มีเยื่อก้านใบเป็นเส้น ดอกขนาดเล็กมาก ดอกเพศเดียวออกเป็นช่อกระจุกหรือเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีเขียวอ่อนกลีบเลี้ยง4-5กลีบ ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้จำนวนเท่ากับกลีบเลี้ยง ผลแห้งเมล็ดล่อน หรือผลแห้งเมล็ดแข็ง เมล็ดจะมีอาหารสะสมพร้อมงอก ตัวอย่างชนิดพืชในวงศ์นี้ Pilea involucrata เบญจรงค์ใบแดงPolychroa repens สิงห์หงส์ Pouzolzia pentandra หญ้าหนอนตาย Poikilospermum suaveolens ย่านงด Boehmeria nivea ป่านรามี Boehmeria clidemioides ป่าน Debregeasia longifolia ไข่ปลา Dendrocnide basirotuna หานช้างฮ้อง Dendrocnide sinuata กะลังตังช้าง Dendrocnide stimulans ตำแยช้าง Laportea bulbifera กะลังตังช้าง Laportea interrupta ตำแยตัวเมีย Pilea anisophylla ขมหิน |
เบญจรงค์ Pilea cadierei | เบญจรงค์ใบแดง | หญ้าหนอนตาย Pouzolzia pentandra |
กะลังตังช้าง | กะลังตังช้าง | ตำแยตัวเมีย | ย่านงด |
ป่าน | ป่าน Boehmeria clidemioides | Debregeasia longifolia ไข่ปลา |
VERBENACEAE(วงศ์ไม้สัก) | |
VERBENACEAE (VERB) |
มีประมาณ90สกุล 3,000ชนิด มีทั้งเป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุกและไม้เถาเลื้อย ลำต้นและกิ่งก้านเมื่ออ่อนมักเป็นเหลี่ยมจัตุรัส มีขนอ่อนคุลมใบเรียงแบบตรงข้าม บางชนิดผลัดใบก่อนออกดอก ดอกเด่นสะดุดตา ช่อดอก มีหลายแบบ มักมีกลีบประดับรองรับ ดอกมีเพศครบอาจมีเพศเดียวเพาะความไม่สมบูรณ์ กลีบรองดอก มี 4-6 กลีบ ปกติมี 5 กลีบ ติดกันเป็นหลอดรูปกระดิ่งมีสภาพคงทน กลีบดอก มี 5 กลีบ ติดกันเป็นหลอด ปากผายแผ่เป็นสองซีกไม่เท่ากัน ใช้เป็นไม้ประดับได้แก่ นางแย้ม พวงแก้ว สำมะงา ช้องแมว ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้
|
พนมสวรรค์ | พนมสวรรค์ | เทียนญี่ปุ่น | ผกากรอง |
นางแย้มป่า | เรดาร์ หมวกจีน | สัก | ฟองสมุทร,เทียนหยด |
มังกรคาบแก้ว | พวงแก้วแดง | พวงคราม | เวอร์บีน่า |
|
|||||||
VIOLACEAE(วงศ์แพนซี) |
|||||||
VIOLACEAE (VIOLA) |
เป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่มและไม้ต้น ชอบขึ้นในเขตอบอุ่นดอกสมมาตรด้านข้างเด่นสะดุดตามี1 กลีบดอกที่จะเป็นเดือยออกมา เช่น แพนซีหน้าแมว Viola tricolor ,วาสุกรีอ่างกา Viola angkae,ใบพาย | ||||||
แพนซี | Viola tricolor | วาสุกรีอ่างกา | Viola angkae | ใบพาย |
VITACEAE |
|
VITACEAE (VITA) |
เป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง เลื้อยโดยใช้มือจับ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบหยักเป็นพู ดอกมีขนาดเล็กสีเขียว ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ได้แก่ |
องุ่น | องุ่น Vitis vinifera | ส้มกุ้ง | ส้มกุ้ง |
เพชรสังฆาต Cissus quadrangularis | เพชรสังฆาต | เครือพัดสาม Cayratia trifolia |
ZAMIACEAE |
|
ZAMIACEAE (ZAM) |
"ปรง" ในอันดับ (Order) Cycadales ทั่วโลกมีอยู่ด้วยกัน 3 วงศ์คือ Cycadaceae, Stangeriaceae และ Zamiaceae มีสมาชิกรวมแล้วประมาณ 300 ชนิด วงศ์ Zamiaceae เป็นวงศ์ใหญ่สุดของปรง แยกออกเป็น 2 วงศ์ย่อย อันได้แก่ วงศ์ย่อย Encephalartoideae และวงศ์ย่อย Zamioideae สกุล Zamia มีประมาณ 60 ชนิด พบตั้งแต่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ลงไปจนถึงประเทศโบลิเวีย มีทั้งไม้พุ่มและไม้ยืนต้น คล้ายพืชพวกปาล์ม เจริญเติบโตในที่อากาศเย็น ขยายพันธุ์โดยเมล็ด เป็นพืช เมล็ดเปลือย จัดอยู่ในพวกพืชที่ไม่มีดอกแท้ แยกเพศต่างต้น ใบและลำต้นมีลักษณะคล้ายพืชพวกปาล์ม ใบประกอบ 1-2ชั้น ใบออกที่ปลายลำต้น ลำต้นเดี่ยวหรือแตกกิ่งไม่มาก ใบย่อยไม่มีเส้นกลางใบ มีเส้นใบย่อยขนานกัน coneเพศเมียมีสปอร์โรฟิลล์เรียงสลับ มักเป็นรูปโล่ห์ สปอร์โรฟิลล์แต่ละอันมี2-3ออวูล ได้แก่ ปรงเม็กซิกัน Zamia furfuracea ,Dioon edule |
ปรงเม็กซิกัน Zamia furfuracea | Zamia integrifolia | Zamia neurophyllidia | Zamia pygmaea |
ZINGIBERACEAE(ไม้วงศ์ขิง) |
|
ZINGIBERACEAE (ZIN) |
เป็น พืชที่มีเหง้า มีด้วยกัน 47 สกุล ประมาณ 1,000 ชนิดพืชตระกูลขิงหลายชนิดมีความสำคัญในฐานะเป็นไม้ดอกไม้ประดับ บ้างก็ใช้เป็นเครื่องเทศ หรือยาสมุนไพร พืชสำคัญได้แก่ ขิง ข่า ดาหลา กระชาย ]ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกเขตร้อนอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเทียมเกิดจากกาบใบซ้อนทับกัน ใบเรียงสลับกัน รูปแคบยาว น้ำคั้นจากใบมักมีกลิ่นหอม ดอกสมมาตรด้านข้างเด่นสะดุดตา ได้แก่ ขิงแดง หรือพืชสกุลขิง ข่า ไพล กระทือ เอื้องหมายนา |
ขิงแดง | ข่าคม | ไพลดำ | ขมิ้นดำ | พญามือเหล็ก | ว่านทรหด |
เปราะหอม | เอื้องหมายนา | ดาหลา | ว่านข่าจืด |
ZYGOPHYLLACEA(ไม้วงศ์โคกกระสุน) |
|
ZYGOPHYLLACEAE (ZYGO) |
ไม้ ล้มลุกอายุปีเดียวหรือหลายปี ไม้กึ่งพุ่ม หรือไม้พุ่ม หายากที่จะเป็นไม้ต้น ใบเรียงตรงข้าม หายากที่เวียนสลับ ใบประกอบบแบบขนนก อาจมีใบย่อย2-3ใบหรือมากกว่า ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อแบบช่อกระจุก ดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยง4-5กลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนเป็น2เท่าของจำนวนกลีบดอก ผลแห้งแตก พืชในวงศ์นี้ได้แก่ แก้วเจ้าจอม Guaiacum officinale |
หนามกระสุน Tribulus cistoides | แก้วเจ้าจอม Guaiacum officinale | แก้วเจ้าจอม Guaiacum officinale |
www.suansavarose.com 20/12/2010 |